ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าหญิงเคซัง โชเดน วังชุกแห่งภูฏาน กับชีวิตตามรอยธรรมแห่งพุทธศาสนา  (อ่าน 1252 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เจ้าหญิงเคซัง โชเดน วังชุกแห่งภูฏาน กับชีวิตตามรอยธรรมแห่งพุทธศาสนา

หากกล่าวถึงประเทศ “ภูฏาน” (Bhutan) ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ราชอาณาจักรภูฏาน” (Kingdom of Bhutan) ข้อมูลที่ผุดขึ้นมาในหัวหรือค้นพบ จาก Google ก็คงไม่พ้นเรื่องราวและภาพของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระมหากษัตริย์หนุ่มผู้มีรูปร่างหน้าตาและพระจริยวัตรอันงดงามไปจนถึงสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงเพียบพร้อมด้วยสภาพแวดล้อมอันสมบูรณ์ทั้งป่าเขาลำเนาไพร?และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีดัชนีความสุขสูงที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตามประเทศเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดราว 1 ใน 13 ของไทย ก็มีอีกหลายแง่มุมที่น่าค้นหาและศึกษา โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นดินแดนที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิมของตัวเองเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกทั้งในด้านนวัตกรรมและวัฒนธรรม

เนื่องในโอกาสพิเศษที่ เจ้าหญิงเคซังโชเดน วังชุก พระภคินีในสมเด็จพระ-ราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้เสด็จมายังประเทศไทยด้วยพระภารกิจในการจัดทำหนังสือ Zangdok Palri: The Lotus Light Palace of Guru Rinpoche

ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคุรุรินโปเชที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง” สำหรับพุทธศาสนิกชนชาวภูฏานและทิเบต เจ้าหญิงแห่งภูฏานพระองค์นี้ได้ทรงสละเวลาส่วนพระองค์ประทานสัมภาษณ์ในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับดินแดนขนาดเล็กที่น่าสนใจไม่น้อยแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายวัชรยานที่เจ้าหญิงทรงศึกษาค้นคว้ามาตลอดชีวิต



เจ้าหญิงเสด็จมาประเทศไทยครั้งนี้มีกำหนดการอย่างไรบ้างครับ

เนื่องจากสมเด็จแม่มีความผูกพันกับประเทศไทยมายาวนาน นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจ้านายในราชวงศ์ไทยเคยเสด็จไปเยือนภูฏานเมื่อตอนที่ข้าพเจ้าเพิ่งอายุได้ 3-4 ขวบ สมเด็จแม่จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไทย นับตั้งแต่นั้นมา นอกจากนั้นเราก็มีเพื่อนหลายคนที่นี่ เราจึงเดินทางมาเมืองไทยทุกปีในช่วงหน้าหนาวเพื่อเยี่ยมเยียนบรรดากัลยาณมิตรชาวไทยของเราเป็นเวลา 1-2 เดือน แต่สำหรับครั้งนี้มีภารกิจหนึ่งเพิ่มขึ้นมาคือภารกิจเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง Zangdok Palri: The Lotus Light Palace of Guru Rinpoche

ขอให้เจ้าหญิงทรงเล่าถึงรายละเอียดของหนังสือเล่มนี้สักเล็กน้อยครับ

หนังสือเล่มนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่สมเด็จย่ามีพระดำริว่า ประเทศไทยและประเทศภูฏานนั้นต่างก็เป็นมิตรประเทศที่มีสายสัมพันธ์อันดี ทั้งยังมีความเชื่อมโยงทางจิตใจที่ดีต่อกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างก็นับถือศาสนาพุทธด้วยกันทั้งคู่แม้จะต่างนิกายกันก็ตาม ดังนั้นหากเกิดความร่วมมือระหว่างสองประเทศในโครงการที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี

สมเด็จย่าจึงได้ทรงสอบถามไปทางคุณสุภวรรณ ล่ำซำ ถึงความเป็นไปได้ในการทำหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คุรุริน-โปเช ซึ่งสำหรับชาวภูฏานแล้ว ท่านถือเป็นวัชรนิรมานกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้าหรือพระศากยมุนี และเป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในทิเบตเป็นครั้งแรกจนได้รับการนับถือในหมู่พุทธศาสนิกชนทิเบตให้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง

ข้าพเจ้าเองก็โตมากับคุรุรินโปเชและมีคำสอนของท่านเป็นหลักธรรมประจำใจในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว?ซึ่งหนึ่งในคำสอนที่สำคัญคือให้เหล่าสานุศิษย์เคารพแนวทางอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นมหายาน หินยานวัชรยาน หรือกระทั่งศาสนาอื่นที่ไม่ใช่พุทธ-ศาสนาก็ตามที เพราะแม้จะต่างนิกายกันและต่างก็มีแนวทางการสอนที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ในสาระสำคัญแล้วก็เหมือนกันหมด ดังนั้นท่านจึงสอนให้เคารพศาสดาหรืออาจารย์ของนิกายหรือศาสนาอื่นด้วย ตราบเท่าที่หลักธรรมคำสอนนั้น ๆสามารถขัดเกลาให้เราเป็นคนดีได้ เราก็ต้องให้ความเคารพเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างไทยกับภูฏานในแง่ความเชื่อมโยงทางจิตใจและพุทธศาสนา



อะไรคือความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดระหว่างศาสนาพุทธนิกายเถรวาทกับนิกายวัชรยานที่ชาวภูฏานนับถือครับ

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจะเน้นหนักไปที่การปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองให้หลุดพ้นก่อนแล้วจึงไปช่วยเหลือคนอื่นแต่ศาสนาพุทธนิกายวัชรยานเชื่อว่า เราจะไม่สามารถหลุดพ้นได้ หากเราไม่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นให้มีดวงตาเห็นธรรมก่อน

ดังนั้นชาวพุทธนิกายวัชรยานจึงเชื่อว่าเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปเรื่อย ๆจนกว่าสัตว์โลกทั้งมวลจะบรรลุธรรม ซึ่งเป็นการเดินทางที่ยาวนานมาก แต่ก็เป็นเส้นทางที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา นอกจากนั้นชาวพุทธนิกายวัชรยานยังเชื่อด้วยว่า แม้ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว ก็สามารถเลือกที่จะกลับมาเกิดอีกเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้

อยากทราบว่าการ “บรรลุธรรม”ในแบบวัชรยานมีลักษณะเป็นอย่างไรครับ

สำหรับเราการ “บรรลุธรรม” ไม่ใช่สิ่งที่หลายคนมักจะเข้าใจกัน การบรรลุธรรมไม่ได้หมายความว่าคุณจะกลายเป็นพระเจ้าหรือมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรมากมาย เพราะความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายนอก แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจของเราเอง “พระเจ้า” ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ภายนอกตัวคุณ แต่พระเจ้าคือ “ความเป็นพุทธะ” หรือความเป็น “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”ในตัวคุณ ดังนั้นการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าก็คือการค้นพบความเป็นพุทธะในตัวคุณนั่นเอง

มนุษย์ทุกคนมีความเป็นพุทธะซ่อนอยู่ ไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่ฆาตกรอย่างองคุลิมาล ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการหมั่นฝึกฝนจิตจนค้นพบความเป็นพุทธะในตัวของเราเอง เราเชื่อว่าแม้จะบรรลุธรรมแล้ว คุณก็ยังสามารถกินอาหารแบบเดิมได้เดินยืนนั่ง ทำงาน หรือใช้ชีวิตตามปกติได้ แม้แต่ดูทีวีก็ยังได้ เพราะสิ่งที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใน และสิ่งที่เปลี่ยนไปนี้คือต้นกำเนิดของพลังแห่งความแข็งแกร่งความกล้าหาญ ความรัก และความสุขของคุณ เมื่อบรรลุธรรม ทุกอย่างที่คุณทำจะเกิดจากความตื่นรู้ และชีวิตของคุณจะไม่ถูกชักนำด้วยอารมณ์หรือความรู้สึกเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

สิ่งที่ศาสนาพุทธนิกายวัชรยานเน้นเป็นพิเศษคืออะไรครับ

การมีพระอาจารย์ที่คอยสั่งสอนดูแลเรานั้นสำคัญมากที่สุด เพราะเราเชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการส่งต่อและสืบทอดกันมาผ่านทางพระอาจารย์ท่านต่าง ๆ โดยไม่ขาดสาย ดังนั้นชาวพุทธนิกายวัชรยานจึงนับถืออาจารย์ของตนราวกับนับถือพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว และเราเข้าใจว่า คำสอนของอาจารย์ก็ทำให้เราเข้าถึงความเป็นพุทธะได้เช่นกันค่ะ



สำหรับชาวพุทธนิกายวัชรยานการฝึกสมาธิมีความสำคัญอย่างไรบ้างครับ

การฝึกสมาธิสำหรับชาวพุทธนิกายวัชรยานคือ การฝึกจิตให้เคยชินกับการทำในสิ่งที่ดี ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาสติให้แหลมคมและพัฒนาปัญญาให้บริสุทธิ์ต่อไป คนเรามักมีนิสัยของจิตที่ไม่ดีติดตัวมาคือเรามักพยายามผลักไสหรือยึดติดกับความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาในจิต ทั้งความรู้สึกที่ดีและไม่ดี แต่กุญแจของการฝึกสมาธิคือการพยายามเป็นผู้รู้และเป็นผู้ดูความเป็นไปของจิต โดยไม่เอาตัวเข้าไปยึดติดกับมัน

ลองศึกษาความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาในจิตดูให้ละเอียดลึกซึ้งว่า มันมีรูปร่างอย่างไรเป็นสีอะไร เป็นสิ่งอ่อนหรือแข็ง ทึบหรือใส ฯลฯ และท้ายที่สุดเราก็จะเริ่มเข้าใจเองว่าความรู้สึกเหล่านั้นแท้จริงแล้วมัน “ว่างเปล่า”โดยสิ้นเชิง เพราะมันถือกำเนิดขึ้นมาจากความว่าง และก็จะคืนกลับไปสู่ความว่างดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะเป็นทุกข์เพราะความว่าง

แล้วเจ้าหญิงทรงมีวิธีการฝึกอย่างไรบ้างครับ

ก่อนอื่นคงต้องบอกว่าข้าพเจ้าไม่ได้เก่งขนาดนั้น ไม่ควรใช้เป็นตัวอย่างนะคะ (ทรงพระสรวล) แต่ก็พยายามฝึกอยู่ทุกวัน สำหรับข้าพเจ้าการทำสมาธิไม่ใช่แค่การนั่งคิดและปล่อยวางจิตใจ แต่รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะต่อให้คุณทำสมาธิอย่างจริงจัง แต่พอออกจากสมาธิไปก็ยังโมโหเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ก็ถือว่าการทำสมาธิไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด การฝึกสมาธิที่แท้จริงคือการมีสติในทุกสิ่งที่คุณทำทุกคำที่คุณพูด และทุกอย่างที่คุณคิด ไม่ว่าจะในขณะขับรถหรือไปทำงาน ทุกขณะที่ผ่านไป เราควรจะทำในสิ่งที่ดีขึ้น ทั้งสำหรับตนเองและผู้อื่น หากคุณสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับตัวเองกับคนรอบตัว และทำให้ทุกคนมีความสุขมากขึ้น การกระทำดังกล่าวก็ถือเป็นการปฏิบัติที่ดีแล้วนะคะ


อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่นิตยสาร Secret



เนื้อหาโดย : นิตยสาร Secret
ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://women.sanook.com/56853/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ