ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราควรสักการะ เคารพ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ อย่างไร จึงจะควรครับ  (อ่าน 51283 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก
 http://www.samatidee.net/showtopic.php?id=10

เราควรสักการะ เคารพ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ อย่างไร จึงจะควรครับ

 อยากรู้ครับว่า เราควรจะกราบไหว้ บูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ อย่างไรเพื่อจะไม่เป็นการปรามาสครับ

 จึงจะถูก จะควร ครับ
 :c017:
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยังไม่เคยมี พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุ คะ

ถ้าอยากได้คำตอบก็ส่งมาให้ บ้างสิคะ จะมีคำตอบให้ ( ล้อเล่น น่า )

  น่าจะบูชา กราบสักการะ เหมือนพระพุทธรูนะคะ

  การพกติดตัวนั้นต้องระวังมาก ๆ คะ เพราะเราอาจจะทำอะไรไม่ควรขณะ มีอยู่


  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บูชาพระธาตุ

ภาพวาดพระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ศรีลังกา

พระบรมสารีริกธาตุ เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ด้วยคุณค่า ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และ ศาสนา อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สูงค่า ควรแก่การเคารพบูชาอย่างสูงสุด หากท่านผู้ใดมีโอกาสได้เก็บรักษาไว้ ขอท่านจงบูชาด้วยความเคารพ เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุนั้นหาได้ยาก และยังเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดในไตรภพที่มนุษย์และเทวดาพึสักการะ   

วิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นก่อนอื่นต้องชำระล้างร่างกาย ทำจิตใจ ให้สะอาดผ่องใส จัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะบูชา ตั้งสักการะ ณ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วจุดธูปและเทียน ตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

คำกล่าวบูชาพระบรมสารีริกธาตุ มีอยู่มากมายทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย แต่ที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป และกระทำได้โดยง่ายนั้นคือ

คำกล่าวพรรณนาพระบรมสารีริกธาตุ
" อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส "


*คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ก็สามารถนำมาใช้กล่าวบูชาได้เช่นกัน*

การบูชาพระธาตุนั้น นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่

1. การบูชาด้วยศีล ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

2. การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

3. การบูชาด้วยปัญญา คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)


นอกจากนี้ การบูชาพระธาตุยังได้ประโยชน์ ในด้านเป็นอนุสติ 10 อีกด้วย ดังนี้คือ

พุทธานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (พระบรมสารีริกธาตุ)
ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม (ธรรมที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกธาตุ)
สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงศีลของตน (ผลของศีลที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
จาคานุสติ คือ การระลึกถึงทานของตน (ผลของทานที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
เทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา (เทวดารักษาพระธาตุ)
มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน (แม้พระอริยเจ้าก็ต้องตาย)
กายคตาสติ คือ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียด (เมื่อตายแล้วก็เหลือเพียงกระดูก)
อานาปานสติ คือ การระลึกถึงสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ผลของสมาธิที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพาน (แดนพระนิพพานที่พระอริยเจ้าได้ก้าวล่วง)


วิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
 
พระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมา ขณะที่ หลวงตาพวง สุขินทริโย
กำลังนั่งสมาธิ ณ วัดสิริกมลาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2547

สำหรับบ้านที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาอยู่แล้วคงจะทราบดี เป็นที่น่าแปลกคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้น สามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้ แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม โดยเชื่อกันว่าหากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่ ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว

พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้นๆ ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน ดังที่ปรากฏใน คัมภีร์มโนรถปูรณี (อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)

วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้
1. จัดที่บูชาให้สะอาด
2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)
3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)
4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
6. สมาทานศีล
7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิโสฯ)
8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้


" อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "

หรือ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ "
* การเสด็จมามีด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเองโดยปาฏิหาริย์ มีผู้มอบให้ แบ่งองค์ ฯลฯ

บทสวดเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และ/หรือ พระธาตุนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายบท มีทั้งบทบาลี บทภาษาไทย หรือ ทั้งบาลีและแปลควบคู่กันไป แต่ละที่ก็แตกต่างกัน เท่าที่พอจะรวบรวมและพิมพ์ได้มีดังนี้

   คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก)
      (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อิติปิ โส ภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง, ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, สุตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.
 
บทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดป่าทะเมนชัย)
      อุกาสะ วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพเจ้าขอถือโอกาส ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระเจดีย์ทั้งหมดอันตั้งไว้ดีแล้วในที่ทั้งปวง

      พุทธะสารีรังคะธาตุง มะหาโพธิง พุทธะรูปัง คันธะกุฏิง จะตุราสีติสะหัสเส ธัมมักขันเธ
         คือซึ่งพระสารีรังคะธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระพุทธรูป ซึ่งพระคันธุกุฏิของพระพุทธเจ้า และซึ่งพระธรรมขันธ์ทั้งหลาย มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์

      สัพเพตัง ปาทะเจติยัง สักการัตถัง
         เพื่อสักการะซึ่งพระเจดีย์ คือรอยพระบาทเหล่านั้นทั้งหมดทั้งสิ้น

      อะหังวันทามิธาตุโย
         ข้าพเจ้าขอไหว้พระธาตุทั้งหลาย

      อะหังวันทามิสัพพะโส
         ข้าพเจ้าขอไหว้โดยประการทั้งปวง

      อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
         ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระรัตนตรัยเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ด้วยอาการดังนี้แลฯ


วันทาหลวง(ย่อ)
      วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ    ปะติฏฐิตา สะรีระธา-ตุ มหาโพธิง
      พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา    นาคะโลเก เทวะโลเกพรัหมะโลเก ชัมพูทีเปลังกาทีเป
      สะรีระธา-ตุ โย เกสา ธา-ตุ โย    อะระหันตะ ธา-ตุ โย เจติยัง คันธะกุฏิง
      จะตุราสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ    สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

คำบูชาพระธาตุในจักรวาลทั้งหลาย
         จัตตาฬิส สะมาทันตา   เกสา โลมา นะขา ปีจะ
         เทวา หะรันติ เอเตกัง    จักกะวาฬะ กัง ปะรัมปะรา
         ปูชิตา นะระเทเวหิ    อะหัง วันทามิ ธา-ตุ โยฯ


   คำบูชาพระธาตุแบบไม่จำเพาะเจาะจง
         อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส


      ถ้าประสงค์จะบูชาพระธาตุแบบเจาะจงให้นำฉายาของท่านวางหน้าคำว่า"ธาตุโย"เช่น

         คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
         อะหัง วันทามิ สารีริกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

         คำบูชาพระธาตุพระสิวลี
         อะหัง วันทามิ สิวลีธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

         คำบูชาพระธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
         อะหัง วันทามิ ภูริทัตตะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส


บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ
   คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบยาว
       อะเน กะกัปเป กุสะเล จินิตตะวา โลกานุกัมปายะ มะ เนกะทุกขัง อุสสาหะยิตตะวา จะ สุจีระการัง พุทธัตตะภาวัง สะกะลัง อะคัญฉิ เอวัญจะ กัตตะวา ภะคะวา ทะยาลุ ทุกขา ปะโมเจถะ ขิเล จะอัมเห ทัสเสถะ โน ปาฏิหิรัง สุวิมหัง เฉทายะ กังขัง สะกะลัง ชะนัสสะ กาเกนะ รัญญา กะถิตันตุ ยังยัง ตังตัง อะขีลัง วิตะถัง ตะถัง เจ

                พุทธานะกะถา วิตะถา ตะถา เจ ทัสเสถะ วิมหัง นะยะนัสสะ โนปิ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิ มะหันตา ภินนะมุคคา จะมัชฌิมา ภินนะฑัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเส เม ปะตันตุฯ
   
คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบทั่วไป
       อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต   

คำแปลบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบทั่วไป
       ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปตราบเท่าชีวิต ข้าฯขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขออัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุที่สถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วหัก แก้วมุกดา ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จงเสด็จตกลงเบื้องบนประดิษฐาน เหนือเศียรเกล้าของข้าฯในที่ทุกสถาน เทอญฯ
   
คำแปลบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบย่อ
       นับตั้งแต่นี้ จนสิ้นชีวิต พลีชีพอุทิศ พระรัตนตรัย ขอพระบรมธาตุ สถิตทั่งไกล คุ้มครองผองภัย สู่เศียรข้าฯเทอญฯ
   
อารัมภกถา คัมภีร์ถูปวงศ์ - ตำนานว่าด้วยการสร้างพระเจดีย์ (แต่งโดย พระวาจิสสรเถระ ภิกษุชาวลังกา)

       ยัสมิง สยิงสุ ชินธาตุวรา สมันตา ฉัพพัณณรังสิวิสเรหิ สมุชชะลันตา ตัสสะ โลกะหิตะ เหตุ ชินนัสสะ ถูปัง ตัง ถูปะมัพภุตตะมัง สิรสา นมิตตะวา

           พระบรมธาตุอันประเสริฐ ทั้งหลายของพระพุทธเจ้ารุ่งเรืองอยู่โดยรอบด้วยถ่องแถวแห่งพระรัศมี 6 ประการประดิษฐานอยู่ ณ พระสถูปเจดีย์องค์ใด ข้าพเจ้าขอน้อมบูชา พระสถูปอันบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์แก่โลก อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนั้น ด้วยเศียรเกล้า    

คำไหว้พระจุฬามณีเจดีย์
   นะโม 3 จบ
       อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
           นะโม ข้าฯ จะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้ว พระจุฬามณีเจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโน

       อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
           นะโม ข้าฯจะไหว้พระธรรมเจ้าของพระพุทธองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้ว พระจุฬามณีเจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโน


       อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
           นะโม ข้าฯจะไหว้พระสังฆเจ้าของพระพุทธองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้วพระจุฬามณี เจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโนติ

บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ
     คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดป่าบ้านค้อ)
     ปูชิตา นะระเทเวหิ,    สัพพัฏฐาเน ปะติฎฐิตา,
สิระสา อาทะเรเนวะ,    อะหัง วันทามิ ธาตุโย,
     โย โทโส โมหะจิตเตนะ,    วัตถุตตะเย กะโต มะยา,
โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,    สัพพะปาปัง วินัสสะตุ,
     ธาตุโย วันทะมาเนนะ*,    ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม,    มาเหสุง ตัสสะ เตชะสาฯ
          (* ถ้าผู้สวดเป็นหญิง เปลี่ยนคำว่า วันทะมาเนนะ เป็น วันทะมานายะ)
..........ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้านมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานในที่ทุกสถาน ด้วยเศียรเกล้า
..........แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงดโทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป
..........ด้วยเดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมเกล้านมัสการพระบรมสารีริกธาตุในกาลครั้งนี้ แม้สรรพอันตรายทั้งปวง จงอย่างได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.


      คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
     (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย
ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.    
ข้าพเจ้าขอนมัสการกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

      คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดจากแดง)
     (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
วันทามิ เจติยัง สัพพัง
สัพพัฎฐาเน สุปะติฎฐิตัง สารีริกะธาตุมะหาโพธิง
พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา
     ข้าพเจ้าขอวันทา ซึ่งพระเจดีย์ทั้งปวงที่ประดิษฐานไว้ดีแล้ว
ในที่ทั้งปวงกับพระบรมสารีริกธาตุ พระมหาโพธิ์
พระพุทธรูป ทั้งสิ้น ในกาลทุกเมื่อ

ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา     
ข้าพเจ้า ขอวันทา ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น
ผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นพระตถาคต ด้วยวาจาและใจ
ทั้งในที่นอน ที่นั่ง ที่ยืน และแม้ในที่เดิน ในกาลทุกเมื่อ


      คำไหว้พระธาตุ
     ยาปาตุภูตา    อะตุลา
นุภาวาจีรัง    ปะติฏฐา
สัมภะกัปปะ    ปุเรเทเวนะ
ตุตตา    อุตตะราภีทับยานะมานิ
หันตัง    วะระชินะธาตุง

      พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ   
อะหัง วันทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย ที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์
อะหัง วันทามิ สัพพะโส ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอ วังธาตุโย จัตตารี สะ สะ มาทันตา เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหังวันทามิธาตุโย

     พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุของทางเว็บไซต์ www.RelicsOfBuddha.com
     อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ    โลกานัง อะนุกัมปะโก    
     เวเนยยานัง ปะโพเธตา    สันติมัคคานุสาสะโก    
     ธัมมะราชา ธัมมะสามี    หิตายะ สัพพะปาณินัง    
     สุขุมัญ เจวะ คัมภีรัญจะ    เทเสติ อะภิธัมมิกัง    
     สารีริกะธาตุโย ตัสสะ    ยัตถาปิ อิธะ เจติยัง    
     สันติสุเข ปะติฏฐาติ    อิสสะรา สาตะตัง ฐิตา    
     อะหัง วันทามิ ธาตุโย    อะหัง วันทามิ สัพพะโส    
     ระตะนัตตะยานุภาเวนะ    ระตะนัตตะยะเตชะสา    
     ทิฏฐะธัมเม วิโรเจมิ    สัพพะสัมปัตติสิทธิยา    
     อิทธิง ปัปโปมิ เวปุลลัง    วิรุฬหิง จุตตะริง สะทา    
     วัณณะวา พะละสัมปันโน    นิรามะโย จะ นิพภะโย    
     สะทา ภัทรานิ ปัสสามิ    ชะยะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ
   
โดย... พระมหาสุพจน์ ฐิตชวโน ป.ธ. ๙ วัดชนะสงคราม

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
..........อุ กาสะ ข้าพเจ้าจะขอยอกรบวรวันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุมสุมามาลย์ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง

นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิม อันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้น มีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาดกลางนั้นไซร้ มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อย

ประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณ สีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกรอมรอินทร์พรหมภิรมย์ พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวากับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น

สถิตอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้ สถิตอยู่เมืองนาคสถาน แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือ เมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นะขา ทันตา ทั้งหลาย

เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการก วัสสิกะสาฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาทธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
 

..........‘กายนทนธนํ’ พระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ‘ปตฺโต’ บาตร อยู่เมืองอนุราธสิงหฬทวีปลังกา ‘อุทกสาฏกํ’ ผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร ‘จิวร’ ผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย ‘หรนี’ สมุกเหล็กไฟ อยู่เมืองตักสิลา ‘วาสีสูจิฆร’ มีดโกนแลกล่องเข็ม ประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ ‘จมมํ’ หนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐ’ ถวิกา’ ตลกบาตร แลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ

เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกษธาตุ ประดิษฐานอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ ‘กาสายะวัตถัง’ ผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมา ‘สุวณฺณโฑณ’ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตนมไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เป็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา

..........ครั้นกาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษ สังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำ คิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะเสด็จ

ไปสู่สถานที่สันนิบาตมิทันนาน ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัณฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาส ทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์เทวะนิกรอมรฤษีสิทธิ์พิทยาธรกินนรนาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้น

แผ่นพสุธา สตฺตาห ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุ่งโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสริรธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบ(ห้า)ค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก

..........อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น, อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง

บทนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
     อิติปิโส ภะคะวา    มือข้าพเจ้าสิบนิ้ว
     ยกเหนือหว่างคิ้ว    ต่างธูปเทียนทอง
     วงภักตร์โสภา            ต่างมาลากรอง
     ดวงเนตรทั้งสอง    ต่างประทีบถวาย
        
     ผมเผ้าเกล้าเกศ    
     ต่างประทุมเมศ    บัวทองพรรณราย
     วาจาเพราะผ่อง    ต่างละอองจันทร์ฉาย
     ดวงจิตขอถวาย    ต่างรสสุคนธา   

    
     พระบรมธาตุ    
     พระโลกนาถ    อรหันตสัมมา
     ทั้งสามขนาด    โอภาสโสภา
     ทั้งหมดคณนา    สิบหกทะนาน

     พระธาตุขนาดใหญ่    
     สีทองอุไร    ทรงพรรณสัณฐาน
     เท่าเมล็ดถั่วหัก    ตวงตักประมาณ
     ได้ห้าทะนาน    ทองคำพอดี   
     

     พระธาตุขนาดกลาง    
     ทรงสีสรรพางค์    แก้วผลึกมณี
     เท่าเมล็ดข้าวสารหัก    ประจักษ์รัศมี
     ประมาณมวลมี    อยู่ห้าทะนาน
    
     ขนาดน้อยพระธาตุ    
     เท่าเมล็ดผักกาด    โอภาสสัณฐาน
     สีดอกพิกุล    มนุญญะการ
     มีอยู่ประมาณ    หกทะนานพอดี 

   
     พระธาตุน้อยใหญ่    
     สถิตอยู่ใน    องค์พระเจดีย์
     ทั่วโลกธาตุ    โอภาสรัศมี
     ข้าฯขออัญชลี    เคารพบูชา     
 
     พระธาตุพิเศษ    
     เจ็ดองค์ทรงเดช    ทรงคุณเหลือตรา
     อินทร์พรหมยมยักษ์    เทพพิทักษ์รักษา
     ข้าฯขอบูชา    วันทาอาจิณ     


     หนึ่งพระรากขวัญ    
     เบื้องขวาสำคัญ    อยู่ชั้นพรหมินทร์
     มวลพรหมโสฬส    ประณตนิจสิน
     บูชาอาจิณ    พร้อมด้วยกายใจ
   
     สองพระรากขวัญ    
     เบื้องซ้ายสำคัญ    นั้นอยู่เมืองไกล
     สามพระอุณหิส    สถิตร่วมใน
     เจดีย์อุไร    อนุราธะบุรี

   
     สี่พระเขี้ยวแก้ว    
     ขวาบนพราวแพรว    โอภาสรัศมี
     อยู่ดาวดึงส์สวรรค์    มหันตะเจดีย์
     พระจุฬามณี    ทวยเทพสักการ
   
     ห้าพระเขี้ยวแก้ว    
     ขวาล่างพราวแพรว    โอภาสไพศาล
     สถิตเกาะแก้ว    ลังกาโอฬาร
     เป็นที่สักการ    ของประชากร   

 
     หกพระเขี้ยวแก้ว    
     ซ้ายบนพราวแพรว    เพริดพริ้งบวร
     สถิตคันธาระ    วินัยนคร
     ชุมชนนิกร    นมัสการ
   
     เจ็ดพระเขี้ยวแก้ว    
     ซ้ายล่างพราวแพรว    รัศมีโอฬาร
     สถิต ณ พิภพ    เมืองนาคสถาน
     ทุกเวลากาล    นาคน้อมบูชา

    
     พระธาตุสรรเพชร    
     เจ็ดองค์พิเศษ    นิเทศพรรณนา
     ทรงคุณสูงสุด    มนุษย์เทวา
     พากันบูชา    เคารพนิรันดร์
     ด้วยเดชบูชา    ธาตุพระสัมมา
     สัมพุทธภควันต์    ขอให้สิ้นทุกข์
     อยู่เป็นสุขสันต์    นิราศภัยอันตราย บีฑา
     แม้นเกิดชาติใด    ขอให้อยู่ใน พระศาสนา
     รักธรรมดำเนิน    จำเริญเมตตา
     ศีลทานภาวนา    กำจัด โลโภ
     พ้นจากอาสวะ    โทโส โมหะ
    
     ตามพระพุทโธ    
     อะหัง วันทามิ ธาตุโย    อะหัง วันทามิ สัพพะโส



สรงน้ำพระธาตุ


การสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุ เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือ วันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้นๆ หรือ แล้วแต่บุคคล

เมื่อได้ประมวลวิธีการต่างๆตามที่ได้พบเห็นมา มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ดังนี้

1.สรงน้ำองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุโดยตรงวิธีนี้แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการ คือ

1.1 อัญเชิญองค์พระธาตุลงบนผ้าขาวบาง ซึ่งขึงอยู่บนปากภาชนะรองรับน้ำ ทำการสรงน้ำโดยค่อยๆรดสรงลงบนองค์พระธาตุ วิธีการนี้น้ำจะไหลผ่านองค์พระธาตุ ซึมลงสู่ผ้าขาวและไหลรวมสู่ภาชนะที่รองรับด้านล่าง

1.2 ใส่น้ำที่จะใช้สำหรับสรงองค์พระธาตุ ลงในภาชนะ ค่อยๆช้อนองค์พระธาตุลงในภาชนะ เมื่อสรงเสร็จแล้วจึงอัญเชิญขึ้นจากน้ำ (* สำหรับวิธีนี้ ไม่ให้สนใจว่าองค์พระธาตุจะลอยหรือจม เพราะไม่ใช่การลอยน้ำทดสอบพระธาตุ ซึ่งอาจเข้าข่ายปรามาสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์นั้นๆได้)


วิธีการที่ 1.1    

วิธีการที่ 1.2

ทั้งนี้ เมื่อทำการสรงน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พึงอัญเชิญองค์พระธาตุขึ้น แล้วซับให้แห้ง ก่อนจะอัญเชิญบรรจุลงในภาชนะตามเดิม

2.สรงน้ำภาชนะหรือสถานที่บรรจุองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุ
วิธีการนี้นิยมใช้สำหรับสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์โดยทั่วไป, เจดีย์บรรจุพระธาตุที่ปิดสนิท หรือ ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ในกรณีที่มีผู้ร่วมสรงน้ำเป็นจำนวนมาก โดยการตักน้ำที่ใช้สำหรับสรง ราดไปบนพระเจดีย์


น้ำที่ใช้ในการสรง
น้ำที่นำมาใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น มีวิธีการเตรียมคล้ายกับการเตรียมน้ำ เพื่อใช้สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งการจะเลือกใช้แบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเหตุผลของแต่ละบุคคล รวมถึงความสะดวกในการจัดหาด้วย เมื่อทำการสรงเสร็จแล้ว น้ำที่ผ่านการสรงองค์พระธาตุ นิยมนำมาประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล เสมือนหนึ่งน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. น้ำสะอาดบริสุทธิ์
............มีผู้อธิบายว่า สาเหตุที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ในการสรงน้ำองค์พระธาตุนั้น เนื่องจากว่า องค์พระธาตุนั้น เกิดมาแต่ผู้บริสุทธิ์ ธาตุเหล่านั้นจึงเป็นของบริสุทธิ์ ไม่สมควรจะเอาสิ่งใดๆก็ตาม เจือปนลงไปแปดเปื้อนองค์พระธาตุ แต่อีกเหตุผลกล่าวว่า ในน้ำหอมหรือดอกไม้ อาจมีสารใดๆก็ตามเจือปน จนอาจทำให้องค์พระธาตุหมองลงได้


2. น้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา
............น้ำลักษณะนี้นิยมใช้สรงน้ำพระธาตุโดยทั่วไป นัยว่าได้ถวายเป็นอามิสบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสาวกทั้งปวง ซึ่งสิ่งบูชาที่เจือลงในน้ำก็แล้วแต่ความชอบ และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้ กลีบดอกไม้ ฝักส้มป่อย หรือ แก่นไม้จันทน์ฝน เป็นต้น


คำอาราธนาพระธาตุออกสรงน้ำ

โย สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ


สาธุ โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูละศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ภายในอันมี.................. ภายนอกมี..................... (ถ้าจะออกชื่อประธานในที่นั้นก็ให้เติมเข้า ภายในหมายถึงบรรพชิต ภายนอกคือคฤหัสถ์) ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียน

เพื่อจักว่าขอนิมันตนายังองค์พระมหาชินธาตุเจ้า เสด็จออกไปอาบองค์สรงสระ วันสันนี้แท้ดีหลี (ถ้านิมนต์ไปด้วยเหตุใดที่ไหน ก็ให้เปลี่ยนไปตามเรื่องที่นิมนต์ไป) ขอองค์พระมหาชินธาตุเจ้า จงมีธรรมเมตตาเอ็นดูกรุณา ปฏิคคหะรับเอายังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียนแห่งสมณะศรัทธา และมูลศรัทธา ผู้ข้าทั้งหลายว่าวันสันนี้แท้ดีหลี

อิทํ โน ทีปปุปผาลาชทานํ นิมตฺตนํ นิพฺพานปจฺจโย นิจฺจํฯ

(อ่านต่อด้านล่าง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 08:20:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คำขอโอกาสสรงน้ำพระธาตุ
(ก่อนจะสรงน้ำพระธาตุให้ยกขันน้ำหอมขึ้นใส่หัว แล้วผู้เป็นหัวหน้าว่าคำขอโอกาสดังนี้)

โย สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ


สาธุ โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูลศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้ ลำเทียนและน้ำสุนโธทกะ เพื่อว่าจะมาขออาบองค์สระสรงยังองค์พระมหาชินธาตุเจ้าว่า สันนี้แท้ดีหลี โดยดั่งผู้ข้าจักเวนตามปาฐะ


สาธุ โอกาส มยํ ภนฺเต ทีปปุผาลาชทานํ อเภขฺขอสาธารณ
สพฺพโลกิยโลกุตฺตร มคฺคผล นิพฺพานปจฺจโยโหตุ โน นิจฺจํ ฯ


ที่มา  http://relicsofbuddha.com/page6.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 08:17:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ


การจัดที่บูชาและปฏิบัติต่อพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุต่างๆ
        พระบรมสารีริกธาตุเป็นธาตุรู้เสด็จมาได้ตามคำอธิษฐาน ก็เสด็จไปได้เมื่อปฏิบัติไม่ถูก ต้อง ฉะนั้นจึุงต้องปฏิบัติต่อพระบรมสารีริกธาตุเฉกเช่นพระพุทธองค์ ดังนี้

       บรรจุไว้ในเจดีย์ไม้จันทร์ เจดีย์ไม้โพธิ์ เจดีย์แก้ว หรือผอบ โถกระเบื้องที่มีฝาครอบก็ได้ควรรองภายในด้วยสำลีตัดผ้าแดงให้พอดี วางบนสำลี ตัดไหมเจ็ดสีเป็นเส้นเล็ก ๆ วางบน ผ้าแดงแล้วทับด้วยผ้าขาวอีกทีหนึ่ง แล้วจึงอัญเชิญพระบรมธาตุวางข้างบน


       การที่เอาผ้าแดงผ้าขาวรองใต้พระบรมสารีิริกธาตุ เพราะถือกันว่า พระธาตุมีเทพรักษา ผ้าขาวผ้าแดง เป็นอาภรณ์ของเทพยดา

         พระบรมธาตุจะถูกบรรจุอยู่ในตลับทองคำตลับเงิน ตลับนาก ซ้อนกันเป็นชั้น ๆแล้วแต่กำลังทรัพย์และศรัทธาของผู้เป็นเจ้าของนอกนั้นเขาจะบรรจุอัญมณีล้ำค่าเพื่อเป็นการสักการะพระบรมสารีริกธาตุบางแห่งก็จะบรรจุดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน และไม่จันทร์ซีกเล็กๆไว้กับพระบรมสารีริกธาตุ

 

   โบราณกล่าวว่าใช้ไหมเจ็ดสี มณีเจ็ดอย่างจะถูำกโฉลกในการบูชาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุควรสูงกว่าพระพุทธรูปบูชา ถ้าสถานที่ไม่อำนวย จะวางไว้หน้าพระพุทธรูปก็ได้ แต่ควรมีพานรองรับ

         ควรตั้งน้ำสะอาดบริสุทธิ์บูชาพระธาตุ และควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน หรือทุกวันพระ

           ควรเน้นหนักในการปฏิบัติบูชา ด้วยการสวดมนต์ภาวนาให้สม่ำเสมอ มากกว่าการบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งอื่นใด ไม่ควรกราบไหว้ด้วยจิตที่เจือด้วยกิเลส พยายามผูกจิตระลึกถึงพระบรมธาตุด้วยการบริกรรมภาวนาคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า


     "อิติปิโส วิเสสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิอิโสตังพุทธปิติอิ" ให้มากที่สุด

       การบูชาพระธาตุนี้มีผลานิสงส์มากนักอาจให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ได้ทั้งในชาตินี้ และชาติหน้าหรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ " พระนิพพาน"

       ผู้ไม่เชื่อและไม่เคยบูชาก็ไม่สามารถจะรู้ได้เพราะผลานิสงส์ทั้งนี้่จะเกิดปรากฏเฉพาะผู้ที่มี ความเลื่อมใสและกระทำการบูชาโดยสุจริตเท่านั้น

       พระธาตุได้มีส่วนเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมาแต่โบราณอาจกล่าวได้ว่าทุกๆ เจดีย์หรือ พระปรางค์ จะมีพระธาตุบรรจุไว้พระพุทธรูปสำคัญๆ จะมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายในองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ตั้งประดิษฐานลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนเจดีย์ที่บรรจุพระอรหันตธาตุควรอยู่ต่ำกว่า พระพุทธรูปเพราะเป็นพระธาตุของพระสาวกควรอยู่ต่ำกว่าพระศาสดา หรือถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็ให้จัดดูตามความเหมาะสม

 


ข้อมูลจาก หนังสือ ๕๐ ปี สันติธรรมานุสรณ์ และหนังสือพระบรมสารีริกธาตุ โดย วิทยา ประทุมธารารัตน์
ที่มา  http://www.maameu.ath.cx/forum/index.php?topic=6560.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 08:19:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nanthesingle

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สุดยอดมากคะ