ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญด้วยใจ เงื่อนไขไม่จำเป็นต้องมี.!!  (อ่าน 634 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำบุญด้วยใจ เงื่อนไขไม่จำเป็นต้องมี.!!

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวในโลกที่มีความต้องการมากมายไม่รู้จบ ได้เท่าไร มีมากแค่ไหนก็ไม่รู้จักพอ  คิดอยู่แต่ว่าฉันจะต้องได้สิ่งดีกว่านั้น ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ และดีไม่มีที่สิ้นสุด…

ด้วยเหตุนี้ “เงื่อนไข” ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการอันไม่รู้จบ ไม่เว้นแม้แต่วิถีปฏิบัติในศาสนาอย่าง “การทำบุญ” ก็พลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย

@@@@@@

ทำบุญแบบมีเงื่อนไข คืออะไร ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงบุญได้ง่าย ที่สุดและเป็นบุญที่แท้จริง ต้องทำบุญกับพระเท่านั้นหรือจึงจะได้บุญ มาเจาะลึกเรื่องบุญๆแบบถึงแก่นกัน แล้วคุณจะรู้ว่า การทำบุญที่แท้จริงเป็นเรื่องง่ายขนาดไหน ใครๆ ก็ทำบุญได้แม้แต่อยู่ในบ้าน

“บุญ” เรื่องที่คุณเองยังอาจเข้าใจผิด ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดสำรวจความ คิดเห็นของชาวพุทธทั้งหญิง – ชาย ในกรุงเทพฯจำนวน 1,128 คน

@@@@@@

เมื่อพ.ศ. 2548 ในหัวข้อคนไทยกับการทำบุญพบว่า คนไทยมักทำบุญในวันสำคัญทางศาสนามากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือทำบุญในวันสำคัญของตนเองและคนใกล้ชิดทำบุญ   ในเทศกาลสำคัญทำบุญเมื่อมีความทุกข์และทำบุญในช่วงวันหวยออก คนไทยมักถวายเงินและสิ่งของเครื่องใช้แก่ภิกษุสงฆ์มากเป็น อันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ไปไหว้พระ บริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น  ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และบริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุให้วัด

คนไทยหวังความสบายใจจากการทำบุญมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคืออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ขอให้มีความสุขความเจริญ ขอให้รอดพ้นจากเรื่องร้ายๆ ที่เป็นอยู่ และขอสั่งสมบุญไว้ชาติหน้า ผลการสำรวจทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชาวพุทธส่วนมาก ยัง “ยึดติด” ในกรอบความคิดที่ว่า การทำบุญต้องมีวาระ ต้องทำบุญกับพระ ต้องใช้ปัจจัย (เงิน)  เป็นหลักในการทำบุญ และต้องได้รับผลตอบแทนตามมา

@@@@@@

ร้ายไปกว่านั้นการทำบุญของใครหลายคนยังเต็มไปด้วย คำถาม “ทำอย่างไรให้ได้บุญมาก” เป็น เหตุให้ “เงื่อนไขแบบโลกทุนนิยม” เข้ามา มีบทบาทในการทำบุญ ทำนองว่า  ต้องลงทุนเท่าไรจึงจะได้กำไรสูงสุด เงื่อนไขและแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นผลให้เราหันมาใช้ ศรัทธา  (ความลุ่มหลง) เป็นตัวนำบุญไป

โดยปราศจาก ปัญญา กำกับ เมื่อเป็น เช่นนี้จึงไม่น่าแปลกเลยว่าเหตุใดเราจึงได้ยินเรื่องราวของการทุ่มเทวัตถุปัจจัยจำนวนมากๆ เพื่อหวังได้บุญ ขั้นนั้นขั้นนี้อยู่บ่อยๆ บางคนถึงขนาดว่า ทำบุญจนเกินตัวหมดเนื้อหมดตัวก็มี สุดท้ายการทำบุญในโลกทุนนิยมจึงไม่ต่างจากการสะสมแต้มบัตรเครดิต “ยิ่งทำมากยิ่งได้บุญมาก” ยิ่งได้ทำบุญกับ พระเถระผู้ใหญ่ เกจิชื่อดัง ยิ่งได้บุญมากเป็นสองเท่า หรือยิ่งทำบุญแล้วคนรู้จักเรามากๆก็ยิ่งดีฯลฯ


 :96: :96: :96: :96: :96:

รู้จัก “บุญแท้” และหนทางไปสู่บุญ

หลวงปู่ขาว อนาลโย กล่าวไว้ว่า “บุญเป็นเครื่องกรองกิเลส ที่เต็มอยู่ในจิตใจออกไปให้เหลือแต่ใจอย่างเดียวเพื่อให้ใจสะอาด ปราศจากความรัก โลภ โกรธ หลง”

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี กล่าวไว้ว่า “บุญเป็นสิ่งที่ดี ทำลงไป แล้วใจสะอาดจิตใจผ่องใส และเบิกบาน ให้สังเกตอย่างนี้ อย่าเอาใจตนเป็นเครื่องวัด เอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องวัด สิ่งใดที่ทำด้วยกายหรือวาจา หรือนึกคิดด้วยใจ?ถ้าหากไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น อันนั้นแหละเรียกว่า “บุญ”

หัวใจสำคัญของบุญจึงอยู่ที่การ “ลด ละ เลิก กิเลส ตัณหาในใจ ให้ได้ ด้วยกระบวนการทางปัญญา เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดทั้งใน ใจตนและผู้อื่น”

 :25: :25: :25: :25:

บุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นหนทางสู่บุญแท้ในทางพุทธศาสนาที่เอ่ยถึงกันอยู่บ่อยๆได้แก่

1. การแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่น (ทานมัย)
2. การทำความดีละเว้นความชั่ว (สีลมัย)
3. การพัฒนาจิต-ปัญญาให้สูงขึ้น (ภาวนามัย)
4. การอ่อนน้อมถ่อมตน (อปจายนมัย)
5. การช่วยเหลือเกื้อกูล (เวยยาวัจจมัย)
6. เฉลี่ยความดีให้ผู้อื่นชื่นชม (ปัตติทานมัย)
7. อนุโมทนา ชื่นชมความสุขของผู้อื่น  (ปัตตานุโมทนามัย)
8. ฟังเรื่องดีมีสารประโยชน์ (ธัมมัสสวนมัย)
9. แนะนำสารประโยชน์ให้ผู้อื่นรับรู้ (ธัมมเทสนามัย)
10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง (ทิฏฐุชุกัมม์)


 st11 st11 st11

หลักการทำบุญให้ได้บุญแท้อย่างง่ายๆสรุปได้เป็น 3 ประการ สำคัญได้แก่

ทาน ศีลและ ภาวนา   พึงระลึกไว้ว่า “บุญจาก การให้ทาน  แม้มากมายเพียงใดก็ไม่มากเท่าบุญจากการรักษาศีลแต่บุญอันเกิดจากการรักษาศีล ก็เทียบไม่ได้กับบุญที่เกิดจาก การเจริญภาวนา”

 st12 st12 st12

“ทานและวัด” ไม่ใช่ทางออกหนึ่งเดียวของบุญ

หลายคนมักเข้าใจว่า ทำบุญกับทำทานมีความหมายเดียวกัน  แท้ที่จริงแล้ว ทาน เป็นเพียงพื้นฐานของการทำบุญที่หยาบที่สุดและทำได้ง่ายที่สุดก็ว่าได้ ทำทานเพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว

การยึดติดในใจเราสามารถทำบุญได้ทั้งแรงกาย แรงใจ เวลา หรือวัตถุปัจจัยและสามารถทำบุญได้โดยไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำเป็นว่าต้องทำบุญที่วัด  หรือทำบุญกับภิกษุสงฆ์เท่านั้น?

ดังความที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า
“ชนเหล่าใดปลูกป่า สร้างสะพาน จัดหาเรือข้ามฟาก จัดที่ บริการน้ำดื่ม ขุดบ่อน้ำ สร้างที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมงอกงามทุกทิวาราตรีกาล ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีคุณธรรม  มีศีลอยู่ในทางแห่งความดีงาม”

 st12 st12 st12 st12

หากขยายความให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เรายังสามารถทำบุญได้ถึง 3  ประเภทด้วยกัน คือ

1. ทำบุญกับผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติคนรอบข้าง มีน้ำใจให้กันและกัน  ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล ตอบแทนผู้มีพระคุณ  ให้อภัย (อภัยทาน) ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ไม่รู้ (วิทยาทานและธรรมทาน)

2. ทำบุญกับสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสาธารณสมบัติ  สืบสานวัฒนธรรมประเพณี?ต่อต้านการคดโกง?การเอารัดเอาเปรียบ ชาติบ้านเมือง เป็นหูเป็นตาให้สังคม

3. ทำบุญกับธรรมชาติ ตระหนักในประโยชน์ที่ได้รับจากป่าไม้  สายน้ำ ผืนดิน ท้องฟ้า เช่น ลดการใช้พลาสติกและโฟม ไม่ทิ้งขยะ  ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง ไม่ทำลายป่าหรือล่าสัตว์ป่า และปลูกป่าทดแทน



Report by : Chalita ,18 March 2018
เรื่องจาก : นิตยสาร Secret คอมลัมน์  Feature
ภาพจาก : วรวุฒิ วิชาธร
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/82826.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ