ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สิคาลชาดก-ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข  (อ่าน 1889 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สิคาลชาดก-ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
« เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 05:30:01 pm »

สิคาลชาดก-ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข

ในพุทธกาลสมัยหนึ่งหลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณประกาศพระธรรมบนแผ่นดินชมพูทวีปนั้น พระพุทธองค์ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาหมาย

จะเผยแผ่หลักธรรมเพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ด้วยใจอันบริสุทธิ์ 
 ทว่าเป็นที่รู้กันดีในหมู่คณะสงฆ์ ว่ายังมีภิกษุผู้ทุศีล มีจิตใจอาฆาตมาดร้ายหมายจะทำลายพระพุทธองค์ซึ่งก็คือพระเทวทัตนั่นเอง “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตกระทำการปลุกปั่น
 ยุยงให้คณะสงฆ์แตกกันยังไม่พอ วันนี้ยังชักชวนหมู่สงฆ์ 500 รูป
ออกไปคยาสีสะประเทศ ตังตนเป็นพระศาสดาเสมอพระพุทธองค์ ช่างเป็นการไม่บังควรจริงๆ” “ใช่ๆๆ มีอย่างที่ไหนมาบอกว่าพระสมณะโคดมตรัสข้อใด ข้อนั้นไม่ใช่ธรรม แต่ถ้าตนกล่าวข้อใด
 ข้อนี้เท่านั้นที่เป็นธรรม ดังนี้แล้ว กระทำมุสาวาทอันถึงฐานะวิบัติทำลายสงฆ์ ทำอุโบสถ 2 ครั้ง
   ในสีมาเดียวกัน” ในครานั้นพระพุทธองค์เสด็จมาแล้วจึงตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอมานั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอันใด” เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
 พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่เทวทัตมักกล่าวมุสาวาท 
 แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้มีปกติกล่าวมุสาเหมือนกัน” แล้วพระพุทธองค์จึงระลึกอดีตชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ นำสิคาลชาดก อันเป็นเหตุจากพระเทวทัต มาตรัสเล่าเป็นพุทธโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย

ฟังดังนี้ ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี
  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดาอยู่ข้างป่าช้า ในครั้งนั้น ในพระนครพาราณสีมีงานนักขัตฤกษ์เป็นที่ครึกครืนพวกมนุษย์คิดกันว่า พวกเราจะกระทำพลีกรรมแก่ยักษ์ แล้วจับปลา

และเนื้อเป็นต้น เรียงรายริมสุราเป็นอันมาก “อ้าวๆๆ เร่งมือกันหน่อย ตระเตรียมให้พร้อมนะ ประเดี๋ยวจะได้เริ่มพิธีกัน”
 “แหม เห็นเหล้าแล้วเปรี้ยวปาก แอบกรึบซักจิบดีกว่าคงไม่เป็นไรนะเนี่ย” “นั้นแน่ะ ตาเฒ่าทำอะไร อย่านึกว่าข้าไม่เห็นน่ะ” “อุ๊ย แฮ่ๆ อดจนได้” “เดี๋ยวๆ เถอะ เดี๋ยวจะโดนมิใช่น้อย”เมื่อจัดแจงอาหาร

ใส่ถ้วยดินเผาเสร็จก็นำไปวางตามตรอกและทางแพรก เพื่อบวงสรวงแก่ยักษ์นั่นเอง และในคืนนั้นเองมีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้าไปสู่พระนครทางท่อระบายน้ำ
  ออกเที่ยวเคี้ยวกินปลาและเนื้อดื่มสุราที่ชาวบ้านนำมาวางไว้ “เว้ย เฮ้ย ลาภปากของเราแท้ ทั้งเนื้อทั้งปลาเพียบเลยหม่ำๆ หม่ำๆ กินทั้งคืนก็ไม่หมด แหมยังมีเหล้าให้กินอีก อิ่มแปล้ละทีนี้ ชักเมา

แล้วสิเรา อร่อยจริงๆ” แล้วหมาจิ้งจอกก็เข้าไปหลับระหว่างกอบุญนาค จนอรุณขึ้น จึงตื่นขึ้น“รุ่งอรุณแล้วหรือนี่ แย่แล้ว
 แล้วจะออกไปยังไงกันละเนี่ย ขืนออกไปตอนนี้มีหวังโดนชาวบ้านตีตายแน่ๆ เลย ไม่ได้การแล้ว ต้องแอบซุ่มกลับไปนอนที่ซ่อนตัวของเราก่อนดีกว่า นอนเงียบๆ ใครผ่านไปผ่านมา ก็คงไม่เห็นเราแน่ๆ”

ในขณะที่ขดตัวนอนอยู่ในที่ซ่อนตัวนั้นเอง เจ้าหมาจิ้งจอกก็เหลือบไปเห็น
 พราหมณ์ผู้หนึ่งกำลังเดินไปล้างหน้า จึงคิดขึ้นมาว่า “เอ้ นั่นพราหมณ์นี่น่า อ้า..ได้ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความโลภ อยากได้ทรัพย์ เราต้องเอาทรัพย์ล่อพราหมณ์คนนี้ แล้วสะพายเราออกไป

จากเมืองได้นี่น่า เอ้ แต่ว่าจะให้อะไรดีหล่ะ สมบัติพัสถานของเราก็ไม่มีอะไรซักอย่าง อ้า คิดออกแล้วยังไงซะพราหมณ์นี้ก็ต้องหลงกลเราเข้าแน่ๆ
 ฮ้าๆๆ” เจ้าหมาจิ้งจอกหมายจะใช้ความโลภของพราหมณ์เป็นหนทางเอาตัวรอดของมันจึงเอ่ยกับพราหมณ“ท่านพราหมณ์เอ๋ย ท่านพราหมณ์ผู้ใจบุญ” “เอ้ ใครน๊า มาเรียกเรา” “ข้าเองจ้า ท่านพราหมณ์”

“เจ้าเรียกเราทำไมรึ เจ้าหมาจิ้งจอกน้อย” ท่านพราหมณ์ ข้ามีทรัพย์อยู่สองร้อยกหาปณะ หากว่าท่านจะช่วยคลุมกายข้าให้มิดชิด
 ด้วยผ้าสไบเฉียงของท่าน แล้วกระเดียดข้าออกไปจากเมือง โดยไม่ให้ใครๆ เห็น ข้าจะยกเหรียญกษาปณ์เหล่านั้นแก่ท่านทั้งหมดเลย”ด้วยความโลภอยากได้ทรัพย์ พราหมณ์จึงรับคำ

แล้วทำตามคำของหมาจิ้งจอกพาออกจากเมืองไปในทันที เมื่อพาออกไปได้สักพัก หมาจิ้งจอกจึงถามพราหมณ์ว่า“ท่านพราหมณ์ ถึงไหนแล้วเนี่ย”
 “ใกล้ถึงป่าช้าแล้ว โอ้ย เจ้านี่ หนักไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะเนี่ย” “ใกล้ถึงแล้วหรอจ๊ะท่านพราหมณ์ ท่าช่วยไปต่ออีกหน่อยเถิด อีกเดี๋ยวก็ถึงแล้วเราจะได้เอาเงินมาให้ท่านสะดวกๆ นะ

ท่านพราหมณ์นะ” “ได้ๆ ๆ เดี๋ยวข้าจะพาเจ้าไปถึงที่เลย ไม่ต้องห่วง” สุนัขจิ้งจอกพูดไปเรื่อยๆ อย่างนั้น จนลุถึงป่าช้าใหญ่
 “ถึงแล้วล่ะ เจ้าหมาจิ้งจอก” “งั้นท่านก็ช่วยวางเราลงตรงนี้เถิด เดี๋ยวเราจะได้เอาเงินมาให้ท่าน” “โอ้ ได้เลยๆ ลงดีดีนะ เจ้าหมาจิ้งจอกน้อย” “อืบ ขอบใจมากท่านพราหมณ์” “ไหนล่ะ

เงินที่เจ้าว่าจะให้เราหนะ เจ้าหมาจิ้งจอก” “ใจเย็นๆ ซิท่านพราหมณ์ ประเดี๋ยวท่านจงปูผ้าสไบเฉียงลงเถิด”
 เมื่อพราหมณ์ปูผ้าสไบเฉียงของตนลงด้วยความละโมบในทรัพย์เจ้าหมาจิ้งจอกก็ใช้ถ้อยคำหลอกล่อให้หลงกล จากนั้นมันก็ถ่ายมูลของมันแล้วเผ่นหนีไปทันที “อ่ะ เมื่อท่าน

ปูผ้าสไบแล้ว ก็จงขุดเอาทรัพย์ของข้าเถิดข้าฝังมันไว้ตรงนี้ล่ะท่าน” “ฮ่าๆ รวยแล้วล่ะเราคราวนี้ เงิน เงิน เงิน ฮ่าๆ ฮ่ะ” “อีกไม่นานก็เจอสมบัติแล้วล่ะท่านพราหมณ์
 เอ้าขุด ขุดเร็ว นี่ไงล่ะเจ้าพรหมณ์โง่สมบ่งสมบัติอะไรน่ะไม่มีหรอก มีแต่อึเรานี่ไง สมน้ำหน้าเจ้าพราหมณ์ละโมบ โดนหลอกจนได้ โฮ๊ะๆ ไปก่อนละนะ” “เจ้าหมาบ้า หลอกเราแล้วยังอึ

ใส่สไบข้าอีก อึย เหม็นๆ” รุกขเทวดาโพธิสัตว์สถิตเหนือคาคบไม้ เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว
จึงกล่าวคาถานี้ว่า “ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขผู้ดื่มสุราหรือ เพียงร้อยเบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึงสองร้อยกหาปนะเลย ไปเถอะพราหมณ์เอ๋ย จงไปซักผ้าสไบของท่านเสีย อาบน้ำทำกิจของตนไปเถิด”
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสสิคาลชาดกจบลง ทรงประชุมชาดกว่า

หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้เกิดเป็น พระเทวทัต

รุกขเทวดา เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

ที่มา http://www.dmc.tv/articles/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81.html
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
    • ดูรายละเอียด
Re: สิคาลชาดก-ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 06:00:22 pm »
 st11 st12
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: สิคาลชาดก-ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 06:25:23 pm »
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ