ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติ ภาวนา ของ พระอนาคามี เพื่อ เป็นพระอรหันต์ ข้อหนึ่งเรื่อง มานะ  (อ่าน 2892 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติ ภาวนา ของ พระอนาคามี เพื่อ เป็นพระอรหันต์ ข้อหนึ่งเรื่อง มานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นการนำออกซึ่งลำดับว่า เราดีกว่า เราด้อยกว่าเขา เราเสมอเขา ออกอย่างนี้ ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า พระอรหันต์นั้น มีความรู้สึกทางธรรม ว่า ว่าง ๆ เพราะไม่ ดี ไม่ด้อย ไม่เสมอ อย่างนี้ จะต้องมี อรหัตตมรรค อรหัตตผล ไปเพื่ออะไร ? เพราะสุดท้าย ก็เป็นที่สุด ๆ ที่เหนือกว่า ทั้งหมด

   thk56
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 
    นิพพานปรมัตถ์ ว่าโดยความแตกต่างแห่งอาการ มี ๓ อย่าง คือ
            สุญญตะ ๑
            อนิมิตตะ ๑
            อัปปณิหิตะ ๑


    พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขารทั้งปวง
                                    ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตคือสังขารทั้งปวง
                                    ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง


    เมื่อบุคคลมนสิการสภาพธรรมโดยเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไป (คือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม) ด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์

    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔
    [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามัคค์ วิโมกขกถา ข้อ ๕๐๙] คือ
 

    ๑. ด้วยความเป็นใหญ่
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่


    ๒. ด้วยความตั้งมั่น
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่ง อนิมิตตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่ง อัปปณิหิตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์

    ๓. ด้วยความน้อมจิตไป
    บุคคลเมื่อมนสิการโดนความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่ง อนิมิตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่ง อัปปณิหิตวิโมข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์


    ๔. ด้วยความนำออกไป
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่ง อนิมิตตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่ง อัปณิหิตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์


อ้างอิง หนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ที่มา "คำว่า นิพานัง ปรมัง สุขัง ต่างกับ นิพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างไร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8901.0
ขอบคุณภาพจาก http://www.kammatan.com/, http://picdb.thaimisc.com/



  วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ
       ๑. สุญญตวิโมกข์
       ๒. อนิมิตตวิโมกข์
       ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์

   สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
                   หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
                   พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา


  อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
                   คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้


  อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา
                   คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้


ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



เว็บ http://abhidhamonline.org/aphi/p7/072.htm อธิบายไว้ว่า
    นิโรธ หมายถึง นิพพาน ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่ง ที่ดับอย่างสนิท ดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับ ไม่กลับติดต่อก่อเกิดอีก ดับอย่างนี้ แหละ เรียกว่า นิพพาน


    ดับกิเลส เรียก กิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกขันธนิพพาน ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้ว
    เป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคารเรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง น่าสบายใจ
    เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส


   เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา
   เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


ที่มา "คำว่า นิพานัง ปรมัง สุขัง ต่างกับ นิพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างไร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8901.0
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 01:51:21 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติ ภาวนา ของ พระอนาคามี เพื่อ เป็นพระอรหันต์ ข้อหนึ่งเรื่อง มานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นการนำออกซึ่งลำดับว่า เราดีกว่า เราด้อยกว่าเขา เราเสมอเขา ออกอย่างนี้ ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า พระอรหันต์นั้น มีความรู้สึกทางธรรม ว่า ว่าง ๆ เพราะไม่ ดี ไม่ด้อย ไม่เสมอ อย่างนี้ จะต้องมี อรหัตตมรรค อรหัตตผล ไปเพื่ออะไร ? เพราะสุดท้าย ก็เป็นที่สุด ๆ ที่เหนือกว่า ทั้งหมด

   thk56

    ask1 ask1 ask1

   ตามความเข้าใจ หมายความว่า พระอรหันต์ ที่ละ มานะ แต่ก็ยัง เลิศกว่า ระดับอื่นใช่หรือไม่ครับ ?
   
   การที่พระอรหันต์ เลิศกว่า ตรงนี้เป็นมานะ หรือไม่ ?
 
   การที่เลิศ ใครเป็นคนจัดว่า เลิศ หรือ พระอรหันต์ ที่บรรลุแล้ว เป็นผู้จัด ครับ ?

   สรุป คือ พระอรหันต์ ละ สังโยชน์ 5 มี มานะ เป็นต้น  ก็ยัง เลิศที่สุด ในหมู่ชนทั้งหลาย เพราะอะไร ?


   
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติ ภาวนา ของ พระอนาคามี เพื่อ เป็นพระอรหันต์ ข้อหนึ่งเรื่อง มานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นการนำออกซึ่งลำดับว่า เราดีกว่า เราด้อยกว่าเขา เราเสมอเขา ออกอย่างนี้ ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า พระอรหันต์นั้น มีความรู้สึกทางธรรม ว่า ว่าง ๆ เพราะไม่ ดี ไม่ด้อย ไม่เสมอ อย่างนี้ จะต้องมี อรหัตตมรรค อรหัตตผล ไปเพื่ออะไร ? เพราะสุดท้าย ก็เป็นที่สุด ๆ ที่เหนือกว่า ทั้งหมด

   thk56

    ans1 ans1 ans1
   
    นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึง ความว่างเปล่าจากกิเลส
    นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


    พระอรหันต์รู้สึก "ว่างๆ" เหมือนดังคุณtang-dham ได้กล่าวข้างต้น
    แต่ความว่างนั้น หมายถึง ว่างจากกิเลสครับ
    พระอรหันต์ไม่ใช้ไม่มีความรู้สึกอะไร หรือเหมือนก้อนอิฐก้อนหิน ซึ่งไม่มีประโยชน์
    พระอรหันตผลเข้าถึงนิพพาน "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" (ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หรือว่างไปหมด)


    พระอรหันต์ถึงแม้จะรู้ว่า ตัวเองมีคุณธรรมสูงกว่าบุคคลอื่น เช่น อนาคามี สกทาคามี หรือปุถุชน
    แต่ท่านไม่มีอุปทานขันธ์ ๕ แล้ว จึงไม่รู้สึกว่าตัวอยู่เหนือคนอื่น (เพราะไม่มีตัวตน)
    อรหันต์จะมองโลกว่าง โดยความไม่มีบุคคล ตัวตน เรา เขา


    คำถามที่ว่า "จะต้องมี อรหัตตมรรค อรหัตตผล ไปเพื่ออะไร"
    คำตอบอยู่ใน "สังฆคุณ ๙" ดังนี้


    สังฆคุณ 9 (คุณของพระสงฆ์)
       1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี)
       2. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง)
       3. ญายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง)
       4. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร)
           ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ 4 ตัวบุคคล 8)
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
       5. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย)
       6. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ)
       7. ทกฺขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ)
       8. อญฺชลีกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้)
       9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
       (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก)

_____________________________
ม.มู. 12/95/67; องฺ.ฉกฺก. 22/281/318.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

       ans1 ans1 ans1
     
      ไม่เข้าใจอะไรก็ถามได้ ยินดีเป็นเพื่อนคุยเสมอ
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 02:23:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ