ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กฎแห่งกรรม : กฎอยู่เหนือคนและกาลเวลา  (อ่าน 176 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กฎแห่งกรรม : กฎอยู่เหนือคนและกาลเวลา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2022, 07:11:07 am »
0



กฎแห่งกรรม : กฎอยู่เหนือคนและกาลเวลา

กรรม ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา หมายถึงการกระทำโดยมีเจตนาให้เกิดผลจากการกระทำนั้น และกรรมนี้เองเป็นเหตุปัจจัยกำหนดวิถีชีวิตของคนแต่ละคน ทั้งในทางดี และในทางชั่ว ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ว่า กมฺมุนา วตฺตติ โลโก แปลโดยใจความว่า สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม และพุทธพจน์ที่ว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้แตกต่างกัน

ด้วยโดยนัยแห่งคำสอนข้างต้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นอเทวนิยม คือปฏิเสธเหตุปัจจัยภายนอกที่จะดลบันดาลให้สรรพสัตว์ และสรรพสิ่งเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป แต่ตรัสว่า ทุกสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัยรวมกันอย่างถูกส่วน สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปเมื่อเหตุปัจจัยแตกดับ

กรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามเจตนาของผู้กระทำ คือ

1. กุศลกรรม คือการกระทำ อันเกิดจากเจตนาดีหรือกุศลเจตนา ซึ่งมีวิบากหรือผลเป็นสุข
2. อกุศลกรรม คือการกระทำ อันเกิดจากเจตนาไม่ดีหรืออกุศลเจตนา ซึ่งมีวิบากหรือผลเป็นทุกข์

กรรมทั้งสองประเภทนี้ จะให้ผลเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการกระทำ ถ้าการกระทำนั้นรุนแรงหรือที่เรียกว่า ครุกรรม หรือกรรมหนัก ก็ให้ผลเร็ว และถ้าการกระทำนั้นไม่รุนแรง หรือที่เรียกว่า พหุลกรรมให้ผลช้ากว่าครุกรรม

จากการที่กรรมให้ผลเร็วช้าไม่เท่ากันนี้เอง ทำให้คนที่ทำกรรมดี แต่ไม่ได้ดี และในทางกลับกัน คนที่ทำความชั่ว แต่ไม่ได้รับผลแห่งกรรมชั่ว ตรงกันข้าม กลับได้ดี มีความเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่การงาน และนี่เองที่ทำให้คนบางคนที่ไม่ศึกษา และทำความเข้าใจกับกฎแห่งกรรม เกิดความท้อแท้ไม่อยากทำความดี จะเห็นได้จากคำพูดที่ว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”

@@@@@@@

ยิ่งในยุคนี้ เวลานี้คนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธจำนวนไม่น้อยเกิดความท้อถอย และท้อแท้กับการทำดี เมื่อได้ยิน ได้ฟังข่าวคนทำผิดแต่หลุดรอดจากการลงโทษทางกฎหมาย และแถมยังได้เป็นใหญ่ ก็เลยประชดด้วยการประกาศย้ายประเทศ และมีคนเห็นด้วยเพิ่มขึ้นทุกวัน ทั้งนี้น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้

1. กฎหมายมีไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม แต่กระบวนการยุติธรรมไม่ดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย

2. ตัวบทกฎหมายไม่รอบคอบ รัดกุม และครอบคลุม เหตุอันก่อให้เกิดความยุติ จึงกลายเป็นช่องโหว่ช่องว่างให้ผู้ใช้กฎหมายตีความเพื่อช่วยให้คนผิดกลายเป็นคนถูก ดังที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ ในช่วงนี้

ด้วยเหตุ 2 ประการข้างต้น ทำให้อนุมานได้ว่า ผู้คนในสังคมไทยวันนี้กำลังจะสิ้นหวังกับกระบวนการยุติธรรม

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนในฐานะเป็นชาวพุทธ จึงใคร่ขอร้องชาวพุทธทั้งหลายว่า อย่าเพิ่งถอดใจ และคิดย้ายประเทศไทย เพราะเพียงไม่พอใจกับการกระทำของคนบางคน และบางกลุ่ม ขอให้อดทนและเชื่อในกฎแห่งกรรมว่าคนทำดี ต้องได้ดี และในทางกลับกัน คนทำชั่วต้องได้รับผลกรรมเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อน แน่นอนเพียงรอให้ผลแห่งกรรมในอดีตให้หมดผลหมดกรรมแล้วกรรมชั่วจะให้ผลแน่นอน ไม่เชื่อลองดู


@@@@@@@

อนึ่ง เกี่ยวกับการทำดี และทำชั่วมีชาวพุทธจำนวนหนึ่งที่มีข้อสงสัยว่าเป็นความจริงหรือ และได้อ้างสิ่งปรากฏให้เห็นคนทำดี แต่ไม่ได้ดี และตรงกันข้าม คนทำชั่วกลับได้ดี มียศศักดิ์ จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ถ้าท่านผู้อ่านย้อนไปดูประเภทของกรรมที่แบ่งตามเวลาของการให้ ผลคือ ครุกรรมให้ผลก่อน และพหุลกรรมให้ผลทีหลัง ก็จะได้คำตอบดังนี้

1. คนทำดี แต่ไม่ได้ดี เนื่องจากในขณะนั้นกรรมชั่วที่เป็นครุกรรมให้ผลอยู่ต่อเมื่อครุกรรมให้ผลจบแล้ว กรรมดีที่เป็นพหุลกรรมจะให้ผล

2. คนทำชั่วได้ดี เนื่องจากในขณะนั้นกรรมดีอันเป็นครุกรรมให้ผลอยู่ ต่อเมื่อกรรมดีให้ผลจบแล้ว กรรมชั่วจะให้ผล




Thank to :-
Photo : pinteres
URL : https://mgronline.com/daily/detail/9640000050017
เผยแพร่ : 24 พ.ค. 2564 15:47 , โดย : สามารถ มังสัง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ