สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: intro ที่ พฤศจิกายน 14, 2011, 09:10:56 am



หัวข้อ: ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: intro ที่ พฤศจิกายน 14, 2011, 09:10:56 am
บางทีก็สับสน ว่า ครูอาจารย์บอกว่า ให้ใช้ ศรัทธา เป็นที่ตั้ง บางรูปก็บอกให้ ใช้ ปัญญา เป็นที่ตั้ง
และเราผู้มีความเคารพเลื่อมใสนั้น ควรนำอะไรเป็นที่ตั้ง ในการภาวนาจริง ๆ ( เอาจริง ๆ นะ )

  :25: :c017:


หัวข้อ: Re: ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ พฤศจิกายน 14, 2011, 12:58:25 pm
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/varity/i350.jpg)
ศรัทธาซ้ายย่าง ปัญญาขวาตาม(http://i49.photobucket.com/albums/f298/deedydeedydeedy/divider/201056_532462978_ytpnlfgdjpg.gif)

     รู้กิจรู้ธรรมครวญ      อย่าตีตรวนแอบเขลาคู้
ศรัทธาบานประตู         คลายเขลารู้นั้นสำคัญ

     รู้กิจครวญรู้ปลาย      ธรรมแยบคายสารบัญ
ปัญญาต้องประจัญ          แจงลุอัญญ์ที่สุดผล

     สิ่งสองคือสองขั่ว      อย่าพร่ามัวเขลาเพียงยล
สองต่างวาระค้น         มิผิดพ้นกล่าวตามจริง.


                                                                                                     ธรรมธวัช.!



http://hilight.kapook.com/view/51984


หัวข้อ: Re: ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 14, 2011, 01:02:26 pm
อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) หรือ พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง)

๑. สัทธา (ความเชื่อ)
๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. สติ (ความระลึกได้)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)

ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ

ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง


อ้างอิง ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


     ถ้าอ้างถึงมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ต้องกล่าวว่า "สัมมาทิฏฐิ" มาก่อน
     แต่ถ้าเอาอินทรีย์หรือพละเป็นที่ตั้ง คงต้องบอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายกเอาสัทธามาเป็นข้อแรก ก็คงต้องเดาว่า "สัทธา" ต้องมาก่อน

     อย่างไรก็ตาม ข้อธรรมของพุทธศาสนา มีัลักษณะเกี่ยวโยงกันทั้งหมด เปรียบเสมือนล้อเกวียน(ธรรมจักร)
เมื่อเข้าถึงธรรมระดับหนึ่ง ทุกข้อสำคัญเหมือนกัน ดุจล้อเกวียนที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ หากขาดไปจะไม่สามารถดำรงสภาพเป็นล้อเกวียนได้(ล้อจะพัง)


     :49:



ลิงค์แนะนำ
บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.0)