ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของ "นาคหลวง"  (อ่าน 3904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมาของ "นาคหลวง"
« เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 11:07:18 am »
0



นาคหลวง
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


อยากทราบประวัตินาคหลวง ไม่แน่ใจนะครับ สามเณรนาคหลวงอายุไม่เกิน 23 ปีหรือเปล่า ไม่น่าจะ 20 หรือเปล่าครับ.....joke@iPhone

ตอบ joke
นาคหลวง เป็นคำเรียกสามเณรหรือบุคคลที่อุปสมบทโดยได้รับมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาลรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


นาคหลวงมี 2 ประเภท คือ

  1. นาคในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ทำเรื่องกราบบังคมทูลขอเป็นนาคหลวง
      -  แยกเป็นนาคหลวงที่เป็นพระราชวงศ์ ราชสกุล ราชนิกุล ประกอบพิธีสมโภชในพระที่นั่งแล้วแห่ไปอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม,
      - นาคหลวงประเภทข้าราชการชั้นสัญญาบัตร จะไม่มีพิธีสมโภช เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ
      - และนาคหลวงประเภทข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร จะได้รับพระราชทานเครื่องอัฐบริขารไปอุปสมบทตามวัดที่ติดต่อไว้เอง
    เรียกนาคหลวงประเภทนี้ว่า นาคในพระบรมราชานุเคราะห์ และ


    2.นาคหลวงสายเปรียญธรรม คือผู้สอบภาษาบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร อายุไม่เกิน 21 ปี





    การอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
    ทรงผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปีพ.ศ.2331
    นับว่าเป็น "นาคหลวงองค์แรก" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


    และตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นราชประเพณีที่พระบรมราชวงศ์หากจะทรงผนวช จะต้องทรงผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยโปรดเกล้าฯให้เป็นนาคหลวง

    สำหรับนาคหลวงสายเปรียญธรรม สามเณรนาคหลวงรูปแรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ     
    สามเณรสา สอบไล่ได้เมื่ออายุ 18 ปี แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชาธิวาสวิหาร
    ก่อนย้ายไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้รับยกย่องเป็นสามเณรอัจฉริยะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


    ต่อมาในปีพ.ศ.2434 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สามเณรนาคหลวงรูปที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์คือ สามเณรปลด เกตุทัต
    สอบไล่ได้เมื่ออายุ 20 ปี (แผ่นดินรัชกาลที่ 5) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.2503 รัชกาลปัจจุบัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


    ส่วนผู้สอบไล่ได้เปรียญ 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรเป็นท่านแรกในสมัยที่เปลี่ยนวิธีสอบจากสอบปากเปล่าสดๆ มาเป็นข้อเขียน คือ
    สามเณรเสฐียรพงษ์ วรรณปก วัดทองนพคุณ สอบไล่ได้เมื่ออายุ 21 ปี
    เป็น สามเณรนาคหลวงรูปที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์





    นาคหลวงสายเปรียญธรรมถือเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของสามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ในการนี้วัดจะได้จัดฉลองเพื่อแสดงมุทิตาให้แก่สามเณร เพื่อให้สังคมรู้จักกัน อย่างกว้างขวาง อันเป็นเกียรติแก่สามเณรและครอบครัว ซึ่งสนับสนุน ศาสนทายาทที่มีคุณภาพ

    สำหรับพระราชพิธีอุปสมบทนาคหลวง แต่ก่อนมีระเบียบปฏิบัติเริ่มจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาคหลวงนำดอกไม้ธูปเทียนแพเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมทูลลาผนวช ลาอุปสมบท ก่อนมีพระราชพิธีสมโภช คือ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิมพระราชทาน แล้วจึงมีการทำขวัญนาคหลวง

     สำหรับปัจจุบันทรงให้ปรับเปลี่ยนระเบียบพิธีให้คงมีแต่ขั้นตอนการทรงผนวช การอุปสมบทไว้ และจะเสด็จฯ ไปพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร เครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุนาคหลวง และทรงหลั่งทักษิโณทก อุทิศพระราชกุศลตามพระราชศรัทธา หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ แทนพระองค์



ขอบคุรบทความและภาพจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakU0TURrMU5RPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPUzB4T0E9PQ==
http://www.ourking.in.th/,http://www.thaidphoto.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "นาคหลวง"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 01:40:04 am »
0
อนุโมทนา เรื่องนี้มีสาระ แต่คนสนใจ จะมีน้อยเพราะนาคหลวงไม่ได้ ที่ใคร ๆ จะเข้าไปเป็นได้ ต้องมีคุณสมบัติมากมาย ชนทั่วไปที่มีปัญญาน้อยจึงไม่สนใจ ขนาดเป็นสามเณรอายุต้องไม่เกิน 22 ปี ต้องเป็น เปรียญธรรม 9 ประโยคด้วย จึงจะเป็นนาคหลวงได้

   :s_hi: :49: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "นาคหลวง"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 10:38:21 am »
0
ดังนั้น นาคหลวง จึงมีไม่กี่รูป ใช่หรือไม่คะ มีรายนาม นาคหลวง ในยุคนี้บ้างหรือไม่คะ
อนุโมทนา คะ

 :88: :25:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ