ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา  (อ่าน 7925 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา

   คือ อยู่ ๆ ก็มีความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา พอรู้สึกอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าตนเองโง่ ทันที และ โง่มาก ๆ ที่มามัวหลงยึด หลงทำ หลงสร้าง ด้วยความคิดที่่ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะทำให้ให้ คุณภาพชีิวิตดีขึ้น แต่กลับยิ่งแย่ลง เพราะเราเท่ากับไปอยู่ในวังวน ของ กิเลส ของเรา และ ของคนรอบข้าง

   จนมีความรู้สึกว่า ทุกวันนี้ เหนื่อยไปเพื่อ อะไร กันแน่ ทั้งที่หาแก่นสารไม่ได้ เลยในสิ่งที่ทำอยู่

 ผมควรจะต่อความรูัสึก ทางธรรม นี้อย่างไร ดีครับ

  โปรด ชี้นำด้วยครับ


  thk56
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความรู้สึก ที่ไม่เอาอะไร กับโลก นี้มักจะมีกับคนที่พยายาม หยั่งจิตสู่ธรรม เพราะอำนาจการปล่อยวางอันนี้จึงทำให้ไม่สนอะไร ในโลกและทำตามอุดมการณ์ ผมเองก็เคยผ่านเหตุการณ์ เช่นนี้มาแล้ว มาคราอายุ 18 ปี ตอนนั้น ทิ้งเรือ่งเรียน ติดตามพระธุดงค์ ออกเที่ยวธุดงค์ ไป 2 ปี ได้ธรรมะ เพิ่ม แต่ครั้นครูอาจารย์ ท่านให้เรากลับบ้านมานั่นแหละครับ จึงรู้ว่า เราทำอะไรผิดพลาดไป 5 ปี เพราะเมื่อกลับมา เพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ที่แก่ชรา แล้ว ความรู้ที่มีแค่หางอึ่งนั้นไปสมัครงานที่ไหนๆ เขาก็ไม่รับ ภาระที่ปฏิเสธไม่ได้ คือการบำรุง เลี้ยงดูบิดา มารดา นั้นเป็นหน้าที่เรา ๆ จะไปให้ใครไม่ได้ ครับ .... สุดท้าย ก็คิดได้ว่า การเรียนเป็นเรื่องสำคัญ ก็เลยต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ เป็นจับกัง แบกหาม และ เรียนต่อ กศน. ม ต้น ม. ปลาย 4 ปี ด้วยกัน จึงไปสมัครงานทำงานตามที่ต่าง ๆ ได้ โชคดีที่มี วุฒิการศึกษา แต่ ที่ บริษัท ต่าง ๆ ก็จะแคลนการศึกษา แบบผู้ใหญ่ จึงมีน้อยรายที่จะรับ เราเข้าทำงาน สุดท้ายต้องขอผู้ใหญ่ท่านหนึ่งช่วยรับ เราเข้าทำงานบริษัท โดยท่านเอาตำแหน่ง ผจก.โรงงาน รับรอง เราเลย

    ที่เล่าให้ฟัง อย่างนี้ก็เพราะว่า คุณกำลังมีอารมณ์ เบื่อโลก ถ้าคุณคิดจะทิ้งโลก ครอบครัวแล้ว จริง ๆ ไม่เอาอีกแล้ว ต้องไปแล้ว ไม่กลับมาอีก นะครับ เพราะถ้ากลับมา อุดมการณ์ ที่คุณได้ตอนนี้นั้น ก็จะทำร้ายคุณในอนาคต ผมเห็นตัวอย่าง อย่างนี้มาหลายท่านแล้วครับ เพราะผมอยู่ใกล้ชิดพระสงฆ์ จึงพอเห็นและเข้าใจ ลักษณะของคนที่มุ่งมั่นภาวนา แบบต้องการละจากโลก แต่สุดท้ายก็ไม่พ้นโลก ครับ ... เพราะเรายังต้องอยู่ในสังคม เป็นพระ ก็ต้องอาศัยข้าวชาวบ้าน ฉัน ไปอยู่ วัด ก็ต้องทำงานให้วัด ครับ ถ้ามีความรู้ก็ช่วยงานศาสนาด้านการเผยแผ่ ถ้าไม่มีความรู้ ก็ต้อง ถางป่า กวาดวัด สร้างศาลา ซ่อมกุฏิ ช่วยงานตามแต่ที่ เจ้าออาวาสสั่ง แล้ว ตอนนั้นคุณจะเสียใจมากกว่า ครับ เพราะช่วยงานวัดไม่ได้ตังค์แต่ได้บุญ แต่บุญ ช่วยจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่ายูกยา รักษา ผู้มีพระคุณ ของเราไม่ได้ครับ

    ขอให้คิดให้รอบคอบนะครับ ว่า จะมุ่งมั่น หรือ จะเพิ่มบารมี ไปก่อนครับ

   :13: :13: :13: st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผมนั้นก็อีกหนึ่งหละ ที่เบื่อโลกเบื่อผู้คน คิดได้ จะทำต้องมีสติ แม้วันนี้กินอยู่ตัวคนเดียว แต่ก็ทำตัวเป็นที่พึ่งของคนอื่นแบ่งเบาชี้นำคนรอบข้าง ขวนขวายบุญทานเสมือนโยนหย่อนกรวดลงน้ำ เก่ง,เด่น,ดี กิเลสตัวกู โลกสังคมผู้คน เก่ง,เด่น,ดี เกินกูไม่ยอม กิเลสหยาบหนา โคตร! โคตร! โสมมไม่ขอแปดเปื้อนด้วย ตายไม่กลัว พ้นได้ยิ่งดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2013, 04:23:33 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เบื่อโลก  ก็ต้องอยู่ในโลก

เบือคน ก็ต้องอยู่กับเขา

เบื่อตัวเอง ก็ยังต้องอยู่เช่นเดิม

เบื่อชีวิต แต่ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

   ดังนั้น ควรเห็นตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา

   เมื่อเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็จงอยู่ในโลก อย่างฉลาด อย่ามัวแต่หนี อะไร ต่อ อะไร อีกต่อไป จงเผชิญ ความจริงของชีวิต ให้เป็นสุข เถิดครับ

 
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่านยังมี กายเนื้อ อยู่ในโลก ท่านต้องตาม บัญญัติ และอยู่กับ บัญญัติ นั้นๆให้มีความสุข
       ถ้าท่านต้องการที่จะไม่มาเกิดยุ่งเกี่ยวในโลก ท่านก็อย่าสร้างกรรม โดย กาย วาจา และใจ กับสิ่ง ทั้งหลาย ที่ท่าน มีอยู่ เป็นอยู่
       ท่านต้องอยู่ในโลกความจริงนั้น ด้วย การยอมรับความจริง และอยู่กับสิ่งนั้นๆ ให้มีความสุข
         ถ้าท่านต้องการจะทิ้งจริงท่านต้องตามบัญญัติ


       พระอริยะเจ้า ท่านยังต้อง ใช้ ทั้งสองอย่าง

      แม้ท่านได้ ปรมัติ แต่ ท่านก็ ต้องตาม บัญญัติ

        จนกว่าจะสิ้นสุด กายเนื้อ ที่เป็น ดิน นํา ลม ไฟ นี้ นะจ๊ะ

         เมื่อท่านเห็นไฟแดง แปลว่าให้รถหยุด  ถ้าท่านฝ่าฝืน วิ่งไป จะเกิด อะไรขึ้น

             ปรมัติ บอกว่าผ่าได้เพราะไม่มีรถ
             แต่ถ้าเป็น บัญญัติ ต้องหยุด ตามกฏไฟแดง

           การอยู่ในโลก ต้องใช้ทั้งสองอย่าง  ต้องรู้ทั้งสองอย่าง

          ปรมัติ รู้ได้โดย การภาวนา
          บัญญัติ  คือการยอมรับ ความจริง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ตามธรรมชาติ ตามความเป็นจริง โดยไม่ไปสร้างกรรม โลภะ โทสะ โมหะ(ตอนที่ยังไม่ได้พระอริยะ)

         

         ที่แนะนํานี้ คือวิธีใช้ ในการประกอบกิจตอนที่เป็นมนุษย์

        แต่เป้าหมาย คือ การภาวนา เท่านั้น ที่จะทําให้ ไม่ต้องการกลับมาเกิด ได้จริงๆ

        ก็ อย่าลืม การภาวนา และเป้าหมายนั้นๆ ที่ท่านทั้งหลายได้ตั้งไว้

        เพราะเหตุและผลนั้น ที่ท่านจะยืนยันคําตอบสุดท้ายได้ว่า



         มาเกิด.........หรือ.......ไม่มาเกิด

ขอให้ทุกท่านโชคดี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่ยาก ก็ออกบวชสิ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรือน
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในเมื่อบอกกับตัวเองมาว่า ไม่มีอะไรที่เป็นของเราแล้ว แล้วจะเบื่ออะไร ใครเบื่อ ในเมื่ตัวเราไม่มีอีกแล้ว มันจะเบื่อได้อย่างไร
อารมณ์นี้ เกิดกับทุกคนแหละ เมื่อเบื่อก็ลองกำหนดรู้ว่าเบื่อ มันจะหายไปเอง อย่าหนีไปบวช อย่าทิ้งครอบครัว มันไม่ใช่ทางที่จะแก้ปัญหา ให้ปฏิบัติต่อไป ควรรู้หน้าที่ว่าเราควรทำอะไรต่อไป เช่นทำหน้าที่ของพ่อให้ดี ทำหน้าที่ของลูกให้ดี ทำหน้าที่ของเราที่ได้เกิดมาให้ดี แล้วจะมีความสุขมาก
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การเบื่อของคุณใช่นิพพิทาหรือเปล่า ? 

ถ้าไม่ใช่ มันก็คือฟุ้ง ไม่ลงสู่ความสงบ คนละเรื่องกันกับการปฏิบัติ

กระทู้แนะนำ : นิพพิทา คือ อะไร ? จะพอกพูน นิพพิทา ได้อย่างไร โดย arlogo

นิพพิทาสูตร   

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
โดยส่วนเดียว

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

อ่านต่อได้ที่นี่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9974.msg37454#msg37454

กระทู้ที่ใกล้เคียง :
ปฏิบัติกรรมฐาน แล้วมีอารมณ์เบื่อคือไม่อยากทำ ควรทำอย่างไร ?
ควรพอกพูน บารมีธรรมไปเรื่อย ๆ สั่งสม ทาน ศีล ภาวนา ไปเรือย ๆ เจริญกรรมฐาน ไปเรื่อย ๆ
    นานเท่าใด ?  นานจนกว่า นิพพิทา จักบังเกิด
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6000.0

นิพพิทาสูตร "เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๙. นิพพิทาสูตร

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

-   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
-   มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
-   มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
-   พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
-   ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
           จบสูตรที่ ๙

ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ธรรมเหล่าอื่นจะไม่เกิด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

สติวรรคที่ ๔
สติสูตร

ตรัสว่า ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ทำให้ไม่มีธรรมะอื่น ๆ อีก ๗ ข้อโดยลำดับ  คือ

     - ความละอาย ความเกรงกลัวต่อบาป,
     - การสำรวมอินทรีย์ ศีล,
     - สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ ).
     - ยถาภูตญาณทัสสนะ ( ความรู้ด้วยญาณ ตามเป็นจริง ),
     - นิพพิทา ( ความเบื่อหน่าย ),
     - วิราคะ ( ความคลายกำหนัด ),
     - วิมุตติญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณถึงความหลุดพ้น ).
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5287.0

คำถามจากเมล "แสวงหาที่ปฏิบัิติธรรม"
     "กายนคร" คือ อะไร กายนคร ก็คือ ร่างกายจิตใจของเรา นี่แหละไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะว่าไม่ท่านจะปฏิบัติในที่ไหน ๆ ก็ตามสุดท้ายท่านก็ต้องตั้งต้นที่กายนคร และ จบที่กายนคร นี้เท่านั้น

      ดังนั้น กายนคร จึงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สำคัญ ที่จะทำให้ท่านพ้นจากสังสารวัฏ ความทุกข์ น้ำตา ความร่ำไรรำพัน ความเศร้า ความโศรก ความอาดูร ความผิดหวัง ความชอกช้ำ ความระทม เป็นต้นท่านไม่ต้องแสวงหาไปไกลกัน จนสุดหล้าฟ้าคราม ไม่ต้องหลบไปอยู่ตามถ้ำ ตามป่า แต่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ตราบใดที่ท่านยังมีลมหายใจกันอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ เพราะ กายนคร นี้เป็นสถานที่ ๆ ปฏิบัติธรรมภาวนา ที่สำคัญที่สุด

     การเรียนรู้กายนคร เรียนอย่างไร ?

     การเรียนรู้กายนคร นั้นไม่ได้เรียนยาก แต่อยู่ที่ท่านทั้งหลาย ต้องเริ่มต้นเรียนดังนี้

     1.การปล่อยวาง
     2.การพิจารณาธาตุ
     3.การเห็นความเกิด
     4.การเห็นความเสื่อม
     5.การเห็นธรรมจากความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป
     6.การเข้าถึงสภาวะ นิพพิทา คือความหน่าย ต่อสังสารวัฏ
     7.การเข้าถึงมรรควิถีอย่าง มีลำดับ
     8.การเข้าถึงผลญาณ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
     9.การเข้าพระนิพพาน
  ฃั้นตอนนี้จัดเป็นการศึกษา และ พิจารณา ทั้งสองประการ
ที่: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5991.0

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี..."ยถาภูตญาณทัสสนะ" ย่อมไม่เกิด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ทุสสีลสูตร

      [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว     
      เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ(๑)  ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มีนิพพิทา(๒)   และวิราคะ(๓) ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มีวิมุตติญาณทัสสนะ(๔) ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
ที่: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6410.0

ที่เป็นตัวสีแดงนั้นคือคำตอบ


พระพุทธองค์ตรัสว่า เราจักอาศัยกายนี้ ดำรงอยู่เพื่อบรรลุธรรม
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 

สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ   

        การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน 

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ 

        การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ 

ด้วยประโยชน์ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ 

ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ 

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา 

ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

นั้น เป็นไฉน? 

        ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ 

ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ 

ตั้งจิตชอบ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง 

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ 

เพื่อนิพพาน. 

        [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ 

ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก 

ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ 

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ 

ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา 

ภวตัณหา วิภวตัณหา. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ 

ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ 

นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑. 

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 17

        [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว 

แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.   

                        ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ 

        [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ 

มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน 

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ 

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก 

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. 

        อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ 

นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. 

        ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี 

ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 

สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา. 

        [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ 

บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ 

ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ 

ใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นยามา ... 

        เทวดาชั้นดุสิต ... 

        เทวดาชั้นนิมมานรดี ... 

        เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... 

        เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็ 

บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว   

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม 

หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. 

        ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ 

ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. 

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ 

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ 

ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. 

                                ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

พระสูตร นี้จึงเป็นเรื่องของการนำมนุษย์ออกจากความทุกข์ ระงับทุกข์

   ความทุกข์ ในที่นี้หมายถึง

  ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่  ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

 ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์  โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

เครดิตคุณหมวยจ้า จาก กระทู้ : ทรงแสดง พระสูตรแรก ในพระพุทธศาสนาที่มีพระสงฆ์
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=726.msg3129#msg3129

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา

   คือ อยู่ ๆ ก็มีความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา พอรู้สึกอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าตนเองโง่ ทันที และ โง่มาก ๆ ที่มามัวหลงยึด หลงทำ หลงสร้าง ด้วยความคิดที่่ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะทำให้ให้ คุณภาพชีิวิตดีขึ้น แต่กลับยิ่งแย่ลง เพราะเราเท่ากับไปอยู่ในวังวน ของ กิเลส ของเรา และ ของคนรอบข้าง

   จนมีความรู้สึกว่า ทุกวันนี้ เหนื่อยไปเพื่อ อะไร กันแน่ ทั้งที่หาแก่นสารไม่ได้ เลยในสิ่งที่ทำอยู่

 ผมควรจะต่อความรูัสึก ทางธรรม นี้อย่างไร ดีครับ

  โปรด ชี้นำด้วยครับ


  thk56

อันที่จริงสิ่งที่ทุกคนทำ ก็คือ เพียงแค่ต้องการที่จะมีความสุข

ไม่อยากได้ความทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์

จึงแสวง ไขว่ขว้า หาความสุข ทุกวันนี้ที่พอจะทำกันได้ก็คือ

เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือ อย่างเช่นว่า ตอนนี้เราฟังเพลงนี้อยู่ ก็เพลินดี มีความสุขดี อิ่มเอิบดี สุขใจ อินไปกับเพลง

แต่ พอเราฟังไปแล้วหนึ่งรอบ ลองฟังต่ออีกหนึ่งรอบดูสิ เราก็จะเริ่มเหมือนอิ่มตัว  พอรอบที่สาม เริ่มเฉย ๆ เบื่อ ๆ

แล้ว  แล้วถ้าเจอแบบว่า เปิดทั้งวันเลย เราก็อาจจะรู้สึกว่า อยากจะตายเลยก็ได้

แล้วที่นี้ทำไง  เราก็แก้ปัญหาด้วยการ เปลี่ยนเพลงใหม่ ฟังเพลงถัดไป ฟังเพลงอื่น ๆ อีกต่อไป

ก็เช่นกัน เราเองก็เปลี่ยน จากดูหนัง ก็ไปฟังเพลง ก็ไปเที่ยวเล่น ก็ไปคุยสนทนากับเพื่อนฝูง เปลี่ยน หนีไปเรื่อย ๆ  เพื่อไม่ให้ความทุกข์มันเกิด

แล้วมันเกิดได้ยังไงละ ก็ไม่รู้สิ ถ้เราอยู่เฉย ๆ เดี๋ยวมันก็ทุกข์เอง

เดี๋ยวก็เจ็บไข้ได้ป่วย

เดี๋ยวก็มีคนมาพูดอะไรที่เป็นการทำร้ายเรา

เดี๋ยวก็ ร้อน หิว กระหายน้ำ ปวดท้องอึปวดฉี่

หรืออยู่ดี ๆ คนที่เรารักก็มาจากกันไป

ทั้งหมดทั้งปวง เราก็ทำให้เพื่อสิ่งเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นแก่เรา นั้นคือความจริง และสิ่งที่ทุกคนกระทำกัน มันก็ไมาสามารถที่จะมาแก้ทุกข์ตรงนี้ได้จริง ที่เราทำกันได้ คือ เพียงแค่หนี ไปตรงโน้น หนีไปตรงนั้น ไม่เป็นสรณะ ที่พึ้งได้จริง พอในที่สุดเราหมดกำลังที่จะหนี หรือไม่ไหวแล้ว ฉันไม่อยากจะหนีอีกต่อไปแล้ว ก็จะหาที่พึ้งที่สามารถจะพึ้งได้จริง จึงมาทางธรรมกันเพราะหามาหมดแล้ว ลองมาหมดแล้ว ฉันก็ยังทุกข์อยู่ ฉันไม่อยากจะทุกข์แล้วหลวงพ่อ

ที่นี้ว่า เมื่อ ไม่อยากจะทุกข์กันจึง พยายาม ทำยังไงก็ได้ให้ฉันมีเงินได้มาก ๆ เพื่อที่ฉันจะได้เอาเงินไปใช้ซื้อความสุขที่ฉันต้องการได้

แต่กว่าเราจะมีเงินได้มากขนาดนั้นก็ต้องหาเงินกัน ก็ต้องทำงานกัน ก็ต้องหางานดี ๆ ทำ  ก็ต้้องมีความรู้ มีวุฒิการศึกษาที่ดี(หลักฐาน กระดาษรับรอง) ที่ทำงานเขาถึงจะรับเข้าทำงาน ก็ต้องไปเรียนให้เก่ง ก็ต้องหาโรงเรียนที่เก่ง ๆ ก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการศึกษามาก พ่อแม่ก็ต้องทำงานให้มาก  เพื่อที่จะได้มีเงินไปจ่ายค่าเทิมลูก ที่แพง ๆ ได้ เพื่ออนาคตของลูก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแสวงหาความสุข  ที่ดูเหมือนจะอ้อมอย่างมาก และใช้เวลาที่นานมาก ๆ เกือบจะทั้งชีวิต

นี้ โง่ หรือ ฉลาด  (ฉันก็เคยโง่)

อันที่จริง ความสุข  มันอยู่ที่ตรงหน้า อยู่ที่วิธีคิด หรือที่เรียกว่าทิฏฐิ ที่ถูกต้องก็คือ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้อง

อย่างเวลาที่เราหิว อยากจะกินอันนั้น อยากจะกินอันนี้ แต่หามากินไม่ได้  ก็เอาอะไรก็ได้ที่มีที่พอจะหาซื้อกินได้ มากิน  พอมันอิ่ม ที่นี้ไอ้ที่เราอยากที่แรก ที่อยากจะกินโน้น กินนี้  มันหาไปหมดแล้ว เพราะอะไร  เพราะเราอิ่มแล้ว  ก็เท่านั้น แสดงว่า มันต้องการแค่มีอะไรลงท้อง อะไรก็ได้ ไม่ได้เรื่องมากเหมือนเรา พอลงท้องได้มากพอ มันก็อิ่ม มันก็อยู่ได้  ไม่จำเป็นเฉพาะว่า จะต้องส้มตำเท่านั้น จะต้องต้มยำเท่านั้น  มันก็อิ่มได้  นี้คือมันอยู่ที่ตรงหน้า  เราไม่ต้องไปหาไกล ไม่ต้องขับรถไปถึงเชียงใหม่ เพื่อที่จะไปกินข้าว อันนั้นมันมากไป โง่ไป

ที่นี่มาทางธรรม ก็หาให้เจอ  ว่าอะไรละ  ที่เป็นทุกข์ของเรา  ก็เท่านั้น  ก็แก้ให้มันถูกจุด
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ   
        การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน 
เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  

        การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ 
ด้วยประโยชน์  


นิพพิทาสูตร "เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๙. นิพพิทาสูตร
           [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

            -   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
            -   มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
            -   มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
            -   พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
            -   ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
           จบสูตรที่ ๙

ผมนำยกอ้างบางภาคส่วนจากกระทู้ท่าน ธรรมะปุจฉา มาเกริ่นไว้ด้วยกำลังพิจารณาในทุกข์แห่งตนว่า ใดใดในโลกเรามิอาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปได้แม้ที่สุด "บุญ" ก็สักเพียงแต่ว่าบุญ บุญเป็นเพียงธรรมประโลมโลกให้ข้องอยู่บันเทิงอยู่ในวัฏฏะ เหตุเยื่องอย่างนี้นี่เองบัณฑิต(ผู้พิจารณาเห็นการข้องอยู่ในกามเป็นภัยเลว)ทั้งหลายในอดีตจึงปลีกหลีกเร้นเป็นดาบสอยู่ป่าอยู่กินมีให้น้อยไม่เรื่องมากให้มากเรื่อง ชีวิตเราเราท่านท่านที่น่าเบื่อหน่ายก็ด้วยเบียดเบียนเอาแต่สุขเพียงตัวเกลือกกลั้วเขลากระทำเอาเปรียบสิ้นละอายอบายเขลาจม เบื่อได้แต่หน่ายยัง ก็เลี้ยงเต่ากันไปตามประสาโลก
(อนุโมทนา กับกระทู้ท่าน ธรรมะปุจฉา) ครับ.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 01:46:25 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ