ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต  (อ่าน 7750 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 06:57:19 pm »
0
ควรเข้าใจว่า  จิตคือ ธรรมชาติ  ชนิดหนึ่ง

ธรรมชาตินี้  บางครั้งก็เรียกว่า  "สภาวะ"

เป็นสภาวะเพราะ  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่มีตัวตน  ไม่มีกลิ่น   ไม่มีสี   ไม่มีรส  ฯลฯ

จิตมีชื่อต่างๆที่ใช้เรียกขานกันถึง ๑๐ ชื่อ ดังแสดงว่า
                   
ยํ  จิตฺตํ  มโน  หทยํ  มานสํ  ปณฺฑรํ  มนายตนํ  มนินฺทฺริยํ  วิญฺญาณํ  วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา  มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
                   
อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายไว้ว่า
           
ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า  "จิต"
                   
ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า   "มโน"
                   
จิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนั่นแหละชื่อว่า    "หทัย"
                   
ธรรมชาติฉันทะ  คือความพอใจที่มีอยู่ในใจนั้นชื่อว่า      "มนัส"
                   
จิตเป็นธรรมชาตฺที่ผ่องใส จึงชื่อว่า     "ปัณฑระ"
                   
มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า     "มนายตนะ"
                   
มนะที่เป็นอินทรีย์  คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า   "มนินทรีย์"
               
ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า   "วิญญาณ"
                   
วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า      "วิญญาณขันธ์"

มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ จึงชื่อว่า    "มโนวิญญาณธาตุ"

ทั้งหมดนี้คือจิตทั้งหมดที่ทำหน้าที่ที่มีสภาวะต่างๆกันไป
.........................


เนื้อความที่รับรอง  จากพระไตรปิฏก  (โปรดสังเกตที่หัวข้อ)

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์  มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

            [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า  มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

             [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
 
            [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2013, 09:28:59 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 07:36:12 pm »
0
สภาพหรือลักษณะของจิต

จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ

สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล

จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป

จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย

และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น


ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ คือ

วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ

สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ

นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2013, 09:29:10 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 07:56:35 pm »
0
่อ่านแล้วรู้สึก เริ่มจะเข้าใจตามมากขึ้นครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 12:42:40 am »
0
รู้สึกว่าเป็นคำที่จะใช้บ่อย ในบอร์ดกรรมฐาน นะคะ

 ขอบคุณมากคะ

 :c017:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2012, 03:11:14 pm »
0
ขอบคุณ คุณ chutina และ คุณ MICRONE อย่างสูงที่แวะชมเยี่ยมเยีนครับ หากกระทู้ธรรมใดๆที่ผมนำมาโพสท์เป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายผมก็มีจิตรู้สึกสุขและยินดีด้วยครับ

ขอบพระคุณที่ให้เกียรติแวะติชมครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ