ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น  (อ่าน 4242 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

บุคคลเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น อย่างไร ฯ

        ๑.บุคคลเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกใน ขณะที่นับได้นิดหน่อย

        ๒.เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าใน ขณะที่นับได้นิดหน่อย

        ๓.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๔.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๕.เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๖.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจออกหายใจเข้าละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๗.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๘.เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๙.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสะปัสสาสะสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจออกหายใจเข้าสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2011, 08:37:18 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ลำดับ เป็นดังนี้

  1. หายใจเข้าสั้น ออกสั้น ด้วยการนับนิดหน่อย คือ นับไม่เกิน 10

      เป็น การกำหนดส่วนของนามรูป จัดเป็นฝ่ายสมถะ

  2. เมื่อนับได้นิดหน่อย ฉันทะ ( ความพอใจ ) ย่อมเกิดขึ้น
 
      เกิดขึ้น เพราะเกิดจากการนับ

  3. เมื่อฉันทะ เกิดขึ้น ย่อมพอใจในการนับนิดหน่อย

      การนับนิดหน่อย มีได้ เพราะมีฉันทะ  สลับเหตุ และ สลับผล ผล เป็น เหตุ เหตุ เป็น ผล

      ขั้นนี้ เป็น ญาณที่ 2 จัดเป็นฝ่ายสมถะ บางครั้ง นาม เป็น เหตุ รูป เป็น ผล บางครั้ง รูป เป็น เหตุ นาม  เป็น ผล  เพราะมีลม จึงมีกาย  จึงมีรูป ใจรู้ใน ลม ในกาย คือรู้รูป เป็นเหตุ ใจที่รู้ พอใจ เป็น นาม


   4. เพราะการนับนิดหน่อย ด้วย ฉันทะ สมาธิ จึงทำให้เกิด ความปราโมทย์ ( ความยินดี ) ในการกำหนด นับนิดหน่อย ในการหายใจเข้าสั้น ออกสั้น

   5. เพราะ มีความปราโมทย์ ในสมาธิ จึงทำให้เกิด ฉันทะ ในสมาธิ และ การนับนิดหน่อย ในลมหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น

   6. เมื่อการนับนิดหน่อย ในลมหายใจเข้าสั้น ออกสั้น ด้วยสามารถ ของปราโมทย์ และฉันทะ ละเอียดยิ่งกว่านั้น ในขณะนับอย่างนิดหน่อย จิตของผู้ภาวนาย่อมหลีกหนีจาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก วางจิตเฉยในลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ด้วยสติปรากฏรู้ในลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น เป็นเพียงกำหนดรู้ ด้วย อนุวิปัสนาทั้ง 3 เห็นเป็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไปของลมหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เพราะลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ปรากฏชัดเจนแจ่มใจ เรียกว่า กายปรากฏ ชัดเจน แจ่มใส รู้ว่าการปรากฏเป็นรูป จิตที่รู้ ทราบว่า ที่ปรากฏเป็นกาย มิใช่ สติปรากฏ เป็นแต่กายปรากฏ ชัดเจน แจ่มใส ใจทีกำหนดรู้ได้ขณะนั้นว่าเป็นนาม ใจที่รู้นั้นเรียกว่า สติ ปรากฏด้วย ปรากฏทั้ง 2 ประการ คือ กาน ก็ปรากฏ สติ ก็ปรากฏ เมื่อปรากฏพร้อมทั้ง 2 ประการอย่างนี้ เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน

   กายา คือ รู้กาย

   อนุปัสสนา คือ รู้ อนิจจา รู้ทุกขัง รู้อนัตตา ( รู้อย่างไร รู้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป )

   สติ  คือ รู้นาม ตามรู้ ในกาย ด้วย อำนาจ อนุปัสสนา 3

   ปัฏฐาน ในที่นี้ คือ ที่ตั้งแห่ง ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น

     กายา + อนุปัสสนา + สติ + ปัฏฐาน

     กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    เจริญธรรม


     ;)



       
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
        กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑
        นามกาย เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย
        รูปกาย เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ

        [๔๐๔] กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร ฯ
        เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

       เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
       เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ...
       เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อเห็น ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐานจิต ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจเชื่อ     ด้วยศรัทธา ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อประคองความเพียร...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งจิตมั่น ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ     เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ...
       เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
       กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2011, 07:48:40 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
รู้จัก กาย ก็คือ รู้จัก รูป นาม ทั้งสองอย่างสองประการ

   รูป ก็เป็นกาย เรียกว่า รูปกาย

   นาม ก็เป็นกาย เรียกว่า นามกาย

   รู้ทั้ง 2 ประการ เรียกว่า รู้ กาย ดังนั้น รู้ รูปนาม ก็คือ รู้ กาย รู้ กาย ก็คือ รู้ รูปกาย และ นามกาย



บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ้างถึง
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

กายที่จะปรากฏได้ ในลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ด้วยอาการ 18 ประการ ตามที่แสดงไว้แล้ว

   ส่วนเมื่อกายปรากฏ ย่อม รู้ว่า

   ความปรากฏของกาย คือ ความรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก หายใจเข้า ปรากฏ สติิเป็นอนุปัสสนาญาณ

        กายปรากฏ มิใช่ สติปรากฏ

        สติปรากฏด้วย เป็นตัว สติด้วย

        บุคคลย่อมพิจารณากาย ด้วยสติ ด้วยญาณนั้น

        การกำหนดเช่นนี้เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

      จึงกล่าวว่า แม้อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 และ 2 ก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

     เจริญธรรม


     ;)
   Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2011, 08:00:44 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา