ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามเรื่อง การค้าประเวณี ผิดศีลข้อ 3 หรือไม่  (อ่าน 10175 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือมีเพื่อน  ๆ หลายคนพูดว่า ไม่ได้เป็นเรื่องผิดศีล เพราะไม่ได้ไปพรากลูก พรากสามี ใครเพราะไม่ได้ผูกพันกับผู้ซื้อบริการ เป็นเหมือนขายสินค้า อย่างนี้ไม่จัดเป็นเรื่องผิดศีล


   อันที่จริง ก็เห็นใจเพื่อน ๆ เหมือนกันเพราะบางคนมาจากครอบครัวที่ยากจน ไม่มีใครส่งเสียเล่าเรียน ก็เลยต้องขายบริการเพื่อ นำเงินมาเลี้ยงตัวเอง และพ่อแม่ บางคนน่าสงสารมากเลยคะ ต้องรับผิดชอบ ชีวิตพี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัด ซึ่งอยู่กันอย่างข่นแค้น เคยไปเที่ยวบ้านเพื่อนบางคน

   ยังนึกอยู่ว่า เรานี้โชคดีนะที่พ่อแม่ ส่งเสียให้เรียนไม่ต้องทำแบบเขา อย่างนั้น

   ช่วยตอบด้วยคะ ว่า แท้ที่จริงผิดศีล หรือไม่ครับ

   thk56
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มีเพื่อน ๆ บางคนมาจากครอบครัวที่ยากจน ไม่มีใครส่งเสียเล่าเรียน ก็เลยต้องขายบริการ เพื่อนำเงินมาเลี้ยงตัวเอง ช่วยตอบด้วยคะ ว่า แท้ที่จริงผิดศีล หรือไม่ ครับ

ในสมัยพุทธกาลนั้น มีกล่าวถึงอิตถีเพศผู้อาภัพอยู่ ๒ ท่าน คือ มหาอุบาสิกา ๑ ภิกษุณี ๑
     มหาอุบาสิกา กล่าวคือ นางสิริมา หญิงแพศยางามเมืองผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ฟังธรรมบรรลุโสดาบัน
     พระภิกษุณี กล่าวคือ อัมพปาลีเถรี หญิงแพศยางามเมืองผู้ถือบวชในบวรพุทธศาสนา เพียรบำเพ็ญจนได้อรหัตตผล


ขอบอกคุณน้องที่กังขาในกระทู้นี้นะครับ ว่า กรรมอันเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพมิชอบด้วยศีลธรรมใดใด(โดยเฉพาะค้าประเวณี)มักเดือดร้อนอับจนในภายหลัง ผู้ใดรับสินไหมเลี้ยงตัวย่อมวิบัติในชะตาฐานะไม่ยั่งยืน ทรัพย์พร่อง ขาดมิตรจริงใจ ไม่สมหวังในความรัก จักโดดเดี่ยวเมื่อบั่นปลาย อบายนั้นหมายได้เลย
     สุดท้าย ผมรวบรัดเขียนกาพย์ฝากไว้ให้พิจารณา ดังนี้


      หยาบช้าเพียงกระทำ          ใช่ทรามต่ำถ่อยสกุล
ศีลทานธรรมเจือจุน          เด่นชี้ชนเอนกอนันต์
     หยาบช้าเพียงเลือกทำ          ล้วนเพราะกรรมเนื่องให้ทัณฑ์
เขลาชนจักโจษจัน          เป็นเศษเดนมิค้าคูณ.


                                                                  ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 03:31:17 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ปรากฏเป็นข้อความในพระไตรปิฏก
วณิชชา 5
1 สัตถะวณิชชา ค้าขายอาวุธ
2 สัตตะวณิชชา ค้าขายมนุษย์
3 มังสะวณิชชา ค้าขายเนื้อสัตว์
4 มัชขะวณิชชา ค้าขายน้ำเมา
5 วิสะวณิชชา ค้าขายยาพิษ

อาชีพทั้ง 5 นี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ พุทธบริษัท ไม่ควรประกอบอาชีพทั้ง 5
สัมมาอาชีพนี้ เป็นข้อปฏิบัติ  ในอริยมรรค มีองค์ ๘

ในหัวข้อ อาชีพ ที่ชาวพุทธบริษัทไม่ควรประกอบ มีกี่อาชีพครับ
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=286.msg31985#msg31985

ถึงแม้พวกประกอบอาชีพมืดด้วยความเต็มใจก็เถอะ คุณต้องดูกรรมหลักๆที่ทำเป็น
อาจิณชนิดอื่นๆประกอบไปด้วย อย่างเช่นเขากตัญญูกตเวทีกับพ่อแม่ไหม เขามีน้ำใจกับคนทั่วไป
แค่ไหน เขามีความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือแข็งกระด้างเย่อหยิ่ง เขาเห็นเหตุผลหรือมีปรัชญาในการ
ตัดสินใจอย่างไร ฯลฯ จาก กระทู้ ประกอบอาชีพอย่างไร จึงตกนรก ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3190.msg11304#msg11304

เกิดเป็นหญิง แต่ถูกล่อลวงทางเพศ เป็นโสเภณี จากกระทู้ กรรมเก่าอะไร?...ที่ทำให้เกิดผิดเพศ ที่: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3432.msg12197#msg12197

แต่อีกนัยหนึ่ง โสเภณีก็บรรลุโสดาบันได้ นะจ๊ะ กระทู้ เมตตาฌาน ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ (มาดูตัวอย่าง) จาก : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3383.msg11982#msg11982

เท่านี้ก่อนลองค่อยอ่านดูนะจ๊ะ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามต่อได้

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เบญจศีล สิกขาบทที่ ๓
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

ศีลข้อนี้ ท่านบัญญัติขึ้น ด้วยหวังปลูกความสามัคคี สร้างความเป็นปึกแผ่น ป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ และทำให้วางใจกันและกัน ชายกับหญิงแม้ไม่ได้เป็นญาติกัน ก็ยังมีความรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ด้วยอำนาจความปฏิพัทธ์ในทางกาม สิกขาบทข้อนี้ แปลว่า เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

คำว่า "กามทั้งหลาย" ในที่นี้ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันทางประเวณี หมายถึง เมถุน คือ การส้องเสพระหว่างชายหญิง

การผิดในกาม หมายถึง การเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้าม ดังจะกล่าวต่อไป ผู้ใดเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้าม ผู้นั้นทำผิดประเวณี ศีลข้อนี้ขาด เมื่อเพ่งความประพฤติไม่ให้ผิดเป็นใหญ่สำหรับชายและหญิง มีดังนี้...





สำหรับชาย หญิงที่ต้องห้ามสำหรับชาย มี ๓ ประเภท คือ
   ๑. สัสสามิกา หญิงมีสามี ที่เรียกว่า ภรรยาท่าน ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก คือ
       ก. หญิงที่แต่งงานกับชายแล้ว
       ข. หญิงที่ไม่ได้แต่งงาน แต่อยู่กินกับชายอย่างเปิดเผย
       ค. หญิงที่รับสิ่งของ มีทรัพย์ เป็นต้น ของชายแล้วยอมอยู่กับเขา
       ง. หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา

   ๒. ญาติรักขิตา หญิงที่ญาติรักษา คือ มีผู้ปกครอง ไม่เป็นอิสระแก่ตน เรียกว่า หญิงอยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน คือ หญิงที่มารดาบิดารักษา หรือญาติรักษา
   ๓. ธรรมรักขิตา หรือ จาริตา หญิงที่จารีตรักษา ที่เรียกว่า จารีตห้าม ได้แก่ หญิงที่เป็นเทือกเถาเหล่ากอ
       ก. เทือกเถา คือ ญาติผู้ใหญ่ นับย้อนขึ้นไป ๓ ชั้น มี ย่าทวด ยายทวด ๑ ย่า ยาย ๑ แม่ ๑ เหล่ากอ คือ ผู้สืบสายจากตนลงไป ๓ ชั้น มีลูก ๑ หลาน ๑ เหลน ๑
       ข. หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญัติในพระศาสนา อันห้ามสังวาสกับชาย เช่น ภิกษุณี ในกาลก่อน หรือ แม่ชีในบัดนี้
       ค. หญิงที่บ้านเมืองห้าม เช่น แม่หม้ายงานท่าน อันมีในกฎหมาย


      หญิง ๓ จำพวกนี้ จะมีฉันทะร่วมกัน หรือไม่ร่วมกัน ไม่เป็นประมาณ ชายร่วมสังวาสด้วย ก็เป็นกามาสุมิจฉาจาร





หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ในกาเมสุมิจฉาจาร โดยพิสดารมี ๒๐ จำพวก คือ
    ๑. มาตุรักขิตา หญิงที่มารดารักษา
    ๒. ปิตุรักขิตา หญิงที่บิดารักษา
    ๓. มาตาปิตุรักขิตา หญิงที่มารดาบิดารักษา
    ๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
    ๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
    ๖. หญิงที่ญาติรักษา
    ๗. หญิงที่โคตร หรือมีแซ่รักษา
    ๘. หญิงมีธรรมรักษา
    ๙. หญิงมีสามีรักษา
  ๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชารักษา
  ๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
  ๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
  ๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
  ๑๔. หญิงที่เข็ญใจ ได้สักว่าผ้านุ่งผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
  ๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา มีผู้ใหญ่จัดการให้
  ๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระอันหนักให้แล้ว ยอมเป็นภรรยา
  ๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน แล้วชายเอามาเป็นภรรยา
  ๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
  ๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้ว เอาเป็นภรรยา
  ๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่ง และหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน





สำหรับหญิง ชายต้องห้ามสำหรับหญิง มี ๒ ประเภท คือ
    ๑. ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว
    ๒. ชายที่จารีตห้าม เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง


ชายที่จารีตห้ามนั้น มี ๓ จำพวก คือ
    ๑. ชายที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตระกูล เช่น ปู่ พ่อ ตา ทวด
    ๒. ชายที่อยู่ในพิทักษ์ของธรรมเนียม เช่น นักพรต นักบวช
    ๓. ชายที่กฎหมายบ้านเมืองห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร


หญิงที่ไม่เป็นวัตถุกาเมสุมิจฉาจารของชาย มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. หญิงที่ไม่มีสามี
    ๒. หญิงที่ไม่อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน
    ๓. หญิงที่จารีตไม่ห้าม
    ๔. หญิงที่เป็นภรรยาของตน


ชายที่ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารของหญิงมี ๔ คือ
    ๑. ชายที่ไม่มีภรรยา
    ๒. ชายที่จารีตไม่ห้าม
    ๓. สามีของตน
    ๔. ชายที่ทำโดยพลการพ้นอำนาจของหญิง (เช่นชายที่ข่มขืน)





โทษของกาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นความประพฤติชั่วร้าย มีโทษทั้งทางโลก และทางธรรม ฝ่ายอาณาจักรมีกฎหมายลงโทษผู้ประพฤติล่วง ฝ่ายพุทธจักรก็จัดเป็นบาปแก่ผู้ทำ
   เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม จัดว่ามีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค
     ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นการทำชู้ หรือล่วงละเมิดในวัตถุที่มีคุณ มีโทษมาก
     ข. โดยเจตนา ถ้าเป็นไปด้วยกำลังราคะกล้า มีโทษมาก
     ค. โดยประโยค ถ้าเป็นไปโดยพลการ มีโทษมาก


หลักวินิจฉัยกาเมสุมิจฉาจาร
      กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ
       ๑. อคมนียวัตถุ วัตถุอันไม่ควรถึง (มรรคทั้ง ๓)
       ๒. ตัสมิง เสวนจิตตัง จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น
       ๓. เสวนัปปโยโค ทำความพยายามในอันที่จะเสพ
       ๔. มัคเคน มัคคัปปฏิบัตติ มรรคต่อมรรคถึงกัน


    ในเรื่องกาเมสุมิจฉาจารนี้ ผู้ที่เสพเท่านั้นจึงจะชื่อว่า ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร
    ส่วนการใช้คนอื่นให้ทำแก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นการผิดกาเมสุมิจฉาจาร
    แต่การใช้ให้คนอื่นทำกาเมสุมิจฉาจารแก่ตนนั้น ชื่อว่า เป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจารแท้



ที่มา http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-sila-00-04.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.posttoday.com/




เผยแพร่เมื่อ 27 ม.ค. 2013 โดย PosttodayIcezy
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


''พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาโสเภณี''
โดย พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (2548)

๕.๒ ท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ต่ออาชีพโสเภณี

     ท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ต่ออาชีพโสเภณี สามารถมองได้ ๒ ด้าน คือ

๑) ท่าทีในแง่ของศีลหรือวินัย (disciplines/rules) : คือ การมองโดยมีเกณฑ์ตัดสินแน่นอนว่าพฤติกรรมทางเพศอย่างนั้นอย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ มีลักษณะคล้ายกับเกณฑ์ตัดสินทางกฎหมาย เช่น กรณีของการฆ่าสัตว์ การที่จะตัดสินว่าพฤติกรรมนั้น ๆ ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ จะต้องเอาเกณฑ์เหล่านี้มาจับ คือ
    (๑) รู้ว่าสัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่
    (๒) มีเจตนาหรือความจงใจในการฆ่า และ
    (๓) ลงมือฆ่าสัตว์ให้ตายด้วยเจตนานั้น ถ้าหากครบเกณฑ์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ก็ตัดสินได้เลยว่าพฤติกรรมนั้นผิดศีล


๒) ท่าทีในแง่ของธรรม : การมองในแง่ของธรรม เป็นการมองถึงความควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เกื้อกูลส่งเสริมคุณภาพชีวิตหรือฉุดให้ชีวิตตกต่ำลงหรือไม่ ซึ่งเรียกตามศัพท์พระพุทธศาสนาว่าเป็น “กุศล” หรือ “อกุศล” พฤติกรรมบางอย่าง เช่น พฤติกรรมหมกมุ่นในกาม แต่ไม่ได้ไปละเมิดคู่ครองของคนอื่น เป็นต้น   

    ถ้าเอาเกณฑ์ของศีลข้อ ๓ คือ กาเมสุมิจฉาจารมาตัดสิน ก็ถือว่าไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้ไปละเมิดคู่ครองของคนอื่น แต่ถ้าถามต่อไปว่าพฤติกรรมอย่างนี้ผิดธรรมหรือไม่ ก็ตอบว่าผิด เพราะเป็นพฤติกรรมที่ฉุดคุณภาพชีวิตให้ของตนตกต่ำลง โดยนัยนี้ ท่าทีของพุทธ-จริยศาสตร์ในแง่ของธรรม ท่านไม่ถึงกับมีหลักตัดสินเด็ดขาดตายตัวเหมือนศีลหรือวินัย เพียงแต่วางหลักการไว้กว้าง ๆ เท่านั้น เช่นหลักการที่ท่านวางไว้ในกาลามสูตรที่ว่า

    ดูก่อนชาวกาลามะ เมื่อใดก็ตามที่ท่านทั้งหลายทราบชัดด้วยตัวเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้เมื่อยึดถือแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์โทษ ดูก่อนชาวกาลามะ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายก็ควรละเว้นธรรมเหล่านั้นเสีย

   ดูก่อนชาวกาลามะ เมื่อใดก็ตามที่ท่านทั้งหลายทราบชัดด้วยตัวเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ปราศจากโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้เมื่อยึดถือแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ ดูก่อนชาวกาลามะ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายก็ควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่เสมอ



เกณฑ์ตัดสินในแง่ของธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรนี้มีทั้ง ๒ ด้าน คือ
    เกณฑ์ตัดสินด้านไม่ดี ประกอบด้วย
     (๑) แรงจูงใจแบบอกุศล คือ โลภ โกรธ หลง
     (๒) มีโทษ คือการกระทำนั้นมีโทษต่อตนเองและคนอื่น
     (๓) ผู้รู้ติเตียน คือ ไม่ไปเป็นตามไปตามแนวทางของปราชญ์หรือผู้ที่ได้รับการเคารพยกย่องจากสังคม     
     (๔) เมื่อยึดถือแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์โทษ คือ เมื่อทำมาแล้วนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนเองและคนอื่น

     เกณฑ์ตัดสินด้านดี ประกอบด้วย
     (๑) แรงจูงใจแบบกุศล คือไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
     (๒) ปราศจากโทษ
     (๓) ผู้รู้สรรเสริญ
     (๔) เมื่อยึดแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข


ท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ทั้ง ๒ แบบดังกล่าวมานี้ คือ เกณฑ์ตัดสินที่ผู้เขียนจะนำไปวิเคราะห์ประเด็นเรื่องโสเภณี ดังนี้





๑) อาชีพโสเภณีมองในแง่ของศีล : กาเมสุมิจฉาจาร

หลักศีล ๕ ข้อที่ ๓ คือ กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การผิดศีลจากการละเมิด คู่ครองของคืนอื่น รวมถึงการละเมิดเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งอยู่ในการดูแลของผู้ ปกครอง เกณฑ์ตัดสินของศีลข้อนี้ คือ
    (๑) รู้ว่าบุคคลนั้นเป็นคู่ครองของคนอื่น หรือเด็กนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    (๒) มีจิตคิดอยากจะเสพหรือมีเจตนาในการเสพ
    (๓) ทำการเสพสำเร็จตามเจตนานั้น
    ถ้าพฤติกรรมทางเพศใด ๆ ก็ตามเข้ากับเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้อนี้ ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดศีลข้อที่ ๓ นี้ ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้


   กรณีทั่วไป
   ก. กรณีที่ชายและหญิงแต่งแล้วทั้งคู่ : ถ้าทั้งคู่มีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ถือว่าผิดศีลข้อ ๓ ทั้งคู่ คือ
     (๑) ชายผิด ๒ สถาน คือ ผิดเพราะละเมิดภรรยาของตน และละเมิดภรรยาของคนอื่น
     (๒) หญิงผิด ๒ สถานเหมือนกัน คือ ผิดเพราะละเมิดสามีของตน และละเมิดสามีของคนอื่น

   ข. กรณีชายแต่งงานแล้ว หญิงเป็นโสดและบรรลุนิติภาวะแล้ว : ถ้าทั้งคู่มีเพศสัมพันธ์กัน ถือว่าผิดศีลข้อ ๓ ทั้งคู่ คือ
     (๑) ชายผิดเพราะละเมิดภรรยาของตน
     (๒) หญิงผิดเพราะละเมิดสามีของคนอื่น
   ค. กรณีชายเป็นโสด หญิงแต่งงานแล้ว : ถ้าทั้งคู่มีเพศสัมพันธ์กัน ถือว่าผิดศีลข้อ ๓ ทั้งคู่ คือ
     (๑) ชายผิดเพราะละเมิดภรรยาของคนอื่น
     (๒) หญิงผิดเพราะละเมิดสามีของตน

   ง. กรณีชายและหญิงเป็นโสดทั้งคู่ : ถ้าทั้งคู่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีเพศสัมพันธ์กันโดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ถือว่าไม่ผิดศีลข้อที่ ๓



  กรณีคนเที่ยวโสเภณีและคนประกอบอาชีพโสเภณี
   ถ้าเราใช้เกณฑ์ข้างต้นมาเทียบกับกรณีปัญหาโสเภณี จะมีลักษณะดังนี้
   ก. กรณีคนเที่ยวโสเภณี : ถ้ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับโสเภณีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือโสเภณีที่ถูกล่อลวงมา ถือว่าทำผิดศีลข้อ ๓ เพราะ
      (๑) กรณีเด็กที่ถูกล่อลวงมา ถือว่าผิดเพราะละเมิดสตรีที่อยู่ในความคุ้มครองของพ่อแม่หรือญาติมิตร
      (๒) กรณีโสเภณีที่ถูกล่อลวงมา แม้จะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่มีใครดูแลคุ้มครอง ก็ถือว่าผิด เพราะเป็นการข่มขืนหรือละเมิดสิทธิของผู้หญิงคนนั้นโดยตรง นอกจากนั้น ในกรณีชายแต่งงานแล้วไปเที่ยวโสเภณีที่บรรลุนิติภาวะแล้วและสมัครใจ ก็ถือว่าผิดเช่นเดียวกัน เพราะละเมิดภรรยาของตน

    ข. กรณีคนประกอบอาชีพโสเภณี : ถ้ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่เป็นชายโสดและบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ถือว่าผิด เพราะไม่ได้ละเมิดใคร แต่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายที่มาเที่ยวซึ่งมีภรรยาแล้วหรือที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ถือว่าผิดเพราะเป็นการละเมิดสามีของคนอื่น และละเมิดชายที่อยู่ในการปกครองดูแลบิดามารดาหรือญาติพี่น้อง

     ถ้าเราใช้เกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ที่ยกมาข้างต้นมาตอบคำถามว่า
     การประกอบอาชีพโสเภณี ถือว่าผิดศีลข้อที่ ๓ หรือไม่ ?
     จะเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่คนประกอบอาชีพโสเภณีจะทำผิดศีลข้อที่ ๓
     ส่วนที่ไม่ผิดมีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นคือ การมีเพศสัมพันธ์กับชายโสดที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

     นอกจากนั้น โสเภณียังมีส่วนโดยทางอ้อมในการทำให้คนอื่น ๆ (คนเที่ยว) ผิดศีลข้อที่ ๓ อีกด้วย เรียกว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำให้อื่นทำผิดศีลธรรมอันดีงามของสังคมนั่นเอง





๒) อาชีพโสเภณีมองในแง่ของธรรม : สทารสันโดษ

หลักธรรมอีกข้อหนึ่งที่น่าจะสะท้อนให้เห็นท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ต่อปัญหาโสเภณีได้ดี คือ “สทารสันโดษ” แปลว่า ความพอใจในคู่ครองของตน เป็นหลักธรรมที่สะท้อนให้เห็นท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ที่ต้องการให้คู่สามีภรรยามีความซื่อสัตย์ก่อกัน ไม่ประพฤตินอกใจกัน ดังที่ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักธรรมข้อนี้ว่า

สำหรับสทารสันโดษ ที่เป็นข้อปฏิบัติตรงข้ามกับกาเมสุมิจฉาจาร มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวไว้ สทารสันโดษ แปลว่าความพอใจด้วยภรรยาของตน ว่าโดยสาระก็คือความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน แม้ว่ามองกว้าง ๆ หลักการจะเปิดให้เกี่ยวกับจำนวนของคู่ครอง มิได้กำหนดไว้ตายตัวว่าคนเดียวหรือกี่คน สุดแต่ตกลงยินยอมกันโดยสอดคล้องกับประเพณีและบัญญัติของสังคม โดยถือว่าไม่ละเมิดต่อคู่ครองหรือของห่วงห้ามที่เป็นสิทธิของผู้อื่นไม่ละเมิดฝ่าฝืนความสมัครใจของคู่กรณีและไม่นอกใจคู่ครองของตน

แม้หลักธรรมข้อนี้จะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องโสเภณีโดยตรง แต่ก็สะท้อนให้เห็นท่าทีเกี่ยวเรื่องทางเพศของพุทธจริยศาสตร์ได้ดี ท่าทีที่ว่านี้ก็คือความต้องการที่จะคนในสังคมมีความสำรวมระวังในเรื่องทางเพศ ด้วยการไม่ไปละเมิดบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่ครองของตน

ดังนั้น เมื่อเราใช้กรอบของของพุทธจริยศาสตร์ข้อนี้เข้ามาจับปัญหาโสเภณี จะเห็นว่าอาชีพโสเภณีเป็นอาชีพที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ทางสังคมแบบพุทธที่ต้องการให้คนมีความสำรวมระวังในพฤติกรรมทางเพศ โดยเฉพาะถ้าเรานำเกณฑ์ตัดสินในแง่ของธรรมเข้ามาจับ ถือว่าเป็นอาชีพที่ผิดธรรม เพราะไม่เป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนและคนอื่น ไม่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และอาจจะนำมาซึ่งทุกข์โทษแก่คนเองและคนอื่นด้วย เช่น ก่อให้เกิดปัญหาความแยกแตกในครอบครัว และปัญหากามโรค เป็นต้น



๓) อาชีพโสเภณีมองในแง่ของธรรม : หลักทิศ ๖

หลักพุทธจริยศาสตร์อีกข้อหนึ่ง คือ พันธะทางศีลธรรม (moral obligation) ที่คู่สามีภรรยาจะพึงปฏิบัติต่อกัน พันธะที่ว่าคือหลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม หรือที่เรียกว่า “ทิศ ๖ ” โดยได้กล่าวถึงหน้าที่ของสามีภรรยาที่จะพึงปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

    ก. สามีพันธะที่จะพึงปฏิบัติต่อภรรยา ดังนี้
       ๑) ยกย่องให้เกียรติภรรยาในทางสังคม
       ๒) ในทางส่วนตัว ไม่แสดงอาการดูหมิ่นดูแคลน
       ๓) ไม่นอกใจ
       ๔) มอบความเป็นใหญ่ในเรื่องงานบ้านให้
       ๕) รู้จักจัดหาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาสอันควร

    ข. ภรรยาพันธะที่จะพึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้
       ๑) จัดการงานบ้านให้เรียบร้อย ไม่บกพร่อง
       ๒) มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อญาติมิตร ทั้งทางฝ่ายสามีและฝ่ายตน
       ๓) ไม่นอกใจ
       ๔) รักษาทรัพย์สินที่สามีหามา
       ๕) ขยันและรู้จักเรียนรู้ที่จะทำงานบ้านให้ดีอยู่ตลอดเวลา


จะเห็นว่า ในจำนวนพันธะทั้ง ๖ ประการนี้ มีข้อหนึ่งที่กล่าวถึงการไม่นอกใจคู่ครองของตน ถือว่าเป็นข้อที่มีความเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องศีลข้อ ๓ และสทารสันโดษด้วย เพราะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ตรงนี้สะท้อนให้เห็นท่าทีของพุทธจริยศาสตร์ที่ต้องการให้เรื่องคู่ครองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นแก่สถาบันครอบครัว ถ้าใช้เกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ในแง่ของธรรมเข้ามาตัดสิน
      การเที่ยวโสเภณีก็ดี การประกอบอาชีพโสเภณีก็ดี
      แม้จะมีบางกรณีจะไม่ผิดศีลข้อที่ ๓ แต่ก็ถือว่าผิดในแง่ของธรรม
      เพราะเป็นอาชีพที่ไม่เกื้อกูลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนั่นเอง



ที่มา  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=434&articlegroup_id=102
ขอบคุณภาพจาก http://i.ytimg.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือมีเพื่อน  ๆ หลายคนพูดว่า ไม่ได้เป็นเรื่องผิดศีล เพราะไม่ได้ไปพรากลูก พรากสามี ใครเพราะไม่ได้ผูกพันกับผู้ซื้อบริการ เป็นเหมือนขายสินค้า อย่างนี้ไม่จัดเป็นเรื่องผิดศีล


   อันที่จริง ก็เห็นใจเพื่อน ๆ เหมือนกันเพราะบางคนมาจากครอบครัวที่ยากจน ไม่มีใครส่งเสียเล่าเรียน ก็เลยต้องขายบริการเพื่อ นำเงินมาเลี้ยงตัวเอง และพ่อแม่ บางคนน่าสงสารมากเลยคะ ต้องรับผิดชอบ ชีวิตพี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัด ซึ่งอยู่กันอย่างข่นแค้น เคยไปเที่ยวบ้านเพื่อนบางคน

   ยังนึกอยู่ว่า เรานี้โชคดีนะที่พ่อแม่ ส่งเสียให้เรียนไม่ต้องทำแบบเขา อย่างนั้น

   ช่วยตอบด้วยคะ ว่า แท้ที่จริงผิดศีล หรือไม่ครับ

   thk56


 ans1 ans1 ans1
   
    มีหลายกรณีครับ เช่น หากเธอมีสามีแล้ว ผิดศีลข้อสามแน่นอน
    แต่หากทั้งสองฝ่ายโสด และไม่ได้อยู่ในความปกครองของใคร หรือ บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ผิด
    ขอให้คุณ pinmanee อ่านรายละเอียดให้เข้าใจนะครับ
    ขอคุยเท่านี้

     :25:

   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
        มีกรณี เช่น หากทั้งสองฝ่ายโสด และไม่ได้อยู่ในความปกครองของใคร หรือ บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ผิด
    ขอให้คุณ pinmanee อ่านให้เข้าใจนะครับ
   

ผมข้องใจในกรณีที่ชายมีภรรยา แต่ลักลอบมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่มิได้แต่งงาน แม้เธอบรรลุนิติภาวะแล้ว เยื่องนี้ผิดหรือไม่ (หรือสรุปเอาเป็นว่าผิดที่ฝ่ายหญิงลักลอบเป็นชู้กับสามีคนอื่น แต่ฝ่ายชายไม่ผิด เพราะเธอยังไม่มีเจ้าของ) พิจารณาแล้วดูฝ่ายหญิงจะเสียหายและเสียเปรียบอย่าสุดขั้ว

ความรักของผู้ชายเป็นกำไลและของแถม ส่วนความรักของผู้หญิงมีแต่อับอายและขาดทุนแถมอบายด้วย ผมถือว่ามุมมองผู้ชายมีตอบให้แล้ว (ออกจะเห็นแก่ตัว) แล้วผู้หญิงหละคิดอย่างไร?

จากเศษเสี้ยวกระทู้ที่ยกอ้างไว้ ผมพิจารณาในส่วนของความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ชายหญิงสำส่อน ปัญหาสังคมที่น่าเอือมระอาคือ การทำแท้ง, ทารกถูกทอดทิ้ง, เด็กจรพ่อแม่ทอดทิ้ง, มิจฉาชีพ/อาชญากร/ขอทานเด็ก ฯลฯ กรณีหนึ่งที่ผมไปพบเด็กสามพี่น้องพ่อแม่ทอดทิ้งไว้ศาลเจ้า พระต้องนำมาอุปการะน่าเศร้าครับ

หวังว่าทุกท่านที่อ่านพิจารณาด้วยหละกัน  thk56


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 03:02:17 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
        กรณีไม่ได้อยู่ในความปกครองของใคร ก็ไม่ผิด  ขอให้คุณ pinmanee อ่านให้เข้าใจนะครับ   

    ผิดบาปหากสำนึก          คงลงลึกอเวจี
มัลลิกาแม่เทวี          สมสู่สัตว์วิบัติเป็น.


                                                          ธรรมธวัช.!

ผมฝากลิงค์ข้างล่างให้อ่าน แล้วพิจารณาถึงปมด้อยในใจ ที่กุศลใดใดล้างกลบไม่ได้ หรือ "ใครจะใหญ่เกินกรรม"

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9868.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 03:23:10 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Lux

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 113
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้มีประโยชน์ มากคะ และติดตามอ่านอยู่ นะคะ ขอบคุณมากคะ และขอบคุณกับระบบ wifi ใน วิทยาลัย ด้วยคะ ที่มีให้ใช้ ติดตามข่าวสารยามเช้า ด้วยคะ

  thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกคนได้มีรอยยิ้ม มีความสุข แม้แบบชาวโลก
อยากให้ทุกคนไม่มีทุกข์ มีแต่สุข ในการภาวนา
อยากหนอ .... ก็ทุกข์หนอ ใช่หรือไม่จ๊ะ

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สำหรับเรื่องการค้าประเวณ๊ ใช่ว่า จะมี่แต่เรื่องที่ไม่ดี นะคะ อย่างน้อย อาชญากรรม ฆ่า ข่มขืน ก็หมดไปส่วนหนึ่ง เพราะหญิงบริการ เหล่านี้รับภาระให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งไปแล้ว มิฉะนั้น อาจจะมีเรื่องผิดศีลธรรม กันมากกว่านี้ คะ

  แต่ใช่ว่าจะส่งเสริมอาชีพนี้ นะคะ เพราะว่า น่าจะมีทางออกอย่างอื่น ช่วยเหลือ พอกพูนศีลธรรม กันได้คะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เรียนถามเรื่อง การค้าประเวณี ผิดศีลข้อ 3 หรือไม่
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 12:28:08 pm »
0
มาคุยต่อ เห็นมีประโยชน์

อาชีพ โสเภณ๊  นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
 คือสงสัย อย่างเรื่อง สิริมา ครั้งพุทธกาลคะ
จากกระทู้ : อาชีพ โสเภณ๊ นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
         ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7839.msg28990#msg28990

จากประวัติของหญิงโสเภณีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จะเห็นว่าท่าทีของพระพุทธองค์และพระสาวกที่ปฏิบัติต่อผู้หญิงเหล่านี้ จะเป็นลักษณะกลาง ๆ ไม่ดูหมิ่น ในขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุน กล่าวคือ

พระพุทธองค์ทรงแยก คนออกจากอาชีพของเขาอย่างชัดเจน คนทุกคนไม่ว่าจะมีอาชีพอะไร เมื่อตัดเรื่องอาชีพออกไปเสียแล้ว ก็มีฐานะเท่ากัน คือ เท่ากันในฐานะที่เป็นคนเหมือนกัน และในฐานะที่เป็นคนนี้เอง ทุกคนจึงสามารถจะทำความดีเพื่อยกระดับชีวิตของตนให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลในที่สุด

ดังจะเราจะเห็นได้ว่า พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนามาจากชนทุกชนชั้นอาชีพ เป็นกษัตริย์บ้าง พ่อค้าบ้าง ชาวนาบ้าง กรรมกรบ้าง โจรบ้าง โสเภณีบ้าง เป็นต้น (ตามอ่านเต็ม ๆ ได้ที่กระทู้)

และอีกตัวอย่างหนึ่ง : นางสิริมา"หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน" ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2258.msg8529#msg8529

เน้ือหาบางส่วน
       จึงได้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ที่สวยงามออกแล้วนอนซมอยู่ เมื่อเวลาพระมาถึง นางได้สั่งสาวใช้ให้จัดแจงให้เรียบร้อยเหมือนอย่างที่นางเคยทำเอง คือนิมนต์ให้พระคุณเจ้านั่งแล้วเอาบาตรไปบรรจุโภชนะให้เต็ม แล้วถวายข้าวยาคู หรือข้าวสวยแก่พระคุณเจ้า หญิงรับใช้ได้ทำตามที่นางสั่งไว้ทุกประการ เสร็จแล้วบอกให้นางทราบ นางจึงขอร้องให้หญิงรับใช้ช่วยกันประคองนางออกไปเพื่อไหว้พระคุณเจ้าทั้งๆ ที่กำลังจับไข้อยู่ ตัวของนางจึงสั่นน้อยๆ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม