ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์  (อ่าน 2501 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น

อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน)

๑. สัทธา (ความเชื่อ) หรือ สัทธินทรีย์
๒. วิริยะ (ความเพียร) หรือ วิิริยินทรีย์
๓. สติ (ความระลึกได้) กรือ สตินทรีย์
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น) หรือ สมาธินทรีย์
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด) หรือ ปัญญินทรีย์


ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)

________________________________________

พระไตรปิฎก เล่ม๑๙   
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖


อรรถกถาอาหารสูตร                 
การทำอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน.

สัทธากล้า
เพราะว่า  ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า  อินทรีย์นอกนี้อ่อน.
ทีนั้น  วิริยินทรีย์  จะไม่อาจทำปัคคหกิจ  (กิจคือการยกจิตไว้) 
สตินทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ  (กิจคือการอุปการะจิต)
สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำอวิกเขปกิจ  (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน) 
ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ(กิจคือการเห็นตามเป็นจริง).

 
เพราะฉะนั้น  สัทธินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม 
ด้วยไม่ทำไว้ในใจ  เหมือนเมื่อเขามนสิการ  สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น.
ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็น  ตัวอย่าง.

อ่านเรื่องพระวักกลิเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2914.new#new


วิริยะกล้า
แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า  ทีนั้น สัทธินทรีย์  ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้  (กิจคือการน้อมใจเชื่อ). 
อินทรีย์นอกนี้  ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้  แต่ละข้อได้.
เพราะฉะนั้น  วิริยินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงด้วยเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. 
แม้ในข้อนั้น  ก็พึงแสดงเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ


อ่านเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.new#new


ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่  อินทรีย์นอกนี้  จะไม่สามารถในกิจของตน ๆ
ได้  พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.

ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์  ๕  นี้  บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอยู่ซึ่ง
ความเสมอกันแห่ง สัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ. 


สัทธา-ปัญญา
เพราะคนมีสัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน  จะเป็นคนเชื่อง่าย  เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ. 
ส่วนคนมีปัญญากล้า  แต่สัทธาอ่อน  จะตกไปข้างอวดดี  จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้  เหมือน
โรคที่เกิดแต่ยา  รักษาไม่ได้ฉะนั้น  วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า  จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ 
ดังนี้แล้ว  ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น  ย่อมเกิดในนรก. 
ต่อธรรมทั้ง  ๒ เสมอกัน  บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้. 

สมาธิ-วิริยะ
โกสัชชะ(ความเกียจคร้าน)ย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้าแต่วิริยะอ่อน  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. 
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้าแต่สมาธิอ่อน  เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ.

แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว  จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. 
วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้วจะไม่ตกไปในอุทธัจจะ.


เพราะฉะนั้น  อินทรีย์ทั้ง  ๒  นั้น  ต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า  อัปปนาจะมีได้  ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง  ๒.

สัทธาทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิ
อีกอย่างหนึ่ง  สัทธาแม้มีกำลัง  ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน).
เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้  เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนาได้.


 ในสมาธิและปัญญาเล่า  เอกัคคตา (สมาธิ)  มีกำลังก็ควร  สำหรับ
สมาธิกัมมิกะ  ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น  เธอจะบรรลุอัปปนาได้.

ปัญญาทำให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์
ปัญญามีกำลัง  ย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน).
ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น  เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตรลักษณ์) ได้.
 แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง  ๒  เสมอกัน  อัปปนาก็คงมีได้.


สติรักษาจิตและควบคุมทุกอย่าง
   ส่วนสติ  มีกำลังในที่ทั้งปวง  จึงจะควร  เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความ
ตกไปในอุทธัจจะ  เพราะอำนาจแห่งสัทธา  วิริยะ  และปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ
และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.


เพราะฉะนั้น  สตินั้น  จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง  ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึง
ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง  และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์  (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง) 
เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  ก็แลสติ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 
เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. 
ถามว่า   เพราะเหตุไร. 
ตอบว่า  เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย  และสติมีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ 
การยกและข่มจิตเว้นสติเสีย  หามีได้ไม่ ดังนี้.


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2011, 09:30:32 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 10:06:57 am »
0

 

  ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

 ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5606.msg20973#msg20973

 ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5800.msg21792;topicseen#msg21792
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ