ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - tcarisa
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
441  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรหมชาลสูตรที่ ๑.ชี้ชัดว่า กายพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 11:55:19 am


และอีกหนึ่งพระองค์ ที่ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่าคุณ

อีก ทั้งทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งกว่า

อีก ทั้งยังช่วยเหลือคนมากกว่าคุณอีก

อีก ทั้งยังเป็นกษัตริย์ที่บรรดากษัตริย์นับถือ ยิ่งกว่าคุณอีก

442  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรหมชาลสูตรที่ ๑.ชี้ชัดว่า กายพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 11:50:03 am


มีคนเป็นพระพุทธเจ้ามากมาย ให้ยิ่งกว่าเงินเดือน 8000 บาททุกเดือน

ให้แม้กระทั่งชีวิต ก็มีแต่เขาไม่ได้มาโฆษณา บอกว่าเขาเป็น พระโพธิสัตว์ แต่ประการใด

เป็นบุคคลที่ไม่ยกย่องตนเอง และไม่เปิดเผย

 
443  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:17:24 pm
หน้าต่อจาก คติธรรมการปฏิบัติธรรม คือการเข้าไปดับ ไฟคือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
ตรรกกะง่ายๆเพียงเท่านี้ก็จะทำให้จิตใจของเราเข้าถึงความสงบสุขได้ การอบรมใจ คือการย้ำคิด ย้ำทำอยู่ในใจตลอดเวลาหรือมีความเพียรชอบ ที่จะตักเตือนใจของเราให้มีความรู้ตัว เมื่อมีความรู้ตัวมาก สติ ก็จะทำหน้าที่ตัดความยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจได้ การพิจารณาอยู่เช่นนี้ เรียกว่าการพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ เรียกการทำเช่นนี้เป็นปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานอย่างแท้จริง “ คือมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจ หรือความไม่พอใจออกเสียได้”
หลักสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัตินี้ คือการสังวรอินทรีย์ คือสังวรระวังไม่ให้จิตยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส การได้สัมผัสทางกาย มีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และการคิดนึกอันเนื่องมาจากสัญญาจำได้หมายรู้ ที่ฝังอยู่ในใจของเรา ที่เรียกว่าอนุสัยกิเลส ที่ทำให้เราหลงคิดนึกปรุงแต่งจนจิตฟุ้งซ่าน มีชื่อว่ากิเลสมาร
เมื่อเราสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการในแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม ผลย่อมได้รับในสิ่งที่ดี คือบุญกุศล กุศลผลบุญนี้ก็จะคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข มีสุขชาตินี้ สุขชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน ต่อไป

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

บทที่ ๑๓. คติธรรมการปฏิบัติธรรม คือการเข้าไปดับ ไฟคือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

อัคคิ หรืออัคคี คือไฟซึ่งมีอยู่ ๓ กองภายในจิตใจของเรา ไฟ ๓ กองนี้ยังคงคุกลุ่นอยู่ตลอดเวลา การจะดับไฟ ๓ กองนี้ได้ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมเท่านั้น เมื่อปฏิบัติให้จิตมีความสงบ และตั้งอยู่ในกุศลธรรมแล้ว จึงจะดับไฟภายในใจของเราได้ วิธีการที่จะดับไฟนี้ได้ต้องอาศัยการอบรมใจให้มีความรู้ตัว หรือตัวรู้อยู่ในใจตลอดเวลา จึงจะเกิดสติ ยับยังไม่ให้ไฟในใจนี้ลุกโชนขึ้น เชื้อไฟที่ทำให้ใจของเราลุกโชนขึ้นคืออะไร ก็คืออารมณ์ หรือความรู้สึกที่ยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจ ที่มีต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรสอาหาร การได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และใจที่หลงคิดนึกในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาคือความจำได้หมายรู้ที่อยู่ในใจ อันเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน >อ่านหน้าต่อไป>>

บทที่ ๑๔.
“มนุษย์ หรือสัตว์โลกทุกตัวคน ล้วนมีไฟ ๓ กองอยู่ในใจทั้งนั้น ไฟ ๓ กองที่ว่านี้ คือไฟโลภะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ไฟที่ว่านี้มันคุกลุ่นอยู่ในใจของเราตลอดเวลา จึงทำให้เราหาความสงบสุขไม่ค่อยได้ และเราก็เติมเชื้อไฟเข้าไปอยู่ตลอดเวลาด้วยโดยไม่รู้ตัว เชื้อไฟที่ว่านี้ก็คือความรู้สึกยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยินเสียง เมื่อได้รับรู้กลิ่น เมื่อได้รับรู้รส เมื่อได้สัมผัสทางกายมีเย็นร้อนอ่อนแข็ง และใจที่หลงคิดนึกเรื่องราวแห่งความหลัง นี่เองเป็นเหตุให้เกิดความยินดี ยินร้าย การอบรมใจให้รู้คิดเห็น เตือนตนอยู่เสมอในใจไม่ให้รู้สึกยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส การได้สัมผัสทางกาย และการหลงคิดนึกเรื่องสัญญาเก่าในใจถ้าสามารถเตือนใจอบรมใจได้เช่นนี้ก็จะทำให้เกิดสติ ไม่เกิดยินดี ยินร้ายได้ ไม่ช้าใจนี้ก็จะเห็นความสงบเกิดขึ้นในใจ ความสุขก็เกิดมีขึ้น
หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง”

บทที่ ๑๕
อุบายทำจิตให้เป็นสมาธิด้วยปัญญา เรียกว่าปัญญาสมาธิ
วิธีทำก็คือทำตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เริ่มด้วยการดำริชอบ การดำริชอบเป็นอย่างไร ก็คือการดำริในการออกจากกาม ๑ การดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑ การดำริในการไม่เบียดเบียน ๑
การดำริในการออกจากกามต้องทำอย่างไร คือต้องมีการสังวรอินทรีย์ คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อย่าให้ความรู้สึกยินดี ยินร้าย เกิดกับใจ คืออย่าให้ครอบงำใจ ความยินดี ยินร้ายเป็นกิเลสกาม เป็นเหตุให้จิตไม่สงบ เป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน การดำริก็คือการคิดเห็นอยู่ในใจ ให้คอยเตือนตัวเองอยู่ในใจว่าอย่ายินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็งมากระทบ และระวังใจอย่าให้หลงความคิดนึกเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ใจ ความไม่สงบ ความฟุ้งซ่าน การดำริได้ตลอดเวลาจะทำให้สติเกิดขึ้นได้เร็ว เมื่อสติเกิดขึ้นจะรู้เห็นสิ่งไร ก็จะรู้เห็นสิ่งนั้นเพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่เกิดความยินดี ยินร้าย นี้แหละเรียกว่าการปล่อยวางใจ ในอารมณ์ที่เป็นอกุศลได้ หรือปล่อยวางกิเลสได้ นี้เป็นอุบายให้เกิดสมาธิด้วยปัญญา
การดำริในการไม่มุ่งร้าย ทำอย่างไร ก็คือการคอยเตือนตัวเองไม่ให้คิดว่าร้ายผู้อื่น ที่อยู่ด้วยกันก็ดี ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ดี ด้วยอคติจิต โดยปกติเรามักชอบติเตียนผู้อื่นอยู่เสมอๆ ฉะนั้นเมื่อรู้ตัวก็ให้เตือนตัวเองว่าอย่าได้ทำเช่นนั้นอีก เป็นสิ่งไม่ดี เป็นความมุ่งร้ายเขาให้ละเสีย การดำริเตือนตัวเองได้เช่นนี้เสมอๆ จะเป็นเหตุให้เกิดสติ รู้ที่จะไม่ทำเช่นนั้นอีก จึงเป็นเหตุให้จิตเกิดรู้ปล่อยวาง และเข้าถึงความสงบอีกทางหนึ่ง อ่านต่อตอน ๒ ของบทที่๑๕ >>
>> ตอน ๒ ของบทที่ ๑๕ ต่อ
การดำริในการไม่เบียดเบียน คืออะไร ก็คือการไม่อยากได้ของๆ เขา คิดจะเอาของเขามาเป็นของเราเป็นต้น เมื่อคิดเช่นนี้กับใครก็ให้รู้ตัวที่จะตักเตือนตัวเองว่าอย่าได้คิดเช่นนั้นไม่ให้คิดเช่นนี้อีก เป็นบาป เป็นสิ่งไม่ดี ควรละเสีย เมื่อดำริคิดตักเตือนตัวเองได้ทุกครั้งเวลาคิดไม่ดีกับใคร ในไม่ช้าความมีสติก็จะเกิด สามารถรู้ที่จะปล่อยวางได้อีกทางหนึ่ง
นี่คืออุบายอันชอบตามแบบอริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อว่าดำริชอบ เมื่อเรามีความสามารถที่จะดำริชอบ ได้แก่การตักเตือนตัวเองได้อยู่เสมอๆ ตลอดวัน ตลอดคืน ในอิริยาบถต่างๆ คือยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด อุจจาระ ปัสสาวะ เช่นนี้เรียกว่ามีความเพียรชอบ จะทำให้เกิดสติ รู้ที่จะไม่ให้บาปและอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดสติ รู้ไปในกาย รู้ไปในเวทนา รู้ไปในจิต รู้ไปในธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ เช่นนี้เรียกว่ามีสติชอบ รู้ไปในกาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อรู้ข้อไหนก็ถอนความพอใจ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เมื่อมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมเช่นนั้น ก็จะเกิดสมาธิชอบ คือเกิดความสงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และจะเป็นเหตุให้เกิดฌานในขั้นต่างๆต่อไป
การใช้ปัญญา คือการใช้ความคิดดำริชอบอบรมจิตไปตามหลักแห่งมรรค เป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องเช่นนี้ จิตจะเกิดความสงบเป็นขณิกสมาธิในเบื้องต้น และจะเกิดปัญญาธรรมรู้เห็นตามความเป็นจริงในธรรมที่ไม่เคยรู้ก็จะรู้ขึ้น ปัญญาธรรมรู้เห็นตามความเป็นจริงก็จะพัฒนาไปสู่ความรู้เห็นในพระไตรลักษณะต่อไป ที่เรียกว่าวิปัสสนา
(ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้มีความเพียรความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมด้วยเทอญ)
ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
444  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:15:57 pm
>หน้าต่อจาก คติธรรมเรื่องการปฏิบัติธรรมไม่มีผิด>
ข้อว่าความเพียรชอบ คือการทำอย่างไร ก็คือการคิดเห็นอยู่ในใจอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ตลอดเวลาเป็นปัจจุบัน ที่จะรู้คิดระวังสังวรอินทรีย์ ไม่ให้เกิดความยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้ลิ้มรส เมื่อได้สัมผัสทางกาย และระวังใจที่คิดนึกเรื่องอดีต

ข้อว่าสติชอบเป็นอย่างไร ก็คือเมื่อเราภาวนาอบรมจิตอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอตลอดเวลา ก็จะเกิดสัมปชัญญะ คือความรู้ตัว กำลังความรู้ตัวมีมาก ก็จะเกิดสติ คือความระลึกได้ สามารถถอดถอนความพอใจ หรือความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ความยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจ ก็คือกิเลส หรืออกุศลธรรม เมื่อเรารู้ถอดถอนกิเลส หรืออกุศลธรรมออกจากใจได้แล้ว ใจของเราก็เป็นกุศลธรรม หรือเป็นบุญ บุญคือความสบายใจ เรียกว่าเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

ข้อว่าสมาธิชอบเป็นอย่างไร ก็คือจิตที่สงบแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย จิตที่สงบแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
อาการที่สงบนี้ยังมีความคิดนึกอยู่ แต่เป็นความคิดนึกในปัญญาที่จะคอยประคองจิตไว้ไม่ให้ตกไปในอกุศลธรรมทั้งหลายที่จะคอยแทรกแซงเข้ามา อาการที่คิดนึกนี้เรียกอีกอย่างว่ากุศลวิตก เมื่อกำลังความสงบมีมากขึ้นจึงค่อยๆละ วิตกวิจารนี้ออกไปๆตามดำรับจิต
นี่แหละคือสิ่งที่กล่าวไว้ในอริยะมรรคมีองค์ ๘
จากหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

บทที่ ๑๑. คติธรรม การปฏิบัติธรรมไม่มีผิด คือการปฏิบัติตามอริยะมรรคมีองค์ ๘

จะขอนำหัวข้อสำคัญมากล่าวอธิบายให้เห็นชัด ดังต่อไปนี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมไม่ผิด
ข้อว่าการดำริชอบ คือ การดำริในการออกจากกาม การดำริ ก็คือการคิดเห็น กามคืออะไร ก็คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่าวัตถุกาม ความรู้สึกนึกคิดในใจที่ยินดี ยินร้าย เรียกว่ากิเลสกาม แล้วจะปฏิบัติในการออกจากกามอย่างไร ด้วยการรู้ที่จะคิดเห็นในใจอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ตามหลักอินทรีย์สังวร คือให้รู้คิดเห็นในใจว่าเราจะระวังไม่ยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้ลิ้มรส เมื่อได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และระวังใจที่คิดนึกในเรื่องอดีต ถ้าหลงคิดนึกตาม ก็จะเกิดเป็นสมุทัย คือใจเป็นเหตุให้ทุกข์ เรื่องในใจที่มาลวงให้เราคิดนึก เรียกว่ากิเลสมาร ถ้าหลงคิดนึกตามไปในเรื่องใดๆ เรียกว่าเราหลงไปในมาร จะเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดกับผู้ปฏิบัติธรรมในการเจริญสมาธิภาวนา เมื่อเราปฏิบัติได้ตามแบบนี้ ก็จะเกิดอาการสักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่ารู้ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ตัวตน เราเขา ในสิ่งสัมผัสต่างๆ ขณะจิตที่สงบนี้ ก็อาจเกิดความรู้ขึ้นที่เรียกว่าปัญญา สิ่งใดไม่รู้ก็รู้ขึ้นมา สิ่งใดไม่เข้าใจก็เข้าขึ้นมาได้ >อ่านหน้าต่อไป>

>หน้าต่อจาก โอวาทปาฏิโมกข์
๒ การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือต้องมีความพากเพียรชอบ เมื่อเราได้พยายามที่จะอบรมอยู่ในใจอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเกิดสติระลึกรู้ที่จะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ จนเหลืออาการสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น อาการที่รู้ตัวได้เช่นนี้เรียกว่าเป็นกุศลจิต หรือกุศลธรรม และยังเป็นอารมณ์ของสมาธิด้วย นี่แหละเรียกว่าการทำกุศลให้ถึงพร้อม ประตูแห่งความรู้ คือปัญญาก็จะเกิดมีให้รู้ ให้เข้าใจเกิดขึ้น
๓ การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง เมื่อเรามีความพากเพียรพยายามมากเท่าไรในการภาวนาอบรมจิตใจ จิตใจนี้ก็ได้รับการชำระให้มีความสะอาดขาวรอบมากขึ้นๆ สมาธิก็ค่อยตั้งมั่นขึ้น จนเกิดความรู้สว่างสงบในจิตใจนี้ จิตนี้ก็ปราศจากเครื่องเศร้าหมองจิต มีความสงบสุขเกิดขึ้น
นี้แหละการอธิบายโดยย่อ ในหลักแห่งโอวาทปาฏิโมกข์ ๓ ข้อ
โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๕ มีนาคม ๕๓

บทที่ ๑๒. คติธรรมในโอวาทปาฏิโมกข์
๑. การไม่ทำบาป ทั้งปวง
๒. การทำกุศล ให้ถึงพร้อม
๓. การชำระจิตของตน ให้ขาวรอบ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
๑ การไม่ทำบาปทั้งปวง หมายถึงการไม่ทำด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ การกระทำใดๆที่กระทำด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ที่เป็นไปในการเบียดเบียน ทั้งบุคคล และสัตว์ บุคคลและสัตว์ก็จะเกิดความทุกข์ อันเป็นผลมาจากการกระทำของตน นี่และเป็นการทำบาปให้เกิดขึ้นแล้ว
การกระทำด้วยกาย และวาจา ยังพอมีความยับยั้งได้บ้างในบางเวลาที่มีความรู้ตัวว่ากระทำผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย และศีลธรรม แต่ใจสิไม่มีบทบัญญัติใดๆมาห้ามได้ เว้นไว้แต่หลักแห่งธรรม คือกุศลธรรม หรืออกุศลธรรม อกุศลธรรม คืออะไร ก็คือการยินดี ยินร้าย หรือพอใจ ไม่พอใจในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ความยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ นี่คืออกุศลธรรม หรือกิเลส เป็นเหตุกระทำความชั่วได้ ถ้ายังรู้สึกแบบนี้แล้วเก็บไว้ในใจ ก็จะเกิดเป็นกิเลสมาร ที่จะทำให้เกิดความรู้ สึกฟุ้งซ่านในจิตใจ ฉะนั้นอาการเช่นนี้จึงไม่ควรที่จะมีการสะสมไว้ในจิตใจ จึงต้องมีการอบรมจิตใจนี้ให้รู้ละรู้ปล่อยวาง อยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาในชีวิตประจำวันด้วยการคิดเห็นในใจ ว่าเราจะระวังจะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และระวังใจที่คิดนึกด้วยความยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ในสัญญาใจที่เป็นกิเลสมาร
กรรมที่กระทำไปแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ จะเป็นเหตุให้เกิดวิบากต่อไป ฉะนั้นจึงควรกระทำแต่กรรมดีจะได้รับผลคือวิบากที่ดีดี อ่านหน้าต่อไป>>
445  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:15:05 pm
บทที่ ๘. ธรรมกับชีวิตประจำวัน เพื่ออุทิศบุญนี้ให้กับพ่อหลวงของเรา

มาปฏิบัติธรรมะเเบบง่ายๆกันเถอะโดยไม่ต้องไปอยู่วัด แต่ให้ปฏิบัติกับการใช้ชีวิตประจำวันในทุกอิริยาบถเพื่อให้เกิดสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน และการใช้ชีวิตอยู่ในความถูกต้อง เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมก็คือต้องการให้จิตเป็นธรรม หรือการรู้ชำระจิตให้สะอาด หรือต้องการให้ธรรมะตั้งมั่นอยู่ในจิต จนจิตรวมตัวเป็นหนึ่งก็คือความเป็นสมาธินั้นเอง

ดังนั้นจึงต้องดำเนินจิตไปตามขั้นตอนเป็นบันใด ๓ ขั้น คือการทำความเพียรชอบก่อนจนจิตมีความรู้ตัวจึงไปสู่ความมีสติชอบ คือสามารถพิจารณาทำความรู้ถอนความพอใจ หรือไม่พอใจใน กาย เวทนา จิต ธรรม ได้ และจะทำให้จิตไปสู่ในขั้นสัมมาสมาธิได้ต่อไป

เพราะฉะนั้นเราจึงจะต้องรู้ว่า อะไรคือธรรม ธรรมในพระไตรปิฎกรวบรวมไว้ได้ถึง ๘๔.๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อย่อแล้วก็เหลือเพียง ๒ นั้นก็คือ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม คำว่ากุศลธรรม ก็หมายถึงธรรมขาวหรือฝ่ายดี ส่วน อกุศลธรรมก็คือธรรมฝ่ายดำฝ่ายชั่ว ฝ่ายกิเลส ธรรมนี้เกิดอยู่ที่ไหน ตอบเกิดอยู่ที่จิตของเรานี้เอง และเราก็รับเอามาไว้ในจิตของเราตลอดเวลา
> อ่านหน้าต่อไปตอนที่ 2

บทที่ ๙.คติธรรมกุนเจภาวนา คือการทำจิตให้รู้ปล่อยวางอย่ายินดี ยินร้าย

การภาวนา คือการรู้อบรมจิตให้คิดเห็นอยู่ในจิต ให้รู้ระวังสังวรอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และตามดูจิตที่คิดนึก อย่าให้หลงยินดี ยินร้าย

การคิดนึกอยู่ในใจเช่นนี้จัดเป็นการภาวนามะยะปัญญา เป็นการฝึกจิตให้มีปัญญาเบื้องต้น และเป็นอุบายให้จิตเกิดความตั้งมั่นหรือสมาธิ เกิดมีขึ้น สมาธิที่เกิดมีขึ้นนี้จัดเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกะสมาธิ หรือสมาธิทีเกิดได้เป็นขณะๆ ในขั้นนี้ก็จะเกิดปัญญาธรรมได้ สิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจ ก็จะเกิดรู้เกิดเข้าใจในธรรมต่างๆได้

ฉะนั้นการอบรมจิตให้รู้คิดเห็นอยู่ในจิตอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการบอกจิตให้รู้เห็นก่อนรู้เห็นจริง จัดเป็นการสร้างตัวสัมปชัญญะ คือการรู้ตัวให้กับจิต เมื่อกำลังของความรู้ตัวมีมากพอ สติจึงเกิดได้ไวขึ้น สามารถที่จะไม่ยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และตามดูใจที่คิดนึกได้ดี

การรู้ปล่อยวางไม่ยินดี ยินร้าย นี้แหละ คือกุนเจภาวนา ไม่ให้หลงเป็นกิเลส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย คือวัตถุกาม ความยินดี ยินร้าย คือกิเลสกาม ธรรมะของพระพุทธองค์มุ่งสอนให้ละกิเลส ละขันธ์๕ การปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติ เพื่อออกจากกาม ออกจากกิเลส และยังเป็นการตัดขันธ์ ๕ ไม่ให้เกิดมีต่อไป

การภาวนาอบรมจิต จึงจำเป็นต้องมีความขยัน หรือความเพียรกระทำอยู่ในใจอย่างสม่ำเสมอ การกระทำอยู่ในใจเรียก ว่ามโนกรรม การกระทำนี้จึงเรียกว่า เพียรชอบตามมรรคมีองค์ ๘

รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ทีเกิดขึ้นในทุกขณะ จัดเป็นวิบาก ที่จะทำให้เราหลงอยู่ตลอดเวลา การภาวนาอบรมจิต จึงช่วยให้เราไม่หลง ไม่ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจแห่งกิเลสมาร มารจึงไม่อาจครอบงำให้เรากระทำความชั่วได้

หลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ แห่งวัดป่าหนองเลง ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒

>หน้าต่อจาก คติธรรม เรื่องการภาวนา
เมื่อเราสามารถอบรมจิตได้อย่างนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง ในทุกเหตุการณ์ ในทุกสถานที่ ในไม่ช้าเราก็จะเกิดรับรู้ในสิ่งต่างๆ อย่างปล่อยวาง ไม่มียินดี ไม่มียินร้าย ไม่มีเกิดพอใจ หรือไม่พอใจใคร ในสิ่งใดๆ ที่อยู่รอบตัวเรา นี้แหละคือการกำจัดกิเลส กำจัดอกุศลจิต อันเป็นต้นเหตุของการเกิด โลภะ โทสะ โมหะ โดยฉะเพราะอย่างยิ่ง ในเหตุการณ์ ที่จะต้องเจอทางตา หรือทางหู เราก็อบรมให้จิตรู้ที่จะต้องเจอในทวารทั้งสองนี้ อยู่สม่ำเสมอ เมื่อกระทบคำเขาด่าว่ามา เราก็จะเกิดอาการสักแต่ว่ารู้ ว่าเขาด่าเรา ไม่มีการนำคำที่เขาด่ามาปรุงแต่งจิตให้คิดเห็นเป็นทุกข์ในใจเลย

การทำเช่นนี้ก็คือการทำให้รู้ก่อนรู้ ให้เห็นก่อนเห็น เป็นการใช้ปัญญาช่วยในการทำจิตให้สงบโดยเร็ว และการพิจารณาให้เห็นว่าตาย ก่อนตาย หรือที่เรียกว่ามรณะสติ ก็ใช้ในหลักเดียวกันนี้
เมื่อคนเรารู้ในสิ่งที่จะเกิดก่อนเกิด อยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์ นั้นๆขึ้นมาเมื่อไรเราก็จะวางใจได้ทันที่ ไม่มีเกิดสุขหรือทุกข์ใดๆเลย นี้คือหลักในมรรคมีองค์๘ ข้อว่าเพียรชอบ คือเพียรละอกุศล เพียรเจริญกุศลให้เกิดในจิตมากๆขึ้น จนจิตอยู่ในอารมณ์เดียวที่เป็นกุศล องค์ความรู้ในธรรมก็จะเกิดรู้ขึ้นมา สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะเกิดรู้ขึ้น สิ่งที่ไม่เคยเข้าใจก็จะเกิดเข้าใจขึ้นมา

ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง ผู้เขียน

บทที่ ๑๐. คติธรรม เรื่องการภาวนา

มีหลายคนถามหลวงพ่อว่าจะภาวนาอย่างไรให้จิตสงบโดยเร็ว หลวงพ่อจึงถามกลับไปว่าคุณโยมภาวนาอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า นึกคำว่า ”พุทโธ”อยู่ในใจ หรือหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ
หลวงพ่อจึงว่าอย่างนี้เรียกว่า บริกรรมภาวนา ไม่ใช่ภาวนา คำว่าภาวนาในความหมายที่หลวงพ่อ หมายถึงคือภาวนามะยะปัญญา คือการรู้ที่จะอบรมจิต ให้รู้ตัว เพื่อให้เกิดตัวรู้ คำว่าให้รู้ตัวในบาลีคือสัมปชัญญะ ส่วนคำว่าให้เกิดตัวรู้ ได้แก่ สติ คือความระลึกได้ เมื่อเราสร้างความรู้ตัวไว้มาก สติได้แก่ตัวรู้ ก็จะเกิดได้ไวได้เร็ว

คราวนี้ เราจะมาว่าถึงการภาวนามะยะปัญญากัน ว่าจะทำอย่างไร การภาวนาคือการอบรมจิต ได้แก่การคิดเห็นอยู่ในใจ ว่าเราจะระวังจิตนี้ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ ในเมื่อได้เห็นรูป ได้
ยินเสียง ได้ลมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และจะตามดูใจไม่ให้หลงคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านไปแล้ว ที่มีสาเหตุให้เกิดทุกข์ เราจะไม่ยินดีพอใจ หรือยินร้ายไม่พอใจในเรื่องราวต่างๆ ที่มากระทบ โดยฉะเพราะเวลานั่งสมาธิต้องตามดูจิตนี้อย่าให้หลงคิดเรื่องใดๆ เวลาจะนั่งสมาธิจึงเป็นเวลาที่เราจะต้องต่อสู้กับกิเลสมาร นั้นก็คือเรื่องราวหรือภาพต่างๆ ที่เป็นสัญญาจำได้หมายรู้ที่จะมาปรากฏ อาการเหล่านี้พระพุทธเจ้าได้ทรงเรียกว่ามาร มีชื่อว่ากิเลสมาร >อ่านหน้าต่อไป>
446  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:13:45 pm
> ตอนที่ 2 ธรรมกับชีวิตประจำวัน
คนเราที่มีความทุกข์ ก็เพราะเรารับเอา อกุศลธรรม มาไว้ในจิตตลอดเวลา ไม่เคยละเคยวาง ไม่กำจัดออกไปเราจึงประสบแต่ความทุกข์ใจอยู่เสมอๆ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ ต้องทำบันใดขั้นที่ ๑ ก็คือต้องทำให้จิตของเราเป็นฝ่าย กุศลธรรม ไม่ใช่ให้เป็นฝ่าย อกุศลธรรม อกุศลธรรมเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ส่วนกุศลธรรมเป็นต้นเหตุแห่งความสุขใจและความสงบใจ และเป็นยานพาหะนะนำไปสู่ความหลุดพ้น คือพระนิพพาน อกุศลธรรม คืออะไร? และเกิดได้อย่างไร?

อกุศลธรรม คืออารมณ์ หรือความรู้สึกที่มีความพอใจ หรือไม่พอใจ หรือความยินดี และยินร้าย เกิดอย่างไร คือเกิดได้ด้วยการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจที่คอยคิดนึกในทางไม่ดี เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้สัมผัสรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง หรือใจที่คิดนึกแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาคือความพอใจหรือไม่พอใจ หรือความยินดี ยินร้าย นี้คือลักษณะของจิตที่เป็น อกุศลธรรม

ฉะนั้นหน้าที่เราก็คือคอยละคอยวางเฉยต่อความพอใจหรือไม่พอใจ หรือความยินดียินร้าย ต่อสัมผัส ต่าง ๆ และใจที่คอยคิดนึกด้วยการภาวนาหรือการคิดนึก อบรมอยู่ในใจสม่ำเสมอ ว่าเราจะระวังคอยเคลียร์ไม่ให้จิตของเราเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ หรือยินดียินร้าย ต่อสัมผัสอันเกิดจาก ตาได้เห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง และใจที่คอยจะคิดนึกถึงเรื่องราวในอดีต อกุศล เป็นต้นเหตุแห่งความไม่สงบเพราะมันคือตัวกิเลส และตัวความยึดมั่นถือมั่น ถ้าไม่ละก็จะเกิดเป็นอนุสัยกิเลสนอนเนื่องอยู่ในใจ
> อ่านต่อตอนที่ 3
>ตอนที่ 3
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็เพื่อการกำจัดกิเลสให้ออกเคลียร์ออกไปจากจิตจากใจ การปฏิบัติธรรมแบบนี้สามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบถ มียืนเดินนั่งนอนดื่มกินทำพูดคิดแม้กระทั่งอุจจาระ หรือปัสสาวะ ไม่มีสถานที่ ไม่มีกาล ไม่มีเวลา สิ่งที่ควรรู้อีกอย่างคือ ชีวิตทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีวิบากอันเป็นผลของกรรมดี หรือกรรมชั่วที่เคยทำไว้ในอดีตชาติก็ดี หรือปัจจุบันชาติก็ดีคอยจัดให้เป็นไปต่างๆนาๆ วิบากนี้แหละคือกฎของธรรมชาติ ชีวิตที่ต้องประสบเคราะห์กรรมทั้งดีและร้าย การปฏิบัติธรรมจะช่วยให้จิตของเราไม่หลงยินดี หรือยินร้าย จนเป็นเหตุให้ทุกข์ ก็เพราะเราเข้าใจในความเป็นไปในผลของวิบากกรรมที่ได้รับอยู่และเป็นการรู้เหตุและผล ว่าอดีตเหตุปัจจุบันผล ปัจจุบันเหตุอนาคตผล จิตของเราจะไม่ยินดีหรือยินร้าย ต่อสิ่งทั้งหลาย เพียงสักแต่ว่ารู้ เพียงแต่รับรู้แต่ไม่รับรส จิตของเราก็จะเข้าสู่ความสงบได้โดยง่าย นี่แหละคือก้าวแรกสู่การรู้ตัว

ก้าวต่อไปเป็นบันใดขั้นที่ ๒ คือเราสามารถเกิดความรู้ตัวสติ คือรู้ทางกายก็สามารถถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ รู้ทางเวทนา ก็ถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ รู้ทางจิตก็ถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ และรู้ทางธรรมอันเป็นสภาวจิตชั้นสูงก็สามารถถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้
> อ่านต่อตอนที่ 4>
>ตอนที่ 4 ธรรมกับชีวิตประจำวัน

เมื่อถึงเวลาจะนั่งสมาธิซึ่งเป็นการปฏิบัติในขั้นที่ ๓ ก็เพียงคอยตามดูจิตอย่าให้หลงมาร ลักษณะมารมี ๕ อย่างคือ ๑ ขันธ์มาร คือการทำร่างกายไม่พร้อมก็เป็นมาร ๒ กิเลสมาร คือการทำจิตไม่ดีพร้อมคือไม่สังวรอินทรีย์ให้ดีพอก็เป็นมาร ๓ อภิสังขารมารคือมารที่จะมาคอยหลอกให้เราคิดที่จะอยากทำสิ่งต่างๆอยากมีอยากเป็นต่างๆ ๔ มัจจุมาร คือความตายที่จะมาพรากชีวิตของเราเสียก่อนที่จะปฏิบัติให้สำเร็จ และ ๕ คือ เทวปุตมาร คือมารที่จะคอยเอาเรื่องความสุขต่างๆในอดีตมาหรอกให้เราหลง เพราะมารจะคอยขัดขวางไม่ให้จิตสงบโดยจะเอาภาพ และเรื่องราว ต่าง ๆ ในอดีตมาทำให้หลง

จะยกตัวอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรม มารได้ยกเสนามารมาขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรม ฉะนั้นเมื่อเราจะนั่งสมาธิพึงรู้กิจที่จะต้องทำคือคอยตามดูมาร เมื่อมารเอาอะไรมาให้รู้ก็ให้รู้ทันมาร และบอกกับมารว่าเรารู้แล้วมารไม่ต้องมาอีก ทำเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าทำเมื่อรู้ทันมารพระพุทธเจ้าจะขับไล่มารไปทุกครั้ง อย่าได้เพียรเพ่งดูจิตเฉย ๆ เพราะจะเป็นโมหะหรือความหลงได้ แต่เพียรรู้จิตตามความเป็นจริงโดยไม่ยินดียินร้าย คอยรู้ให้ทันแล้วถอนความพอใจหรือไม่พอใจออกเสียได้ จึงจะเป็นการเจริญสติอย่างถูกต้อง จิตจะเข้าสู่ความเป็นสัมมาสมาธิโดยสงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ผู้ใดเข้าถึงกุศลธรรมจนเป็นเอกัตคตารมณ์ คือจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียวเป็นธรรมตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเข้าใจในคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราพระตถาคต"

เรามาปฏิบัติธรรมกันเถิดเพื่อสันติสุขอันแท้จริง
ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเล
447  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:12:37 pm
ของพระอาจารย์อุดม วัดป่าหนองเลง
เห็นว่ามีคติธรรมดี ก่อนที่จะหายไปจาก Profile ก็เลยนำมาให้อ่านกันคะ




เจริญพร ยินดีได้รู้จัก คุณโยมสนใจอ่านบทความธรรมะก็เชิญอ่านได้นะ

จะได้นำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน หรือปฏิบัติเป็นอยู่แล้วจะมาพักที่วัดได้นะ

ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่คุณโยมและคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุขนะ

ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง

ป.ล. ขออภัยที่ตัดบทความเป็นตอนๆ เพราะส่งที่เดียวไม่ได้แล้วทั้งหมดมี ๑๕ บท

หน้าใหม่ ของ คติธรรม กรรมและวิบากกรรมที่ควรรู้

เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาประพฤติธรรม เป็นกรรมใหม่ จึงจะได้รับผลของวิบากอันเป็นสุข การประพฤติธรรมก็เปรียบดังการปฏิวัติจิตใจของเรา ให้มีการคิดใหม่ทำใหม่อยู่อย่างสม่ำเสมอในจิตใจของเรา ถ้าไม่เช่นนั้นจิตของเราก็มีแต่จะอยู่ในวงจรของการคิดรู้ ด้วยความรู้สึกยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา การปฏิบัติธรรมก็คือการสร้างความคิดรู้ และความรู้สึกเสียใหม่ คือความรู้สึกที่ปล่อยวาง และวางเฉยเสียได้ นี้เรียกว่าเป็นจิตธรรมหรือกุศลจิต ควรทำให้มีการเกิดขึ้นในจิตอยู่เสมอ ที่เรียกว่าเพียรชอบ

ความยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ คืออาการของกิเลส อาการของความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นเหตุให้เกิด ตัญหา โลภะ โทสะ โมหะ นี้คือจิตที่เรียกว่าอกุศลจิตเป็นสิ่งควรละ จึงต้องมีการกำจัดอาการเหล่านี้ไม่ให้มีในจิตในใจของเรา การจะละอกุศลจิตก็ต้องอาศัยการอบรมจิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ว่าเราจะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และการตามดูที่จิตใจอย่าให้หลงความคิดเรื่องในอดีต
เพราะเรื่องในอดีตที่เข้ามาลบกวนจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบก็จัดเป็นมารอย่างหนึ่งเรียกว่ากิเลสมาร การทำได้เช่นนี้เรียกว่าเป็นผู้รู้สังวรอินทรีย์ ถ้าทำได้เช่นนี้เป็นประจำ ไม่ช้าจิตนี้ก็เกิดความสงบ เกิดเป็นบุญเรียกว่าบุญอันเกิดจากการภาวนา หรือภาวนามัย หรือเรียกว่าปุญญาภิสังขาร คือรู้ปรุงแต่งจิตไปในทางบุญ ท่านทั้งหลายจงพากันตั้งใจปฏิบัติธรรมกันเทิด ท่านจะได้พบความสุขอันแท้จริง มีสุขชาตินี้ สุขชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน

ขอเจริญพร พระอุดม วัดป่าหนองเลง

บทที่ ๗. คติธรรม กรรมและวิบากกรรมที่ควรรู้

ทุก ๆ ชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนต้องตกอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ นั้นก็คือวัฏฏะ ๓ อย่าง วัฏฏะแปลว่า วนหรือวงเวียน คือกิเลส-กรรม-วิบาก กิเลสเป็นเหตุให้กระทำกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดผลคือวิบาก การทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง เมื่อทำกรรมแล้วก็เกิดผลแห่งกรรมที่กระทำ เรียกว่าวิบาก

ผลของวิบากปรุงแต่งให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาแล้วมีผิวพรรณวรรณะดี มีความเป็นอยู่ที่ดี สถานที่เกิดก็ดี มีสุขไม่ค่อยเดือดร้อน มีชีวิตที่สบาย มีสถานที่ ๆ อยู่สบาย อาหารการกินไม่ลำบาก มีญาติมิตรดี มีบริวารมาก เป็นผู้มีทรัพย์มาก แต่เพราะกรรมบางอย่างที่กระทำไว้ ตั้งแต่อดีตชาติก็ดี หรือปัจจุบันก็ดี ส่งผลให้ชีวิตต้องเปลี่ยนไป กลายเป็นคนตกอับ ศูนย์สิ้นทุกสิ่งก็มี

บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาแล้ว มีผิวพรรณวรรณะไม่ดี มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก สถานที่เกิดก็แห้งแล้งลำบากขัดสน ไม่ค่อยมีกิน ไม่ค่อยมีใช้ เปรียบดังตกนรก เช่นคนที่เกิดในแอฟฬิกาเป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่ยกมาชี้ให้เห็น ให้เข้าใจ

สรุปสิ่งที่เป็นไปในชีวิตของคนที่เกิดมาในโลกใบนี้ ล้วนมีผลมาจากกรรมที่กระทำไว้เป็นตัวส่งผลให้ชีวิตของคนที่เกิดมา มีความเป็นไปต่าง ๆ นาๆ ที่เรียกว่าวิบาก จึงควรพิจารณาให้เข้าใจเพื่อความไม่หลงให้จิตเป็นทุกข์ นี้เรียกว่าการกำหนดรู้ในทุกข์

ดังคำกล่าวไว้ในบทสวดมนต์แผ่เมตตาว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จักต้องเป็นผู้ได้รับผล ของกรรมนั้น ๆ สืบไป” อ่านหน้าต่อไป>

Aeva Debug: 0.0005 seconds.
448  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ ถ้าฝึกโดยตรง ควรเิริ่มอย่างไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 10:08:11 am

ขอบคุณกับความกรุณา ของพระอาจารย์ ที่ส่งวิธีการปฏิบัติมาทางเมล์ คะ
 :25: :25:
449  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การประหารกิเลส ในการภาวนา เป็นอย่างไรคะ ที่ว่าสิ้นสุด เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 10:04:19 am
เมื่อเราภาวนา กรรมฐาน ไปแล้ว มีวิธีตรวจสอบ

การประหารกิเลส ตามสังโยชน์ อย่างไรคะ

เราจะสามารถทราบได้ ว่า กิเลสของเราได้ถูกประหารแล้ว
 :25:
450  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ ถ้าฝึกโดยตรง ควรเิริ่มอย่างไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 09:50:25 am
ตอนนี้ ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน ต้องการฝึก อานาปานสติ ก่อน

หรือ พระอาจารย์จะแนะนำให้ฝึก กรรมฐาน อะไรคะ
 :25:
451  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ความกำหนดธรรม มีวิธีกำหนดอย่างไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 03:04:49 pm
ได้ประโยชน์ เลยคะ เรื่องนี้เป็นเรื่องดิฉัน มักจะติดในการภาวนาทุกคร้ง

คือฟุ้งซ่าน และ สงสัย วันนี้ก็ได้ลองปฏิบัติตามที่พระอาจารย์ได้แนะนำแล้ว

ก็รู้สึกควบคุมจิตได้ดีขึ้นทีเดียว
 :25: :25:

452  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นิทาน ลูกช้างกับช่างไม้ เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 02:33:48 pm
นิทานสอนใจ : ลูกช้างกับช่างไม้
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช่างไม้ชาวเมืองพาราณสีจำนวน 500 คนมีอาชีพโค่นต้นไม้ทำเครื่องเรือน และปราสาท ได้รับเงินทองมากมายจากการประกอบอาชีพนี้ โดยพวกเขาต้องแล่นเรือทวนน้ำขึ้นไปถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่ง จึงจะสามารถโค่นไม้ต้นใหญ่มาทำเครื่องเรือนได้ตามต้องการ
       
       และในครั้งหนึ่งที่เหล่าช่างไม้ทั้ง 500 คนกำลังตั้งกองโค่นไม้อยู่ในป่า ก็มีช้างพลายเชือกหนึ่งที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงบังเอิญเหยียบตอตะเคียนที่ แหลมคม ทำให้มันได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส อย่างไรก็ดี ช้างได้ยินเสียงเหล่าช่างไม้โค่นต้นไม้อยู่ไม่ไกลก็คิดว่า อาจขออาศัยพวกช่างไม้ช่วยถอดหนามให้ได้ จึงเดินเขยกเท้าไปหาช่างไม้ เมื่อเข้าไปใกล้ก็นอนลง ช่างไม้เห็นช้างเท้าบวมฉุ เพราะตอไม้ตำเท้า จึงเอามีดคมกรีดรอบ ๆ ตอไม้ แล้วเอาเชือกผูกดึงตอไม้ออกมา บีบหนองออกแล้วชะแผลด้วยน้ำอุ่น รักษาแผลให้ด้วยยาสมุนไพร ไม่นานนัก แผลที่เท้าช้างก็หายสนิท
       
       ช้างนั้นเป็นช้างกตัญญู คิดว่า เราหายจากโรคร้ายครั้งนี้เพราะการช่วยเหลือของช่างไม้ เราควรตอบแทนพวกเขา ตั้งแต่นั้นมา ช้างก็ช่วยฉุดลากต้นไม้มาตลอด ฝ่ายพวกช่างไม้ก็รักและสงสารช้าง เมื่อเวลากินอาหารก็เอาข้าวของตนให้ช้างคนละปั้น รวมได้ 500 ปั้น เป็นเช่นนี้มาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่ง ช้างเริ่มแก่ตัวลง ทำงานไม่ค่อยไหว จึงเข้าป่าไปพาลูกช้างเผือกปลอด ซึ่งเป็นลูกของตนมาช่วยงานเหล่านายช่างแทนตัวเอง
       
       ตั้งแต่ได้รับคำสั่งจากพ่อช้าง ลูกช้างก็ทำทุกอย่างตามที่พวกช่างไม้บอก ช่างไม้ก็เลี้ยงมันด้วยข้าว 500 ปั้นเหมือนกัน และมันก็เป็นมิตรสนิทสนมกับลูก ๆ ของพวกช่างไม้ แต่กระนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์นี้ต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อวันหนึ่ง มีฝนตกหนัก น้ำฝนได้ชะเอามูลแห้งของลูกช้างที่โตเป็นช้างหนุ่มลงสู่แม่น้ำ (ธรรมดาช้างหรือม้า หรือผู้ที่เป็นชาติอาชาไนยย่อมไม่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะลงแม่น้ำ) มูลนั้นไหลไปตามกระแสน้ำ ไปติดอยู่ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งที่ท่าน้ำเมืองพาราณสี
       
       ครั้งนั้น ควาญช้างของพระราชาได้นำช้างจำนวนมากลงดื่มน้ำในแม่น้ำ พวกช้างเหล่านั้นได้กลิ่นมูลช้างอาชาไนยเข้าก็ไม่กล้าลง นอกจากไม่กล้าลงแล้ว ยังยกหางวิ่งหนีเสียอีก ควาญช้างจึงบอกให้นายหัตถาจารย์ทราบ และมีการตรวจพบว่า มูลช้างอาชาไนยนั้น คือเหตุที่ทำให้ช้างทั้งปวงวิ่งหนี
       
       จากนั้น นายหัตถาจารย์ได้ทูลความเรื่องนี้แด่พระราชา และขอให้เสด็จตามหาช้างอาชาไนย พระราชาเสด็จโดยเรือ ทวนกระแสน้ำขึ้นไปบรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้
       
       พวกช่างไม้เมื่อเห็นพระราชาเสด็จมาก็ถวายบังคมพระราชา แล้วทูลว่า ถ้ามีพระประสงค์ไม้ ทำไมจึงต้องเสด็จมาเอง ให้คนมาเอาไปก็ได้ พระราชาตรัสว่า มิได้มีพระประสงค์ไม้ แต่ทรงต้องการช้างอาชาไนย ช่างไม้จึงทูลว่า ให้คนจับไปเถิดพระเจ้าข้า
       
       อย่างไรก็ดี ลูกช้างไม่ยอมไป พระราชาตรัสถามช่างไม้ว่าต้องทำอย่างไร ลูกช้างจึงจะยอมไป ช่างไม้ตอบว่า "ต้องเอาทรัพย์ให้พวกช่างไม้พระเจ้าข้า" พระราชาจึงรับสั่งให้วางกหาปณะใกล้ ๆ ตัวช้าง 5 แห่ง ๆ ละ 1 แสนกหาปณะ แต่ลูกช้างก็ยังไม่ยอมไป
       
       พระราชารับสั่งให้มอบผ้านุ่งห่มแก่ช่างไม้และภรรยาช่างไม้ทุกคน แต่ช้างก็ยังไม่ยอม ต่อเมื่อโปรดประทานเครื่องใช้สอย และเครื่องเล่นสำหรับเด็กแก่ลูกช่างไม้ทุกคน ลูกช้างจึงยอมไปกับพระราชา แต่ก็ไปด้วยความอาลัยอย่างยิ่ง
       
       พระราชาแห่งกรุงพาราณสีนำช้างไปสู่พระนคร จัดการสมโภชน์อย่างดี ให้อยู่ในโรงช้างที่สวยงาม ตั้งช้างไว้ในฐานะสหายของพระองค์ ตั้งแต่ได้ช้างมงคลมา พระราชาก็ถึงความเป็นผู้มีบุญพร้อม ทรงสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะและกฤษฎาภินิหารเป็นที่เกรงขามของราชาสามันตรา ชทั้งปวง
       
        ต่อมา พระราชาเสด็จทิวงคต ในขณะที่พระอัครมเหสีทรงพระครรภ์แก่ แต่ก็ปิดข่าวดังกล่าวนี้เอาไว้ไม่ให้ช้างรู้ ด้วยเกรงว่าช้างจะหัวใจแตกตาย เพราะความอาลัย
       
       พอได้ข่าวพระเจ้ากรุงพาราณสีเสด็จทิวงคตแล้ว พระเจ้าโกศลก็กรีธาทัพมาล้อมนครพาราณสีไว้ มุ่งหมายจะยึดเอาราชสมบัติไปเป็นของพระองค์ ชาวเมืองจึงส่งข่าวไปทูลพระเจ้าโกศลว่า บัดนี้พระอัครมเหสีของพวกเขากำลังทรงพระครรภ์แก่ โหรทางกายวิทยาทำนายว่าอีก 7 วันพระนางจะประสูติ จึงขอผ่อนผันว่าพวกเราจักต่อยุทธ์กัน เมื่อถึงกาลนั้น พระเจ้าโกศลก็ยินยอม
       
       อีก 7 วันต่อมา พระอัครมเหสีก็ทรงประสูติพระราชโอรส ประชาชนที่จิตใจหดหู่ท้อถอยอยู่ ก็ร่าเริงมีกำลังใจขึ้น จึงขนานนามพระราชกุมารว่า "อลีนจิตตกุมาร" มีความหมายว่า ทำให้จิตใจของประชาชนหายหดหู่ พร้อมกันนั้น ชาวพาราณสีก็ออกรบตามสัญญาที่ให้ไว้ แต่เนื่องจากไม่มีจอมทัพ จึงไม่อาจเอาชนะกองทัพของพระเจ้าโกศลได้ จึงมากราบทูลพระอัครมเหสีว่า ถ้ารบเช่นนี้เห็นทีจะแพ้แน่นอน พระนางจึงทรงประดับพระโอรส ให้บรรทมที่พระโจมผ้าทุกูลพัสตร์เสด็จสู่โรงช้าง ให้พระโอรสบรรทมใกล้เท้าช้าง แล้วตรัสว่า
       "พ่อเอ๋ย สหายของท่านสิ้นพระชนม์แล้ว พวกเรากลัวท่านจะโทมนัสถึงหัวใจแตก จึงมิได้บอกท่าน กุมารนี้เป็นโอรสแห่งสหายของท่าน เวลานี้ พระเจ้าโกศลยกทัพมาประชิดนคร ต้องการยึดเอาเมืองนี้ไว้ในครอบครอง ท่านจงช่วยรักษาราชสมบัติไว้ให้โอรสแห่งสหายท่านด้วยเถิด"
       
       ช้างเอางวงลูบไล้พระราชโอรสน้อย ยกขึ้นวางบนกระพองร้องไห้อาลัยรัก จากนั้นก็วางพระโอรสลงในพระหัตถ์ของพระราชเทวี แล้วออกจากโรงช้าง ตั้งใจว่าจะจับพระเจ้าโกศลให้ได้ พวกอำมาตย์แวดล้อมช้างจึงได้ตามออกไปด้วย ช้างได้บรรลือโกญจนาท ทำให้พลข้าศึกตกใจหนีไป จากนั้นช้างได้เข้าทำลายค่าย จับมวยผมพระเจ้าโกศลไว้ได้ แล้วนำมาหมอบลงแทบพระบาทแห่งพระราชโอรสน้อย
       
       ต่อมา พระราชโอรสนั้น ได้ทรงเข้าพิธีอภิเษกเป็นพระราชาเมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา ทรงพระนามว่า อลีนจิตตราชา เสวยราชสมบัติโดยธรรม
       
        ข้อคิดจากเรื่องนี้
       
       1. สัตว์เดรัจฉานเช่นช้างที่เจ็บเท้าในเรื่องนี้ ยังมีความกตัญญูกตเวทีต่อพวกช่างไม้ผู้ทำให้ตนหายป่วย แสดงถึงความเป็นผู้มีใจสูง มนุษย์ควรเอาอย่างได้
       
       2. กัลยาณมิตร แม้ระหว่างสัตว์กับคนยังช่วยเหลือกันได้ เช่น ช้างมงคลช่วยให้อลีนจิตตกุมารราชโอรสแห่งสหายของตนได้ชนะข้าศึก และครองราชย์ได้ มนุษย์ต่อมนุษย์ผู้เป็นกัลยาณมิตรกัน จึงควรอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือกันในยามวิบัติขัดข้อง
       
       3. บุรุษอาชาไนย หรือสัตว์อาชาไนยย่อมแสดงความเป็นอาชาไนยของตนโดยลักษณะ คือเป็นผู้มีลักษณะดี มีคุณธรรมสูง มีความเสียสละเพื่อเห็นแก่ส่วนรวม มีความเกรงกลัวบาป มีความรักเกียรติยศยิ่งชีวิต อยู่เพื่อความดี และยอมตายเพื่อความดี
       
       4. คนดีเมื่อตนได้ดี ย่อมหาทางช่วยเหลือคนอื่นบ้างตามสมควร เช่น ลุกช้างเมื่อพระราชาจะนำไปสู่พระนคร ยังหาทางช่วยเหลือช่างไม้ ภรรยาและบุตรให้มีเครื่องใช้และทรัพย์ก่อนแล้วจึงจากไป
       
       ขอบคุณนิทานดี ๆ จากหนังสือเพื่อเยาวชน ของสำนักพิมพ์คนรู้ใจค่ะ
453  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / โปรดเชื่อมั่น ในอริยมรรค เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 03:58:44 pm
ในส่วนที่กล่าวนั้น tuenum มาแสดงคล้าย สถาบันแสงทิพย์อริยธรรมเชียงใหม่

ดิฉันเป็นลูกศิษย์ ของ อาจารย์มานิตย์ สุทธจิตต์

เนื่องด้วยดิฉันอยู่ที่เชียงใหม่

เนื่องด้วยเรา ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติถึงแม้ว่าจะมีอยู่มากมายในป่า

แต่ที่พระองค์ทรงแสดง ก็มากพอแล้ว

ดิฉันเชื่อมั่นใน อริยมัคคสูตร และ อริยสัจจะสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้ว

โดยไม่ต้องเพิ่มเติม อรรถกถา

 :73:
454  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การยก ข้อความพระพุทธวจนะนั้น ควรคำนึงข้อแตกต่าง เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 03:52:45 pm
การยก ข้อความพระพุทธวจนะนั้น ควรคำนึงข้อแตกต่างดังนี้

  1.พระพุทธวจนะ มีการแสดงอยู่ 2 แบบ

     1. แสดงแก่มหาชน หมู่ใหญ่ ไม่เจาะจงลงไปผู้หนึ่ง ผู้ใด เป็นหลัึกธรรมสากล เช่น ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

   อนัตตลักขณสูตร เป็นต้น
   
     2. แสดงเฉพาะเจาะจง ลงไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่ืนทรงสอนกรรมฐาน พระจูฬปันถก ด้วยวิธีการ

  ภาวนาว่า รโช หรณัง เป็นต้น ผู้ฝึกก็ฝึกได้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นหัวข้อธรรมส่วนนี้ถึงแม้แสดงออกมา ก็ไม่

  ควรจะชี้แจงให้ตื้นลึก เพียงกล่าวดำรัสนั้นโดยตรง และไม่แตกอรรถกา เพราะการแตกอรรถกถา คือการใส่

  ความเห็น
 
  2. หลักธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงแสดง มี  3 นัยยะ

    1. เพื่อชนที่ไม่เลื่อมให้เลื่อมใส ธรรมที่แสดงส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องศีล
   
        ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำให้ปีติ ปราโมทย์ ยินดีในกุศลเป็นหลัก

    2. เพื่อชนที่เป็นกลาง และสั่งสมบารมี

        ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำให้กำลังใจ แก่พระโพธิสัตว์ และ ผู้ไม่ปรารถนาการสิ้นภพสิ้นชาติในพระ

 พุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน

    3. เพื่อภิกษุ ผู้เป็นพุทธสาวก ผู้ที่เลือกพระนิพพาน โดยตรง

       ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่แสดงให้แก่พระโยคาวจร
 
   ข้อความปรากฏใน อุทุทพิกสูตร สุตตันตปิฏก เล่มที่ 11 ฑีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์


 

  การแสดงธรรมพึงมีความฉลาด ในการ สัปปุริสธรรม  7 ประการ

  ดังนั้นเพื่อนสมาชิก พึ่งรับทราบ และ
 
  พึ่งศึกษา ธรรมวิจยะ เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส ตามคำสั่งของพระอาจารย์

  วันนี้พระอาจารย์ให้โอวาท ไว้กรุณาไปอ่านกันก่อน


  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1264.0

  สาธุ สาธุ สาธุ
455  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ ผู้เสียสละให้ชาวโลก ผู้จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 02:33:59 pm
อ้างถึง
2.  รุ่นน้องผมคนหนึ่ง ชื่อ ตี่  เป็นชาวพุทธที่เคร่งมาก  แต่ไปแต่งงานกับชาวคริสต์ คู่หมั้นบอกให้เขาเปลี่ยนศาสนาเป็นพุทธ  ไอ้ตี่มันไม่ยอมเปลี่ยน ก่อนแต่งงาน โชคร้ายที่คนที่จะเป็นภรรยา เกิดอุบัติเหตุตายไปก่อน

คุณ Tuenum ทำอะไรคะ

   ตี๋เป็นชาวพุทธ แล้ว จะเปลี่ยนเป็นพุทธ ทำไม ?

   อีกอย่าง ถ้าเป็นศาสนาสากล คือ มีแต่ศาสนา ไม่แบ่งค่าย แล้ว ตี๋ ต้องไปเปลี่ยนศาสนาอีกทำไม

   แล้วทำไม ต้องเปลี่ยนจากพุทธ เป็น คริสต์ ด้วยละคะ

   ดิฉันไม่สนเรื่องสวรรค์ ที่เกิดแต่ตายเพราะกายแตก ตรงนั้นเชื่อว่าได้สร้างกุศลไว้ดีแล้ว


   ข้อสังเกต คุณ Tuenum กับ คุณ Servival เป็นสหายกันหรือป่าวคะ


  หลักของดิฉัน นั้น มุ่งการภาวนา ที่ใจตัวเอง และเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่า

   ผู้ใดประกอบด้วย อริยมรรค ผู้นั้นจักพ้นจากสังสารวัฏ


   มีพระดำรัสตอนหนึุ่งที่พระอานนท์ทูลถามพระพุทธองค์ว่า ก่อนปริินิพพานว่า

   พระอานนท์ "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใครจักเป็นศาสดาต่อจากพระองค์ "

   พระพุทธเจ้า "ดูก่อนอานน์ ปาพจน์ 2 (ธรรมและวิันัย) จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย ศาสนาของเรา

จักมีอายุอยู่ 5000 ปี จงยกเลิก พระภิกษุณี และจงลงพรหมทัณฑ์ แก่ฉันนะ "

   พระอานนท์ "ข้าแต่พระผู้พระภาคเจ้า หลังจากพระองค์ทรงปรินิพพาน แล้ว ชนทั้งหลายจักมีการบรรลุธรรม

  หรือไม่อย่างไร ? "

   พระพุทธเจ้า "ดูก่อนอานนท์ ตราบใดที่อริยมรรคยังปรากฏ ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์"


   การอุบัติของพระพุทธเจ้า นั้นมีเพียง 1 เรียกว่า 1 พุทธันดร ในกัปป์นี้เหลือเพียง 1 เดียว

   การอุบัติของพระปัจเจกพุทธเจ้า จักมีไม่ได้ ในช่วงศาสนา ตถาคตยังดำรงอยู่

   

   โดยส่วนตัว ตอนนี้ไม่สนพระโพธิสัตว์ เพราะปรารถนาเป็น สาวกภูมิ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเ้จ้า

 องค์ปัจจุบัน


    อีกอย่าง พระโพธิสัตว์ เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตา ไม่ใช่ สะใจ ที่เขาตาย เพราะเราเป็นเหตุ น้ำใจของพระ

โพธิสัตว์สุดจะประมาณ มีพระบาลีในพระไตรปิฏก กล่าวถึงอุปนิสัยของพระโพธิสัตว์

    1.ประกอบด้วยศีล ถึงขั้นเสียสละชีวิตของตนเพื่อรักษาศีล

    2.ประกอบด้วยเมตตา ถึงขั้นเสียสละชีวิตของตนแทนสรรพสัตว์ที่เลวทรามได้

    3.ประกอบด้วยเนกขัมมะ คือมั่นคงต่อการออกบวชทุกชาติ

   แค่ 3 ประการก่อนนะ

     สำหรับพระเมตตรัย ซึ่งจะเป็นพระศรีอาริยเมตตรัย นั้นท่านมีบารมีถ้วน ถึง 30 ประการแล้ว ซึ่งในพระสูตร

แสดงที่ตั้งของพระศรีอาริยเมตตรัย ในขณะนี้ว่าจุติอยู่ ตุสิตาเทวโลก เมื่อคราวกึ่งพระพุทธกาลท่านจะลงมา

พยุงพระศาสนา แล้วทำให้พระศาสนารุ่งเรือง ในพระสูตรแสดงไว้ดังนี้

    1.พระศรีอาริยเมตตรัย จักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์

    2.พระศรีอาริยเมตตรัย จักเป็นบุรุษ
 
    3.พระศรีอาริยเมตตรัย จัดบรรพชาในพระพุทธศาสนาก่อน

    4.พระศรีอาริยเมตตรัย จักเป็นพระราชาหรือจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ที่บรรดาชาวโลกรู้จักและนับถือ

    5.พระศรีอาริยเมตตรัย จักเป็นผู้ส่งเสิรมพระพุทธศาสนาให้ชนทั้งหลายรู้จัก

    6.พระศรีอาริยเมตตรัย จักเป็นผู้ทำศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาให้อุบัติเป็นที่ตั้งจนสิ้น 5000 ปี


    คนใดที่กล่าวอ้างเป็น พระโพธิสัตว์พระศรีอาริยเมตตรัย ต้องมีคุณสมบัติอย่างนี้

    คุยกันก่อนแค่นี้

     :25: :25:
456  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอบคุณ "ที่คิดถึง" แต่การภาวนา "นั้นไม่เกี่ยว" เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 02:02:07 pm
อ้างถึง
ดังนั้นโปรดอย่าให้ความสำคัญกับเนื้อหนัง ของพระอาจารย์

จงให้ความสำคัญ กับพระกรรมฐาน ของพระบรมศาสดาเถิด และ จงหมั่นภาวนา ให้มากขึ้น

อย่าประมาท จงเรียนธรรมด้วยความเคารพ จงภาวนาธรรมด้วยความศรัทธา จงสัมปยุติด้วยสมาธิ

จงละตนเองด้วยการมองเห็นตามความเป็นจริง จงทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งหลายให้สิ้น ด้วยตัวท่านเถิด

 เข้าใจในคุณธรรม ของพระอาจารย์แล้ว จ้าโดยปกติ ที่ ดิฉัน ได้เข้าพบคุยสนทนากับพระอาจารย์ต่าง ๆ นั้น

ส่วนใหญ่ท่านมักจะให้ติดต่อท่านเป็นประจำ และพยายามพูดถึงความสำคัญของท่าน แต่ดิฉัน จากที่ได้รับเมล

พระอาจารย์ การเสียสละออกมาเป็นสงฆ์ และ เสียสละออกไปภาวนาแล้ว พร้อมทั้งคำเตือนให้เคารพในธรรม

และพระพุทธเจ้า ไม่ยกตนข่มท่าน นับว่าดิฉัน ยังไม่ได้พบเลยตั้งแต่เข้าศึกษาหลักธรรมมา

   อนุโมทนา กับโอวาท ที่อ่านแล้วได้กำลังใจในการภาวนา คะ
 :25: :25:
457  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมทำบุญ ร่วมกันคะ ที่เชียงใหม่ นะคะ เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:59:56 pm
การจัดงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ประจำปี 2553

ซึ่ง จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

และการจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2553

ในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ วัดฝายหิน

โดยมีรองศาสตราจารย์ ธีรภัทร วรรณฤมล
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายมวลชนสัมพันธ์และนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
458  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:39:53 pm
อ้างถึง
ผมใช่ว่าจะค้านแม่หญิงทุกเรื่องนะครับ แค่มองต่างมุมเล็กๆน้อยๆ

อย่าไ้ด้ถือโกรธ ความเห็นของผมจะเป็นแบบทดสอบคุณธรรมในใจ

ของแม่หญิงได้ ไม่ว่าแม่หญิงจะยอมรับหรือไม่่

อย่างไรก็ฝากเป็นการบ้านก็แล้วกัน

เคยให้แต่คนอื่น ทำการบ้าน แต่วันนี้ต้องทำการบ้านเองแล้ว

สำหรับ ข้อที่แย้งไว้นั้น จำได้จากเรื่อง

ภาวนากถา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=78.msg4160#msg4160

 มีข้อความว่า
   ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีเป้าหมาย แตกต่างกันตามระดับ ดังนี้
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นเทวดา เพื่อเป็น หรือ ไปเกิดเป็นเทวดา นางฟ้า เป็นเป้าหมายชั้นต้น อันนี้เกิดจากรักษา ศีล และ ให้ทาน  เรียกว่า “ทานศีลภาวนา” ในความเข้าใจของผม  ศัพท์ทางธรรม เรียกว่า ทานมัย และ สีลมัย
•การปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นพระพุทธเจ้า คือผู้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศ อย่างเหนียวแน่น ซึ่งผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้ต้องการอยู่ในพุทธภูมิ หัวข้อนี้จะไม่ขอกล่าวเพราะว่าเป็นเรื่องของบุคคลที่ความปรารถนาอย่างสูง เพราะต้องมีการบำเพ็ญบารมี 3 ระดับ คือ1.สามัญญะบารมี 2.อุปะบารมี และ 3.ปรมัตถะบารมี จึงจะสมบูรณ์ได้
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นพรหม คือปฏิบัติ เพื่อเป็น หรือ ไปเกิดเป็นพรหม เป็นเป้าหมายชั้นกลาง อันนี้เกิดจากการบำเพ็ญจิต ให้ตั้งมั่น เรียกว่า “สมาธิภาวนา” ในความเข้าใจของผม ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า ภาวนามัยชั้นต้น
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือปฏิบัติเพื่อ ละสิ้นจาก ภพ จาก ชาติ จากการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ เป็นเป้าหมายชั้นสูงของพระสาวก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สาวกภูมิ คือผู้ที่ต้องการเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน  อันนี้เกิดจากการบำเพ็ญ จิตให้สูงให้ละสิ้นจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา” ในความเข้าใจของผม ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า ภาวนามัยชั้นสูง เพราะประกอบด้วยการทำไว้ในใจโดยความแยบคาย และ ตรึกตรองอย่างถี่ถ้วน ทุกอิริยาบถ ทุกลมหายใจ เข้า และ ออก ด้วยความเพียรที่สม่ำเสมอ



    เพราะอาจจะยังไม่เข้าใจ ในความหมายดี แต่ก็คล้อยตามอยู่ในบทนี้

    สำหรับ เทวดา พรหม พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์

      ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงบุคคลไม่ได้หมายถึงที่เป็นนะคะ แต่หมายถึงบุคคลที่กำลังภาวนาเพื่อจะเป็น

   ย้ำอีกครั้งก็คือมนุษย์เดินดินอย่างพวกเราวันนี้ ซึ่งมีปณิธานแตกต่างกันไป


      ส่วนเรื่องของเทวดามีมิจฉาทิฏฐิ ตามที่คุณปุ้มเคยโพสต์ไว้ว่า ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระอรหันต์

   ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิโดยสมบูรณ์
 
    ( แต่พระอาจารย์บอกว่า สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ตั้งแต่พระโยคาวจร )


     ส่วนพรหมไม่ได้ลืมหรอกคะ เพราะผู้ที่เป็นอนาคามี สุทธาวาส 5

     คำว่าพรหมก็รวมหมดทุกพรหม แหละคะ


    สำหรับบุคคลที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น นั้นจินตนาการยากคะ คิดว่าเป็นอจิณไตรยะ

    ดูประวัติพระโพธิสัตว์ 500 ชาติ สิคะ หรือ 10 ชาติหลักก็ได้คะ ไม่ได้มีสมาบัติทุกชาติ

    ส่วนการบวชในพระศาสนานั้นไม่ใช่เป็นเรื่องปกติคะ พระอชิตะก็บวชในพระศาสนา ก็ต้องถือสิกขาบถ

    ตามนั้น ถ้าชาติไหนไปเรียนกับอาจารย์ ก็ปฏิบัติตามอาจารย์นั้น ส่วนสังขารุเปกขาญาณนั้น เป็นกำลัง

    ของพระโพธิสัตว์ ที่มีบารมีพร้อมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะพระโพธิสัตว์บางท่าน ก็เิลิกเป็นพระโพธิสัตว์

    ได้ยินมาอย่างนั้น แต่ไม่มีที่อ้างอิง

     ก็อย่างที่บอก สำหรับเรื่องของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเรื่องที่ดิฉันไม่ได้ใส่ใจ เพราะใส่ใจหลักธรรมของ

    พระสาวกมากกว่าจึงไม่ต้องการทราบว่าพระโพธิสัตว์นั้นจะมีความสามารถอย่างไร


     ในที่ดิฉันกล่าวนี้สำหรับบุคคลที่กำลังภาวนาเพื่อจะเป็นพระอรหันต์นั้น ส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจในสัญญลักษณ์

   เพราะมุ่งแต่หลักธรรมในการขัดเกลาใจ เพื่อละกิเลสภายใน เพื่อจะไ้ด้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ส่วนที่คุณปุ้ม

   เรื่อง อัตตลักษณ์ นิสสัย นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล อันนี้ทราบดีคะ

    แต่ไม่ขอกล่าวถึงบุคคลที่เป็น เพราะดิฉันยังไม่ได้เป็น ถ้าจะตอบให้ได้แบบนั้น ดิฉันควรจะเป็นก่อนจึงจะตอบ

   ได้คะ ดังนั้นตอนนี้ดิฉันเป็นเพียง อุบาสิกาตัวน้อย ๆ ที่กำลังใฝ่การภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก กำลังจะ

   เดินตามทางที่บอก ว่าเป็นอริยมรรค เป็นทางสายกลาง เป็นไปเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก จึงไม่ขอแสดง

   ความเห็นอารมณ์ของพระอริยะบุคคล ชั้นใด ๆ ทั้งสิ้น คะ

      ยินดีรับคำแนะนำจากทุกท่าน เพื่อกระทำ ธรรมวิจยะ เพื่อการสิ้นสุดแห่งกิเลสคะ

    :25: :25:


   ปล.ถึงคุณธรรมธวัช ดิฉันได้อ่านและติดตามผลงานของคุณ โดยเฉพาะในกระทู้นี้ ค่อนข้างบรรจง

   ให้อ่านได้ง่าย อนุโมทนาด้วยคะ

 :25: :25:

   
459  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 04:08:36 pm
 สำหรับครู ไม่เห็นด้วยในเรื่อง การไม่มีพระพุทธรูป ยึดหลักการของพระอาจารย์ในกระทู้ไหนลืมไปแล้ว

  ท่านกล่าวระดับ ผู้ปฏิบัติ มี 4 ระดับ

    1. เป็นเทวดา พวกนี้ต้องการความสุข ความสำเร็จ ต้องการโลกธรรม และ หวัี่ี่นไหวต่อโลกธรรมด้วย

       ดังนั้นพวกนี้ จึงขอสร้างกุศล สั่งสมบารมี ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ชนพวกนี้ ต้องการวัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ

       เช่นการมีพระพุทธรูป เป็นต้น ระดับนี้

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น มนุษย์ เทวดา พระโสดาบัน พระสกทาคามี

    2.เป็นพรหม พวกนี้ต้องการความสุข และ สงัดทางจิต เป็นครั้งคราว ยึดมั่นใน อุเบกขา เป็นหลัก ไม่ยุ่งกับ

       วัตถุ และมั่นคงในกุศล

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น เทวดา พรหม และ พระอนาคามี

    3.เป็นพระโพธิสัตว์ พวกนี้ต้องการสั่งสมบารมี เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อขนเวไนยสัตว์ พวกนี้ค่อน

      ข้างเอาเหตุ เอาผล อะไรไปวัดยากมาก อย่างเช่น พระโพธิสัตว์ เสียสละชีวิตตัวเอง ให้โจรมีชีวิต

      ไปก่อกรรมต่อ คิดอย่างไร ก็คิดไม่ออก ว่าจะช่วยทำไม ทำให้คนอื่นต้องตาย เพราะลักษณะของ

      พระโพธิสัตว์เป็น อจิณไตย มาก ๆ ดังนั้นพวกนี้ วัตถุ ก็ไม่ต้องการ จิต ก็ไม่ต้องการ ชีวิต ก็ไม่ต้องการ

      ข้อสังเกตุ ระดับนี้มีโอกาสบรรลุคุณธรรม ก็หลายครั้ง ส่วนใหญ่บังเกิด อยู่ที่ ดุสิต เป็นเทวดา พิเศษ

      ยกตัวอย่างพระมารดาของพระพุทธเจ้า ก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ แต่ปรารถนา เป็นมารดาของ

      พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปอีก ( คิดแทนไม่ได้จริง ๆ ) ตอนนี้ก็ทราบว่า ลงมาบำเพ็ญบารมี เพื่อการเป็นพระ

      มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป อีก

    4.เป็นพระอรหันต์ พวกนี้ต้องการไม่กลับมาเกิดอีก จึงไม่สนใจวัตถุ สนใจแต่ ธรรม แห่ง จิต

      พวกนี้เป็นพระโยคาวจร มีลักษณะทรงความเป็นผู้มีปัญญา ไม่ไปไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นต้น

   


    วิเคราะห์ ให้ดี ตามที่คุณปุ้ม โพสต์เรื่อง กระพี้ เปลือก แก่น นั้น จะบอกว่าใครจะเลือกอะไรแล้วไปตำหนิ

    ว่ามัวแต่ ติดกระพี้ เปลือก ไม่เอาแก่น ก็ไม่ได้ เหตุเพราะว่า

    พิจารณาที่พระพุทธเจ้า นั้น ตอนเป็นสุเมธดาบส พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงธรรมให้เป็นพระอรหันต์ ได้

    ในอรรถกามีกล่าวไว้ แต่เพราะความปรารถนาใน พุทธภูิมิ จึงไม่สามารถบรรลุ คุณธรรม สาวกภูมิได้

    ซึ่งเป็นที่มาของการอธิษฐาน เป็นสาวกภูมิ กัน

        เมื่อก่อน ดิฉันเอง ก็ไม่เคยสนเรื่องนี้ แต่พอได้ศึกษา ธรรมะในบอร์ดนี้ และไำด้เมล คุยกับพระอาจารย์

    และอาศัยไฟล์เสียง จากครูนภามาฟัง จึงได้ตัดสินใจ ขึ้นดอยสุเทพเมื่ออาทิตย์ ที่แล้ว พร้อมตั้งสัจจะ

   ปฏิญาณ ข้าพเจ้าปรารถนา เป็น สาวกภูมิ ในชาตินี้


       หลังจากอธิษฐาน แฟนที่ไปด้วยกัน ก็บอกเลิกกันทันที ดั่งสายฟ้าฟาด
 
       กลับบ้านวันนั้น ลงจากรถ ก็หกคะเมนตกหลุม ขับมอร์เตอร์ไซค์ไป ก็โดนเฉี่ยว เคยเดินอยู่ประจำที่

    บ้านพักครู อยู่ ๆ ก็มีหมาวิ่งเข้ามากัด สุดท้าย ด้วยพวกรุมว่าอีก

       พระอาจารย์กล่าวว่า เป็นเพราะกรรมของพระสาวกนั้น ไม่รอท่าชาติต่อไปแล้ว กรรมอะไรที่จะใช้กัน

   เลยในชาตินี้ จักทะยอยเกิดขึ้น ทั้งดี และ ก็ไม่ดี เพราะสาวกภูมิ สิ้นสุดกันชาตินี้ ทุกอย่างให้เตรียมใจ

   ที่สำคัญที่สุด ต้องสวดคาถาอุณหิส ให้ได้ ( เรื่องนี้ไม่รู้มาก่อน )


       ดังนั้น

      พวกเทวดา ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม ตามโอกาส เปลือก และ กระพี้ และ แก่น

      พวกพรหม ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม เปลือก และ แก่น

      พวกโพธิสัตว์ ไม่ต้องการอะไร ในทั้งสามอย่าง คิดแทนไม่ได้

      พวกพระอรหันต์ สาวกภูมิ ต้องการแก่นธรรมเท่านั้น ไม่ติดในสัญญลักษณ์

     
460  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าเราปฏิบัติ พระกรรมฐาน โดยไม่อธิษฐาน กรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 03:41:04 pm
สาุธุ เจ้าคะ
:25:
461  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าเราปฏิบัติ พระกรรมฐาน โดยไม่อธิษฐาน กรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 11:01:19 am
ขอบคุณกับการให้กำลังใจ จากคุณปุ้มคะ

 ดิฉันได้รับจดหมายจากพระอาจารย์เป็นการส่วนตัวแล้วคะ และก็ทราบว่าควรจัดการที่ตนเองอย่างไร



  เจตนาที่พิมพ์ในคำถามช่วงแรก เป็นเพราะว่าดิฉัน ไม่พอใจกับความเห็นเรื่องการตอบคำถามเรื่องพระสัทธรรม

ปฏิรูป จริง ๆ เพราะดิฉันคุ้นเคยกับคำว่า สันติภาพ คือ พระพุทธศาสนา ในฐานะอุบาสิกาหน่ออ่อนด้วยและเห็น

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ความสันติภาพ คือมองเห็นและเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาก็๋คือความสุขสงบ

เย็นทั่วโลก เหมือนตำนานของพระศรีอาริยเมตตรัย ที่ท่านสามารถทำให้ทั้งโลกเสมอภาคกันได้ด้วยสันติภาพ

ตอนนั้นดิฉัน ก็เลยก็มีความอคติกับคำตอบของพระอาจารย์ทุกเรื่อง จึงใช้คำว่า สัทธรรมปฏิรูป ยวนท่านจริง ๆ

และกระทู้สุดท้ายที่ดิฉัน ดูถูกท่านตรง ๆ เลย ในความรู้ของท่าน

    ก็คือการกล่าวดูถูกท่านว่า "ไม่รู้เรื่อง พุทธบริษัท" และ "กล่าวหาท่าว่า ริดรอนสิทธิสตรี" ( ยอมรับว่าเป็น

ความผิดและจงใจ ดูถูก และ ดูหมิ่น จริง ๆในขณะนั้น ) เป็นเพราะเชื่อในพระอาจารย์ที่ปรึกษา หลายรูปจน

กระทั่งตัวเองตกเป็นเครื่องมือในการ ปรามาส พระอาจารย์ที่เรายังไม่รู้จักด้วยซ้ำไป

   พระอาจารย์กล่าวสาเหตุในเมล ส่วนหนึ่งว่า ที่ท่านไม่อยู่วัด และ ไม่ออกมาทำงานศาสนาส่วนหนึ่งเพราะลูก

ศิษย์ท่านต่างวางอุเบกขา ปล่อยให้พระอาจารย์รับเรื่องราวอยู่แต่ผู้เดียว ทุกคนอยากให้พระอาจารย์สอนกรรม

ฐานที่วัด แต่ทุกคนเมินเฉยกับปัญหาที่พระอาจารย์ต้องแบกแทนทุกคน ด้วยคำว่าเกรงใจซึ่งกันและกัน แม้พระ

อาจารย์ถูกกล่าวหามากมาย ทุกคนก็นิ่งเฉย และก็ปล่อยไว้แต่เพียงว่าคนจักเข้าใจกัน ด้วยการวางเฉยโดยไม่มี

ข้อแก้ต่างให้กับพระอาจารย์กัน ที่จริงพระอาจารย์เพียงกล่าวสั้น ๆ ว่า ไม่มีใครช่วยอธิบาย เพียงทุกคนปล่อยให้

ท่านอธิบาย ทุกวันนี้ท่านจึงหันหลังให้กับการเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน เพียงแต่ยังรักษางานทางเว็บไว้เท่า

นั้น ดิฉันคงกล่าวมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว

    ส่วนท่านที่ออกมาแสดงความคิดเห็นนั้น เท่าที่อ่านมา ก็ให้กำลังใจทั้งนั้น เพียงแต่กล่าวห้ามเรื่อง การใช้วาจา

ที่ดูถูก หมิ่นโดยตรง ต้องขอบคุณคำชี้แนะจากกัลยาณมิตรทุกท่าน แม้ ครูนภาเอง ก็ยังไม่ได้พูดอะไรสักคำ

คุณประสิทธิ์ ก็ย้ำว่าอ่านใหม่ ดี ๆ หลาย ๆ รอบ ( ฉันพึ่งเข้าใจน้ำใจของทุกท่าน และซาบซึ้งจริง ๆ )

     พระอาจารย์ แนะนำไว้ว่า

     ปุถุชน มีความผิดกันทั้งนั้น แต่เมื่อผิดแล้ว อย่าเข้าข้างตัวเอง พึ่งขอขมาพระรัตนตรัย เพราะโทษการ

ล่วงเกิน พระรัตนตรัย มีผลปิดคุณธรรม ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา จึงทำการขอขมาทุกครั้งที่ภาวนา

     พระทำผิด ก็ต้องมีการปลงอาบัติ เพื่อให้สัญญาว่าจักไม่ทำอีก ก็เพราะว่าเพื่อไม่ปิดคุณธรรม

     สาูธุ

 :25: :25:
462  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าเราปฏิบัติ พระกรรมฐาน โดยไม่อธิษฐาน กรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 09:38:45 am
ขอบคุณ คะสำหรับคำแนะนำของทุกท่าน

ตอนแรกที่พิมพ์ลงไป ก็เพราะความที่ตนเอง มีอคติกับพระกรรมฐาน แนวนี้อยู่บ้าง

และก็ได้รับคำชี้แนะจากพระอาจารย์ ที่นับถือ ที่เชียงใหม่ ซึ่งก็แนะนำไม่ให้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา กันจริงๆ

พอได้อ่านคำแนะนำจาก พี่ ๆ ที่แนะนำด้วยความหวังดี โดยเฉพาะการปรามาสพระอาจารย์ ซึ่งยังไม่เคยพบ

และไม่รู้จักกัน พอได้อ่านที่คุณ komol กล่าวถึงปณิธาน ของพระอาจารย์ กระทั่งความรู้ และความเสียสละ

เมื่อคืนนั่งอ่านแล้ว ก็คิดได้จริง ๆว่า ไม่เป็นการเหมาะสมด้วยจริง ๆ

 จึงกราบขอขมา พระอาจารย์ไปทางเมล และ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ จึงกราบของขมาทางกระทู้ด้วย
 
 ขอพระอาจารย์จงอดโทษแก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด

 :25: :25:
463  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระสัทธรรมปฏิรูป คืออะไร เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 10:03:59 am
อ้างถึง
ไม่มีครบทั้ง 3 บริษัท ( เนื่องด้วยพระพุทธทรงยกเลิกพระ

ภิกษุณีก่อนปรินิพพาน ) พุทธบริษัทตามพระดำรัสให้คงไว้แค่ 3 บริษัท คือ ภิกษุ อุบาสก และ อุบาสิกา

ตามวัดทั่วไป สำนักใหญ่ สำนักเรียน ตำราพระไตรปิฏก ก็กล่าวว่า พุทธบริษัท มี 4

แต่พระอาจารย์นี่มาแปลกกล่าว พุทธบิรษัท มี 3

แสดงว่าพระอาจารย์ ไม่ยอมรับ พระภิกษุณี ที่มีทั่วโลก ใช่หรือไม่ คะ ?

ริดรอนสิทธิสตรี ทำไม ?
 :smiley_confused1:
464  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถามเรื่องการเดินจงกรม คะ เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 09:34:53 am
 
อ้างถึง
การเดินจงกรมธาตุ มี  6 ขั้น ตามภูมิดังนี้

          จตุธาตุววัตถานธาตุ  ( ธาตุจตุรภูติ ) ขรัวตา  และพระอาจารย์ของพระอาจารย์ เรียกว่า รูปธาตุ เป็นโลกียะสมาธิ

          ปัญจมะธาุตุ  ( ธาตุอรูป ) ขรัวตา และพระอาจารย์ของพระอาจารย์  เรียกว่า อรูปธาตุ เป็นโลกียะสมาธิ

          อายตนะธาตุ  ( ธาตุสมาบัติ ) เป็นโลกียะสมาธิ และ โลกุตตระสมาธิ

          โพชฌงคธาตุ  ( ธาตุพระอริยะ ) เป็นโลกุตตระสมาธิ

          อริยะธาตุ  ( ธาตุพระอรหันต์ ) เป็นโลกุตตระสมาธิ

          นวโลกุตรธาตุ ( ธาตุโลกอุดร )  ขรัวตา  และพระอาจารย์ของพระอาจารย์

เรียกว่า ปรมัตถสมาบัติ เป็นโลกุตตระสมาธิ]


  ดิฉัน ค้นหาวิธีการ้เดินจงกรม ในพระไตรปิฏก เพื่อตรวจสอบแนวคำสอน อันประกอบกับพระไตรปิฏก แล้วไม่พบเรื่องการเดิน

จงกรม ตามหัวข้อทั้ง 6 เลย ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ธาตุจตุรภฺฺูติ ธาตุอรูป จนถึง  ธาตุโลกอุดร ในพระไตรปิฏก ไม่มีเรื่องพวกนี้

การที่พระอาจารย์ถ่ายทอดส่วนนี้และไม่มีในพระไตรปิฏก จัดเป็นสัทธรรมปฏิรูป หรือป่าวคะ

  ( ดิฉันอาจจะ ไม่เข้าใจเรื่องสัทธรรมปฏิรูป ที่พระอาจารย์อธิบายไว้ก็เป็นได้ แต่ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบอ้างอิงกับพระไตรปิฏก เนื่องด้วยพระอาจารย์ที่สอนดิฉันอยู่ในปัจจุบัน ท่านได้แย้งไว้่ว่าสิ่งที่สอนไม่ปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ควรเชื่อถือ ไม่ควรส่งเสริม เพราะสิ่งนั้นเป็นสัทธรรมปฏิรูป มีคณะพระอาจารย์ในเชียงใหม่ให้ความเห็นว่า ควรปฏิบัติตามหลัก มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นหลักเพราะเป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้า โดยตรงไม่ใ่ช่ของพระอริยะสาวก )

  เพื่ีอน ๆ สมาชิก มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ คะ
 :25:
465  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นิมิต ที่เกิดในธรรม เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 09:22:35 am
อ้างถึง
  พระพุทธเจ้าเปิดบารมีให้เห็นธรรม นำจิตของเราไปด้วยอักขระ 

  ตัวอักขระ นะ ปรากฏที่ข้อมือ นำจิตเข้าไปในเส้นเอ็น จนเห็นกระดูก ของตนเอง กลวงโบ๋

   ครั้นทราบการชี้นำ จิตจึงเจริญวิปัสสนาตาม ความประสงค์ของพระพุทธเจ้า

 ในหลักการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้ว ตัวอักขระ นะ ปรากฏที่ข้อมือนั้น ในพระไตรปิฏก

ไม่มีการแสดงส่วนนี้ การที่แสดงส่วนนี้ขึ้นมา จัดเป็นสัทธรรมปฏิรูป หรือป่าว คะ  :040:

   อีกอย่างการกล่าวว่า พระพุทธเจ้าให้นิมิต และทำตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า เป็นการกล่าวตู่

พระพุทธเจ้า หรือป่าวคะ

:19:
466  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าเราปฏิบัติ พระกรรมฐาน โดยไม่อธิษฐาน กรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 09:18:23 am
อ้างถึง
การปฏิบัติ กรรมฐาน โดยการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนพระกรรมฐานนั้น เป็นปรามาสพระอาจารย์ผู้บอก
กรรมฐาน

ทำไมจึงกล่าวว่าเป็นการปรามาส ละัคะ ในเมื่อพระอริยะ ต้องลดมานะ ( คือความถือตัว ) ก็ไม่น่าจะัเกิดเป็นการ

ปรามาส หากผู้ฝึกปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจะเป็นการถือตัวได้อย่างไร


 สมมุติ ว่าขณะที่ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

     แต่ปฏิบัติตามหลัก สติปัฏฐานของพระพุทธเจ้า การที่เราปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

     จะเกิดเป็นการปรามาส ได้อย่างไร ในเมื่อเราปฏิบัติดี ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จักเป็นกบาป

     อกุศลไปได้อย่างไร ?


  อีกอย่าง พระอริยะ ย่อมหมด มานะ คือความถือตัว การถือโทษ แก่ปวงสัตว์นั้นเป็นสิ่งไม่ควรมิใช่หรือ

   :25:
467  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระสัทธรรมปฏิรูป คืออะไร เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 09:11:45 am
อ้างถึง
  ยกตัวอย่าง สันติภาพโลก คือ พระพุทธศาสนา เราอาจจะคล้อยตามว่าความสงบสุขของโลก เป็นธรรม

แท้ที่จริง

 ทำไมจึงกล่าวว่า สันติภาพโลก เป็น สัทธรรมปฏิรูป คะ เพราะพื้นฐานของธรรมในพระพุทธศาสนานั้น ควรยืนอยู่

บนหลัก ศีล สมาธิ และ ปัญญา


  การที่โลกมีสันติภาพ ก็คือ การมีศีล ไม่ใช่หรือคะ

  การที่สันติภาพ จักเกิดได้ ก็ต้องมีใจบริสุทธิ์ด้วยมิใช่หรือคะ

     การที่มีใจ บริสุทธิ์ ปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข ก็เป็นหลักการแผ่เมตตา อย่างชัดเจนมิใช่หรือคะ

  พระพุทธเจ้า สอนเมตตา คือให้รักทุก ๆ ชีวิต ดุจชีวิตตน มิใช่หรือคะ


   ด้งนั้น จักกล่าวว่า สันติภาพโลก ไม่ใช่พระพุทธศาสนา นั้นจะเหมาะสมหรือคะ

   อย่างวันวิสาขบูชา ทางพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และ สากลทั่วโลก ยังประกาศออกไปว่า

วันวิสาขบูชา เป็นวัน สันติภาพโลก ไม่ใช่หรือคะ


    :25: :25:
468  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เรื่องจริง ความสุขที่ยิ่งกว่าการให้ เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 04:25:28 pm
รู้สึกว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่นำไปเป็นรถละครในรายการช่อง 7 ด้วยคะ

ชายหนุ่มคนหนึ่งมีชีวิตที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ หน้าตาหล่อเหลา มีการศึกษาสูง
มีงานการที่มั่นคง มีความก้าวหน้าในอนาคต มีคนรักใคร่รอบข้าง
เรียกว่าใครเห็นใครรู้เป็นต้องอิจฉา
วันหนึ่งชีวิตที่สมบูรณ์แบบของชายคนนี้ยิ่งสุดยอด สมบูรณ์แบบมากขึ้น
เมื่อพี่ของเขายอมควักเงินก้อนโต ซื้อรถสปอร์ตคนงามเป็นของขวัญให้กับน้องชาย
ไม่ต้องบอกว่าเจ้าตัวจะยินดีปรีดาแค่ไหน เพราะรถสปอร์ตสุดหรูคันนี้
ชายหนุ่มนายนี้ฝันอยากได้ เป็นเจ้าของมาตลอดชีวิต เมื่อความฝันเป็นจริง
สิ่งที่ชายหนุ่มคิดทำอย่างแรกคือ ขับเจ้ารถสปอร์ตตระเวน

ไปตามที่ต่างๆให้สมอยาก ใจหนึ่งต้องการทดสอบแรงม้าที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องเครื่อง
ว่าจะมีเรี่ยวแรงเต็มกำลังแค่ไหน อีกใจก็แน่นอนว่า ใครที่มีรถสวยแรงขนาดนี้
คงไม่บ้าเก็บเอาไว้ดูตามลำพัง ที่โรงรถในบ้าน ขับโฉบเฉี่ยวไปมาสักพัก
ก็ถึงเวลาพักทั้งเครื่องและคน ชายหนุ่มจัดแจงจอดรถข้างถนน
ระหว่างกำลังพักผ่อนอิริยาบถ
เขาเห็นเด็กคนหนึ่งเดินลูบๆคลำๆรอบรถคันงาม
ด้วยกิริยาท่าทีชื่นชอบรถสปอร์ตอย่างเห็นได้ชัด
ชายหนุ่มรู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของ สิ่งที่หลายต่อหลายคนใฝ่ฝัน
เขาเดินยืดอกมาที่รถ พร้อมพูดจาทักทายเด็กคนนั้นด้วยน้ำเสียงมั่นใจ
ดั่งขุนศึกผู้ชนะสงคราม
"ระวังหน่อยน้อง เดี๋ยวเป็นรอย" เขาบอก
เด็กคนนั้นมองไปยังชายหนุ่มเจ้าของเสียง ก่อนจะพูดตอบ
"รถของพี่เหรอ สุดยอดจริงๆ"
"แน่นอน" เขาตอบ
"พี่ซื้อมาราคาเท่าไหร่" เด็กคนเดิมถาม
"คนอื่นอาจต้องควักสตางค์ซื้อเอง แต่พี่ไม่ต้อง
เพราะพี่ชายพี่ซื้อให้เป็นของขวัญ"
"โอ้โห! ดีจัง ผมอยาก...." เด็กคนเดิมพูดตะกุกตะกักชะงักในตอนท้าย
ชายหนุ่มคิดในใจว่า เด็กคนนี้คงไม่กล้าพูดต่อ
เพราะที่เด็กอยากจะพูดแต่ยั้งปากยั้งคำไว้นั้น คงต้องการบอกว่าอิจฉาตัวเขาเอง
อยากจะเป็นอย่างเขาบ้าง

...มีพี่ที่แสนดีซื้อรถสุดหรูให้เป็นของขวัญ...
แต่สิ่งที่ชายหนุ่มคิดกลับผิดถนัด
"โอ้โห ดีจัง ผมอยาก....เป็นอย่างพี่ชายของพี่จัง" เด็กคนนั้นพูด
"ผมจะได้ซื้อรถให้น้องชายผมนั่งบ้าง" ชายหนุ่มถึงกับอึ้ง
ในสังคมทุกวันนี้ ที่ใครๆตั้งหน้าตั้งตาแต่จะรับ หรือบางคนไม่ยอมรอ
ใช้กำลังความได้เปรียบแย่งชิงของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
แต่เด็กคนนี้กลับคิดสวนทางใครๆ
...เขาอยากเป็นผู้ให้ มากกว่าเป็นผู้รับ...
.... ชายหนุ่มมองเด็กด้วยความรู้สึกทึ่งและพูดออกมาทันทีว่า
"อยากนั่งรถเล่นกับฉันไหม"
"ครับ อยากมากเลย"
หลังจากขับรถเล่นอยู่พักหนึ่ง เด็กชายหันมาพูดด้วยดวงตาวาวแวว
"คุณจะกรุณาขับรถไปหน้าบ้านผมได้ไหมครับ" ชายหนุ่มยิ้มน้อยๆ
เขาคิดว่าเขารู้ดีว่าเด็กหนุ่มต้องการอะไร
เขาคงต้องการให้เพื่อนบ้านเห็นว่าเขาได้นั่งรถคันโตกลับบ้าน
แต่ชายหนุ่มคิดผิดอีกแล้ว
"คุณจอดตรงบันไดนั่นล่ะครับ" เขาวิ่งขึ้นบันได
จากนั้นสักครู่จึงกลับมาแต่เขาไม่ได้วิ่ง เขาอุ้มน้องตัวเล็กๆที่ขาพิการมาด้วย
และวางน้องลงที่บันไดล่าง กอดไว้และชี้ไปที่รถ
"นั่นไง บัดดี้ รถคันที่พี่เล่าให้ฟัง พี่ชายของเขาซื้อให้เป็นของขวัญ
เขาไม่ต้องเสียตังค์เลย สักวันหนึ่งพี่จะซื้อให้น้องบ้าง
น้องจะได้ดูของสวยๆงามๆด้วยตาของน้องเองเหมือนที่พี่เคยเล่าให้ฟัง"
ชายหนุ่มลงจากรถ แล้วอุ้มเด็กน้อยขึ้นรถ
พี่ชายปีนตามขึ้นมานั่งใกล้และแล้วทั้งสามก็เริ่มออกเดินทาง
ชายหนุ่มรู้แล้วว่า "ความสุขยิ่งกว่าการให้" หมายถึงอะไร

469  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เชียงใหม่ ในอดีต เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 04:15:09 pm
ขอบคุณภาพ www.teenee.com





470  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สำคัญกับสิ่งลวง หรือยอมรับสิ่งที่เป็น เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 09:03:00 am


เช้าวันหนึ่ง..ที่โรงพยาบาล...

"ขอให้ชั้นดูหน้าลูกหน่อย..ได้มั๊ยคะ"
คุณแม่คนใหม่เอ่ยขึ้น..

เมื่อห่อผ้าน้อย ๆ .อยู่ในอ้อมกอดเธอ เธอค่อย ๆ คลี่ผ้าที่ห่อออก..
เพื่อมองใบหน้าเล็ก ๆ .

กรี๊ดดดด.....เธอกรีดร้อง
หมอต้องอุ้มเด็ก..ออกไปอย่างรวดเร็ว

**เด็กทารกที่เกิดมา...ไม่มีใบหู**

และแล้ว....กาลเวลาพิสูจน์ว่า.... การได้ยินของเจ้าหนู..ไม่มีปัญหา

ปัญหา..มีเฉพาะสิ่งที่มองเห็นภายนอก คือ....ใบหูที่หายไป

หลายครั้ง..ที่เจ้าหนูกลับจากโรงเรียน แล้ววิ่งมาบอกแม่

เธอรู้ว่า..หัวใจลูกปวดร้าวแค่ไหน...
เจ้าหนูพูดโพล่งออกมา..อย่างน่าเศร้า
"พวกเด็กตัวโต ..พวกมันล้อผมว่า
..
--ไอ้ตัวประหลาด--"

จนกระทั่ง... เจ้าหนูเติบโตขึ้น..หล่อเหลา.. เป็นที่รักของเพื่อน ๆ..
เค้ามีพรสวรรค์ ในด้านอักษรศาสตร์.. วรรณคดี..และดนตรี..
เค้าอาจได้เป็นหัวหน้าชั้น
...

แต่เพราะเจ้าสิ่งนั้น... ทำให้เค้า..ไม่อยากเจอใคร

"ลูกต้องพบปะกับผู้คนบ้างนะลูก" แม่กล่าว..ด้วยความสงสารลูก

พ่อของเด็กชาย.. ปรึกษากับหมอประจำครอบครัว
และได้รับข่าวดีจากหมอว่า...
"ผมสามารถปลูกถ่ายใบหูได้ครับ ถ้ามีผู้บริจาค..แต่ใครล่ะ..
จะเสียสละใบหู..เพื่อเด็กน้อยคนนี้" คุณหมอกล่าว

จนกระทั่ง ..2 ปีผ่านไป พ่อบอกกับลูกชาย..
"ลูกเตรียมตัวไปโรงพยาบาลนะ พ่อกับแม่..หาคนบริจาคใบหู

ที่ลูกต้องการได้แล้ว...
แต่นี่เป็นความลับ"


การผ่าตัด..สำเร็จด้วยดี และแล้ว...คนคนใหม่ก็เกิดขึ้น..

....เค้ากลายเป็น..ผู้มีพรสวรรค์...
เป็นอัจฉริยะในโรงเรียน...ในวิทยาลัย
จนเป็นที่กล่าวขานกัน..รุ่นต่อรุ่น

ต่อมาได้แต่งงาน... และทำงาน.. เป็นข้าราชการในสถานทูต

วันหนึ่ง.. ชายหนุ่มถามผู้เป็นพ่อว่า.

"พ่อครับ.. ใครเป็นคนมอบใบหูให้ผมมา ใครช่างให้ผมได้มากมาย..
แต่ผมไม่เคยทำอะไร.. เพื่อเค้าได้เลยสักนิด"

"พ่อไม่เชื่อว่า.. ลูกจะตอบแทนเค้าได้หมดหรอก.
เรื่องนี้..เป็นความลับ เราตกลงกันแล้ว"
พ่อตอบ..

หลายปีผ่านไป....
มันยังคงเป็นความลับ

และแล้ว..วันนึง..วันที่มืดมิดที่สุด.. ผ่านเข้ามา..ในชีวิตของลูกชาย

แม่เค้าได้เสียชีวิตลง.

เค้ายืนข้าง ๆ พ่อ... ใกล้หีบศพของแม่

พ่อเรียกเค้า..
"มานี่สิลูก..มานั่งใกล้ ๆ นี่"
พ่อลูบผมแม่อย่างช้า ๆ..และนุ่มนวล

ผมสีน้ำตาลแดง..ถูกเสยขึ้น จนมองเห็นใบหน้า..
ที่มองดูเหมือนคนนอนหลับ

...และแล้ว.. สิ่งที่ทำให้ลูกชาย..ถึงกับต้องตะลึง..
...ใบหูของแม่...หายไป!..

แม่ไม่มีใบหู...
"นี่เป็นคำตอบ.. ที่ลูกอยากรู้มาตลอดชีวิต"..
พ่อกระซิบผ่านลูกชาย

"แม่บอกพ่อว่า..เธอดีใจ.. ที่ได้ทำอย่างนี้..ตั้งแต่วันผ่าตัด..

แม่ไม่เคยตัดผมอีกเลย..
ไม่มีใคร..มองเห็นว่า.. เธอไม่สวยจริงมั๊ย?
- - - - - - - - - - - - - -
- - - - - - - -
จงจำไว้..

~สิ่งมีค่า..ที่แท้จริง~
ไม่ได้อยู่ที่..การมองเห็น.. หากแต่อยู่ที่..
~สิ่งที่เรา..มองไม่เห็น~
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
~ความรัก..ที่แท้จริง~


ไม่ได้อยู่ที่.. เราได้ทำอะไร.. แล้วมีคน..รับรู้..

หากแต่อยู่ที่.. สิ่งที่เรา..กระทำ..แล้วไม่มีใคร..รับรู้ ..
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

~ความรัก~


บางครั้ง.. ไม่จำเป็น.. ต้องพูดพร่ำเพรื่อ..

หากแต่อยู่ที่....การกระทำ. ซึ่งเรา..อาจรับรู้..

เพียงแค่..ฝ่ายเดียว..

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อ่านจบแล้ว..ใช้สมอง..ตรึกตรองสักนิด..

ถ้าพรุ่งนี้..เราตายไป..

บริษัท..
สามารถหาคนมาแทนเราได้
ภายในไม่กี่วัน..

แต่ครอบครัวเรา..
ต้องสูญเสีย..
และคิดถึงเรา..ไปตลอด

เราได้ใช้ชีวิต..กับการทำงาน
มากกว่าครอบครัว..หรือเปล่า?

ถ้ามากกว่า...
ก็เป็นการลงทุน..
ที่ไม่ฉลาดเลยจริง ๆ..
471  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลักปฏิบัติง่าย ๆ ที่สุด ในการเดินจิตไว เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 08:44:44 am
ถามว่า ‘เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้?’ แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า ‘ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?"

ถามว่า ‘ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน?’ ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า ‘จักไปเกิดในที่ไหน?’

ถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘ไม่ทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ทราบ?’"

              กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.

ถามว่า ‘เธอย่อมทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงพูดว่า ‘ไม่ทราบ?’"

               กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะ คือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น."



ก็ มรณานุสสติ นั้นเป็นคุณธรรม อันปกป้อง พระกรรมฐาน จึงทำให้ผู้ภาวนา มีความก้าวหน้า

   

 ชื่อ "เปสการี" ที่คุณสมาธิกล่าวถึง อาจจำคลาดเคลื่อนนะครับ

  ค้นคำว่า เปสการี นั้นแปลว่า หญิงผู้ทำหูก

  อยู่ใน ขุทกนิกาย ธรรมบท ข้อที่ 23 เรื่องนี้
 
   โลกวรรค
 :25: :25: :25:



 
472  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / "ติช นัท ฮันห์" จาริกเมืองไทย จัดภาวนา-ปาฐกถาธรรม เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 05:29:34 pm
"พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์" พระมหาเถระจากศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศสและคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัมจากนานาประเทศ จำนวนประมาณ 80 รูปจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย โดยการนิมนต์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2553
จัดกิจกรรมภาวนาและปาฐกถาธรรม ภายใต้ชื่อ "จิตสงบ ใจเปิดกว้าง" เชื่อมสัมพันธ์พระพุทธศาสนาเถรวาท-มหายาน

ภิกษุณี นิรามิสา พระธรรมจารย์รูปหนึ่งของหมู่บ้านพลัม ซึ่งขณะนี้ประจำอยู่ที่ประเทศไทย เล่าถึงที่มาของการจาริกธรรมครั้งนี้ ว่า "การจาริกธรรมครั้งนี้ ต้องการนำแนวทางปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัม เน้นที่การฝึกสติในชีวิตประจำวัน เมื่อเราฝึกจนจิตใจของเราเข้าถึงความสงบสันติ หัวใจของเราจะเปิดออกทำให้เรามองเข้าไปเห็นสิ่งที่อยู่ในใจของเราได้อย่าง ลึกซึ้ง และสามารถเปิดใจรับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาอย่างที่เป็นได้"

การ เดินทางมายังประเทศไทยของคณะนักบวชหมู่บ้านพลัมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจาริกธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2553 (Thich Nhat Hanh Southeast Asia Tour 2010) โดยเริ่มจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก่อนที่จะมายังประเทศไทย และไปสิ้นสุดที่ฮ่องกง

ใน ช่วงเวลาเกือบเดือนที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ และสังฆะหมู่บ้านพลัมอยู่ที่ประเทศไทย ท่านจะแสดงปาฐกถาธรรม 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ในหัวข้อ "ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ" ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 17.00 น. และครั้งที่สอง วันที่ 23 ตุลาคม 2553 ภายใต้หัวข้อ "สันติคือหนทาง" ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนคร ศรีอยุธยา ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานปาฐกถาทั้งสองงานได้โดยไม่เสียค่าลงทะเบียนแต่ อย่างใด หรือสามารถบริจาคได้ตามจิตศรัทธา
นอกจากนี้ วันที่ 24-28 ตุลาคม 2553 จะมีงานภาวนา 5 วันสำหรับครอบครัวและบุคคลทั่วไป ที่วังรีรีสอร์ท จ.นครนายก งานภาวนานี้รับสมัครตั้งแต่เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป โดยมีข้อกำหนดว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปีจะต้องมีผู้ปกครองมาด้วย (มีค่าลงทะเบียน)

กิจกรรมสุดท้ายก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศ ฮ่องกง พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ จะเป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่า ซึ่งจัดขึ้นโดยสังฆะหมู่บ้านพลัมในประเทศไทย ในวันที่ 30 ตุลาคม ณ สถานปฏิบัติธรรมชั่วคราวหมู่บ้านพลัม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ สอบถามรายละเอียดได้ที่อีเมล awakeningsource@yahoo.com โทร. 08-5318-2939, 08-6688-4984 เวลา 08.00-17.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์

"พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์" พระมหาเถระในพุทธศาสนามหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม ผู้ซึ่งนำพาให้ผู้คนได้ประจักษ์ถึงการนำพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เข้า กับชีวิตประจำวันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ตลอดชีวิตนักบวชของท่านได้เขียนหนังสือและบทกวีไว้มากมายเพื่อเผยแผ่วิถี แห่งพุทธธรรม ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลกมากกว่า 80 เล่ม จำนวนตีพิมพ์มากกว่า 1.5 ล้านเล่ม เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกตะวันตก

ใน ช่วงที่บ้านเมืองของท่านมีความเดือดร้อนจากภัยสงคราม ท่านพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อนำพาผู้คนให้กลับสู่สันติภาพ ในจิตใจของตน เพื่อนำไปสู่การหยุดการก่อสงครามในทุกระดับ จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ได้เสนอท่านติช นัท ฮันห์ รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ติช นัท ฮันห์ คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง"

ปัจจุบันท่านติช นัท ฮันห์ พำนักอยู่ในชุมชนหมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เป็นชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา

ชุมชนหมู่บ้านพลัม มีกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดที่ประเทศไทย โดยมีนักบวชมากกว่า 500 รูป กว่า 20 ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม หรือสังฆะ เกือบหนึ่งพันกลุ่มกระจายอยู่ใน 31 ประเทศทั่วโลก

ทุกวันนี้ ท่านติช นัท ฮันห์ ยังคงเบิกบานกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับคนรุ่นใหม่ และเดินทางไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ เพื่อสรรค์สร้างความรัก ความเข้าใจ และสันติภาวะภายในให้กับผู้คนทั่วโลก
473  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: บิณฑบาตร ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ก่อนปรินิพพาน เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 03:53:22 pm
อ้างถึง
รวมเบ็ดเสร็จ พระพุทธเจ้า เข้าสมาบัติ ทั้งชีัวิต ของพระองค์นั้นเป็นจำนวน สี่ล้านแปดแสนโกฏิ ครั้ง

ของดิฉัน ขอแค่ครั้งเดียว ของพระพุทธองค์ เหมือนครูนภา

อ่านเรื่องนี้แล้ว เสียดายที่ไม่ได้เกิดอยู่ในยุคนั้น ส่งสัยเกิดทีหลัง จึงไหลยาวมาถึงขนาดนี้
 :25: :25:
474  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ไม่ได้ มุสา.... แต่ ซึ้ง จริง ๆ ( เพื่อนรักส่งมา ) เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 03:46:25 pm
ซึ้งมาก :73:
475  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ประเทศไทย มีพระกรรมฐาน ที่เก่ง ๆ หรือป่าวครับ ? เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 11:35:07 am
พระอาจารย์ ส่งเมล์ กลับมาให้ดิฉัน

พอมาอ่านหัวข้อนี้แล้ว จึงเข้าใจคะว่า ท่านหมายถึงอะไร

   คำว่า วาสนา บารมีิ ต้อง ร่วมกันมาจึง ได้เป็น ศิษย์อาจารย์ กัน

         เรื่องบังเอิญไม่มีในศาสนาพุทธ อยากรู้กรรมในอดีต ก็ดูผลที่ปัจจุบัน

         อยากรู้ความเป็นไปในอนาคต ก็ดูกรรมที่ปัจจุบันนั้นทำอะไร


 เรื่องของพระอาจารย์ ที่เก่งเรื่องกรรมฐาน นั้น ดิฉัน เชื่อ และ เห็น ว่ามีอยู่ จริง แต่ไม่มาก

 เหมือนที่ เชียงใหม่บ้านดิฉัน พอจะนึกถึง พระกรรมฐาน ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัิติชอบ ปฏิบัติได้ในทาง

 แต่พอไป ก็เผื่อใจผิดหวัง ไว้กึ่งหนึ่ง

     ส่วนใหญ่ จะเจอแต่ พระที่เป็น นักเสก นักสวด ไม่ ก็นักพูด ส่วนที่นั่งกรรมฐาน สอนกรรมฐาน

ภาวนาจริง ๆ ยังไม่เคยพบคะ จากหัวข้อที่คุณ Lastman โพสต์นั้นน่าจะเกี่ยวกับ มุมมองของ คณะ

สงฆ์ ที่นำพระจากพม่า เข้ามาสอนกรรมฐาน ให้กับพระสงฆ์ ไทย บ้านดิฉัน อยู่ที่เชียงใหม่มีวัดพม่า

อยู่ใกล้ ๆ ก็หลายวัด ลองไปศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติ แล้ว ดิฉันก็ไม่ไปอีก เพราะพระพม่า ขาด สีลสังวร

บางครั้งเข้าไปก็นั่งสนทนากับ สีกา สอง ต่อ สอง มีการทานอาหารเย็น ค่ำ ถวายเป็นกิจลักษณะด้วย

อาการก็มิได้สำรวมมากกว่าพระสงฆ์ไทย เลย ส่วนประเทศพม่า ดิฉันเข้าไปมาประมาณ 8 ครั้งแล้ว

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้นั่งรถประจำทาง ก็มีพระพม่า ขึ้นมานั่งข้างดิฉันเลย ซึ่งตอนนั้นบอกตรงๆ ว่า วางตัวไม่ถูก

แต่คนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ที่เคร่งครัด ก็มี ที่ไม่เคร่งครัด จะัเป็นส่วนใหญ่ คนพม่าอาศัย การบวชเรียน

และพระช่วยสอนหนังสือ เป็นหลักส่วนใหญ่

ที่ปฏิบัติ ดีมีไหม ก็ตอบว่ามี แต่ยังไม่เคยพบ ได้แต่ฟังคำร่ำลือ กัน

ส่วนพระไทยนั้น ที่ปฏิบัติดี มีเยอะมาก ๆ และ ยังมีศีลสังวร มากด้วย

แต่สำหรับ น้องเณร ชาวเชียงใหม่เห็นกันชิน แล้ว ไม่ว่าจะเป็น น้องเณรตุ้งติ้ง เดินตามห้าง

ส่วนใหญ่เป็น สามเณร ชาวล้านนา ไม่ค่อยถือสาเด็ก คะ ความเคารพจะอยู่ที่พระสงฆ์มากว่า คะ

ดังนั้นการสอบถาม พระกรรมฐาน โดยเฉพาะพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ซึ่งเป็นสายกรรมฐาน จากศูนย์กลางกรรมฐาน นั้น ดิฉันพอฟังคำชวน ของครูนภาแล้ว

ก็มีความสนใจ ตั้งใจว่า เข้ากรุงเทพ ครั้งนี้ก็จะมาขึ้นกรรมฐาน คะ

แต่ พอนำความเรื่องกรรมฐาน ไปสนทนา ที่วัดอุโมงค์ และ วัดใหญ่ ๆ ในเชียงใหม่ ที่ดิฉันเป็นศิษย์

ไม่มี พระรูปไหน รู้จัก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ( นี่คือความจริง ว่าเพราะเหตุไร )

ดิฉีัน จึงพอจะเข้าใจในคำถามของ คุณ Lastman คะ

เพราะดิฉันถ้าขึ้น กรรมฐานแล้ว อยู่เชียงใหม่ ต้องการครูอาจารย์ ที่ปรึกษา ไ้ด้ หรือ ได้ทำบุญ กับ

ครูอาจารย์ ที่เป็นศิษย์เดียวกัน น่าจะอุ่นใจ มากกว่า ไม่ใช่เพียงแต่โทรศัพท์ถามตอบเท่านั้น

ดิฉันนั่งอ่านประวัติ การสืบกรรมฐาน ที่คุณปุ้มโพสต์ให้อ่าน แล้ว

ก็เห็นว่ามีความรุ่งเรือง มีการสืบต่อ มีหลักฐาน มากมาย แต่ทำไม

เชียงใหม่ บ้านดิฉัน พระที่รู้จัก กรรมฐาน นี้จึงไม่มี หรือว่า ปัจจุบันพระที่เก่งกรรมฐาน มีน้อยมาก

ถ้าพระสงฆ์จากสถิติ ล่าสุด นี้ 350,000 รูป เป็นพระกรรมฐาน จริง ๆ กี่รูป

ถ้า่ท่านว่ามีมากจริง เอ่ยชื่อให้เกิน 50 รูปได้หรือ ไม่ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

หรือถ้าให้ดี ที่เชียงใหม่ จะไปเรียน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้ที่ไหนคะ

 :25: :smiley_confused1: :25:

476  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง) เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 10:16:11 am
 :c017: :25:

ขอบคุณ คะ อนุโมทนากับคำตอบที่เอื้อเฟื้อมาจริง ๆ
 :25:
477  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม คำขึ้นพระกรรมฐาน แต่ละที่ จึงไม่เหมือนกัน เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 10:13:26 am
ขออนุโมทนา กับ ทีมงาน มัชฌิมา ทุกท่าน และ พระอาจารย์ ด้วย ดิฉัน ค่อนข้างจะประหลาดใจบ้าง

กับคำตอบที่ช่างรวดเร็ว ไม่เหมือนเว็บ อื่น ๆ ที่กว่าจะได้คำตอบเป็นอาทิตย์ ทำให้รู้สึกอบอุ่น กับการเอาใจใ่ส่

ของเพื่อนสมาชิก ทุกท่าน


 อ่านคำตอบของพระอาจารย์ แล้วจึงทำให้ทราบ ประวัติของพระอาจารย์เพิ่มเติม

และพอจะทราบความหมาย ของการภาวนา ว่า

  ถ้าเราภาวนาจริงจัง ก็ใช้เวลาไม่เกินจากนี้

  ถ้าเราภาวนาเกินจากนี้ แล้วไม่ได้ผล ต้องมีความบกพร่อง อาจจะเรียนไม่เข้าใจ หรือ ตั้งปณิธานผิด

ก็จะสำรวจตนเองใหม่ อีกครั้ง

   :c017: :25:
478  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ระหว่าง การฝึก กสิณ และ การฝึก พุทธานุสสติ นั้นควรตัดสินใจอย่างไรครับ เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 03:49:48 pm
จะเข้าเรื่อง จริตได้อย่างไร คะ

 มีวิธีสำรวจ จริต ตัวเองหรือป่าวคะ

 :41: :25:
479  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลักปฏิบัติง่าย ๆ ที่สุด ในการเดินจิตไว เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 03:48:49 pm
ตอนที่ดิฉัน อ่านยังเข้าใจว่า พระอาจารย์ สอนอัดขันธ์ เลย ๆ อ่านต่อมาเรื่องการอัดขันธ์

เพราะด้านบน ใช้คำพูดว่า อัดนิ่ง อันที่จริงอ่านแล้ว ดิฉันก็ไม่ได้รู้จักพระอาจารย์ ก็ยังเข้าใจ

ว่าเป็นพระอาจารย์ สอนเลยคะ ต้องอ่านมาจนหมดถึงจะเข้าใจ

โอกาสที่คนอ่าน กระทู้หมด นั้นมีน้อยคะ ยิ่งดิฉันเข้ามาอ่าน ขนาดตามอ่านมา 1 อาทิตย์เต็มแล้ว

ยังอ่านไม่หมดเลยคะ ข้ามกระทู้ อ่านไม่หมดก็มี

ดังนั้น ก็เห็นด้วยนะคะ ว่าควร ระบุชื่อ ผู้พูดไว้บ้าง ถึงไม่กัน ก็ให้เป็น เครดิต บ้าง

 :25: :25:
480  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง) เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 03:44:31 pm
ตามมาอ่านเรื่องนี้ จึงเข้าใจว่า แม้แต่พระสารีบุตร ก็ยังให้กรรมฐาน ผิดทำให้ศิษย์ฝึกเสียเวลาไปถึง 3 เดือน

และเกิดความเบื่อหน่ายในการภาวนา แต่ท่านก็ยังได้อุตส่าห์พาศิษย์ไปหาพระพุทธเจ้า ประทานกรรมฐานให้

ใหม่ จนได้สำเร็จเ้ป็นพระอรหันต์

  ดังนั้น ถ้าเทียบกับพระอาจารย์ ตามสำนักในปัจจุบันนี้ ก็มีโอกาสแนะนำผิดด้วยเช่นกันใช่ไหม เจ้าคะ

 ดังนั้นจะมีกรรมฐาน อะไรที่เป็นกรรมฐาน กลาง ๆ ที่ไม่ทำให้เสียเวลาในการฝึกบ้่างคะ

 :25:
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13