ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฉลองนาค นี้เป็นพิธีพราหมณ์ หรือ พิธิพุทธ คะ ทำไมฉลองนาค ต้องดื่มเหล้า  (อ่าน 7799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
การฉลองนาค นี้เป็นพิธีพราหมณ์ หรือ พิธิพุทธ คะ ทำไมฉลองนาค ต้องดื่มเหล้า ทำไมคนร่วมงานต้องเอาเหล้าไปให้นาคดื่ม พอนาคไม่ดืม เขาบอกว่า เป็นนาคตัวเมีย ถ้านาคตัวผู้ ต้องดื่ม

  ไม่เข้าใจจริง ๆ คะ บวชพระ ไม่มีการฉลอง นาคได้หรือไม่ คะ

   thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ประเพณีบวชนาค

ตามประเพณีชายอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเป็นอายุที่ครบบวช พ่อ แม่ ทุกคนจัดพิธีบวชให้ ชาวบ้านศรัทธาการบวชมาก เพราะถือว่าการบวชได้กุศลแรง มีความ เชื่อว่าบวชลูกได้ 3 คน พ่อแม่ไม่ต้องตกนรก และถือว่าการบวชเต็มพรรษา ซึ่งหมายถึงการบวชตั้งเข้าพรรษาย่อมได้บุญกุศลมากกว่าระยะเวลาสั้น 7 วัน 15 วัน หรือ 30 วัน เพราะถือว่าในระหว่างเข้าพรรษา พระบวชใหม่จะได้เรียนพระธรรมวินัยและได้บำเพ็ญภาวนามากกว่าบวชระยะสั้น

การบวชนั้น ผู้ชายสมัยนี้อาจไม่ศรัทธา แต่ก็ไม่มีผู้ใดขัดข้องที่จะบวชให้พ่อแม่ เพราะถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณ และการบวชจะทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เรียกว่าเป็น “บัณฑิต หรือ ฑิต” ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้บวชเรียนเรียกว่าเป็น “คนดิบ”

ค่านิยมของชาวบ้านในการบวชพระแต่เดิมนั้น ชายที่บวชเรียนแล้วจะมีสถานสูงกว่าผู้ที่ยังไม่ได้บวชเรียน การกระทำที่สนับสนุนค่านิยมนี้ได้แก่ การแต่งงาน การเลือกคู่ครอง บิดา มารดาฝ่ายหญิงจะพิจารณาเลือกผู้ที่บวชเรียนก่อน

ก่อนบวช เจ้าภาพ หรือบิดา มารดา ผู้ที่จะบวชอาจจะดูฤกษ์ยามวันดี ทั้งจะต้องนิมนต์พระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวดไว้ล่วงหน้า

การจัดงานแบ่งออกเป็น 2-3 วัน แล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร วันแรกเรียกว่าวันสุกดิบ เป็นวันเตรียมอาหารคาว หวาน และเครื่องใช้ต่างๆ ให้พร้อม
    ตอนเย็นจะรับนาค (ผู้ที่จะบวช) ซึ่งปลงผมมาจากวัดแล้วเพื่อทําพิธีทำขวัญนาค
    วันรุ่งขึ้นเป็น วันทำพิธีอุปสมบท ถ้าหากจัดงาน 2 วัน จะทำพิธีอุปสมบทในตอนเช้า
    และทำพิธี ฉลองพระที่บวชใหม่ในตอนเพลเป็นเสร็จพิธี
    แต่ถ้าจัดงาน 3 วัน จะมีพิธีฉลองพระ บวชใหม่ บางบ้านมีพิธีสวดมนต์เย็นอีกด้วย



พิธีทำขวัญนาค
การทำขวัญนาคเป็นความเชื่อตามลัทธิพราหมณ์ พิธีนี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไปแล้ว จุดประสงค์ของการทำ ขวัญนาคก็เพื่อที่จะให้ผู้อุปสมบทมีสมาธิและทำจิตใจให้สะอาด ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทั้งยังเป็นการเตือนให้ผู้จะบวชระลึถถึงคุณบิดามารดาที่ชุบเลี้ยงตนมา

วัสดุที่ใช้ในการประกอบพิธี
1. เทียน 11 เล่ม แยกเป็นเทียนสำหรับทำน้ำมนต์ 1 เล่ม เทียนชัยปักอยู่ยอดบายศรี 1 เล่ม เขียนสำหรับใช้เวียนเทียน แว่นเวียนเทียนใช้ 3 อัน ใช้เทียนแว่นละ 3 เล่ม (รวม 9 เล่ม)
2. บายศรี 3 ชั้นหรือ 5 ชั้น
3. ไม้ขนาบบายศรี 3 อัน
4. ใบตองหุ้มบายศรี 3 ยอด
5. ผ้าสำหรับห่มบายศรี
6. ไข่ต้น 1 ฟอง วางไว้บนยอดบายศรี (หลังพิธีมักให้หญิงมีครรภ์รับประทานเชื่อว่าน่าจะทำให้คลอดลูกได้ง่าย)
7. ขนมต้มขาว ขนมต้มเเดง
8. เครื่องสังเวยเป็นขนมต้มต่างๆ วางตามชั้นบายศรี
9. มะพร้าวอ่อน 1 ผล
10. กล้วย 1 หวี
11. พลู 7 ใบ
12. ขันใส่ข้าวสาร
13. เครื่องกระแจะจันทน์ (แป้งหอม น้ำมันหอม สำหรับไว้เจิมนาค)



    ก่อนเริ่มพิธีต้องนำเครื่องอัฐบริขารทั้งหมดมาวางเรียงไว้หน้าบายศรี ผู้ทำพิธีแต่งตัวแบบพราหมณ์ คือนุ่งขาวห่มขาว เริ่มพิธีผู้ประกอบพิธีจะสวดนะโม 3 จบ แล้วกล่าวอัญเชิญเทพยดามาเป็นสักขีพยาน กล่าวนามนาคแล้วกล่าวคำปฎิสนธิ ให้นาคระลึกถึงคุณบิดามารดา

     หลังจากนั้นจะเป็นการสอนนาคให้รู้จักเพศบรรพชิต กล่าวเสร็จรดน้ำมนต์แล้วเปิดบายศรี ผู้ประกอบพิธีเอาผ้าม้วนใบตอง ระหว่างนั้นจะมีการ ร้องเพลงนางนาค ผู้ประกอบพิธีจะมอบผ้าม้วนใบตองให้นาค นาคส่งให้บิดา มารดานำไปเก็บไว้ในเรือน ถือเป็นมิ่งขวัญ กล่าวกันว่ามิ่งขวัญอยู่ที่ยอดตอง

     หลังจากเปิดบายศรีแล้ว ผู้ทำพิธีจะจุดเทียน 9 เล่ม ทำพิธีทักษิณาวรรตรอบบายศรี 3 รอบ เมื่อ เวียนเทียนเสร็จแล้ว ผู้ประกอบพิธีนำไข่ กล้วย ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ใส่ลงไปในมะพร้าวอ่อน แล้วป้อนนาค 3 ช้อน นำแป้ง เครื่อง หอม พลู ใส่รวมกันเจิมที่หน้านาคเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี


ที่มา http://ilwc.aru.ac.th/Contents/CustomFestivalThai/CustomFestivalThai24.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2013, 10:25:14 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1
การฉลองนาค นี้เป็นพิธีพราหมณ์ หรือ พิธิพุทธ คะ ทำไมฉลองนาค ต้องดื่มเหล้า ทำไมคนร่วมงานต้องเอาเหล้าไปให้นาคดื่ม พอนาคไม่ดืม เขาบอกว่า เป็นนาคตัวเมีย ถ้านาคตัวผู้ ต้องดื่ม

  ไม่เข้าใจจริง ๆ คะ บวชพระ ไม่มีการฉลอง นาคได้หรือไม่ คะ

   thk56



    ans1 ans1 ans1
 
    ขั้นตอนการบวชพระ มีขั้นตอนหลักๆอยู่ ๗ ขั้นตอน
   1. โกนผมนาค
   2. แต่งตัวนาค
   3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา
   4. การบรรพชา (บวชสามเณร)
   5. การอุปสมบท (การบวชพระ)
   6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม
   7. การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล


    ขั้นตอนที่เป็นพุทธแท้ๆ คือ การบรรพชา และอุปสมบท มีอยู่เท่านี้เองครับ
    ขั้นตอนอื่นๆ หรือพิธีที่ไม่ได้กล่าวถึง เป็นแค่ประเพณีนิยม ไม่ทราบแน่นอนว่ามีความเป็นมาอย่างไร
    หากถามว่า พิธีพราหมณ์อยู่ตรงไหน ที่เห็นกันชัดๆก็คือ การทำขวัญนาค
    ส่วนพิธีกรวดน้ำนั้น กล่าวโดยอนุโลมก็คือ อยู่ระหว่างพุทธและพราหมณ์


    ในกรณีงานฉลองนาค ส่วนใหญ่จะเปิดเครื่องเสียงดัง อาจมีมหรสพ เช่น ดนตรี หนัง เป็นต้น
    รวมทั้งอาจมีการดื่มเหล้า การพนัน ตามมา
    ซึ่งแน่นอนทุกสิ่งที่กล่าวมา ล้วนสร้างความรำคาญให้กับเพื่อนบ้านทั้งสิ้น


    หากการมางานฉลองนาค มาเพียงอนุโมทนาบุญกับนาค และไม่ข้องแวะกับอบายมุข
    อาจกล่าวได้ว่า สิ่งนี้เป็นพุทธ แต่อื่นๆที่ไม่เป็นกุศล คงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล อาจเป็นทำเนียม
    หรือประเพณีนิยมเฉพาะถิ่นนั้นๆ ที่กระทำสืบๆกันมา ไม่ใช่ทั้งพุทธและพราหมณ์
    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2013, 10:51:10 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ