สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: konsrilom ที่ ตุลาคม 22, 2012, 01:25:51 am



หัวข้อ: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: konsrilom ที่ ตุลาคม 22, 2012, 01:25:51 am
การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ ตามคำถามเลยคะเพราะตอนนี้มีเพื่อน ๆ มาชวนให้ช่วยกันสร้างหนังสือ สวดมนต์ธรรมะ คะ อยากทราบอานิสงค์ การสร้างธรรมทาน มีมากน้อยเพียงใด คะ ถ้าเทียบกับ บุญที่ใส่บาตรพระสงฆ์ ประจำวันคะ

 ขอบคุณมากคะ มาถามตอนดึก เพราะขายของอยู่นะคะ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: somchit ที่ ตุลาคม 22, 2012, 01:37:34 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
             อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             ทานานิสังสสูตร
             [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้
             ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                  ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๑
                  สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๑
                  กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป ๑
                  ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๑
                  ผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

             ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
             สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
             สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
             เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ



             จบสูตรที่ ๕
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=887&Z=899 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=887&Z=899)
     

(http://www.thammatan.com/pic/thammatannnn.gif)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 12:20:41 pm
(http://uc.exteenblog.com/akkarakitt/images/nugtham/pok_arkarawatta-300.jpg)

อานิสงส์แห่งธรรมทาน

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

ทานสูตร
    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วย อามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑   
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม

    วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอัน ควรเล่า ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒ ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจด ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ


จาก : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน


(http://1.bp.blogspot.com/-xWSqgDxfpYQ/UF9NWWV4AXI/AAAAAAAABAA/3OOaWowiaGY/s1600/0069.jpg)


“อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ พุทฺธรูปํ สมํ สิยา
สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์”

ชาดก อานิสงส์สร้างหนังสือ ถวายหนังสือ
อานิสงส์สร้างหนังสือ หรือถวายหนังสือ ดั่งประทีปส่องทางให้เห็นนรกและสวรรค์ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์เพิ่มพูน กุศลจริยาเป็นเอนกอนันต์ ได้รับชัยชนะต่อจิตใจตนเอง และผู้อื่น มีความรู้ การศึกษาสูง บังเกิดผลบุญอันยิ่งใหญ่ไพศาลทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า

ดังมีใจความว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี ในเวลานั้นพระสารีบุตรเถระเจ้า มีความประสงค์ว่า จักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศอานิสงส์สร้างพระไตรปิฎก ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัทพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถาม แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา จะมีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปแล้วก็จักได้ เสวยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์ ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ก็จะได้เป็นพระราชา มีอนุภาพอีก ๙ อสงไขย

ต่อจากนั้น ก็ได้เสวยสมบัติ ในตระกูลต่าง ๆ เป็นลำดับไป คือตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้เสวย ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่ แก่คน ทั้งหลาย ที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์สุจริต ปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม ดังนี้เป็นต้น

ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม ได้สร้าง พระไตรปิฎก ไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรมศาสดา ทรงพยากรณ์ไว้ว่า อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้ แลก็สิ้นสุด พระกระแสธรรมเทศนา ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้

 
(http://torthammarak.files.wordpress.com/2012/02/resize.jpg)


อานิสงส์แจกหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน 11 ประการ

ธรรมทาน เป็นเครื่องเตือนสติให้เราระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต เป็นหนทางหนึ่ง อย่างเช่นการรู้คุณของพ่อแม่ รู้คุณแผ่นดินเกิด คุณธรรมทั้งหลายนี้ ถือว่าเป็นต้นน้ำแห่งพระธรรม(ความเป็นจริง) ที่สามารถฉุดช่วยผู้คนให้พ้นภัยเวียนได้ทัน เพราะการชี้แนะ จะด้วยกุศโลบายใดๆ ถือเป็นเป็นมหากุศลยิ่งกว่าสร้างเจดีย์แก้วเจ็ดชั้น

ขอให้พระธรรมอันลึกซึ้ง จงสถิตอยู่ทุกดวงจิต คอยติดตามปกป้องคุ้มครอง ช่วยเตือนสติให้บังเกิดความสำนึกรู้คุณของเหตุและรู้คุณของผล จากเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ อันเป็นผลตอบแทนแก่บุพการีให้สมกับความเป็นมนุษย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง

    1. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง
    2. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์
    3. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป
    4. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน
    5. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่
    6. กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา
    7. บุตรจะเฉลียวฉลาดและเจริญรุ่งเรือง
    8. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข
    9. พ่อแม่จะมีอายุยืน
   10. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี
   11. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุคติ

การแจกหนังสือเป็นธรรมทาน อานิสงส์จากการให้ธรรมทาน จะเป็นไปตามความมุ่งมั่นศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งผู้ให้จะสัมผัสรับรู้ได้เอง.



ที่มา http://www.lc2u.org/th/know_rnisong.php (http://www.lc2u.org/th/know_rnisong.php)
http://uc.exteenblog.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://torthammarak.files.wordpress.com/ (http://uc.exteenblog.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://torthammarak.files.wordpress.com/)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 12:50:27 pm

(http://i433.photobucket.com/albums/qq54/Hnan_noob/DSCF1146.jpg)

มหาอานิสงส์ของธรรมทาน 25 ข้อ

มหาอานิสงส์ แปลว่า ผลบุญอันยิ่งใหญ่ มาจากคำว่า มหา (ใหญ่,ยิ่งใหญ่) + อานิสงส์ (ผลที่เกิดจากการกระทำ, ผลบุญ)

    ๑. มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส หน้าตาสดใสมีสง่าราศี
    ๒. มีสติปัญญาดีเลิศ คิดสิ่งใดก็คิดออกได้ง่าย และ ถูกต้องกว่าแต่ก่อน
    ๓. ได้คนรอบตัวดีดี มีเพื่อนแท้แก้ทุกข์สู้งานใหญ่
    ๔. ได้เพื่อนธรรมกัลยาณมิตร ชวนกันคิด ชวนกันทำ กรรมดี เพื่อการสั่งสมบุญบารมี
    ๕. เจ้ากรรมนายเวรไล่ล่าเราไม่ทัน เปรียบเสมือนได้ลบล้างหนี้เวรกรรม

    ๖. โรคภัยไข้เจ็บอันเกิดจากเจ้ากรรมนายเวร ก็ทุเลาหายไปเพราะเราอุทิศบุญให้
    ๗. ทำให้ชีวิตตนและครอบครัวมั่นคง ทรัพย์สมบัติกิจการค้า ตำแหน่งการงาน เจริญรุ่งเรือง
    ๘. ช่วยดึงและดันให้สั่งสมบุญบารมีขั้นสูงกว่า คือการรักษาศีลลและการเจริญภาวนา เมื่อทำก็ทำได้ง่ายไร้อุปสรรค
    ๙. ได้สร้างเสริมและเจริญเมตตาธรรม ฝึกตนให้เป็นพระพรหมมีจิตใจครบ 4 หน้า คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อเป็นผู้ที่มีพรหมวิหารทั้ง 4 ก็ย่อมให้อภัย ไม่พยาบาท ทำดีได้ง่ายขึ้น เข้าสมาธิและฌานได้ง่ายดี
    ๑๐. สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในหน่วยงาน มีรักสามัคคี มีเมตตาไมตรีต่อกันมาก


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQSMiD79FjAVTqZZFpFq33pCXeRDownoXhX0dh0NBrPVaTG2QaEImztclLRDQ)

    ๑๑. เทวดาคุ้มครอง ปกป้อง รักษาความปลอดภัยแก่สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในรถ เรือ บ้านเรือน อาคาร
    ๑๒. สร้างธรรมทานด้วยหวังขจัดกิเลส และด้วยจิตใจเบิกบานทั้ง 3 ระยะ คือ ก่อนสร้าง, ขณะสร้าง และหลังสร้างบุญธรรมทาน ชาติหน้าเกิดมาก็จักรวยตั้งแต่เกิด รวยมั่นคงจนถึงปลายชีวิต เพราะชาตินี้สร้างธรรมทานด้วยความยินดี มีจิตเบิกบานตลอด 3 ระยะ
    ๑๓. อุทิศบุญกุศลให้บุพการีและผู้มีพระคุณ บุญส่งให้ท่านเหล่านั้นได้อยู่ในภพภูมิที่ดีดี
    ๑๔. คิดหาวิธีเองได้ ที่จะทำให้ตนและผู้อื่นพ้นทุกข์น้อยใหญ่ ไล่ความโง่ เติมความงามแก่กายใจ
    ๑๕. ช่วยให้คนทั้งโลก แม้ว่าจะต่างเชื้อชาติ ศาสนา มีความสุขสงบร่มเย็น เป็นเพื่อนเกื้อกูลกัน

    ๑๖. ขจัดความตระหนี่ถี่เหนี่ยว ลดความยึดมั่นถือมั่น ตัดความงกความเป็นเจ้าของออกจากใจ
    ๑๗. ไล่ตัวมารแห่งความโลภ ขจัดความโศกที่เกิดจากการดิ้นรนอยากมีวัตุสิ่งของเกินความจำเป็น
    ๑๘. เห็นเส้นทางเดินตามพระราชปรัชญา แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"
    ๑๙. เพิ่มวิปัสสนาปัญญาคือความเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่งดั่งสมบัติผลัดกันชมผลัดกันใช้
    ๒๐. ได้เปลี่ยนความคิดเห็นที่ผิดที่ไม่ถูกต้อง (มิจฉาทิฐิ) เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)

    ๒๑. เมื่อได้เสริมบุญธรรมทาน ด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนาทำสมาธิเป็นเนืองนิตย์ หากตายไปจักได้เกิดเป็นเทวดาอย่างแน่นอน พอจิตอิ่มบุญบารมีสูงสุดก็จักเข้าสู่นิพพาน ไม่เกิดเป็นอะไรอีกแล้ว
    ๒๒. สร้างความสุขให้ชาวโลกในอนาคต เติมเชื้อธรรมไว้ในปฐพี อีก 100 ปี มีผู้เห็นหนังสือที่พิมพ์แจก เขาก็จักฟื้นฟูดูแลพระพุทธศาสนา เราท่านเกิดมาในชาติหน้าจะเป็นพุทธบริษัทที่สมบูรณ์ อยู่ในแดนพุทธที่เจริญ และปลอดภัย
    ๒๓. หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีก จักเกิดในครอบครัวที่อุดมด้วยสัมมาทิฐิ "รีบเร่งสั่งสมบุญบารมีในชาตินี้เถิด
    ๒๔. ไม่เกิดในอบายภูมิได้ง่าย (นรก, เปรต, อสุรกาย, ดิรัจฉาน)
    ๒๕. ช่วยรักษาและเผยแผ่พระพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ให้เสื่อมสูญ



ที่มา : หนังสือพุทธฤทธิ์พิชิตมาร
board.palungjit.com/f130/มหาอานิสงส์ของธรรมทาน-25-ข้อ-238664.html (http://board.palungjit.com/f130/มหาอานิสงส์ของธรรมทาน-25-ข้อ-238664.html)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 01:07:05 pm
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/760/7760/images/Toesuepratam/DSCN2175Small.JPG)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

    [๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

    [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑   
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล 
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ


(http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=798273&stc=1&d=1260763293)

    [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
     ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

     จบทานวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๓๗๖ - ๒๔๑๔. หน้าที่ ๑๐๑ - ๑๐๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2376&Z=2414&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2376&Z=2414&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=386 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=386)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://board.palungjit.com/ (http://www.oknation.net/,http://board.palungjit.com/)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 01:19:53 pm

(http://s2.uppic.mobi/image-2CB3_500A863A.jpg)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พลสูตร
    [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
        กำลัง คือ ปัญญา ๑
        กำลัง คือ ความเพียร ๑
        กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ ๑
        กำลัง คือ การสงเคราะห์ ๑
        .......................ฯลฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
        ทาน ๑
        เปยยวัชชะ ๑
        อัตถจริยา ๑   
        สมานัตตตา ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย
     การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก
 
     การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย

     พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์.....ฯลฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๗๗๑๑ - ๗๗๖๔.  หน้าที่  ๓๓๓ - ๓๓๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7711&Z=7764&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7711&Z=7764&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=209 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=209)
ขอบคุุณภาพจาก http://s2.uppic.mobi/ (http://s2.uppic.mobi/)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 01:46:51 pm
(http://www.snr.ac.th/wita/story/25feb__200906.jpg)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๙. ทานสูตร

    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑     
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
    วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทาน และการแจกจ่ายทานนั้นๆ ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
    ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒ ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ

       จบสูตรที่ ๙


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๔๕๓ - ๖๔๗๐. หน้าที่ ๒๘๔ - ๒๘๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6453&Z=6470&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6453&Z=6470&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278)
ขอบคุณภาพจาก http://www.snr.ac.th (http://www.snr.ac.th)


(http://farm3.static.flickr.com/2554/4131651770_b07c6e05a5.jpg)


อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ปัญจมวรรค ทานสูตร

อรรถกถาทานสูตร
             
    ในทานสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ทานํ ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่าทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทานด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.
    อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่าอามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้องด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔ เหล่านั้น ชื่อว่าอามิสทาน.

   บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า
     ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
     ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
     ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
     ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้

     กระทำกรรมและผลของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมทาน
     ส่วนบุคคลบางพวกชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า
          ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม
          ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม
          ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม
          ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม
          ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม ดังนี้
   แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่าธรรมทานขั้นสุดยอด.

   บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ แปลว่า (ธรรมทานนี้เป็นเลิศ).
   บทว่า ยทิทํ ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทานที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด.
   อธิบายว่า บุคคลจะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัยธรรมทานอันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
              การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
              รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
              ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
              ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ดังนี้.
๑-
____________________________
๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๔

(http://www.dhammathai.org/store/talk/data/imagefiles/344.jpg)

    ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง. การไม่บริโภคปัจจัยทั้งหลายเสียเอง แต่ปัจจัย ๔ อันตนพึงบริโภคแล้วแจกจ่ายแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่แก่คนทั่วไป ชื่อว่า อามิสฺสํวิภาโค (แจกจ่ายอามิส). ความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายน้อย แสดงอ้างธรรมที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่ธรรมแก่คนทั่วไป ชื่อว่า ธมฺมสํวิภาโค (แจกจ่ายธรรม).

    การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า อามิสานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยอามิส). การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า ธมฺมานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยธรรม).
               คำที่เหลือมีนัยกล่าวแล้วทั้งนั้น.
               พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

    บทว่า ยมาหุ ทานํ ปรมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัส ทานใดว่าเยี่ยม คือสูงสุด โดยความที่จิต (เจตนา) เขต (ปฏิคาหก) และไทยธรรมเป็นของโอฬาร หรือโดยยังโภคสมบัติเป็นต้นให้บริบูรณ์ คือยังโภคสมบัติเป็นต้นให้เผล็ดผล.
   อีกอย่างหนึ่ง ตรัสว่าเยี่ยม เพราะย่ำยีคือกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์อื่นๆ มีโลภะและมัจฉริยะเสียได้.

    บทว่า อนุตฺตรํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัสทานใด ชื่อว่าเว้นจากทานอื่นที่ยอดเยี่ยมกว่า และให้สำเร็จความยิ่งใหญ่ เพราะยังเจตนาสมบัติเป็นต้นให้เป็นไปดียิ่ง และเพราะความเป็นทานมีผลเลิศ โดยความเป็นยอดทาน.
    แม้ในบทว่า ยํ สํวิภาค นี้พึงนำเอาบททั้งสองว่า ปรมํ อนุตฺตรํ มาเชื่อมประกอบเข้าด้วย.
    บทว่า อวณฺณยิ ความว่า ประกาศแล้ว คือสรรเสริญแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ๒-

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกเมื่อให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะทั้ง ๕ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า ๓-
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลของการจำแนกทานอย่างนี้ ดังนี้.

____________________________
๒- องฺ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๗
๓- ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๐๔

     ก็เพื่อจะทรงแสดงทานและวิธีที่การจำแนกทานว่า (มีผล) อย่างยิ่ง คือยอดเยี่ยมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า อคฺคมฺหิ ดังนี้.
     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคมฺหิ ความว่า ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐที่สุด คือเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษมีศีล เป็นต้น.

     บทว่า ปสนฺนจิตฺโต ความว่า ยังจิตให้เลื่อมใส คือกำหนดด้วยความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม และความเชื่อในพระรัตนตรัย.
     อธิบายว่า ทานคือการให้ไทยธรรมแม้น้อย ย่อมมีอานุภาพมาก คือสว่างโชติช่วง แผ่ไพศาลไปได้มาก เพราะความถึงพร้อมด้วยจิต (เจตนาสัมปทา) และเพราะความถึงพร้อมด้วยเขต (ปฏิคาหก).

               สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
                         เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทาน (ที่บำเพ็ญ)
                         ในพระตถาคตเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก
                         ของพระองค์ ชื่อว่ามีผลน้อย ย่อมไม่มี ดังนี้.๔-

____________________________
๔- ขุ. วิมาน. เล่ม ๒๖/ข้อ ๔๗

(http://lh4.ggpht.com/_3OAzmvxqsqg/SgJxOHhx0jI/AAAAAAAALQw/pLVu5MtK8Jc/P1050682.JPG)

     บทว่า วิญฺญู ได้แก่ ผู้มีปัญญา.
     บทว่า ปชานํ ความว่า รู้ชัดซึ่งผลของทานและอานิสงส์ของทานโดยชอบทีเดียว.
     บทว่า โก น ยเชถ กาเล ความว่า ใครเล่าจะไม่ให้ทานในกาลเวลาที่สมควร.
     อธิบายว่า ทานย่อมสำเร็จ (เกิดมีพร้อม) เฉพาะในเวลาที่ประจวบกับเหตุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ศรัทธา ๑ ไทยธรรม ๑ ปฏิคาหก ๑ ไม่ใช่เกิดมีได้โดยประการอื่น.

     อีกอย่างหนึ่ง จะให้ (ทาน) แก่ปฏิคาหกทั้งหลายได้ ในกาลอันควร (เท่านั้น)
     พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการจำแนกและอนุเคราะห์ด้วยอามิสทาน ด้วยพระคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจำแนกและการอนุเคราะห์ด้วยธรรมทาน จึงตรัสพระคาถาที่สองว่า เย เจว ภาสนฺติ ดังนี้.

     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภยํ ความว่า คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือผู้แสดง (และ) ผู้ฟัง (ผู้รับ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า ภาสนฺติ สุณนฺติ (ย่อมกล่าว ย่อมฟัง) ดังนี้.
     ก็ในบทว่า อุภยํ นั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
     คนเหล่าใดมีจิตเลื่อมใสแล้วในศาสนา คือพระสัทธรรมของพระสุคต คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นประธาน คือวิมุตตายตนะย่อมแสดงด้วย ย่อมฟังด้วยประโยชน์ กล่าวคือธรรมทาน การแจกจ่ายธรรม และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมของผู้แสดงและปฏิคาหกเหล่านั้น ชื่อว่ายอดเยี่ยม เพราะยังปรมัตถประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่าย่อมบริสุทธิ์ เพราะหมดจดจากมลทินที่ทำความเศร้าหมองทุกอย่างมีความเศร้าหมองเพราะตัณหาเป็นต้น

    ถามว่า ของคนเช่นไร?
    ตอบว่า ของคนผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระสุคต ก็คนเหล่าใดไม่ประมาทในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือในโอวาทที่ทรงพร่ำสอนที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยสังเขปอย่างนี้ว่า๕-
                         การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑
                         การยังกุศลให้ถึงพร้อม ๑
                         การยังจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑
                         นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

____________________________
๕- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๕๔   ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔

    ดังนี้ แล้วยังสิกขา ๓ มีอธิสีลสิกขาเป็นต้นให้ถึงพร้อมโดยเคารพ ประโยชน์ย่อมบริสุทธิ์แก่คนเหล่านั้น ย่อมยังคนเหล่านั้นให้ผ่องแผ้วเกินเปรียบ ด้วยอรหัตผลวิสุทธิฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๙ 


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278)
http://farm3.static.flickr.com/,http://www.dhammathai.org/,http://lh4.ggpht.com/ (http://farm3.static.flickr.com/,http://www.dhammathai.org/,http://lh4.ggpht.com/)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: paitong ที่ ตุลาคม 25, 2012, 12:38:21 am
อนุโมทนา ด้วยครับ เรื่องนี้อยากให้ติดหมุดเลยนะครับ เพราะผู้โพสต์ โพสต์ได้ละเอียดดีครับ และอีกอย่างผมเคยฟังในรายการ RDN online ว่าพระอาจารย์กล่าวว่า ธรรมทาน เป็นทานที่สูงที่สุดในหมู่การให้ทานแล้วครับ ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ตลอด 45 พรรษา ก็ทำธรรมทาน มาตลอด

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :s_good: :c017: :25:


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ ตุลาคม 25, 2012, 12:39:20 am
อนุโมทนา ครับ ผมช่วยติดหมุด ให้แล้วนะครับ

 สาธุ สาธ สาธุ  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: godone108 ที่ ตุลาคม 29, 2012, 08:58:14 am
อนุโมทนา  สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: godone108 ที่ พฤศจิกายน 01, 2012, 12:57:18 am
มีให้กดliveมั้ยเนี่ย ตรงกะชีวิตอย่างแรง :97: :97: :97:


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: godone108 ที่ พฤศจิกายน 04, 2012, 08:13:32 pm
ช่วยกันกดlikeจ้าาอิอิ


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: montra ที่ พฤศจิกายน 04, 2012, 10:09:25 pm
ช่วยกันกดlikeจ้าาอิอิ

 ไม่ต้องกด like หรอกครับ แค่กล่าวอนุโมทนา ก็เพียงพอครับ

 
มีให้กดliveมั้ยเนี่ย ตรงกะชีวิตอย่างแรง :97: :97: :97:

  ช่วยเล่าเรื่องที่ตรงกับชีวิตอย่างแรงให้หน่อยได้หรือไม่ครับ
  :smiley_confused1: :13: :13:


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: godone108 ที่ พฤศจิกายน 08, 2012, 09:31:05 pm
กด likeเลยครับ


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 09, 2017, 09:38:53 am

(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_09_06_17_9_29_33.jpeg)


๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยวิมานสีเหลืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกบวบขม


       (ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
       [๗๙๕] เทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลืองประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลือง มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง
       [๗๙๖] มีปราสาทสีเหลือง มีที่นอนที่นั่งสีเหลือง มีภาชนะสีเหลือง มีฉัตรสีเหลือง มีรถสีเหลือง มีม้าสีเหลือง มีพัดสีเหลือง
       [๗๙๗] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อน เธอได้ทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก เธอจงตอบตามที่ฉันถามเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

        ans1 ans1 ans1

       (เทพธิดานั้นทูลตอบว่า)
       [๗๙๘] พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อมนำดอกบวบขมจำนวน ๔ ดอก ซึ่งมีรสขม ไม่มีใครปรารถนา ไปบูชาพระสถูป                                                                                                                       
       [๗๙๙] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส มุ่งถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา มีใจจดจ่อพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ไม่ทันพิจารณาดูทางที่แม่โคนั้นมา
       [๘๐๐] ทันใดนั้น แม่โคได้ขวิดหม่อมฉันยังไม่ทันไปถึงพระสถูปสมความตั้งใจ ถ้าหม่อมฉันพึงสั่งสมบุญนั้นไว้ได้ยิ่งขึ้น ทิพยสมบัติก็จะพึงมียิ่งกว่านี้แน่
       [๘๐๑] ข้าแต่ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพ เพราะกุศลกรรมนั้น หม่อมฉันจึงละกายมนุษย์มาอยู่ร่วมกับพระองค์

        st12 st12 st12 st12

       [๘๐๒] ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพชั้นดาวดึงส์ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว เมื่อจะให้เทวดาชั้นดาวดึงส์เลื่อมใส จึงได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
       [๘๐๓] มาตลี ท่านจงดูผลกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ของควรทำบุญที่เทพธิดานี้ทำแล้วถึงจะน้อย ผลบุญกลับมีมาก
       [๘๐๔] เมื่อมีจิตเลื่อมใสพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทักษิณาหาชื่อว่ามีผลน้อยไม่
       [๘๐๕] มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรรีบเร่งบูชา พระบรมสารีริกธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
       [๘๐๖] เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลก็ย่อมมีสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสุคติ
       [๘๐๗] พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากหนอ ทายกทายิกาทั้งหลายถวายสักการบูชาแล้วได้ไปสวรรค์

                ปีตวิมานที่ ๙ จบ



พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๙๑-๙๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=47 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=47)


หัวข้อ: Re: การให้ธรรมทาน หรือ สร้างธรรมทาน เช่น หนังสือธรรมะ เป็นต้นมีอานิสงค์อย่างไรคะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มิถุนายน 11, 2017, 09:13:22 pm
โอ้ๆ  ..เยี่ยมยอด

เรื่องอานิสงค์แห่งกุศล

ต้องเอามาให้อ่านเยอะๆนะ

เพราะ จะได้รู้ทางมรรค


หนทางแห่งความสุข

ยังไงล่ะ


ขออนุโมทนาสาธุ