ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระศักดิ์สิทธิ์เพราะทำกิจของสงฆ์ : อะไรคือกิจของสงฆ์.?  (อ่าน 4201 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กิจของสงฆ์ คำไม่ยาก แต่เข้าใจไม่ง่าย


“กิจของสงฆ์” มีคำบาลี 2 คำ คือ “กิจ” และ “สงฆ์

(๑) “กิจ” บาลีเป็น “กิจฺจ” (กิด-จะ)
รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + ริจฺจ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ก)-รฺ (กรฺ > ก) และ ร ที่ ริ-(จฺจ) (ริจฺจ > อิจฺจ)
       กรฺ > ก + ริจฺจ > อิจฺจ : ก + อิจฺจ = กิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงทำ” หมายถึง หน้าที่, การงาน, การบริการ ; พิธี, การกระทำ (duty, obligation, service, attention; ceremony, performance)
      “กิจฺจ” ในภาษาไทยใช้เป็น “กิจ” (กิด)

(๒) “สังฆ” บาลีเป็น “สงฺฆ” (สัง-คะ)
รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ง (สํ > สงฺ), แปลง หนฺ เป็น ฆ
       สํ > สงฺ + หนฺ > ฆ : สงฺ + ฆ = สงฺฆ + อ = สงฺฆ แปลตามศัพท์ว่า
      (1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า“สงฺฆ”
      (2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้   
      “สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ


@@@@@@

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า
      (1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)
      (2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)
      (3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)

      “สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ”
      “สงฆ์” ในภาษาไทย อาจหมายถึงภิกษุที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็ได้ หมายถึงภิกษุแต่ละรูปก็ได้

@@@@@@

“กิจของสงฆ์” เป็นคำพูดธรรมดาในภาษาไทย มีความหมาย 2 นัย คือ :-

(1) สังฆกรรมต่างๆ ตามพระวินัยที่ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปร่วมกันทำ เช่น อุโบสถกรรม (ประชุมฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน) อุปสมบทกรรม (พิธีบวช) กฐินกรรม (รับกฐิน) ตลอดจนกิจทั่วไปที่ภิกษุผู้อยู่ร่วมกันจะพึงช่วยกันทำ เช่น ดูแลรักษาและซ่อมแซมเสนาสนะ กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์ เป็นต้น

(2) กิจส่วนตัวของภิกษุแต่ละรูปที่จะพึงปฏิบัติตามพระวินัย เช่น บิณฑบาต ทำวัตรสวดมนต์ ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติกรรมฐาน เป็นต้น รวมทั้งกิจอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัย

พระสงฆ์รุ่นเก่าในเมืองไทยกำหนด “กิจของสงฆ์” ไว้ เรียกกันว่า “กิจวัตร 10 อย่าง” มีความดังนี้
     1. ลงอุโบสถ
     2. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
     3. สวดมนต์ไหว้พระ
     4. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
     5. รักษาผ้าครอง
     6. อยู่ปริวาสกรรม
     7. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
     8. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
     9. เทศนาบัติ
   10. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น

กิจวัตร 10 เหล่านี้เป็นกิจใหญ่ ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัด และจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน มักมีปัญหาเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน เมื่อเห็นการกระทำของพระสงฆ์ว่า “นั่นใช่กิจของสงฆ์หรือเปล่า”


@@@@@@

นอกจากมีพระธรรมวินัย และ “กิจวัตร 10 อย่าง” เป็นกรอบพิจารณาแล้ว ก็มีหลักอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ
    “วิญฺญุปสตฺถ” (วิน-ยุ-ปะ-สัด-ถะ) = วิญญูชนสรรเสริญ หรือ
    “วิญฺญุครหิต” (วิน-ยุ-คะ-ระ-หิ-ตะ) = วิญญูชนติเตียน
     หมายความว่า การกระทำนั้นๆ ผู้ที่รู้เรื่องนั้นแจ่มแจ้งดี และมีคุณธรรมท่านสรรเสริญหรือตำหนิ ถ้าท่านสรรเสริญก็ควรทำ ถ้าท่านตำหนิก็ไม่ควรทำ

    โปรดสังเกตว่า ท่านใช้คำว่า “วิญญูชน” เพราะคำสรรเสริญหรือคำตำหนิ อาจมาจาก “พาลชน” คือ ผู้ไม่รู้เรื่องนั้นๆ อย่างถูกต้องถ่องแท้ แต่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปตัดสิน เช่น ถ้าเรื่องนั้นถูกใจตน ก็บอกว่า..เป็นกิจของสงฆ์ ถ้าเรื่องนั้นไม่ถูกใจตนก็ว่า..ไม่ใช่กิจของสงฆ์

    @@@@@@

    พระศักดิ์สิทธิ์เพราะทำกิจของสงฆ์ พระวิปริตเพราะทำสิ่งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์



ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/กิจของสงฆ์-คำไม่ยาก-แต่/
บทความของ ทองย้อย แสงสินชัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2019, 10:25:41 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

"อะไรที่ไม่เกินกว่าพระธรรมวินัย ล้วนเป็นกิจของสงฆ์ทั้งสิ้น คนพึ่งวัดตั้งแต่เกิดจนตาย ทำไมพระและวัดจะทำอะไรกลับคืนเพื่อคนในสังคมไม่ได้" นี่เป็นคำจำกัดความของคำว่า "กิจของสงฆ์" ของ พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสวนแก้ว

 :25: :25: :25:

กิจของสงฆ์

มีคำถามว่า เป็น “พระสงฆ์” ในพุทธศาสนา มีกิจพึงต้องปฏิบัติ อะไรบ้าง.?
ศึกษาค้นคว้ามาจาก ทุกแหล่งและแห่งหน พบว่า “กิจของสงฆ์” ถูกกำหนดไว้รวม 10 ประการ ด้วยกัน

ประการแรก คือ ลงอุโบสถ
ประการที่สอง คือ บิณฑบาต เลี้ยงชีพ
ประการที่สาม คือ ทำวัตรสวดมนต์
ประการที่สี่ คือ กวาดอาวาสวิหารลานเจดีย์
ประการที่ห้า คือ รักษาผ้าครอง
ประการที่หก คือ อยู่ปริวาสกรรม
ประการที่เจ็ด คือ โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
ประการที่แปด คือ ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติครูอาจารย์
ประการที่เก้า คือ เทศนาบัติ
ประการสุดท้าย คือ พิจารณาปัจเจกขณะเวก


@@@@@@

ทุกประการดูจะเข้าใจได้ชัดเจน ยกเว้น “อยู่ปริวาสกรรม” “อยู่ปริวาสกรรม” หมายถึง การอยู่ชดใช้เป็นวิธีลงโทษ ภิกษุผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติหนัก รองจาก ปาราชิก

ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมีบัญญัติไว้ 13 สาเหตุ
     เช่น ภิกษุจงใจกระทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน
     เช่น ภิกษุเคล้าคลึงจับต้องอวัยวะสตรี
     เช่น ภิกษุพูดจาชั่วหยาบ
     เช่น ภิกษุยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
     เช่น ภิกษุเป็นผู้ว่ายากสอนยากและต้องโดนเตือนถึงสามครั้ง
     เช่น ภิกษุประทุษร้ายสกุลด้วยการประจบคฤหัสถ์ เป็นต้น

ภิกษุที่ต้องอาบัติจะโดนถอดสิทธิการเป็นภิกษุชั่วคราว ต้องประจานตนเอง ให้สำนึกผิด ต้องต่อท้ายแถว เมื่อไปบิณฑบาต ต้องนั่งท้ายแถวในพิธี และต้องแยกไปฉันน้ำปานะต่างหากจากกลุ่ม

@@@@@@

เห็น “หลวงปู่” รูปหนึ่ง ออกมา แสดงบทบาททางการเมือง และเป็นถึงเจ้าอาวาสวัดดัง
เห็น “หลวงปู่” ท่านนี้ นัดเคลื่อนพลเพื่อไปถวายคืนพระราชอำนาจที่หัวหิน
เห็น “หลวงปู่” ท่านนี้ กระทำตัวไม่ผิดจากปุถุชนธรรมดา

     คำถามจึงมีว่า
     1. พระสงฆ์ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่
     2. พระสงฆ์ควรแสดงความสำรวมมากน้อยขนาดไหน
     3. พระสงฆ์ควรทำตัวเป็นผู้นำในคณะสงฆ์ หรือเป็นผู้นำที่ไหนกับใครก็ได้
     4. พระสงฆ์ควรพิจารณาตัวเองอย่างไรดี ถ้าอยากเข้ามาโลดแล่นทางการเมือง
     5. พระสงฆ์เข้าไปปฏิบัติกิจในม็อบ มีความผิดอย่างไรหรือไม่
     6. พระสงฆ์ควรสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นหรือควรเอาตัวเข้าไปอยู่ในข้างหนึ่งข้างใด และผลคือเกิดความแตกแยก
     7. พระสงฆ์ควรช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหมู่สงฆ์ หรืออยากจะทำอะไรก็ทำไป โดยไม่คำนึงเลยว่า พุทธศาสนาโดยรวมจะเป็นเช่นไร
     8. พระสงฆ์ควรเป็นผู้ตักเตือนคนอื่น หรือควรเป็นผู้ถูกตักเตือนเสียเอง
     9. พระสงฆ์ควรชี้ทางสว่างให้บังเกิดขึ้นแก่สังคม หรือผลักให้เกิดความมืดมนมากขึ้น ไปอีก
   10. เราควรจะทำอย่างไรดีกับพระสงฆ์ผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด “กิจของสงฆ์”


@@@@@@

ถ้าไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ย่อมเป็นกรรมของพุทธศาสนิกชนทุกผู้คนและมองไม่ออกว่า ใครจะมาแก้ไขปัญหาเช่นนี้ได้.

      อนุภพ



ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/235007
จันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 00.00 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2019, 09:32:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


กิจของสงฆ์

กิจของสงฆ์ ไม่ใช่คำศัพท์ในอภิธรรม แต่เป็นวลีที่อยู่ในไตรปิฎก พบได้ในไตรปิฎกเช่นกัน มีความสำคัญ จึงได้นำมาอธิบายเพิ่มเติม กล่าวคือ คำว่า "กิจของสงฆ์" นี้ หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ควรต้องทำ เนื่องจาก บางสิ่งก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ใช่สิ่งที่สงฆ์ควรต้องทำ เช่น การทำงานแลกเงิน, การมีอาชีพ นั้น ไม่ใช่กิจของสงฆ์

การที่สงฆ์ทำกิจอันใดก็แล้วแต่ เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ, เงินทอง นั้นก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ใช่สิ่งที่พระสงฆ์ควรต้องทำ หรือแม้แต่กิจใดๆ อันปกติแล้วพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องทำอีกแล้ว และไม่มีผู้นิมนต์ให้ทำ นั่นก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ เช่น ก่อนบวชเป็นพระ สงฆ์อาจเป็นพราหมณ์มาก่อน ทำพิธีกรรมเพื่อช่วยเหลือเกื้อหนุนทางโลกมาก่อน เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หากไม่มีผู้นิมนต์ ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์อันพึงต้องทำ


@@@@@@

แม้แต่การสวดมนต์ แท้แล้วดั้งเดิมก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์มาก่อน แต่ "นิกายเถรวาท" ได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้ชนรุ่นหลังจดจำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ จึงใช้กุศโลบายให้พระสงฆ์สวดมนต์ นี่ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์แต่ดั้งเดิมมา (ดั้งเดิมแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้พระสงฆ์สวดมนต์ การสวดมนต์มีได้ในบางกรณี เช่น กรณีที่พระพุทธเจ้าได้รับนิมนต์จากคนผู้หนึ่ง ขอให้ช่วยบุตรชายของตน)

หรือแม้แต่การเข้าร่วมใน "การสังคายนาพระไตรปิฎก" ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์แต่ดั้งเดิม แต่เป็นไปด้วยความคิดของพระมหากัสสปะ ที่ต้องการเรียบเรียงพระธรรมวินัยให้ชัดเจนเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ กิจของสงฆ์แท้แล้วจึงน้อยมาก เช่น การทำหน้าที่เป็น "เนื้อนาบุญแก่โลก" แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องทางโลก ด้วยการบิณฑบาตรยังชีพทุกวัน เป็นต้น รับทักษิณาทานจากผู้อื่นที่ให้ตนได้ แต่ไม่ใช่เรียกร้องหรือร้องขอให้เขาให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ตน เนื่องจากการร้องขอ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ แต่เป็นกิจของขอทาน ก็เท่านั้นเอง

@@@@@@

อนึ่ง กิจของสงฆ์มีเพียงการดำรงชีพอย่างเรียบง่ายเท่านั้น เช่น การฉัน, การจำวัด, การดูแลตัวเอง, การซักจีวร-ย้อมเย็บจีวร ฯลฯ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะพึงไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก, เรื่องของผู้อื่นใด, เรื่องวิบากกรรมของใคร ฯลฯ

ยกเว้นว่าได้รับกิจนิมนต์จากผู้อื่น แล้วตนได้รับกิจนิมนต์นั้น จึงกระทำได้ นับเป็นกิจของสงฆ์ได้ (หลังจากมีผู้นิมนต์แล้ว) แม้แต่ผู้สำเร็จ "พุทธะ" ก็ตาม หากไม่มีผู้นิมนต์ให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่ใช่กิจของพุทธะที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ จำต้องปล่อยวาง อุเบกขา อยู่เฉยๆ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบกรรมของผู้ใด

ตัวอย่างเช่น พระพุทธเ้จ้า หลังตรัสรู้แล้วก็ทรงปล่อยวาง ไม่ได้คิดทำสิ่งใดๆอีก จนเมื่อท้าวมหาพรหม ลงมาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม โปรดสัตว์ ท่านจึงรับไว้เป็นกิจนิมนต์ เป็นกิจของสงฆ์ และสามารถกระทำกิจนั้นได้เหมือนการรับวิบากกรรมทั่วไป แต่ในที่นี้ เป็นการรับวิบากกรรมในรูปการกระทำกิจ เท่านั้นเอง


@@@@@@

อนึ่ง "พระอรหันตสาวก" ผู้หนึ่งผู้ใดเมื่อบรรลุธรรมแล้ว ไม่มีผู้นิมนต์ให้แสดงธรรม ท่านก็จะไม่แสดงธรรม เพราะไม่ใช่กิจของท่าน ไม่ต่างอะไรกับพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้แล้วก็ปลงตก อุเบกขา ปล่อยวาง แม้การแสดงธรรมโปรดสัตว์ก็ทรงสิ้นอยากสิ้นยึด ทว่าบางท่านคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้วจึงออกโปรดสัตว์ แสดงธรรมมากมาย ก็มี ซึ่งนั่นไม่ใช่วิสัยอันแท้ของพระอรหันต์

ดังนั้น แม้แต่การเผยแพร่ธรรมะ, การสอนธรรมะ ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ หากไม่มีผู้มานิมนต์ให้แสดงธรรมแล้ว ก็ย่อมไม่ใช่กิจของสงฆ์ การสอนธรรมนั้น เป็นแต่กิจของพราหมณ์ที่ยังมีอัตตาตัวตนแห่งความเป็น "ครู" เหลืออยู่ เท่านั้นเอง



ขอบคุณภาพจาก : https://2.bp.blogspot.com/
คอลัมน์ : เสพติดธรรมะวันละนิด จิตแจ่มใส (พจนานุกรมธรรมวันละคำ) โดย flame
ขอบคุณ : http://buddhaholic.blogspot.com/2013/02/blog-post_23.html
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2019, 09:52:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25:

ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา 
             
พระศาสดาตรัสตอบว่า “ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ (กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น.”
พระมหาปาละทูลถามว่า “พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร.? วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร.?”

พระศาสดา : ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า คันถธุระ

ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ

พระมหาปาละ : พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์, ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.



ทีี่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1


 ask1 ans1

ธุระ 2 (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา)

     1. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน)
     2. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด)

       ธุระ 2 นี้ มาในอรรถกถา


ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 st12 st12 st12

อัจจายิกสูตร

กิจที่ควรรีบทำของภิกษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
     การสมาทานอธิศีลสิกขา ๑
     การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑
     การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรรีบด่วนทำของภิกษุ ๓ อย่างนี้แล

     @@@@@@

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพบันดาลว่า จิตของเราจงพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานในวันนี้แหละ หรือมิฉะนั้นก็ในวันพรุ่งนี้ หรือในวันมะรืนนี้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ สมัยที่จิตของภิกษุนั้น ผู้ศึกษาอธิศีลอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิจิตอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิปัญญาอยู่ก็ดี หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นมีอยู่

     เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
     เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้า ในการสมาทานอธิศีลสิกขา
     เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้า ในการสมาทานอธิจิตตสิกขา
     เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้า ในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ



ที่มา : อัจจายิกสูตร โลณผลวรรคที่ ๕
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=6342&Z=6363


 st11 st11

สมณสูตร

[๕๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะที่สมณะควรทำ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
     การสมาทานอธิศีลสิกขา ๑
     การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑
     การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า
     เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา
     เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา
     เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้แล ฯ



ที่มา : สมณสูตร สมณวรรคที่ ๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6057&Z=6065&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 :25: :25: :25:

ในสามัญญผลสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึง "หน้าที่ของบรรพชิต" หลังบวช ไว้ดังนี้

[๑๙๓] เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยมารยาทและโคจร(การเที่ยวไป) เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ (และ) เป็นผู้สันโดษ



ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=1931


 st12 st12 st12

จากนั้นได้กล่าวถึงศีล โดยแบ่งศีลเป็น ๓ ระดับ คือ
     - ศีลอย่างเล็กน้อย(จูฬศีล)
     - ศีลอย่างกลาง(มัชฌิมศีล) และ
     - ศีลอย่างใหญ่(มหาศีล)

@@@@@@

ศีลอย่างเล็กน้อย(จูฬศีล)
๑. เว้นจากฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติล่วงพรหมจรรย์.
๒. เว้นจากพูดปด, พูดส่อเสียด(ยุให้แตกกัน), พูดคำหยาบๆ, พูดเพ้อเจ้อ.
๓. เว้นจากทำลายพืชและต้นไม้.
๔. ฉันมื้อเดียว เว้นจากการฉันอาหารในเวลากลางคืน, เว้นการฉันในเวลาวิกาล, เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง ประโคม และดูการเล่น, เว้นจากทัดทรง ประดับประดาร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวต่างๆ, เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่มีภายในใส่นุ่นหรือสำลี, เว้นจากการรับทองและเงิน
๕. เว้นจากการรับข้าวเปลือกดิบ, เนื้อดิบ, เว้นจากการรับหญิง หรือหญิงรุ่นสาว, เว้นจากการรับทาสี ทาสา, เว้นจากการรับแพะ, แกะ, ไก่, สุกร, ช้าง, โค, ม้า, ลา, เว้นจากการรับนา, สวน
๖. เว้นจากการชักสื่อ, การค้าขาย, การโกงด้วยตาชั่ง ด้วยเงินเหรียญ(สำริด) และด้วยการนับ(ชั่ง,ตวง,วัด), เว้นจากการใช้วิธีโกงด้วยให้สินบน หลอกลวงและปลอมแปลง, เว้นจากการตัด (มือ,เท้า) การฆ่า การมัด การซุ่มชิงทรัพย์(ในทาง) การปล้น การจู่โจมทำร้าย.


@@@@@@

ศีลอย่างกลาง(มัชฌิมศีล)
๑. เว้นจากการทำลายพืช     
๒. เว้นจากการสะสมอาหารและผ้า เป็นต้น
๓. เว้นจากการเล่นหลากชนิด เช่น ฟ้อนรำ เป็นต้น
๔. เว้นจากการพนันต่างชนิด     
๕. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
๖. เว้นจากการประดับประดาตกแต่งร่างกาย
๗. เว้นจากการติรัจฉานกถา (พูดเรื่องไร้ประโยชน์หรือที่ขัดกับสมณเพศ)
๘. เว้นจากการพูดแข่งดีหรือข่มขู่กัน     
๙. เว้นจากการชักสื่อ
๑๐. เว้นจากการพูกปด, การพูดประจบ, การพูดอ้อมค้อม(เพื่อหวังลาภ), การพูดกด, การพูดเอาลาภแลกลาภ(หวังของมากด้วยของน้อย) (ในแต่ละข้อนี้มีการแจกรายละเอียดออกไปมาก)
 
@@@@@@

ศีลอย่างใหญ่(มหาศีล)
๑. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายนิมิต, ทายฝัน, ทายหนูกัดผ้า เป็นต้น.
๒. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ดูลักษณะแก้วมณี, ลักษณะไม้ถือ, ลักษณะผ้า , ลักษณะศัสตรา เป็นต้น.
๓. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายทักเกี่ยวกับพระราชา ด้วยพิจารณาดาวฤกษ์
๔. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายจันทรุปราคา สุริยปราคา เป็นต้น.
๕. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายฝนชุก ฝนแล้ง เป็นต้น.
๖. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น การบน, การแก้บน, การประกอบยา เป็นต้น


 :96: :96: :96: :96:

หมายเหตุ : ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา อย่างพิสดาร ฝรั่งใช้คำว่า low arts เมื่อพิจารณาตามศัพท์ “ติรัจฉาน” ซึ่งแปลว่า “ไปขวาง” ก็หมายความว่า วิชาเหล่านี้ขวาง หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะ มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์ดิรัจฉาน

     เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป
     วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นติรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวาง หรือขัดกับความเป็นพระ
     ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้น เพราะเพ่งกิริยาที่ไม่ตั้งตัวตรง เดินไปอย่างคน แต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรง ก็ชื่อว่าไปขวาง



ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2019, 09:44:36 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

dragon-1

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้า พระทั้งประเทศไทย ทำอย่างนี้ หมด น่าจะงดงามเป็นอย่างยิ่ง ครับ

 like1 like1 like1
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
 :25: :25: :25:

กิจในอริยสัจจ์ 4 (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ 4 แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่า รู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว)

      1. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา)
      2. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา)
      3. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ)
      4. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา)

      @@@@@@

      ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้ วางเป็นหัวข้อได้ดังนี้

      1. ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต(ปริญญา)
      2. สมุทัย เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป(ปหานะ)
      3. นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ(สัจฉิกิริยา)
      4. มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอนและรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา(ภาวนา)

      ความสำเร็จในการปฏิบัติทั้งหมด พึงตรวจสอบด้วยหลักญาณ 3.



อ้างอิง : วินย. 4/15/20 ; สํ.ม. 19/1666/529
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 :25: :25: :25:

ญาณ 3 (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้)

       1. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ 4 แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
       2. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ)
       3. กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว)

       ญาณ 3 ในหมวดนี้ เนื่องด้วยอริยสัจ 4 โดยเฉพาะ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ 3 (ญาณทัสสนะมีรอบ 3 หรือ ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ 3 รอบ) หรือ ปริวัฏฏ์ 3 แห่งญาณทัสสนะ
       ปริวัฏฏ์ หรือวนรอบ 3 นี้ เป็นไปในอริยสัจทั้ง 4 รวมเป็น 12 ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการ 12

       พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ 4 ครบวนรอบ 3 มีอาการ 12 (ติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่า ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.



อ้างอิง : วินย. 4/16/21 ; สํ.ม. 19/1670/530 ; สํ.อ. 3/409.
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2019, 10:25:43 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 :25: :25: :25:

ฉวิโสธนสูตร
สูตรว่า พยากรณ์อรหัตผล ด้วยข้อสอบสวน ๖ อย่าง


พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนวิธีสอบสวนภิกษุผู้พยาการณ์อรหัตตผล(ผู้พูดว่าตนเป็นพระอรหันต์) โดยวิธีตั้งปัญหาให้ตอบรวม ๖ ข้อ คือ   
               
     @@@@@@

     ๑. รู้เห็นอย่างไร ในโวหาร ๔ คือ การพูดว่า ได้เห็นได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ในสิ่งที่ได้เห็นได้ฟังทราบได้รู้แจ้ง
     ๒. รู้เห็นอย่างไร ในขันธ์ ๕ ที่ยึดถือ   
     ๓. รู้เห็นอย่างไร ในธาตุ ๖   
     ๔. รู้เห็นอย่างไร ในอายตนะภายในภายนอก ๖ คู่ คือตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง เป็นต้น   
     ๕. รู้เห็นอย่างไร ในกายที่มีวิญญาณครองตน   
     ๖. รู้เห็นอย่างไร ในนิมิตทั้งปวงภายนอก จิตจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ถอนอหังการ(ความถือเรา) มมังการ(ความถือว่าของเรา) และมานะ(ความถือตัว) ซึ่งเป็นอนุสัย(กิเลสที่แฝงตัว) เสียได้.


     @@@@@@

     พร้อมทั้งแสดงคำตอบในทางรู้เท่าและตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา จนได้อาสวักขยญาณ คือ ญาณอันทำอาสวะให้สิ้นเป็นที่สุด

หมายเหตุ : ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ชัดเพียง ๕ ข้อ ส่วนข้อ ๖.แสดงตามมติอรรถกถาที่ให้แยกปัญหาเรื่องกายของตนกับกายของผู้อื่น นอกจากนั้นอรรถกถายังแสดงมติอื่นอีก



ที่มา : ฉวิโสธนสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/6.2.html


     :25: :25: :25:

     ขอยกเอาข้อธรรมบางส่วนใน "ฉวิโสธนสูตร" มาแสดงดังนี้

[๑๗๗] ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวนปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
 
     ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ
     เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
     เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า...
     ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

     ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงถอนอนุสัย คือ ความถือตัวว่า เป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอกได้ด้วยดี

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุ เช่นตัวท่านเป็นสพรหมจารี



ที่มา : ฉวิโสธนสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669


     st12 st12 st12

     ส่วนตัวผมได้ยินประโยคนี้แล้ว รู้สึกชื่นใจ ชอบสำนวนนี้มาก สำนวนนั้นคือ...
    "เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"

     คำว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี" ยังปรากฏอยู้ในหลายพระสูตร เช่น
     - สิลายูปสูตรที่ ๑
     - พรหมเทวสูตรที่ ๓
     - ปริยายสูตร

     @@@@@@

     ประโยคที่ว่า.."กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี" ทำให้นึกถึงคำว่า "อเสขบุคคล" อริยบุคคลมีสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

     อริยบุคคล 2 (บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้บรรลุธรรมพิเศษตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป, ผู้เป็นอารยะในความหมายของพระพุทธศาสนา)
     1. เสขะ (พระเสขะ, พระผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่พระอริยบุคคล 7 เบื้องต้นในจำนวน 8)
     2. อเสขะ (พระอเสขะ, พระผู้ไม่ต้องศึกษา ได้แก่ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว)

     - เสขะบุคคล ยังมีกิจที่ควรทำ
     - อเสขะบุคคล ไม่มีกิจที่ควรทำอีกแล้ว


      st11 st11

     ขอปิดกระทู้นี้ด้วยข้อธรรมใน พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ ดังนี้...

[๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
     ดูกรคฤหบดีในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑
     ดูกรคฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้

     ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
    "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก"



ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=280&items=1&preline=0&pagebreak=0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2019, 11:30:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

keyboard

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 8
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า