ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ  (อ่าน 5042 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
      พระสุตตัตนตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  เอกกนิบาต  ๓.  อกัมมนิยวรรค
 
               ๓. อกัมมนิยวรรค
            หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน

            [๒๑]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    ภิกษุทั้งหลาย    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน    (๑)

            [๒๒]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน    (๒)

            [๒๓]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๓)

            [๒๔]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๔)

            [๒๕]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๕)

            [๒๖]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้    จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๖)

            [๒๗]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑    ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๗)

            [๒๘]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก    (๘)

            [๒๙]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้    (๙)
            [๓๐]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้    (๑๐)

               อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ

บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

ศรีสุพรรณ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 66
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พยายามอ่าน  วิเคราะห์ ตามนะคะ เพราะ อ่านแล้ว ก็ยัง งง ๆ กับสำนวน คะ

   1. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
       
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือไม่ได้เจริญภาวนา )

   2.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือ จิตที่มีการภาวนา )

   3.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก ( เมื่อไม่ภาวนา ก็ไม่มีประโยชน์ )

   4.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก  ( เมื่อภาวนาก็มีประโยชน์ )

    5.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( ไม่ภาวนาก็ไม่ปรากฏชัด )

    6.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจินี้   
      จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก   ( เมื่อภาวนาก็ปรากฏชัด )

    7.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( การภาวนา ถ้าไม่ทำให้บ่อย )

    8. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ( เมื่อเจริญบ่อยก็ย่อมสมควร )

    9. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ ( เมื่อไม่เจริญภาวนาก็ย่อมมีความทุกข์ )

    10.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้  ( เมื่อเจริญก็ย่อมได้ความสุข )

 สรุป จากที่อ่านมานะคะ คือ ผู้ที่ภาวนา ต้องให้ภาวนาให้บ่อย ถึงจะได้ความสุข คะ


พยายาถอดใจความ ที่กล่าวว่าพระไตรปิฏก ที่อ่านยาก อยู่ คงเพราะเหตุีนี้ คะ


 :s_hi: :13:

 
บันทึกการเข้า
อย่าเห็นแก่ตัว จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน
เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ..... ด้วยใจศรัทธา

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านตาม ก็ยัง มึน ๆ เหมือนกัน อ่ะ แต่ พอเข้าใจ กับบทสรุป คะ

ถ้าพระไตรปิฏก สำนวนอ่าน ง่าย ๆ ก็จะดี นะคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
   ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
   เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒


      ๓. ทรงแสดงว่า ไม่ทรงเห็นธรรมะอื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่ถ้าไม่อบรมแล้ว ก็ใช้งานไม่ได้ เหมือนจิต.
   แล้วทรงแสดงจิตอีก ๙ ลักษณะ   คือ


   ธรรมะที่อบรมแล้ว   ย่อมใช้งานได้,   
   ไม่อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะ ( ความพินาศ ),   

   อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะ ( ประโยชน์),   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่, 


   อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่,

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่ ,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว นำทุกข์มาให้,   

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว นำความสุขมาให้


    ธรรมะแต่ละข้อนี้ไม่มีอะไรเสมอเหมือนจิต.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html
ขอบคุณภาพจากwww.bangkokbiznews.com




   พระไตรปิฎก(บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ ๒๐
   พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
   อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ


             [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ


             [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ


             [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

   จบวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๙๔ - ๑๒๗. หน้าที่ ๕ - ๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=94&Z=127&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=22
ขอบคุณภาพจากhttp://img.kapook.com


    ผมนำข้อความในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชนกับฉบับบาลีสยามรัฐ มาใ้ห้อ่านเปรียบเทียบกัน

    อยากทำความเข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎก เบื้องต้นให้อ่านอรรถกถา หรือไม่ก็

    ให้ไปอ่านพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ตามลิงค์นี้ครับ
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/

    ขอให้ทุกท่านสนุกกับการอ่าน
;) :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2011, 08:39:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องลองอ่าน หลาย ๆ ฉบับ ครับ แต่ คุณศรีสุพรรณ วงเล็บ ไว้ทำให้เข้าใจไวมากขึ้น ครับ

อ่านแล้ว ก็ไม่มึนตามครับ รู้สึกว่า ต้องพึ่งคนสรุปสำนวนหน่อย

อนุโมทนา กับทุกท่านครับ ที่ช่วยกันชี้แนะ.....

 :25: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้วได้ ความรู้เพิ่มมากครับ

ขอบคุณ กับ การแสดงความคิดเห็นของทุกท่าน ขอรับ
 :25: :c017:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันที่จริงที่กล่าวมาเป็นส่วน หนึ่ง ในห้องที่ 2 ของพระพุทธานุสสติ กรรมฐาน
คือห้อง พระยุคคลหกประการ

กายกัมมัญญตา  จิตตกัมมัญญตา
  กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน



  ในห้องพระยุคลธรรม 6 ประการ นั้นมีความพิศดารใน การฝึกอีกนะจ๊ะ
ไม่สามารถเปิดเผยอรรถาธิบายตรงนี้ให้ได้นะจ๊ะ



เพื่อให้เข้าใจ ธรรม อันเป็นคู่ เมื่อมีกลาวแสดงธรรม จะกล่าวธรรมเป็น คู่กัน เพราะจะเข้าใจง่าย

 [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ



 อันนี้ กล่าวถึง จิตไม่อบรม  ( ฝึกภาวนา ) ไม่ควรแก่การงาน
                 จิตที่อบรม   ย่อมควรแก่การงาน




[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



                  อันนี้ กล่าวถึง ธรรมใด ๆ
                  จิตไม่อบรม ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
                  จิตที่ฝึกอบรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันโหญ่




  [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ


     [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



    จิตที่ไม่ฝึกอบรม ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
    จิตที่ฝึกอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ยอ่มเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่



  [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

  [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



       จิตที่ไม่อบรม ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
       จิตที่อบรม ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่



[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ


     [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ



จิตที่ไม่มีการฝึกอบรม ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้
 จิตที่มีการฝึกอบรม ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ทั้งหมดนี้ ให้ความสำคัญ ตีความ ได้ คำว่า ธรรม ใด  ๆ ที่กระทำแล้ว ย่อมให้ความสำัคัญลง ไปที่ จิต
การอบรมธรรมใด ๆ ลงไปต้องให้ความสำคัญลงไป กับ จิต เพราะจิต เป็นที่เสวย เวทนา คือ ทุกข์ คือ สุข
เพราะจิต ย่อมทำให้พร้อมแก่การงาน เพราะจิตย่อมทำให้ปรากฏ เพราะจิตย่อมทำให้มากได้ด้วยธรรม เพราะจิตย่อมทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

ผู้ฝึกภาวนา ธรรม ใด ๆ พึงให้ คุณค่า ของธรรม ลงไปสู่ จิต เป็นประการแรก
 

เจริญธรรม
 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 05, 2011, 10:15:56 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ในห้องพระยุคลธรรม 6 ประการ นั้นมีความพิศดารใน การฝึกอีกนะจ๊ะ
ไม่สามารถเปิดเผยอรรถาธิบายตรงนี้ให้ได้นะจ๊ะ

ทำไมจึงเปิดเผยไม่ได้ ครับ ถ้าผมมีความสนใจ จะอย่างไรครับ ถึงจะทราบครับ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า