ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติ ภาวนา มีทางสายกลาง ได้อย่างไร สงสัยครับ  (อ่าน 1708 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติ ภาวนา มีทางสายกลาง ได้อย่างไร สงสัยครับ ในเมื่อเราปฏิบัติเป็นสมาธิ เท่านั้น ทำไมถึงจะเป็นการปฏิบัติ มรรค ทั้ง8 ได้ครับ เวลาเรากำหนด สมาธิ ก็เป็นเพียงแต่ สมาธิ ไม่ใช่ หรือ ครับ

   :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ); องค์ ๘ ของมรรค(มัคคังคะ) มีดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป) 
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
   ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
   ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
   ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา
ดู สิกขา ๓




สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)

   ๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
   ๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่าง สูง)
   ๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)


ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


     คุณสมคิดเข้าใจอะไรผิดรึเปล่า ทางสายกลาง ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
     แบ่งเป็นสามส่วน ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เบื้องต้นต้องมีศีล เพื่อที่จะนำไปเป็นฐานของสมาธิ
     และสมาธิจะเป็นฐานทำให้เกิดปัญญา

     ค่อยๆทำความเข้าใจให้ดี สงสัยอะไรก็ถามได้ครับ

      :25:

     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ