ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดอกไม้สวย แต่ไร้กลิ่นหอม : "คำพูดที่ดี" จะมีประโยชน์ต่อเมื่อ "ผู้พูดทำตามได้"  (อ่าน 9248 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



    วาจาสุภาษิตเหมือนดอกไม้

    พระพุทธภาษิต :-
    ยถาปิ รุจิรั ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ
    เอวํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต
    ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
    เอวํ สุภาษิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต


    คำแปล :-
    ดอกไม้งาม มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่น ฉันใด วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำตาม ฉันนั้น แต่วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี เหมือนดอกไม้งามสีสวย และมีกลิ่นหอม

    อธิบายความ :-
    ความแตกต่างอยู่ที่กลิ่นหอม และไม่มีกลิ่นหอม ดอกไม้แม้จะมีสีสวย สัณฐานงามเหมือนกัน แต่ดอกหนึ่งมีกลิ่นหอม อีกดอกหนึ่งกลิ่นไม่หอม คุณค่าย่อมแตกต่างกันมาก ใจคนย่อมชอบดอกไม้ที่กลิ่นหอมมากกว่า แม้สีจะไม่สวย สัณฐานจะไม่งาม
    วาจาสุภาษิตก็เหมือนกัน ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลผู้นำมาปฏิบัติตาม หาสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติไม่

    อนึ่ง คนดีเปรียบได้กับดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม คนชั่วเปรียบกับดอกไม้ที่กลิ่นเหม็น ส่วนรูปร่างหน้าตาอาจคล้ายกันได้ เหมือนสีและสัณฐานของดอกไม้ ดอกอุตพิดนั้น สีและสัณฐานไม่เลว แต่ไม่มีใครอยากแตะต้อง เพราะกลิ่นมันเหม็นจัด ส่วนดอกกุหลาบแม้มีหนามแต่คนก็ปรารถนา เพราะกลิ่นหอมชื่นใจ
    สีของดอกไม้ไม่สำคัญเท่ากลิ่นฉันใด หน้าตารูปร่างของคนก็ไม่สำคัญเท่าคุณความดีในตัวของเขาฉันนั้น



     ask1 ans1 ask1 ans1


    พระพุทธภาษิตนี้ พระศาสดาตรัส เมื่อประทับอยู่ที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี ทรงปรารภฉัตตปาณิอุบาสกและการเรียนธรรมของพระนางมัลลิกาเทวี และพระนางวาสภ ขัตติยา มีเรื่องย่อดังนี้


        เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก   

       ฉัตตปาณิ เป็นอุบาสกอยู่ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้รอบรู้ในพระพุทธพจน์ และได้บรรลุมรรคผลเป็นอนาคามี เขารักษาอุโบสถแต่เช้าตรู่ทุกวันและสู่ที่บำรุงพระศาสดาทุกวัน

       ความจริงอุบาสกผู้เป็นอนาคามีแล้ว ไม่ต้องรักษาอุโบสถ โดยวิธีสมาทาน เพราะอุโบสถศีล พรหมจรรย์และการบริโภคอาหารวันละครั้งย่อมมาพร้อมกับการบรรลุมรรคผลนั่นเอง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสถึงช่างหม้อชื่อ ฆฏิการะว่า
       "ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ การบริโภคอาหารวันละครั้ง ประพฤติพรหมจรรย์เป็นปกติ มีศีล มีกัลยาณธรรม"


        :96: :96: :96: :96: :96:

       วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา ขณะนั้นฉัตตปาณิอุบาสกอยู่ในที่เฝ้าแล้ว เขาเห็นพระราชากำลังเสด็จมาจึงคิดว่า เราควรลุกขึ้นต้องรับหรือไม่หนอ? ในที่สุดเขาตกลงใจไม่ลุกขึ้น เพราะคิดว่ากำลังนั่งอยู่ในสำนักของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ คือพระพุทธเจ้า หากจะลุกรับพระเจ้าปเสนทิก็จะเป็นการขาดความเคารพในพระศาสดา
       พระราชาปเสนทิ เห็นฉัตตปาณิอุบาสกไม่ลุกรับ มีพระมนัสขุ่นเคือง แต่ไม่กล้าตรัสอะไร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วประทับ ณ ที่อันสมควรแก่พระองค์

       พระศาสดาทรงทราบความขุ่นเคืองในพระทัยของพระราชามีพระพุทธประสงค์จะบรรเทาความขุ่นเคืองนั้น จึงตรัสพรรณนาคุณของฉัตตปาณิอุบาสกว่า
       "มหาบพิตร! ฉัตตปาณิอุบาสกนี้ เป็นบัณฑิตได้เห็นธรรมแล้ว รอบรู้ในพุทธพจน์ รู้จักประโยชน์ มิใช่ประโยชน์, สิ่งที่ควรและไม่ควร..."
       เมื่อพระราชาทรงสดับคุณกถาของฉัตตปาณิอุบาสกอยู่ พระหฤทัยก็อ่อนลง

        :25: :25: :25: :25:

       ต่อมาอีกวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่บนปราสาททอดพระเนตรเห็นฉัตตปาณิอุบาสก กั้นร่ม สวมรองเท้าเดินผ่านมาทางพระลานหลวง จึงรับสั่งให้ราชบุรุษเรียกมา อุบาสกหุบร่ม ถอดรองเท้าเข้าไปเฝ้า ยืนอยู่ ณ ที่ควรแก่ตนแห่งหนึ่ง พระราชาตรัสถามว่า ทำไมจึงหุบร่มและถอดรองเท้าเสียเล่า เพื่งรู้วันนี้เองหรือว่าเราเป็นพระราชา แล้ววันก่อน ท่านนั่งอยู่ในสำนักพระศาสดา เห็นเราแล้ว ทำไมจึงไม่ลุกรับ

       ฉัตตปาณิอุบาสก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช! วันนั้น ข้าพระพุทธเจ้านั่งอยู่ในสำนักของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ หากลุกรับพระราชาประเทศราช ก็จะเป็นการขาดความเคารพในพระศาสดา
       พระราชาจึงตรัสตอบว่า ช่างเถอะอุบาสก เรื่องแล้วไปแล้ว, แต่เขาเล่าลือกันว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ทั้งปัจจุบันและอนาคต ท่านรอบรู้ในพระพุทธพจน์ จะช่วยสอนธรรมแก่พวกเราในวังได้หรือไม่?   
       ฉัตตปาณิอุบาสก จึงกราบทูลปฏิเสธ และถวายเหตุผลว่า สถานที่ไปของคฤหัสถ์ก็มีโทษมาก ขอพระองค์ได้โปรดนิมนต์บรรพชิตรูปใดรูปหนึ่งมาสอนธรรมเถิด


        st12 st12 st12 st12

       พระราชาเสด็จขึ้นแล้วไปเฝ้าพระศาสดาทูลว่า พระนางมัลลิกาเทวีและพระนางวาสภขัตติยา มีพระประสงค์จะเรียนธรรม ขอให้พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์เสด็จไปสู่ราชนิเวศน์ เพื่อเสวยเป็นเนืองนิตย์และแสดงธรรมแก่พระมเหสีทั้งสอง
       พระศาสดาตรัสว่า การที่พระพุทธเจ้าจะไปเสวยในที่แห่งเดียวเป็นประจำนั้นไม่ควร พระเจ้าปเสนทิ จึงว่า ถ้ากระนั้นขอให้มอบให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง พระศาสดาทรงมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของพระอานนท์

       วันหนึ่งพระศาสดาตรัสถามถึงผลการเรียนธรรม ของพระนางทั้งสองกับพระอานนท์ พระเถระทูลว่า พระนางมัลลิกาเทวีนั้นทรงตั้งพระทัยศึกษาโดยเคารพ ท่องพระพุทธพจน์โดยเคารพ ส่วนพระนางวาสภขัตติยา พระญาติของพระองค์ ไม่เรียนโดยเคารพ (คือไม่ตั้งพระทัยเรียน) ไม่ท่องพระพุทธพจน์โดยเคารพ

        st11 st11 st11 st11

      พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระอานนท์แล้ว จึงตรัสว่า
       "อานนท์! ธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ตั้งใจเรียน ฟัง ท่อง และแสดง เหมือนดอกไม้สีสวย แต่ไม่มีกลิ่น แต่ธรรมของเราจะมีผลดียิ่งแก่ผู้เรียนผู้ฟังโดยเคารพ"
       ดังนี้แล้ว ตรัสพระพุทธภาษิตว่า
       "ยถาปิ รุจินํ ปุปฺผํ" เป็นอาทิ มีนัยดังพรรณนามาแล้่วแต่ต้น


บทความจาก นสพ. ผู้จัดการ โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000004474
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2016, 10:03:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ