ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  (อ่าน 5828 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
    • ดูรายละเอียด
คำปริยายขึ้นธรรม
ใช้เทศสอนเมื่อขึ้นพระกรรมฐาน เพื่อปูพื้นฐาน และ ทำความเข้าใจ
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ)
สืบทอดมาจาก วัดป่า แก้ว ยุคอยุธยา
(พ.ศ. ๒๓๒๖)
(ถอดจากอักขระขอมเป็นอักษรไทยจากคัมภีร์ใบลาน)

--------------------------------


นะโม ๓ จบ ฯ
อุกาสะ วนฺทิตวา สิระสา พุทธํ ธัมมํ สํฆญฺ จะ อุตตฺมํ เทยยะ ภาสายะ ปวกฺขามิ กมฺมฏฺฐานํ ทุวิธกํ, อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา เมว อภิวาทฺเรน


ข้าฯ จะขอไหว้นบคำรพด้วยคารวะในกาลบัดนี้ พุทธํ สพฺพญฺญูพุทธํ ยังพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระองค์ ผู้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งมวล และพระสัพพัญญูเจ้านั้นโสต อุตตมํ อันอุดม อนุตตรํ อันหาบุคคลเทพดาทั้งหลาย อันจะยิ่งบ่มิได้ และข้าฯก็จะไหว้พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าองค์นั้นโสต สิรสา ด้วยหัวแห่งข้าฯในกาลบัดนี้ จ ปน เกวลเมว พุทธํ อภิวนฺทิยะ ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรนะ ข้าก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ เป็นอันดีแลยิ่งนัก ธมฺมํ นวโลกุตตฺรธมฺมํ ทสวิธงฺปริยัติยา สห ยังนวโลกุตตระธัมเจ้า ๙ ประการ เป็นสิบกับทั้งพระไตรปิฏกเจ้าทั้งสาม อัน เกิดแต่อกพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า และ พระธัมมเจ้านั้นโสต สวากขาตํ แลพระพุทธเจ้าหากเสด็จเทศนาอันไพเราะ เพราะแลดียิ่งนัก แล ข้าฯ ก็ไหว้พระธัมเจ้านั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้าฯในกาลบัดนี้แล จ ปน เกวลเมวะ พุทธํ ธมฺมํ อภิวนฺทิย ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าแล พระธัมมเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วยิ่งสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรน วนฺทิตวา ข้าฯก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ สงฺฆญฺ จ ในกาลบัดนี้ สงฺฆงฺ อฏฺฐํ อริยปุคคฺลานํ สุมูหํ ยังชุมพระอริยเจ้าทั้งหลาย ๘ จำพวก ฝูงนั้นเถิด อุตตฺมัง อันอุดม อันเผาเสียซึ่งมืดมนอนธการ อันกล่าวคือ อวิชา ตัณหา เสียแล้ว และบุคคลทั้งหลาย ๘ จำพวกฝูงนั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้า ในกาลบัดนี้แล ตทนฺตรํ ถัดนั้นไป ข้าฯกระทำประนมอันอ่อนน้อม นมัสการแก่เจ้ากูแก้วทั้งสามประการนี้แล้ว อหํ อันว่าข้า วกฺขามิ ปริเยสามิ ข้าจะเรียนเอาซึ่งพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต ทุวิธกํ สมถวิปสฺสนาสํขาตํ ทุวิธกํ อันมีสองประการอันกล่าวคือ พระสมถกรรมฐาน และพระวิปัสสนากรรมฐาน และ พระกรรมฐานเจ้านั้นโสต พุทธํ ปจฺเจกสมฺพุทธํ ยังเป็นของแห่งพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต จตุตฺถอริยสมฺพุทธํ ยังเป็นของอันพึงพอใจแห่งพระอริยสาวกเจ้าทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าได้เสด็จเทศนาประกาศไว้ว่า ภาวนาทิโว ภาวนารตฺโต พระท่านว่าไว้ให้ภาวนาทั้งกลางวัน และ กลางคืน และเป็นคำไทยเพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายดาย กุลบุตรทั้งหลายผู้จะเจริญภาวนา สมถกรรมฐาน และ พระวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหัก เสียซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เสียแล้ว จะเอาขึ้นสู่พระนิพพาน ตามบุราณขีณาสพเจ้า ทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นแล


อุกาสะ ข้าฯ แต่กูแก้วทั้งมวล อันมีองค์พระสัพพัญญูเจ้านั้นเป็นโตแก่ตูข้าฯ ทั้งหลายอันมีมาก็ดี อันมีบาปอกุศลก็ดี อันมีกุศลเจตนาก็ดี ฉะนั้น อันพร้อมพรั่งกันภายใน แลมีขันธ์ทั้งห้าอีกทั้งปฏิบัติภายนอก ตูข้าฯทั้งหลายมีข้าวตอกดอกไม้ แลธูปเทียน ตูข้าฯทั้งหลายได้เฝ้าเณยธัมแล นำสู่สาธรที่นี้แล้ว ตูข้าฯ ทั้งหลาย จะเอามาตบแต่งไว้ในใจ จะทำให้เป็นสองโกฏฐาส อันปฐมโกฏฐาสหัวทีนั้น ตูข้าทั้งหลายขอบูชาสมาเถิง (ถึง) สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิริยะคุณ และคุณเจ้ากูแก้วทั้งมวลอันหาที่สุดมิได้ ตูข้าทั้งหลายจะขอบูชาและขอสมา อย่าให้เสีย…..ชำรุด……อันเพื่อจะให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชู ตูข้าทั้งหลายนี้จะขอบูชา ได้นิพพานในอาตมภาพชาตินี้จงอย่าได้บุคคลตนใด จะประจานพระโพธิญาณนั้นก็ดี จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชูบุคคลนั้นให้ถึงยังปัญญา อันชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณอันจะนำสัตว์ทั้งหลายตามกรรม (ลอย)พระพุทธเจ้าทุกวันเถิดฯ อันทุติยะโกฏฐาส อันธุระคำรบสองนั้น ตูข้าทั้งหลายจะขอตั้งเอาไว้ยังห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลาย จะขอสมาเถิง(ถึง) นามบัญญัติแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล ตูข้าทั้งหลายอันบ่มิรู้และหากยังได้ประมาทเสียซึ่งนามบัญญัติ และข้ามิได้คารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลด้วยทวารทั้งสามแล อิริยาบถทั้งสี่ อันใดอันหนึ่งก็ดี แรกแต่ชาตินี้ค่อยคืนไปหนหลัง แม้นว่าได้อนันตะชาติสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ตูข้าทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นโทษแห่งตูข้าทั้งหลายนี้เป็นอันมาก นักหนาที่จะแก้โทษทั้งหลายทั้งมวลอยู่นั้น คือ


โมโห คือหลง
อหิริกํ มิละอายแก่บาป
อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
อุจธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
โลโภ โลภ
ทฏฺฐิ ถือมั่น
มาโน มีมานะ
โทโส โกรธ
อิสสา ริษยา
มจฺฉริยะ ตระหนี่
กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
ถีนํ กระด้าง หดหู่
มิทิธํ หลับ ง่วง
วิจิกิจฉา สงสัย

เพราะบาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากให้ตูข้าทั้งหลายมืดมน อนธการ ด้วย อวิชชา ตัณหา หากมาให้ตูข้าทั้งหลายนี้มิได้รู้จักพระธรรมเจ้าทั้งสี่ ประการ คือทุกข์สัจจะ สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ เพราะ บาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากมาครอบมางำมากำบังใจตูข้า ให้ตูข้าทั้งหลายเป็นไป เป็นบาปแก่ตูข้าทั้งหลาย ซึ่งบ่มิได้รู้ฉลาด แลบ่มิได้รู้อาย มิทำตามคำสั่งสอนแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล จงมีใจเอ็นดูแก่ตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว มารับเอาเครื่องอามิสบูชาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยพิจารณาดูโทษ อันมีอยู่ในจิต ในใจ ในตนแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยประมวลเอาโทษนั้นมาตั้งไว้ยังห้องหน้า และกระทำเป็นอโหสิกรรมเสีย ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงมากำจัดเสีย ล้างเสีย เผาเสีย ยังโทษอันมีในจิต ในใจ แห่งตูข้าทั้งหลายด้วย ตะทังคะปหาน และ นิสสรณปหาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษอันนั้น ประดุจเงิน ทองเหลือง อันใสสดหมดจดจากตะกั่ว และ ทองชิน ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษนั้น ดุจพระจันทร์ พระอาทิตย์เสด็จขึ้นอยู่เหนือเขายุคนธร อันปราศจากเมฆ และ หมอก มีรัศมี ออกเลื่อมพรายฉายงามแท้ดีหลี อย่าได้เป็นนิวรณธรรมอันจะห้ามภูมิทั้งสี่ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ โลกุตตรภูมิ ตูข้าทั้งหลายจะภาวนาสมถะกรรมฐานเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี ตั้งแรกแต่ พระขุททกาปีติ เจ้าเป็นโต และมี อสุภกรรมฐานเจ้าเป็นปริโยสาน ขอ ให้ตูข้าทั้งหลายได้อนิมิต สนิมิต ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุคคหนิมิต และ พระปฏิภาคนิมิตเจ้า จงมาตั้งอยู่ในห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลายทุกทิวาราตรี อย่าได้ขาด ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุปจารสมาธิธรรมเจ้า และ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้าทุกประการ อักขระ และ พยัญชนะ อย่าให้เสียสักผลสักอัน ใช่แต่เท่านั้น ตูข้าทั้งหลายปรารถนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี อันแรกแต่วิสุทธิศีลเจ้าเป็นโต และ มีอนุโลมญาณเจ้าเป็นปริโยสาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายมีสติ ศีล สมาธิ ปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันกล้าอันคมอันเล็งแลดู พระไตรลักษณ์อันหมายรู้จักยังรูปธรรม นามธรรม อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อันจะหมายหนีวัฏฏะสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้มรรคธรรม ผลธรรม นิพพานธรรม ตามความปรารถนาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้จงทุกประการเถิดฯลฯ

ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วดังนี้ก็ดีสัตว์ทั้งหลายก็ตามได้จมอยู่ในที่ ร้าย ว่ายอยู่ในอเวจี ทนทุกขเวทนาใน นรก เปรต ดิรัจฉาน อสุรกาย ในอบายนั้นก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายนี้ จงไปค้ำชูสัตว์นั้นให้ขึ้นพ้นจากทุกข์ ให้ได้มาเสวยสุขในมนุษสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิดฯลฯ ประการหนึ่งเล่ามหาอุรสุราช ผู้ใดอันหากได้เสวยสุขนั้นเล่า เป็นต้นว่า พระเจ้าแผ่นดิน และ เสนาแลมหาอำมาตย์แล อาณาประชาราษฏรทั้งหลายจงได้เสวยสุขนั้นเล่า ให้ยิ่งกว่าได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวล ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิด ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้มาสัมมาคารวะแก่เจ้ากู แก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี สัตว์ทั้งหลายฝูงใดอันหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ ก็มีด้วยประการฉันใด ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงรักษาชีวิตแห่งตูข้าทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ทกตัวทุกตนเถิด ตูข้าทั้งหลายหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ และมีด้วยประการฉันใด ตูข้าทั้งหลายนี้จงรักษาชีวิตแห่งฝูงสัตว์ทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงมีใจเอ็นดูกรุณาซึ่งกันและกัน ไป มา แล ชักชวนกันมาภาวนาสมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหักเสียยังขันธ์ทั้งห้า และจะเอาตนเข้าสู่นิพพานตามบุราณขีณาสพเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นฯ ประการหนึ่งเล่า ด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ห้ากับทั้งปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า หกกับทั้งพระนิพพาน อนึ่งจงจำเริญสิริสวัสดี มีแก่ตูข้าทั้งหลายทุกตัวทุกตนเถิด จนตราบเท่าเข้าสู่นิพพานธรรมเจ้านี้ ทุกวันเถิดฯ ประการ หนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้รีบร้อนห้อมยับมานับนานแต่ อนันตชาติสงสาร เป็นต้นว่า ได้ให้ทาน รักษาศีลขึ้นไป เมตตาภาวนาตราบเท่ากาลบัดนี้ก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายจงไปค้ำชูท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ อันอยู่รักษาพระศาสนาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดาทั้งหลาย ทุกตัวทุกตน ตราบเท่าห้าพันพระวสา จงมีสวัสดีจำเริญทุกวันเถิดฯ


อุกาสะ อจฺจโย โน ภนฺเต อชฺชคมา ยถาพาเล ยถามูฬเห ยถาอกุสเล เย มยํ อกริมหา เอวมฺภนฺเต อจฺจโย โน ปฏิคฺคณฺหถ อายติง สงฺวเรยฺยามิ ฯ
อุกาสะ ข้าแต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันพระองค์อาจนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ให้เท่ากับพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันจะนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ยังไปมิได้เท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันประกอบด้วยพระมหากรุณาซึ่งจะมาตั้งยังไว้พระศาสนา ห้าพันพระวะสา จึงจะมีพระอริยโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี แลพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย จึงจะมานำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานเท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระสัพพัญญูเจ้าเล่า พระองค์ประกอบด้วยมหากรุณา จึงจะมานำเอาตัวข้าทั้งหลายเข้าสู่นิพพานในกาลบัดเดี่ยวนี้แน่แท้ดีหลี


อุกาสะ ข้าจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้าเล่า พระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหากรุณาตั้งแรกแต่วันนี้ไปเบื้องหน้า ข้า จะขอตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อคือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวร อาชีวปาริสุทธิ์ศีล ปัจจยปัจจเวกขณะ และศีลนี้ให้เป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ข้า แต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์อันประกอบด้วยมหากรุณา พระองค์จงรู้ว่าข้าพเจ้านี้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อให้จงเป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ถ้าจะภาวนาอันใดอันเชื่อถือเข้าเถิดฯ ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอา พระปีติธรรมเจ้าทั้งห้านี้จงได้ ขอ พระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งหลายตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าองค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาพระปีติธรรมเจ้าทั้งห้าแล พระยุคลธรรมทั้งหก พระสุขพระอุปจารสมาธิธรรมเจ้าในห้องพระพุทธคุณเจ้านี้จง มาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจรณะ สมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ อรหํ อรหํ อรหํฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ ขุทฺทกาปีติ เบื้องท่อนต้นในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขณิกาปีติ เบื้องอันท่อนสองในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระโอกกนฺติกาปีติ เบื้องอันท่อนสามในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระอุพเพงคาปีติ เบื้องอันท่อนสี่ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระผรณาปีติ เบื้องอันท่อนห้า ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ครั้นข้าได้ยังพระลักษณะทั้งห้านี้แล้ว ข้าฯจะขอเข้าลำดับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าคืบเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าวัดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสะกดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติ ท่อนต้น ในห้องพระพุทธคุณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร และ กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนานี้ แดนใดแล ข้าฯยังไปบ่มิได้ในพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติ เจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตข้านี้ยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติเจ้า นี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าฯ จะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าจะทอดสติไว้ในห้องหทัยวัตถุ แล้วข้าฯจะค่อยพิจารณาดูธรรมานุธรรมปฏิบัติ อันเกิดในขันธ์ทั้งห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แล้วข้าจะค่อยพิจารณาดูยังพระลักษณะรสปะทัฏฐานะธรรม อันพลัดพรากจากขันธ์ทั้งห้า ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติเจ้า จงมาบังเกิดแก่ข้าฯในขันธ์ทั้งห้าแก่ข้าดังเก่า ข้าฯจะขอเข้าอยู่ให้รู้จักรสปีติแห่ง พระขุทฺทกาเจ้านี้ จงมาสัญญาแก่ข้าก่อนเถิดฯนิพพานปัจจะโยโหนตุ ชื่อว่า อจฺจโย โน ภนฺเต แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์ผู้สอนพระกรรมฐานเจ้าองค์ต้นจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติธรรมเจ้า จงมาสัญญาแก่พระอริยะเจ้าแต่ก่อนโน้นฉันใด จงมาสัญญาแก่ข้านี้เถิด ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ


ข้าฯจะขอภาวนาอานาปานสติธรรมเจ้า เพื่อขอเอายัง อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอา อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนา แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอกฯลฯ เท่าดังนั้นก็ดี อันว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรเพื่อขอเอายังอุคคหนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แล้วข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้า ขอฯจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจะโย โหนตุ ฯ ข้าฯจะขอภาวนากายคตาสติเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯลฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แล้วค่อยภาวนาไปว่า เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯ นี้แน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า เกสา เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที ข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ ในอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ ในขณะที่ข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ปฐวี ปฐวี ปฐวี ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุ ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้อง อุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้า ฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แลข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง สันหลังข้าฯปอก ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี และข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิในห้องอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนาจงมาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาปฐมฌานอันประกอบด้วยองค์ห้าประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และขอเอาทุติยฌานอันประกอบด้วยองค์สี่ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และข้าจะขอเอายังตติยฌานอัน ประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข เอกัคคตาอุเบกขา บัดนี้พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายยังว่าหยาบนัก เป็นโลกียธรรม รู้ฉิบ รู้หาย รู้เกิด รู้ตาย บัดนี้ข้า
ฯจะหน่ายเสีย ข้าฯจะขอภาวนาเอาจตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์สองคือ สุข เอกัคตา อุเบกขา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขอเข้าอยู่นานประมาณหมากเคี่ยวคำหนึ่งจืด ข้าฯจึงจะออกจากฌาน ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด แลข้าฯจะขอเอาปัญจมฌานอัน ประกอบด้วยองค์สอง คือ อุเบกขา เอกัคคตา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขออยู่นานหมากคำเดียวหนึ่งจืด ข้าฯจะออกขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าฯจะขอภาวนาเอายังอนุสสติกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ จงมาเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควาฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯ จะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ข้าจะค่อยภาวนาไปว่า ธัมโม ธัมโม ธัมโม ได้ละร้อยที ได้ละพันทีขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


ข้าฯจะขอภาวนาพรหมวิหารเจ้า สี่ประการ มีเมตตาพรหมวิหารเจ้าเป็นต้น กรุณาเจ้าท่อนสอง มุทิตาเจ้าท่อนสาม อุเบกขาเจ้า ท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอเชิญปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาในห้องเมตตาพรหมวิหาร ด้วยคำข้าฯว่า
อหํ สุขิโต โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุข
อหํ อเวโร โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร
อหํ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน
อหํ อนีโฆ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น
สุขี อัตฺตานํ ปริหฺรามิ ขอเราเป็นผู้มีความสุขรักษาตน
อตฺต สุขฺขี ขอตัวเราจงมีความสุข
สุขี ขอเราจงเป็นผู้มีสุข


ข้าฯจะขอเอายังบุญกุศล คืออันให้ข้ามีสุข ตามสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล อกนิฏฐพรหมโพ้น มาเพิ่ม มาแถม ผล ยังกุศลผลบุญแห่งข้าฯ คือให้ข้าฯมีสุขนี้กับหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้นทุกตัวทุกตนเถิดฯ ข้าฯจะได้มีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า แลมีด้วยประการฉันใด ข้าฯก็ย่อมจักให้สัตว์ทั้งหลายทั้งมวลมีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ๗ บทนี้ แลข้าขอแผ่เมตตาให้ตั้งแรกแต่สัตว์อันมีในตัวแห่งข้าฯนี้ เป็นต้นว่า หนอนก็ดี ขอให้มีความสุข กับหมู่สัพพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวลตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้น ทุกตัวทุกตนเถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุปจารสมาธิ แล อัปปนาสมาธิ ในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ใน อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เมตตาพรหมวิหารเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน สันหลังข้าฯปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อะหัง สุขิโต โหมิ เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที และข้าฯจะทอดสติไว้ในหทัยวัตถุ และข้าจะค่อยบริกรรมเอายังธัมมานุธัมมปฏิบัติ อันเกิดในขณะทั้งห้าแห่งข้าฯ อันว่าอุปจารสมาธิเจ้า อัปปนาสมาธิเจ้าในห้องเมตตาเจ้านี้หนา บัดนี้ข้าฯจะขอภาวนาขอเอายังธรรมานุธรรมปฏิบัติอันแขวนสุขุมาลเจ้านี้จงได้ ขอเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯนิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ

ข้าฯจะภาวนาอรูปฌานสมาบัติเจ้าสี่ประการ คือ อากาสานัญจายตนเป็นต้น วิญญาณัญจายตนท่อนสอง อากิญจัญญายตนท่อนสาม เนวสัญญานาสัญญายตนท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิจงมาเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตน ปฐมอรูปฌานสมาบัติ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า
อากาโส อนนฺโต ได้ละร้อยที ได้ละพันที
วิญญาณํ อนนฺตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
นิตฺถิ กิญจิ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
    • ดูรายละเอียด
Re: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:42:10 am »
และข้าฯจะขอเอายังธัมมานุธัมมะปฏิบัติในขณะทั้งห้า คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิฏฐานวสี วุฏฐานวสี และ ปัจจเวกขณวสี และ ข้าฯจะค่อยพิจารณาเอายังพระลักษณะรสปทัฏฐาน อันว่าอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา จงมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


ข้าฯจะขอภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระปรมัตธรรมนิพพานเจ้านี้จงได้ฯลฯ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอาพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าอันชื่อว่า สัมมสนญาณ อุทยพฺพยญาณ ภงฺคญาณ ภยตูปฏฺฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ปฏิสงฺขาญาณ สงฺขารุเบกขาญาณ อนุโลมญาณ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเพื่อจะ ขอเอายัง ข้าฯจะขอเอายังพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า
นามรูปํ อนิจจํ ขยตฺเถน
นามรูปํ ทุกขํ ภยตฺเถน
นามรูปํ อนตฺตา อสารกตฺเถน
นามรูปํ อนิจฺจํ นิจจํ วต นิพพานํ
นามรูปํ ทุกขํ สุขํ วต นิพพานํ
นามรูปํ อนตฺตา สารํ วต นิพพานํ


นามรูปํ อันว่ารูปนามแห่งข้าฯนี้หนาเป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าไปตกนรกไหม้อยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นเปรตวิสัย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน นามรูปัง อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา เป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยง ขะยัตเถนะ เหตุว่า รู้ฉิบ รู้หาย รู้ประลัย นิจจัง วต นิพพานนํ เท่าแต่นิพพานเจ้าเที่ยงเถิง(ถึง)เดียวดาย นามรูปํ ทุกขํ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา ลางคาบไปตกนรกก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตวิสัยก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นอสุรกายก็ทุกข์หนัก นามรูปังอันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา ทุกขังก็เป็นทุกข์หนัก ภยตฺเถน เหตุว่ามีภัยพึงกลัวมากนัก สุขํ วต นิพพานํ เหตุเท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นสุขสิ่งเดียวดาย นามรูปังอนัตตา อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา เป็นอนัตตาในตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปตกนรกไหม้อยู่ ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นเปรตวิสัย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา อนตฺตา ใช่ตนแห่งข้า ฯอสารกตฺเถน เหตุว่าหาแก่นสารมิได้ สารํ วต นิพพานํ เท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นแก่นสารสิ่งเดียวดาย


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนา แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า นามรูปํ อนจฺจํ ขยตฺเถน เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที แม้นว่าข้าฯจะได้นิพพานในอาตมาภาพชาตินี้ ขอเอาสติปริยญาณปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณฯลฯ จงมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจโยโหนตุฯ


อักขรปทํ พยญฺชนํ
เอกเม กตฺวา พุทธรูปํ สมงฺ สิยา ตสฺมาหิ ปณฺฑิโต โปโส รกฺขนฺโต
ปฏฺกตฺตยํ ธาเรตุ ภวิสติ เม พุทฺธกมฺมฏฺฐานวณฺณนา นิฏฐิตา
พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ขอให้ข้าได้นิพพานในอนาคตกาล เทอญฯ

------------------------


อธิบายพระคัมภีร์เทศ ขึ้นลำดับธรรม


คัมภีร์เทศขึ้นลำดับธรรมนี้ มีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนนั้น ใช้สำหรับเทศขึ้นบอกลำดับพระกรรมฐาน ได้ตกทอดมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้รับสืบทอดมาจาก ท่านอาจารย์ วัดเกาะหงส์ ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ ๒๓๑๐ และพระองค์ท่านได้นำพระคัมภีร์มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อหาสาระในพระคัมภีร์ มิได้มีการเปลี่ยนแปลงคงคำเดิม สำนวนเดิม รูปแบบเดิม มาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย อักขระที่จารึกในพระคัมภีร์ จารึกด้วยอักษรขอมไทย ปัจจุบันได้ถอดออกมาเป็นอักขระไทย และใช้เทศขึ้นลำดับธรรมสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านจะเทศขึ้นลำดับธรรมก่อนจึงบอกพระกรรมฐานให้ สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำกล่าวขอขมาโทษ


อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ (กราบ)
ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)


สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)


ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
**** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไป ****
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=38
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
    • ดูรายละเอียด
Re: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 10:06:42 pm »
คำปริยายขึ้น ธรรม อ่านแล้วดูเหมือนเป็นหลัก ภาวนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นะคะ

เพราะว่าอ่าน กลับไป กลับมา หลายรอบ พยายามทำความเข้าใจ

ในสมัย หลวงปู่ หน้าจะเป็นสำนวนที่ฟัง ไพเราะ มาก พอมาสมัยเรานี้ อ่านไม่ค่อยชินสำนวน

เหมือนกับว่า ต้องแปลไทย เป็น ไทย

ขอบคุณ ผู้โพสต์คะ ที่นำหลัก ปริยายขึ้นธรรม มาแสดง จะลองอ่านอีกหลายๆ รอบเพื่อ เพิ่มพูน


การภาวนา คะ
 :25: :88:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 12:40:48 am »
ยังไม่ค่อยเข้าใจอะครับ  ว่าใช้ในตอนไหนอย่างไร แบบละเอียด :41:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
    • ดูรายละเอียด
Re: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 08:20:11 am »
ดูเหมือนจะเป็น ประัเพณี ตอนที่ขี้นกรรมฐาน ประจำปีนะครับครั้งที่ เท่าไหร่แล้วที่สืบทอดกันมาในกรุงรัตนโกสิททร์ ปีนี้น่าจะเป็น ครั้งที่ 230 นะครับ

บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 22, 2015, 08:04:42 am »
คำปริยาย เทศน์ขึ้นธรรม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา