ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "  (อ่าน 11155 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
       รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
       เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ
       สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
       สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย
       และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
    ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
          ใดๆ  เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
       ด้วยประการนั้นๆ


  ถ้าพิจารณา ให้ดี ในเรื่องของเบญจขันธ์ นั้นเป็นเรื่องที่ต้องเรียนต้องศึกษา ปฏิบัติกันให้มาก ๆ ก็คงไม่เกินจาก กาย นี้เป็นแน่ไซร้

  :coffee2: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แยกหัวข้อออกมาให้ ท่านทั้งหลาย ได้หัดธรรมวิจารณ์ ในเรื่องนี้กันบ้างเป็นเรื่องที่ควร จะทำการเห็นแจ้งเห็นจริงกันนะจ๊ะ

  เจริญธรรม / เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 อย่างนั้น เริ่มจาก

   รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ

        รูป หมายถึง มหาภูตรูป ประกอบ ดิน น้ำ ไฟ ลม เรียกว่า รูป 

        เปรียบประดุจฟองน้ำ หมายถึง อะไร

     ฟองน้ำ ที่ กลม ๆ ใช่หรือไม่ครับ คือนึกไม่ออก นึกได้แต่ฟองสบู่

   
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าว่ากันไปตามลักษณะของฟองน้ำที่ตกกระทบนะครับ ไม่ใช้ ฟองสบู่ หรือ (ฟองน้ำ แบบที่นำมาใช้ล้างจานนะครับ) ลักษณะของฟองน้ำที่กระทบกับน้ำด้วยกัน จะเกิด และ คงอยู่ ในชั่ว ของเสี้ยววินาที เท่านั้น

   รูป อุปมาเปรียบเหมือนกลุ่มของฟองน้ำ ก็น่าจะหมายถึง รูป นั้นเกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในเวลาไม่นาน มีระยะเวลาที่เกิดขึ้นรวดเร็ว รูปเกิด รูปดับ อย่างไวนี่เอง

   ( ถูกหรือไม่ รอผู้รู้ทุกท่านร่วมสนทนาครับ )

   :08:
บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิปัสสนา บทที่ 1 นะครับ

วิปัสสนาภูมิ มีอะไรบ้าง

วิปัสนนาภูมิ มี 6

1. ขันธ์ 5
2. อายตนะ 12
3. ธาตุ 18
4. อินทรีย์ 22
5. อริยสัจจะ 4
6. ปฏิจจสมุปบาท 12

  ในที่นี้กล่าวคือ ขันธ์ 5 จัดเป็นลำดับที่ 1 หรือ บทที่ 1 ของวิปัสสนา
 ดังนั้นไปทบทวนที่ลิงก์นี้แล้ว มาคุยกันต่อดีกว่า นะครับ จะได้เป็นแนวทางเดียวกันไม่สะเปะสะปะในการคุยในเนื้อหา กันนะครับ

 ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4144.0

 :49:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องนี้ ที่ตัดออกมาจาก กระทู้เดิมเพราะเห็นว่า มีความพิเศษ ที่กล่าวในเรื่องขันธ์ มีพระสูตรอุปมา เรื่องของขันธ์ ที่น่าสนใจ เป็นความนัย และ ทำให้เกิด ยถาภูตาญาณทัศศนะ ส่วน สัมมาทิฏฐิ หากผู้อ่านได้พิจารณา เห็นความสำคัญของพระสูตร ที่แสดงเรื่องขันธ์ 5 นี้ อย่างชัดเจน

    เรื่องแรก ก็คือ

      รูป อุปมาดุจกลุ่มฟองน้ำ

         ดังนั้นถ้าผู้อ่าน ๆ ถึงตรงนี้นั้น  รูป เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม ฟองน้ำ ( พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำ )

     แต่ที่เป็นฟองน้ำ เลยคือ เวทนา ๆ อุปมาดุจฟองน้ำ

     ดังนั้น รูป กับ เวทนา นับเนื่องซึ่งกันและกัน สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา เหล่านี้ล้วนแล้วอาศัย รูป ที่ เกิดดังนั้น รูป และ เวทนาเกดพร้อมกัน นามรูป มาพร้อมกัน รูปนาม ก็มาพร้อมกัน

     เอาละ นำทางธรรมวิจารณ์ให้ท่าน ได้ร่วมวิจารณ์ธรรมกันต่อไป พอให้เห็นความสำคัญ กันนะจ๊ะ

     เจริญธรรม

      ;)           


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รูป ในที่นี้ น่าจะหมายถึงการกำหนดู รู้ นะครับ เพราะในความหมายของคำว่า กลุ่มฟองน้ำ ถ้ารูปที่จับต้องได้ ด้วย รูป ก็น่าจะไม่ใช่ เพราะรูปเหล่านี้มีเวลาจับต้องได้มากกว่า ชั่วเวลา ของ ฟองน้ำแตกดับไป

    รูป ที่เป็น สภาวะ ก็คือ การปราฏของรูป เรียก ว่า จักษุสัมผัสสชาเวทนา คือความรู้สึกรับรู้ รูป ทางจักษุ รวมถึงอายตนะอื่นๆ ด้วยน่าจะเรียกว่ารูป เช่นเดียวกัน รูปอย่างนี้ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ในตนมีลำดับการเกิดขึ้นรับทราบด้วย เวทนา ดังนั้นเวทนา ก็เกิดดับไปกับรูป ด้วยความเร็ว ดังนั้น จึง ให้รูป อยู่ในกลุ่ม ของฟองน้ำ และ ให้เวทนาเป็นฟองน้ำ ที่เกิดดับอย่างเร็ว จนบางคร้งเรานับไม่ทันว่า สุข ที่เกิดๆ กี่ครั้ง ทุกข์ ที่เกิด ๆ กี่ครั้ง อารมณ์กำหนดไม่ทัน หากแต่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ก็สามารถกำหนดได้ทัน

    ธรรมวิจารณ์ยามเช้าครับ
     :08: :25:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ฟังจากหลวงพ่อพระครู ที่ คณะ 5 ว่า

   รูป คือ สี  สี คือ รูป เป็น รูป ปรมัตถ์


   :s_hi:

บันทึกการเข้า

ศรีสมัย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ที่ตัดออกมาจาก กระทู้เดิมเพราะเห็นว่า มีความพิเศษ ที่กล่าวในเรื่องขันธ์ มีพระสูตรอุปมา เรื่องของขันธ์ ที่น่าสนใจ เป็นความนัย และ ทำให้เกิด ยถาภูตาญาณทัศศนะ ส่วน สัมมาทิฏฐิ หากผู้อ่านได้พิจารณา เห็นความสำคัญของพระสูตร ที่แสดงเรื่องขันธ์ 5 นี้ อย่างชัดเจน

    เรื่องแรก ก็คือ

      รูป อุปมาดุจกลุ่มฟองน้ำ

         ดังนั้นถ้าผู้อ่าน ๆ ถึงตรงนี้นั้น  รูป เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม ฟองน้ำ ( พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำ )

     แต่ที่เป็นฟองน้ำ เลยคือ เวทนา ๆ อุปมาดุจฟองน้ำ

     ดังนั้น รูป กับ เวทนา นับเนื่องซึ่งกันและกัน สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา เหล่านี้ล้วนแล้วอาศัย รูป ที่ เกิดดังนั้น รูป และ เวทนาเกดพร้อมกัน นามรูป มาพร้อมกัน รูปนาม ก็มาพร้อมกัน

     เอาละ นำทางธรรมวิจารณ์ให้ท่าน ได้ร่วมวิจารณ์ธรรมกันต่อไป พอให้เห็นความสำคัญ กันนะจ๊ะ

     เจริญธรรม

      ;)           

จากที่พระอาจารย์ยกข้อความอธิบายนำ นี้น่าจะหมายถึงว่า

   รูป ไม่ใช่ปัญหา

   แต่ทีเ่ป็นปัญหา คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ แสดงว่าปัญหามีเพราะส่วนนาม ใช่หรือไม่คะ

    :c017:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
   ฟองน้ำมีลักษณะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบน้ำกับอากาศด้วยความแรง และแตกตัวไปอย่างไว
  ถ้ารูปเป็นกลุ่มฟองน้ำก็หมายความว่า รูปนั้นมีจำนวนมากเป็นกลุ่ม 

 เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ
   ฟองน้ำ คือ เวทนา ความรู้สึกทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นอารมณ์ที่เกิดดับจากอารมณ์กับรูปเป็นเหตุ จากนามเป็นเหตุ


       สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
   พยับแดด เหมือนคลื่นไอร้อน ที่มองอย่างไม่สังเกต ก็มองไม่เห็น ต้องมีมุมมองถึงจะมองเห็น ต้องเพ่งพินิจมาก ๆ ถึงจะเห็น ความจำจึงเป็นเสมือนสิ่งที่มองไม่เห็น ต้องมีการเพ่งจึงรู้ได้ ต้องมีกำหนดจึงจะเข้าใจ

       สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย
    ต้นกล้วย ที่ยืนต้นดูแข็งแรงแต่ก็ปวกเปียก ขึ้นได้ทุกสภาพพื้นที่ เพียงมีหน่อก็ขึ้น แก่นของกล้วยก็คือใยกล้วยม้วนทับกันไปมาจนแน่น
   
       และวิญญาณอุปมาด้วยกล.

    กล คือ มายา หลอกได้ทั้ง ๆ ที่ไม่จริง มีวิธีที่แยบยล วิญญาณ มีเพราะอายตนะฉันใด ฉันนั้น มายา ก็มีอยู่ทุกอายตนะ

    ลองธรรมวิจัย ดูคะ รอเพื่อน ๆ ช่วยกัน ธรรมวิจยะต่อนะคะ


    :49: :58:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ครูนภา ลงมาธรรมวิจัย ด้วย แต่อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจอยู่ดี สงสัยต้องถอยกับหัวข้อนี้

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ทำ ธรรมวิจยะ ได้ดี

 ดังนั้นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ ก็คือ กายนคร หรือ เบญขันธ์ หรือ ขันธ์ 5

  มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป้าหมาย คือการมองเห็นว่า ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้

 เมื่อเห็นอย่างนี้ จิตก็จะรู้ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

 เมื่อจิตรู้อย่างนี้แล้ว ก็จะเข้าถึง ส่วนที่เรียกว่า คลายกำหนัด การคลายกำหนัดเป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนาที่แท้จริง ในพระพุทธศาสนา ดังนั้น ท่านที่มีการความกำหนัด ก็จะแสวงหาวิธีการ วิมุตติ เองโดยสภาพ

  ดังนั้นการจางคลาย จากความกำหนัด ก็คือ การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรเป็นกิจที่ควรทำ อะไรไม่ใช่กิจที่ควรทำ การเห็นแจ้งตามความเป็นจริงนี้เรียกว่า นิพพิทา ความหน่าย เมื่อ หน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดได้ จิตก็จะหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้น จึงสมควรเรียกว่า สงบ มุนี

   ดังนั้นในหัวข้อนี้ ที่จริงหวังว่าท่านทั้งหลาย จะได้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อละอัสสมิมานะ ความเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเราในเบื้องต้นนี้ลงเสียได้ จางคลายจากความถือดี

   เจริญธรรม / เจริญพร ขอให้ทุกท่านช่วยกันทำ ธรรมวิจยะ ส่วนนี้ต่อไปกันด้วย เป็นการแจกธรรมมอบดวงตาที่ประเสริฐที่สุด

    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณพระอาจารย์ ที่มาแนะนำหัวข้อธรรมในวันนี้ ครับ

  :25: :c017: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

TC9

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ ลำดับ ศัพท์ไว้ คือ

   รูป รูปธาตุ รูปสัมผัส อุปาทายรูป สังขารรูป

   กำหนด รูป กำหนดอย่างไร ? กำหนดทำไม ? กำหนดแล้วได้อะไร ? อยากให้ทุกท่าน ช่วยกัน ธัมมะวิจยะต่อกันคะ
  :25: :88:
บันทึกการเข้า

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำ ธรรมวิจยะ ได้ดี

 ดังนั้นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ ก็คือ กายนคร หรือ เบญขันธ์ หรือ ขันธ์ 5

  มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป้าหมาย คือการมองเห็นว่า ไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้

 เมื่อเห็นอย่างนี้ จิตก็จะรู้ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

 เมื่อจิตรู้อย่างนี้แล้ว ก็จะเข้าถึง ส่วนที่เรียกว่า คลายกำหนัด การคลายกำหนัดเป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนาที่แท้จริง ในพระพุทธศาสนา ดังนั้น ท่านที่มีการความกำหนัด ก็จะแสวงหาวิธีการ วิมุตติ เองโดยสภาพ

  ดังนั้นการจางคลาย จากความกำหนัด ก็คือ การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรเป็นกิจที่ควรทำ อะไรไม่ใช่กิจที่ควรทำ การเห็นแจ้งตามความเป็นจริงนี้เรียกว่า นิพพิทา ความหน่าย เมื่อ หน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดได้ จิตก็จะหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้น จึงสมควรเรียกว่า สงบ มุนี

   ดังนั้นในหัวข้อนี้ ที่จริงหวังว่าท่านทั้งหลาย จะได้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อละอัสสมิมานะ ความเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเราในเบื้องต้นนี้ลงเสียได้ จางคลายจากความถือดี

    ;)

 พยายาม อ่านกระทู้นี้มา ก็ขอขอบคุณกับพระอาจารย์ ที่ยังชี้ตรงลง เรื่อง เดียวกันอยู่ในพรรษานี้ คือ การเห็นธรรมในเบื้องต้น หรือ ธรรมจักษุ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
๓. เผณปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕

  [๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี. ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำกลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่าหาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็นเพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

   [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย

เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น   พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย   สาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต  และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
เวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

   [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฯลฯสาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.

   [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยว
แสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษนั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น

เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง  พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วยพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็นเพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในสังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.

  [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่
สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า   หาสาระมิได้ สาระในกลพึงมีได้อย่างไรแม้ฉันใด. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุเห็น เพ่งพิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมuญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า


            [๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
                         รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญา
                         อุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย
                         และวิญญาณอุปมาด้วยกล.

                         ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
                         ใดๆ  เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
                         ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
                         ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
                         จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
                         กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
                         แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
                         ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่  เบญจขันธ์
                         เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง 

                         เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
                         เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
                         พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
                         ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
                         ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ  ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.

จบ สูตรที่ ๓.

            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๓๑๓๒ - ๓๑๙๑.  หน้าที่  ๑๓๔ - ๑๓๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3132&Z=3191&pagebreak=0
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=242
            สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_17
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สิ่งสำคัญ ที่บังส่วนนี้อยู่เรียกว่า ความสืบต่อ หรือ สันตะติ  หรือ ความเคยชิน
ดังนั้นเห็นธรรม ต้องทำให้ใจสงบคลื่นรบกวน ส่วนนี้ ธรรมจึงจักเปิดเผย ให้เห็นตามความเป็นจริงได้

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

teepung

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ กระทู้เก่ามีสาระ ธรรม มากนะครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า