ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "สตรี" ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย | การส่งเสริมศาสนาของ อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล  (อ่าน 1223 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"สตรี" ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย | การส่งเสริมศาสนาของ อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล



บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการจะศึกษาวิธีการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสิกาในสมัยพุทธกาล จากการศึกษาพบว่า อุบาสิกา คือ สตรีผู้เข้ามานั่งใกล้พระรัตนตรัย พระพุทธองค์ตรัสสอนให้มีบทบาทพร้อมๆกับภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก วิธีการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสิกา สรุปกว้างๆ ได้ 3 วิธี ได้แก่

     (1) วิธีในการอุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วยปัจจัย 4 เพื่อให้ภิกษุได้รับความสะดวกในการศึกษา ปฏิบัติและเผยแผ่ธรรม
     (2) วิธีเผยแผ่ธรรมด้วยการแสดงธรรมหรือตอบปัญหาธรรม แก่บุคคลในครอบครัวและคนที่รู้จักอื่นๆ บางคนคนปุจฉาและวิสัชนาธรรมกับพระภิกษุด้วย
    (3) วิธีลงมือปฏิบัติตามคาสอนของพระพุทธเจ้า เพราะตราบใดที่ยังมีคนปฏิบัติตามคาสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาก็จะยังคงอยู่ในโลกตราบนั้น อุบาสิกาผู้ฝักใฝ่ในการปฏิบัติธรรมนั้นก็จะทาหน้าที่เป็นผู้แนะนาสั่งสอนผู้สนใจอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยลดภาระแก่ภิกษุในทางหนึ่งด้วย



บทนำ

บุคคลผู้นับถือพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธบริษัท จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ
     (1) ภิกษุ
     (2) ภิกษุณี
     (3) อุบาสก และ
     (4) อุบาสิกา
บุคคลเหล่านี้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ บรรพชิต (นักบวช) กับคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) หรือบรรพชิตกับฆราวาส

พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าต่างเป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาร่วมกัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วพุ ทธบริษัททั้ง 4 ไม่ใช่แต่ฝ่ายใดฝ่ายเดียว แต่มีทั้งพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา หรือบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งหมดนี้เป็นเจ้าของพุทธศาสนาเรามีสิทธิ์เท่ากัน  (พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต, 2545) และมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเอื้อเฟื้อเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจะต้องทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

   ก่อนที่พระพุทธองค์จะดับขันธ์ปรินิพพานพระศาสดาทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า

   “ธรรมและวินัย ที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไปก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย” [ที.ม. (ไทย) 10/216/164]

อันนี้ก็ถือว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงมาตรฐานสัจธรรมในพระพุทธศาสนาว่า เมื่อพระองค์นิพพานแล้วก็ให้ถือว่า พระธรรมวินัยนี้เป็นศาสดา

อุบาสิกา เป็นภาษาบาลี ในภาษาพูด ภิกษุเรียกคฤหัสถ์สตรีว่า สีกา ซึ่งเป็นคำที่มาจากคำว่า อุบาสิกา คำตรงกันข้ามก็คือ ประสก ที่ภิกษุเรียกคฤหัสถ์ชาย ซึ่งมาจากคำว่า อุบาสก

อุบาสิกา หมายถึง สตรีที่นั่งใกล้พระรัตนตรัย แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ดำรงชีวิตอยู่ในคุณสมบัติของผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย

ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ 3 ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ระลึก เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ คือ การรักษาพระธรรมวินัยนั่นเอง

และพระศาสดาได้ตรัสไว้แก่ มารผู้ใจบาปว่า “เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกา อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวก อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนา ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.”

ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ อุบาสิกาเป็นบุคคลที่มีสถานะและบทบาทน่าศึกษา ทั้งนี้เพราะอุบาสิกาโดยสถานภาพแล้วเป็นสตรี และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า สตรีในสังคมพราหมณ์จะถูกจำกัดบทบาทในหลายด้าน โดยเฉพาะบทบาททางศาสนา ต่อเมื่อพระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระพุทธองค์ได้ให้โอกาสแก่อุบาสิกา ทำให้อุบาสิกามีบทบาทในพระพุทธศาสนา เพราะว่าการพัฒนาคนในสังคมให้เป็นคนดี มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง มีปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆในชีวิตได้อย่างดี เพื่อความสงบสุขในสังคมไทย จำเป็นจะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดระเบียบสังคมให้ดีงาม และเกื้อกูลแก่คุณธรรม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีหลักธรรมอยู่หลายประการ ที่ทำให้คนในสังคมและสภาพแวดล้อมได้รับการจัดสรร ก่อให้เกิดชีวิตที่ดีร่วมกัน เพื่อให้คุณธรรมภายในเจริญงอกงาม นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตที่จะช่วยให้การดำเนินสู่จุดหมาย ตามแนวทางของกระบวนธรรมที่รู้เข้าใจแล้วนั้น เป็นผลสำเร็จขึ้นมาในชีวิตจริงในการดำเนินชีวิตของคน (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต, 2549 : 64-66)

ถึงแม้ว่าทุกคนต่างก็มีข้อบกพร่องอยู่ก็ตาม แต่ถ้าหากรู้จักหลักในการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งได้ปฏิบัติตามหลักการนั้นแล้ว ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม กติกาในการอยู่ร่วมกัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ (สมภาร พรมทา, 2548 : 524)

บทความนี้ต้องการจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอุบาสิกาในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับวิธีเผยแผ่ธรรมของอุบาสิกา ในการนำเสนอจะกล่าวถึงความหมายของอุบาสิกา ประเภทของอุบาสิกาสถานะของอุบาสิกา วิธีส่งเสริมพระพุทธศาสนา และผลของการส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาของอุบาสิกา จะได้นำเสนอไปตามลำดับดังต่อไปนี้



ความหมายของอุบาสิกา

คำว่า “อุบาสิกา” ในพระวินัยปิฎกมีกล่าวไว้ว่า “สตรีที่ได้ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่สตรีที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ, สตรีที่ถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ, สตรีถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ” อีกแห่งหนึ่งมีอธิบายว่า สตรีที่ชื่อว่าอุบาสิกานั้น ได้แก่ผู้ ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง สตรีที่เรียกว่า อุบาสิกา ได้แก่ เป็นผู้มอบชีวิตถึงพระรัตนตรัย

อันได้แก่มีความศรัทธา เคารพ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีความศรัทธา เชื่อมั่น และเคารพในพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา และมีความเลื่อมใส ศรัทธาและเคารพในพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา

นอกจากความศรัทธาความเคารพในพระรัตนตรัยแล้ว อุบาสิกาควรปฏิบัติตนให้เหมาะสม เช่น การรักษาศีล การปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงธรรม ที่พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน

สถานภาพของอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา

หลักคำสอนจำนวนมากในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ด้วยความมุ่งหมายที่จะแก้ไขความเชื่อถือตามหลักศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนามีทัศนะแตกต่างจากพราหมณ์อย่างชัดเจน คือ ทัศนะต่อสตรี อุบาสิกาในฐานะเป็นสตรี จึงได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากพราหมณ์เห็นว่าสตรีมีฐานะต่ำต้อยกว่าบุรุษ จึงไม่ค่อยให้เกียติสตรีในบางเรื่อง โดยเฉพาะด้านศาสนา

แต่พระพุทธองค์ทรงมีความเห็นว่า สตรีกับบุรุษว่า โดยศักยภาพในการพัฒนาตน สตรีก็มีคุณสมบัติไม่ได้ด้อยไปกว่าบุรุษ จึงทรงให้ความสำคัญกับสตรี และปฏิบัติต่อสตรีด้วยพระมหากรุณา



สรุปทัศนะที่พระพุทธศาสนามีต่อสตรี ในประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1) ความเป็นหญิงหรือชายเป็นเพียงช่วงหนึ่งของชีวิต
    ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว คนเราแต่ละคนต้องเวียนว่ายตายเกิดจนนับชาติไม่ถ้วน แต่ละคนเคยเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้าง หมุนเวียนไปตามแต่กรรมของตน ในแง่นี้ทุกคนที่เป็นมนุษย์ จึงไม่มีอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนให้บรรลุธรรมสูงสุดได้

   ส่วนการที่เรามาแบ่งแยก เป็นผู้ชาย เป็นผู้หญิงนี้ เป็นการมองในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่งๆ หรือเฉพาะหน้า แต่ความจริงแล้ว แต่ละคนก็มีทั้งความเป็นหญิงและความเป็นชาย เปลี่ยนไปเรื่อยๆ [ขุ.ธ.อ. (ไทย) 2/232-238] ทั้งชายและหญิงที่นับถือพระพุทธศาสนามีสิ่งที่ต้องคำนึงเหมือนกัน คือ จะต้องเชื่อมั่นในศักยภาพของตน และต้องหมั่นพิจารณาหาทางพัฒนาศักยภาพของตนให้สามารถพึ่งตนเองให้ได้

2) ความเสมอภาคกันในเรื่องกรรม
    ทัศนะของพระพุทธศาสนาต่อสตรีแตกต่างจากพราหมณ์มาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแบบกรรมวาที กิริยวาที คือ สอนให้เชื่อผลแห่งการกระทำ ให้ทำกิจทั้งหลายด้วยความเพียรของตน ไม่เชื่อผลแห่งการอ้อนวอน สอนให้หวังผลจากการปฏิบัติเท่านั้น ผู้ใดไม่ทำบาปด้วยตน ผู้นั้นย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้

    ดังนั้น หากสตรีคนใดกระทำกรรมดี ย่อมประสบกับความสุขอันเป็นอานิสงส์ หากสตรีมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้วตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรมก็ สามารถบรรลุธรรมถึงขั้นเป็นพระอริยบุคคลได้ แม้จะเป็นทาสี แต่ถ้ารอบรู้หลักธรรมก็จะได้รับการยกย่อง ได้รับเกียรติให้เป็นผู้แสดงธรรมแก่เจ้านาย ขณะเดียวกัน หากสตรีคนใดทำกรรมชั่วก็ประสบกับความทุกข์อันเป็นวิบากเหมือนกับคนอื่นๆ **

______________________________
**เช่น นางขุชชุตตรา ผู้เป็นนางทาสีของพระนางสามาวดี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระนางสามาวดีจึงไม่ให้นางทำงานหนัก แต่ให้มีหน้าที่ไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วกลับมาแสดงแก่พระนางพร้อมหญิงบริวาร 500. ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) 2/66.

3) ความเสมอกันในการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรม
    ตามหลักพระพุทธศาสนา สตรีก็มีศักยภาพในการบรรลุธรรมเหมือนบุรุษ ในการประกาศพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์และพระสาวกก็ มีพระมหากรุณาต่อสตรีเท่าๆ กันกับบุรุษ ทรงให้โอกาสในการฟังธรรมและการปฏิบัติตนตามหลักการของพระพุทธศาสนาเท่าๆกัน สตรีจึงมีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมได้เท่าๆ กับบุรุษ หากพระพุทธองค์พิจารณาเห็นว่า สตรีมีอินทรีย์แก่กล้าพร้อมจะบรรลุธรรม แม้จะมีอุปสรรค์ก็จะเสด็จไปโปรด

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของสตรีแตกต่างจากบุรุษ พระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงความแตกต่างนี้ จึงทรงวางระเบียบปฏิบัติพิเศษ สำหรับสาวิกาของพระองค์ เพื่อให้สามารถศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
 
    กล่าวคือ หลังจากที่เกิด กรณีพระอุบลวรรณาเถรีถูกนันทมาณพข่มขืน พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้พระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า แล้วรับสั่งให้สร้างที่พักของภิกษุณีในภายในพระนคร แล้วบัญญัติให้นางภิกษุณีจำวัดอยู่เฉพาะในอาวาสที่มีภิกษุเท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดี [ขุ.ธ.อ. (ไทย) 3/214-218]

    จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่า อุบาสิกาในฐานะที่เป็นผู้หญิงเป็นบุคคลที่ได้รับการยกฐานะจากพระพุทธศาสนาให้มีฐานะและมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเท่ากับบริษัทอื่นๆ

    อย่างไรก็ตาม มีเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับสตรีสมัยพุทธกาล คือ บทบาทการเผยแผ่ธรรมของอุบาสิกา ซึ่งเป็นลักษณะในการทำตนเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดี เป็นแบบอย่างชีวิตของอุบาสิกาที่รู้แจ้งและซาบซึ้งในพระรัตนตรัย แล้วดำรงชีวิตหรือดำเนินชีวิตไปอย่างมั่นคง จนคนใกล้ชิดได้รู้ได้เห็น แล้วอยากจะมีชีวิตแบบนั้นบ้าง




วิธีส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสิกา ในสมัยพุทธกาล

วิธีส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสิกา ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลพบว่า อุบาสิกามีบทบาทไม่น้อยไปกว่า ภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า อุบาสิกาที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ มีบทบาทไม่เฉพาะในแต่ละด้านเท่านั้น อุบาสิกายังมีบทบาทในการเผยแผ่ธรรมในพระพุทธศาสนาให้มั่นคงดำรงอยู่ วิธีการเผยแผ่ธรรมในพระพุทธศาสนาของอุบาสิกา ดังนี้

1) วิธีการถามตอบปัญหาธรรม และการอธิบายคาสอนของพระพุทธเจ้า

    วิธีเผยแผ่ธรรมของอุบาสิกาแบบนี้ อุบาสิกาหลายคนทำได้ดี จนได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะด้านการแสดงธรรม ได้แก่ นางขุชชุตรา ประวัติและบทบาทของนางมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

นางขุชชุตตรา เป็นลูกสาวของหญิงแม่นมในเรือนโฆสกเศรษฐี ในกรุงโกสัมพี เป็นหญิงพิการหลังค่อม ต่อมาเมื่อโฆสกเศรษฐีได้ยกนางสามาวดีผู้เป็นหญิงกำพร้าให้อยู่ในฐานะเป็นธิดาของตนแล้ว ได้มอบหญิง 500 คน ให้เป็นบริวารของนางอีกด้วย และนางขุชชุตตราก็ได้เป็นบริวารของนางด้วยเช่นกัน

เมื่อนางสามาวดีได้รับการอภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทน แห่งเมืองโกสัมพี และพระเจ้าอุเทนได้พระราชทานทรัพย์ 8 กหาปณะ แก่นางขุชชุตตรา เพื่อจัดซื้อดอกไม้ให้แก่นางสามาวดีทุกวัน

วันหนึ่ง นายสุมนะขอโอกาสแก่ท่านเศรษฐี เพื่อกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อเศรษฐีอนุญาตให้สมประสงค์แล้ว จึงจัดการตกแต่งเสนาสนะและภัตตาหาร ขณะที่เขากาลังจัดเตรียมการอยู่นั้น นางขุชชุตตราก็มาถึง นายสุมนะกล่าวกับเธอว่า

  “วันนี้ขอให้รออยู่ก่อน เพราะตนได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดามาเสวยภัตตาหารที่บ้าน และขอให้นางช่วยเหลือในการจัดภัตตาหารด้วย เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยรับดอกไม้ไป”

ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดี เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนา นางขุชชุตตรา ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนานี้ด้วย นางส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนา เมื่อจบลงก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

ตามปกติในวันอื่นๆ ที่แล้วมา นางขุชชุตตรา จะซื้อดอกไม้เพียง 4 กหาปณะ และเก็บเอา ไว้เอง 4 กหาปณะ แต่วันนี้นางซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะ นางสามาวดีเห็นว่าวันนี้ได้ดอกไม้มากกว่าทุก ๆ วัน จึงถามนางขุชชุตตรา ขึ้นว่า “ทำไมวันนี้จึงได้ดอกไม้มากกว่าปกติ” นางขุชชุตตรา ได้บอกตามความเป็นจริงว่า “เมื่อก่อนนั้นได้ยักยอกเงินไว้เพื่อตนเองครึ่ง หนึ่ง แต่วันนี้หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาจนบรรลุอมตธรรมแล้ว เห็นว่าการกระทำอย่างนั้นไม่ควร จึงได้ซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะ”

นางสามาวดี เมื่อทราบความโดยตลอดแล้ว ก็มิได้ว่ากล่าวติเตียนต่อนางขุชชุตตรา แต่ประการใด กลับขอให้นางได้แสดงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระบรมศาสดาให้ตนและบริวารอื่นๆได้ฟังบ้าง ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ขอโอกาสอาบน้ำชาระร่างกายและประดับตกแต่งร่างกายพอสมควรแก่ฐานะ แล้วนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าหญิงทั้งปวง แสดงธรรมไปโดยลาดับ ตามที่ตนได้ฟังมาจากพระบรมศาสดา เมื่อจบลงแล้ว หญิงเหล่านั้นทั้งหมดมีนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อมๆ กัน

หลังจากนั้น นางขุชชุตตราได้รับการยกฐานะจากการเป็นทาสีคอยรับใช้นางสามาวดี ให้ดำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ ของนางสามาวดีและหญิงบริวารเหล่านั้น มีหน้าที่ไปรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา แล้วนำมาแสดงให้นางสามาวดีกับบริวารฟัง นางขุชชุตตรากระทำดังนั้นจนนางเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เพราะความที่นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามา สามารถแสดงธรรมได้อย่างไพเราะลึกซึ้งได้ดีกว่าอุบาสิกาคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องนางในตาแหน่งเอตทัคคะ ว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้แสดงธรรม



2) การอุปถัมภ์พระสงฆ์ให้ได้รับความสะดวก ในการศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่ธรรม

    หมายถึง การถวายการอุปถัมภ์พระสงฆ์ด้านปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต ที่พักอาศัยและยาที่สำคัญต่อการดำชีพ ประกอบด้วย การถวายภัตตาหาร การถวายเครื่องนุ่งห่ม การถวายเครื่องอุปโภคและยารักษาโรค วิธีนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดารงชีพ พระสงฆ์ดำรงชีพอยู่ได้ก็เพราะภัตตาหารจากผู้มีจิตศรัทธาสมดังพุทธพจน์ที่ว่า “สัตว์ทั้งปวงมีชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร” [ที.ปา.(ไทย) 1/307191]

ตัวอย่างอุบาสิกาที่มีบทบาทเด่นด้านนี้  ได้แก่

   (1) นางวิสาขา อุบาสิกาผู้เลิศด้านถวายทาน
        นางนิมนต์พระสงฆ์จานวน 500 รูป มารับบิณฑบาตหรือฉันอาหารที่บ้านเป็นปรจำทุกวัน และในบางครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในตอนเย็นนางให้คนนำน้ำปาณะ 8 อย่าง [วิ.ม.(ไทย) 5/300/131] ถวายผ้าอาบน้ำฝน และถวายยารักษาโรคแก่พระสงฆ์ทุกรูป การถวายผ้าอาบน้ำฝน ต่อมาได้เป็นประเพณีให้ศาสนิกชนถวายผ้าอาบน้ำฝนก่อนเข้าพรรษา

   (2) นางสุชาดา อุบาสิกาผู้เป็นเลิศด้านถึงสรณะก่อน
        นางถวายข้าวปายาสแก่พระพุทธเจ้า ในวันก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ (ปัญญา ใช้บางยาง, 2552) อุบาสิกาที่มีวิธีในการอุปถัมภ์บำรุงปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ ได้เสียสละทรัพย์ในการช่วยเหลือขวนขวาย เพื่อจัดหาภัตตาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภคและยารักษาโรคแก่พระสงฆ์ เพื่อต้องการให้พระสงฆ์ได้รับความสะดวกในการครองชีพ ได้ปฏิบัติกิจทางพระพุทธศาสนา เป็นวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญด้านหนึ่ง

3) วิธีลงมือปฏิบัติธรรม

วิธีนี้เป็นการการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาด้วยการลงมือปฏิบัติ อุบาสิกาผู้ที่ผ่านการปฏิบัติธรรมมามากๆ จะเป็นคนที่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังหลักในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา หมายถึง การช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น ในด้านการสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุ การชำระอธิกรณ์และป้องกันภัย การแสดงธรรมและเผยแผ่คำสอน ด้านการช่วยเหลือสังคม

อุบาสิกาที่มีบทบาทในด้านนี้ ได้แก่

     (1) นางวิสาขา
          นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางได้ขายเครื่องประดับ ชื่อมหาลดาปสาสน์ราคา 27 โกฏิ เพื่อซื้อที่ดินสร้างวัดบุพพารามในเมืองสาวัตถี 9 โกฏิ และฉลองวิหารอีก 9 โกฏิ การวินิจฉัยและตัดสินอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุณีสาวซึ่งตั้งครรภ์ในขณะบวชเป็นภิกษุณี นางวินิจฉัยจากการตั้งครรภ์และสอบถามได้คำนวนเวลาตั้งครรภ์กับเวลาที่นางบวช จึงทราบว่า ภิกษุณีสาวตั้งครรภ์ก่อนบวช เนื่องจากนางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องการจะบวช แต่เวลานั้นนางไม่ทราบว่านางตั้งครรภ์ นางวิสาขาได้ช่วยชำระอธิกรณ์ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ประกาศความบริสุทธิ์ของภิกษุณีสาวรูปนี้ในท่ามกลางสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ช่วยทำให้ศาสนาบริสุทธิ์ปราศจากความเสื่อมเสีย [ขุ.ธ.อ. (ไทย) 736/46-49]

     (2) นางสุปปิยาอุบาสิกา
          อุบาสิกาผู้เลิศด้านอุปัฎฐากภิกษุไข้ เมื่อนางเฉือนเนื้อที่ต้นขาตนเองทำน้ำซุบเพื่อถวายภิกษุอาพาธ พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ นางเป็นต้นเหตุให้เกิดพุทธบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ (ปัญญาใช้บางยาง, 2552)

     (3) พระนางสามาวดี
          นางได้ให้การช่วยเหลือสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลอนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าด้านวัตถุสิ่งของเช่น มีอาหาร มีที่พักอาศัย มีเสื้อผ้า และการช่วยแนะนำสั่งสอนให้เกิดความรู้หรือเกิดปัญญา เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ถูกต้อง ดังนั้นการช่วยเหลือสังคมจึงเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีความเกิดแก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันกับเราให้ได้รับความสุข ความสะดวกสบายขึ้น บทบาทด้านนี้ เป็นบทบาทที่แสดงออกมาในด้านความมีคุณธรรมอย่างแท้จริง มุ่งหวังช่วยเหลือผู้ยากไร้ และช่วยรับภาระสังคม ทำให้สังคมที่เราอยู่ร่วมกันเกิดความสุข



ผลของการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ของอุบาสิกาในสมัยพุทธกาล

อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล เป็นผู้มีบทบาทในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา โดยการอุปถัมภ์พระสงฆ์ให้ดำรงชีพด้วยปัจจัย 4 เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่มั่นคงตลอดไป ถ้าไม่อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมสลายและหมดไป ทั้งนี้เพราะว่าพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักพระพุทธศาสนา และสอนให้อุบาสก

อุบาสิกาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีจิตใจศรัทธามั่นคงต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สตรีผู้ที่มีศรัทธา มีศีล มีจริยวัตรอันงดงามและมีปัญญา มีบทบาทสำคัญต่อความเจริญของพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนปัจจุบันนี้ เป็นเสาหลักอันสำคัญเสาหนึ่งที่ช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่คู่กับโลก

สตรีเป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มีความสงบเสงี่ยมละเอียดอ่อน สุขุมรอบคอบ เป็นผู้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีศรัทธา มีความอดทนอย่างยิ่งยวด และพร้อมเสียสละ แม้ชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา สตรีเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีปรารถนาที่จะให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างมั่นคงถาวร เพื่อประโยชน์แก่คนทั้งหลายทั่วหน้า

อุบาสิกาในสมัยพุทธกาลได้เป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง ได้แก่ สนับสนุนการถวายจตุปัจจัยอุปถัมภ์พระสงฆ์เป็นหลักพื้นฐาน ส่วนบทบาทในด้านอื่นสตรียังมีบทบาทน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากสถานภาพของสตรีถูกจำกัด หน้าที่อยู่ในเฉพาะครอบครัวเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาเหมือนสตรีในปัจจุบัน หากผู้หญิงได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ผู้หญิงจะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างในปัจจุบัน

@@@@@@@

สรุป

จากการศึกษาวิธีส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสิกาในสมัยพุทธกาล สรุปความได้ว่า อุบาสิกา คือ สตรีผู้เข้ามานั่งใกล้พระรัตนตรัย พระพุทธองค์ตรัสสอนให้มีบทบาท รับภาระพระพุทธศาสนาและพัฒนาตนตามหลักศาสนาไปพร้อมๆ ภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก แม้อุบาสิกาจะมีข้อจำกัดทางร่างกายหลายอย่าง แต่ก็ทำหน้าที่รับผิดชอบและรับภาระงานทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี

อย่างใดก็ตาม พบว่า หน้าที่สำคัญที่ทำให้อุบาสิกาทำได้โดดเด่น คือ บทบาทการเผยแผ่ธรรม จากการที่สตรีในสังคมพราหมณ์ถูกจำกัดสิทธิและบทบาททางศาสนา แต่อุบาสิกาซึ่งเป็นสตรีในพระพุทธศาสนากลับได้รับการยอมรับหน้าที่เผยแผ่ธรรม

สำหรับวิธีการเผยแผ่ธรรมของอุบาสิกา สรุปได้ 3 วิธี ได้แก่

    1) การเผยแผ่ธรรมด้วยการแสดงธรรมอธิบายธรรม หรือตอบปัญหาธรรม
    2) วิธีในการอุปถัมภ์พระสงฆ์ ได้แก่ การอุปถัมภ์ด้วยเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค เพื่อให้ภิกษุได้รับความสะดวกในการศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรม
    3) วิธีลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า วิธีนี้จะช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น

จึงกล่าวได้ว่า การที่อุบาสิกาในสมัยพุทธกาลได้ทำหน้าที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และมีบทบาทในการเผยแผ่ธรรมด้วยวิธีการต่างๆ นั้น ส่งผลดีต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยเฉพาะการเผยแผ่ธรรมแก่คนในครอบครัว เช่น สามี บุตร ธิดา ทาส บริวาร และคนใกล้ชิด ทำให้เห็นได้ว่า อุบาสิกาทำหน้าที่นี้ ได้อย่างดี







เอกสารอ้างอิง :-
- ปัญญา ใช้บางยาง. (2552). 46 อุบาสิกาพุทธสาวิกาในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สวย.
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2005). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.(พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้งส์ แมส โปรดักส์.
- มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
- สมภาร พรมทา. (2548). พุทธปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศยาม.

ขอขอบคุณ :-
บทความ : วิธีการ ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ของอุ บาสิกาสมัยพุทธกาล โดย วรินทร ทวีโชติชัยกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จาก วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559)
website : www.jmbr.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2017/05/ปีที่-1-ฉบับที่-1-1.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 15, 2022, 07:11:08 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ