ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓  (อ่าน 22269 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2020, 05:04:03 am »
0
วันที่ 1 6 ก.ค. 63

สำหรับ พรรษานี้ ถึงแม้ พอจ จะมีอาการอาพาธ แต่ก็จะพยายาม หาทาง หาเวลาเข้ากรรมฐาน ให้ได้ต่อเนื่อง สัก 5 วัน สักครั้ง ก็จะพยายามดู ในช่วงเข้าพรรษา

ขอให้ทุกท่านที่ฝึกกรรมฐาน ก็จงทบทวนตัวกรรมฐาน ให้คล่องแคล่ว ที่ไม่ได้พูด ก็เพราะว่าป่วยด้วย แต่ส่วนหนึ่ง ก็อยากให้ท่านทั้งหลาย ได้ศึกษาวิชาที่ข้ามไปกันให้เข้าใจ

ดังนั้นตัวกรรมฐาน ถ้าข้ามไป มันก็จะขาดอารมณ์ธรรม ไม่ได้อารมณ์แห่งสมาธิ ยิ่งข้ามก็ยิ่งช้า ท่านจึงบอกว่า อยากไวให้ซ้ำพื้นฐานให้มากที่สุด ผู้ฝึกวิชาส่วนใหญ่ ก็จะต้องฝึกซ้ำในขั้นต้นให้คล่องแคล่ว

เวลาฝึกก็พยายาม อย่าบีบคั้นตัวเองมากไป แต่ให้ทำอารมณ์ประหนึ่งได้ปล่อยวางโลกลง แล้วมีเวลาเข้าไปดูตัวเอง ถ้าทำอย่างนี้ มันจะได้ผลเร็วกว่าสร้างความอยากสำเร็จ เพราะถ้าสร้างความอยากสำเร็จ มันก็จะไม่ค่อยสำเร็จ

กรรมฐานที่พระพุทธเจ้า ล้วนแล้วมีหลักการ คือการปล่อยวาง ยิ่งปล่อยวางอารมณ์จากกามคุณทั้ง 5 ได้มากเท่าไหร่ กรรมฐานก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น และถึงความสำเร็จได้ไว

ดังนั้นในพรรษานี้อาจจะไม่ค่อยโพสต์อะไร เพื่อฝึนกายภาพเข้ากรรมฐาน ขอให้ทุกท่าน จงขยันฝึกฝนกรรมฐานให้ชำนาญเพิ่มขึ้น ไปถึงแก่นของกรรมฐาน โดยไว พลัน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 07, 2020, 05:07:39 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๒ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๔๕ )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2020, 05:05:00 am »
0
วันที่ ๒ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๔๕ )
สำหรับวันนี้ ก็ไม่มีอะไรมาก อธิษฐานการเข้าพรรษาแล้ว ก็จำวัตร (นอน) นอนตอน ๔ โมงเย็น ตื่น ๒ ทุ่ม ก็ยาวตามประสาพระที่ไม่มีงานแบบชาวบ้าน ก็คงจะหลับประมาณ บ่าย ๆ

ทบทวนกรรมฐาน สำหรับวันนี้ พอจ ทบทวนกรรมฐาน และหาขั้นตอนที่เหมาะสม กับการอาพาธที่จะสามารถทำกรรมฐาน ต่อเนื่องได้ ตั้งใจในพรรษานี้ จะเข้าสัก ๕ วัน ๕ คืน

ตอนนี้ก็เลยต้องฝืนสังขารเข้ากรรมฐานแบบ ๘ ชม ( ๑ กะ ) วันหนึ่ง มี ๒๔ ชม ก็ 3 กะ ต้องทำให้ได้อย่างน้อย ๑ กะ สำหรับการเตรียมตัวเข้ากรรมฐาน หลายวัน หลายคืน

ธรรมที่ปรากฏใน ธัมมวิจยะ วันนี้ ขณะสรงน้ำ ( อาบน้ำ ) ได้พิจารณากาย เสโท ( เหงื่อ ) เมโท ( มัน ) สองอย่างรวมกัน เรียกว่า ขี้ไคล กำกับกำหนดว่า ขี้ไคล อย่างนี้ น่าขยะแขยง ส่งกลิ่น ไม่มีความงาม เป็นที่รังเกียจแม้แต่ตนเอง ไฉนมนุษย์จึงพยายามหลงไหล มังสัง ( เนื้อหนัง ) ที่ประกอบด้วย เสโท และ เมโท อย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็เพราะว่า จิตไม่ได้พิจารณาความจริง เห็นหญิงชาย รักกันก็หวาน จากกันก็ขมขื่น

วันนี่้อยู่กับคนนั้น วันนั้นอยู่กับคนนี้ หาความจริงใจในตัณหานั้นไม่ได้ เมื่อมนุษย์ประกอบด้วยตัณหา ก็เข้าใจว่า นี่เขาเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา และก็พากันหึงหวง ตามฆ่า ตามราวี เมื่อจากกัน

มนุษย์ที่ประเสริฐ ย่อมมีคู่เพียงคู่เดียว ไม่เปลี่ยนแปลงไม่หน่ายแหนง กินอยู่ร่วมกัน ตายจากกันไป อย่างนี้ชือว่าประเสริฐอยู่ ก็ยังมีบ้าง แต่กํยังวนเวียนอยู่ในโลก เกิดตายกันต่อไป

พระศาสดา พระองค์จึงทรงชี้แจงความเป็นจริง ให้กับมนุษย์ เจริญตามวัฒนธรรม อริยะ ตั้งแต่ โสดาบัน ให้รู้ว่า ที่มีอยู่ก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แม้กายเราเอง ก็ยังไม่ใช่ตัวตนที่จะไปบังคับตามจิต ตามใจได้เลย ไฉน ในโลก นี้จะมีอะไรเป็นของเรา มาตัวเปล่า ก็จากไปตัวเปล่าไม่สามารถเอาอะไรติดกายไปได้เลย แม้กายสังขารนี้ก็ยังทิ้งไว้ในโลก

ยามไร้ชีวิต คนก็พารังเกียจ ไม่อยากมอง ไม่อยากจ้อง สะอิดสะเอียนความเน่าเหม็นของกายนี้

ไหน ฤา จะมีกายที่สวยงามไปได้ มีแต่เพียงกายทิพย์ ที่ยังพอเรืองรอง ด้วย บุญกรรม ที่สร้างไว้

พระอริยะย่อมไม่ใยดี การมีกาย และการมีอยู่ ย่อมไม่สนใจการเกิด อีกต่อไป คงหมดสิ้นกับการอาลัย ทุกสิ่งทุกอย่างในวัฏจักรนี้

รูป ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
เสียง ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
กลิ่น ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
รส ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
สัมผัส ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
อารมณ์ ว่างแล้วจากความยึดถึอทั้งหลายทั้งปวง

สงบก็เป็นสุข เคลื่อนไหวก็เป็นทุกข์
อุเบกขา ( ปล่อยวาง ) กิเลสทั้งหลายลง ก็จะมีความสุข
ถึงกายจะทุกข์ ก็ถึงสุขที่สุดแห่งธรรมนั่นเอง

เจริญธรรม /เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๓ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๒.๐๐)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2020, 12:56:43 pm »
0
วันที่ ๓ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๒.๐๐)

สำหรับวันนี้ นอนน้อยลง วันนี้นอนน้อยเพียง 2 ชม เป็นการฝืนกายสังขารครั้งแรก ในรอบเดือน ในวันนี้ยังไม่ได้เข้าสมาธิแต่ใด ๆ แต่ กระทำการกำหนดธรรม ขึ้นมา

การกำหนดธรรม มีอยู่สองอย่าง

หนึ่งคือการกำหนดธรรมที่เป็น มรรค ( หมายถึงวิธีปฏิบัติ ) เช่นการมีสติ สัมปชัญญะ หิริ(ความละอาย) โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) อปจายนะ(ความอ่อนน้อม) สัทธา(ความเชื่อ) เป็นต้น ธรรมเหล่านี้ต้องปฏิบัติตาม จึงเรียกว่า มรรค( วิธีการปฏิบัติ)

สองก็คือการกำหนดธรรมที่เป็น ผล ( หมายถึงได้สภาวะแล้ว ) เช่น สัมปชัญญะ เป็นผลมาจากสติ ปีติ เป็นผลมาจาก วิตก วิจาร ยุคลธรรม เป็นผลมาจาก ปีติดับลงในสมาธิ เป็นต้น ธรรมเหล่านี้เรียกว่า เป็นปัจจัยที่เกิดจากปัจจัยของธรรมที่ต่อเนื่องกันจึงทำให้ธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นไปตามสภาวะ เรียกว่า ธัมมารัมมะณัง สภาวะที่เกิดขึ้นมีธรรมอื่น เป็นปัจจัย

ดังนั้นผู้ที่เข้าสมาธิเพื่อธรรม ต้องรู้จักกำหนดธรรม

การกำหนดธรรม ก็คือ ปัญญา ( ความรอบรู้ ) หากไม่มีปัญญา การกำหนดธรรมก็จะมีไม่ได้

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้จักกำหนดธรรม ให้มีในจิตใจของท่าน

การกำหนดมีสองสภาวะ

กำหนดธรรมด้วยสังขาร ( ยังมีกิเลส ) เช่นการคิด ข้อมูล ความเกี่ยวเนื่องของธรรม เหล่านี้เกิดด้วย สังขาร แต่เป็นปุญญาภิสังขาร เพราะเกิดด้วยกุศลธรรม

กำหนดธรรมด้วยสภาวะดับกิเลส ซึ่งเป็นเหตุในปฏิจจสมุมปบาท การดับกิเลส ต้องมาจากสภาวะ ปล่อยวาง จากความยึดมั่นในตัวในตน เข้าสภาวะไม่มีบุรุษบุคคล ไม่มีสัตว์สิ่งของ เป็น ธรรมสภาวะ ที่เป็นกลาง ไม่มีศัตรู ไม่มีคนรัก ไม่มีสิ่งที่รัก ไม่มีสิ่งใดให้ยึดถือ ดั่งสายลมที่พัดผ่าน ดั่งคลื่นทะเลที่ซัดสาด ดั่งเปลวไฟที่ลุกโชน ดั่งแผ่นดินที่แผ่กว้าง ดั่งอากาศที่เป็นช่องว่าง ดั่งใจที่ไม่มีสภาวะที่เป็นตัวเป็นตน

ดังนั้นการกำหนดธรรมเริ่มจากเบาไปหาหนัก

ในทางกรรมฐาน เริ่มจากการกำหนดฐานจิต เมื่อกำหนดฐานจิตได้ จึงกำหนดตัวบริกรรมในที่นี้ คือ พุทโธ จากนั้นก็หล่อหลอมคำบริกรรม ลงไปรวมในฐานจิต เมื่อรวมในฐานจิตได้ อำนาจสมาธิก็จะเริ่มเกิดเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่ สัทธา ปราโมทย์ ฉันทะสมาธิ ปีติ ยุคลธรรม สุข ไปตามลำดับนั่นเอง

ขอให้ท่านทั้งหลาย รู้จักกำหนดธรรม ให้ต่อเนื่อง ให้สมกับความเป็นศิษย์เชี่ยวชาญในการฝึกฝนกรรมฐาน ไปพร้อมๆ กัน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๔ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๑.๓๐ )
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2020, 01:36:51 am »
0
วันที่ ๔ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๑.๓๐ )

วันนี้เพราะไม่ได้หลับมาตั้งแต่เมื่อวาน พยายามทำการกำหนดธรรม ต่อเนื่อง แต่ในที่สุดสภาพสังขาร ก็เลยต้องมาหลับ ตอน หกโมงเย็น ตื่นอีกครั้ง ก็เที่ยงคืน เมื่อตื่นแล้วก็ทำกิจวัตร ส่วนตัวประจำก่อน แล้วก็เริ่มมาทำการบันทึกกว่าจะทำกิจส่วนตัวเสร็จ ก็ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง จึงมาทำบันทึกได้

ดังนั้นในวันนี้ ก็จะเป็นการฝึกเข้าสมาธิ เป็นช่วง

การฝึกเข้าสมาธิ ก็จะมี ตั้งแต่ กำหนดพระลักษณะ พระรัศมี กำหนดปีติ กำหนดยุคลธรรม กำหนดพระสุข แล้วเข้าพระสุขสมาธิ กับ อุปจาระสมาธิ สำหรับวันนี้ ก็จะทำการทบทวน กลับไป กลับมาอย่างนี้ สัก ประมาณหลายๆ รอบ ก็ยังไม่รู้ว่าได้สักกี่รอบ ก็จะเริ่มทำประมาณ ตีสี่ ขึ้นไป

ก็ขอให้ทุกชีวิต จงมีความสุข อยู่รอด ปลอดภัยทุกท่านทุกคน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2020, 09:15:37 am »
0
วันที่ ๔ ( ๙ ก.ค. ๖๓ )
-------------------------------------
ก่อนเข้ากรรมฐาน ให้ทำการทบทวนปัญญา ทางธรรมด้วยการมองขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ เป็นที่บอกาย สามส่วน

๑ กายธาตุ ประกอบ ด้วย มหาภูตรูป ๔ มี ดิน ไฟ น้ำ ลม รวมเรียกว่า รูปขันธ์ สำหรับกายนี้ มนุษย์ ก็คือ กายเนื้อ

๒.กายธรรม ประกอบ ด้วย นามธรรม ๓ มี เวทนา ( รู้สึก ) สัญญา ( จำ ) สังขาร ( คิด ) สามประการนี้เรียกว่า กายธรรม เป็นที่เกิด ที่ดับ นามธรรม กุศล อกุศล เกิดขึ้นด้วยกายธรรม

กายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ สามกายนี้ เป็นกายธรรม

๓.กายวัฏฏะจักร หรือ ภาษา เรียกว่า กายจิต ในที่นี้หมายถึง วิญญาณ ( รับรู้ ) ตัว วิญญาณ เป็นตัวรู้ขันธ์ ทั้งหมด กายที่บรรลุ อยู่ในกายวัฏฏะจักร ภาษากรรมฐาน เรียกว่า กายอริยะ

กายอริยะ มี ๔ กาย แบ่งออกเป็น ๘ ระยะ มีสองส่วน
สองส่วนมีดังนี้
๑ กายมรรค
๒ กายผล
มีปรากฏในโลกนี้ และ ในอนันตจักรวาล ไปตามสัดส่วน

กายบรรลุ ชื่อว่า กายนิพพาน
กายนิพพาน ทางกรรมฐาน ไม่ถือว่าเป็นกาย ไม่สามารถระบุอะไรได้ เพราะไม่อาศัยขันธ์ ต่อไป ไม่มีการเกิด ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีที่ระบุ เหมือน หายไปจาก อนันตจักรวาล

สำหรับกายนิพพาน เป็น กายสุดท้ายของอริยะ
ดังนั้น การบำเพ็ญภาวนา ของ บุคคลทุกคนก็เพื่อจะได้กาย ต่าง ๆ ไปตามลำดับ พอจะสรุปได้ดังนี้

๑.กายเนื้อ เรียกว่า กายกำเหนิด การได้กายเนื้อนี้ต้องบำเพ็ญกุศล ทาน ศีล 2 อย่าง คนจะดำ ขาว เตี้ย สูง สวย ไม่สวย กายเนื้อ เป็นที่ระบุของกุศล และ อกุศล ทำอกุศลมาก กายเนื้อก็ชั่ว พิกล พิการ ไม่สวย ขี้เหร่ เป็นโรค เบียดเบียน เป็นต้น ถ้าสร้างกุศล กายก็งดงาม ดังนั้นกายเนื้อ เป็นกายที่อาศัยกุศล และ อกุศล เป็นผู้ปรุงแต่ง

๒. กายหยาบ เรียกว่า กายธรรมเริ่มต้น เป็นกายที่มีการฝึกฝนด้านเนื้อหาทางจิต หรือ การทำใจให้สงบ กายหยาบ นี้จัดเป็นระดับสมาธิ ขณิกะสมาธิ ผู้ฝึกฝน หรือ ผู้ได้สมาธิขั้นต้น ชื่อว่าได้ กายหยาบ กายหยาบ จัดเป็นกายกุศล และ อกุศล เพราะอาศัย นันทิ ( ความเพลิดเพลิน ) เป็นกำเนิดให้จิตอยู่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้นในกายหยาบนี้จึงไม่สามารถเข้าไปบรรลุธรรมได้

๓.กายละเอียด เรียกว่า การธรรมขึ้นกลาง เป็นกายที่เกิดจากการฝึกฝนทางด้านจิตโดยตรง กายนี้เป็น อุปจาระสมาธิ ดับนิวรณ์ ๕ ได้ ชั่วระยะหนึ่ง มีปรากฏในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้บ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น ผู้ที่ได้กายละเอียด สามารถเข้าไปบรรลุธรรม เป็นอริยะบุคคลประเภท ปัญญาวิมุตติ ตั้งแต่ โสดาบัน จนถึง อรหันต์

กายละเอียด เป็นกายเทวดาได้

๔.กายทิพย์ เรียกว่า กายสมาบัติ เป็นกายวิเศษแตกต่างจากกายทั้ง 3 ข้างต้น ผู้ที่ได้กายนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า กายโอปปาติกะ

กายทิพย์นี้ เป็น พรหม เท่านั้นไม่ตกต่ำกว่านี้เพราะการประกอบกายนี้เกิดได้ด้วยการดับกิเลส หรือ นิวรณ์ ชั่วคราวดังนั้นกายทิพย์ จึงมีคุณสมบัติตรง ๆ ที่กายพรหม

กายพรหม เกิดขึ้นได้ในสมาบัติ ผู้ที่เข้าสมาบัติ หมายถึง สมาบัติ ๔ และ สมาบัติ ๘ สามารถ นิรมิตถอดกายทิพย์ จาก กายเนื้อ ได้ในขณะที่มีชีวิตบนโลกมนุษย์

สรุป กายทิพย์ เป็น อัปปนาจิต เท่านั้น

๕.กายอริยะอรหันต์ปัญญาวิมุตติ เป็นกายของผู้ที่ได้อุปจาระสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๑๐ ด้วยปัญญา ละทิ้งด้วยปัญญา

( หมายเหตุ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี แบบปัญญาวิมุตตินั้นไม่มี เพราะผู้บรรลุแบบปัญญาวิมุตติ มีเพียง อรหันต์เท่านั้น )

๖.กายอริยะโสดาบัน เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๓ ประการ

๗.กายอริยะสกทาคามี เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๓ ประการ และ สังโยชน์ อีก สองประการเบาบางลง เกือบหมดจด

๘.กายอริยะอนาคามี เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๒ ประการ

๙. กายอริยอรหันต์ เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๕ ประการ

๑๐. กายนิพพาน เป็นกายละอัตภาพของทุกกายของผู้ที่เป็น อรหันต์

ดังนั้นถ้าตั้งเป้าหมาย ด้วย กาย ก็จะทำให้รู้ว่า เราควรภาวนาอะไร ตรงไหน และศึกษาอะไร ข้อจำกัดของแต่ละกาย ก็จะทำให้ผู้ที่ภาวนา ไม่สะเปะสะปะ ภาวนาเรื่อยเปื่อย ซี้ซั๊วะไปเรื่อย

ดังนั้นผู้ที่ภาวนาจึงจำเป็นต้องกำหนดขันธ์ ๕ แล้ว ขันธ์ ๕ ก็จะพาเข้าไปกำหนดกาย แต่ละกายให้รู้ภาระหน้าที่ในการภาวนา นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๕ ( ๑๐ ก.ค. ๖๓ ๐๓.๕๑ )
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2020, 03:58:47 am »
0

วันที่ ๕ ( ๑๐ ก.ค. ๖๓ ๐๓.๕๑ )
-------------------------------------
เริ่มเข้าสมาธิ โดยกำหนดแค่เข้ากายหยาบ และ กายละเอียด

กายหยาบ คือ ขณิกะสมาธิ
กายละเอียด คือ อุปจาระสมาธิ

ขั้นตอนการเข้ากรรมฐานใช้ พุทธานุสสติ กรรมฐาน

เข้าด้วยวิธีการ ขณิกะสมาธิ ใช้อานาปานสติ คู่ที ๑ และ ๒ เมื่อจิตเพลิดเพลินกับลมหายใจระดับ สูงสุดแล้ว ก็หยุด อธิษฐาน เข้า พุทธานุสสติกรรมฐาน

การเข้าพุทธานุสสติกรรมฐาน ใช้ วิธีการ มัชฌิมา แบบลำดับ
กำหนดเข้าพระลักษณะ ก่อน จนครบองค์ แห่ง พระธรรมปีติ แล้วจึงเปลี่ยน เป็น พระรัศมี พระธรรมปีติ

สำหรับวันนี้ทำแค่ พระธรรมปีติ เท่านั้น ถึงแม้จะดูขั้นตอนว่าสั้นๆ แต่ การเข้าขณิกะสมาธิ ด้วยลมหายใจเข้าออก ก็ใช้เวลาไป ตั้งแต่ ๒๒.๐๐ จนถึง ๐๓.๓๐ น. ซึ่งหลังจากนี้ก็จะเป็นการเข้าสมาธิ แบบ อุปจาระสมาธิ ในพระธรรมปีติ ทั้งสองส่วน คือ พระลักษณะ และ พระรัศมี ชึ่งคาดการณ์ว่า จะออกจากสมาธิ ก่อน ๑๑.๐๐ น. วันนี้ จะเริ่มเข้า ๐๔.๑๕ น.

ใครจะทำไปควบคู่ กับ พอจ ก็เชิญ ถ้ายังไม่พร้อม ก็เจริญสวดคาถา กันไปก่อน ก็ได้

ขอให้ทุกชีวิต จงมีความสุข

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๕ ( ๑๐ ก.ค. ๖๓ ๑๑.๓๐ )
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2020, 12:11:44 pm »
0
ออกกรรมฐาน ครั้งแรก เวลา 11.30 น. เพื่อฉันภัตร หลังจากฉันเสร็จแล้ว ก็จะเข้าต่ออีก สักประมาณ 4- 5 ชม

ตอนนี้ก็พักผ่อน อิริยาบถ ปวดเมื่อยตัวพอสมควรไม่ได้ทำมานาน รู้สึกายอึดอัด ยิ่งขึ้นเพราะอาพาธรัดตัว

เจริญธรรม / เจริญพร

เป็นการเข้ากรรมฐานครั้งที่ ๑ แบบลำดับ พระธรรมปีติ อนุโลม ปฏิโลม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2020, 05:54:19 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๕ ( ๑๐ ก.ค. ๖๓ ๑๗.๓๐ )
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2020, 05:52:32 pm »
0
ออกกรรมฐาน ครั้งที่สอง เวลา 17.30 น. เข้า กรรมฐาน 13.30 น. 4 ชม ก็ขัดยอกพอได้ ก็จะพักผ่อนแล้ว สำหรับวันนี้เป็นการสตาร์ทแบบเบาๆ ในฐานะ ครูอาจารย์

สำหรับกรรมฐาน วันนี้เป็น การเข้าอนุโลม ปฏิโลม พระธรรมปีติ ส่วนพระลักษณะ และ พระรัศมี สองประการ

ก็มีติดขัดไปตามเวทนา ที่อาพาธอยู่บ้าง แต่ก็สามารถยังตั้งองค์กรรมฐานได้ จนจบ

เจริญธรรม / เจริญพร

เป็นการเข้ากรรมฐานครั้งที่ ๒ แบบลำดับ พระธรรมปีติ อนุโลม ปฏิโลม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2020, 05:54:35 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๖ ( ๑๑ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๓๐ )
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 05:22:05 am »
0
วันที่ ๖ ( ๑๑ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๓๐ )

-----------------------------------------
อธิษฐาน เข้า ยุคลธรรม อนุโลม ปฏิโลม พระลักษณะ และ พระรัศมี ทบทวนกลับไป กลับมา

แล้วทำการหยุดไว้ที่ หทัยวัตถุ แล้วกำหนด กายตรง จิตตรง
กายตรง หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร ตรงต่อ พุทโธ
จิตตรง หมายถึง วิญญาณ ตรงต่อ พุทโธ

เวทนา สัญญา สังขาร ชื่อว่า กายหยาบ
วิญญาณ ชื่อว่า จิตหยาบ

การรับรู้ กายหยาบ และ จิตหยาบ มีได้ใน อุปจาระสมาธิขั้นกลาง

เมื่อรับรู้ ทั้งกายหยาบ และ จิตหยาบ จึงทำกาย และ จิตนี้ให้ตรง ต่อ พุทโธ

วางจิตไว้ที่ หทัยวัตถุ พร้อมนิมิต ที่ปรากฏ แล้วดำเนินจิตโคจร เตรียมไว้สำหรับ เข้า พระสุขสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล. สำหรับวันนี้ คงทำหยุดไว้แค่ ยุคลธรรมคู่สุดท้าย เพื่อรองรับ พระสุขสมาธิ ในวันต่อไป นับเป็นการเข้ากรรมฐาน ครั้งที่ ๓ ซึ่งวันนี้จะทำการทบทวน ๓ รอบ ๆ ละ 4 ชม ซึ่งกระบวนการรอบที่ ๑ ได้เริ่มทำ เที่ยงคืน จบ ตี ๔

รอบที่ ๒ จะเริ่มทำประมาณ เที่ยง จบ ก่อน ห้าโมงเย็น
รอบที่ ๓ จะเริ่มทำประมาณ ทุ่ม จบก่อน เที่ยงคืน

สรุปวันนี้อาจจะไม่ได้นอนเลย แต่ร่างกาย อาพาธ ก็ยังเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง ดูวาระและ โอกาส ถ้าขัดขวางมาก ก็ลดเหลือ ๒ รอบ งดรอบที่ ๓ ไป
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 05:27:58 am »
0
อธิบาย คำว่า กายตรง จิตตรง

กายตรง จิตตรง เป็นขั้นสุดท้ายใน พระยุคลธรรม

กายตรง จิตตรง หมายถึง กายหยาบที่กำลังจะเป็น กายพุทธะ

กายพุทธะ ก็คือกายธรรม เป็นกายที่เป็นสมาธิที่ประกอบด้วย ญาณธรรมในสายพุทธ มีความรู้ มีปัญญา มีจิตตรงไปที่ ศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าและมีความปรารถนา เพื่อจะนิพพานด้วย

ดังนั้นหากจิตไม่เคารพ พระพุทธเจ้า กายตรง จิตตรงก็มีไม่ได้
และจิตไม่มีความปรารถนาใน นิพพาน กายตรง จิตตรงก็มีไม่ได้เช่นกัน

สรุป ต้องมีความเคารพ เลื่อมใส ในคำบริกรรม พุทโธ เลื่อมใสเคารพอย่างถึงที่สุด กายพุทธะ จึงจะปรากฏ

และ มีความปรารถนา นิพพาน ( ในที่นี้หมายถึง ความสิ้นจากกิเลส หรือ ไม่อยากเกิดต่อไป ) จิตพุทธ จึงจะปรากฏ

ดังนั้น กายตรง ไปสู่ กายพุทธะ
จิตตรง ไปสู่ จิตพุทธะ

ถ้าได้กายตรง จิตตรงแล้ว  พุทโธ ก็จะรวมลงไป ในสมาธิ สำเร็จ ธรรมขั้นต้น ได้สุขสมาธิ ที่เรีกยว่า มูลพุทธคุณัง หรือ กายจิตพุทธะ นั่นเอง

อธิบายพอให้เห็นภาพ ทุกคนต้องปฏิบัติจึงจะเห็นจริง

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๖ ( ๑๑ ก.ค. ๖๓ ๑๗.๐๐ )
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2020, 05:16:12 pm »
0
วันที่ ๖ ( ๑๑ ก.ค. ๖๓ ๑๗.๐๐ )

=======================
เข้ากรรมฐาน บ่ายโมง ออกกรรมฐาน สี่โมงครึ่ง รวม 4 ชม กว่าๆ การเข้ากรรมฐานครั้งนี้ นับเป็นครั้ง ที่สี่ ภายใน สองวันนี้

การเข้ากรรมฐาน เข้าตั้งแต่ สัมปยุต ศูนย์นาภี หทัยวัตถุ แล้ว เข้ายุคลธรรม คู่สุดท้าย กายตรง จิตตรง ( กายุชุกตา จิตตุชุกตา ) การเข้าพระยุคลธรรม ก็เพื่อเรียนสภาวะ ที่กำลังจะเป็นสุข แต่ความเป็นจริง หมายถึงการทำความเข้าใจ กับคำว่า กายพุทธะ มากกว่า

กายพุทธะ จะมีได้ใน ห้อง พระสุขสมาธิ ซึ่งจัดเป็นลำดับที่ สิบสาม

สำหรับ หัวค่ำนี้ก็งดการเข้ากรรมฐาน ต่อเนื่องในครั้งที่ ห้า ลงเพราะสุขภาพไม่ค่อยดี เป็นที่ทรมานสังขาร พอสมควรเนื่องด้วยกรรมฐานที่ทำอยู่ตอนนี้ไม่ได้เป็น สภาวะอัปปนาจิต จึงรับรู้เวทนาที่เกิดดับ อย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถยับยั้งเวทนาได้ จึงเห็นว่า ในรอบที่ห้าต้องงดไป เพราะสภาวะอารมณ์ พระยุคลธรรมนั้นได้ แล้วตั้งแต่ตอนเช้า รอบที่สอง ของวันนี้จึงถือว่าเป็นการทบทวนอารมณ์ กรรมฐาน เท่านั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๐๐ )
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 05:13:39 am »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๐๐ )

==========================
๑.การกำหนดธรรม
๒.การเข้าพระสุขสมาธิลำดับ ที่ ๑
๓.สิ่งที่สุขสมาธิต้องการ ก่อนที่ต้องมี

๑.การกำหนดธรรม
ในพระสุขสมาธิ มีธรรม ๒ อย่างแต่ไม่ใช่แก่น เมื่อผู้ฝึกได้เข้าสุขสมาธิ ต้องทำ ธรรม ๒ อย่างนี้ให้ดับลง หรือ ให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อรวมได้จึงชื่อว่า ได้ ธรรม หรือ มัชฌิมา หรือ มรรค นั่นเอง

ธรรม ๒ อย่างปรากฏตั้งแต่ พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม แล้ว แต่ผู้ฝึกส่วนใหญ่ ไม่ได้มุ่ง วิปัสสนาตามมา หรือ ไม่ได้ใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่ประจักษ์ ในสภาวะของ ปีติ และ กายสุข จิตสุข จึงทำให้ไม่ได้ประจักษ์ สถานะการบรรลุธรรม สองส่วน

ธรรมสองส่วน หรือ ส่วนสอง สามารถหาอ่านได้ ในพระไตรปิฏกแต่ ในกรรมฐานนี้จะไม่ได้บรรยายหรือ ชี้แจง

๒.การเข้าพระสุขสมาธิลำดับ ที่ ๑
การเข้าพระสุขสมาธิในครั้งแรกต้องเข้าสองฐานพร้อมกัน แต่ผู้ฝึกส่วนใหญ่ จะชอบเข้าเพียงฐานเดียวจึงทำให้ไม่มีสิ่งที่ค้านกัน
ดี ไม่ ชั่ว ชั่ว ไม่ต้าน ดี อันนี้สำคัญมาก
พอใจ ไม่ต้าน ไม่พอใจ
ไม่พอใจ ไม่สนับสนุน พอใจ
หนัก ไม่ต้าน เบา
เย็น ไม่ต้าน ร้อน

ดังนั้นผู้ฝึกฐานเดียว จึงไม่เข้าใจ ธรรมสองส่วน และไม่สามารถเข้าถึง มัชฌิมาได้ ตั้งแต่ พุทธานุสสติกรรมฐาน เลยไม่เข้าใจ ทางสายกลาง เลย

ฐานจิต ที่ใช้ในพระสุขสมาธิ มีสองฐาน
ฐานศูนย์นาภี เป็นธรรมสายแข็ง ร้อน หนัก ในที่นี้ให้สถานะเป็นไฟ หรือถ้าเป็นรัศมี คือ สีดำ
ฐานหทัยวัตถุ เป็นธรรมสายอ่อน เย็น เบา ในที่นี้ให้สถานะเป็น น้ำ หรือถ้าเป็นรัศมี คือ สีขาว

ดังนั้นผู้ฝึกต้องอธิษฐาน ฐานจิตสองฐานพร้อมกัน แล้วทำการกำหนดวงกลมสองวงโดยเริ่มจากรัศมีทั้งสองฝั่งหมุนสวนกันจนได้กึ่งกลาง โดยวงกลมสองวงนี้ ต้องหมุนส่วนกัน อันไหน จะซ้าย หรือ จะขวาก็ได้แล้วแต่ตามถนัดวงกลมจะสวนกันด้วยขนาดเดียวกัน แล้วค่อยๆ ยุบจนเหลือแค่สัมผัสกัน

จุดที่วงกลมสัมผัสกัน เรียกว่า มัชฌิมา หรือ มรรค หรือ ฐานตั้งพระสุขสมาธิ

๓.สิ่งที่สุขสมาธิต้องการ ก่อนที่ต้องมี
สิ่งที่พระสุขสมาธิต้องมี คือ นิมิตของ กายตรง จิตตรง

นิมิตกายตรง ใส่ที่ ฐานศูนย์นาภี
นิมิตจิตตรง ใส่ที่ หทัยวัตถุ
ถ้าไม่มี ก็จะไม่สามารถสร้างวงกลมทั้งสองได้

สำหรับวันนี้ พอจ ก็จะเริ่มเข้าสุขสมาธิ ในพระสุขสมาธิโดยปกติ จะเข้าไม่ต่ำกว่า 6 ชม ผู้เข้าต่ำกว่า สันนิษฐานได้ว่า ทำอุปจาระสมาธินั้นยังไม่ได้จริงๆ

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล วันนี้จักเข้ากรรมฐาน เป็นครั้งที่ ๕ คือ พระสุขสมาธิลำดับที่ ๑ ขอให้ทุกท่านที่ตามฝึกมาด้วยกัน ก็ฝึกไปด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 06:46:34 pm »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๓๐ )
=====================
ออกจากรรมฐาน ๑๐.๒๐ เพื่อเตรียมตัวฉันภัตรวันนี้ เข้ากรรมฐานไปในครั้งที่ ๕ ส่วนพระสุขสมาธิลำดับที่ ๑ เป็นเวลา สี่ชั่วโมงครึ่ง

ขอให้ทุกชีวิตจงมีความสุข สุขกาย สุขใจ ทุกท่าน ทุกคนเทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล อาหารสั่งมาส่ง ต้องรอ 30 นาที
อาหารมาส่ง 11.17 น.หลังจากสั่งไปใช้เวลา 30 นาที
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2020, 06:46:54 pm »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๑๗.๓๐ )
=====================

ออกจากกรรมฐาน ครั้งที่ ๖
โดยการเข้าครั้งที่ ๖ เป็นการเข้าพระสุขสมาธิลำดับที่ ๑ เริ่มเข้า หลัง เที่ยงวัน ใช้เวลาประมาณ ๕ ชม. กว่า ๆ

ผลการเข้าพระสุขสมาธิ ทำให้เห็น ดวงนิมิต ฐานจิตท่ามกลาง อย่างชัดเจน ซึ่งในวันพรุ่งนี้ ก็จะเข้า สุขสมาธิ ลำดับที่ ๒ ที่มีชื่อทางการเรียกว่า มัชฌิมา

สำหรับการเข้ากรรมฐาน ในครั้งที่ ๗ นี้ก็จะไปเริ่มเข้าประมาณ ๐๒.๐๐ ของวันที่ ๑๓ ก.ค. ๖๓ สำหรับวันนี้จากนี้ไปก็จะต้องนอนพักผ่อน ผ่อนคลายร่างกายที่อาพาธที่ทนต่อการเข้าสมาธิมา ๖ ครั้งแล้ว แต่ละครั้งก็จะใช้เวลา ๔ - ๖ ชม.

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเจริญกรรมฐาน ตามที่ท่านทั้งหลายได้ฝึกฝนให้คล่องแคล่ว เถิด

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๓๐ )
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 05:00:53 am »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๓๐ )
======================
เข้ากรรมฐาน ๐๐.๑๕
ออกกรรมฐาน ๐๔.๑๕
รวม ๕ ชม
เป็นการเข้ากรรมฐาน สุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
นับเป็นเข้ากรรมฐาน ครั้งที่ ๗ ในพรรษา พ.ศ. ๒๕๖๓
------------------------------------------------

พระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๒

๑.การกำหนด ฐานจิต มัชฌิมา
๒.การเข้าบริกรรม พุทโธ ใน มัชฌิมา
๓.การเข้าธรรม
๔.สิ่งที่ต้องมีก่อนเข้าพระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
๕.วิธีการเข้า พระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
๖.การเข้าธรรมเพื่อบรรลุโสดาบัน

๑.การกำหนด ฐานจิต มัชฌิมา
ฐานจิต มัชฌิมา เป็นฐานธรรม ที่อยู่ใกล้เคียงกับ กับ โอกกันติกาปีติ แต่ไม่ใช่ โอกกันติกาปีติ ถ้าเทียบกายเนื้อก็ใกล้เคียง ถ้าเทียบกายธรรม ก็จะห่างกันหลายลำดับ

ฐานจิต มัชฌิมา เป็นฐานบรรลุ ในวิชา พุทธานุสสติ กรรมฐาน เป็นฐานใกล้ ๆ จบแล้ว เหลือเพียง ๑ ลำดับ ก็จบ พุทธานุสสติ กรรมฐาน

การเกิดของฐาน เกิดจาก หมุน กายตรง จิตตรงให้เกิดการสัมผัส ดังนั้น ฐานจิตปรากฏ เพราะขันธ์ ๕ ปรากฏหมุนทำงานโดยธรรม โดยโคจร แล้วเกิด กายพิเศษ ( กายละเอียด )

กายพิเศษนี้ เป็นกายธรรมอันดับแรก ภาษากรรมฐาน เรียกว่า กายปฐมมรรค เป็นที่เติมเต็ม ธรรมชื่อว่า โสดาบัน จนถึง อรหันต์ เป็นที่เรียนรู้ ธรรมปรมัตถ์ ในเจโตวิมุตติ แม้การเข้าผลสมาบัติ จนถึงสภาวะธรรม ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ต้องกระทำที่ ดวงปฐมมรรค ทั้งสิ้น

การกำหนด ฐานจิต มัชฌิมา จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ

๒.การเข้าบริกรรม พุทโธ ใน มัชฌิมา
ในดวงปฐมมรรค ก็ยังต้องบริกรรม พุทโธ อยู่เช่นเดิมแต่การบริกรรม เป็นการบริกรรม ที่ไม่เหมือนในพระธรรมปีติ พระยุคลธรรม

ในพระธรรมปีติ บริกรรม พุทโธ เกิดจากการคิดของผู้ภาวนา
ในพระยุคลธรรม บริกรรม พุทโธ เกิดจากความต้องการทางจิตของผู้ภาวนา
ในพระสุขสมาธิ บริกรรม พุทโธ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของผู้ภาวนา ไม่หลงลืมในการภาวนา

๓.การเข้าธรรม
สำหรับผู้ที่ต้องการบรรลุ เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ปัญญาวิมุตติ ต้องมีการเข้าธรรม ที่นี่
ส่วน สายเจโตวิมุตติ จะเข้าธรรมเพียง โสดาบัน เท่านั้น เพราะพุทธานุสสติ สำหรับเจโตวิมุตติ เป็น เพียงอุปจาระสมาธิเท่านั้น

๔.สิ่งที่ต้องมีก่อนเข้าพระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
สิ่งที่ต้องมีในการเข้า พระสุขสมาธิลำดับที่ ๒ ก็คือ ดวงปฐมมรรค นั่นเอง

๕.วิธีการเข้า พระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
๑.เมื่อฐานปฐมมรรค ปรากฏ ให้ทำการสัมปยุต พุทธคุณ ลงดวงปฐมมรรค จนดวงปฐมมรรค มีความสว่างไสว ผู้ภาวนาจะเข้าใจในปริมาณของความสว่างไสวเอง
๒.หายใจลึก ๆ อั้นไว้ ให้นานที่สุด แล้วปล่อยลมหายใจออก ทำ ๓ ครั้ง จากนั้นเริ่มบริกรรม พุทโธ

๖.การเข้าธรรมเพื่อบรรลุโสดาบัน
๑.ทำการอธิษฐาน เข้าธรรม ๓ ครั้ง แล้วหยุดบริกรรม พุทโธ
๒.กำหนดจิตเข้าดวงปฐมมรรค แล้วใช้คำภาวนา ตั้งแต่ พระธรรมปีติ อันใดก็ได้ บริกรรมลงไป เรื่อย ๆ ตามสมควร เมื่อจะบบรรลุ จะเกิดสภาวะกดดันทางจิต ผู้ภาวนาจะรู้เห็นอย่างขาด ละสังโยชน์ ได้ ๓ อย่าง บรรลุเป็นโสดาบัน ได้เหมือนอย่างฟังธรรมเข้าใจ สภาวะนี้ ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ แต่ สภาวะนั้น ผู้ภาวนาจะเข้าใจเอง เมื่อบรรล ดวงปฐมมรรค จะมีแสงสว่างจ้า เกิดขึ้น แล้วเปลี่ยนเป็นธรรมจักร มี 4 ก้าน สำหรับโสดาบัน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 11:02:18 am »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๒๐ )
======================
เข้ากรรมฐาน ๐๕.๐๐
ออกกรรมฐาน ๑๐.๑๕
รวม ๖ ชม
เป็นการเข้ากรรมฐาน สุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
นับเป็นเข้ากรรมฐาน ครั้งที่ ๘ ในพรรษา พ.ศ. ๒๕๖๓
==================================

ออกกรรมฐาน เพื่อเตรียมตัวฉันภัตร

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 11:02:31 am »
0
ถาม พอจ จะอธิบาย รายละเอียดวิธีการเข้ากรรมฐาน ไปจนจบพรรษา เลยใช่หรือไม่ครับ

ตอบ จะอธิบายแค่พระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๓ เท่านั้นต่อไปก็คงจะไม่ได้บรรยายวิธีการอะไรเพิ่มเติม เพราะบรรยายไปคนก็ไม่เข้าใจ เนื่องด้วย นิมิตปรมัตถ์ ถ้าไม่ได้มาด้วยแล้วอธิบายอย่างไร ก็ไม่เข้าใจ

ดังนั้น จะบรรยายวิธีการไว้แค่ พระสุขสมาธิขั้นสุดท้าย เท่านั้น ซึ่งหัวข้อมันออกจะเป็นการเปิดเผย มากไปสักหน่อย แต่ก็ใส่ไว้เผื่อผู้มีวาสนา ในทางกรรมฐาน ที่ไม่ได้คิดจะขึ้นครู ยกถาดเป็นศิษย์ ไม่ได้เคารพกันได้ไว้ฝึกเป็นแนวทาง บ้างเท่านั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2020, 06:04:28 pm »
0
วันที่ ๗ ( ๑๒ ก.ค. ๖๓ ๑๘.๐๐ )
======================
เข้ากรรมฐาน ๑๒.๓๐
ออกกรรมฐาน ๑๘.๐๐
รวม ๕ ชม
เป็นการเข้ากรรมฐาน สุขสมาธิ ลำดับที่ ๒
นับเป็นเข้ากรรมฐาน ครั้งที่ ๙ ในพรรษา พ.ศ. ๒๕๖๓
==================================

ออกกรรมฐาน เพื่อเตรียมตัวพักผ่อน ฉันปานะแล้วก็จะหลับแล้ว

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2020, 06:13:16 am »
0
วันที่ ๘ ( ๑๔ ก.ค. ๖๓ ๐๖.๐๐ )
======================
การเข้าพระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๓

พระสุขสมาธิ ลำดับที่ ๓ นั้น แท้ที่จริง ก็เป็นการเข้าธรรมโดยตรง สำหรับขั้นแรก เป็นการทบทวน สังโยชน์ ๓

ดังนั้นพระสุขสมาธิ จึงเป็นกึ่งวิปัสสนา แต่ ไม่ใช่วิปัสสนา เพราะผู้เข้าพระสุขสมาธินั้น แค่เพียงตรวจผลการภาวนา ซึ่งโดยพื้นฐาน แล้ว ก็เป็นการเข้า ผลสมาบัติ

การเข้าผลสมาบัติ มีได้เพราะว่า ผู้ฝึกภาวนาบรรลุธรรมเป็น โสดาบันฝ่ายเจโตวิมุตติ

--------- หมายเหตุ ----------------
ฝ่ายปัญญาวิมุตติ โสดาบัน สกทาคามี และ อนาคามี นั้นไม่มี ปัญญาวิมุตติ มีแต่เพียง อรหันต์ เท่านั้น
----------------------------------------------------------
การเข้าผลสมาบัติ ของ โสดาบัน จัดเป็น ปัจจเวกขณญาณ
คือการทบทวน กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ แล้วเข้า อุเบกขา เป็น ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ( การวางเฉยเพราะละกิเลส )

เข้าอย่างไรนั้น ทำดังนี้
๑.ให้อธิษฐาน เข้าผลสมาบัติ ถ้าไม่มีผลสมาบัติ ( หมายถึงยังไม่บรรลุ) ให้อธิษฐานเข้า อุปจาระสมาธิ แทน
๒.กำหนดดวงนิมิต สำหรับผู้บรรลุ จะเห็นเป็นธรรมจัก 4 แกน
ผู้ไม่บรรลุจะเห็นเป็นดวงแก้ว สีขุ่น หรือ ใส่ ประมาณนี้
๓.กำหนดธรรมสภาวะที่ละได้ ( จะเกิดขึ้นมาใจกำหนดเอง )
ส่วนผู้ไม่บรรลุก็กำหนดธรรม คือ ผลสมาธิแทน

สำหรับโสดาบัน และ ผู้ยังไม่บรรลุ ก็มีกิจเพียงเท่านี้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 08:12:35 am »
0
วันที่ ๘ ( ๑๔ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๐๐ )

จะเริ่มเข้าพระสุขสมาธิ ลำดับ ๓
ตั้งแต่ ๑๐.๐๐ ถึง ๑๘.๐๐ รวม ๑๐ ชม

แผ่กุศล ธรรมสมาธิ ให้แก่ผู้สนับสนุน ธรรมทานทุกท่าน ได้รับผลแห่งการภาวนา ครั้ง นี้

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล. ยังไม่รู้ว่า สภาพกายจะไหวหรือป่าว ก็ต้องดูผลกันอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 08:12:58 am »
0
วันที่ ๘ ( ๑๔ ก.ค. ๖๓ ๑๘.๓๐ )
เข้ากรรมฐานเวลา ๑๐.๑๐ น.
ออกจากกรรมฐาน เวลา ๑๘.๒๐ น.
รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น ๑๑ ชม.

อุทิศกุศลภาวนาให้แก่ ผู้ที่สนับสนุนการภาวนา ทุกท่านทุกคนเทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล.ร่างกายดูไม่ค่อยจะไหวแต่ก็ยังสามารถเข้ากรรมฐานต่อเนื่อง ได้ อันที่จริงจะทำ ๑๒ ชม แต่คิดว่า เท่านี้ก่อนดีกว่าไม่ได้นั่งต่อเนื่องมาอย่างนี้นานหลายเดือนเพราะสุขภาพไม่ดี จึงคงจำนวนเวลาไว้เพียงเท่านี้ก่อน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๙ ( ๑๕ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 08:13:37 am »
0
วันที่ ๙ ( ๑๕ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )

======================
สำหรับวันนี้ก็หยุดพักการเข้ากรรมฐาน เพื่อเตรียมตัวเข้ากรรมฐาน ๒๔ ชม
เป็นการเข้ากรรมฐาน ปฐมฌาน อานาปานสติ

จะหยุดพัก ๑ - ๒ วัน ตามสภาพกาย
ก็ยังไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ ก็ต้องดูสภาพร่างกายก่อน

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2020, 06:23:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๒ ( ๑๘ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 08:14:01 am »
0
วันที่ ๑๒ ( ๑๘ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )

========================
เข้ากรรมฐาน วันที่ ๑๑ ๑๗ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๐๐ น
ออกกรรมฐาน วันที่ ๑๒ ๑๘ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๑๐ น.

รวมเข้ากรรมฐาน ประมาณ ๒๖ ชม

การเข้ากรรมฐานครั้งนี้จัดเป็นการเข้ากรรมฐาน ครั้งที่ ๑ ด้วยอัปปนาสมาธิ ขึ้นปฐมฌาน อานาปานสติ

ผลการเข้าสามารถ ทำกรรมฐานได้อยู่ แต่ร่างกาย โดยรวมไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีส่วนที่ขัดข้อง เช่นอาการปวดหลังด้านซ้าย ปวดตุ๊บๆ ตลอด แม้ออกกรรมฐาน ก็ยังปวดอยู่

แต่อย่างไรก็ทำได้ สำเร็จตามมุ่งหมาย แต่ทำให้ไม่ค่อยมั่นใจ ระดับ ๓ วันเลย เพราะถ้า ๑ วันอย่างนี้แล้ว ๓ วันน่าจะลำบากด้วยอาพาธ ขึ้น

อุทิศกุศลนี้ให้กับผู้สนับสนุน ในการทำกรรมฐาน บำเพ็ญภาวนาในช่วงพรรษานี้

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2020, 06:23:06 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๓ ( ๑๙ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 08:14:22 am »
0
วันที่ ๑๓ ( ๑๙ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๐๐ )

========================

สำหรับ วันนี้ก็พักการเข้ากรรมฐาน ดูสถานะร่างกายก่อน ไม่ได้เข้ากรรมฐาน ด้านสมาธิ แต่เปลี่ยนเป็น เข้ากรรมฐานด้านวิปัสสนาแทน พิจารณาธรรม + การเข้าอุปจาระสมาธิ บ้าง สลับกัน 5 ชม แล้ว ทำ ธัมมะวิจยะ 2 - 3 ชม สลับกันไปทั้งวัน พักผ่อน เมื่อคืน ตี 3 ตื่น 6 โมงเช้า

ขอให้ทุกชีวิต จงมีความสุข สุขกาย สุขใจ ทุกท่านทุกคนเทอญ

เจริญธรรม/ เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2020, 06:22:41 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๔ ( ๒๐ ก.ค. ๖๓ ๐๖.๑๕ )
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2020, 06:21:27 am »
0
วันที่ ๑๔ ( ๒๐ ก.ค. ๖๓ ๐๖.๑๕ )

========================
สำหรับวันนี้ ก็พักเข้ากรรมฐาน แบบอุปจาระสมาธิ สลับ กับ วิปัสสนา รวม 5 + 3 ทำสองช่วง รวม 16 ชม

เพื่อเตรียมตัวเข้ากรรมฐาน ต่อเนื่อง 3 วัน 3 คืน ( ยังไม่รู้ว่าร่างกายจะไหวไหม เพราะ 24 ชม ก็ดูจะแย่แล้ว )

แต่อย่างไรก็ต้องลองทำ และลองเข้ากรรมฐาน ระยะเวลานานเพิ่มขึ้น สำหรับพรรษานี้ตั้งใจจะทำให้ได้ 5 วัน 5 คืน แบบพรรษาที่แล้ว

ก็ต้องทบทวนร่างกาย และระมัดระวัง สุขภาพที่อาพาธไว้สักหน่อย แต่อย่างไร ในช่วงสองสามวันนี้ ก็จะเป็นการเข้า

อุปจาระสมาธิ 5 ชม. + วิปัสสนา 3 ชม ทำอย่างนี้ไปจนถึงวันที่ 24 ก.ค.63 เนื่องด้วย วันที่ 23 ก.ค. 63 ต้องไป รพ. ตามที่เขานัดไว้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๕ ( ๒๑ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๑๕ )
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2020, 10:42:56 am »
0
วันที่ ๑๕ ( ๒๑ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๑๕ )
=======================

การเข้ากรรมฐาน แม้จะเป็นกิจที่สำคัญ
แต่การบริหารกาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปด้วยกัน ทำให้เกิดความสมดุลย์

การบริหารกาย มีอะไรบ้าง

ปลงผม โกนหนวด สรงน้ำ(อาบน้ำ) ฉันภัตร( กินข้าว) อุจจาระ ปัสสาวะ ซักผ้า ตากผ้า ทำความสะอาดที่หลับ ที่นอน อาวาส(ที่อยู่ ) ดูแลสิ่งรอบตัวให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ หยิบใช้สอยได้สะดวก ได้ง่าย เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่า กายบริหาร

ดังนั้นไม่ใช่ มัวแต่เข้ากรรมฐาน ก็ไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง
กิจวัตรพวกนี้ พอจ ทำวันหนึ่ง เฉพาะการทำความสะอาดสถานที่อยู่ ก็ 1 - 2 ชม แล้ว รวม ๆ เบ็ดเสร็จ ทำกายบริหารประจำวัน ก็ต้องใช้เวลา 5 - 8 ชม ต่อวัน

วันนี้ซักผ้าห่ม กว่าจะซักเสร็จ ตากเสร็จก็ 2 ชม. แต่ว่ามันไม่ได้ซักบ่อย เดือนหนึ่ง สองเดือน ซักครั้ง พอระลึกถึงกลิ่นของผู้ใช้แล้ว มันสะอิดสะเอียน ก็ซักครั้ง

ยิ่งเป็นผู้พิจารณากาย ยิ่งทำบ่อย เพราะจิตมันจะสะอิดสะเอียน ต่อความสกปรก สิ่งปฏิกูลเป็นอย่างมาก แม้กายที่เน่าเหม็น ตอนที่มันรังเกียจ อาบน้ำเป็นสิบหน เพราะมันได้กลิ่น เห็นภาพแล้วมันสะเทือนใจ สะเทือนเข้าไปข้างในว่า แม้แต่กายเรา ก็ไม่ต่างอะไรกับซากศพที่เดินได้ นี่ผลจากการภาวนากรรมฐานด้านกาย มันรังเกียจแม้กระทั่งตัวเอง ไม่ได้เห็นตัวเองงดงาม อะไรเลย

การที่เราจะละความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ของผู้อื่นได้ มันก็ต้องรังเกียจกายตัวเองเสียก่อน ถ้าไม่รังเกียจ มันก็จะเห็นกายของผู้อื่นสวยงามอยู่ ทำให้หลงใหลได้ นี่ในระดับ อนาคามี มันเป็นอย่างนี้เลย รังเกียจกายตน แล้วจะไปหลงกายผู้อื่น นั้นเป็นไปไม่ได้

เข้าใจอารมณ์ของพระภิกษุ 500 ที่ ทำอสุภกรรมฐาน แล้วไปฆ่าตัวตาย จ้างคนอื่นฆ่า กัน ก็เพราะเหตุนี้ จิตมันไม่เกาะในรูปกายแล้ว มันก็ไม่ไยดี กายเป็นเพียงซากศพเน่าเปื่อย จิตมันจะเห็นอย่างนั้นตลอดเวลา นับว่ากรรมฐานทำมาถูกทาง เพราะอย่างนี้ถึงจะได้เป็น อนาคามี แต่อย่างไรก็ต้องทำกรรมฐานคู่ปรับมาด้วย มันถึงจะละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด

สรุป การทำกรรมฐาน ก็ทำไป การทำบริหารกาย ถ้าไม่ได้เข้าระยะเวลายาวนาน ก็ต้องคู่ไปด้วยเช่นกัน เพื่อความเป็นอยู่ผาสุขนั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล ตอนนี้เข้ากรรมฐาน อุปจาระสมาธิ 5 ชม + วิปัสสนา 3 ชม ทำ 2 ครั้ง ต่อวัน เท่ากับ 2 กะ ( 16 ชม ) ที่เหลือเป็นเวลาพักผ่อน และ กายบริหาร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๖ ( ๒๒ ก.ค. ๖๓ ๐๙.๒๐ )
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2020, 09:53:12 pm »
0
วันที่ ๑๖ ( ๒๒ ก.ค. ๖๓ ๐๙.๒๐ )

========================
สำหรับวันนี้ ก็ยังพยายามรักษา การเข้าสมาธิ อุปจาระสมาธิ 5 ชม + วิปัสสนา 3 ชม ก็ต้องเข้าอย่างนี้ รวม 16 ชม ต่อวัน จนกว่า จะไป รพ. เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

สำหรับการเข้า อุปจาระสมาธิ ก็เป็นการเข้า พระสุขสมาธิ ขั้นเต็มในขั้นสุดท้าย แล้วออกมา ทำวิปัสสนา

การทำวิปัสสนา เป็นการลดภาระ การอยู่กับที่มากเกินไป ทำวิปัสสนา ก็พิจารณาไปในกาย ส่วนใหญ่

สำหรับการพิจารณา วิปัสสนา นั้น ก็เป็นเพียงแค่ การไตร่ตรองธรรม เท่านั้น เพราะไม่มีการรู้แจ้ง การรู้แจ้งได้รู้แล้ว ดังนั้นการทำวิปัสสนา เป็นเพียงการดูรู้ เกิด ดับ เท่านั้น เป็นสภาวะที่รู้แล้ว หรือเป็น สภาวะ อนุโลมมิกญาณ เท่านั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2020, 09:53:33 pm »
0
วันที่ ๑๖ ( ๒๒ ก.ค. ๖๓ ๑๔.๐๐ )
========================

ออกจากกรรมฐาน เข้าไป 7 ชม ฉันขนมไป 3 ชิ้น ตอนนี้ต้องหานม กาแฟ ฉันแล้ว

อุทิศผลกรรมฐาน ให้แก่ผู้สนับสนุนทุกท่าน เย็น ๆ ก็จะเข้ารอบที่ 2 อีก 7 - 8 ชม แล้วก็ จำวัตร ( นอนพักผ่อน)

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๗ ( ๒๓ ก.ค. ๖๓ ๑๑.๑๒ )
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2020, 09:54:11 pm »
0
วันที่ ๑๗ ( ๒๓ ก.ค. ๖๓ ๑๑.๑๒ )

=====================
ไป รพ. ตั้งแต่ 6.30 น
ไปถึงก็ต้องนั่งรอหมอ จน ถึง 09.30 น. ถึงจะได้ตรวจอัลตราซาวน์ แล้วขึ้นไปคุยกับหมอ ที่ตึกหน้า

ซึ่งผลสรุป หมอนัดผ่าตัด 13 พ.ย. 63
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๗ ( ๒๓ ก.ค. ๖๓ ๒๑.๔๐ )
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2020, 09:54:43 pm »
0
วันที่ ๑๗ ( ๒๓ ก.ค. ๖๓ ๒๑.๔๐ )

=======================
เข้ากรรมฐาน 13.15 ( หลังกลับจาก รพ. )
ออกกรรมฐาน 21.20

เข้าพระสุขสมาธิ ขั้นที่ 3 รวม 10 ชม
ก็เป็นการเตรียมตัว เข้ากรรมฐาน 3 วัน 3 คืน

คงหยุดพัก 1 วัน 1 คืน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๘ ( ๒๔ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๐๐ )
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2020, 10:26:30 am »
0
วันที่ ๑๘ ( ๒๔ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๐๐ )
=========================

วันนี้นอนพักผ่อนเยอะมาก จนไม่อยากลุกขึ้นเลย เหมือนร่างกายมันระบม ปวดทั้งตัว

วันนี้ก็หยุดเข้ากรรมฐานมาตั้งแต่เมื่อคืน ก็จะหยุดอีกสักวันสองวัน เพื่อเข้ากรรมฐานหลายวัน แต่ดูจำนวนที่เข้าพรรษามาแล้ว ก็ถือว่าเร็วมาก โดยปกติจะเข้าสองสามวัน ก็ต้องเดือนที่สองไปแล้ว แต่นี่ แค่ 18 วันเอง ก็เลยคิดว่าไม่ต้องรีบร้อน ร่างกายยังไม่ปกติ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๙ ( ๒๕ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๑๐ )
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2020, 10:24:19 am »
0
วันที่ ๑๙ ( ๒๕ ก.ค. ๖๓ ๑๐.๑๐ )

=======================
สำหรับวันนี้ ก็ทำกรรมฐาน แบบปกติ 2 ช่วง 16 ชม
เป็นการเข้ากรรมฐาน พระสุขสมาธิ

สุขภาพ ก็มึนงง นิดหน่อย โพสต์ผิด โพสต์ถูก ไม่ได้อ่านอะไร ให้ละเอียด ความใส่ใจในการโพสต์ มีน้อยลง

นอนพักก็เยอะหน่อย 8 ชม.

โดยรวมสุขภาพ ก็ยังไปได้อยู่

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๑๙ ( ๒๕ ก.ค. ๖๓ ๒๐.๑๐ )
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2020, 10:45:13 am »
0
วันที่ ๑๙ ( ๒๕ ก.ค. ๖๓ ๒๐.๑๐ )
======================
เข้ากรรมฐาน 13.10 น
ออกกรรมฐาน 19.30 น.
รวม 8 ชม

อุทิศกุศลภาวนา ให้กับผู้สนับสนุนการเข้ากรรมฐาน ทุกท่าน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2020, 10:45:44 am »
0
วันที่ ๒๐ ( ๒๖ ก.ค. ๖๓ )
=====================
สำหรับวันนี้จะเป็นการเข้ากรรมฐาน
ด้วยอานาปานสติ ตั้งใจว่าจะเข้ากรรมฐาน 3 วัน 3 คืน แต่ไม่รู้ว่า ร่างกายจะไปได้ไหวไหม จะเริ่มเข้ากรรมฐาน

14.00 ( บ่ายสองโมง )

ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข และภาวนาไปร่วมกับ พอจ ด้วยกัน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๒๒ ( ๒๙ ก.ค. ๖๓ ๑๔.๒๐)
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2020, 02:38:07 pm »
0
วันที่ ๒๒ ( ๒๙ ก.ค. ๖๓ ๑๔.๒๐)
=======================
เข้ากรรมฐาน ๒๖ ก.ค.๖๓ ๑๓.๕๐
ออกกรรมฐาน ๒๙ ก.ค. ๖๓ ๑๔.๐๐
รวม ๓ วัน ๓ คืน ( ครั้งที่ ๑ พรรษาปี พ.ศ.๒๕๖๓ )
เข้ากรรมฐาน ด้วย อานาปานสติ

หลังออกกรรมฐาน สุขภาพไม่ค่อยดีนัก มีอาการปวดเจ็บ
อย่างไร อุทิศกุศลภาวนา นี้ให้แก่ ผู้สนับสนุนการเข้ากรรมฐาน ทุกท่าน ได้รับบุญกุศล ด้วยกันทุกท่าน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ( ๓๐ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๔๕)
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2020, 08:08:17 am »
0
วันที่ ๒๓ ( ๓๐ ก.ค. ๖๓ ๐๗.๔๕)
=======================
วันนี้ก็เจริญกรรมฐาน ตามปกติ ชม - 2 ชม แล้วอยู่ในอำนาจวิปัสสนา

สำหรับภัตรแรกหลังออกกรรมฐาน นี้ ยังไม่มี

ถาม หลายคนถามมาว่า ไอศครีม จัดเป็นภัตรหรือไม่

ตอบ ก็ต้องตอบว่า ไอศครีม จัดอยู่ในประเภท เนย นม นมข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย จัดเป็น เภสัช และ ไม่มีกาลที่ฉันแน่นอน นอกจากกายมีอาพาธ ความหิว กระหาย ก็จัดเป็นอาพาธเช่นกัน ดังนั้นภัตรแรกหลังออกกรรมฐานนั้นยังไม่ได้มี

ที่มีก็คือ เภสัช และ ปานะ แรก หลังออกกรรมฐาน

ถาม แล้วภัตรแรกหลังออกกรรมฐานเมื่อวานเป็นตอนไหน

ตอบ ภัตรแรกก็จะเป็นภัตรที่บริโภค ( ฉัน / กิน ) ในวันนี้

ถาม เภสัช ปานะ กับ ภัตรแรก อันไหน มีอานิสงค์ มากน้อยต่างกันอย่างไร

ตอบ มีอานิสงค์เท่ากันจัดเป็น ครั้งแรกเช่นกัน เรียกว่า เภสัชแรก ปานะแรก อานิสงค์ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะมีความสำคัญแตกต่างกัน

เกสัช มีไว้เพื่อรักษาอาพาธ อาการอาพาธอันเกิดก่อน หลัง หรือ ขณะปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ต้องเยียวยารักษา หากมีอาพาธมากก็มีเวทนา มาก ดังนั้น พระพุทธเจ้า บัญญัติไว้ว่า การดูแลพระอาพาธ เสมือนกับการดูแลพระพุทธเจ้า

ปานะ มีไว้เพื่อบรรเทาอาพาธ และส่งเสริมสุขภาพ มีบัญญัติไว้ 8 ชนิด ถ้าไม่มีปานะ การบริโภคของพระก็ไม่ต่างจากคนทั่วไป แต่เพราะมีปานะ จึงทำให้พระ มีการบริโภคที่แตกต่างจากคนทั่วไป ดังนั้นปานะจัดเป็นสิ่งส่งเสริม ศีล และ วินัยของพระ ให้สม่ำเสมอ และทำให้เกิดความอดทน

ในการเก็บของบริโภคของพระที่รับประเคนแล้ว มีกาลเก็บได้ 3 อย่าง

กาลิก ( อ่านว่า กา-ลิก ) ประกอบด้วยกาลเวลา

1.ยาวกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ ตั้งแต่เช้า ยันเที่ยง ได้แก่ ข้าว ขนม เป็นต้น

2.ยามกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ ชั่ววัน ชั่วคืน ( 1 วัน 1 คืน ) ได้แก่ ปานะ .8 ชนิด น้ำที่ทำจากผลมะม่วง น้ำที่ทำจากผลหว้า น้ำที่ทำจากผลกล้วยมีเมล็ด น้ำที่ทำจากผลกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำที่ทำจากผลมะซาง น้ำที่ทำจากผลจันทน์ หรือผลองุ่น น้ำที่ทำจากผลเหง้าบัว น้ำที่ทำจากผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่

3.สัตตาหกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ ภายใน 7 วันกำหนดตามกาลหมดอายุ ได้แก่ เภสัช 5 เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำอ้อย น้ำผึ้ง บางครั้งท่านเรียกว่า ยาวชีวิก ( คือไม่จำกัดกาล )

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๒๖ ( ๒ ส.ค. ๖๓ ๐๘.๕๐)
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2020, 06:25:53 am »
0
วันที่ ๒๖ ( ๒ ส.ค. ๖๓ ๐๘.๕๐)
=====================
วันนี้ก็ยังเข้ากรรมฐาน แบบ อานาปานสติ ระยะสั้น อยู่เป็นการทบทวนกรรมฐาน เพื่อเตรียมตัวเข้ากรรมฐาน ต่อเนื่องหลายวัน ในเดือนที่ 2 ของการเข้าพรรษา

ก็ขอให้ทุกท่านจงขวนขวาย การภาวนาที่เหมาะสมกับตนเอง อย่าได้ประมาท เพราะ โลกธรรมที่มันเคลื่อนที่ไปอยู่

สถานการณ์โลกตอนนี้ ดูเหมือนจะสงบ แต่ที่จริงไม่สงบ เรื่องโรคระบาด โควิด-19 แพร่พันธ์ ( กลายพันธ์ ) ไป 6 แบบแล้ว ตอนนี้มีเพิ่มขึ้นมากับสัตว์ คนตายก็ยังต่อเนื่องด้วยโรคนี้ สถิติ ก็ดูน่ากลัวเพิ่มขึ้น เป็น 17 ล้านคน ทั่วโลก

ก็ขอให้ทุกท่าน อยู่ด้วยความปลอดภัย กันทุกท่าน ทุกคน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๒๗ ( ๓ ส.ค. ๖๓ ๐๖.๑๐)
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2020, 06:26:22 am »
0
วันที่ ๒๗ ( ๓ ส.ค. ๖๓ ๐๖.๑๐)
=====================
เข้ากรรมฐาน 2 ส.ค. 63 21.00 น
ออกกรรมฐาน 3 ส.ค. 63 06.00 น.
รวม 10 ชม
เข้ากรรมฐาน ด้วย อานาปานสติ

แผ่กุศลให้กับผู้สนับสนุนในการเข้ากรรมฐาน ในครั้งนี้ ด้วย เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 04, 2020, 11:41:35 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2020, 11:42:05 am »
0
วันที่ ๒๘ ( ๔ ส.ค. ๖๓ ๑๑.๓๐)
=====================
เข้ากรรมฐาน 4 ส.ค. 63 01.00 น
ออกกรรมฐาน 4 ส.ค. 63 10.00 น.
รวม 9 ชม
เข้ากรรมฐาน ด้วย อานาปานสติ

แผ่กุศลให้กับผู้สนับสนุนในการเข้ากรรมฐาน ในครั้งนี้ ด้วย เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ วันที่ ๒๘ ( ๔ ส.ค. ๖๓ )
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2020, 06:58:28 pm »
0
วันที่ ๒๘ ( ๔ ส.ค. ๖๓ ๑๑.๓๐)
=====================
เข้ากรรมฐาน 4 ส.ค. 63 14.00 น
ออกกรรมฐาน 4 ส.ค. 63 18.30 น.
รวม 5 ชม
เข้ากรรมฐาน ด้วย อานาปานสติ

แผ่กุศลให้กับผู้สนับสนุนในการเข้ากรรมฐาน ในครั้งนี้ ด้วย เทอญ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ