ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ  (อ่าน 7933 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nithi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 04:04:38 pm »
0
๖. โคจรสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
             [๕๙๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ
ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ๑.
บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ที่ได้ฌานฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในโคจรในสมาธิ.
นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้

ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๗๘๙ - ๖๗๙๘. หน้าที่ ๓๐๒ - ๓๐๓.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=6789&Z=6798&pagebreak=0

ฟังใน RDN แล้วรู้สึกมีความสนใจมากครับ
ในเรื่องการเดินจิต พระพุทธเจ้าแยก วสี ไว้ถึง 4 พวก ด้วยกันแสดงให้เห็นว่าในสมาธิ นั้นมีความสำคัญในเรื่องการเดินจิต ที่เรียกว่า โคจร เรื่องของ โคจร นี้จัดเป็นลำดับ กรรมฐาน ได้หรือไม่ แสดงให้เห็นความสำคัญในเรื่องการเดินจติ สำคัญมากในสมาธิ และ มีความจำเป็น ต่อสมาธิ

ถ้าดูจาก วีดีโอ ชุดนี้ก็จะพอเข้าใจความสำคัญ เรื่องจิต

บันทึกการเข้า
ขุมทรัพย์แห่ง ความหลุดพ้น ปรากฏอยู่ที่พระไตรปิฏก อ่านพระไตรปิฏก มาก ๆ
 ก็จะเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ของจริงต้องตาม พุทธวัจนะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 06:53:42 am »
0
โคจร, โคจร-
   [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.).ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).

อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สมาธิสังยุต

๖. โคจรสูตร
อรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖ 
         
               บทว่า น สมาธิสฺมึ โคจรกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดในอารมณ์ของกรรมฐาน และในที่ไม่โคจรเพื่อภิกษาจาร.

               
จบอรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=590


    คุณนิธิครับ  ผมว่าคำว่า "โคจร" ในพระสูตรนี้ไม่ได้หมายถึง "การเดิน"
    น่าจะหมายถึง "อารมณ์" มากกว่า อารมณ์ในสมาธิ ควรจะเป็นเรื่องขององค์ฌาณ
    คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัตคตา

    การเดินจิตไปตามฐานต่างๆของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในห้องพระลักษณะ ในเบื้องต้น เป็นการพิจาณาปิติ
    ซึ่งแต่ละฐานจิตมีปิติไม่เหมือนกัน

    อยากจะตอบให้ลึกกว่านี้ กลัวตอบผิด รอให้พระอาจารย์มาตอบจะดีกว่า

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 02:23:25 pm »
0
อ้างถึง
รอให้พระอาจารย์มาตอบจะดีกว่า

รอด้วยคนคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 08:12:00 pm »
0
อ้างถึง
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ


ถ้าวิเคราะห์แล้ว มีสองส่วนนะครับ

 1.ฉลาดตั้งจิตมั่น

   มีสองประเด็น คือ ฉลาด และ ตั้งจิตมั่น

   ความฉลาด หมายถึง ความเข้าใจ ประยุกต์ใช้ ในที่นี้น่าจะหมายถึงเรื่อง การเดินจิต ( ก็คือ วสี )

  ตั้งจิตมั่น คือ สมาธิ

  สมาธิ มีระดับ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ เป็นต้นไป แต่ในพระสูตรนี้ พูดถึง ฌาน เท่าั้นั้น และ วสีก็มีเฉพาะใน ฌาน ด้วย

2.ฉลาดในโคจร สมาธิ

  อันนี้ ตรง ๆ เลยก็คือ การเดินจิต เดินฌาน ตั้งแต่ ฌาน 1 ถึง ฌาน 8
  อันประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีิติ สุข เอกัีคคตา อุเบกขา อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นไป

  ความฉลาด ก็คือ การเดินจิตเป็น ฌาน ตามลำดับ เข้าออก ฌาน ตามลำดับ

  นึกถึง ลีลาการเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในการเข้า ฌาน ออก ฌาน ก็มีบันทึกให้เห็นว่า เป็นไปตามลำดับ
 มิได้ลัดข้าม ฌาน แต่อย่างใด อันนี้น่าจะหมายถึง ความฉลาดในโคจร สมาธิ

 เหนื่อยจังครับ เพราะเป็นเรื่องที่ผมเองก็ยังไม่ถึง แต่ขอร่วมวิจารณ์บ้างนะครับ ( ขอได้บุญในพรรษาบ้างครับ )

 :s_hi: :67: :13: :13:

 
บันทึกการเข้า

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2011, 05:38:26 pm »
0
สำหรับ เราชาวกรรมฐาน ก็เอาพื้น ๆ ก่อนก็ได้ นะคะ

 การเดินจิตในกรรมฐาน ก็จัดเป็นการ โคจร ในกรรรมฐานระดับนั้นเหมือนกัน คะเพียงแต่ว่าอาจจะไม่ถึงกับตรงพระสูตรทีมุ่งระดับ ฌาน และมีวสี ชำนาญการเดินจิต

  การควบคุมจิตให้ไป ตามฐานจิต ก็จัดเป็นการเดินจิต นะคะ

  ที่สำคัญการเดินจิต จนเข้าถึงธาตุ ฟอกธาตุ ฟอกขันธ์ ด้วยแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่พึ่งประมาทนะคะ

  อ่านแล้วก็พยายามอยู่คะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 07:56:53 am »
0


เครดิตภาพ
จากคุณ    : สายลมเหงาแห่งขุนเขา
บันทึกการเข้า

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 07:58:39 am »
0
มุมมองของจีนก็แล้วกันน่ะค่ะ เพราะถนัดอันนี้มากกว่าทิเบตหรือฮินดู

- ชี่ หรือที่ไทยชอบแปลว่าปราณ มาจากรากศัพท์คำว่า ชี่ หมายถึงลม อากาศ หรือปราณ ขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังพูดถึงอะไร

- ที่นี้คำว่า "ปราณ" ถ้ากล่าวให้ง่ายที่สุด, ลมหายใจที่เข้าปอด ยังไม่เรียกว่าปราณค่ะ

- ปราณของมวยจีน นั้นมาจากหลักวิชาของเต๋า ที่อธิบายไว้ชัดเจนว่า ปราณในที่นี้คือ "ไฟที่อยู่ในน้ำ" คำว่าน้ำในที่นี้ จิงหรือ "หยด-พินทุ" หรือที่คนไทยชอบแปลว่า "ของเหลว" บ้าง พลังงานชีวิตบ้าง

- คำว่าจิง หมายถึงของเหลวค่ะ เช่น เกิดบาดแผลแล้วร่างกายจะผลิตเม็ดเลือดขาดเพื่อป้องกันเชือโรค เกิดน้ำใสๆช่วงแรกที่บาดแผล นั่นก็เรียกว่าจิง หรืออสุจิก็คือจิงประเภทหนึ่ง น้ำลายก็คือจิง ดังนั้นจิงแปลกว้างๆคือ "หยด" หรือ "พินทุ" หรือของเหลวที่เกิดจากกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งของร่างกายทำให้เกิด "หยด" ขึ้นมา

- ในร่างกายมี "จิง" ที่แตกต่างกันออกไป เช่นหัวใจ ปอด ตับ ไต แต่จิงที่ถือว่าสำคัญคือจิงจากไต จะเรียกว่าเป็นจิงทั่วไปหรือศัพท์ทางการแพทย์จีนเรียกว่า สารตั้งต้นในการก่อกำเนิดเนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ เอ็น ไขกระดูก จีนค้นพบมานานแล้วว่า ไตสามารถผลิตจิงทั่วไปที่ทำหน้าที่คล้ายๆแสตมป์เซลล์ ที่ยังไม่ระบุว่าจะไปซ่อมแซมอะไรบ้าง จนกว่าสมองจะสั่ง และมันจะผลิตช่วงที่นอนหลับหรือช่วงดึกๆก่อนเที่ยงคืน

- จิงที่ผลิตจากไต จะผลิตทุกคืน เพื่อเอาไปใช้ในวันต่อไป ในจิงนี้จะมี "ไฟ" ซ่อนอยู่ ไฟนี้เองที่เรียกว่าปราณ แต่ไฟนี้แต่ละคนมีไม่เท่ากัน เราจะต้องมีกลวิธีเอาไฟออกมาจากในจิงหรือน้ำให้ได้ ดังนั้นจึงมีศัพท์เทคนิคเรียกว่า ไฟในน้ำ

- การเอาไฟออกจากน้ำ คือการหายใจให้เป็น ควบคุมลมหายใจ มีสติ สมาธิ กำกับ "เฝ้าดู" ลมหายใจ แต่ไม่ใช่เพ่ง ไม่่ใช่การตั้งจิตไว้ที่ท้องน้อย (ตันเถียนล่าง) แต่มีจิต+สติที่เบิกบานอยู่ที่ตันเถียนบน แต่รับรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย รับรู้บริเวณที่หายใจ เหมือนการส่องดู ที่เรียกว่า "จ่าว" มาจากศัพท์ทางเทคนิคของเจ้าแม่กวนอิม ที่นั่งบนฝั่งปารมิตาแล้วเฝ้ามอง (จ่าว) ดูสรรพสัตว์ ในแบบ รูปไม่ต่างไปจากความว่าง ฯลฯ

- พลังของใจ จิตที่เบิกบาน สว่าง จะเผาน้ำ ทำให้ไฟออกจากน้ำ จึงเรียกว่า ปราณ ดังนั้นการนั่งสมาธิ ไม่ว่าจะชาติไหนก็ตาม ก็จะได้ไฟนี้เต็มประโยชน์ คนทั่วไปไม่สามารถดึงไฟหรือปราณนี้ได้เต็มที่ คนที่เจริญสติต่อเนื่อง ฝึกสมาธิถูกต้อง จะมีร่างกายแข็งแรงขึ้นเอง โดยธรรมชาติ แม้จะไม่เข้าใจกระบวนการทำงานของรายละเอียดเหล่านี้

- ยังมีรายละเอียดอีกมาก ค่ะ




จากคุณ    : พยัคฆ์น้อย
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 10:30:14 am »
0
    การเดินจิต แยกวสีไว้ถึง 4 พวกด้วยกันแสดงให้เห็นว่าในสมาธินั้นมีความสำคัญในเรื่องการเดินจิต ที่เรียกว่า โคจร เรื่องของ โคจร นี้จัดเป็นลำดับ กรรมฐาน ได้หรือไม่ แสดงให้เห็นความสำคัญในเรื่องการเดินจิตสำคัญมากในสมาธิ และ มีความจำเป็น ต่อสมาธิ

    คุณนิธิครับ ผมว่าคำว่า "โคจร" น่าจะหมายถึง "อารมณ์" มากกว่า การเดินจิตไปตามฐานต่างๆของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในห้องพระลักษณะ ในเบื้องต้น เป็นการพิจารณาปิติ ซึ่งแต่ละฐานจิตมีปิติไม่เหมือนกัน

    สำหรับเราชาวกรรมฐาน ก็เอาพื้น ๆ ก่อนก็ได้ นะคะ การควบคุมจิตให้ไป ตามฐานจิต ก็จัดเป็นการเดินจิต นะคะ ที่สำคัญการเดินจิต จนเข้าถึงธาตุ ฟอกธาตุ ฟอกขันธ์ ด้วยแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่พึงประมาทนะคะ อ่านแล้วก็พยายามอยู่คะ

ผมขณะนี้สัปปยุทธลงหทัยวัตถุฐานที่ ๕ (ผรณาปิติ/ฐานธาตุอากาศ) เกิดอาการเสมือนล้างธาตุ กล่าวคือรู้สึกล้า

ภายในแกนศีรษะ แม้จะพักผ่อนนานหลายชั่วโมงหลายวันต่อเนื่องก็ไม่หายคลายล้าลงได้ ผมนั้นก็รู้สึกแปลกใจอยู่

และเข้าใจได้เองว่า ต้องเข้าสับปฏิโลมเสริมธาตุเสียกระมังจึงหายได้ คงต้องขอตัวก่อน ได้ผลอย่างไรจะมาตอบ

ให้ ครับ!




http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/popup_cms_article_detail.php?cid=362&mid=Article&subject=%E2%C3%A4%CB%C5%CD%B4%E0%C5%D7%CD%B4%CA%C1%CD%A7%20%28%CD%D1%C1%BE%C4%A1%C9%EC%20%CD%D1%C1%BE%D2%B5%29
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2011, 10:58:53 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 09:57:30 am »
0
พุทโธ ตั้งมั่นใน ฐานจิต

พุทโธ สถิตย์ใน ฐานจิต

พุทโธ นับหมื่น อยู่ที่ใจ

พุทโธ เป็นอาภรณ์ แห่งใจ

จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน โคจรของฉันก็คือ พุทโธ

เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ