ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - อัจฉริยะ
หน้า: 1 [2] 3
41  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: คอกาแฟมีหวัง..อายุยืนกว่าคนไม่ดื่ม ช่วยป้องกันภัย 'โรคหัวใจหลอดเลือด' เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 09:33:46 am


กาแฟสักถ้วย ไหมครับ

เช้านี้คุณดื่มกาแฟ แล้วหรือ ยัง

 :49:
42  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มีที่ไหน! ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาทก็อยู่ได้ ขายมา 20 ปีแล้ว จากหมูโลละ70 ถึง 130 บ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2012, 10:55:42 am

ผู้สื่อข่าวจ.สตูลรายงานว่า ร้านขายก๋วยเตี๋ยวหมูแดงของนางเพ็ญ วงศ์เทเวศร์ ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล ยืนหยัดขายก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาท ในท่ามกลางสภาวะราคาสินค้าแพงขึ้นแทบทุกชนิดไม่ว่าพืชผัก เนื้อหมู นางเพ็ญต้องการเอาใจลูกค้าและเป็นทางเลือกของผู้มีรายได้น้อยมีชอบกินก๋วยเตี๋ยว แม้จะขายในราคาถูกเหมือนเดิมกำไรน้อยลงก็ตาม แต่มีลูกค้าเดินทางมารับประทานกันมากขึ้นกว่าเดิม
 
นางเพ็ญ วงศ์เทเวศร์ อายุ 44 ปี  เล่าว่า เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวหมูแดงสืบต่อจากมารดามาประมาณ 20 ปีแล้วและขายอยู่ในราคา 10 บาทมาตลอด ตั้งแต่หมูเนื้อแดงมีราคากิโลกรัมละ 70 บาท ปัจจุบันแพงขึ้นเป็นก.ก.ละ 130 บาทแล้ว พืชผักก็มีราคาแพงขึ้น ทุกวันนี้จะขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้กำไรวันละประมาณ 700-800 บาท ที่ร้านใช้ไม้ฟืนหุงต้มปรุงอาหารและทำก๋วยเตี๋ยวแทนการใช้ก๊าชหุงต้มที่มีราคาแพงเพื่อลดต้นทุนจึงทำให้ยืนหยัดขายก๋วยเตี๋ยวหมูแดงในราคา 10 บาทเหมือนเดิม



43  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ขมพิพิธภัณฑ์ คนเป็นชมคนตาย ที่ศิริราช ( อสุภกรรมฐานชั้นเยี่ยม ) เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2012, 10:54:00 am


อนุโมทนา สาธุ ครับ นับว่ามีประโยชน์ในด้านการพอกพูนกรรมฐาน เลยนะครับ
แถมอยู่ใกล้วัดราชสิทธาราม ด้วย ใครไปศิริราช แล้ว ก็อย่าลืมแวะที่วัดราชสิทธารามด้วยนะครับ

  :25: :25: :25:
44  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เพื่อน ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรในการหา ที่ปฏิบัติธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2012, 09:17:23 am
ศีล............

ข้อ ๑.  มีเมตตาไม่ฆ่า,ไม่เบียดเบียนทั้งคน,สัตว์ จนใจลดโทสะ:ความโกรธ, ความพยาบาทได้

ข้อ ๒.  ไม่โขมย ไม่โกง ไม่หลอกลวงใครๆ  จนใจลดโลภได้ เสียสละได้ กล้าให้ ยอมเสียเปรียบได้

ข้อ ๓.  มีความสังวรในกาม ยินดีแต่ในคู่ครองของตน  จนสามารถลดกามคุณทั้ง๕ได้

ข้อ ๔.  สำรวมวาจา พูดแต่ความจริง มีสันชาติแห่งความเป็นคนตรง ทำผิดก็รีบแก้ใขไม่ปกปิด

ข้อ ๕.  มีสติ ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุขทั้งหลายมีดื่มเหล้าเป็นต้น

ข้อ ๖.  สำรวมในการบริโภค รู้ประมานในการกินแต่พอสมควร ไม่มากไม่เฟ้อ ไม่ตะกละกินตามอยาก

ข้อ ๗.  สำรวมในการอยู่ ไม่ฟุ้งเฟ้อ หลงไปกับความสวย ความหอม ความไพเราะ ระวังกิริยา คำพูดให้เหมาะสม         

ข้อ ๘.  สำรวมใจไม่หลงไปกับความใหญ่โตโอ่อ่า หรูหรา พยายามใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถ มักน้อย สันโดด

ข้อ ๑๐.  คือใช้ชีวิตอยู่ให้ได้โดยไม่สะสมเงินทอง  ทำการงานขยันขันแข็ง 
                      เมื่อมีรายได้กินใช้อย่าง ปราณิต ประหยัด  ส่วนที่เหลือก็สละออกสู่สังคม
45  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เพื่อน ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรในการหา ที่ปฏิบัติธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2012, 09:16:41 am
ถ้าอยากบรรลุธรรม    ก็ทำในแต่ละข้อให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ 
ท่านว่า  ศีลพาให้ถึงนิพพาน ( สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ )

ใน กิมัตถิยสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ ๑ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงอานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล คือ กุศลศีล ที่มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน แก่ท่านพระอานนท์ไว้
   ๑๐ ประการ คือ

๑. ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร คือความไม่เดือดร้อนใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๒. ความไม่เดือดร้อนใจมีความปราโมทย์เป็นผล เป็นอานิสงส์
๓. ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล เป็นอานิสงส์
๔. ปีติมีปัสสัทธิ คือความสงบใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๕. ปัสสัทธิ มีสุข คือความสุขใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๖. สุขมีสมาธิเป็นผล เป็นอานิสงส์
๗. สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ คือความเห็นด้วยญาณตามความเป็นจริงเป็นผล เป็นอานิสงส์
๘. ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ คือความหน่ายความคลายเป็นผล เป็นอานิสงส์
๙. นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ คือความเห็นด้วยญาณเป็นเครื่องหลุดพ้นเป็นผล เป็นอานิสงส์
๑๐. ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้
46  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทโธเป็นอย่างไร เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2012, 08:45:55 am

ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammada.net


พุทโธเป็นอย่างไร

หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพเมื่อ 31 มีนาคม 2521

ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า
พุทโธเป็นอย่างไร หลวงปู่เมตตาตอบว่า

เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออก
ความรู้อะไรทั้งหลายทั่งปวงอย่าไปยึด
ความรู้ที่เราเรียนกับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย
ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็ภาวนาให้มันรู้

รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบจะรู้เอง
ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า
เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง
ความอะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา

ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนี่แหละเป็นความรู้ลึกซึ้ง ที่สุด
ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี
คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว

อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ที่จิต
แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง
ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธอยู่นั่แหละ

แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา
เราจะได้รู้จักว่าพุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง
...เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย

: หลวงปู่ฝากไว้
: พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
47  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผู้แพ้-ผู้ชนะ เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2012, 08:43:44 am


ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com

ผู้แพ้-ผู้ชนะ
ในความเป็นจริงไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้ หากเลือกได้ทุกคนอยากเป็นผู้ชนะ แต่ในความเป็นจริง คนๆเดียวเป็นได้ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ ซึ่งจะถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบความคิดและพฤติกรรม การจำลองพฤติกรรม
ออกมา 2 ลักษณะในรูปแบบ ผู้แพ้ และผู้ชนะ น่าจะเป็นกระจกได้สะท้อนให้เห็น พฤติกรรมบางส่วนของตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนตนเอง
ไปสู่จุดสมดุลย์ได้
       
      ผู้ชนะ     ก้าวไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ
      ผู้แพ้       มีสองระดับความเร็วคือ
                    อารมณ์รุนแรง และความหม่นหมอง

      ผู้ชนะ      ทำในสิ่งจำเป็นที่ต้องทำด้วยความฉลาด
                    และสงวนกำลังไว้ใช้ในสถานการณ์ที่มีทางเลือก
       ผู้แพ้       ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ด้วยความไม่พอใจ
                     จึงไม่เหลือพลังไว้ใช้ในสถานการณ์ที่มีทางเลือก

       ผู้ชนะ      ทำงานหนัก ได้ทั้งงานและมีเวลาเหลือ
       ผู้แพ้        ยุ่งอยู่ตลอดเวลากับสิ่งที่เรียกว่าจำเป็น
                      แต่ไม่ได้การได้งานอะไร

        ผู้ชนะ      ไม่ต้องการทำร้ายผู้อื่น
                       และทำบ้างก็อย่างมีเป้าหมายสูงกว่า
        ผู้แพ้        ไม่ต้องการทำร้ายใครเลย
                       แต่ทำร้ายผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว

        ผู้ชนะ       ประทับใจ สุขใจ ในความสามารถของตนเอง
                       และยอมรับข้อจำกัดของตนเองอย่างโปร่งใจ
        ผู้แพ้        สับสน ไม่รู้ว่าอะไรคือความสามารถ
                       และอะไรคือข้อจำกัด

         ผู้ชนะ      นำปัญหาใหญ่มาแยกย่อยให้เป็นส่วนๆ
                       แก้ทีละส่วนจากง่ายไปสู่ยาก
         ผู้แพ้       นำปัญหาย่อยๆ มาปะปนกัน
                       จนเป็นปัญหาใหญ่ ไม่รู้จะเริ่มแก้ที่จุดใด

  ข้อความบางส่วนจากหนังสือ The Winner and The Loser
48  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go and get it out" เมื่อ: มีนาคม 31, 2012, 09:23:08 am

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://variety.teenee.com

คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go and get it out"
ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go." ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับความเอาความไม่สบายใจไว้

ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในต้อง Get it out!
ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว
ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bloggang.com

เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ
ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใสเป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว
ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน
สมองจึงจะเบิกบานจะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย
เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น


fwd mail
49  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เกจิดังกรุงเก่า มรณภาพ 23 ปี ศพไม่เน่า เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 12:48:05 pm
สรุปแล้วอย่างไรครับ จะทำการ ฌานปนกิจศพ ท่านหรือไม่ครับ
มีข่าวอย่างไร วงในเบอร์วัดให้สอบถามหรือ ไม่ครับ หรือ ทำพิธิเสร็จ แล้ว บรรจุเก็บไว้ ศานุศิษย์ได้กราบไหว้กันต่อไป ครับ เก็บมา 23 ปี แล้วก็เก็บต่อไปก็ได้นี่ครับ หรือ อย่างไร ?

อยากทราบว่า จะมีการเผา หรือ เก็บ ครับ
 



ขอนอบน้อม และ ขอกราบหลวงพ่อด้วยความเคารพครับ

  :s_hi: :25: :c017:
50  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ฮือฮา..โคราชแห่นางแมว..ขอฝนแก้ภัยแล้ง จัดร่วมขบวนงานย่าโม(มีคลิป) เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 12:44:39 pm
ดูคลิป แล้ว สนุกดี นะครับ คนโคราช นี่มีวัฒนธรรม น่าสนใจ พอ ๆ กับภาคเหนือเลยนะครับ
ขอบคุณ จขกท. ด้วยนะครับ ที่นำสาระประโยชน์ มาแจกจ่ายเพิ่ม ทัศนะมุมมอง นะครับ


 
51  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไร ที่จะชนะความน้อยใจ แค้นใจ นี้ได้ เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 12:41:55 pm
ขอบคุณ Admax มากครับ คำแนะนำมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเรื่องการวาง อุเบกขา ครับ

เชิญช่วยแจกธรรม ในบอร์ดนี้ต่อไปเรื่อย ๆ นะครับ

 :25: :25: :25:
52  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / Re: รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบั เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 12:38:39 pm
ยาวมาก ขอ บาย ก่อนครับ ตอนนี้ขอสั้น ๆ ก่อนครับ

53  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เปลี่ยนความคิดถึงของท่าน มาร่วมสวดคาถา พญาไก่เถื่อน กันเถอะ 3 มี.ค.55 เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 12:37:12 pm
อนุโมทนา ด้วยครับ ถึงแม้ผมเองก็สวดอยุ่ครับ ไม่ได้สวดมากมาย แต่ก็จัดว่าได้สวดครับ

 :25: :25: :25:

54  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนกรรมฐาน ให้ได้ผลดี ควรเรียนเรื่องอะไรครับ และ เชื่อเรื่องใดดีครับ เมื่อ: มีนาคม 10, 2012, 08:13:09 pm
แล้วคุณจะรีบไปไหนครับ ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน  ไม่ได้พูดเล่น   
พูดจริงๆนะครับ เพราะแต่ละอย่างมันไม่เหมือนกัน  เป้าหมาย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน ที่ปฏิบัติ

ชีวิตไม่ควรประมาท ครับ เมื่อวานนี้เพื่อน ผม ที่เรียนทำงาน ด้วยกัน ก็มาจากไปอีกท่านแล้วครับ ผมเองไปงานศพมารู้สึกหดหู่กับชีวิต ที่ไม่แน่นอนนี้จริง ๆ ครับรู้สึกว่า ไม่ควรประมาท เราอาจจะสร้างกุศลน้อยเกินไป ซึ่งแนวคิดในการภาวนาก็คิดว่า ภาวนาให้จบเร็ว ๆ ก่อนที่จะไปน่าจะดีกว่า มานั่งนอนรอไปอย่างไร้ค่า

  ก็เท่านี้ นะครับ ในส่วนนี้ ที่ได้ถามผมหวังว่าคุณ Ngangjang จะมีคำแนะนำที่ดี ๆ ให้กับผมนะครับ

  :c017:
55  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เรียนกรรมฐาน ให้ได้ผลดี ควรเรียนเรื่องอะไรครับ และ เชื่อเรื่องใดดีครับ เมื่อ: มีนาคม 10, 2012, 11:45:10 am
คือ ผมยังมีความสับสนอยู่ในเรื่องกรรมฐาน ถึงแม้จะมีผลการภาวนาทีได้แล้วเป็นบางส่วน แต่ก็มีความสงสัยอยู่ว่าถ้าเราต้องการภาวนาให้ได้ผลโดยไวที่สุด ควรภาวนาแบบใดดี ต้องวางจิตอย่างไรถึงจะให้ผลได้ดีที่สุดครับ

 :25:
56  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ แล้ว มีความรู้สึกว่า ร้อนมาก ขนาดพัดลมก็เอาไม่อยู่ เมื่อ: มีนาคม 09, 2012, 09:28:40 am
ขอบคุณ พระอาจารย์เมตตาตอบคำถามครับ ผมได้นำวิธีแก้ไขลงไปปฏิบัติแล้ว สามารถระงับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ตอนนี้ผมตั้งฐานจิตไว้ที่ ฐาน 2 พระขณิกาปีติ ได้แล้วครับ ไม่มีอาการร้อนแล้วครับ ทำให้อยากไปขึ้นกรรมฐาน ครับเพราะทราบแจ้งแล้วว่า กรรมฐาน นี้ควรจะต้องมีครูอาจารย์ คอยสอนและแจ้งกรรมฐานด้วยครับ

 แต่ติดว่าผมอยู่ ลำปาง จึงยังไม่สะดวกที่ไปขึ้นกรรมฐาน ก่อน ผมก็เลยจุดธูปเทียนตั้ง ขันธ์ 5 ใส่ถาด บูชาที่บ้านต่อพระอาจารย็ก่อนนะครับ

   :c017: ขอบคุณมากครับ

57  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งสมาธิ แล้ว มีความรู้สึกว่า ร้อนมาก ขนาดพัดลมก็เอาไม่อยู่ เมื่อ: มีนาคม 04, 2012, 08:12:31 am
คือ วันก่อนเกิดอาการ นั่งสมาธิ แล้วรู้สึกว่า ร่างกายร้อนมาก ขนาดเหงื่อออกเลยครับ ไม่เคยเป็นมาแต่ก่อน ก็เลยเปิดพัดลมช่วยด้วย แต่ความร้อนก็ยังไม่ลดครับ รู้สึกร้อนมาก ๆ ครับ ก็เลยหยุดนั่งสมาธิ กว่าจะหายก็ 2 คืนเข้าไปครับ อยากทราบเป็นเพราะอะไรครับ และ จะแก้ไขด้วยวิธีใด ๆ ครับ

ปฏิบัติตาม กรรมฐาน มัชฌิมา ครับ ( แต่ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน ครับ )

  :25:
58  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.watbanpho.org/ วัดบ้านโพธิ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 09:52:11 am


http://www.watbanpho.org/
วัดบ้านโพธิ์




ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี
งานประจำปี ประเพณีบุญสงกรานต์
สืบสานบุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ปีที่ ๒๑
 ณ วัดบ้านโพธิ์ ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
วันที่ ๑๕-๑๕ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕
59  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.wathualampong.com วัดหัวลำโพง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 09:47:34 am


http://www.wathualampong.com

วัดหัวลำโพง


วัดหัวลำโพง ตั้งอยู่เลขที่๗๒๘ ถนนพระราม๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา

ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในที่สุดได้เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๑๐ ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ การสงครามครั้งนี้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน 

http://www.wathualampong.com/issue.php?id=70

60  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.phrabatnampu.org/ วัดพระบาทน้ำพุ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 09:41:34 am


http://www.phrabatnampu.org/ 
วัดพระบาทน้ำพุ

61  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: ด่วน "ประกาศถึงสมาชิก ทุกท่าน เกี่ยวกับการใช้งานบอร์ด" โปรดอ่านกันด้วย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2012, 12:14:12 pm
สาธุ ดีมากเลยครับ แต่อาจจะทำให้มีผู้สมัครใช้งาน น้อยลงนะครับ ในเรื่องการ activate email จริง ๆ นะครับ

  :014: :014: :014: :49:
62  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมเททองหล่อพระพุทธมัชฌิมามุนี หน้าตัก 30 นิ้ว 2 องค์ ในวันที่ 29 ม.ค.55 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 01:38:52 pm
อนุโมทนา ครับ ได้ร่วมทำบุญ ถึงจะเล็กน้อย แต่รวมกำลังกันแล้ว ก็มากได้เหมือนกันนะครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :08: :25: :25: :25:
63  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมการทำสมาธิ จึงมีผลบุญมากกว่า การบวช ครับ เมื่อ: มกราคม 18, 2012, 02:30:25 pm
อานิสงส์ การ บวชพระ บวชชีพราหมณ์
(บวช ชั่วคราวเพื่อ สร้างบุญ, อุทิศ ให้พ่อแม่ เจ้ากรรมนายเวร)
1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวร จะ อโหสิกรรม หนี้กรรม ในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่ พระนิพพาน ในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็น สัจธรรม แห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่ เมตตามหานิยม ของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่า เทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงิน ไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัย ของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและ รักษาหาย
10. ตอบแทน พระคุณ ของ พ่อแม่ ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่ บวช ไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่าง ๆ ก็สามารถได้รับ อานิสงส์ เหล่านี้ ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้ บวช สนับสนุนส่งเสริม อาสาการให้คนได้บวช

ที่มาของอานิสงค์การบวช http://board.palungjit.com/f130/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94-74143.html


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้คือ....


๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัชฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนาแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ"ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้


๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากกว่า ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อให้ได้ความเท่านั้น)

๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทาน ที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทานได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่งการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆ ขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรคผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์ การแจกหนังสือธรรมะ

๑๕. การธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่านทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานสูงกว่าการให้ทานทั้งปวง


ที่มาเนื้อหาส่วนสรุปผลบุญ http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3-19673.html




ที่ผมแปลกใจ คือ การบวช มีศีล นั้น กับ มีบุญน้อยกว่า การให้ธรรมทาน เสียอีก เป็นเพราะอะไรครับส่วนนี้





64  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อนุโมทนา กับผู้บริจาค เน็ตบุ๊ค ให้กับงาน สำันักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 10:39:26 am
สาธุ กับพี่ ๆ ทุกท่านที่เห็นความสำคัญในการเผยแผ่ พระกรรมฐาน คะ
ถ้าเรียนจบได้งาน แล้วจะร่วมบ้างคะ

 :25: :25: :25: :58:
65  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ยามที่เราสับสน ผิดหวัง อยู่ในสภาวะเครียด ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 10, 2011, 04:27:19 pm
ดูจากเนืื่ื้อเรื่อง แล้ว รู้สึกว่า คุณ ratchanee นี้เป็นคนมั่นใจตนเองสูงนะครับ จนบางครั้งอาจจะมองไม่เห็นคนอื่นนะครับ บางทีเพื่อนผมเอง บางทีเราต้องเข้าใจเขาครับ ไม่ใช่เรามาถือตัว

   ผมจะเล่าเหตุถือตัวของผม ครับ

   บ้านผม เป็นบ้านค่อนข้างจะมีฐานะ ดังนั้นการพูดจากันจึงไม่มีคำหยาบคาย ผมก็ได้เรียนในโรงเรียนที่ดีครับ เพื่อนที่ผมเเรียนอยู่นั้นก็ไม่มีใครพูดจากคำหยาบคาย จะใช้สรรพนามว่า กัน ผม เป็นต้น จนกระทั่งช่วงที่ผมอยู่ ม 6 ย้ายมาอยู่ลำปางกับพ่อ (เป็นราชการครับ) ย้ายจาก กทม มา พอเข้าเรียน เพื่อน ๆ ในห้อง โห ผมรับไม่ได้ครับ ไม่มีใครพูด ถูกใจสักคน ทั้ง หญิง และ ชาย ใช้สรรพนามกันยุค พ่อขุนราม คือ กู มึง ไอ้ห่า อีสัส หยาบมาก ๆ แต่เขาก็พูดกันในหมู่เพื่อน ๆ ผมเองก็เลยหยิ่งไม่คบกับคนแบบนี้ แต่เกือบทั้งห้องนะครับ ที่พูดอย่างนี้ส่วนคนที่พูดสุภาพ ก็เรียนเก่ง ดี แต่ไม่คบกับเราอีกสุดท้าย ในเดือนแรก ผมไม่มีเพื่อน เล่ายาวเหมือนกันครับ

   แต่เพื่อนพวกนี้ เวลามีเรื่องเดือดร้อน ที่ต้องช่วยเหลือก็มาช่วยงานกันดีครับ ผมเลยเข้าใจว่าเราบางครั้งหยิ่งและคิดว่าตัวเราดี เกินกว่าเขา ทั้ง ๆ ที่เราเองก้ไม่ได้ดีกว่าเขาเลย ผมคิดว่าผมเรียนเก่ง แต่ก็มีคนเก่งกว่าผม ผมคิดว่า ผมมีความสุข ฐานะดี แต่คนยากจนที่นี่มีความสุขดีกว่าผมอีกครับ

    ดังนั้นอยากให้เปิดใจ ครับ อย่ามองว่าเราดีกว่าคนอื่น ครับ แล้วเราจะมีเพื่อนครับ
 

    แนะนำนะครับ เพื่อนกิน มีมาก แต่เพื่อนรักช่วยเหลือกันยิ่งมีน้อย ถ้ามีแล้ว ต้องถนอมกันไว้ครับ ไม่ใช่ไปตั้งข้อรังเกียจเพราะความคิดผิด

     ส่วนเพื่อนอีก 2 ท่าน ที่ผมแนะนำนะครับ ว่าเราควรต้องเคารพอย่างดีก็คือ

      เพื่อนที่ 1 คือ คุณพ่อ คุณแม่ครับ อันนี้ควรเอาใจใส่อย่าละเลยครับ
 
      เพื่อนที่ 2 คือ ครูอาจารย์ ที่ให้ความรู้เราครับ อย่าหมิ่น ครับ

     :08: :49:
66  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรหม ที่ปรากฏใน พระไตรปิฏก มีกี่พรหม คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 10:41:43 am
พรหมพุทธแท้ที่สำคัญนี้  ขอแนะนำสามท่าน คือ

          ๑)  ฆฏิการพรหม

          พรหมท่านนี้  ก่อนที่จะมาเกิดเป็นพรหม ท่านเกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ   มีชื่อว่า ฆฏิการะ เป็นคนวรรณะต่ำ  มีอาชีพปั้นหม้อ  ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเรา บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีชื่อว่า  โชติปาละมาณพ

          ท่าน ฆฏิการะ ได้ฟังธรรมในสำนักของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ จนได้บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล แต่ไม่ได้ออกบวชเพราะต้องเลี้ยงดูบิดามารดา 

          ส่วนโชติปาละมาณพ ได้ออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้ากัสสปะ  ได้ บำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุวิปัสสนาญาณในขั้น "อนุโลมญาณ" แล้วจึงหยุด (เพราะผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า จะไม่เป็นพระอริยสงฆ์สาวกในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง)  และเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก 

          เมื่อทั้งสองท่านได้กระทำกาละ (คือ ตาย) แล้ว  ฆฏิการมาณพ ก็ได้อุบัติในชั้นสุทธาวาสพรหมโลก  เป็นพรหมอนาคามี  (ส่วนโชติปาละมาณพ ในชาติสุดท้ายก็คือพระพุทธเจ้าของเรา)

          ในคราวที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะเสด็จออกผนวช  ฆฏิการพรหมผู้นี้ ได้นำเอาบาตรและจีวรของบรรพชิตมาถวายแด่พระโพธิสัตว์   และได้นำผ้าภูษาที่พระโพธิสัตว์ทรงเปลื้องออก ไปบรรจุในเจดีย์ ประดิษฐานในพรหมโลก  มีชื่อว่า ทุสสะเจดีย์

          ขอเสริมเนื้อหาตรงนี้ว่า   ชื่อ ทุสสะเจดีย์ นี้ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง ในคัมภีร์ วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาแห่งขุททกนิกาย พุทธวงศ์  ไม่ปรากฏชื่อเจดีย์นี้  แต่ได้กล่าวว่า ฆฏิการพรหม ได้นำผ้าทรงของพระโพธิสัตว์ ไปที่พรหมโลก แล้วสร้างเจดีย์ที่สำเร็จด้วยรัตนะ  ขนาด ๑๒ โยชน์ขึ้น   แล้วนำผ้านั้นประดิษฐานในเจดีย์     

          ดังนั้น คำว่า ทุสสะเจดีย์ จึงเป็นคำที่เรียกขึ้นในภายหลัง  ตามลักษณะของเจดีย์ในพรหมโลก ที่ประดิษฐานผ้าทรงของพระโพธิสัตว์นั่นเอง (ทุสสะเจดีย์ แปลว่า เจดีย์ที่บรรจุผ้า)

          เรื่องของฆฏิการพรหมนี้  ปรากฏในฆฏิการสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ข้อที่ ๔๐๓


       ๒) สหัมบดีพรหม

          พระพรหมท่านนี้ ก็เป็นพรหมอนาคามี และเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนามาก  บ่อยครั้งที่ท่านจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  ตามที่เราทราบกันดีว่า ท่านเป็นผู้ที่มาทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม  แต่มีพระสูตรหนึ่ง ในสังยุตตนิกาย ที่ผู้เขียนอ่านแล้วรู้สึกประทับใจ คือ สหัมบดีพรหม  ได้ มาแก้ทิฏฐิของนางพราหมณีคนหนึ่ง ที่ชอบบูชาพระพรหมด้วยอาหารต่างๆ ให้เลิกเสีย แล้วหันมาถวายทานแด่พระอรหันต์ผู้เป็นยิ่งกว่าพรหม ดังปรากฏใน พรหมเทวสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อที่  ๕๖๓

          เนื้อหาย่อ ๆ ก็มีอยู่ว่า นางพราหมณีคนหนึ่ง มีบุตรชื่อว่า พรหมเทวะ  ได้ออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์  ส่วนนางพราหมณีผู้เป็นแม่ ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เคยทำบุญใส่บาตรกับพระภิกษุสงฆ์ แต่ชอบทำพิธีถวายอาหารแด่พระพรหมอยู่เสมอ

          ครั้งหนึ่ง พระพรหมเทวะ เที่ยวบิณฑบาตในเวลาเช้า เข้ามาในเรือนของนางพราหมณีผู้เป็นมารดา  แต่นางพราหมณีก็ไม่ถวายแม้ข้าวสักกระบวยหนึ่ง มัวแต่วุ่นอยู่กับการทำพิธีถวายอาหารพระพรหม

          สหัมบดีพรหมเห็นเรื่องนี้แล้ว จึงคิดว่าจะทำให้นางเกิดความสังเวช ทำนองจะให้เห็นความไร้สาระของพิธีกรรมที่ทำอยู่         นางจะได้เลิกทิฏฐิผิด และหันมานับถือพระพุทธศาสนา  คิด ดังนั้น ท่านจึงได้หายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏที่เบื้องหน้าของนางพราหมณี แล้วกล่าวกับนางพราหมณี ว่า.... (ขอยกเนื้อความมาจากพระไตรปิฎก)

 

          ดูก่อนนางพราหมณี    ท่านถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด  มั่นคงเป็นนิตย์  พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้


          ดูก่อนนางพราหมณี  ภักษาของพรหม ไม่ใช่เช่นนี้  ท่านไม่รู้จักทางของพรหม  ทำไมจึงบ่นถึงพรหม.


          ดูก่อนนางพราหมณ์    ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนั้น    เป็นผู้หมดอุปธิกิเลส  ถึงความเป็นอติเทพ  ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล  มีปกติขอ  ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น


          ท่านพระพรหมเทวะที่เข้าสู่เรือนของท่าน เพื่อบิณฑบาต  เป็นผู้สมควรแก่บิณฑะที่บุคคลพึงนำมาบูชา  ถึงเวท มีตนอบรมแล้ว    สมควรแก่ทักษิณาทานของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย  ลอยบาปเสียแล้ว  อันตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้ว  เป็นผู้เยือกเย็น  กำลังเที่ยวแสวงหาอาหารอยู่.


          อดีตอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทวะนั้น   ท่านพระพรทมเทวะเป็นผู้สงบระงับ    ปราศจากควัน    ไม่มีทุกข์     ไม่มีความหวัง  วางอาชญาในปุถุชนผู้ยังมีความหวาดหวั่นและในพระขีณาสพผู้มั่นคงแล้ว


          ขอท่านพระพรหมเทวะนั้นจงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของท่าน.

 

          ท่านพระพรหมเทวะซึ่งเป็นผู้มีเสนามารไปปราศแล้ว   มีจิตสงบระงับ   ฝึกตนแล้ว  เที่ยวไปเหมือนช้างตัวประเสริฐ  ไม่หวั่นไหว  เป็นภิกษุมีศีลดี   มีจิตพ้นวิเศษแล้ว   ขอท่านพระพรหมเทวะนั้น   จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของท่าน.


          ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทวะนั้น      เป็นผู้ไม่หวั่นไหว  ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล


          ดูก่อนนางพราหมณี  ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้วจงทำบุญ    อันจะนำความสุขต่อไปมาให้.


          ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว   ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล


          ดูก่อนนางพราหมณี  ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้ว    ได้ทำบุญอันจะนำความสุขต่อไปมาให้แล้ว.


ในอรรถกถาพรหมเทวสูตรได้กล่าวถึงความคิดของท่านสหัมบดีพรหมไว้อย่างน่าสนใจ ว่า

         

 

          "นางพราหมณีนั้น  ให้พระมหาขีณาสพผู้เป็นอัครทักขิไณยบุคคลเห็นปานนี้   นั่งแล้ว  มิได้ถวายอาหารแม้เพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง   คิดว่า เราจักให้มหาพรหมบริโภค   ดุจทิ้งตาชั่งเสียแล้วใช้มือชั่ง    ดุจทิ้งกลองเสียแล้วประโคมท้อง   ดุจทิ้งไฟเสียแล้วเป่าหิ่งห้อย    เที่ยวทำพลีแก่ภูต   เราจักไปทำลายมิจฉาทิฏฐิของนาง  ยกนางขึ้นจากทางแห่งอบาย  จะกระทำโดยวิธีให้นางหว่านทรัพย์๘๐  โกฏิ  ลงในพระพุทธศาสนา  แล้วขึ้นสู่ทางสวรรค์."

 

 

          หมายความว่า ท่านสหัมบดีพรหม เห็นนางพราหมณีไม่ถวายอาหารแด่พระอรหันต์ขีณาสพผู้เป็นยอดแห่งทักขิเณยยบุคคล (ยอดแห่งผู้ควรรับถวายทาน)  แต่กลับไปสนใจแต่จะถวายอาหารแด่พระพรหม การทำอย่างนี้ เท่ากับทิ้งสิ่งมีประโยชน์ ไปคว้าเอาสิ่งไม่มีประโยชน์  เหมือนคนทิ้งตาชั่ง แล้วเอามือมาชั่งน้ำหนักแทน  เหมือน คนทิ้งกลอง แล้วเอามือตีท้อง หวังจะให้เกิดเสียงดังแทนกลอง เหมือนคนทิ้งคบเพลิง ทิ้งไฟ แล้วไปเป่าหิ่งห้อย หวังจะให้เกิดแสงสว่างแทนคบเพลิง

 

          หลังจากนั้นท่านสหัมบดีพรหมจึงได้ไปกล่าวกับนางพราหมณี  ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปก็คือ ท่านบอกว่า  การที่นางพราหมณีทำเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง  เพราะพระพรหมทั้งหลายนั้นอยู่ห่างไกลจากโลก แล้วพระพรหมก็ไม่ได้กินอาหารอย่างที่นางกำลังทำเพื่อบูชาอยู่

 

          แล้วจึงบอกว่า ขอให้นางพราหมณีถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพรหมเทวะแทน จะดีกว่า เพราะพระพรหมเทวะนั้น  เป็นยอดแห่งพรหม เป็นผู้ไม่มีกิเลส เป็นผู้ถึงเวท คือบรรลุอริยสัจ ถึงที่สุดทุกข์แล้ว

 

 

 

          เมื่อ อ่านเรื่องท่านสหัมบดีพรหมได้มาให้สติแก่นางพราหมณีนี้ ทำให้น่าพิจารณาได้ว่า การที่มนุษย์ทั้งหลาย ไปมัวเที่ยวแสวงหา เที่ยวบูชาพระพรหมอยู่นั้น  นับว่าเป็นการทิ้งสิ่ง ที่เป็นประโยชน์ ไปคว้าเอาสิ่งไม่มีประโยชน์ เพราะสิ่งที่เหนือกว่าพรหม คือธรรมะ คือพระรัตนตรัยนั้น เป็นสิ่งยอดสุดอยู่แล้ว  คนกลับไม่สนใจ

          ท่านสหัมบดีพรหม ในฐานะที่เป็นพระพรหมองค์หนึ่ง จึงเหมือนกับมาเตือนว่า  พรหมทั้งหลายเขาไม่ได้กินอาหารที่คนบูชาอย่างนี้ แล้วผู้ที่เหนือกว่าพรหมทั้งหลายก็มีอยู่  คือพระอรหันต์ทั้งหลาย และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น นั่นเอง

         

 

          ๓) สนังกุมารพรหม

 

          ท่านสนังกุมารพรหมนี้  เป็นพระพรหมที่มีลักษณะแปลกกว่าพรหมองค์อื่น คือมีรูปลักษณะเป็นเด็ก ไว้ศีรษะเกล้าจุก ๕ จุก  เนื่องจากว่า ในสมัยโบราณนานไกล  สนังกุมารพรหม  แม้เมื่อสมัยเป็นเด็ก ไว้จุก ๕ จุก ก็ได้ปฏิบัติสมาธิจนได้ฌาน ได้บังเกิดยังพรหมโลก   

 

          คำว่า สนังกุมาร แปลว่า  เด็กโบราณ , เด็กเก่าแก่   ก็เพราะในสมัยก่อน ท่านเป็นเด็ก นั่นเอง

 

          ผู้เขียนยังไม่พบหลักฐานว่า สนังกุมารพรหมเป็นพระอนาคามีด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่นอนก็คือ ท่านเป็นพรหมพุทธองค์หนึ่ง  เมื่อถึงวันอุโบสถ (วันพระ) ๑๕ ค่ำ  ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในสุธัมมาเทวสภา  พวกเทวดาจะมาฟังโอวาทธรรมจากพระอินทร์บ้าง จากเทวดาผู้เป็นปราชญ์ เป็นอริยบุคคลบ้าง   และสนังกุมารพรหม  ก็จะมาที่สุธัมมาเทวสภา  บางครั้งก็มากล่าวธรรมให้พวกเทวดาฟัง บางครั้งก็อนุโมทนาการแสดงธรรมของพระอินทร์ หรือของเทวดา เป็นต้น

 

          มี พระสูตรหนึ่ง ชื่อ สนังกุมารสูตร (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อที่ ๖๐๖)ได้กล่าวถึงสนังกุมารพรหม มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และกล่าวธรรมภาษิตบทหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงพอพระทัยในพระธรรมภาษิตนั้น  (คือ ทรงเห็นด้วยกับธรรมภาษิตนั้น ว่ามีความถูกต้อง เข้ากันได้กับคำสอนของพระองค์) ธรรมภาษิตนั้น มีใจความว่า

 

 

                             ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ    เย โคตฺตปฏิสาริโน

                             วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน           โส เสฏฺโฐ เทวมานุเสติ ฯ

 

(แปลว่า)                           กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด   

                                      ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร

                                       แต่ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
                                       เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์.

ธรรมภาษิตนี้มีความหมายว่า   ในกลุ่มคนทั่วไป ที่ยังยึดติดกันเรื่องวรรณะ เรื่องโคตร คือชาติตระกูลนั้น  เขาก็จะยอมรับกันว่า กษัตริย์ก็เป็นผู้ประเสริฐที่สุด   แต่ถ้าใครก็ตาม ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ดี และจรณะ คือความประพฤติดี   (นี่คือความหมายในระดับล่างสุด เพราะความหมายในระดับสูง หมายถึงผู้ได้วิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นองค์คุณของพระอรหันต์)  ย่อมประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์

 

          ธรรมภาษิตนี้ เป็นการยืนยันหลักการของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ก็คือ  พระพุทธศาสนา จะเน้นที่ศักยภาพของมนุษย์ในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีวิถีชีวิตที่ประเสริฐ  มากกว่าเหตุปัจจัยภายนอกเช่นชาติตระกูล หรือยศถาบรรดาศักดิ์     และยังบอกอีกด้วยว่า   ความเป็นกษัตริย์หรือคนวรรณะสูง  ก็เป็นที่ยกย่องกันเฉพาะในกลุ่มคนที่ยังติดเรื่องชาติชั้นวรรณะ  แต่ผู้ใด พัฒนาตนเองได้สูงสุด ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ แล้ว   เขาเป็นผู้ประเสริฐ ทั้งในหมู่ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย   คือแม้เทวดา ก็ยังต้องเคารพบูชา

 

         

          พรหม ที่เป็นชาวพุทธยังมีอีกหลายท่าน ที่ยกมาแสดงนี้ก็เฉพาะท่านที่มีชื่อปรากฏบ่อยในพระไตรปิฎก และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม   การที่นำเรื่องพรหมพุทธมาแสดงนี้  ผู้เขียนไม่ได้มีจุดประสงค์ให้ชาวพุทธ  หันไปอ้อนวอนเคารพบูชาท่านที่เป็นพรหมพุทธเหล่านี้ แทน ท้าวชปจร. แต่อย่างใด  แต่ให้เป็นข้อพิจารณาว่า   พรหมพุทธนั้น ท่านเป็นพระพรหม เป็นเทพประเภทที่คนเชื่อถือกันมากว่ายิ่งใหญ่  แต่ท่านเหล่านี้  ก็ไม่ได้ถือว่าตัวท่านยิ่งใหญ่พิเศษมากมายอะไร  ท่านก็ยังถือธรรมะเป็นสิ่งสูงสุด เคารพบูชาพระรัตนตรัย   ให้ความสำคัญกับพระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า มากกว่าอย่างอื่น

 

          ข้อแตกต่างของพรหม(แบบ)พราหมณ์ กับพรหม (แบบ)พุทธ ก็คือ

         

พรหมพราหมณ์

          - มีการอ้อนวอนขอร้องให้ท่านช่วยบันดาลโน่นบันดาลนี่ (แต่ไม่ได้ปรากฏเป็นผลสำเร็จอะไร)

 

          - เชื่อว่าท่านยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นผู้คอยบังคับ ลิขิตควบคุมชีวิตมนุษย์  (ซึ่งก็ไม่จริงอีกเช่นเดียวกัน)

 

พรหมพุทธ

          - ไม่ต้องไปอ้อนวอนอะไร  เพราะท่านก็เป็นเพื่อนร่วมสังสารวัฏฏเหมือนกันกับเรา

 

          - ท่านให้ความสำคัญกับธรรมะ และยกธรรมะเหนือกว่าสิ่งอื่น  มนุษย์ที่ปฏิบัติตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เหมือนกับพระพรหม ไม่แตกต่างอะไรกันเลย

 

          - ถ้ามนุษย์มีความเห็นผิดจากหลักธรรม (เช่นกรณีมารดาพระพรหมเทวะ) ท่านจะลงมาช่วยชี้แนะแก้ไขให้ความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง

 

          ซึ่งแน่นอนว่า คุณลักษณะของพรหมพุทธ  เป็นคนละเรื่อง และแตกต่างอย่างยิ่งเลย กับท้าวชปจร. ที่ไม่สนใจธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า  มัวแต่วุ่นวายกับเรื่องพิธีการ พิธีกรรมอะไรก็ไม่รู้

 

          ดังนั้น  ต่อ ให้ ท้าวชปจร. จะมีจริงก็ตาม ก็เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งที่จะเป็นอรหันต์ตามที่คนแต่งเขียนเอาไว้ เพราะไม่สนใจธรรมะเลย แตกต่างกับพรหมพุทธที่ท่านเป็นอนาคามี ที่ให้ความสำคัญกับธรรมะมากกว่าอย่างอื่น
67  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / พุทธประวัติ ฉบับบ ฺBBC เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 10:21:58 am
The Life of Buddha: (BBC): 1/5
!

The Life of Buddha: (BBC): 2/5


The Life of Buddha: (BBC): 3/5


The Life of Buddha: (BBC): 4/5


The Life of Buddha: (BBC): 5/5 



นำมาฝากครับ ลองดู และ ตรวจสอบดูครับ ว่ามีสิ่งใดผิดเพี้ยนไปจากฉบับไทยหรือไม่ครับ

 :49:
68  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.watphokk.com/ วัดโพธิ์ บ้านโนนทัน เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 12:15:29 pm


http://www.watphokk.com/
วัดโพธิ์ บ้านโนนทัน
69  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กัมมัฏฐาน คือ งานสร้างฐานความดี เมื่อ: ตุลาคม 30, 2011, 02:41:10 pm
ผมว่า คุณ suchin_tum เวลา โพสต์ ทำย่อหน้า บ้างก็ดีครับ เพราะยาวพรืด อ่านแล้วลายตา ครับ
ติดตามบทความอยู่นะครับ

 นับถือ

  :25: :25: :25:
70  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การโพสรูปในบอรด์นะครับ เมื่อ: ตุลาคม 30, 2011, 02:33:16 pm
อาจจะไม่ อัพเดท นะครับ เพราะ ว่า เว็บ กบ มีปัญหา ภาพหายครับ
ตอนนี้ เว็บ มัชฌิมา ไดแ้ก้ปัญหา โดยการเปิด เว็บ ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ สำหรับฝากภาพเอง เพื่อลดปัญหา แบนด์วิธด้วย  ดังนั้น ขั้นตอน น่าจะเป็นอย่างนี้ นะครับ

  1. ไปที่เว็บ www.madchima.net

 

  2. สมัครสมาชิก เพื่อเป็นสมาชิก มีสิทธิ์ โพสต์ภาพ ต้องมี email จริง เพื่อทำ activate กลับมาด้วย

 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4036.0
 

  3. โพสต์รูปที่ต้องการ ลงไปที่ เว็บ ฝากภาพ

   วิธีการฝากภาพ และ นำภาพมาใช้ในบอร์ด ของ www.madchim.net
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4011.0
 
  4. เมื่อโพสต์ได้แล้ว ก็จะได้ลิงก์ ให้นำ direct link มาโพสต์ภาพ

   ส่วนเทคนิค การโพสต์ กระทู้ให้มีสีสัน สวยงาม ก็ให้อ่านลิงก์นี้ครับ
   BB CODE เทคนิค การโพสต์ ข้อความให้บอร์ดสวยครับ 
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5103.0

   ตัวอย่าง การย่อ ภาพ ขยายภาพ

   ตัวอย่างการวางภาพใน table และ การลดขนาดภาพ

ขนาดภาพ 300Px

ขนาดภาพ 150Px

ขนาดภาพ 200Px

ขนาดภาพ 100Px

71  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 'ปลง'กันเถอะคนไทย'ทำใจน้ำท่วม'ร่วมก้าวผ่านด้วยธรรม เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 12:47:13 pm
72  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 'ปลง'กันเถอะคนไทย'ทำใจน้ำท่วม'ร่วมก้าวผ่านด้วยธรรม เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 12:46:46 pm

ขอแจมด้วยคนครับ
73  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ยมกสูตร ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่ เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 12:41:21 pm
๓. ยมกสูตร
ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่

[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.

ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิด ทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.

ครั้ง นั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากัน เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย ชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่า

ดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จริงหรือ?

ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส. ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อ ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิอันชั่วช้านั้น อย่าง หนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อ ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจาก อาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอ โอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับ นิมนต์โดยดุษณีภาพ.

[๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านยมกะ ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านยมกะว่า ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิด ทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ? ท่านยมกะตอบว่า อย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.

สา.(ท่านสารีบุตร) ย.(ท่านยมกะ)
สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.

[๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน??
ท่านเห็นรูปว่าเป็น สัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.


[๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคล มีในรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

[๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

(พิจารณาธรรมบทนี้ให้ดีครับ)
[๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์ บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ? ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควร แลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่ เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของ ท่านพระสารีบุตร.

[๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้า ชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้ ว่าอย่างไร?

ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
......................

[๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป โดย ความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึด มั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

[๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาด ในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อม ไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนใน วิญญาณ. เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ว่า เป็นอนัตตา. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัย ปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึด มั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.

ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่น นั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แล จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร.


ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.ph...7&A=2447&Z=2585
74  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เป็นพระ ต้องอยู่วัด เสมอไปหรือไม่ครับ เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 11:44:34 am
คือ หาพระที่วัด ภาวนาก็ไม่ค่อยเจอ อยากทราบว่า การที่พระอยู่ตามถ้ำ หรือ ที่พัก ที่ไม่ใช่วัด นี้ ถูก หรือ ผิด ครับและ นอกวัดจะหาพระดี ยังมีอยู่หรือไม่ครับ

  :41: :smiley_confused1:
75  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ละสังขารแล้ว เมื่อ: สิงหาคม 26, 2011, 09:31:21 am
ข้อความ

ที่วัดแจ้งว่าท่านอายุ 94 ปี 3 เดือน 14 วัน พรรษา 66
76  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ละสังขารแล้ว เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 09:47:07 am
วาทะธรรม...หลวงปู่ศรี มหาวีโร

"เมื่อมีเหตุ...ผลก็ต้องมี

เหตุน้อย...ผลน้อย

เหตุมาก...ผลมาก

เหตุพิเศษ...ผลก็พิเศษ"


จากคุณ    : อวตาร
77  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / กรรมฐานกับการงาน หลวงพ่อสุรศักดิ์ เมื่อ: สิงหาคม 21, 2011, 12:49:04 pm
กรรมฐานกับการงาน หลวงพ่อสุรศักดิ์



นำมาฝากครับ สำหรับผุ้ที่ยังไม่เข้าใจการภาวนากับการงาน ครับ

 :s_hi:
78  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เฉลยนั่งสมาธิ แล้วทำไม ลอยได้ ( โปรดดูไว้ทุกท่าน ) เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 09:52:39 am
พึ่งรู้ว่าโดนหลอก เอาแล้วนะนี่ โธ่  ๆๆๆๆๆๆ

 :41: :91: :91:
79  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำความเข้าใจ เรื่อง ทุกข์ ก็จะฉลาดในการภาวนา เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 11:43:33 am
มาอ่านแล้ว ครับ

อนุโมทนา สาธุ ครับ

 หลุดตาสายตา ไป เพราะกระุทู้มีมากนะครับ

 :25: :25: :25:
80  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไปเยือน ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 11:41:38 am
เห็นแล้ว อยากไปร่วมภาวนา และเที่ยวสักครั้ง

ไ่ม่ทราบว่าจะจัด ทัวร์ ไปอีกเมื่อไหร่ ครับ ค่าใช้จ่ายประมาณ เท่าไหร่ ครับ

อยากไปสักครั้ง ครับ

 :25: :25: :25:
หน้า: 1 [2] 3