ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จริง หรือ ไม่ครับ ถ้าเรามีศีลสมบูรณ์ จะไม่ถูกสัตว์ทำร้าย  (อ่าน 4304 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
  จริง หรือ ไม่ครับ ถ้าเรามีศีลสมบูรณ์ จะไม่ถูกสัตว์ทำร้าย

  thk56
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาจจะจริงนะคะ หรือ ยังไง ไม่เคยสนเรื่องนี้ รู้แต่ว่าสมาทานศีลเป็นบางคราว

   :58:

 
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจาก http://www.sil5.net/

อหิสูตร
ที่มาของ ขันธปริตร

    [๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว
    ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ
     ตระกูลพญางู ๔ เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้น ชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู ๔ จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู ๔ จำพวกนี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ฯ
    ความเป็นมิตร ของเรา จงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อวิรูปักขะ
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อเอราปถะ
    ความเป็นมิตร ของเราจงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อฉัพยาปุตตะ
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสกุลพญางูทั้งหลายชื่อ กัณหาโคตมกะ
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวก ๒ เท้า
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวก ๔ เท้า
    ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวกมีเท้ามาก
    สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
    สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา
    สัตว์ ๔ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา
    สัตว์มีเท้ามากอย่าเบียดเบียนเรา
    ขอสรรพสัตว์ทั้งปวงที่มีลมปราณ มีชีวิตเป็นอยู่ จงได้พบเห็นความเจริญเถิด อย่าได้มาถึงโทษอันลามกน้อยหนึ่งเลย ฯ
    พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้
    พระธรรมมีคุณหาประมาณมิได้
    พระสงฆ์มีคุณหาประมาณมิได้
    สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง จะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู ล้วนมีประมาณ
    ความรักษาอันเรากระทำแล้ วความป้องกันอันเรากระทำแล้ว ขอหมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย
    เรานั้นกำลังนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ กำลังนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์อยู่ ฯ


              จบสูตรที่ ๗

_______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๓๗ - ๑๙๗๐. หน้าที่ ๘๓ - ๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1937&Z=1970&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=67
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพจาก http://tigertemple.org/

เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป
           
    ภิกษุ ๓๐ รูปอีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจำพรรษาในวัดป่า ทำกติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทำสมณธรรม ตลอดคืนในยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสำนักของกันและกัน แล้วต่างคนต่างอยู่.

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับ เสือตัวหนึ่งก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูปๆ.
    ภิกษุไรๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่า เสือคาบผมแล้ว.
    ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้
    ถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือก็ถามว่าท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วก็กล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้ เราถูกเสือคาบไปๆ แล้วก็อยู่กันต่อไป.


    ต่อมา เสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งโดยนัยก่อน.
    ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ.
    ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบเพลิงติดตามหมายว่า จะให้มันปล่อย
    เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลายไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า.
    ภิกษุทั้งหลายนอกนั้นก็ได้แต่กล่าวว่า สัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้.


    ans1 ans1 ans1

    ภิกษุหนุ่มนั้นนอนอยู่ในปากเสือ ข่มเวทนาเจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนา
    ตอนเสือกินถึงข้อเท้าเป็นพระโสดาบัน
    ตอนกินไปถึงหัวเข่าเป็นพระสกทาคามี
    ตอนเสือกินไปถึงท้องเป็นพระอนาคามี
    ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

    จึงเปล่งอุทาน ดังนี้ว่า
                สีลวา วตฺตสมฺปนฺโน       ปญฺญวา สุสมาหิโต
                 มุหุตฺตํ ปมาทมนฺวาย       พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส
                 ปญฺชรสฺมึ โส คเหตฺวา       สิลาย อุปรี กโต
                 กามํ ขาทตุ มํ พฺยคฺโฆ       อฎฺฐิยา จ นฺหารุสฺส จ
                 กิเลเส เขปยิสฺสามิ       ผุสิสฺสามิ วิมุตฺติยํ

       เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาทครู่หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน เสือจงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจักทำกิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้.

_____________________________________
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อานิสงส์ของศีล 5 ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีลแก่ชาวปาฏลิคามใน มหาปรินิพพานสูตร1) ว่ามี 5 ประการ คือ
    1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย
    2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป
    3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ
    4. ไม่เป็นผู้หลงตาย (ไม่ตายอย่างไร้สติ)
    5. เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป


อานิสงส์การรักษาศีล 8
การรักษาศีล 8 หรือ อุโบสถศีล นอกจากจะมีอานิสงส์เช่นเดียวกับศีล 5 แต่มีระดับที่สูงกว่าแล้ว ยังมีอานิสงส์ในด้านสังคม และเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก คือ
    1. เป็นการคุมกำเนิดโดยธรรมชาติ
    2. เป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ไม่มีการแข่งขันประดับประดาร่างกาย อันเป็นการโอ้อวด ความฟุ้งเฟ้อใส่กัน
    3. ทำให้จิตสงบในเบื้องต้น แล้วเกิดความเมตตากรุณาแก่กัน
    4. เมื่อใจสงบ ย่อมสามารถเข้าถึงธรรมะขั้นสูงต่อไปได้โดยง่าย


    ans1 ans1 ans1

สรุปท้ายบท
จากการศึกษาเรื่องศีล จะเห็นได้ว่า หากเราตั้งใจรักษาศีลเป็นอย่างดีแล้ว ผลหรืออานิสงส์จะเกิดขึ้นตามมามากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

    ผลในปัจจุบันชาติ
    1. ทำให้มีความสุขกายสบายใจ ไม่ต้องเดือดร้อน หวาดระแวง หรือหวาดกลัวต่อภัยใดๆ ที่จะทำให้ขาดความปลอดภัยในชีวิต
    2. ได้ปลูกฝังนิสัยไม่มักโกรธ ไม่เป็นคนเจ้าโทสะ ไม่เบียดเบียนใคร เป็นผู้รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่คิดไปทำให้ตนเอง หรือใครๆ เดือดร้อน
    3. ได้ตอกย้ำสัมมาทิฏฐิให้มั่นคงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อได้รักษาศีล ย่อมเห็นคุณของอานิสงส์อย่างชัดเจน จนเกิดความเกรงกลัวต่อบาปกรรม ซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีความระมัดระวังในความประพฤติของตนเองเป็นอย่างดี


    ผลในภพชาติเบื้องหน้า
    1. เมื่อละโลกไปแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
    2 เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ย่อมเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยไข้ มีอายุขัยที่ยืนยาว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สุภมานพ โตเทยยบุตร ใน จูฬกัมมวิภังคสูตร3) ว่า  “ ดูก่อนมานพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูก่อนมานพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน …Ž”


    ผลสูงสุด
    สามารถทำให้ผู้รักษา บรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะศีลจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิ สมาธิจะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา และปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้ เป็นปัญญาที่สามารถรู้แจ้งเห็นแจ้งไป ตามความเป็นจริง


อ้างอิง : หนังสือวิถีชาวพุทธ
http://book.dou.us/doku.php?id=sb101:8
http://book.dou.us/doku.php?id=sb101:9
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เสขสูตรที่ ๒
ผู้มีศีลบริบูรณ์ คือใคร

     [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่
     ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด
     สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวมอยู่ด้วยทั้งหมด


      ans1 ans1 ans1

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา  เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
     ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
     เธอเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

     ans1 ans1 ans1

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้

     ans1 ans1 ans1

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    เธอเป็นผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป

     ans1 ans1 ans1

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

__________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๑๒๓ - ๖๑๖๐. หน้าที่ ๒๖๑ - ๒๖๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6123&Z=6160&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=526
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1
  จริง หรือ ไม่ครับ ถ้าเรามีศีลสมบูรณ์ จะไม่ถูกสัตว์ทำร้าย

  thk56


    ans1 ans1 ans1
   
    ถามว่า ถ้าเรามีศีลสมบูรณ์ จะไม่ถูกสัตว์ทำร้าย หรือไม่
    ตอบว่า ไม่อาจกล่าวยืนยันได้อย่างนั้น เพราะความในอรรถกถาระบุชัดเจนว่า อรหันต์ยังถูกเสือกิน
    ถามว่า ใครคือ ผู้มีศีลบริบูรณ์
    ตอบว่า อริยบุคคลตั้งโสดาบันปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์
    อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้บอกขันธปริตร ให้สาวกเอาไว้ป้องกันสัตว์ต่างๆ
    พระปริตรบทนี้ไม่ไดระบุว่า ผู้ใช้ต้องมีศีลบริสุทธิ์ ดังนั้น ปุถุชนก็น่าจะใช้ได้

    ข้อธรรมที่นำเสนออยู่ในพระสูตรและอรรถกถาล้วนๆ ผมไม่ได้นำคำของครูบาอาจารย์ท่านใดมาเสนอ
    ขอให้เพื่อนๆ วิจัยธรรมเอาเองนะครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12

  ยอดเยี่ยมท่านที่ตอบ ทำงานหนัก นะครับ หาข้อมูลให้อย่างครบถ้วน

  thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
  มีคำตอบที่ละเอียด สมกับเป็นบัณฑิต ผู้ดูแลห้องจริง ๆ คะ อ่านเป็นวัน เลยคะ เรื่องนี้

   thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ