ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม ? พระพุทธเจ้า ไม่โปรดพระพุทธบิดา และ พระพุทธมารดา ในทันทีหลังตรัสรู้ คะ  (อ่าน 4093 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม ? พระพุทธเจ้า ไม่โปรดพระพุทธบิดา และ พระพุทธมารดา ในทันทีหลังตรัสรู้ คะ

คือเนื่องในวันพ่อ เลยคิดถึงพ่อ อยากไปหาพ่อ ก็เลยมานึกถึงพระพุทธเจ้า ทำไมเมื่อพระองค์ ทรงตรัสรู้ทำไมไม่ไปมอบธรรม คือการตรัสรู้ให้แก่พุทธบิดาก่อน หรือ โปรด พระพุทธมารดา  กันก่อนคะ

 พระองค์เสด็จไปทีหลังอย่างนี้ เหมือนไม่รักพระพุทธบิดา เลยใช่หรือไม่คะ

 เพราะธรรมดา ผู้เป็นลูกต้องระลึกถึง คุณ ของผู้ให้กำเนิดกันก่อน ใช่หรือไม่คะ


  :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
  หนูวรรณาครับ เรื่องปฏิปทาของพระพุทธองค์ เป็นไปตาม"พุทธวิสัย" เรื่องนี้เป็นอจินไตย
  พระองค์ห้ามปุถุชนคิด คิดมากอาจทำให้ฟั่นเฟือน(บ้า)


  แต่หากจะให้คุยเป็นเพื่อน เพื่อความบันเทิงใจ ก็จะคุยเป็นนิทานให้อ่าน

  เหตุการณ์ตามพุทธประวัติ
    หลังจากพระองค์ตรัสรู้ คนแรกที่พระองค์นึกถึง คือ อาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งเคยอาจารย์ของพระองค์ แต่ทั้งสองได้เสียชีวิตแล้ว คนต่อมาที่พระองค์ได้ระลึกถึงคือ ปัญจวัคคีย์ เนื่องจากเคยอุปฐากท่านมาก่อน
      หากจะวิเคราะห์เหตุการณ์นี้ ก็ต้องบอกว่า พระอัญญาโกณทัณญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ได้สร้างบารมีมาเพื่อ
การตรัสรู้เป็นคนแรก พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา และดาบสทั้งสอง ไม่ได้สร้างบารมีมาเพื่อที่จะเป็นคนแรกที่ได้ฟังคำสอนแล้วตรัสรู้เป็นคนแรก
      เหตุการณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นไปด้วยอำนาจของวิบากกรรมฝ่ายกุศลทั้งสิ้น และไม่ได้หมายความว่า พระองค์ไม่กตัญญู
      เหตุการณ์ในพรรษาแรกหลังตรัสรู้ ท่านเทศน์โปรดปัญจวัคคีย คนต่อๆมาก็ คือ กลุ่มยสกุลบุตร
กลุ่มภัททวัคคัย์ และชฎิลสามพี่น้อง ในพรรษานี้ท่านสาวกพันกว่ารูป


      ในพรรษาที่สอง ท่านได้ไปโปรดพุทธบิดา หลังจากการไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
      ถ้าจะถามว่า ทำไมไปโปรดพุทธบิดาเลย ก็ต้องตอบว่า เนื่องจากสาวกของท่านมีแค่ระดับพัน ยังไม่เพียงพอที่จะให้พุทธบิดาและพระญาติ ศรัทธาและเลื่อมใสได้
      หลังจากพระองค์เทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองราชคฤน์แล้ว ท่านได้สาวกเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่น
      ตอนที่ไปโปรดพุทธบิดาและพระญาติท่านไปพร้อมพระสาวกจำนวน ๒ หมื่นรูป รวมทั้งพระอัครสาวกทั้งสอง หากจะวิเคราะห์ตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า การไปโปรดพุทธบิดาครั้งนี้  พระองค์อาจจะวางแผนไว้แล้ว
      เพราะการไปครั้งนี้ พระองค์มีพร้อมทุกสิ่งแล้ว คือ พระอัครสาวก สาวกนับหมื่น ฝ่ายฆราวาสก็ได้พระพิมพิสารและชาวเมืองราชคฤน์เป็นกำลังหลัก ในสมัยพุทธกาล นครราชคฤน์นับว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้นพระพุทธศาสนา ในเวลานั้น ได้หยั่งรากอย่างมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว
      ในพรรษานี้เทศน์โปรดพุทธบิดา จนบรรลุอนาคามี(พระองค์เทศน์โปรดพุทธบิดาอีกครั้งในพรรษาที่ ๕ จนบรรลุอรหันต์)


      แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ การเทศน์โปรดพุทธมารดา ที่ดาวดึงษ์ เกิดขึ้นในพรรรษาที่ ๗
      หากจะถามว่า ทำไมพระองค์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึงพรรษาที่ ๗ อันนี้ก็คงต้องเดาละครับ
      อาจจะเป็นด้วยว่า พระองค์วางแผนจะให้การเสด็จลงจากดาวดึงษ์เป็นที่อัศจรรย์ จึงต้องรอเวลาหนึ่งให้มีคนจำนวนมากที่เลื่อมใสท่าน มารอรับเสด็จ การมีคนจำนวนมากมารับเสด็จเป็นการแสดงความอัศจรรย์อย่างหนึ่ง


      สรุปก็คือ การที่พระองค์จะเทศน์โปรดใคร เป็นไปตามบุญบารมีของคนนั้นๆ อีกประการหนึ่งก็คือ เป็นไปตามกุศโลบาย(ยุทธศาสตร์) ที่จะประดิษฐานพุทธศาสนาให้มั่นคงและรวดเร็ว
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2011, 11:46:40 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเพราะบรรดาพระญาต ของพระองค์นั้น ไม่มีความศรัทธา เลื่อมใสใน พระพุทธองค์ ถึงแม้ ธรรมะที่พระองค์ ตรัสรู้นั้นจะมีคุณสูง แต่ ก็จะเหมือนกับ บุรุษ ที่แลบลิ้นให้พระพุทธองค์ ในครั้งแรก หลังจากพระองค์ตรัสรู้

 คิดว่า ปัญหา นี้ก็น่าจะมีปัญหา กับพระผู้ภาวนาธรรม ในปัจจุบันเช่นกัน

 ดังนั้นพระองค์ จึงต้องอาศัยความพร้อม ทั้งพุทธบริษัท ที่มีประมาณ เป็นเครื่องจูงใจ หลายอย่างเพื่อให้เหล่าพระญาติ สลดใหธรรม ที่พระองค์ ทรงตรัสแสดงด้วย

 น่าจะเป็นเช่นนี้นะคะ

  :25: :58:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร