ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - นิรตา ป้อมนาวิน
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
121  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ให้เป็นผู้หนักแน่น เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 05:17:36 pm

ให้เป็นผู้หนักแน่น


ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน (ปฐวี)เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง หนองบ้างโลหิตบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น, นี้ฉันใด;

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้วจักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำ (อาโป) เถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล !เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาล้างของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างล้างคูถบ้าง ล้างมูตรบ้าง น้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้างลงในน้ำ น้ำก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น,นี้ฉันใด;

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยไฟ (เตโช) เถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยไฟอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง น้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้างลงไปให้มันไหม้ ไฟก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น, นี้ฉันใด;

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยไฟเถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยไฟอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่า
พอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน.


ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยลม (วาโย) เถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยลมอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล ! เปรียบเหมือนลมพัดผ่านไปในของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างคูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้าง ลมก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น, นี้ฉันใด;

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยลมเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยลมอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาศ เถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาศอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล ! เปรียบเหมือนอากาศ เป็นสิ่งมิได้ตั้งอยู่เฉพาะในที่ไร ๆนี้ฉันใด; ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาศเถิดเมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาศอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ม. ม. ๑๓/๑๓๘-๑๔๐/๑๔๐-๑๔๔.

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41297

.....................................................
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
122  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ลฏุกิกชาดก(คติคนมีเวร) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:46:14 pm

ลฏุกิกชาดก(คติคนมีเวร)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ไม่มีความกรุณาปรานีแก่หมู่สัตว์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างมีช้างประมาณ ๘๐,๐๐๐ เชือก เป็นบริวารอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของช้างนั้นมีนางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) ตัวหนึ่งตกฟองไข่อยู่ที่พื้นดินใกล้ทางเดินของพญาช้าง ในรังนั้นมีลูกนกออกใหม่หลายตัว

          วันหนึ่ง พญาช้างนำบริวารหากินไปถึงที่นั้น นางนกไส้เห็นช้างกำลังเดินมา กลัวว่าจะเหยียบลูกน้อยจึงประคองปีกทั้งสองข้างยืนอยู่ต่อหน้าพญาช้างพูดอ้อนวอนว่า "ท่านพญาช้าง ข้าพเจ้าขอไหว้ท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอพวกท่านอย่าได้เหยียบลูกน้อยของข้าพเจ้าผู้ไม่มีกำลังเลย" พญาช้างตอบว่า "แม่นางนกไส้ ไม่ต้องกลัวเราจะรักษาลูกของเจ้าให้เอง" ว่าแล้วก็ยืนค่อมรังนกไว้ ให้ช้างบริวารเดินผ่านไปก่อน แล้วได้กล่าวเตือนนางนกไส้ว่า "ยังมีช้างเกระเชือกหนึ่งมักหากินผู้เดียวจะตามหลังมา เขาไม่อยู่ในโอวาทเรา เจ้าจงอ้อนวอนเขาเองนะ" ว่าแล้วก็เดินตามหลังช้างบริวาร ต่อมาไม่นานช้างหัวดื้อชอบแตกโขลงตัวนั้นก็มาถึงที่นั้น นางนกไส้ก็แสดงตนพร้อมพูดอ้อนวอนเหมือนกับครั้งก่อน ช้างนั้นพอได้ฟังว่ามีลูกนกอยู่ข้างหน้ายิ่งชอบใจใหญ่ กล่าวตอบนางนกไส้ว่า "แม่นางนกไส้เอ๋ย.. เราจักฆ่าลูกน้อยของเจ้าทั้งหมด เจ้าจะมีปัญญาทำอะไรเราได้" ว่าแล้วก็เดินเข้าไปกระทืบรังนกแหลกละเอียดแล้วร้องแป้นๆ เดินจากไป

          ฝ่ายนางนกไส้ที่บินหนีตายขึ้นไปจับบนกิ่งไม้ ได้พูดอาฆาตตามหลังช้างนั้นไปว่า "เจ้าช้างเกเร วันนี้เป็นวันของท่าน ปล่อยให้ท่านไปก่อน วันข้างหน้าเราจะเห็นดีกัน การใช้กำลังทำลายผู้ไม่มีกำลังไม่ดีแน่สำหรับท่าน" กล่าวจบก็บินไปขอความช่วยเหลือจากกา กาถามว่าจะให้ช่วยเหลืออะไร นางนกไส้จึงเล่ารายละเอียดให้ฟังว่า "ท่านกา ขอเพียงท่านช่วยจิกตาช้างให้บอดเท่านั้นเอง กาก็รับคำช่วยเหลือนั้น

          นางนกไส้เข้าไปหาแมลงวันหัวเขียว เล่าเรื่องให้ฟังแล้วขอความช่วยเหลือให้แมลงวันหัวเขียวไข่ใส่ตาช้าง แมลงวันก็รับคำช่วยเหลือ ต่อจากนั้นก็เข้าไปหากบตัวหนึ่ง เล่าเรื่องให้ฟัง และก็ขอความช่วยเหลือว่า "ท่านกบเมื่อช้างตาบอดและแมลงวันไข่ใส่ตามันแล้วมันก็จะแสวงหาน้ำดื่ม ขอให้ท่านไปอยู่ที่ปากเหวส่งเสียงร้องล่อช้างไปตกเหวให้หน่อย" กบก็รับคำช่วยเหลือ

          หลายวันต่อมา นางนกไส้เสาะแสวงหาจนพบช้างเกเรตัวนั้นแล้วจึงไปบอกกา กาได้ไปจิกตานั้นบอดทั้งสองข้างแมลงวันหัวเขียวก็ไปไข่หนอนใส่ตาช้างอีก สร้างความเจ็บปวดทรมานให้แก่ช้างเป็นอย่างยิ่ง สองสามวันต่อมาช้างเดินสะเปะสะปะโซซัดโซเซแสวงหาสระน้ำดื่ม ได้ยินเสียงกบร้องแว่วมาแต่ไกลจึงกำหนดทิศทางเสียงกบด้วยเข้าใจว่ากบร้องอยู่ข้างสระน้ำ เดินไปไม่นานก็ผลัดตกเหวตายในที่สุด สร้างความดีใจแก่นางนกไส้เป็นอย่างยิ่งที่ศัตรูได้ตายไป

          พระพุทธองค์เมื่อเล่านิทานจบจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายขึ้นชื่อว่าเวรไม่ควรทำกับใคร ๆ แม้สัตว์ทั้ง ๔ ร่วมมือกันทำให้ช้างผู้มีกำลังกว่าให้ตายได้" แล้วตรัสพระคาถาว่า
          "ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว สัตว์เหล่านี้ได้ฆ่าช้างแล้ว จงดูการจองเวรของคนคู่เวรทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธออย่าได้ก่อเวรกับใคร ๆ แม้กับคนไม่เป็นที่รักเลย"






ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=9
123  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มหาอุกกุสชาดก(การผูกมิตรไมตรี) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:43:37 pm

มหาอุกกุสชาดก(การผูกมิตรไมตรี)


 ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภอุบาสกผู้ผูกมิตรคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธ ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวบ้านกลุ่มหนี่งประกอบอาชีพล่าสัตว์ พอทราบว่าป่าใดมีสัตว์มากก็จะพากันตั้งแค้มป์พักอยู่ใกล้ป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่งในป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่ง ในป่านั้นมีสระเกิดเองโดยธรรมชาติสระหนึ่ง มีสัตว์ ๔ ชนิดอาศัยอยู่รอบสระ ด้านขวามือของสระมีเหยี่ยว ๒ ผัวเมียอาศียอยู่ ด้านเนือมีราชสีห์ ด้านตะวันออกมีพญานกออก (นกเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิดหนี่ง ชอบหากินปลาในทะเล) และในสระมีเต่าอาศัยอยู่ สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชสีห์

          วันหนึ่งเหยี่ยวสามีได้ปรึกษาภรรยาว่า "นี่น้อง..เราควรจะมีลูกน้อยได้แล้วละ" ภรรยากล่าวว่า "พี่.. เรายังไม่มีมิตรสักคนเลย ถ้าเกิดภัยอันตรายขึ้นมา เราจะไปพึ่งใคร ก่อนแต่จะมีลูกน้อย น้องว่าเราควรจะเข้าไปผูกมิตรกับสัตว์อีก ๓ ตัวนั้นก่อน" สามีเห็นดีด้วยเมื่อผูกมิตรกับสัตว์ทั้ง ๓ ตัวแล้ว จึงไปทำรังอยู่ที่ต้นกระทุ่มต้นหนึ่งข้างสระน้ำนั้น ไม่นานก็มีลูกน้อย ๒ ตัว

          อยู่มาวันหนึ่ง พวกชาวบ้านกลุ่มนั้นพากันตระเวนล่าสัตว์ป่าตลอดวันไม่ได้สัตว์อะไรสักตัวเลยปรึกษากันว่า "เมื่อไม่ได้อะไรพวกเราก็พักอยู่ในป่านี่แหละ ได้อะไรแล้วค่อยกลับคืนบ้าน" ตกลงพักค้างคืนใต้ต้นกระทุ่มต้นนั้น เมื่อมียุงมารุมกัดพวกเขาจึงก่อกองไฟขึ้น ควันไฟได้รมลูกนกเหยี่ยวมันจึงพากันร้อง พวกเขาจึงพูดกันว่า "เสียงลูกนกนี่ หาอะไรไม่ได้ทั้งวันหิวจนตาลายอยู่แล้ว มัดคบเพลิงเร็ว จะขึ้นไปนำมันลงมาปิ้งกัน" แม่เหยี่ยวพอลูกส่งเสียงร้องก็ทราบว่ามีภัยอันตรายแล้ว จึงรีบบินบอกสามีให้ไปขอความช่วยเหรือจากพญานกออก

          พญานกออกยินดีช่วยเหลือได้บินไปจับอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่ข้างเคียง พอชาวบ้านคนหนึ่งถือคบเพลิงปีนขึ้นต้นไม้ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยว มันก็รีบบินลงในสระน้ำนำมาดับคบเพลิง คนนั้นก็จะลงมาจุดคบเพลิงและปีนขึ้นไปใหม่ ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยวก็ถูกพญานกออกดับคบเพลิงอีก เป็นอยู่ลักษณะเช่นนี้จนถึงเที่ยงคืน พญานกออกเหน็ดเหนื่อยจนตาแดงก่ำ เหยี่ยวเห็นพญานกออกเหน็ดเหนื่อมากแล้วจึงขอบคุณและให้กลับไปพักผ่อนส่วนตนรีบขอความช่วยเหลือจากเต่า เต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำนำเปลือกตมและสาหร่ายขึ้นไปดับกองไฟ แล้วหมอบอยู่

          พวกชาวบ้านเห็นเต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำมาดับไฟก็พากันหันมาจับเต่าแทน ช่วยกันดึงเถาวัลย์ และแก้ผ้านุ่งผูกเต่าดึงไว้กลับถูกเต่าใหญ่ลากลงสระน้ำไป ต่างคนก็สะบักสบอมได้กินน้ำจนพุงกาง ขึ้นจากสระน้ำแล้วพากนบ่นพึมพำว่า "พวกเราเหวย ..นกออกคอยดับคบเพลิงเราตั้งครึ่งคืน คราวนี้โดนเต่าใหญ่ลากลงน้ำได้กินน้ำจนพุงกาง ก่อไฟขึ้นใหม่เถอะเรา เมื่ออรุณขึ้นแล้วค่อยกินลูกเหยี่ยวก็ได้" ว่าแล้วกากันเก็บฟืนมาก่อไฟขึ้นใหม่

          ส่วนเหยี่ยว ๒ ผัวเมียหารือกันว่า "คงจะต้องถึงเวลาไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์แล้วละทีนี้" เหยี่ยวสามีจึงไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์ ราชสีห์รับคำแล้วเดินไปที่กองไฟของพวกชาวบ้าน พวกเขาพอเห็นราชสีห์เดินมาต่างก็พากันกลัวตายร้องเสียงหลงว่า "ครั้งแรกนกออกคอยดับคบเพลิง เต่าใหญ่มาทำให้พวกเราผ้าเปียก คราวนี้ราชสีห์จักมาเอาชีวิตพวกเราแล้วต่างพากันแตกตื่นวิ่งหนีกระเจิงไป

          ราชสีห์เดินไปใต้ต้นกระทุ่มไม่เห็นมีใครหลงเหลืออยู่เลย ไม่นานเหยี่ยว พญานกออก และเต่าก็เข้ามาหา ราชสีห์จึงให้โอวาทว่า " ต่อแต่นี้ไป สูเจ้าทั้งหลายอย่าทำลายมิตรธรรม อยู่อย่างไม่ประมาทเถิด" แล้วก็กลับที่อยู่ของตน สัตว์ต่าง ๆ ก็แยกย้ายกลับที่อยู่ของตนไป แม่เหยี่ยวมองดูลูกน้อยของตนแล้วพูดขึ้นว่า "เพราะอาศัยมิตรแท้ ๆ เราจึงรักษาลูกๆ ไว้ได้" แล้วจึงกล่าวเป็นคาถาว่า

          "บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่ เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้วป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ฉะนั้น"






ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=9
124  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กลัณฑุกชาดก(มารยาทส่อสกุล) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:40:27 pm

กลัณฑุกชาดก(มารยาทส่อสกุล)


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ้อวดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
     
เรื่องแม้ทั้งสองในชาดกนั้น ก็เช่นเดียวกันกับ กฏาหกชาดกนั้นแหละ แต่ในชาดกนี้ ทาสของพาราณสีเศรษฐีผู้นี้ มีชื่อว่า กลัณฑุกะ ในเวลาที่เขาหนีไปครอบครองธิดาของปัจจันตเศรษฐี อยู่ด้วยบริวารเป็นอันมาก พาราณสีเศรษฐี แม้จะให้คนเที่ยวสืบหา ก็ไม่รู้ที่ที่เขาไป จึงส่งนกแขกเต้าผู้อยู่กับตนไปว่า ไปเถิด ไปสืบหากลัณฑุกะให้ทีเถิด ลูกนกแขกเต้าเที่ยวไปเรื่อย ๆ จนถึงนครนั้น ในกาลนั้น กลัณฑุกะประสงค์จะเล่นน้ำ ให้คนถือเอาดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้กับขาทนียะ และโภชนียะเป็นอันมากไปสู่แม่น้ำ นั่งเรือกับเศรษฐีธิดาเล่นน้ำอยู่ ก็ในประเทศถิ่นฐานนั้น เมื่อเจ้านายใหญ่โต เล่นกีฬาในน้ำจะดื่มนมสดแกล้มด้วยเภสัชที่มีรสเข้ม เพื่อว่าเมื่อเล่นน้ำตลอดวัน ความหนาวก็ไม่เบียดเบียนได้ แต่กลัณฑุกะนี้ ถือถ้วยนมสด บ้วนปากแล้วถ่มนมสดนั้นทิ้งเสีย แม้เมื่อจะถ่มทิ้ง ก็ไม่ถ่มลงในน้ำ ถ่มลงบนหัวของเศรษฐีธิดาอีกด้วย

             ฝ่ายลูกนกแขกเต้า บินถึงฝั่งแม่น้ำ ก็เกาะอยู่ที่กิ่งมะเดื่อกิ่งหนึ่ง ค้นดู ก็จำกลัณฑุกะได้ เห็นกำลังถ่มรดศีรษะธิดาเศรษฐีอยู่ ก็กล่าวว่า แนะเจ้าทาส กลัณฑุกะชาติชั่ว จงสำนึกถึงชาติกำเนิด แลพื้นเพของตนบ้าง เถิด อย่าเอานมสดมาล้างปากแล้วถ่มรดศีรษะเศรษฐีธิดา ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จำเริญด้วยความสุขเลย ช่างไม่รู้ประมาณ ตนเลยนะแล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :
"สกุลของเจ้าไม่ใช่สกุลสูง เราผู้เที่ยวอยู่ในป่าก็ยังรู้ได้
นายของเจ้าทราบแน่แล้ว ก็พึงจับเจ้าไป
ดูราเจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มน้ำนมเสียเถิด" ดังนี้.

            ฝ่ายกลัณฑุกะเล่าก็จำลูกนกแขกเต้าได้ ด้วยความกลัวว่า มันพึงเผยเรื่องของเรา จึงเชิญว่า มาเถิดนาย ท่านมาเมื่อไรเล่า ? แม้นกแขกเต้าเล่าก็รู้ว่า เจ้านี่ไม่ได้เรียกเราด้วยความปรารถนาดี แต่มีความประสงค์จะบิดคอเราให้ตาย จึงกล่าวว่า เราไม่มีธุระกับเจ้า ดังนี้แล้ว โดดจากที่นั้นไปสู่พระนครพาราณสี เล่าเรื่องราวตามที่ตนเห็นมาให้ท่านเศรษฐีฟังโดยพิสดาร ท่านเศรษฐีคิดว่า มันทำไม่สมควรเลย จึงนำตนมาสู่พระนครพาราณสีตามเดิม ลงอาชญาแก่เขา แล้วใช้สอยอย่างทาสสืบไป.

            พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า กลัณฑุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนพาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.






ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=9
125  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / เภริวาทชาดก(การทำเกินประมาณ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:37:57 pm

เภริวาทชาดก(การทำเกินประมาณ)


 ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

                  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นช่างตีกลอง อาศัยอยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในช่วงเทศกาลงานประจำปีในเมืองพาราณสี เขาได้ชวนลูกชายไปแสดงตีกลองเก็บเงินค่าดูได้จำนวนมาก

                   ในวันสุดท้ายของวันงานจึงเดินทางกลับบ้าน ลูกชายด้วยความคะนองและดีใจที่ได้เงินมาก จึงตีกลองไปตลอดทาง พอไปถึงดงโจรในระหว่างทาง พ่อจึงกล่าวว่า
                 " ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าตีกลองไม่หยุดระยะ จงตีเป็นระยะ เหมือนกลองของทหารเดินทางสิ "

ลูกชายกลับพูดว่า
     " ผมจักไล่พวกโจรให้หนีไปด้วยเสียงกลองนี้ " แล้วยิ่งกระหน่ำตีกลอง ไม่หยุดระยะเลย

ฝ่ายพวกโจรพอได้ยินเสียงกลองครั้งแรกก็คิดจะหนีไปเพราะนึกว่ากลองทหาร พอฟังนานๆไปก็เอ๊ะใจว่าไม่ใช่ จึงซุ่มดูอยู่ข้างทางเห็นมีเพียงสองพ่อลูกเท่านั้น จึงรุมทุบตีแย่งชิงทรัพย์เอาไปหมดสิ้น พ่อจึงกล่าวสอนลูกชายด้วยคาถาว่า
     " เมื่อจะตีกลองก็ตีเถิด แต่อย่าตีเกินประมาณ เพราะการตีเกินประมาณ
       เป็นการเสียหายของเรา ทรัพย์ตั้งร้อยที่ได้มาเพราะการตีกลอง ได้สูญเสียไป
       เพราะเจ้าตีกลองเกินประมาณ "








ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=9
126  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มัจฉชาดก(ไฟราคะ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:31:45 pm

มัจฉชาดก(ไฟราคะ)


ชายผู้หนึ่งได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงขออนุญาตภรรยาบวชในพระพุทธศาสนา ฝ่ายภรรยาก็อนุญาตแม้จะไม่เต็มใจนักก็ตาม

                เมื่อชายผู้นี้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว นางผู้เป็นภรรยาก็มักนำอาหารที่ท่านเคยชอบมาถวายอยู่เสมอ ยิ่งกว่านั้น ทุกครั้งที่ไปหาพระภิกษุอดีตสามี นางจะแต่งตัวงดงาม ทั้งยังนำเรื่องครอบครัวมาพูดให้ท่านฟังเป็นประจำ ทำให้ภิกษุนั้นกระวนกระวายใจ ห่วงหาอาลัยใคร่จะสึกกลับไปครองเรือนตามเดิม

                เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบถึงความรู้สึกของพระภิกษุรูปนี้ จึงตรัสถาม ท่านก็ยอมรับแต่โดยดี พระพุทธองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระกรุณาธิคุณ ปรารถนาจะเตือนสติพระภิกษุนั้นให้เลิกล้มความตั้งใจที่จะหวนกลับไปเวียนว่ายอยู่ในกองทุกอีก จึงทรงระลึกชาติแต่หนหลังของพระภิกษุรูปนี้ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ พระพุทธองค์จึงตรัส มัจฉาชาดก ดังนี้

เนื้อหาชาดก

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตครองกรุงพาราณสี ณ คุ้งน้ำหน้าเมือง มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งเกิดติดใจรักใคร่นางปลาสาว จึงว่ายน้ำติดตามหยอกเย้าเคล้าเคลียนางปลาไม่ยอมห่าง

ขณะที่กำลังว่ายน้ำเคียงกันอยู่นั้น นางปลาได้กลิ่นแหที่ชาวประมงนำมาดักไว้ จึงว่ายหลบฉากออกไปทันที ฝ่ายปลาตัวผู้นั้นคิดแต่จะไล่ต้อนนางปลา ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น จึงว่ายพุ่งเลยเข้าไปติดแห ชาวประมงรีบยกแหขึ้นจับเอาปลาใหญ่นั้นไป เมื่อจับได้แล้ว ชาวประมงก็โยนทิ้งไว้ริมฝั่งรวมกับปลาอื่นๆ ที่ถูกจับมาก่อนหน้านั้น แล้วเตรียมก่อไฟ ตั้งใจจะย่างกินให้อร่อย

ปลาใหญ่นั้นดิ้นทุรนทุรายฟาดหัวฟาดหางอยู่บนตลิ่ง แต่แทนที่มันจะหวั่นกลัวความตายที่กำลังจะมาถึง มันกลับคร่ำครวญรำพันถึงนางปลา ทุกข์ใจเพราะคิดถึงนางปลา กลัวว่านางปลาจะเข้าใจผิด คิดว่าตนแอบไปติดพันนางปลาตัวอื่น

ขณะนั้น พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระเจ้าพรหมทัต ซึ่งเป็นผู้รักษาสัตว์ทั้งหลาย กำลังเดินออกมาอาบน้ำพร้อมด้วยข้าทาสบริวาร ท่านเห็นปลาใหญ่กำลังดิ้นทุรนทุรายคร่ำครวญอยู่ ก็คิดสงสารคิดว่าถ้าปลาตัวนี้ตายขณะที่มีจิตใจเร่าร้อนอยู่ด้วยกามราคะ มันจะต้องไปเกิดในนรกอย่างแน่นอน ท่านจึงคิดหาทางอนุเคราะห์ปลาใหญ่นั้น

ท่านปุโรหิตจึงเดินเข้าไปหาชาวประมงเจ้าของปลาซึ่งคุ้นเคยกันดี กล่าวทักทายปราศรัยกันพอสมควร แล้วท่านจึงขอปลาใหญ่กับชาวประมง

เมื่อได้ปลามาแล้ว พราหมณ์ปุโรหิตก็นำไปที่ท่าน้ำแล้วกล่าวสั่งสอนปลาว่า เพราะความรักใคร่ติดพันนางปลา ทำให้เจ้าเกือบจะต้องตายถ้าไม่บังเอิญมาพบท่านเสียก่อน ต่อไปนี้เจ้าต้องหมั่นสำรวมระวัง อย่าปล่อยให้อำนาจกิเลสเข้าครอบงำ อย่ามัวหลงติดอยู่ในกามอีกเลย กล่าวเสร็จแล้ว ก็ปล่อยปลาลงน้ำ ณ ท่าน้ำนั้นเอง

ประชุมชาดก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส มัจฉาชาดก จบแล้ว ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยนัยต่างๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง พระภิกษุรูปนั้นฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ณ ที่นั่นเอง

จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประชุมชาดกว่า

นางปลา ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาเก่าของภิกษุผู้อยากสึก

ปลาใหญ่ ได้มาเป็นภิกษุผู้อยากสึกรูปนี้

พรหมณ์ปุโรหิต ได้มาเป็นเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

๑. ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความรัก มักใช้เวลาส่วนใหญ่หมกหมุ่นครุ่นคิดถึงแต่ความรักจนจิตใจฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ หากเกิดแก่ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน การเรียนจะตกต่ำลง เพราะสมาธิในการเรียนเสียไป

๒. คนที่กำลังจะตาย หากยังมีใจเร่าร้อนและหมกมุ่นอยู่กับความโลภ โกรธ และหลง เมื่อละโลกไปแล้ว อำนาจบาปนั้นจะชักนำให้ไปสู่นรก

เมื่อการเกิดเป็นคนนี้แสนยาก ดังนั้น ก่อนจะตายพึงรู้จักทำใจให้ดี เพื่อเตรียมตัวตาย ไม่ควรทำจิตใจให้ขุ่นมัวเศร้าหมองเป็นอันขาด มิฉะนั้น จะตกนรกหรือไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานอย่างน่าเสียดาย วิธีเตรียมตัวตายที่ดีที่สุด ได้แก่ การฝึกสมาธิให้มากๆ ใจจะได้ผ่องใส ตายเมื่อไรก็ไปดีเมื่อนั้น







http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=8
127  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ขัลลฏิยชาดก ( นางเปรตขัลลฏิยะ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:28:30 pm

ขัลลฏิยชาดก ( นางเปรตขัลลฏิยะ)


 ชาดกว่าด้วยความหลงผิดลุ่มหลงในอบายมุข และทำกรรมชั่ว อิจฉาริษยา แต่เมื่อยังมีสติกลับตัวกลับใจได้ ผลบุญที่ทำส่งผลให้หลุดพ้นในบ่วงกรรม ทำให้พ้นทุกข์







http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=8

128  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มิตตวินทุกชาดก(เห็นกงจักรเป็นดอกบัว) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 01:25:53 pm
มิตตวินทุกชาดก(เห็นกงจักรเป็นดอกบัว)


.....เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้าที่ชื่อว่า สมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ความมีอยู่ว่า นายมิตตวินทุกะถูกจักรพัดอยู่บนศีรษะตลอดเวลา จึงได้รับความทุกข์ทรมานมาก

                 ขณะนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าได้เดินผ่านมา นายมิตตวินทุกะ จึงถามว่า “ข้าแด่พระองค์ ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เทวดา ข้าพเจ้าได้กระทำความชั่วอะไร จักรนี้ได้จรดที่ศีรษะแล้วพัดผันอยู่บนกระหม่อมของข้าพเจ้า”

                 พระโพธิสัตว์ตรัสว่า “เพราะเหตุใดเล่า ท่านผ่านทั้งปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน ปราสาทแก้วมณี และปราสาททองมาแล้วจึงมาถึง ณ ที่นี่ได้”

                นายมิตตวิทุกะกล่าวว่า “ขอพระองค์ท่านจงดูข้าพเจ้าผู้มีความหายนะ เนื่องเพราะสำคัญว่าที่นี่มีโภคทรัพย์สมบัติมากมายกว่าปราสาททั้ง ๔ หลังที่กล่าวมานี้”


 ......พระโพธิสัตว์ จึงตรัสตอบว่า “เนื่องเพราะท่านมีความปรารถนามากเกินไป ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจทั้ง ๔ นางได้ครอบครองนารีทั้ง ๘ นาง ไม่พอใจทั้ง ๘ นาง ได้ครอบครองนารีทั้ง ๑๖ นาง ไม่พอใจทั้ง ๑๖ นางได้ครอบครองทั้ง ๓๒ นาง ไม่พอใจทั้ง ๓๒ นาง ท่านจึงได้ประสบกับจักรที่พัดอยู่บนศีรษะของท่าน เพราะถูกความโลภ ความปรารถนาที่มากเกินไป”

พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งสอนว่า “ขึ้นชื่อว่าความอยาก มีสภาพแผ่ไปยิ่งใหญ่ไพศาล ทำให้เต็มได้ยาก (ความอยากไม่มีที่สิ้นสุด) หากชนเหล่าใดตกอยู่ภายใต้อำนาจของความอยากแล้ว ก็ยากที่จะถอนตัวออกได้ง่าย ๆ เหมือนกับท่านในปัจจุบันนี้ ต้องเทินจักรไว้อยู่บนศีรษะตลอดเวลา”

พระโพธิสัตว์ตรัสเช่นนี้แล้ว ก็เสด็จสู่เทวสถานแห่งตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะ ก็ยังคงมีจักรพัดอยู่บนศีรษะอยู่ตลอดเวลา และได้รับความทุกขเวทนาหนักเรื่อยไป จนกว่าบาปกรรมที่กระทำไว้จะหมดสิ้นไป การที่นายมิตตวินทุกะ ได้รับกรรมเช่นนี้ ก็เนื่องด้วยความโลภ ความปรารถนา และความอยากไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

ประชุมชาดก

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสจบแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก
ส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.






http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=8
129  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / วิโรจนชาดก( สุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:58:40 am
วิโรจนชาดก( สุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้แสดงท่าทางอย่างพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

               กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชสีห์ อาศัยอยู่ในถ้ำทอง ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง ออกจากถ้ำทอง ไปหาอาหาร ได้กระบือใหญ่ ตัวหนึ่ง กินเนื้อแล้ว ไปดื่มน้ำที่สระแห่งหนึ่ง ในขณะที่เดินกลับถ้ำ ได้พบสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งในระหว่างทาง สุนัขจิ้งจอกจึงขออาสาเป็นผู้รับใช้ราชสีห์ด้วยความกลัวตาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสุนัขจิ้งจอกก็ได้กินเนื้อเดนราชสีห์อย่างอิ่มหนำสำราญ มันมีหน้าที่ขึ้นยอดเขาไปดูสัตว์ที่จะเป็นอาหาร แล้วกลับลงมาบอกพระยาราชสีห์ว่า " ข้าพเจ้า อยากกินเนื้ออย่างโน้น นายท่าน จงแผดเสียงเถิด " พระยาราชสีห์ก็จะไปจับสัตว์ตัวนั้นมาเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อนานาชนิดหรือแม้กระทั่งช้าง

              ครั้นเวลาผ่านไปหลายปี สุนัขจิ้งจอก ชักกำเริบเกิดความคิดว่า " แม้ตัวเรา ก็เป็นสัตว์ มี ๔ เท้าเหมือนกัน เหตุใด จะให้ผู้อื่นเลี้ยงอยู่ทุกวันเล่า นับแต่นี้เป็นต้นไป เราจะฆ่าช้างเป็นอาหารกินเนื้อเอง แม้แต่ ราชสีห์ก็เพราะอาศัยเราบอกว่านายขอรับ เชิญท่านแผดเสียงเถิด เท่านั้น ก็จึงฆ่าสัตว์ต่างๆได้ ต่อแต่นี้ เราจะให้ราชสีห์พูดกับเราบ้าง " ได้เข้าไปหาราชสีห์แล้วบอกเรื่องนั้น

            แม้ถูกพระยาราชสีห์พูดเยาะเย้ยว่า " เป็นไปไม่ได้ " ก็ตามคงเซ้าซี้อยู่นั่นเอง พระราชสีห์เมื่อไม่อาจห้ามมันได้ ก็รับคำให้สุนัขจิ้งจอกนอนในที่นอนของตน แล้วไปคอยดูช้างตกมันที่เชิงเขาพบแล้ว ก็กลับเข้ามาบอกสุนัขจิ้งจอกว่า " จิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด "

             สุนัขจิ้งจอก ออกจากถ้ำทอง สลัดกาย มองทิศทั้ง ๔ หอนขึ้นสามคาบ วิ่งกระโดดเข้างับช้างหวังที่ก้านคอช้าง กลับพลาดไปตกที่ใกล้เท้าช้าง ช้างจึงยกเท้าขวาขึ้นไปเหยียบหัวจิ้งจอก จนหัวกะโหลกแตกเป็นจุน แล้วเอาเท้าคลึงร่างของมันทำเป็นกองไว้แล้วเยี่ยวรดข้างบน ร้องกัมปนาทเข้าป่าไป พญาราชสีห์เห็นเช่นนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
     " มันสมองของเจ้าทะลักออกมา กระหม่อมของเจ้าก็ถูกทำลาย
       ซี่โครงของเจ้า ก็หักหมดแล้ว วันนี้ เจ้าช่างรุ่งโรจน์เหลือเกิน "





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=8
130  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สุวัณณหังสชาดก(โลภมากลาภหาย) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:47:01 am
สุวัณณหังสชาดก(โลภมากลาภหาย)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีชื่อ ๔ุลนันทา ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคกระเทียม สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง มีภรรยาและลูกสาว ๓ คน ชื่อ นันทา นันทวดี และสุนันทา พอลูกสาวทั้ง ๓ ได้สามีแล้วทุกคน พราหมณ์ก็เสียชีวิตไปเกิดเป็นหงส์ทองคำระลึกชาติได้

                   วันหนึ่งได้เห็นความลำบากของนางพราหมณีและลูกสาวของตนที่ต้องรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีพ จึงเกิดความสงสาร ได้โผบินไปจับที่บ้านนางพราหมณีแล้วเล่าเรื่องราวให้นางพราหมณีและลูกสาวฟัง และได้สลัดขนให้แก่พวกเขาเหล่านั้นคนละหนึ่งขนแล้วก็บินหนีไป หงส์ทองได้มาเป็นระยะๆ มาครั้งใดก็สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขนโดยทำนองนี้ นางพราหมณีและลูกสาวจึงร่ำรวยและมีความสุขไปตามๆ กัน

ต่อมาวันหนึ่งนางพราหมณีเกิดความโลภอยากได้มากกว่าเดิมจึงปรึกษากับลูกๆ ว่า
      "ถ้าหงส์มาครั้งนี้ พวกเราจะจับถอนขนเสียให้หมด เพื่อจะได้มีทรัพย์สมบัติมาก"

พวกลูกๆ ไม่เห็นดีด้วย แต่นางพราหมณีไม่สนใจ ครั้งวันหนึ่งพญาหงส์ทองมาอีก นางก็ได้จับถอนขนเสียให้หมด ขนเหล่านั้นกลายเป็นขนนกธรรมดาเท่านั้น เพราะพญาหงส์ทองมิได้ให้ด้วยความสมัครใจ นางพราหมณีได้เลี้ยงหงส์นั้นจนขนงอกขึ้นมาใหม่เต็มตัว หงส์ก็ได้บินหนีไปโดยไม่ได้กลับมาอีกเลย

พระพุทธองค์ เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า
     "บุคคลได้สิ่งใดควรยินดีสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณเป็นความชั่วแท้ นางพราหมณีจับเอาพญาหงส์ทองแล้วจึงเสื่อมจากทองคำ"
 





ทีมา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=7
131  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สัมโมทมานชาดก(การแตกสามัคคี) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:39:12 am

สัมโมทมานชาดก(การแตกสามัคคี)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดนิโคธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงปรารภการทะเลาะกันของพระประยูรญาติ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

                    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีฝูงนกกระจาบหลายพันตัวอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีนายพรานคนหนึ่ง มีอาชีพจับนกกระจาบขายอยู่เป็นประจำ วันหนึ่ง นกกระจาบจ่าฝูงได้แนะนำนกกระจาบทุกตัวว่า
   " ท่านทั้งหลาย เมื่อถูกตาข่ายนายพรานครอบแล้ว ให้ท่านทุกตัวสอดหัวเข้าในตาข่ายตาหนึ่งๆ แล้วพากันบินไปที่ต้นไม้มีหนาม ทิ้งตาข่ายไว้แล้วบินหนีไปนะ " หมู่นกกระจาบพากันรับคำ ต่อมาอีกสองวัน ฝูงนกกระจาบถูกตาข่ายนายพรานเข้าก็พากันทำเช่นนั้น นกทุกตัวสามารถหนีรอดไปได้ กว่านายพรานจะปลดตาข่ายออกจากหนามก็ค่ำมืดพอดี

                  อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่หากินอาหาร มีนกกระจาบตัวหนึ่ง บินลงพื้นที่หากินเหยียบถูก หัวนกกระจาบอีกตัวหนึ่งเข้า ตัวถูกเหยียบหัวโกรธจึงเป็นเหตุให้ทะเลาะกันลามไปทั้งฝูงว่า
   " เห็นจะมีแต่ท่านเท่านั้นกระมัง ที่ยกตาข่ายขึ้นได้ ตัวอื่นไม่มีกำลังหรอกนะ "

   ฝ่ายนกกระจาบจ่าฝูง เห็นพวกนกมัวแต่ทะเลาะกัน ก็คิดว่า
   " ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกัน ย่อมไม่มีความปลอดภัย ความพินาศจะเกิดขึ้น " จึงได้พาบริวารส่วนหนึ่งบินหนีไปอยู่ที่อื่น


    ฝ่ายนายพราน พอผ่านไปสองสามวัน ก็มาดักตาข่ายอีก พอฝูงนกกระจาบติดตาข่ายนายพรานในครั้งนี้อีก ต่างทะเลาะกันเกี่ยงกันบินขึ้น จึงถูกนายพรานรวบไปเป็นอาหารและขายทั้งหมด


นายพรานจึงกล่าวเป็นคาถาว่า
     " นกกระจาบทั้งหลาย ร่าเริง บันเทิงใจ พาเอาข่ายไปได้
       เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ในเงื้อมมือของเรา "






ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=7
132  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ทัพพปุบผาชาดก(โทษของการเถียงกัน) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:34:41 am

ทัพพปุบผาชาดก(โทษของการเถียงกัน)

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระอุปนันทศากยบุตรผู้โลภมาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ณ ที่ไม่ไกลจากนั้น มีสุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอาศัยอยู่ อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกตัวเมียพูดกับสามีว่า "พี่ ฉันแพ้ท้องอยากกินเนื้อสด ๆ ที่ยังมีเลือดอยู่ ที่ช่วยหามาหาให้หน่อยสิ" สุนัขสามีรับคำว่า "น้องไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวพี่จะจัดการหามาให้" จึงเดินไปตามริมฝั่งแม่น้ำนั้น

          ขณะนั้นเองมีนาก ๒ ตัวหากินอยู่ฝั่งแม่น้ำนั้น ตัวหนึ่ง หากินอยู่ในน้ำลึก อีกตัวหนึ่งหากินตามฝั่ง วันนั้น นากตัวหากินในน้ำลึกได้ปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำปลาขึ้นฝั่งได้ เพราะปลาตัวใหญ่เกินไป จึงเรียกนากอีกตัวมาช่วยกันลากปลาขึ้นฝั่ง พอลากปลาขึ้นฝั่งได้แล้วนากทั้งสองตัวทะเลาะกันตกลงแบ่งปลากันไม่ได้ พอดีสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเดินไปพบเข้า นากทั้งสองตัวจึงวิงวอนให้สุนัขจิ้งจอกช่วยแบ่งปลาให้หน่อย สุนัขจิ้งจอกจึงบอกว่า "สบายมากสหายทั้งสอง เราเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน" ว่าแล้วก็แบ่งปลาออกเป็น ๓ ส่วนพร้อมกับพูดว่า "ท่อนหางเป็นของนากผู้หากินตามฝั่ง ท่อนหัวเป็นของนากผู้หากินทางน้ำลึกนะ ส่วนท่อนกลางเป็นของเราผู้พิพากษา" กล่าวจบก็คาบปลาท่อนกลางเดินจากไป

          นากทั้งสองเห็นเช่นนั้น และก็ได้แต่นั่งซึมเซาพร้อมกับบ่นว่า "ถ้าพวกเราไม่ทะเลาะกัน ท่อนกลางก็จะเป็นอาหารของเรากินได้อีกหลายวัน เพราะทะเลาะกันท่อนกลางจึงตกเป็นอาหารของสุนัขจิ้งจอกไป"

          ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็คาบปลาท่อนกลางไปให้เมียได้กินตามความต้องการ เมียเห็นก็ดีใจพร้อมกับถามว่า "พี่ไปได้มาอย่างไร" สุนัขจิ้งจอกจึงตอบด้วยความเย่อหยิ่งว่า "น้องรัก คนทั้งหลายผ่ายผอมเพราะทะเลาะกัน สูญเสียทรัพย์ก็เพราะทะเลาะกัน นาก ๒ ตัวก็เพราะทะเลาะกัน จึงทำให้ไม่ได้กินปลาท่อนกลางน้องรักเจ้าจงกินปลาสดเถิด" รุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั่นแล้วได้แต่ให้เสียงสาธุการ

          พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานมาสาธกแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า
          "ในมนุษย์ ขอพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษาเพราะผู้พิพากษาเป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสียทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัวนั้นเอง แต่คลังหลวงเจริญขึ้น"





http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=7
133  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สุขวิหารีชาดก(สุขอันเกิดจากการบรรพชา) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:06:40 am
สุขวิหารีชาดก(สุขอันเกิดจากการบรรพชา)

 สมัยหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ อุทิจจะ เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องมาก เป็นที่นับถือยกย่อง มีลูกศิษย์มาก ได้พิจารณาเห็นโทษของการครองเรือน และเห็นอานิสงส์ของการออกบวช จึงนำทรัพย์ออกแจกจ่ายเป็นทาน แล้วไปอยู่ในป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี ฝึกสมาธิจนได้ณานโลกีย์บรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ ๕๐๐ คน เป็นบริวาร

                    ในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนา ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์เข้ามาพำนักในเมือง พระเจ้ากรุงพาราณสี จึงพระราชทานพระราชอุทยานให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา เมื่อสิ้นฤดูฝน พระเจ้าพาราณสีเห็นว่า พระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้วจึงอาราธนาให้ท่านพำนักอยู่ต่อ ส่วนลูกศิษย์ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง

                   วันหนึ่งศิษย์คนโตรู้สึกคิดถึงอาจารย์ จึงเดินทางไปเยี่ยมเยียนอาจารย์ ขณะศิษย์คนโตลงนอนในสำนักพระอาจารย์ พระเจ้าพรหมทัตได้เสด็จมาถึงเพื่อกราบมนัสการฤาษีอาจารย์เช่นกัน ฤาษีผู้เป็นศิษย์แม้จะเห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็มิได้ลุกขึ้นทำการต้อนรับตามมารยาทอันดีแต่ประการใด กลับนอนเฉยเสีย ซ้ำยังเปล่งอุทานออกมาอีกว่า “ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ”

                    พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรแล้ว รู้สึกขัดเคืองพระทัยจึงตรัสถามพระฤาษีอาจารย์ว่า “ ข้าแต่พระผู้เจริญ ดาบสผู้นี้ เห็นทีจะฉันจนอิ่มหนำสำราญมากเสียแล้ว จึงคร้านที่จะลุกขึ้น ได้แต่นอนเปล่งอุทานสบายอารมณ์อยู่อย่างนี้ ”

                    พระฤาษีอาจารย์จึงตอบว่า ศิษย์ผู้นี้เดิมก็เป็นกษัตริย์ แต่ที่อุทานออกมาเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะอิ่มจัด ไม่ใช่เพราะต้องการกลับไปแสวงหาความสุขจากราชสมบัติ แต่คิดว่าการออกบวชนั้นเป็นสุขจริง ๆ สุขยิ่งกว่าการเป็นกษัตริย์ เป็นสุขสองชั้น

                     กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูกปองร้าย สุขที่ไม่ต้องมีภาระดูแลราชการบ้านเมือง และไม่ตกเป็นภาระแก่ใคร ๆ ให้ต้องคอยปกป้องอารักขาความปลอดภัย นับเป็นสุขชั้นแรก อนึ่งสุขจากการบรรลุธรรมเป็นสุขอันเลิศ ที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลและวัตถุใด ๆ นับเป็นสุขชั้นที่สอง เพราะเหตุนี้ จึงเปล่งอุทานอยู่เสมอ ๆ ว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ”

                       พระเจ้ากรุงพาราณสีสดับพระธรรมเทศนาด้วยใจที่เบิกบานแช่มชื่น เข้าพระทัยแล้วก็มิได้ถือโกรธดาบสผู้นั้น ดาบสผู้ศิษย์เองก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจณานสมาบัติ

ประชุมชาดก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า

ศิษย์ผู้เป็นหัวหน้า ได้เกิดมาเป็นภัททิยะพระฤาษีอาจารย์ ได้เกิดมาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

บุคคลแม้มีจิตใจใสสะอาด แต่กิริยามารยาทยังสำรวมระวังไม่พอ ก็อาจมีผู้เข้าใจผิด คิดเป็นศัตรูได้ โบราณจึงเตือนว่า

“ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา

อยู่ท่ามกลางปวงประชา ให้ระวังทั้ง กาย วาจา ใจ ”





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=7
134  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กัณหชาดก(วัวยอดกตัญญู) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 10:59:04 am
กัณหชาดก(วัวยอดกตัญญู)

..…เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ขณะที่แสดงปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นองค์หนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ อีกด้วย ปรากฏว่าในการชมปาฏิหาริย์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ มากมาย

.....หลังจากนั้น พระพุทธองค์เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดาจนครบ ๓ เดือนแล้ว จึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ทางด้านประตูเมืองสังกัสสะ ใน วันมหาปวารณา และทรงแสดงปาฏิหาริย์อีกครั้ง ด้วยการเปิดโลกทั้งสาม คือ นรก สวรรค์ และมนุษยโลก ให้ทุกคนมองเห็นซึ่งกันและกัน บังเกิดสัมมาทิฏฐิโดยทั่วหน้ากัน

.....ในวันต่อมา พระภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในธรรมสภา พระพุทธองค์ทรงทราบดังนั้น จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้นที่เราสามารถทำธุระที่ไม่มีผู้ใดกระทำได้ แม้เมื่อก่อน เรามีกำเนิดเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉาน เราก็สามารถทำธุระที่บุคคลอื่นไม่สามารถทำได้เช่นกัน"

.....พระพุทธองค์จึงทรงนำ กัณหชาดก มาตรัส ดังนี้้

  :: ข้อคิดจากชาดก ::   


.....๑. ลักษณะเด่นของผู้นำคือ ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ควรต้องทำเป็นตัวอย่าง เพื่อไว้ฝีมือให้ลูกน้องเกิดศรัทธาในความรู้ความสามารถ จะได้เกิดกำลังใจทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

.....๒. ใครที่เป็นผู้ใหญ่ เมื่อรับปากเด็กแล้ว อย่ากลับกลอกบิดพริ้วเป็นอันขาด

.....๓. ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของคนมีความรับผิดชอบ

.....๔. การรับคนเข้าทำงาน ถ้าต้องการจะให้ได้คนดีจริง มีความรับผิดชอบสูง ควรเลือกจากผู้ที่ความความกตัญญูต่อพ่อแม่ และเว้นจากอบายมุขโดยเด็ดขาด



http://www.youtube.com/watch?v=P-6la5xYxdk#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=6
135  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มาตุโปสกชาดก(พญาช้างยอดกตัญญู) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:41:45 pm
มาตุโปสกชาดก(พญาช้างยอดกตัญญู)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างเผือกขาวปลอด มีรูปร่างสวยงาม มีช้าง ๘๐,๐๐๐ เชือกเป็นบริวารเลี้ยงดูมารดาตาบอดอยู่ เมื่อพาบริวารออกหากินได้อาหารอันมีรสอร่อยแล้วก็จะส่งกลับมาให้มารดากิน แต่ก็ถูกช้างเชือกที่นำอาหารมากินเสียระหว่างทาง เมื่อกลับมาทราบว่ามารดาไม่ได้อาหารก็คิดจะละจากโขลงเพื่อเลี้ยงดูมารดาเท่านั้น ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืนก็แอบนำมารดาหนีออกจากโขลงไปอยู่ที่เชิงเขาแล้วพักมารดาไว้ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ส่วนตนเองออกเที่ยวหาอาหารมาเลี้ยงดูมารดา

          อยู่ต่อมาวันหนึ่ง มีพรานป่าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเข้าป่ามาแล้วหลงทางออกจากป่าไม่ได้จึงนั่งร้องไห้อยู่ พญาช้างพอได้ยินเสียงคนร้องไห้ด้วยความเมตตากรุณาในเขา จึงนำเขาออกจากป่าไปส่งที่ชายแดนมนุษย์ ฝ่ายนายพรานเมื่อพบช้างที่สวยงามเช่นนั้น ก็คิดชั่วร้าย "ถ้าเรานำความกราบทูลพระราชา เราจักได้ทรัพย์มากเป็นแน่แท้" ขณะอยู่บนหลังช้างได้หักกิ่งไม้่กำหนดไว้เป็นสัญลักษณ์

          ในสมัยนั้น ช้างมงคลของพระราชาได้ตายลง พระราชาจึงมีรับสั่งให้ตีกลองร้องประกาศว่าใครมีช้างที่สวยงามขอให้บอก นายพรานนั้นได้โอกาสจึงรับสั้งให้นายควญช้างพร้อมด้วยบริวารติดตามนายพรานนั้นเข้าป่านำพญาช้างนั้นมาถวาย

          นายควาญช้างเมื่อพบพญาช้างแล้วก็ถูกใจ ส่วนพญาช้างขณะนั้นกำลังดื่มน้ำอยู่ในสระ เมื่อเห็นนายพรานนั้นกลับมาพร้อมผู้คนอีกจำนวนมากก็ทราบถึงภัยมาถึงตัวแล้ว จึงกำหนดสติข่มความโกรธไว้ในใจยืนนิ่งอยู่ นายควาญช้างได้นำพญาช้างเข้าไปในเมือง พาราณสี ฝ่ายช้างมารดาของพญาช้าง เมื่อไม่เห็นลูกมาจึงคร่ำครวญคิดถึงลูกว่า "ลูกเราสงสัยถูกพระราชาหรือมหาอำมาตย์จับไปแล้วหนอ เมื่อไม่มีพญาช้างอยู่ ไม้อ้อยช้าง ไม้มูกมัน ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง ข้าวฟ่าง และลูกเดือย จักเจริญงอกงาม"

          ฝ่ายนายควาญช้างในระหว่างทางขณะกลับเข้าเมืองได้ส่งสาส์นไปถึงพระราชาเพื่อตบแต่งเมืองให้สวยงาม เมื่อถึงเมืองแล้วก็ประพรมน้ำหอมพญาช้าง ประดับเครื่องทรงแล้วนำไปไว้ที่โรงช้างขึ้นกราบทูลพระราชา

          พระราชาทรงนำอาหารอันมีรสเลิศต่าง ๆ มาให้พญาช้างด้วยพระองค์เอง พญาช้างคิดถึงมารดาจึงไม่กินอาหารนั้น พระองค์จึงอ้อนวอนมันว่า "พญาช้างตัวประเสริฐเอ๋ย เชิญพ่อรับคำข้าวเถิดเจ้ามีภารกิจมากมายที่ต้องทำ"
          พญาช้างพูดลอย ๆ ขึ้นว่า "นางช้างผู้กำพร้า ตาบอดไม่มีผู้นำทาง คงสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาเป็นแน่"
          พระราชาตรัสถามว่า "พญาช้าง… นางช้างนั้นเป็นอะไรกับท่านหรือ"
          พญาช้าง "นางเป็นมารดาของข้าพระองค์เอง"
          พระราชาเมื่อฟังแล้วเกิดความสลดใจมีรับสั่งให้ปล่อยพญาช้างว่า "พญาช้างนี้เลี้ยงดูมารดาตาบอดอยู่ในป่า ท่านทั้งหลายปล่อยมันกลับไปเถิด"

          พญาช้างเมื่อถูกปล่อยให้อิสระพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วแสดงธรรมต่อพระราชาว่า "มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงอย่าเป็นผู้ประมาทเถิด" แล้วได้กลับไปยังที่อยู่ของตน ได้นำน้ำในสระไปรดตัวมารดาที่นอนร่างกายผ่ายผอมเพราะไม่ได้อาหารมาแลัว ๗ วัน เป็นอันดับแรก

          ฝ่ายช้างมารดาเมื่อถูกน้ำราดตัวเข้าใจว่าฝนตกจึงพูดขึ้นว่า "ฝนอะไรนี่ตกไม่เป็นฤดู ลูกเราไม่อยู่เสียแล้ว"
          พญาช้างจึงพูดปลอบใจมารดาว่า "แม่.. เชิญลุกขึ้นเถิดลูกของแม่มาแล้ว พระราชาผู้ทรงธรรมให้ปล่อยมาแล้วละ"
          นางช้างดีใจมากได้อนุโมทนาแก่พระราชาว่า "ขอให้พระองค์ทรงพระชนม์ยืนนาน เจริญรุ่งเรืองเถิดที่ได้ปล่อยลูกของข้าพระองค์คืนมา"

          ฝ่ายพระราชาทรงเลื่อมใสในพญาช้าง จึงมีรับสั่งให้ตั้งอาหารไว้เพื่อพญาช้างและมารดาเป็นประจำ ตั้งแต่วันที่ปล่อยพญาช้างไปและรับสั่งให้สร้างรูปเหมือนพญาช้างจัดงานฉลองช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี พญาช้างเมื่อมารดาเสียชีวิตแล้วก็ได้อยู่อุปัฏฐากคณะฤๅษี ๕๐๐ ตน จนตราบเท่าชีวิต


http://www.youtube.com/watch?v=XpyM1EhsB2Y#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=6

136  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อาวาริยชาดก(คนแจวเรือ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:38:19 pm
อาวาริยชาดก(คนแจวเรือ)


 ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภคนแจวเรือประจำท่าคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษี บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน คิดอยากจะโปรดญาติโยม จึงเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาทรงเลื่อมใสแล้วนิมนต์ให้จำพรรษาในสวนหลวงเพื่อถวายทาน พระราชาจะเสด็จไปฟังธรรมวันละครั้ง ฤๅษีมักจะให้โอวาทเป็นประจำว่า "มหาบพิตร พระราชาไม่ควรมีอคติ ๔ อย่าง เป็นผู้ไม่ประมาทสมบูรณ์ด้วยขันติ มีเมตตากรุณา ครองราชย์โดยธรรม ที่สำคัญพระองค์อย่างทรงโกรธเป็นอันขาด ไม่ว่าในที่ไหนๆ จะเป็นในบ้านในป่าหรือที่ลุ่มที่ดอนก็ตาม ถ้าทำได้พระองค์จะเป็นที่รักของทวยราษฎร์ตลอดไป" พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่ง จึงถวายหมู่บ้านชั้นดีที่เก็บเงินส่วยภาษีได้ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะให้ ๑ ตำบล แต่ฤๅษีไม่รับเพราะถือเป็นกิเลส จนเวลาผ่านไปได้ ๑๒ ปี

          ต่อมาวันหนึ่ง ฤๅษีคิดจะเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่นบ้างจึงไม่ได้เข้าเฝ้าทูลลาพระราชา เพียงบอกให้คนเฝ้าสวนหลวงไปกราบทูลให้ทรงทราบ แล้วก็ออกเดินทางไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ที่ท่าเรือมีคนแจวเรือไปส่งคนข้ามฟากแล้ว่ค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาตามใจชอบ เมื่อลูกค้าไม่ให้ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะชกต่อยและขู่เอาเงินค่าจ้างจากผู้โดยสารอยู่เป็นประจำ

          ฤๅษีเมื่อไปถึงท่าเรือแล้วก็ขอใช้บริการเรือจ้างของนายอาวาริย์ปิตานั้น เขาถามขึ้นด้วยอาการเกียจคร้านว่า "ท่านจะให้ค่าจ้างเรือผมเท่าไรละ?" "โยม..อาตมาจะให้ของดีทำให้ร่ำรวยทรัพย์แก่ท่าน" ฤๅษีตอบเขาฟังแบบงง ๆ ว่าจะได้อะไรกันแน่ จึงพาฤๅษีข้ามฟากไป พอถึงฝั่งที่หมายแล้ จึงพูดขึ้นอีกว่า "ท่านจ่ายค่าจ้างด้วยครับ" ฤๅษีจึงบอกของดีเป็นธรรมโอวาทว่า "โยม..ขอค่าจ้างกับคนที่ยังไม่ข้าไปฝั่งโน้นก่อนสิ เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ข้ามต่างกัน โยม.. ขอท่านจงอย่าโกรธนะ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีนะโยม"
          เขาถามว่า "สมณะ นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านให้ผม"
          ฤๅษี "ใช่ละ โยม"
          คนแจวเรือ "ไม่ได้ ต้องเป็นเงินสิ"
          ฤๅษี "โยม..นอกจากโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่น" เขาโกรธมากพร้อมกับตวาดว่า "เมื่อไม่มีเงินแล้ว ลงเรือผมมาทำไม" ผลักฤๅษีให้ล้มลงแล้วนั่งทับอกตบปากท่านหนึ่งดี ขณะนั้นภรรยาของเขาซึ่งกำลังท้องแก่ได้ถืออาหารมาส่งเขา จำฤๅษีนั้นได้จึงร้องห้ามบอกสามีว่า "พี่.. ฤๅษีนี่ประจำอยู่ราชสำนักนะพี่อย่าตีท่านนะ" เขากำลังอยู่ในอารมณ์โกรธจึงลุกขึ้นตบภรรยาโดยแรง ถาดข้าวแตกกระจาย ภรรยาล้มลงกระแทกพื้นดินทำให้ลูกทะลักออกมาทันที
          ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้นต่างมายืนมุงดูและช่วยกันจับมัดเขาไว้เพราะนึกว่าเป็นโจรฆ่าคนตาย นำไปถวายพระราชา เขาถูกวินิจฉัยให้จำคุกตลอดชีวิต

         พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วได้ตรัสให้โอวาทภิกษุว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะให้โอวาทควรให้แก่คนที่เหมาะสมไม่ควรให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังฤๅษีให้โอวาทแก่พระราชาได้ หมู่บ้านชั้นดี แต่ให้โอวาทแก่คนแจวเรือจ้างกลับถูกตบปาก ฉะนั้น



http://www.youtube.com/watch?v=wO406txq9po#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=6
137  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ผลชาดก(ความสามารถในการดูผลไม้) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:35:42 pm
ผลชาดก(ความสามารถในการดูผลไม้)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าเกวียน เจริญวัย แล้วทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คราวหนึ่งไปถึงดงลึก จึงตั้งพักอยู่ปากดง เรียกคนทั้งหมดมาประชุม พลางกล่าวว่า ในดงนี้ขึ้นชื่อว่าต้นไม้ที่มีพิษ ย่อมมีอยู่ มีใบเป็นพิษก็มี มีดอกเป็นพิษก็มี มีผลเป็นพิษก็มี มีรสหวานเป็นพิษก็มี มีอยู่ทั่วไป พวกท่านต้องไม่บริโภคก่อน ถ้ายังไม่บอก ใบ ผล ดอกอย่างใด อย่างหนึ่งกะเราแล้วอย่าขบเคี้ยวเป็นอันขาด
                 
                พวกนั้นรับคำแล้ว พร้อมกันย่างเข้าสู่ดง ก็ที่ปากดง มีต้นกิงผลพฤกษ์อยู่ต้นหนึ่ง ลำต้น กิ่ง ใบอ่อน ดอกผลทุก ๆ อย่างของต้นกิงผลพฤกษ์นั้น มีลักษณะเช่นเดียวกันกับมะม่วงไม่ผิดเลย ใช่แต่เท่านั้นก็หาไม่ ผลดิบ และผลสุก ก็ยังเหมือนกับมะม่วง ทั้งสีและสัณฐาน ทั้งกลิ่น และรส ก็ไม่แผกกันเลย แต่ขบเคี้ยวเข้าแล้ว ก็ทำให้ผู้ขบเคี้ยวถึงสิ้นชีวิตทันทีทีเดียว เหมือนยาพิษชนิดที่ร้ายแรงฉะนั้น

      พวกที่ล่วงหน้าไป บางหมู่เป็นคนโลเล สำคัญว่า นี่ต้นมะม่วง พึงขบเคี้ยวกินเข้าไปย่อมได้ แล้วบริโภคเข้าไป บางหมู่คิดว่า ต้องถามหัวหน้าหมู่ก่อน ถึงจักกิน ก็ถือยืนรอ พอหัวหน้าหมู่มาถึง ก็พากันถามว่า นาย พวกข้าพเจ้าจะกินผลมะม่วงเหล่านี้ได้หรือไม่ พระโพธิสัตว์รู้ว่า นี่ไม่ใช่ต้นมะม่วง ก็ห้ามว่า ต้นไม้นี้ชื่อว่าต้นกิงผลพฤกษ์ ไม่ใช่ต้นมะม่วง พวกท่านอย่ากิน ส่วนพวกที่กินเข้าไปแล้ว ก็จัดการให้อาเจียนออกมา และให้ดื่มของหวาน ๔ ชนิด ทำให้หายจากพิษนั้นไปได้

                ก็ในครั้งก่อน พวกมนุษย์พากันหยุดพักที่โคนต้นไม้นี้ ขบเคี้ยวผลอันเป็นพิษทั้งนี้เข้าไป ด้วยสำคัญว่า เป็นผลมะม่วง พากันถึงความสิ้นชีวิต รุ่งขึ้นพวกชาวบ้านก็พากันออกมา เห็นคนตายก็ช่วยกันฉุดเท้าเอาไปทิ้งในที่รก ๆ แล้วก็ยึดเอาเข้าของ ๆ พวกนั้น พร้อมทั้งเกวียนนั้น พากันไป

                ในวันนั้น พอรุ่งอรุณเท่านั้นเอง พวกชาวบ้านเหล่านั้น ก็พูดกันว่า โคต้องเป็นของเรา เกวียนต้องเป็นของเรา สิ่งของที่บรรทุกต้องเป็นของเรา พากันวิ่งไปสู่โคนต้นไม้นั้น ครั้นเห็นคนทั้งหลายปลอดภัย ต่างก็ถามว่า พวกท่านรู้ได้อย่างไรว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง ? คนเหล่านั้นก็ตอบว่า พวกเราไม่รู้ดอก หัวหน้าหมู่ของเราท่านรู้ พวกนั้นจึงถามพระโพธิสัตว์ว่า พ่อบัณฑิตท่านทำอย่างไร จึงรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง ? พระโพธิสัตว์บอกว่า เรารู้ด้วย เหตุ ๒ ประการ ดังนี้

                ต้นไม้มีพิษนี้ขึ้นไม่ยาก ใคร ๆ ก็อาจ ขึ้นได้ง่าย ๆ เหมือนมีคนยกพะองขึ้นพาดไว้.ทั้งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้าน คือตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้านทีเดียว.ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้ เราจึงรู้จักต้นไม้นี้.
      รู้จักอย่างไร ?
     รู้จักว่า ต้นไม้นี้มิใช่ต้นไม้มีผลดี อธิบายว่า ถ้าต้นไม้นี้ มีผลอร่อยเป็นต้นมะม่วงแล้วไซร้ ในเมื่อมันขึ้นได้ง่าย แล้วก็ตั้งอยู่ไม่ไกลอย่างนี้ ผลของมันจะไม่เหลือเลยแม้สักผลเดียว ต้องถูกมนุษย์ที่กินผลไม้ รุมกันเก็บเสมอทีเดียว เรากำหนด ด้วยความรู้ของตนอย่างนี้ จึงรู้ได้ถึงความที่ต้นไม้นี้เป็นต้นไม้ มีพิษ.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนแล้ว ก็ไปโดยสวัสดี.
พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็ได้เคยเป็นผู้ฉลาดดูผลไม้มาแล้ว อย่างนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วอย่างนี้ ทรงประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพ่อค้าเกวียน ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.



http://www.youtube.com/watch?v=jhwDLUJvwAo#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=6
138  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ขทิรังคารชาดก(ผู้มีจิตมั่นคง) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:12:28 pm
ขทิรังคารชาดก(ผู้มีจิตมั่นคง)


.....หลังจากท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังคงเอาใจใส่บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ทานทั้งหลายที่ท่านบริจาคนั้นมากมายจนมิอาจประมาณค่าได้ ณ ซุ้มประตูที่ ๔ ของเรือนท่าน มีเทวดามิจฉาทิฎฐิองค์หนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ ทุกครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธสาวกเสด็จผ่านเข้าไปในเรือน เทวดาไม่พอใจเพราะต้องอุ้มลูกลงไปอยู่ที่พื้นดิน เนื่องจากมีคุณธรรมต่ำกว่า แต่เทวดาไม่กล้าจะไปบอกกับท่านเศรษฐีเอง

.....คืนหนึ่งจึงได้แผ่รัศมีปรากฏกายให้บุตรชายของท่านเศรษฐีเห็นพร้อมกับกล่าวว่า ให้เลิกทำทานเสียเถิดเพราะสมบัติอาจหมดไปได้ บุตรชายเศรษฐีโกรธที่เทวดาดูหมิ่นพระรัตนตรัยและไล่เทวดาให้ออกไป ท่านเศรษฐียังคงเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยและให้ทานอยู่เป็นนิตย์ จนกระทั่งช่วงหนึ่งท่านถึงความยากจนลงโดยลำดับ เทวดาผู้มีมิจฉาทิฎฐิจึงเข้าไปในห้องเศรษฐี แล้วยุยงให้เลิกทำทาน แต่ถูกท่านเศรษฐีไล่ให้ออกจากบ้านของตน เทวดาจึงได้คิดและสำนึกผิด ไปหาท้าวสักกเทวราชขอร้องให้ท่านพูดกับท่านเศรษฐีให้ แต่ท้าวสักกเทวราชตอบว่าไม่อาจทำได้ เพราะท่านได้กล่าวถ้อยคำอันไม่สมควร แต่แนะให้ไปตามทรัพย์สมบัติของท่านเศรษฐีที่สูญหายไปกลับคืนมายังคลังให้หมด เป็นการทำคุณไถ่โทษ ท่านอาจยกโทษให้ เทวดามิจฉาทิฏฐิรับเทวโองการแล้ว ไปตามสมบัติจนเรียบร้อยแล้วจึงไปขอให้ท่านยกโทษให้ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ต้องให้พระบรมศาสดาอดโทษให้

..... รุ่งขึ้นจึงพาเทวดานั้นไปยังเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ เมื่อพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้กระทำกรรมลามกในโลกนี้ เมื่อกรรมอันเป็นบาปนั้น ยังไม่ให้ผล บุคคลผู้นั้นยังได้รับความสุข ความเจริญอยู่ ต่อเมื่อใด กรรมอันเป็นบาปนั้นให้ผล ตนจึงได้รับผลแห่งบาปนั้น ” เมื่อจบพระคาถา เทวดานั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล

.....จากนั้นพระบรมศาสดาได้ตรัสยกย่องท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีความเห็นอันบริสุทธิ์ แล้วจึงตรัสเรื่อง ขทิรังคารชาดก


  :: ข้อคิดจากชาดก ::   


..... ๑ . มิจฉาทิฏฐิมีทั้งในเทวดาและมนุษย์ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวเดียวกันควรต่างเอาใจใส่ เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน

..... ๒ . การพักอาศัยอยู่กับผู้อื่นในฐานะใดก็ตาม อย่าได้นิ่งดูดาย ควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าบ้าน แม้ช่วยได้เพียงเล็กน้อยก็ควรทำ

..... ๓. ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

..... ๔. ในการทำความดี ควรมีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เพราะบุญเท่านั้นที่ติดตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ 



http://www.youtube.com/watch?v=cBcjf7_VbqI#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=5
139  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ธัมมัทธชชาดก(กาผู้ทรงธรรม) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:09:23 pm
ธัมมัทธชชาดก(กาผู้ทรงธรรม)


 ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนก เติบโตแล้วมีฝูงนกห้อมล้อม อาศัยอยู่ที่เกาะกลางมหาสมุทร ครั้งนั้น พ่อค้าชาวกาสิกรัฐกลุ่มหนึ่ง พากันแล่นเรือไปยังมหาสมุทร โดยเอากาบอกทิศไปด้วย เรือเกิดแตกในกลางมหาสมุทร กาบอกทิศนั้นจึงบินไปถึงเกาะนั้นแล้ว คิดว่า นกฝูงนี้เป็นฝูงใหญ่ เราควรทำการโกหกแล้วกินไข่และลูกอ่อนของนกฝูงนี้อร่อย ๆ คิดดังนั้นแล้ว มันจึงบินร่อนลงแล้ว ยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ที่พื้นดินท่ามกลางฝูงนก เมื่อมันถูกนกทั้งหลายถามว่า ท่านเป็นใครครับ นาย ? กานั้นก็บอกว่า ฉันเป็นผู้ประพฤติธรรม.
   นก เหตุไฉน ท่านจึงยืนขาเดียว ?
   กา เมื่อฉันเหยียบ ๒ ขา แผ่นดินก็ไม่สามารถจะทนทานได้.
   นก เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงยืนอ้าปาก ?
   กา ฉันไม่กินอาหารอื่น กินแต่ลมเท่านั้น.

               ครั้นมันตอบอย่างนั้นแล้ว จึงเรียกนกเหล่านั้นมาเตือน ว่า ฉันจักให้โอวาทเธอทั้งหลาย ขอจงพากันมาฟังโอวาทนั้น แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๑ เป็นการให้โอวาทนกเหล่านั้นว่า:

   [๘๙๓] ดูกรญาติทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงประพฤติธรรม ท่านทั้งหลายจง

   ประพฤติธรรมอยู่เสมอๆ เถิด ความเจริญจะมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้

   ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.

   นกทั้งหลายไม่รู้ว่า กาตัวนี้พูดอย่างนี้ เพื่อจะโกหกกินไข่นก เมื่อจะพรรณนาความทุศีลนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:

   [๘๙๔] กาตัวนี้เจริญดีจริงหนอ ประพฤติธรรมอย่างสูง ยืนอยู่ด้วยเท้าข้างเดียว

   ย่อมพร่ำสอนแต่ธรรมเท่านั้นแก่พวกเรา.


               นกทั้งหลายเชื่อฟังกาทุศีลนั้น แล้วพากันบอกกานั้นว่า นายครับ เมื่อท่านไม่หาเหยื่ออย่างอื่นกินแต่ลมเป็นอาหารเท่านั้น ถ้ากระนั้นขอให้ท่านคอยดูไข่และลูกอ่อนของพวกฉันด้วย แล้วจึงออกไปหาเหยื่อกัน กาทุศีลตัวนั้นเมื่อเวลานกเหล่านั้นไปแล้ว ก็จิกกินไข่และลูกอ่อนของนกเหล่านั้นจนเต็มท้อง แต่เวลานกเหล่านั้นกลับมา ก็สงบเสงี่ยมยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ นกทั้งหลายมาแล้วไม่เห็นลูกน้อยของตน ร้องดังลั่นว่า ใครหนอกินลูกเรา แต่ไม่มีความสงสัยในกาตัวนั้น เพราะคิดว่ากาตัวนี้ประพฤติธรรม

               อยู่มาวันหนึ่ง พระมหาสัตว์คิดว่า เมื่อก่อนที่นี่ไม่มีอันตรายอะไร นับแต่กาตัวนี้มาแล้วอันตรายจึงเกิด เราควรซุ่มจับกาตัวนี้ พระมหาสัตว์นั้นทำเหมือนไปหาเหยื่อกับนกทั้งหลาย แต่ก็กลับมาเกาะอยู่ในที่กำบัง ฝ่ายกาเข้าใจว่า นกทั้งหลายไปแล้ว ไม่มีความสงสัย ลุกไปหากินไข่นกและลูกอ่อน แล้วกลับมายืนขาเดียวอ้าปากอยู่

           
              เมื่อนกทั้งหลายมาแล้ว พระยานกจึงเรียกให้ฝูงนกทั้งหมดมาประชุมกันแล้วเตือนฝูงนกว่า วันนี้ฉันซุ่มจับอันตรายของลูกเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นกาทุศีลตัวนี้กินลูกของพวกเจ้าอยู่ มาเถิด เจ้าทั้งหลายพวกเราจงจับมันไว้ แล้วจึงให้ฝูงนกล้อมกานั้นไว้ โดยสั่งว่า ถ้าหากมันจะหนีไปไซร้ เจ้าทั้งหลายจงพากันจับมันไว้ แล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า:

   [๘๙๕] ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน จึงพากันสรรเสริญเพราะความไม่รู้

   เท่าทัน มันกินไข่และลูกนกแล้วก็ร้องว่า ธัมโม ธัมโม.

   [๘๙๖] กาตัวนี้พูดด้วยวาจาเป็นอย่างหนึ่ง กระทำด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ประพฤติ

   ธรรมเพียงวาจา แต่ไม่กระทำด้วยกาย เพราะฉะนั้น มันไม่ได้ตั้งอยู่ใน

   ธรรมเลย.

   [๘๙๗] กานี้เป็นสัตว์มีถ้อยคำอ่อนหวาน มีใจรู้ได้ยาก เปรียบเหมือนงูเห่าปกปิด

   ร่างกายด้วยปล่อง * หรือเปรียบเหมือนคนผู้เอาธรรมบังหน้า คนโง่ไม่รู้

   จริงพากันยกย่องว่า เป็นคนดีในหมู่บ้านและในนิคม ฉะนั้น.

   [๘๙๘] ท่านทั้งหลายจงช่วยกันประหารกาลามกตัวนี้ ด้วยจะงอยปาก ด้วยปีก

   และด้วยเท้าให้มันพินาศไป กาตัวนี้ไม่ควรจะอยู่ร่วมกับพวกเรา.

 
          หัวหน้านกครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ตนเองก็โดดขึ้น ใช้จะงอยปากจิกหัวของกานั้น นกที่เหลือก็พากันใช้จะงอยปากบ้าง เล็บบ้าง แข้งบ้าง ปีกบ้าง จิกตี มันก็ถึงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง.

   พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวลชาดกไว้ว่า กาโกหกในครั้งนั้น คือภิกษุผู้โกหกในบัดนี้ ส่วนพระยานก ได้แก่เรา ตถาคต ฉะนี้แล.



http://www.youtube.com/watch?v=bVqcuzK523E#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=5
140  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กุรุงคมิคชาดก(สัตว์สามสหาย) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:06:28 pm
กุรุงคมิคชาดก(สัตว์สามสหาย)


ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกวางตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าละเมาะแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากนั้นมีสระน้ำสระหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ และใกล้ ๆ สระน้ำนั้นมีนกสตปัตตะทำรังอยู่ สัตว์ทั้ง ๓ เป็นเพื่อนรักกันมาก วันหนึ่งกวางออกหากินได้ติดบ่วงนายพรานตอนเที่ยงคืนจึงร้องเรียกให้เพื่อนมาช่วย เต่าและนกสตปัตตะมาเห็นแล่วตกลงกันว่าให้เต่าใช้ปากกัดบ่วงให้ขาดก่อนฟ้าสว่าง ส่วนนกพยายามไม่ให้นายพรานออกจากบ้านก่อนสว่างเช่นกัน เมื่อตกลงกันตามนั้นนกสตปัตตะจึงพูดเตือนเต่าว่า "เต่าเพื่อนรัก ท่านต้องรีบกัดบ่วงให้ขาดเร็ว ๆ นะ เราจักหาวิธีไม่ให้นายพรานมาถึงที่นี่เร็วได้" ว่าแล้วก็บินไป

                  ฝ่ายเต่าได้เริ่มแทะเชือกบ่วกนั้นทันที ส่วนนกสตปัตตะได้บินไปจับที่ต้นไม้หน้าบ้านนายพราน พอถึงเวลาตี ๕ นายพรานลุกขึ้นเดินถือหอกออกมาทางประตูหน้าบ้าน นกเห็นเช่นนั้นก็บินโฉบลงไปจิกนายพราน เขาถูกนกจิกไปหลายทีจึงคิดว่าเราถูกนกกาฬกรรณีจิกแล้ว โชคไม่ดีเลยเวลานี้ กลับเข้าไปนอนต่ออีกสักหน่อยดีกว่า"

                  เวลาผ่านไปเล็กน้อยนายพรานได้เปลี่ยนไปออกทางประตูหลังบ้าน นกสตปัตตะก็ไปดักที่ประตูหลังบ้านเช่นกัน เขาถูกนกจิกอีกเป็นครั้งที่ ๒ จึงกลับเข้าบ้านไปพร้อมกับบ่นว่า "นกบ้านี่ร้ายจริง ๆ ไว้ให้สว่างก่อนค่อยไปก็ได้วะ"

                    พอสว่างแล้ว นายพรานเดินถือหอกออกจากบ้านไป นกสตปัตตะได้บินไปบอกกวางและเต่าล่วงหน้าแล้ว ปรากฏว่าเต่าแทะเชือกบ่วงทั้งคืนจนปากระบมเปื้อนไปด้วยเลือดยังเหลือเชือกเกลียวเดียวก็จะขาด กวางจึงใช้กำลังดิ้นให้เชือกขาดหลุดหนีเข้าป่าไปได้อย่างหวุดหวิด ปล่อยให้เต่านอนหมดแรงอยู่ตรงนั้น นายพรานมาเห็นเฉพาะเต่านอนอยู่จึงใส่กระสอบแขวนเต่าเอาไว้บนกิ่งไม้ กวางได้ปรากฎตัวให้นายพรานเห็นแล้วล่อให้นายพรานวิ่งตามไปจนไกลลิบ แล้ววิ่งย้อนกลับคืนมาช่วยเต่า โดยใช้เขายกกระสอบลงมาแล้วกล่าวขอบคุณเต่าและนกสตปัตตะที่ได้ช่วยเหลือชีวิต และต่างคนต่างแยกย้ายกันหลบซ่อนและหาที่อยู่ใหม่เพื่อความปลอดภัย เต่าได้หนีลงน้ำ กวางหนีเข้าป่าลึก ส่วนนกสตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้วก็พาลูก ๆ ไปอยู่ในทีห่างไกล


                    นายพรานกลับมาถึงที่นั้นอีกไม่เห็นเต่าในกระสอบ ก็ได้แต่ถือกระสอบขาดกลับบ้านไป สัตว์ทั้ง ๓ ได้เป็นเพื่อนรักกันจนตราบเท่าชีวิต



http://www.youtube.com/watch?v=f_NNYMyAmm4#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=5
141  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มโนชชาดก(การคบคนชั่ว) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 06:01:42 pm
มโนชชาดก(การคบคนชั่ว)


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นสิงห์โตตัวผู้ อยู่กับสิงห์โตตัวเมีย ได้ลูก ๒ ตัว คือลูกตัวผู้ ๑ ตัว ตัวเมีย ๑ ตัว ลูกตัวผู้ได้มีชื่อว่า มโนชะ เมื่อมโนชะเติบโตแล้วก็รับเอาลูกสิงห์โตตัวหนึ่งมาเป็นเมีย ดังนั้นสิงห์โตเหล่านั้น จึงมีรวมกัน ๕ ตัว สิงห์โตมโนชะได้ฆ่ากระบือเป็นต้นในป่า นำเนื้อมาเลี้ยงพ่อแม่น้องสาวและเมีย
อยู่มาวันหนึ่งมันเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ชื่อคิริยะที่บริเวณที่หากินเหยื่อตน มันหนีสิงห์โตมโนชะไม่ทัน จึงได้นอนหมอบลง สิงห์โตมโนชะจึงถามว่า สหายเอ๋ยอะไรกัน เมื่อสุนัขจิ้งจอกบอกว่า ข้าแต่นาย ฉันประสงค์จะปรนนิบัตินาย จึงรับมันไว้แล้วนำมายังถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่ของตน
 
พระโพธิสัตว์เห็นพฤติการณ์นั้นแล้ว แม้จะห้ามว่า ลูกมโนชะ เอ๋ย ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ทุศีล มีบาปธรรม ประกอบสิ่งที่ไม่ใช่กิจ เจ้าอย่าเอาสุนัขจิ้งจอกนั้นไว้ในสำนักของตน ดังนี้ก็ไม่อาจจะห้ามได้
อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกอยากจะกินเนื้อม้า จึงพูดกะมโนชะว่า ข้าแต่นาย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออย่างอื่นที่พวกเราไม่เคยกินไม่มี เว้นไว้แต่เนื้อม้า พวกเราจักจับม้ากันเถอะ
มโนชะถามว่า ม้ามีที่ไหน นะ ?
สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ที่ฝั่งแม่น้ำเมืองพาราณสี
มโนชะรับคำสุนัขจิ้งจอกแล้ว ไปกับมันในเวลาที่ม้าทั้งหลายพากันอาบน้ำในแม่น้ำ ตะครุบม้าได้ตัวหนึ่ง ยกขึ้นหลังมาถึงประตูถ้ำของตนทีเดียว
ลำดับนั้น พ่อของเขากัดกินเนื้อม้าแล้ว จึงพูดว่า ธรรมดา ม้าเป็นสัตว์สำหรับใช้สอยของหลวง และพระราชาทั้งหลาย ก็ทรงมีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย อาจตรัสสั่งให้พวกนายขมังธนูผู้แม่นธนูยิง ขึ้นชื่อว่าสิงห์โตที่กินเนื้อม้า ที่จะอายุยืนไม่มี ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าตะครุบม้ามากิน
มโนชะไม่ทำตามคำพ่อยังตะครุบอยู่นั่นแหละ พระราชาทรงสดับว่า สิงห์โตตะครุบม้ากิน จึงทรงให้สร้างสระโบกขรณี สำหรับม้าไว้ภายในพระนครนั่นเอง แม้จากสระโบกขรณีนั้น สิงห์โตก็ยังมาตะครุบเอาเหมือนกัน พระราชาจึงทรงให้สร้างโรงม้า แล้วให้หญ้าและน้ำแก่ม้า ในภายในโรงนั้นเอง สิงห์โตก็ไปทางด้านบนกำแพง ตะครุบเอาจากภายในโรงนั่นแหละ
 
พระราชาตรัสสั่งนายขมังธนูยิงเร็ว คือยิงได้ไม่ขาดระยะมาคนหนึ่งมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจักอาจยิงสิงห์โต ได้ไหม ? เขาทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ให้คนสร้างป้อมไว้ชิดกำแพงใกล้ทางสิงห์โตมาแล้วได้ยืนบนนั้น สิงห์โตมาแล้วให้สุนัขจิ้งจอก ยืนอยู่นอกป่าช้า แล้ววิ่งเข้าพระนคร เพื่อจะตะครุบม้า
ฝ่ายนายขมังธนู เวลาสิงโตมาก็คิดว่า สิงห์โตเวลาตัวเปล่ามีความรวดเร็วว่องไวมาก จึงยังไม่ยิงสิงห์โตในตอนนั้น แต่ครั้นเวลามันตะครุบม้าแล้วเอาม้าขึ้นหลังกลับไป นายขมังธนูนั้นจึงยิงสิงห์โต ที่ความรวดเร็วว่องไวลงแล้วเพราะแบกของหนัก ด้วยลูกศรที่แหลมคม เข้าที่ด้านหลัง ลูกศรทะลุออกทางด้านหน้าแล้ว วิ่งไปในอากาศ
 
สิงห์โตร้องว่า ข้าถูกยิงแล้ว นาย ขมังธนูยิงสิงห์โตนั้น เสียงสะบัดของสายธนูดังเหมือนสายฟ้า สุนัขจิ้งจอกได้ยิน เสียงสิงห์โตและเสียงสายธนูแล้ว คิดว่า สหายของเราจักถูกนายขมังธนูยิงตายแล้ว ธรรมดาว่าความคุ้นเคยกับสัตว์ทั้งหลายที่ตายแล้ว ย่อมไม่มี บัดนี้ เราจักไปที่อยู่ของเราตามปกตินั่นแหละ เมื่อจะเจรจากับตัวเอง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า:
[๙๗๖] เหตุใดลูกศรจึงไม่หลุดไปจากแหล่ง และสายจึงหดหู่เข้ามา พระยาเนื้อ
ชื่อมโนชะสหายของเรา คงถูกเขาฆ่าตายเป็นแน่
[๙๗๗] ผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหลีกไปชายป่าตามความสบาย ธรรมดาสหายผู้
ตายแล้วเช่นนี้ไม่มี เราผู้มีชีวิตอยู่พึงได้สหาย *
 
 
ฝ่ายสิงห์โตวิ่งไปด้วยความเร็วอย่างเอกทีเดียว สลัดให้ม้าตกลงที่ประตูถ้ำ แล้วตนเองก็ล้มลงตาย ภายหลังญาติของมันพากันออกไปดู ได้เห็นมันเปื้อนเลือด มีเลือดไหลออกจากปากแผลที่ถูกยิง ถึงความสิ้น ชีวิต เพราะคบสัตว์เลว พ่อ แม่ น้องสาวและเมียของมัน ได้พากัน กล่าวคาถา ๔ คาถา ตามลำดับว่า:
[๙๗๘] บุคคลผู้คบหากับปาปชน ย่อมไม่ได้ความสุขยืนนาน จงดูพระยาเนื้อ
ชื่อมโนชะ มาคบกับสุนัขจิ้งจอก ทำตามคำสอนของสุนัขจิ้งจอก
[๙๗๙] มารดาย่อมไม่ยินดีกับบุตรผู้คบหาปาปชน จงดูแต่พระยาเนื้อชื่อมโนชะ
คบกับสุนัขจิ้งจอก นอนจมเลือดอยู่
[๙๘๐] บุรุษมาถึงความเป็นอย่างนั้นบ้าง จะต้องถึงความเลวทรามต่ำช้า ผู้ใดไม่
ทำตามคำของบุคคลผู้หวังความเกื้อกูล ช่วยชี้ประโยชน์ให้ ผู้นั้นเป็น
ผู้เลวทรามต่ำช้า
[๙๘๑] อนึ่ง ผู้ใดเป็นคนชั้นสูงแต่มาคบหากับคนชั้นต่ำ ผู้นั้นเป็นคนเลวทราม
ต่ำช้ากว่าเขาเสียอีก อย่างนี้ จงดูแต่ราชสีห์เป็นสัตว์ชั้นสูงเป็นใหญ่กว่า
มฤคชาติ แต่มาคบหากับสุนัขจิ้งจอกผู้ชั่วช้า ต้องตายด้วยกำลังลูกศร
ของนายพราน
 
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาหลังสุดว่า:
[๙๘๒] บุรุษผู้คบหากับคนเลวทราม ย่อมเลวทราม ผู้คบหากับคนที่เสมอกับตน
ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ เมื่อจะเข้าไปคบหากับคนที่ดีกว่าตน ควรรีบ
เข้าไปคบหา เพราะฉะนั้น จงคบแต่ผู้ที่ดีกว่าตน
 
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุ ผู้คบหาฝ่ายผิด ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้แก่พระเทวทัตในบัดนี้ มโนชะ ได้แก่ภิกษุผู้คบฝ่ายผิด น้องสาว ได้แก่ พระอุบลวรรณาเถรี เมีย ได้แก่พระเขมาภิกษุณี แม่ ได้แก่มารดาพระราหุล ส่วนพ่อ ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล
จบ มโนชชาดก


http://www.youtube.com/watch?v=IJOWY5xMXgE#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=5
142  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / โลสกชาดก(ยอดคนโชคร้าย) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:57:44 pm
โลสกชาดก(ยอดคนโชคร้าย)


ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีหญิงในหมู่บ้านชาวประมงแห่งหนึ่งได้ตั้งครรภ์ ตั้งแต่นั้นมาทั้งหมู่บ้านก็อดอยาก จึงไล่นางออกจากหมู่บ้าน นางคลอดบุตรและเลี้ยงจนเดินได้ก็ให้ออกไปหากินเอง เด็กชายร่อนเร่ไป จนอายุได้ ๗ ขวบ วันหนึ่งพระสารีบุตรได้เห็นเด็กชายกำลังเก็บเศษอาหาร ท่านรู้สึกสงสารจึงให้บวชเป็นสามเณร ต่อมาอุปสมบทฉายาว่า โลสกติสสะ บำเพ็ญเพียรต่อมาไม่นานได้บรรลุพระอรหันต์ แต่ท่านก็ยังคงมีลาภน้อย จนใกล้วันเข้านิพพาน

                    พระสารีบุตรคิดจะอนุเคราะห์ให้ท่านได้ฉันอาหารอิ่มสักมื้อ จึงพาไปบิณฑบาตด้วย แต่ไม่ได้อะไรเลย เมื่อท่านไปบิณฑบาติมาแล้วฝากไปให้แต่ท่านก็ไม่ได้รับ พระสารีบุตรจึงต้องถือบาตรไว้ แล้วให้พระโลสกติสสะนั่งฉันจากบาตรในมือท่านจนอิ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต แล้วท่านก็นิพพานในวันนั้นเอง

                    ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาสนทนากันถึงเหตุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่อง โลสกชาดก ดังนี้

เนื้อหาชาดก

                     ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์รูปหนึ่งมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน กุฎุมพีเห็นท่านเกิดความศรัทธา จึงนิมนต์ให้ท่านไปที่วัดซึ่งตนเป็นอุปัฏฐากอยู่ เขาบำรุงพระอาคันตุกะอย่างดี จนเจ้าอาวาสเกิดความอิจฉาริษยา ยามบิณฑบาตตอนเช้ากฎุมพีให้นิมนต์พระอรหันต์ไปด้วย พระเจ้าอาวาสก็แสร้งเอาเล็บเคาะระฆัง เคาะประตูให้ไม่ได้ยิน แล้วไปแต่คนเดียว

                       ขณะพระเจ้าอาวาสบิณฑบาตกลับมา ระหว่างทางเอาข้าวปายาสในส่วนของพระอรหันต์ที่กฎุมพีฝากถวายเทลงในกองไฟ แล้วจึงกลับวัด เมื่อมาถึงได้แอบเข้าไปดูในกุฏิ แต่ไม่เห็นจึงฉุกคิดขึ้นว่าพระรูปนี้คงเป็นพระอรหันต์ ท่านเสียใจมาก ตรอมใจจนมรณภาพในที่สุด

                         เมื่อมรณภาพแล้วจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายแสนปี เมื่อพ้นจากนรกแล้ว เศษกรรมยังนำให้ไปเกิดเป็นยักษ์อีกถึง ๕๐๐ ชาติ เป็นสุนัขอยู่อีก ๕๐๐ ชาติ ทุกภพทุกภาพที่เกิดจะอดอยากยากแค้นมากได้กินอิ่มมื้อเดียวก่อนตายเท่านั้น ชาติต่อมาได้มาเกิดเป็นลูกคนยากจนมีชื่อว่า มิตตพินทุกะ เมื่อโตขึ้นเที่ยวเร่ร่อนไปเรื่อย ได้เรียนในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง ต่อมาได้ทะเลาะกับเพื่อนศิษย์คนอื่น จึงออกจากสำนักเร่ร่อนไปจนถึงหมู่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง แต่งงานและมีลูก ๒ คน ต่อมาถูกไล่ออกจากหมู่บ้าน ครอบครัวเขาหลงเข้าไปในเขตที่อมนุษย์ภรรยาและลูกถูกจับกิน แต่ตัวเขาหนีรอดได้

                       เร่ร่อนไปจนถึงเมืองท่าแห่งหนึ่ง มิตตาพินทุกะสมัครเป็นกรรมกรในเรือ เมื่อเรือสินค้าแล่นไปได้ ๗ วัน ก็หยุดขึ้นมาเฉยๆ นายเรือ จึงให้จับสลากหาผู้เป็นกาลกิณี เขาก็จับสลากได้ทุกครั้ง จึงถูกจับปล่อยลอยแพแล้วเรือก็แล่นต่อไปได้ทันที มิตตพินทุกะได้รับความลำบากมาก ด้วยผลบุญที่เคยรักษาศีลในชาติที่เกิดเป็นพระเจ้าอาวาส ทำให้แพลอยไปถึงที่อยู่ของเทพธิดาเปรตและได้เสวยสุข แต่เขายังคงลอยแพต่อไปอีก

                       กระทั่งได้พบเกาะแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่ของยักษ์ มิตตพินทุกะมองเห็นแม่แพะตัวหนึ่งซึ่งเป็นนางยักษ์แปลงตัวมา ด้วยความหิวจัด เขาจึงกระโดดจับแพะ จึงถูกแม่แพะดีดกระเด็นข้ามทะเล ไปตกอยู่ข้างคูเมืองพาราณสี ในขณะนั้นเอง คนเลี้ยงแพะของพระราชาช่วยกันซุ่มจับโจรขโมยแพะ จึงกรูกันเข้ามาจับตัวเขาไว้ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ผ่านมาพอดีจึงนำตัวมิตตพินทุกะกลับไป แล้วให้โอวาทว่า “บุคคลใด เมื่อท่านผู้หวังดีเอ็นดูจะเกื้อกูลสั่งสอน ก็มิได้กระทำตามที่ท่านสอน บุคคลผู้นั้นย่อมเศร้าโศกอยู่เป็นนิตย์ เหมือนมิตตพินทุกะจับขาแพะแล้ว เศร้าโศกลำบากอยู่”

ประชุมชาดก

มิตตพินทุกะ ได้มาเป็นพระโลสกติสสะ

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้มาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

๑. ผู้ที่อิจฉาริษยาความดีของบุคคลอื่น จะส่งผลให้ตนเองเกิดเป็นคนที่ไม่มีอำนาจวาสนา

๒. ยิ่งทำลายลาภของผู้ที่มีคุณธรรมสูงเพียงไร ก็ยิ่งได้กรรมหนักมากเพียงนั้น

๓. ผู้ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของผู้หวังดีย่อมได้รับความเดือดร้อน



http://www.youtube.com/watch?v=WOhn4xXMOew#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
143  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สกุณีคติชาดก(นกมูลไถหากินในที่อโคจร) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:54:50 pm
สกุณีคติชาดก(นกมูลไถหากินในที่อโคจร)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระสูตรว่าด้วยโอวาทของนกที่ไม่ควรเที่ยวหากินไกลถิ่นที่อยู่ของตน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกมูลไถอาศัยหากินอยู่ตามก้อนดินมูลไถ วันหนึ่ง มันบินไปหากินต่างถิ่นถูกเหยี่ยวนกเขาจับได้ จึงพูดขึ้นว่า
                   "วันนี้เราเคราะห์ร้าย เพราะมาหากินต่างถิ่น ถ้าอยู่ในถิ่นของเราแล้ว ท่านไม่มีโอกาสจับเราได้หรอก"


                    เหยี่ยวนกเขาได้ฟังเช่นนั้นจึงปล่อยมันไปพร้อมกับพูดว่า "เจ้านกน้อย ในที่ไหน ๆ เจ้าก็ไม่รอด พ้นกรงเล็บของเราไปได้ดอกให้โอกาสเจ้าแก้ตัว"


                      นกมูลไถพอถูกปล่อยเป็นอิสระก็บินกลับไปถึงที่อยู่ของตน ขึ้นไปจับบนก้อนดินใหญ่แล้วร้องท้าทายเหยี่ยวนกเขาว่า "มาเลยเจ้าเหยี่ยวโง่ แน่จริงมาจับข้าอีกสิ"

                     เหยี่ยนกเขาเห็นมันร้องท้าเช่นนี้นจึงโถมกำลังปีกโฉบเข้าหามันทันที นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนกเขาใกล้จะถึงตัวแล้วก็บินกลับเข้าไปในระหว่างก้อนดินมูลไถ เหยี่ยวมาด้วยความเร็วด้วยหวังจะขย้ำนกมูลไถให้แหลกคากรงเล็บ จึงกระแทกอกเข้ากับก้อนดินตาถลนออกตายคาที่ ณ ตรงนั้นเอง

                       เมื่อเหยี่ยวตายแล้ว นกมูลไถจึงขึ้นมายืนบนอกของเหยี่ยวด้วยมั่นใจว่าชนะข้าศึกได้แล้ว กล่าวเป็นคาถาว่า
                                           "เรานั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอุบาย ยินดีแล้วในที่หากินอันเป็นเขตแห่งบิดา
                                             เห็นประโยชน์ของตนอยู่ เป็นผู้หลีกพ้นจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ"



http://www.youtube.com/watch?v=j-JcuxnxI2A#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
144  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / คิชฌชาดก(พญาแร้ง) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:50:23 pm
คิชฌชาดก(พญาแร้ง)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสว่า "สาธุ สาธุ โบราณบัณฑิตได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติ เพื่อตอบแทนบุญคุณส่วนมารดาบิดาถือเป็นภาระของภิกษุโดยแท้" แล้วทรงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพยาแร้งเลี้ยงดูบิดามารดาอยู่ที่คิชฌบรรพต ต่อมาวันหนึ่งเกิดพายุฝนห่าใหญ่พัดกระหน่ำ ฝูงแร้งไม่สามารถทนพายุฝนได้ พากันบินหนีตายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี

               วันนั้น เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ออกจากเมืองจะไปอาบน้ำเห็นฝูงแร้งเปียกมอมแมมอยู่ จึงหอบไปรวมกันในที่แห่งหนึ่ง ก่อไฟให้ผิงแล้วนำไปไว้ที่ป่าช้า นำเนื้อโคมาเลี้ยงพวกแร้งเป็นอย่างดี
เมื่อพายุฝนหยุดแล้ว ฝูงแร้งมีร่างกายเข้มแข็งแล้วพากันบินกลับรังที่ภูเขาตามเดิม วันหนึ่งฝูงแร้งจับกลุ่มปรึกษากันว่า
          "พวกเรารอดตายมาได้ ก็เพราะการช่วยเหลือของเศรษฐีคนหนึ่ง พวกเราจะตอบแทนบุญคุณของท่านอย่างไรดี" จึงตกลงร่วมกันว่า
          "ตั้งแต่วันนี้ไป แร้งตัวใดได้ผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มใด ๆ ก็พึงคาบไปทิ้งที่บ้านเศรษฐีนะ"


               นับแต่วันนั้นมาฝูงแร้งก็ดูทีเผลอของพวกมนุษย์ที่ตากผ้าไว้ที่กลางแดด ต่างพากันโฉบเฉี่ยวเอาผ้าไปทิ้งไว้ที่บ้านเศรษฐีเป็นประจำ เศรษฐีพอเห็นผ้านั้นแล้ว ก็นำไปเก็บไว้ในที่ส่วนหนึ่งต่างหากไม่นำเอามาใช้

              ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อนเพราะฝูงแร้งลักผ้าไป จึงเข้ากราบทูลพระราชา พระองค์รับสั่งให้ดักบ่วงและข่ายเพื่อจับพญาแร้ง เมื่อชาวเมืองจับพญาแร้งได้แล้ว จะนำไปถวายพระราชา เศรษฐีก็กำลังจะเข้าเฝ้าพระราชาเช่นกัน จึงเดินตามกันไป
          พระราชาตรัสถามพญาแร้งว่า "พวกเจ้าคาบผ้าชาวเมืองไปหรือ?"
          พญาแร้งตอบว่า "จริง พระเจ้าข้า"
          พระราชา "พวกเจ้าเอาไปให้ใคร"
          พญาแร้ง "ให้เศรษฐี พระเจ้าข้า"
          พระราชา "ทำไมละ"
          พญาแร้ง "เพราะเศรษฐีช่วยเหลือชีวิตของพวกข้าพระองค์จึงต้องตอบแทนบุญคุณ .. พระเจ้าข้า"
          พระราชาตรัสถามอีกว่า "เขาลือกันว่า แร้งเห็นซากศพได้ ถึง ๑๐๐ โยชน์มิใช่หรือ เหตุไร พวกเจ้ามาใกล้ข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้สึกตัวเล่า"


          พญาแร้งตอบเป็นคาถาว่า
          "เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต เมื่อนั้นนถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้"


          พระราชาตรัสถามเศรษฐีว่า "เป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ท่านเศรษฐี"
          เศรษฐีได้กราบทูลว่า "จริงพระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้ไปเถิด ข้าพระองค์จะคืนผ้าเหล่านั้นแก่เจ้าของเดิม พระเจ้าข้า"
          พระราชาจึงรับสั่งให้ปล่อยแร้งไปตามเดิม เศรษฐีก็คืนผ้าให้แก่เจ้าของเดิมไป



http://www.youtube.com/watch?v=AlDvxfQV_ro#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
145  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สาลิยชาดก(ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:43:19 pm

สาลิยชาดก(ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารถพระเทวทัตผู้ไม่อาจทำความสะดุ้งกลัวแก่พระองค์ได้จึงตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกชายพ่อค้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเด็กมีอายุได้ ๗-๘ ขวบ วันหนึ่ง ขณะกำลังเล่นอยู่ใต้ต้นไทรหน้าบ้านกับเพื่อนวัยเดียวกันนั้นเอง มีหมอร่างกายพิการคนหนึ่งไม่ได้ทำงานอะไร จึงเดินออกจากบ้านมาพบเด็กกำลังเล่นอยู่ เหลือบไปเห็นงูตัวหนึ่งโผล่หัวออกมาจากโพรงไม้ คิดวางแผนไว้ในใจว่า
          "เราเดือดร้องเงินไม่มีใครว่าจ้างเราน่าจะล่อเด็กพวกนี้ให้งูกัด แล้วเราจะได้รักษามีเงินใช้"
          คิดได้แล้วก็เรียกเด็กลูกชายพ่อค้ามาหาแล้วพูดว่า
          "หลานชาย.. เจ้าอยากได้นกสาลิกาไหม นั้นไงบนต้นไม้นั้น มันอยู่ในโพรงนั่นเอง"

          ลูกชายพ่อค้าไม่รู้ว่ามันเป็นงู จึงปีนต้นไม้ขึ้นไปจับถูกคองู พอรู้ว่ามันเป็นงูเห่าเท่านั้นก็รีบเหวี่ยงทิ้งไป บังเอิญว่างูนั้นถูกเหวี่ยงไปทางหมอร่างกายพิการคนนั้นพอดี งูรัดคอและก็กัดไปหลายทีพิษงูทำให้หมอนั้นล้มลงเสียชีวิตไปทันทีอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถเยียวยาได้ทัน เสร็จแล้วงูก็เลื้อยเข้าป่า ชาวบ้านต่างพากันมุงดูร่างกายของหมอที่นอนตายอย่างน่าสมเพช

          พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วจึงตรัสพระคาถาว่า
          "ผู้ใดประทุษร้ายคนไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีความผิด บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลนั้นเองเอง เหมือนละอองฝุ่นที่บุคคลชัดไปทวนลม ย่อมกลับมากระทบเขาเอง ฉะนั้น"



http://www.youtube.com/watch?v=LAbTst-ZT2Y#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
146  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ชาตาชาดก(ภรรยา 7 ประเภท) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:33:37 pm
ชาตาชาดก(ภรรยา 7 ประเภท)


ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็นธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ไม่กระทำวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตีคนในเรือน ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งอยู่ ฝ่ายมหาเศรษฐีก็เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดา ฟังธรรมอยู่ ขณะนั้น นางสุชาดาทำการทะเลาะกับพวกทาสและกรรมกร พระศาสดาทรงหยุดธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหญิงสะใภ้ในตระกูลคนหนึ่ง ไม่มีความเคารพ นางไม่มีวัตรปฏิบัติต่อพ่อผัว แม่ผัว และสามี ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เที่ยวก่อแต่การทะเลาะทุกวันทุกคืน
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา นางสุชาดามาถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น นางสุชาดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดยพิสดารเถิด พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :

ภรรยาคนใดของชายมีอาการอย่างนี้คือมีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี ยินดีรักใคร่ในบุรุษอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวายเพื่อจะฆ่าสามีผู้ถ่ายมาด้วยทรัพย์ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมอเพชฌฆาต
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ สามีได้ทรัพย์สิ่งใดมา โดยทางศิลปวิทยาก็ดี โดยทางค้าขายก็ดี ทางกสิกรรมก็ดี แม้จะน้อยมากเพียงใด ก็มอบให้ภรรยาเก็บรักษาไว้ แต่ภรรยานั้นไม่รู้จักเก็บงำปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดเปลืองไป ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า โจรีภริยาภรรยาเสมอดังโจร
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ ไม่ปรารถนาทำการงานเกียจคร้าน กินจุ หยาบช้า ดุร้าย ปากคอเราะราน ประพฤติข่มขี่พวกคนผู้คอยรับใช้ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า อัยยาภริยาภรรยาเสมอดังเจ้า
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ โอบอ้อมอารี ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีคล้ายมารดาตามรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า มาตาภริยา ภรรยาเสมอดังมารดา
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีความเคารพสามีของตน มีความละอายใจ ประพฤติตามอำนาจ ความพอใจของสามี คล้ายกับน้องหญิงมีความเคารพพี่ชายฉะนั้น ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ภคินีภริยา ภรรยาเสมอดังน้องหญิง
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เห็นสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้ายกับหญิงสหาย เห็นมิตรสหายมาเรือนของตนฉะนั้น เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตรปฏิบัติต่อสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่าสขีภริยา ภรรยาเสมอดังเพื่อน
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เป็นคนไม่มีความขึ้งโกรธ ถึงจะถูกคุกคามด้วยการฆ่าและลงอาญา ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อสามี ไม่โกรธ ยอมประพฤติตามอำนาจสามีภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ทาสีภริยาภรรยาเสมอดังทาส

         ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวกนี้แล บรรดา ภรรยา ๗ จำพวกนั้น ภรรยา ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ ภรรยาเสมอดัง เพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอดังโจร ๑ ภรรยาเสมอดังเจ้า ๑ ย่อมบังเกิดในนรก ส่วนภรรยา ๔ จำพวกนอกนี้ ย่อมบังเกิดในเทวโลก ชั้นนิมมานรดี ครั้นพระศาสดาตรัสจำแนกภรรยา ๗ จำพวก ด้วยพระคาถาแล้ว จึงตรัสนิคมพจน์ดังนี้ว่า :
ก็ภรรยาใดในโลกนี้ที่เรียกว่าวธกาภริยา โจรีภริยา และอัยยาภริยา เป็นคนทุศีลหยาบช้า มิได้เอื้อเฟื้อ ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่นรก
ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า มาตาภริยา ภคินีภริยาสขีภริยา และทาสีภริยา เป็นคนดำรงอยู่ในศีล สำรวมระวังดีตลอดเวลานาน ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่สุคติ

        เมื่อพระศาสดาทรงแสดงภรรยา ๗ จำพวก ด้วยประการ อย่างนี้แล้ว นางสุชาดาได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล เมื่อพระ ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสุชาดา บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอเป็นภรรยาพวกไหน? นางสุชาดาจึงกราบทูลว่า กระหม่อมฉัน ขอเป็นภรรยาเสมอด้วยทาส พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมขอขมาพระศาสดา พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ ด้วยพระโอวาทครั้งเดียว เท่านั้น ด้วยประการดังนี้ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหารเชตวัน เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรแล้ว จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล
พระศาสดา เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทรมานนางสุชาดาด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :



http://www.youtube.com/watch?v=TgQQ9H95gTk#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
147  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อุจฉังคชาดก(หญิงเจ้าปัญญา) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:30:00 pm
อุจฉังคชาดก(หญิงเจ้าปัญญา)


 ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภหญิงชนบทคนหนึ่ง ...

                   เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พวกโจรป่าได้ปล้นชาวบ้านแล้วนำทรัพย์สินหนีไป พวกทหารตามจับทั้งคืนจนรุ่งแจ้ง ในที่ไม่ไกลจากดงมีชายอยู่ ๓ คน กำลังไถนาอยู่ ทหารตามจับโจรมาถึงที่นั้น จึงจับชายทั้ง ๓ คนไปด้วยคิดว่า " พวกโจรปล้นแล้วมาทำทีเป็นไถนาอยู่ " นำไปถวายพระเจ้าโกศล

                    ลำดับนั้น มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง ร่ำไห้มาหาพระราชา ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่นาง เดินวนเวียนตามพระราชวังไปมา พระราชาจึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าห่มแก่นาง ทหารได้นำผ้าห่มไปให้นาง นางกลับบอกว่านางไม่ต้องการผ้านี้ นางต้องการผ้าห่มคือสามี

พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเรื่องนั้น นางจึงกราบทูลว่า
    " สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาเป็นแสน ก็ยังชื่อว่าเป็นหญิงเปลือยอยู่นั้นเอง พระเจ้าค่ะ "

บัณฑิตจึงกล่าวว่า
   " แม่น้ำที่ไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย
     หญิงปราศจากผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย "

พระราชาทรงเลื่อมใสนาง จึงตรัสถามว่า
    " ชาย ๓ คนนี้เป็นอะไรกับเจ้า "

นางกราบทูลว่า
    " คนหนึ่งเป็นสามี คนหนึ่งเป็นพี่ชาย และคนหนึ่งเป็นลูกชาย พระเจ้าค่ะ "

พระราชาตรัสว่า
    " ในชาย ๓ คนนี้ ให้เจ้าเลือกเอาหนึ่งคน เจ้าจะเอาใคร "

นางกราบทูลว่า
    " เมื่อหม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีและบุตรต้องหาได้ แต่เพราะมารดาและบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชายคนเดียวหาได้ยาก ขอพระองค์พระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ "

พระราชาทรงพอพระทัย มีความยินดียิ่ง จึงทรงปล่อยคนทั้ง ๓ ไป เพราะอาศัยหญิงนั้นคนเดียว




http://www.youtube.com/watch?v=yaunkg6T06E# (Embedding disabled, limit reached)


ทีมา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=3
148  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / คิริทัตตชาดก(ม้าขาเป๋) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:26:04 pm
คิริทัตตชาดก(ม้าขาเป๋)


      ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้คบพวกผิดรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ผู้สอนธรรมของพระเจ้าสามะ ในเมืองพาราณสี พระราชามีม้ามงคล อยู่ตัวหนึ่งชื่อปัณฑวะ มีรูปร่างสวยงามมาก ต่อมาคนเลี้ยงม้าคนเดิมเสียชีวิตลง จึงรับนายคิริทัตซึ่งเป็นชายขาเป๋เข้ามาเลี้ยงม้าตัวนี้แทน

                  ฝ่ายม้าปัณฑวะเดินตามหลังนายคิริทัตทุกวันสำคัญว่า "คนนี้สอนเรา" จึงกลายเป็นม้าขาเป๋ไป นายคิริทัตได้เข้ากราบทูลเรื่องมาขาเป๋ให้พระราชาทราบ พระองค์ได้สั่งแพทย์ให้ไปตรวจดูอาการของม้า แพทย์ตรวจดูแล้วไม่พบโรคอะไรจึงไปกราบทูลให้พระราชาทราบ พระองค์จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปตรวจดู อำมาตย์โพธิสัตว์ไปตรวจดูก็ทราบว่าม้านี้เดินขาเป๋เพราะเกี่ยวกับคนเลี้ยงม้าขาเป๋ จึงกราบทูลให้ทราบว่าม้านี้เดินขาเป๋เพราะเกี่ยวกับคนเลี้ยงม้าขาเป๋ จึงกราบทูลให้พระราชาทราบว่า "ขอเดชะ ม้าปัณฑวะของพระองค์เป็นปกติดี ที่เดินเช่นนั้นเป็นเพราะแบบคนเลี้ยงม้า พระเจ้าข้า"

                 พระราชาตรัสถามว่า "แล้วจะให้ทำอย่างไรกับม้านี้ละทีนี้" อำมาตย์จึงกราบทูลว่า "เพียงได้คนเลี้ยงม้าขาดี ม้าก็จะเป็นปกติเหมือนเดิม พระเจ้าข้า" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

                 "ถ้าคนบริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงามที่สมควรแก่ม้านั่น พึงจับมานั่นที่บังเหียนแล้วจูงไปรอบๆ สนามม้าไซร้ ม้าก็จะละอาการเขยกแล้วเลียนแบบคนเลี้ยงม้านั้นโดยพลัน"

                 พระราชารับสั่งให้เปลี่ยนคนเลี้ยงม้าใหม่ พอเปลี่ยนคนเลี้ยงม้าคนใหม่ ไม่นานม้านั้นก็เดินปกติดีเช่นเดิม พระราชาจึงได้พระราชทานลาภยศแก่พระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมากในฐานะรู้อัธยาศัยของม้านั้น



http://www.youtube.com/watch?v=4F75_oHZR9Y#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา   http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=3
149  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มหากัณหชาดก(คราวที่สุนัขดำกินคน) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:21:19 pm
มหากัณหชาดก(คราวที่สุนัขดำกินคน)


ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึงพระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวนมาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลกโดยส่วนเดียว นับแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงถือบาตรจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทานพระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไปคยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิลพันหนึ่ง
เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบทด้วยโอวาทสามข้อ
ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสิบห้าโยชน์ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล
เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต
ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่ พระองค์เดียว ล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้า ตั้งอยู่ในพระอรหัต
ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์ ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์
ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมาภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัตแก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง
เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะ และศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการ ต่างๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะ เป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.



http://www.youtube.com/watch?v=G6Vi5v9L6x8#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=3
150  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สัตติคุมพะชาดก(พี่น้องต่างใจ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:14:38 pm
สัตติคุมพะชาดก(พี่น้องต่างใจ)


    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่คทายวิหาร ใกล้ถ้ำมัททกุจฉิ เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้กลิ้งศิลาหมายให้ทับพระองค์ มีแต่สะเก็ดแตกกระทบพระบาทยังพระโลหิตให้ห้อเท่านั้น ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยพระเจ้าปัญจาละกปกครองเมืองอุตตาปัญจาละ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกนกแขกเต้ามีน้องตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ป่างิ้วใกล้ภูเขาลูกหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากภูเขาลูกนั้นด้านทิศเหนือมีบ้านของพวกโจร ๕๐๐ ด้านทิศใต้เป็นอาศรมของฤๅษี ๕๐๐ ตน เมื่อนกแขกเต้า สองพี่น้องเติบโตขึ้นกำลังหัดบิน ในวันหนึ่งเกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำนกแขกเต้าทั้งสองจึงถูกลมพัดไปตกคนละแห่ง นกผู้น้องไปตกระหว่างอาวุธของบ้านโจร พวกเขาจึงตั้งชื่อให้มันว่า สัตติคุมพะ ส่วนนกผู้พี่ไปตกระหว่างกองดอกไม่ใกล้อาศรมฤๅษี จึงถูกตั้งชื่อว่าปุปผกะนกทั้งสองตัวต่างเติบโตในสถานที่นั้นๆ

                อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าปัญจาละเสด็จประพาสป่า พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่เพื่อออกล่าสัตว์ ทรงประกาศว่า "เนื้อหนึไปทางผู้ใด อาญาจะมีแก่ผู้นั้น" พระองค์ทรงธนูยืนซ่อนอยู่ในซุ้มที่เขาจัดถวาย เมื่อพวกทหารตีเคาะพุ่มไม้มีเนื้อทรายตัวหนึ่งดูทางที่จะไป เห็นทางที่พระราชาประทับอยู่เงียบสงัด จึงวิ่งไปทางนั้้นและหลบหนีไปได้ พวกอำมาตย์ต่างร้องถามกันว่า "เนื้อหนีไปทางผู้ใด" เมื่อทราบว่าด้านของพระราชาต่างก็หัวเราะยิ้มเยาะ พระองค์

          พระราชารีบขึ้นรถพระที่นั่งสั่งให้นายสารถีตามจับเนื้อให้จงได้ พวกบริวารไม่สามารถที่จะวิ่งไล่รถของพระองค์ทันใด้ จึงมีเพียงพระราชาและนายสารถีสองคนเท่านั้นตามเนื้อไป จนเที่ยงวันก็ไม่พบเนื้อตัวนั้น จึงเสด็จกลับพบลำธารสวยงามระหว่างทางใกล้ที่อยู่ของโจร ด้วยความเหนื่อยล้า จึงลงไปบรรทมพักผ่อนใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ฝ่ายนายสารถีถวายงานนวดอยู่

          ณ บ้านโจร พวกโจรพากันออกจากบ้านเข้าป่ากันหมด เหลือแต่นกสัตติคุมพะและพ่อครัวคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น นกสัตติคุมพะบินออกจากบ้านไปพบพระราชา ก็คิดจะปล้นชิงทรัพย์จึงบินกลับมาบอกพ่อครัว ฝ่ายพ่อครัวรีบออกไปดู เมื่อทราบว่าเป็นพระราชาจึงพูดว่า "แกจะบ้าเรอะ จะปล้นพระราชา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระราชาถึงจะเข้าป่าก็ยังทรงเดชานุภาพอยู่นั้นเอง" นกพูดตอบว่า "ท่านพ่อครัว เวลาเมาท่านเก่งกาจมากมิใช่หรือ มาบัดนี้ท่านทำไมไม่อยากทำโจรกรรมเล่า"

          พระราชาทรงตื่นจากบรรทมได้ยินเสียงคนคุยกันก็ทราบว่า สถานที่นี้ไม่ปลอดภัยจึงปลุกนายสารถีรีบเสด็จไปโดยเร็ว นกสัตติคุมพะรีบบินร้องให้โจรตามรถของพระราชาไป พระราชาเสด็จไปถึงอาศรมของพวกฤๅษี ขณะนั้นพวกฤๅษีเข้าป่าหาผลไม้เหลือแต่นกปุปผกะตัวเดียว มันพอเห็นพระราชาเสด็จมาถึงรับบินไปต้อนรับและถวายพระพร

          พระราชาเลื่อมใส่ในนกปุปผกะตรัสชมเชยว่า "นกแขกเต้าตัวนี้ดีมากส่วนนกแขกเต้าตัวโน้นพูดแต่คำหยาบให้จับพระราชาให้ฆ่าพระราชา นกสองตัวนี้ข่างต่างกันจริงๆ"

          นกปุปผกะกราบทูลว่า "มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นพี่น้องกัน เติบโตจากต้นงิ้ว แต่ต่างถูกลมพัดไปอยู่คนละเขต สัตติคุมพะตกไปอยู่ในบ้านโจร ข้าพระองค์มาอยู่ในอาศรมฤๅษีเราทั้งสองจึงต่างกันพระเจ้าข้า" แล้วแสดงธรรมแก่พระราชาว่า

               "ขอเดชะบุคคลคบคนเช่นใด เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ ผู้มีศีลหรือไม่มีศีล ย่อมไปสู่อำนาจของผู้นั้น
                   เพราะอยู่ร่วมกันกับผู้นั้นเหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมทำให้แหล่งลูกศรเปื้อนยาพิษด้วย
               นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายผู้ต่ำช้าเลยทีเดียว เพราะกลัวจะเปื้อนด้วยบาปกรรมเหมือนห่อปลาเน่าด้วยหญาคา
               หญ้าคาย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปด้วย การคบหาสมาคมกับคนพาลก็เช่นกัน เหมือนห่อของหอมด้วยใบไม้
              ใบไม้ก็หอมฟุ้งไปด้วยฉันได การคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
               ดังนั้น บัณฑิตไม่ควรคบหาอสัตบุรุษ ควรคบหาแต่สัตบุรุษเท่านั้น"

          พระราชาทรงเลื่อมใสธรรมกถาของนกปุปผกะอย่างมาก เมื่อหมู่ฤๅษีกลับมาแล้วจึงนิมนต์ให้เข้าไปอยู่ในสวนหลวง เพื่อจะได้อุปัฏฐากบำรุง และทรงให้ปล่อยนกทั้งหลายเป็นอภัยทาน หมู่ฤๅษีรับคำนิมนต์นั้นอยู่สงเคราะห์พระราชาจนตราบสิ้นชีวิต



http://www.youtube.com/watch?v=B4akxrP-aG8#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=3
151  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / สัพพทาฐิชาดก(ผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:08:44 pm
สัพพทาฐิชาดก(ผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้)


ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระองค์ เป็นผู้จบไตรเพทและศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ รอบรู้ปฐวีวิชัยมนต์ ที่เรียกว่า ปฐวีวิชัยมนต์นั้น คือมนต์กลับใจให้หลง

   
                   อยู่มาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์คิดว่าจักสาธยายมนต์นั้น จึงนั่งทำการสาธยายมนต์บนหินดาดที่เนินผาแห่งหนึ่ง นัยว่ามนต์นั้นผู้มีใจวอกแวกความทรงจำไม่ดี ไม่สามารถจะให้สำเร็จได้ เพราะฉะนั้นปุโรหิตนั้นจึงสาธยายในที่เช่นนั้น ในเวลาที่ท่านปุโรหิตทำการสาธยาย มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงแห่งหนึ่ง ได้ยินมนต์นั้นเหมือนกัน ได้ท่องจำจนแคล่วคล่อง นัยว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นในอัตภาพอดีตก่อนหน้านั้น ได้เป็นพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งแสดงแคล่วคล่องปฐวีวิชัยมนต์
   
                   พระโพธิสัตว์ทำการสาธยายแล้วลุกไป กล่าวว่ามนต์ของเรานี้แคล่วคล่องหนอ สุนัขจิ้งจอกออกจากโพรงกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ มนต์นี้แคล่วคล่องแก่ข้าพเจ้ายิ่งกว่าท่านเสียอีก แล้ววิ่งหนีไป พระโพธิสัตว์คิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้จักทำอกุศลใหญ่หลวง จึงติดตามไปได้หน่อยหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกได้หนีเข้าป่าไป สุนัขจิ้งจอกไปงับนางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง เมื่อนางสุนัขจิ้งจอกถามว่า อะไรกันนี่
   
                       กล่าวว่า เจ้ารู้จักเราหรือไม่รู้จัก
   
                     นางสุนัขจิ้งจอกตอบว่า รู้จักซิ
   
      สุนัขจิ้งจอกนั้นร่ายปฐวีวิชัยมนต์บังคับสุนัขจิ้งจอกเป็นร้อย ๆ ไว้ในอำนาจ กระทำสัตว์ ๔ เท้า มีช้าง ม้า สิงห์ เสือ กระต่าย สุกรและเนื้อเป็นต้น ทั้งหมดไว้ในสำนักของตนแล้วได้เป็นพญาสัตว์ ชื่อว่าสัพพทาฐะ นางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเป็นอัครมเหสี ราชสีห์ยืนอยู่บนหลังช้างสองเชือก พญาสุนัขจิ้งจอกนั่งบนหลังราชสีห์กับนางสุนัขจิ้งจอกผู้เป็นอัครมเหสี นับเป็นยศอันยิ่งใหญ่
   
      พญาสุนัขจิ้งจอกเมาด้วยยศมหันต์ เกิดความมานะคิดชิงราชสมบัติกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยสัตว์จตุบาททั้งปวง บรรลุถึงที่ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี มีบริษัทบริวารได้ ๑๒ โยชน์ ทัพพญาสุนัขจิ้งจอกตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ส่งสาสน์ไปถึงพระราชาว่าจงมอบราชสมบัติให้หรือจงรบ ชาวกรุงพาราณสีต่างพากันสะดุ้งหวาดกลัว ปิดประตูพระนครตั้งมั่นอยู่
   
      พระโพธิสัตว์เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่ากลัวเลย การต่อสู้ด้วยการรบกับสุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะ เป็นภาระของข้าพระองค์เอง เว้นข้าพระองค์เสีย ไม่มีผู้อื่นสามารถรบกับมันได้
   
      ปลอบใจพระราชากับประชาชนแล้ว คิดว่า สัพพทาฐะจะทำอย่างไรจึงจะยึดราชสมบัติ เราจักถามมันดูก่อนจึงขึ้นป้อมที่ประตูเมืองถามว่า ดูก่อนสัพพทาฐะ จะยึดราชสมบัติอย่างไร
   
      ตอบว่า เราจะให้ราชสีห์เปล่งสีหนาททำให้มหาชนสะดุ้งตกใจกลัวเสียงแล้วจักยึดเอาราชสมบัติ
   
      พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่า มีอุบายแก้ จึงลงจากป้อมให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า ชาวกรุงพาราณสีทั้งหมด๑๒ โยชน์ จงเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูเสีย มหาชนฟังเสียงป่าวร้องพากันเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูของตน และของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด แม้กระทั่งแมว ไม่ให้ได้ยินเสียงของผู้อื่น
   
      ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ขึ้นสู่ป้อมร้องเรียกอีกว่า ดูก่อนสัพพทาฐะ
   
      พญาสุนัขจิ้งจอกถามว่า อะไรเล่าพราหมณ์
   
      กล่าวว่า ท่านจักทำอย่างไรอีกจึงจะชิงเอาราชสมบัตินี้ได้
   
      ตอบว่าข้าพเจ้าจะให้ราชสีห์เปล่งสีหนาทให้พวกมนุษย์ตกใจกลัว ให้ถึงแก่ความตายแล้วจึงจะยึดเอาราชสมบัติ
   
      พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านไม่อาจให้ราชสีห์เปล่งสีหนาทได้ เพราะพญาไกรสรสีหราชมีเท้าหน้าเท้าหลังแดงงาม สมบูรณ์ด้วยชาติ จักไม่ทำตามคำสั่งของสุนัขจิ้งจอกแก่เช่นท่าน
   
      สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ดื้อด้านอวดดีกล่าวว่า ราชสีห์ทั้งหลาย ตัวอื่นจงยืนเฉย เรานั่งอยู่บนหลังตัวใด จักให้ตัวนั้นแหละแผดเสียง
   
      พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงให้แผดเสียงเถิด ถ้าท่านสามารถ พญาสุนัขจิ้งจอกจึงให้สัญญาณด้วยเท้าแก่ราชสีห์ตัวที่ตนนั่งอยู่บนหลังว่า จงแผดเสียง
   
      ราชสีห์นั้นจึงแม้มปากเปล่งสีหนาทบนกระพองเศียรช้าง ๓ ครั้ง อย่างไม่เคยเปล่งมาเลย ช้างทั้งหลายต่างสะดุ้งตกใจ สลัดสุนัขจิ้งจอกให้ตกไปที่โคนเท้า เอาเท้าเหยียบหัวสุนัขจิ้งจอกนั้นแหลกละเอียดไป สุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะถึงแก่ความตาย ณ ที่นั้นเอง ช้างเหล่านั้นได้ยินเสียงราชสีห์แล้ว ก็กลัวภัย คือความตาย ต่างก็สับสนชุลมุนวุ่นวายแทงกันตาย ณ ที่นั้นเอง สัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด แม้ที่เหลือมีเนื้อและสุกรเป็นต้น มีกระต่ายและแมวเป็นที่สุด ยกเว้นราชสีห์ทั้งหลายเสีย ได้ถึงแก่ความตาย ณ ที่นั้นเอง ราชสีห์ทั้งหลายก็หนีเข้าป่าไป กองเนื้อสัตว์เกลื่อนไปทั้ง ๑๒ โยชน์
   
      พระโพธิสัตว์ลงจากป้อมแล้ว ให้เปิดประตูพระนคร ให้ตีกลองเที่ยวประกาศไปในพระนครว่า ชาวเมืองทั้งหมดจงเอาแป้งที่หูของตนออก มีความต้องการเนื้อก็จงไปเก็บเอามา มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคเนื้อสด ที่เหลือก็ตากแห้งทำเป็นเนื้อแผ่นไว้ กล่าวกันว่า นัยว่าการทำเนื้อแผ่นตากแห้งเกิดขึ้นในครั้งนั้นเอง
   
      พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า :
   
              สุนัขจิ้งจอกกระด้างด้วยมานะ
   
      มีความต้องการด้วยบริวาร
   
      ได้บรรลุถึงสมบัติใหญ่
   
      ได้เป็นราชแห่งสัตว์มีเขี้ยวทั้งปวง ฉันใด
   
      ในหมู่มนุษย์ผู้ใดมีบริวารมาก
   
      ผู้นั้นชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาฉะนั้น
   
      พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว แล้วทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ พระราชาได้เป็นสารีบุตร ส่วนปุโรหิต คือเราตถาคตนี้แล



http://www.youtube.com/watch?v=0Dpuwjp_7H8#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
152  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กากชาดก(การจองเวร) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:04:38 pm
กากชาดก(การจองเวร)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา อยู่มาวันหนึ่ง ปุโรหิตของพระราชา อาบน้ำในแม่น้ำนอกพระนคร ประแป้งแต่งกายประดับดอกไม้ นุ่งผ้าสมศักดิ์ศรี กำลังเดินเข้าพระนคร ที่ยอดเสาค่ายใกล้ประตูพระนคร กาสองตัวกำลัง จับอยู่ในสองตัวนั้น กาตัวหนึ่ง พูดกับอีกตัวหนึ่งว่า สหาย เราจักขี้รดหัวพราหมณ์นี้ อีกตัวหนึ่งค้านว่า เจ้าอย่านึกสนุกอย่างนั้นเลย พราหมณ์นี้เป็นคนใหญ่คนโต ขึ้นชื่อว่าการก่อเวรกับอิสสรชนละก็ร้ายนัก เพราะแกโกรธขึ้นมาแล้วพึงทำกาทั้งหมดให้ฉิบหายได้ กาตัวนั้นพูดว่า เราไม่อาจยับยั้งเปลี่ยนใจได้เสียแล้ว อีกตัวหนึ่งกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจักได้รู้ดอก แล้วบินหนีไป กาตัวนั้นเวลาพราหมณ์ลอดส่วนล่างแห่งเสาค่าย ก็ทำเป็นย่อตัวลงขี้รดหัวพราหมณ์นั้น พราหมณ์โกรธจึงผูกเวรในฝูงกา.
 
ครั้งนั้น หญิงทาสีรับจ้างซ้อมข้าวคนหนึ่ง เอาข้าวเปลือกผึ่งแดดไว้ที่ประตูเรือน นั่งคอยเฝ้าอยู่แล้วเผลอหลับไป แพะขนยาวตัวหนึ่งรู้ว่าหญิงนั้นประมาทก็แอบมากินข้าวเปลือกเสีย นางตื่นขึ้นเห็นมันมาแอบกินข้าวก็ไล่ไป แล้วนางก็เผลอหลับไปอีก แพะก็แอบมากินข้าวเปลือกในเวลาที่นางหลับอีก อย่างนั้นนั่นแหละ สองสามครั้ง นางก็เที่ยวไล่มันไปทั้งสามครั้ง แล้วคิดว่า เมื่อมันกินบ่อยครั้ง จักกินข้าวเปลือกไปตั้งครึ่งจำนวน เราต้องเข้าเนื้อไปมากมาย คราวนี้ต้องทำไม่ให้มันมาได้อีก นางจึงถือไต้ที่ติดไฟนั่งทำเป็นหลับ เมื่อแพะเข้ามากินข้าวเปลือก นางก็ลุกขึ้นขว้างแพะด้วยไต้ ขนแพะก็ติดไฟ เมื่อร่างกายถูกไฟไหม ้มันคิดจักให้ไฟดับ จึงวิ่งไปโดยเร็วเอาลำตัวสีที่กระท่อมหญ้าแห่งหนึ่งใกล้โรงช้าง กระท่อมนั้นก็ลุกโพลงไป เปลวไฟที่เกิดจากกระท่อมนั้น ลามไปติดโรงช้าง เมื่อโรงช้างไหม้ หลังช้างก็พลอยไหม้ไปด้วย ช้างจำนวนมากต่างมีตัวเป็นแผลไปตาม ๆ กัน พวกหมอไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ พากันกราบทูลพระราชา พระราชาจึงตรัสกับปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ หมอช้างหมดฝีมือที่จะรักษาฝูงช้าง ท่านพอจะรู้จักยาอะไร ๆ บ้างหรือ ? ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบเกล้าฯ อยู่พระเจ้าข้า รับสั่งถามว่า ได้อะไรถึงจะควร ? กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ต้องได้น้ำมันกาพระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงสั่งให้คนฆ่ากา เอาน้ำมันมาเถิด นับแต่นั้น คนทั้งหลายก็พากันฆ่ากา ไม่ได้น้ำมัน ก็ทิ้งสุมไว้เป็นกอง ๆ ในที่นั้น ๆ ภัยอย่างใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงกาแล้ว.
 
ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ มีฝูงกาแปดหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่ในป่าช้าใหญ่ มีกาตัวหนึ่งมาบอกแก่พระโพธิสัตว์ ถึงภัยที่เกิดแก่ฝูงกา พระโพธิสัตว์ดำริว่า ยกเว้นเราเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะสามารถบำบัดภัยที่กำลังเกิดขึ้นแก่หมู่ญาติของเราได้ไม่มีเลย เราต้องบำบัดภัยนั้น แล้วรำลึกถึงบารมี ๑๐ ประการ กระทำเมตตาบารมีให้เป็นเบื้องหน้า บินรวดเดียวเท่านั้น เข้าไปในช่องพระแกลใหญ่ที่เปิดไว้ เข้าไปซุกอยู่ภายใต้พระราชอาสน์ ครั้งนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่ง ทำท่าจะจับพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสห้ามว่า มันเข้ามาหาที่พึ่ง อย่าจับมันเลย พระมหาสัตว์พัก หน่อยหนึ่ง แล้วรำลึกถึงพระบารมี ออกจากใต้อาสนะ กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชา ต้องไม่ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นจึงจะชอบ กรรมใด ๆ ที่จะต้องกระทำ กรรมนั้น ๆ ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วกระทำ จึงจะชอบ อนึ่ง กรรมใดที่จะกระทำ ต้องได้ผล กรรมนั้นเท่านั้นจึงจะควรกระทำ นอกนี้ไม่ควรกระทำ ก็ถ้าพระราชาทั้งหลายมาทรงกระทำกรรมที่ทำไปไม่สำเร็จผลเลยอยู่ไซร้ มหาภัย มีมรณภัยเป็นที่สุด ย่อมบังเกิดแก่มหาชน ปุโรหิตตกอยู่ในอำนาจของการจองเวร ได้กราบทูลเท็จ ขึ้นชื่อว่า มันเหลวของฝูงกาไม่มีเลย พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระทัยเลื่อมใส ให้พระโพธิสัตว์เกาะบนตั่งอันแพรวพราวด้วยทองคำ ให้คน ทาช่วงปีกด้วยน้ำมันที่หุงแล้วได้แสนครั้ง ให้บริโภคอาหารที่สะอาด สมควรจเป็นพระกระยาหารได้ ให้ดื่มน้ำ พอพระมหาสัตว์สบาย หายความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงได้ตรัสคำนี้ว่า พ่อบัณฑิต เธอกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกาไม่มี ด้วยเหตุไรเล่า มันเหลวของฝูงกาจึงไม่มี พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลชี้แจงว่า ด้วยเหตุนี้ ๆ พระเจ้าข้า กระทำพระราชวังทั้งสิ้นให้เป็นเสียงเดียวกัน แสดงธรรม กล่าวว่า :
 
ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาฝูงกามีใจสะดุ้ง คือคอยแต่หวาดกลัวอยู่เป็นนิจทีเดียว ทั้งชอบเที่ยว เบียดเบียน ข่มเหง มนุษย์ที่เป็นใหญ่ มีกษัตริย์เป็นต้นบ้าง หญิงชายทั่วไปบ้าง เด็กชายเด็กหญิงเป็นต้นบ้าง เหตุนั้น คือ ด้วยเหตุสองประการนี้ ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกาผู้เป็นญาติของข้าพระองค์เหล่านั้นจึงไม่มี แม้ในอดีตก็ไม่เคยมี แม้ในอนาคตก็จักไม่มี.
 
พระโพธิสัตว์ เปิดเผยเหตุนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชามิได้ทรงพิจารณาใคร่ครวญแล้ว ไม่พึงปฏิบัติพระราชกิจ พระราชาทรงพอพระทัย บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ พระโพธิสัตว์ ถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชาดังเดิม ให้พระราชาดำรงอยู่ ในเบญจศีล ทูลขอพระราชทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง พระราชาทรงสดับธรรมเทศนาแล้ว โปรดพระราชทานอภัยแก่สรรพสัตว์ ทรงตั้ง นิพัทธทาน (ทานที่ให้ประจำ) แก่ฝูงกา ให้หุงข้าวประมาณวันละหนึ่งถัง คลุกด้วยของที่มีรสเลิศต่าง ๆ พระราชทานแก่กาทุก ๆ วัน ส่วนพระมหาสัตว์ได้รับพระราชทานพระกระยาหารทีเดียว.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม ชาดกว่า พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้นได้มาเป็นอานนท์ ส่วนพระยากาได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
 
จบ กากชาดก



http://www.youtube.com/watch?v=hIRo8OLcXTo#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
153  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / นิโครธมิคชาดก(การเลือกคบคน) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:29:44 pm
นิโครธมิคชาดก(การเลือกคบคน)

สมัยพุทธกาล ณ นครราชคฤห์ ธิดาเศรษฐีผู้หนึ่งเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม แต่กลับไม่ยินดีในความงามนั้น เฝ้าขอบิดามารดาบวชเป็นภิกษุณีเสมอแต่ไม่ได้รับอนุญาต เมื่อเจริญวัยบิดามารดาจึงให้แต่งงานกับบุตรเศรษฐี

                           วันหนึ่งที่เมืองมีงานนักขัตกฤษ์ ชาวเมืองต่างแต่งกายสวยงาม แต่ธิดาเศรษฐีกลับแต่งกายเรียบๆ บอกเหตุกับสามีว่า เพราะมองเห็นความไม่งามของร่างกาย สามีจึงกล่าวว่า ทำไมเธอจึงไม่บวชเสียเล่า? นางได้ฟังก็ยินดี สามีจึงพาไปบวชเป็นพระภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัต เมื่อบวชแล้วนางได้บำเพ็ญกิจของภิกษุณีอย่างเคร่งครัด โดยไม่รู้ตัวว่านางมีครรภ์ก่อนที่จะบวช เมื่อครรภ์ของนางโตขึ้น พระเทวทัตเกรงว่าตนจะเสื่อมเสียชื่อเสียงจึงสั่งให้นางสึก

                          นางคิดว่าตนบวชเพื่อถวายชีวิตแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่มาบวชเพื่อพระเทวทัต จึงเดินทางไปยังเชตวันมหาวิหารเพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณว่า นางเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แต่เพื่อคนทั่วไปได้ประจักษ์ จึงโปรดให้ตั้งกรรมการขึ้นพิจารณา นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ตรวจร่างกายและสอบสวนวัน เดือน ปีที่นางออกบวช ได้ความจริงว่า นางตั้งครรภ์ก่อนออกบวช นางจึงพ้นความผิด

                          ต่อมานางคลอดบุตรเป็นชายมีผิวพรรณผุดผ่อง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่า พระกุมารกัสสปะ ครั้นอายุได้ ๗ ขวบ ทราบชาติกำเนิดของตนเกิดความสลดใจ จึงออกบวช ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศในการแสดงธรรมอันวิจิตร

                         นางภิกษุณีผู้เป็นมารดา นับแต่ลูกจากไปก็ได้แต่ร้องให้คิดถึงลูกจนไม่มีใจปฏิบัติธรรม เช้าวันหนึ่งบังเอิญได้พบพระกุมารกัสสป จึงร้องเรียกชื่อพระลูกชาย พระกุมารกัสสปเถระทราบว่า ถ้าหากท่านพูดด้วยถ้อยคำอันไพเราะ มารดาจะตัดความอาลัยไม่ขาด จึงพูดให้สติว่า “ท่านเที่ยวทำอะไรอยู่นะ! เวลาผ่านมาตั้งนานแล้ว ความอาลัยอาวรณ์แค่นี้ก็ยังตัดไม่ได้” นางได้ยินก็เสียใจ คิดตัดอาลัย จึงตั้งใจปฏิบัติธรรม จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ … พระภิกษุได้สนทนาถึงเหตุนี้ พระบรมศาสดาทรงทราบจึงตรัสเรื่อง นิโครธมิคชาดก ดังนี้

 

เนื้อหาชาดก

                    ณ ป่าใหญ่ มีกวาง ๒ ฝูง พญากวางฝูงหนึ่งชื่อ นิโครธ อีกฝูงพญากวางชื่อ สาขะ มีบริวารฝูงละ ๕๐๐ ตัว ในครั้งนั้น พระราชาจะเสด็จไปยิงกวางเสมอๆ วันหนึ่งทอดพระเนตรเห็นพญากวางทองทั้งสอง จึงมีพระทัยเมตตารับสั่งไม่ฆ่าพญากวางทั้งสองนี้ แต่ยังคงล่ากวางอื่นๆ พญากวางจึงปรึกษากันว่า เพื่อไม่ต้องระแวงภัย แต่ละฝูงจะผลัดกันส่งกวางให้ฆ่าวันละ ๑ ตัว อยู่มาวันหนึ่ง ถึงเวรของนางกวางท้องแก่ในฝูงของพญาสาขะ นางขอร้องพญาสาขะว่า ขอให้นางคลอดลูกก่อนแล้วจะเอาตัวเองไปให้ฆ่าแทน แต่พญาสาขะไม่ยอม นางกวางจึงไปหาพญานิโครธ เพื่อขอความช่วยเหลือ

                       เมื่อพญานิโครธได้ฟังแล้ว ยอมเสียสละชีวิตตนเองแทน จึงเดินไปที่โรงครัว เอาหัววางบนเขียง เมื่อพ่อครัวมาเห็นจึงรีบกราบทูลพระราชา พระราชาทราบความจากพญานิโครธเกิดสลดพระทัย ดำริว่า แม้สัตว์เดรัจฉานยังมีความเมตตากรุณา จึงประกาศพระราชทานอภัยชีวิตแก่สัตว์ในป่าทั้งหลาย และตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงามนับแต่นั้นมา

                            ประชุมชาดก

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว ชนทั้งหลายต่างบรรลุธรรมตามลำดับชั้น พระพุทธองค์ทรงประชุมชาดกว่า

พญากวางสาขะ ได้มาเป็น พระเทวทัต

แม่กวาง ภิกษุณีรูปนี้

พระราชา พระอานนท์

พญากวางนิโครธ พระองค์เอง

                           ข้อคิดจากชาดก

๑. ผู้ที่มีบุญ ย่อมมีปัญญามองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง มองเห็นโทษของวัฏสงสารว่าเป็นทุกข์ แล้วหาทางที่จะออกจากทุกข์นั้น

๒. ผู้ที่มีความตั้งใจจะสร้างบุญบารมี ควรจะตัดความห่วงใยอาลัยรักทั้งหลายให้ได้ ถ้าตัดไม่ได้ จิตใจจะกังวล ไม่อาจบรรลุธรรมขั้นสูงได้

๓. บุตรควรมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณ และตอบแทนคุณ บิดามารดา

๔. ผู้นำที่ควรแก่การเคารพสรรเสริญนั้น นอกจากจะต้องมีความสามารถแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมอีกด้วย

๕. ผู้ที่ถูกกล่าวหาจะต้องทำใจให้หนักแน่น ยึดมั่นในคุณความดี และอดทนเพื่อรอโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน ถือเสียว่า “มือไม่มีแผล ย่อมไม่กลัวพิษงู ทองบริสุทธิ์อยู่ ย่อมไม่กลัวไฟล


http://www.youtube.com/watch?v=FZDzDLB-Sgk#ws (Embedding disabled, limit reached)



ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
154  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กาญจนักขันธชาดก(ธรรมะมีค่าดั่งทอง) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:18:05 pm
กาญจนักขันธชาดก(ธรรมะมีค่าดั่งทอง)

  ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี มีชายชาวนาผู้ขยันคนหนึ่ง ได้จับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อถากถางเป็นที่นาของตน ซึ่งที่ดินแห่งนี้เมื่อในอดีต เคยเป็นที่ตั้งบ้านของเศรษฐีผู้มาก่อน 

 ชายหนุ่มได้ออกไปไถนาทุกวัน วันหนึ่งขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้น ผาลไถ ( เหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ) ก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งๆ ท่อนหนึ่งในดิน วัวที่เทียมไถไม่สามารถลากต่อไปได้จึงหยุดยืนนิ่งอยู่กับที่ เมื่อแรกเขาคิดว่าเป็นรากไม้ จึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู แต่กลับเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน ทองคำแท่งนี้ เศรษฐีเจ้าของบ้านคนเดิมได้ฝังซ่อนไว้ แล้วอพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่น กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า

ขณะนั้นเพิ่งจะบ่าย ยังมีเวลาเหลืออีกมาก ชาวนาผู้รักงานจึงค่อยๆ ทำงานต่อ แล้วโกยดินกลบท่อนทองคำไว้ดังเดิม จนกระทั่งโพล้เพล้ เขาจึงหยุดทำงาน แล้วย้อนกลับไปยังที่ฝังแท่งทองคำ คุ้ยดินออก ตั้งใจจะแบกกลับบ้าน แต่ทองมีน้ำหนักมากแบกไปไม่ไหว เขาจึงคิดที่จะแบ่งแท่งทองนี้ออกเป็นสี่ส่วน ส่วนที่ ๑ ขายนำทรัพย์มาเลี้ยงชีพ ส่วนที่ ๒ ฝังไว้ที่เดิมเก็บไว้ยามขัดสน ส่วนที่ ๓ เป็นทุนค้าขาย ส่วนที่ ๔ ทำบุญให้ทาน

เขาจึงตัดทองคำออกแบกกลับบ้านคราวละท่อนๆ นำไปใช้ตามจุดประสงค์นั้น โดยไม่มีความกังวลว่า ทองคำส่วนที่กลบดินจะสูญหายหรือไม่ แต่เพื่อความไม่ประมาท ชาวนาจึง ไม่ปริปากแพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครทราบแม้แต่กับลูกเมีย ยิ่งกว่านั้น แม้แต่การจับจ่ายภายในบ้าน ก็ยังให้เป็นไปตามปกติ จนไม่มีใครล่วงรู้เบื้องหลังในความเป็นผู้มั่งมีของเขาเลย เข้าใจเอาเองว่า เป็นเพราะความขยันขันแข็งในการทำงานของเขา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า...

“ นรชนใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบานแล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างได้โดยลำดับ”

 ครั้นแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า "ชาวนา" ได้มาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

๑. ผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ต้องศึกษาอัธยาศัยของผู้รับคำสอนเสียก่อน แล้วพลิกแพลงวิธีการให้เหมาะสม มิฉะนั้น จะกลายเป็นยัดเยียดคำสอน อย่างไรก็ดี ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยฝึกคุณสมบัติ ๔ ประการ คือ ( ๑) แตกฉานในการขยายความ ( ๒) แตกฉานในการย่อความ ( ๓) แตกฉานในการพูดโน้มน้าวให้สนใจ ( ๔) มีปฏิภาณไหวพริบ ในการถามและตอบปัญหา

๒. ถ้าต้องการให้งานใหญ่สำเร็จ ต้องรู้จักแบ่งงานเป็นส่วนย่อย

๓. ผู้นำต้องฉลาดในการเก็บความลับด้วย เรื่องบางอย่างบอกใครไม่ได้



http://www.youtube.com/watch?v=eiYQfQLu7N4#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
155  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ติฏฐชาดก(มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:10:17 pm
ติฏฐชาดก(มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้)

  ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติกรุงพาราณสี มีราชบัณฑิตสอนธรรมอยู่ผู้หนึ่ง วันหนึ่งม้าอาชาไนยมงคลอัศวราช ไม่ยอมลงไปดื่มน้ำ และอาบน้ำเหมือนอย่างเคย คนเลี้ยงม้าจึงต้องรีบเข้าเฝ้าถวายรายงานให้ทรงทราบโดยด่วน เพราะม้ามงคลนี้เป็นที่โปรดปราน  พระราชาทรงทราบแล้วรับสั่งให้สอบสวน ราชบัณฑิตตรวจดูแล้วทราบว่า ม้าไม่ได้เจ็บป่วย จึงซักคนเลี้ยงม้าได้ความว่า

                 .....ก่อนหน้านี้มีคนนำม้าไม่มีสกุลมาดื่มและอาบที่ท่าน้ำนี้ ม้าอาชาไนยเห็นเข้าจึงไม่ยอมลงมาที่ท่านั้นอีก
ราชบัณฑิตพิเคราะห์ก็รู้ว่า ม้าอาชาไนยตัวนี้เป็นม้าถือตัว ไม่ยอมดื่มน้ำและอาบน้ำร่วมท่ากับม้าไม่มีสกุลรุนชาติเช่นนั้น แต่จะอธิบายสาเหตุเรื่องนี้กับคนเลี้ยงม้าตรงๆ ก็เห็นว่าป่วยการ เพราะภูมิปัญญาอย่างคนเลี้ยงม้าผู้นี้คงตามไม่ทัน จึงบอกให้คนเลี้ยงม้าว่า ลองให้ม้าอัศวราชไปอาบน้ำท่าอื่นดูบ้าง เพราะธรรมดาไม่ว่าคนหรือสัตว์อยู่ที่ไหนซ้ำๆ อาจเบื่อได้ คนเลี้ยงม้าได้ฟังคำของราชบัณฑิตแล้วทำตาม ม้ามงคลก็ยินยอมแต่โดยดี


                   .....พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบก็ดีพระทัย ตรัสสรรเสริญราชบัญฑิตที่สามารถหยั่งรู้แม้อัธยาศัยของสัตว์เดียรัจฉาน แล้วพระราชทานเกียรติยศและรางวัลให้เป็นการตอบแทน


.....ประชุมชาดก


.....ม้ามงคลอัศวราช ในครั้งนั้น ได้มาเกิดเป็นพระภิกษุช่างทองรูปนี้


.....พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็นพระอานนท์


....ราชบัณฑิต ได้มาเป็นพระองค์เอง


.....ข้อคิดจากชาดก


.....๑. เป็นธรรมดาว่า บุคคลยิ่งฝึกจิตใจให้สะอาดมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นเพียงไร มักมีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ คือ ไม่อยากคลุกคลีกับผู้ที่ไร้คุณธรรม ยกเว้นแต่มีจิตกรุณา ต้องการช่วยเหลือ ดังนั้นบุคคลใดก็ตาม ที่มีครูอาจารย์ดี มาเคี่ยวเข็ญว่ากล่าวตักเตือน ต้องถือว่าท่านลดตัวลงมาใกล้ชิด มาช่วยเหลือ สมควรรับปฏิบัติตามโอวาทและกราบขอบพระคุณโดยความเคารพ


....๒. เมื่อได้คนดีมีวิชามาอยู่ด้วย ต้องจัดที่อยู่อาศัยอย่างดี จัดหน้าที่การงานให้อย่างเหมาะสม และให้ความเคารพเกรงใจด้วย มิฉะนั้นแล้วท่านรำคาญ เบื่อหน่ายและหนีไปเสีย เพราะคนดีมีฝีมือ โดยทั่วไปแล้วไม่เห็นแก่เงิน แต่เห็นแก่งานที่เหมาะสมกับความสามารถ และเกียรติยศของเขา


.....๓. เมื่อผู้ใหญ่อธิบายเหตุผลให้ผู้น้อย หากเห็นว่า ผู้น้อยมีภูมิปัญญายังไม่ถึง แต่เพื่อหวังผลในเชิงปฏิบัติ อาจบอกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น ต่อเมื่อโตขึ้นมีปัญญาตรองตามก็สามารถเข้าใจได้



http://www.youtube.com/watch?v=D7mTf_ORl8Q#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
156  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อินทสมานโคตตชาดก(การสมาคมกับสัตบุรุษ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:02:27 pm
อินทสมานโคตตชาดก(การสมาคมกับสัตบุรุษ)

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้
 
ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นฤๅษี เป็นครูของเหล่าฤๅษี ๕๐๐ อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ ในครั้งนั้นบรรดาศิษย์ดาบสเหล่านั้น ได้มีดาบสชื่ออินทสมานโคตร เป็นผู้ว่ายากไม่เชื่อฟังใคร ดาบสนั้นเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง
     พระโพธิสัตว์ได้ทราบข่าว จึงเรียกดาบสนั้นมาถามว่า เขาว่าเธอเลี้ยงลูกช้างไว้จริงหรือ ?
               ดาบสตอบว่าจริงขอรับอาจารย์ ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง แม่มันตาย
               พระโพธิสัตว์พูดเตือนว่า ขึ้นชื่อว่าช้าง เมื่อเติบโต มักฆ่าคนเลี้ยง เธออย่าเลี้ยงลูกช้างนั้นเลย
               ดาบสกล่าวว่า ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจทิ้งมันได้
               พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเธอจักได้รู้เอง
               ดาบสเลี้ยงดูช้างนั้น ต่อมามันมีร่างกายใหญ่โต
               คราวหนึ่งพวกฤๅษีพากันไปในที่ไกลเพื่อหารากไม้ และผลาผลในป่า แล้วพักอยู่ ณ ที่นั้น ๒ - ๓ วัน
ช้างก็ตกมัน รื้อบรรณศาลาเสียกระจุยกระจาย ทำลายหม้อน้ำดื่ม โยนแผ่นหินทิ้ง ถอนแผ่นกระดานแขวนทิ้ง แล้วเข้าไปยังที่ซ่อนแห่งหนึ่งยืนคอยมองดูทางมาของดาบส ด้วยหวังว่าจักฆ่าดาบสนั้นแล้วหนีไป
     ดาบสอินทสมานโคตรหาอาหารไว้ให้ช้างเดินมาก่อนดาบสทั้งหมด ครั้นเห็นช้างนั้น จึงเข้าไปหามันตามปกติ ครั้นแล้วช้างนั้นออกจากที่ซ่อนเอางวงจับดาบสนั้นฟาดลงกับพื้น เอาเท้าเหยียบศีรษะขยี้ให้ถึงความตาย แล้วแผดเสียงดังหนีเข้าป่าไป พวกดาบสที่เหลือจึงแจ้งข่าวนั้นให้พระโพธิสัตว์ทราบ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ไม่ควรทำความคลุกคลีกับคนชั่ว แล้วกล่าวคาถานี้ว่า:
บุคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์อยู่ ไม่พึงทำความสนิทสนมกับอนารยชน
เพราะอนารยชนนั้นแม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำความชั่ว
ดุจช้างผู้ทำลายดาบสอินทสมานโคตรฉะนั้น
บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเรา
ด้วยศีล ด้วยปัญญา และแม้ด้วยสุตะ
พึงทำไมตรีกับบุคคลผู้นั้นนั่นแหละ
เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษนำมาซึ่งความสุขแท้
 
อรถกถาอธิบายความว่า
บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา หรือความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร กับคนมักโกรธที่น่าชัง
ในบรรดาอริยะ ๔ จำพวก คืออาจารอริยะ ได้แก่อริยะในทางมารยาท ๑ ลิงคอริยะ อริยะในทางเพศ ๑ ทัสสนอริยะ อริยะในทางความเห็น ๑ ปฏิเวธอริยะอริยะในทางรู้แจ้งแทงตลอด ๑ บรรดาอริยะเหล่านั้น ในที่นี้ท่านหมายถึงอริยะประเภท อาจารอริยะ ผู้รู้จักประโยชน์ คือรู้จักผล ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ดำรงอยู่ในอาจาระ ไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหาหรือความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร กับคนที่มิใช่อริยะ คือคนทุศีลไม่มียางอายเพราะคนที่มิใช่อริยะนั้น แม้อยู่ร่วมกันนาน ก็มิได้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันนั้น ย่อมกระทำกรรมอันลามกเท่านั้น เหมือนช้าง ฆ่าอินทสมานโคตรดาบส
พึงรู้จักบุคคลใดว่า ผู้นี้เหมือนเราโดยศีลเป็นต้น พึงกระทำไมตรีกับบุคคลนั้นเท่านั้น การสมาคมกับด้วยสัตบุรุษย่อมนำความสุขมาให้
พระโพธิสัตว์สอนหมู่ฤๅษีว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็นผู้สอนยาก ควรศึกษาให้ดี แล้วให้จัดการเผาศพอินทสมานโคตรดาบส เจริญพรหมวิหาร ได้เข้าถึงพรหมโลก
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วทรงประชุมชาดกว่าอินทสมานโคตรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุสอนยากนี้ในครั้งนี้ ส่วนครูประจำคณะได้เป็นเราตถาคตนี้แล
จบ อินทสมานโคตรชาดก


http://www.youtube.com/watch?v=usuZBRY8Yy0#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=1
157  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / โกสิยชาดก(ถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 03:55:23 pm
โกสิยชาดก(ถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล เรียนศิลปะทุกประการในเมืองตักกสิลา แล้วได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี ขัตติยกุมารในราชธานีทั้งร้อยเอ็ด และพราหมณกุมาร พากันมาเรียนศิลปะในสำนักของท่านผู้เดียวมากมาย

        ครั้งนั้นมีพราหมณ์ชาวชนบทผู้หนึ่ง เรียนไตรเพทและวิทยฐานะ ๑๘ ประการ ในสำนักของพระ โพธิสัตว์แล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนครพาราณสีนั่นเอง เขาได้มาที่สำนักของพระโพธิสัตว์วันละสองสามครั้งทุกวัน นางพราหมณีของเขา เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า ลามก เรื่องทั้งปวงตั้งแต่นี้ไป ก็เช่นเดียวกับเรื่องปัจจุบันนั่นแล
               
                   ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อพราหมณ์นั้นบอกว่า ด้วยเหตุนี้ กระผมจึงไม่มีโอกาส เพื่อจะไปรับโอวาทดังนี้ ก็ทราบว่า นางมาณวิกานั้น นอนหลอกพราหมณ์นี้เสียแล้ว คิดว่า เราต้องบอกยาที่ เหมาะสมให้แก่นาง แล้วกล่าวว่าพ่อคุณ ต่อแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ ให้เนยใส และน้ำนมสดแก่นางเป็นอันขาด แต่จงโขลกใบไม้ ๕ อย่างและผล ๓ อย่างเป็นต้น ใส่ในมูตรโค แล้วแช่ไว้ในภาชนะทองแดงใหม่ ๆ ให้กลิ่นโลหะมันจับ แล้วถือเชือก หวาย หรือไม้เรียว กล่าวว่า ยานี้เหมาะแก่โรคของเจ้า เจ้าจงกินยานี้ หรือไม่เช่นนั้น ก็ลุกขึ้นทำการงานให้สมควรแก่ภัตรที่เจ้าบริโภค แล้วต้องกล่าวคาถานี้ ถ้านางไม่ยอมดื่มยา ก็ต้องเอาเชือกหรือ หวาย หรือไม้เรียว หวดนางลงไปอย่างไม่ต้องนับ แล้วจิกผม กระชากมาถองด้วยศอก นางจักลุกขึ้นทำงานในทันใดนั่นเอง
        เขารับคำว่า ดีจริงขอรับ แล้วทำยาตามข้อที่บอกแล้วนั่นแหละ กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เชิญดื่มยานี้เถิด นางถามว่า ยานี้ใคร บอกท่านเล่าเจ้าคะ ? ตอบว่า อาจารย์บอกให้ แม่มหาจำเริญ นางกล่าวว่า เอามันไปเสียเถิด ฉันไม่ดื่ม มาณพกล่าวว่า เจ้าจักดื่มตามใจชอบของตนไม่ได้ แล้วคว้าเชือกกล่าวว่า เจ้าจงดื่มยาที่เหมาะแก่โรคของตน หรือมิฉะนั้นก็จงทำงานให้สมควรแก่ภัตรที่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
   "ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สมกับที่อ้างว่าป่วย
   หรือจงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
   เพราะถ้อยคำกับการกินของเจ้าทั้งสองอย่างไม่สมกันเลย" ดังนี้.

   เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ธิดาแห่งโกสิยพราหมณ์ คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่อาจารย์ช่วยขวนขวายแล้ว เราไม่อาจลวงเขาอย่างนี้ต่อไปได้ ต้องลุกขึ้นทำการงาน ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้นประกอบกิจตามหน้าที่ ทั้งยังเป็นหญิงมีศีล งดเว้นจากการทำความชั่ว ด้วยความยำเกรงในอาจารย์ว่า ความที่เราเป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อาจารย์รู้หมดแล้ว ต่อแต่นี้ไป เราไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้อีก.
   แม้นางพราหมณีนั้น ก็ไม่กล้าทำอนาจารซ้ำอีก ด้วยความเคารพในพระศาสดาว่า ได้ยินว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้เรื่องของเราแล้ว.
   พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
   จบ โกสิยชาดก


http://www.youtube.com/watch?v=Ya-p_uE-Sa8#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=1
158  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ทีฆีติโกสลชาดก (เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 03:47:15 pm
ทีฆีติโกสลชาดก (เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร)

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทำการทะเลาะทุ่มเถียงกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร ขอให้พระศาสดาทรงยกโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา ชื่อว่าบุตร ผู้เกิดจากปาก อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาให้ไว้ ก็เธอทั้งหลายไม่กระทำตามโอวาท บัณฑิตทั้งหลายแต่ก่อน แม้โจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า ก็ ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ ดังนี้ แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:
ก็ในชาดกนี้ เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต จักมีแจ้งโดยพิสดารในโกสัมพีขันธกะ ทีฆาวุภาณวาร


http://www.youtube.com/watch?v=E6usExg3MZ0#ws (Embedding disabled, limit reached)

ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=1

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

 ในสมัยโบราณ มีหนุ่มใหญ่คนหนึ่งเกิดในตระกูลซามูไร
มีนามว่าเซ็นไก เมื่อเขาศึกษาวิชาการและจริยธรรม
ของซามูไรจบแล้ว ไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่อารักขาขุนนางผู้หนึ่ง
เขาเป็นหนุ่มรูปงาม จึงเป็นที่ต้องตาต้องใจของภรรยาขุนนาง
เธอทอดสะพานให้จนหนุ่มเซ็นไกลืมตัว ลืมหน้าที่
ลักลอบเป็นชู้กับภรรยาขุนนาง ต่อมาขุนนางผู้เป็นสามีจับได้
 เซ็นไกจึงฆ่าขุนนางผู้นั้นเสีย แล้วพาภรรยาของเขาหนีไป

        เมื่ออยู่ด้วยกัน ความรักเริ่มจืดจาง
        เป็นเหตุให้แหนงหน่ายและแยกทางกัน
        เซ็นไกต้องอยู่อย่างเดียวดาย
        และเริ่มมองเห็นความผิดของตนเอง
        สำนึกบาปของตน รำพึงว่า
        ทำอย่างไรหนอจึงจะลบล้างบาปกรรมอันนี้ได้

วันหนึ่งเซ็นไกผ่านมาที่ภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง
ประชาชนที่จำเป็นต้องสัญจรผ่านภูเขาลูกนี้
ต้องเสี่ยงอันตรายปีนป่ายข้ามไป
เขาจึงตกลงใจเจาะภูเขาเพื่อเป็นทางสัญจร
เขาทำด้วยความเหนื่อยยาก ทำเพียงลำพังผู้เดียว
แต่จิตใจเต็มไปด้วยความสุข เพราะเขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำ
แม้ยากลำบาก แต่ผลที่ได้คือประโยชน์ของคนจำนวนมาก

       บุตรของขุนนางที่ถูกฆ่า บัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่และเป็นซามูไร
       เที่ยวตามหาเซ็นไก เพื่อแก้แค้นแทนบิดา เมื่อมาพบเขาที่นี่
       จึงลงมือจะแก้แค้น เซ็นไกขอร้องวิงวอนว่า
      อย่าเพิ่งทำลายทางแห่งบุญโดยเอาชีวิตเขาในตอนนี้เลย
       ขอเวลาอีก 2 ปี เมื่อเจาะภูเขาเสร็จแล้ว
       ก็จะขอชดใช้ด้วยชีวิต

ซามูไรหนุ่มเห็นว่า คำขอร้องมีเหตูผล และเห็นว่าเซ็นไก
ไม่มีทางหนีรอดไปได้ จึงตกลงรอคอย ขณะที่รอก็ดูการทำงาน
เจาะภูเขาของเซ็นไกจนเกิดความเห็นใจ และในบางครั้ง
ซามูไรหนุ่มก็ลงมือช่วยทำงานด้วย เมื่องานเจาะภูเขาลุล่วง
ต่อไปก็เหลือแต่งานแก้แค้น

          เซ็นไกนั่งขัดสมาธิก้มหน้า
         ก้มคอลงเพื่อให้ซามูไรหนุ่มใช้ดาบฟัน แต่แล้วซามูไรหนุ่ม
         ก็กลับเก็บดาบเข้าฝัก ทรุดตัวลงเบื้องหน้าเซ็นไก
         กล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะฆ่าครูของข้าพเจ้าได้อย่างไร"     

เพราะในช่วงเวลา 2 ปีที่เฝ้าดู ซามูไรหนุ่มได้บทเรียน
ในการใช้ชีวิตว่า คนที่เคยชั่วเมื่อเขาสำนึกชั่วแล้ว
มิใช่ว่าจะกลับมาเป็นคนดีไม่ได้ ควรให้โอกาสแก่ผู้ซึ่ง
กลับตัวเป็นคนดี

          ไฟพยาบาทที่อยู่ในจิตใจ
           ของซามูไรหนุ่มมานานจึงดับมอดลง
           ใจของเขาสว่างเมื่อรู้จักให้อภัย

           และเข้าใจว่า...

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
159  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กูฏวานิชชาดก (พ่อค้าโกง) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 03:43:08 pm
กูฏวานิชชาดก (พ่อค้าโกง)


            ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพ่อค้าโกงผู้หนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานชาดกมาสาธก ว่า...

          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่าบัณฑิต (แปลว่า นายฉลาด) ได้เข้าหุ้นทำการค้ากับพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า อติบัณฑิต (แปลว่า นายฉลาดกว่า) วันหนึ่ง คนทั้งสองชวนกันบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่มไปขายที่ชายแดนแห่งหนึ่ง ได้กำไรกลับมาอย่างงดงามเมื่อกลับมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว ถึงเวลาแบ่งทรัพย์กัน นายอติบัณฑิตจึงเอ่ยปากขึ้นว่า "นี่เพื่อนรัก เราควรจะได้ส่วนแบ่ง ๒ ส่วนนะ"
               "ทำไมละเพื่อน" พระโพธิสัตว์ถาม
          "ก็เพราะท่านชื่อบัณฑิตเฉยๆ ควรได้ส่วนเดียว ส่วนเราชื่ออติบัณฑิตจึงควรจะได้ ๒ ส่วนนะสิ" อติบัณฑิตตอบ

          พระโพธิสัตว์ไม่ยอมกล่าวอ้างว่า "ทุนซื้อก็ดี พาหนะขนสิ่งของก็ดีมีส่วนเท่าๆ กัน แล้วทำไมเวลาแบ่งจึงต้องแบ่งไม่เท่ากันละ ?"
          นายอติบัณฑิตก็อ้างแต่ว่าไปหารุขเทวดาเป็นผู้ตัดสินให้

          คนทั้งสองเดินไปที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งอติบัณฑิตได้บอกอุบายให้พ่อของตนเองไปแอบอยู่ในโพรงไม่นั่นแล้ว เมื่อไปถึงต้นไม้นั้นแล้ว อติบัณฑิตก็ถามความเห็นของรุกขเทวดาให้ช่วยเป็นผู้ตัดสินใจให้ด้วยทันใดนั่นเองก็มีเสียงเปล่งออกมาจากต้นไม้นั้นว่า "ถ้าเช่นนั้น คนชื่อบัณฑิตควรได้ ๑ ส่วน อติบัณฑิตควรได้ ๒ ส่วน"

          พระโพธิสัตว์ฟังคำตัดสินนั้นแล้วคิดว่า "เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเป็นเทวดาจริง หรือเทวดาปลอมกันแน่" เดินไปหอบฟางมาใส่โพรงไม้แล้วจุดไฟทันที ทันใดนั่นเองพ่อของนายอติบัณฑิตรีบหนีตายขึ้นข้างบนต้นไม้โหนกิ่งไม้แล้วกระโดดลงดินพลางกล่าวเป็นคาถาว่า

          "คนชื่อบัณฑิตดีแน่ ส่วนอติบัณฑิตไม่ดีเลย เพราะเจ้าอติบัณฑิตลูกเราเกือบเผาเราเสียแล้ว"

          เมื่อแผนการถูกเปิดโปง นายอติบัณฑิตจึงจำต้องแบ่งส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน



http://www.youtube.com/watch?v=rQ3R3IRyoJ4#ws (Embedding disabled, limit reached)


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=1
160  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เจ้าชายสิทธัตถะ-เจ้าชายเทวทัต และพญาหงส์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 02:26:59 pm


...ในภาพ...
เจ้าชายเทวทัตเสด็จมาพบพญาหงส์อยู่กับเจ้าชายสิทธัตถะ
ก็ได้ขอทวงคืน ทรงพยายามจะแย่งพญาหงส์นั้นไปเสียให้ได้
โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของเพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้



วันหนึ่งในฤดูร้อน พญาหงส์สีขาวสะอาดตัวหนึ่ง
บินนำฝูงผ่านพระอุทยานของพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์
บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือสู่ถิ่นพำนัก ณ ยอดเขาหิมาลัยโพ้น
ความขาวของฝูงหงส์ ซึ่งทาบอยู่บนท้องฟ้าสีครามดูประหนึ่งทางช้างเผือก
ยังความนิยมยินดีให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก แต่สำหรับ พระเทวทัตกุมาร มิได้เป็นเช่นนั้น
น้ำพระทัยของเจ้าชายองค์น้อยนี้ เป็นพาลเหี้ยมโหดมุ่งแต่จะทำลายเป็นที่ตั้ง
พอทอดพระเนตรเห็นฝูงหงส์ เธอก็ทรงยกลูกศรขึ้นพาดสาย น้าวคันธนูจนเต็มแรงยิงออกไปทันที
ลูกศรนั้นวิ่งขึ้นไปถูกพญาหงส์สีขาวซึ่งกำลังบินร่อนร่าเริงใจอยู่บนอากาศ ถลาตกลงสู่เบื้องล่างทันที


ขณะนั้น พระสิทธัตถกุมาร พระโอรสแห่งพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์
กำลังทรงสำราญอยู่ในพระอุทยานนั้นด้วย ทรงทอดพระเนตรเห็น พญาหงส์
ร่วงตกลงมาในเขตพระอุทยาน พระองค์จึงละเสียจากการเล่นโดยสิ้นเชิง แล้วรีบเสด็จออกไปค้นหา
ในที่สุดก็พบนกที่น่าสงสารนั้นกำลังดิ้นรน กระเสือกกระสนด้วยความเจ็บปวดอยู่บนพื้น
โดยที่ปีกข้างหนึ่งของมันมีลูกศรเสียบทะลุคาอยู่ เจ้าชายองค์น้อยบังเกิดความเวทนายิ่งนัก
ทรงอุ้มหงส์นั้นขึ้นจากพื้น ประคองกอดแต่เบาๆ มิให้วิหคเคราะห์ร้ายตื่นตกใจ
ทรงชักลูกศรที่เสียบอยู่บนปีกนั้นออกเสีย
แล้วทรงนำใบไม้ที่มีรสเย็นมาปิดบาดแผลเพื่อให้โลหิตหยุดไหล
เจ้าชายน้อยทรงรำพึงถึงความทุกข์ของพญาหงส์
อันมีกายปรากฏเป็นบาดแผลใหญ่แล้ว ก็ทรงทอดถอนพระหฤทัย


พระกุมารนั้นแม้จะมีพระชนมายุเพียง ๘ พระชันษา ยังทรงพระเยาว์นัก
ชอบที่จะแสวงสุขอย่างเด็กอื่นๆ แต่พระองค์กลับคิดใคร่ครวญถึงความเจ็บปวดของพญาหงส์
อันความทุกข์สำแดงอยู่ในเวลานั้น จึงทรงปลอบนกด้วยพระวาจาอ่อนหวาน
และอุ้มกอดมันไว้กับทรวงอกให้อบอุ่น ทั้งลูบขนปลอบโยนให้คลายความหวาดกลัว


เมื่อพระเทวทัตกุมาร ผู้เป็นพระญาติเรียงพี่เรียงน้องของพระสิทธัตถกุมาร
เสด็จมาพบเข้าก็ทวงคืน ทรงพยายามจะแย่งนกนั้นไปเสียให้ได้
โดยอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของนกตัวนั้นเพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้
พระสิทธัตถกุมารทรงปฏิเสธที่จะมอบนกให้โดยตรัสว่า
“ถ้านกตายมันจึงจะเป็นของผู้ยิง แต่เมื่อมันยังมีชีวิตอยู่
ควรจะเป็นของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือมัน
เรามิเคยมีใจที่จะมอบนกตัวนี้ให้กับใครทั้งสิ้นตราบใดที่มันยังคงบาดเจ็บอยู่”


ต่างฝ่ายก็ไม่ยินยอมต่อกัน ในที่สุดเจ้าชายสิทธัตถะจึงเสนอขึ้นว่า
“ข้อพิพาทนี้ควรจักต้องนำไปให้บรรดานักปราชญ์ของแผ่นดิน
พิพากษาตัดสินชี้ขาดในที่ประชุม” เจ้าชายเทวทัตก็เห็นด้วย


ณ ที่ประชุมนักปราชญ์แห่งนครกบิลพัสดุ์
ในวันนั้นได้ยกกรณีพิพาทเรื่องหงส์ตัวนี้ขึ้นมาพิจารณา มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เจ้าชายเทวทัตควรเป็นเจ้าของนก เพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้
อีกฝ่ายหนึ่ง มีความเห็นว่า นกควรเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ
เพราะเป็นผู้พบมันก่อนและได้ช่วยชีวิตมันเอาไว้
เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นแตกแยกขัดแย้งกันดังนี้ การประชุมก็ไม่เป็นที่ยุติลงได้


จนในที่สุดมี นักปราชญ์ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่เคยมีใครรู้จักพบเห็นมาก่อน
ได้ก้าวออกมาและพูดขึ้นด้วยน้ำเสียงอันดังท่ามกลางที่ประชุมนั้นว่า
“ในโลกนี้ชีวิตเป็นของล้ำค่ายิ่ง ไม่ว่าใครก็ต่างรักและหวงแหนชีวิตตน
ผู้ที่ช่วยเหลือสัตว์ได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้ชีวิต
แต่ผู้ที่ทำลายชีวิตสัตว์ให้ดับล่วงไปได้ชื่อว่า เป็นผู้เข่นฆ่า
ผู้ใดกรุณาต่อสัตว์ เป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์ บุคคลนั้นจึงสมควรเป็นเจ้าของ
ดังนั้น ขอให้นกตัวนี้จงเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ที่ช่วยชีวิตมันไว้เถิด”


ทุกคนในที่ประชุมต่างเห็นด้วยกับ
ถ้อยคำอันมีเหตุผลเที่ยงธรรมของนักปราชญ์ผู้นั้น
จึงตัดสินให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นผู้รับเอาหงส์
ซึ่งพระองค์ได้ทรงพยายามช่วยชีวิตนั้นไป
หลังจากนั้นพระกุมารน้อยทรงเอาพระทัยใส่ดูแลนกนั้นอย่างเอื้ออารีที่สุด
จนกระทั่งบาดแผลของมันหายสนิท มีกำลังวังชาฟื้นคืนดีแล้ว
พระองค์ก็ทรงปล่อยมันให้บินกลับไปอยู่รวมฝูงกับพวกพ้องของมัน
ในสระกลางป่าลึกด้วยความผาสุกสืบไป


พระสิทธัตถกุมารองค์น้อยนี้แหละ ในกาลต่อมาคือ พระบรมศาสดา
ผู้ประกาศพุทธศาสนาด้วยหลักธรรมแห่งเมตตา
ให้บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ เทพยดา และยักษ์มารอสูร
ได้ประจักษ์แจ้งในสัทธรรมอันสูงสุด
พระปรีชาญาณและดวงหทัยอันเปี่ยมไปด้วยมหาเมตตาคุณ
ได้ฉายแสงปรากฏให้ชนทั้งหลายได้ชื่นชมตั้งแต่ครั้งกระนั้นเป็นต้นมา


**************************************************

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=39873
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7