ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม จะปฏิบัติ ภาวนา แต่ไม่ค่อยอยากทำสมาธิ จะใช้สมาธิเล็กน้อย ได้หรือไม่ครับ  (อ่าน 761 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม จะปฏิบัติ ภาวนา แต่ไม่ค่อยอยากทำสมาธิ จะใช้สมาธิเล็กน้อย ได้หรือไม่ครับ ถ้าทำได้ ต้องทำอย่างไร ครับ

ตอบ การภาวนา เบื้องต้น ใช้ ขณิกะสมาธิ ได้

ผลของ ขณิกะสมาธิ คือ ความเพลิดเพลิน
ความเพลิดเพลิน เป็นคุณชาตของสุขอิงอามิส ดังนั้นมันจึงมีจุดที่ไม่ก้าวข้ามเขตปรมัตถ์ เพราะมันอิงอามิสเครื่องล่อ แต่ก็สามารถใช้เป็น วิปัสสนาเบื้องต้น สำหรับบุคคลที่เริ่มภาวนาได้ แต่ไม่สามารถไปถึง โสดาบันได้ เพียงแต่อยู่ในเขตของ โยคาวจร ผู้เป็นโสดาปัตติมรรคได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณธรรมสูงขึ้น ก็จะเลื่อนระดับสมาธิขึ้นไปเอง ดังนั้น การใช้ ขณิกะสมาธิ ก็สามารถใช้งานได้ในการภาวนาเบื้องต้น

ขณิกะสมาธิ มีอยู่ในอะไร
ธรรมสภาวะใดมีเครื่องล่อ ทั้งธรรมดำ และ ธรรมขาว สภาวะนั้นทำให้เกิดความเพลิดเพลินเพราะตัณหา(ความอยาก) เช่น ได้ มี ไม่ได้ไม่มี เป็นต้น ธรรมสภาวะนั้นทำให้ใจสงบอยู่กับเครื่องล่อนั้น ชื่อว่า ขณิกะสมาธิ เป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง ( ซึ่งขณะหนึ่งนั้น อาจจะเป็นวัน ๆ หรือ หลายวัน แล้วแต่เครื่องล่อนั้น ) ทำให้ลืมหิว ลืมกิน ลืมป่วย ลืมเจ็บเพลิดเพลินอยู่ในสภาวะนั้น ๆ

ยกตัวอย่าง คนเล่นไพ่ นั่่งเล่นไพ่ ได้ 2 วัน 3 คืน ไม่กินข้าวอาหารหรือน้ำเลยก็มี อันนี้เป็นสภาวะธรรมดำ
หรือคนนั่งถักโคเช่ นั่งถักจนมีนิมิตติดตา เป็นวันๆ อันนี้เป็นสภาวะธรรมขาว
หรือบางคนนอนอ่าน นั่งอ่าน นวนิยายกันไปเป็นเล่ม ๆ ลืมวันลืมคืน อันนี้เป็นสภาวะทั้งธรรมดำและธรรมขาวเป็นต้น

แต่จะเห็นว่ารูปแบบของสมาธิ นั้นไม่มี ที่มี มีแต่ความอยากเป็นเหตุทั้งนั้น ดังนั้นผลสภาวะของสมาธิประเภทนี้ จึงไม่สามารถใช้ในวิปัสสนาได้จริง ๆ เลย

ถ้านำมาใช้ในวิปัสสนา ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของการสาธยาย ธรรม เช่นการสวดมนต์ การเจริญพุทธมนต์ การอ่านสาธยายธรรม เหล่านี้ล้วนแล้วเป็นการใช้ สมาธิขณิกะ ทางอ้อม ๆ ทั้งนั้น

ในทางตรง ครูอาจารย์มักจะประสิทธิ์ธรรมลงในบาทคาถา แล้วให้ลูกศิษย์ เจริญสวดจนเป็นสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ จนขยับเป็นสมาธิขึนสูง

ในสายกรรมฐาน กัจจายนะ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ท่านก็มักจะสอนให้ลูกศิษย์ ว่าคาถาเป็นสมาธิ นั่นคือคาถา พญาไก่แก้ว หรือ คนทั่วไปเรียกว่า คาถาพระยาไ่กเถื่อน นั่นเอง

จัดเป็นการภาวนา ทางตรง ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ