ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การบรรลุธรรม จำเป็นต้อง เสียสละ ทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต ใช่หรือไม่ ?  (อ่าน 5646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การบรรลุธรรม จำเป็นต้อง เสียสละ ทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต ใช่หรือไม่ ?

   ยกตัวอย่าง พระโคธิกะ เชือดคอตัวเองตาย จึงได้เป็นพระอรหันต์
 
                พระมหาบาล ( พระจักขุบาล ) ไม่ยอมนั่งหยอดตา ตาบอดจึงได้เป็นพระอรหันต์
 
                พระปฏาจาราเถรี ต้องสูญเสีย บุตร สามี บิดา มารดา ทรัพย์ จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

  จากตัวอย่างที่ยกให้มานี้ แสดงให้เห็นว่า การที่เราจะได้ บรรลุธรรม นั้นต้องเสียสละ ชีวิต อวัยวะ ทรัพย์ กันใช่หรือไม่ ? หรือว่า มีเหตุผลอื่น ๆ อีก

    สนทนาธรรม กัน วันธรรมสวนะ ครับ

 :25: :25: :25: :49:
บันทึกการเข้า

timeman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยังไม่มีใครมาสนทนา กับคุณ winyuchon ก็เพราะว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะเข้าใจกันง่าย ๆ นะครับ เรื่องนี้

 :smiley_confused1: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ทะลุมิติ มาหา ความจริง ของตัวเอง

Yotsatorn Pomthong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 5
  • ศิล สมาธิ ปัญญา
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องลงทุนขนาดนั้นหลอกครับ

เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับปัญญาในการไตร่ตรองของแต่ละภูมิธรรมนั้นๆ ซึ่งก็ไม่พ้นจากบัว 4 เหล่าไปได้

การมองทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้


หากมองด้วยอวิชชา คือความไม่รู้จริง จะเห็นว่าทุกสรรพสิ่ง ทุกสรรพวิชชา จะมีความสำคัญทั้งหมด น่าอยากได้ใคร่ดี น่าเอา น่าเป็นไปเสียทั้งหมด ทุกศาสตร์ ทุกสิ่ง ทุกอิทธิปาฏิหาริย์มีความน่าสนใจ น่าค้นคว้า น่าจะหาเอามาเพื่อประดับอัตตาทั้งสิ้น เท่าไรก็ไม่พอ

   หากมองด้วยวิชชา ด้วยปัญญาไตร่ตรองตามคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จึงจะมองเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของทุกสรรพสิ่ง มันเป็นของมันอย่างนั้นเองมานานแล้ว มันมีทุกอย่างอยู่ในกลไกของธรรมชาติ ฤทธิ์เดชอิทธิปาฏิหาริย์ มันมีมาเนิ่นนานควบคู่กับจักรวาลทั้งปวง มิใช่ของใหม่ใดๆ ผู้ที่มีความเข้าใจ ปฏิบัติถึงกลไกของธรรมชาติ ก็ย่อมเกิดฤทธิ์เดช เกิดอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นได้เสมอ ตั้งแต่ครั้งโบราณมาแล้ว ฤๅษี พราหมณ์ นักพรต เก่งกว่า ปาฏิหาริย์กว่า อิทธิฤทธิ์มากกว่าเราๆผู้มาทีหลังทั้งสิ้น

แต่ก็ยังต้องเวียนเกิด เวียนตาย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
   ทุกอย่างมีได้ เป็นได้ แต่ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอีกเนิ่นนานเหลือเกิน



 แต่ผู้รู้ ผู้เห็นด้วยปัญญา ท่านจะไม่สรรเสริญ ถึงมี ถึงได้ ท่านก็ไม่ยินดี ท่านมุ่งหวังที่จะออกจากวัฏสงสาร เข้าสู่ความเป็นผู้ไม่ต้องมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกเท่านั้น ทุกสิ่งมีได้ และเคยมี เคยได้กันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าฤทธิ์เดชใดๆ มีมากันแล้วทั้งนั้นในภพชาติอเนกอนันต์ที่ผ่านๆมา เรื่องอื่นๆเป็นเรื่องเก่า เรื่องเดิมๆ เรื่องที่เคยมี เคยเป็นมาก่อนทั้งสิ้น จึงยังต้องมาเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนี้

   แต่การหลุดพ้น การบรรลุธรรม เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยทำได้มาก่อน การเบาบาง การละวางจากอุปาทานขันธ์ห้า ยังไม่เคยจางคลายได้จริง นี่ต่างหากที่เป็นเรื่องใหม่ ที่ควรจะใส่ใจศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริง แล้วควรทำให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้...



   จะได้ไม่ต้องเกิดมา เพื่อศึกษาขันธ์ห้ากันอีก


   หากยังมีอุปาทาน ยังมีความเห็นที่ไม่ถูกต้อง หลงยึดมั่นถือมั่นว่า มีตัวเรา เป็นตัวเรา เป็นของๆเราอยู่ ต่อให้เร่งเดินเท่าไร เพียรมากมายแค่ไหน ก็เหมือนกับยิ่งเดินห่างไกลออกไปจากแก่นแท้ของธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีผู้มาแนะนำ เมื่อมีผู้มาชักชวน เมื่อมีผู้ชี้ทางให้เดิน ผู้ที่มีปัญญา ก็ควรต้องพิจารณาไตร่ตรองอย่างยิ่งยวด ต้องนำไปเทียบเคียงกับธรรมะของพระพุทธองค์ให้แน่ใจก่อนว่า ทางที่มาบอก ทางที่มาชี้ ทางที่มาแนะนำให้เดินไปนี้ เป็นไปเพื่อการละวาง เป็นไปเพื่อการจางคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้าหรือไม่ เป็นไปเพื่อการปล่อยวาง เป็นไปเพื่อเห็นความว่างจากการยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของตนหรือไม่

   ถ้าการใด ทำไปแล้ว ปฏิบัติไปแล้ว ไม่มีความเบาสบาย ไม่จางคลายจากทุกข์ได้จริง ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งยึดมากขึ้น ยิ่งสะสมมากขึ้น ยิ่งแบกหนักขึ้น ก็อย่าเดินไปไกล เพราะยิ่งเดินไปไกลก็จะยิ่งหนัก ต้องรีบหยุดไว้ก่อน แล้วหันมาพิจารณาไตร่ตรองในธรรมะที่เป็นแก่นแท้อีกครั้ง ว่าสอนไว้อย่างไร ซึ่งจุดมุ่งหมายคือ เป็นไปเพื่อการปล่อยวาง การละอุปาทานขันธ์ห้า การละอัตตาตัวตน ทั้งสิ้น ไม่ได้ให้ไปหา ให้ไปยึด ให้ไปเพิ่มอัตตา ให้ไปสะสมอุปาทานให้มากขึ้น

   ของเก่า ที่ยังมีอยู่ในขันธ์ห้า ที่ติดตามมาตลอดนั้น ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานที่ติดตามมาหลายภพหลายชาตินั้น ยังเอาออกไม่หมดเลย ยังต้องเพียรเพื่อจะละ เพื่อจะวางจากการยึดมั่นถือมั่นให้ได้ ยังต้องเพียรเพื่อละอยู่ทุกวัน

   แล้วจะไปเอาอุปาทานของใหม่เข้ามาอีก เอามาเพิ่ม เอามาแบก เอามายึดถือไว้อีก แล้วเมื่อไรจะเบาสบายกันเสียที


โดยธรรมชาติแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมไม่ได้เป็นตัวใครของใคร เป็นธรรมชาติล้วนๆที่มาประชุมรวมกัน แล้วเกิดการอุปาทานในขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเรา

ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อการละวางอัตตาตัวตน ย่อมต้องทำความเข้าใจในข้อความนี้ให้ถูกต้อง ให้เห็นจริง และเพียรเพื่อที่จะปฏิบัติให้เห็นกลไกการปรุงแต่งของขันธ์ห้า ที่มันปรุงแต่งเองตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ แล้วไม่ให้อุปาทานไปเกาะ รับว่าเป็นตัวเราของเรา

   ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย พึงระลึกอยู่เสมอว่า ร่างกายนี้ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์เหล่านี้ ที่เกิดขึ้นภายในขันธ์ห้านี้ เป็นการปรุงแต่งของธรรมชาติ ไม่ได้มีตัวใครของใคร จึงไม่สามารถบังคับบัญชาให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ตามต้องการ



แม้ภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านยังต้องออกธุดงค์ ปลีกวิเวก เพื่อที่จะไปพิจารณาขันธ์ห้าตามความเป็นจริง ให้เห็นการปรุงแต่ง ให้เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้า ให้เห็นจริงว่าขันธ์ห้าทั้งหลายไม่ได้เป็นตัวตน ไม่ได้เป็นตัวใคร ความคิดทั้งหลายก็สักแต่ว่าคิด อารมณ์ทั้งหลายก็สักแต่ว่าอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ก็เพียรเพื่อเห็นการเกิดดับ เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของทุกสรรพสิ่งที่รวมกันขึ้นมา จนเห็นเหมือนว่ามีตัวคน ตัวสัตว์ ตัวเรา ตัวเขา นั่นเอง

นี่คือการปฏิบัติที่เป็นแก่น ของพระธรรมคำสั่งสอน

   ดังนั้น เราก็ต้องเพียรเพื่อที่จะพิจารณาเนืองๆว่า ความคิดนี้ สักแต่ว่าคิด จะคิดอะไร จะฟุ้งซ่านมากน้อยแค่ไหน ก็อย่าตามความคิดไป ให้มีสติเห็นความคิดเหล่านั้น ว่ามันไม่ได้เป็นตัวตนของตน สักแต่ว่าคิดไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ อย่าไปให้ความสำคัญมากนัก เพราะไม่อย่างนั้น จะพาแต่คิดไปหาเหตุแห่งทุกข์อยู่เรื่อย

   การเห็นนี้สักแต่ว่าเห็น เพราะอายตนะมันทำหน้าที่รับภาพ รับเสียง รับสิ่งต่างๆเข้ามาเพื่อให้ขันธ์ห้า ขันธ์อื่นๆรับช่วงต่อ ทำหน้าที่ปรุงแต่งต่อไป ทางธรรมะจึงบอกว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น

อย่าได้นำมันมาปรุงแต่ง เพราะมันไม่ได้มีความสำคัญพอที่จะทำให้เราต้องไปสุขทุกข์กับมัน

   ความจำนี้สักแต่ว่าจำได้ ก็มันเคยบันทึกไว้ มันก็ส่งออกมาแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา มันไม่ใช่ว่าเราจำเก่ง เราจำแม่น เราดีกว่าเขา เพราะจำได้ดีกว่าเขา พออายุมาก ก็ลืมเลือนพอกัน เพราะมันไม่ใช่ของใคร มันก็เสื่อมถอยไปตามกลไกธรรมชาติ

   หรือแม้ว่าร่างกาย การเปลี่ยนแปลงก็แปรปรวนไปเรื่อย เซลล์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน ถ้าจะไปยึดเกาะสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ได้ตลอดเวลา


ดังนั้น การเปลี่ยนแปลง การไหลไปของกระแสธรรมชาติ มันไหลไปตลอดเวลา ไม่ได้เป็นของใครแม้แต่น้อยนิด เพียงแต่ถ้าใครอุปาทานว่าสิ่งนี้ ความคิดนี้ ความจำนี้ อารมณ์นี้เป็นของเรา เขาก็ต้องรับสิ่งที่ขันธ์ห้ามันปรุงหลากหลายอารมณ์เหล่านั้น ว่าเป็นของเขาไปด้วย เท่ากับไปปั้นอุปาทาน ไปปั้นสิ่งที่เป็นความว่างให้มีตัวตนขึ้นมา

   แล้วมันก็เป็นกลไกธรรมชาติ เมื่อมีตัวตน มีตัวเราผู้กระทำ ก็ย่อมมีการบันทึกผลของกรรมนั้นๆไว้ให้ตัวตนของผู้กระทำ จึงต้องมีการรับผลของการกระทำนั้นๆที่บันทึกไว้ เพื่อชดใช้ทั้งกรรมดี กรรมชั่ว

   จึงยังต้องเวียนเกิดเวียนตาย ใช้บุญใช้กรรมกันต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นั่นคือ เมื่อมีตัวตนผู้กระทำ จึงมีตัวตนของผู้รับกรรม

ก็มีการบันทึกวิบากต่างๆเก็บไว้ให้ตัวตนของผู้กระทำนั่นเอง

ต้องชดใช้กันไปไม่มีที่สิ้นสุด ต้องเวียนเกิดเวียนตายเพื่อมาชดใช้วิบากเหล่านั้น



ต้องมาเกิดเป็นเศรษฐี เป็นผู้ใจบุญ เพราะสร้างวิบากดีไว้เยอะ แม้จะไม่อยากเกิด อยากไปนิพพาน แต่มีตัวผู้ทำบุญก็ต้องมารับบุญ ไปนิพพานยังไม่ได้ เพราะยังมีตัวตนผู้ทำบุญอยู่
   
กฎแห่งกรรม ก็ต้องเก็บบุญไว้ให้ตัวผู้ทำกรรมดีนั้น มารับไป



ต้องเกิดมาเป็นยาจก มาเป็นผู้ร้าย เพราะสร้างวิบากไม่ดีไว้เยอะ ต้องมาชดใช้เวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด เพราะยังมีตัวตนผู้รับวิบากไม่ดีอยู่
   
ถ้ายังไม่เห็นว่า ทุกอย่างล้วนเป็นของธรรมชาติ ไม่ได้มีตัวตน ไม่ได้มีตัวใคร ของใคร ที่ควรจะต้องไปเกาะ ไปยึด ไปบังคับบัญชา แล้วถอยออกมาดูการปรุงแต่งของแต่ละขันธ์ด้วยความเข้าใจ

จะทำสิ่งใดก็มีสติรู้เห็นการกระทำนั้นๆว่าเป็นการสมควรเพียงใด เหมาะสมเพียงใด แล้วทำไปตามเหตุปัจจัยที่ควรกระทำ แล้วไม่ไปยึดเอาธรรมชาติขณะที่กระทำนั้น ว่าเป็นเราผู้กระทำ เราผู้ช่วยเหลือ เราผู้ให้ เราผู้ไม่ให้ เราผู้ทำอย่างนี้ อย่างนั้น
   
ไม่รับทั้งบุญ และบาป ไม่มีทั้งเขาและเรา ไม่ได้มีใครให้ใคร มีแต่การช่วยเหลือกันไปของธรรมชาติกับธรรมชาติเท่านั้น มันจึงไม่ได้มีใครทุกข์ มีใครสุข เพราะอยู่เหนือขันธ์ห้า อยู่เหนืออารมณ์ปรุงแต่งสุขทุกข์ทั้งหลาย

  มองเห็นว่ามันเป็นสักแต่ว่าสุข ทุกข์ในอารมณ์ ในความรู้สึกเท่านั้น
   ถ้ายังเกาะเกี่ยว มีตัวผู้ทำ ผู้ให้ ผู้รับ ผู้ทำดี ผู้ทำชั่วอยู่ล่ะก็
   ยังต้องเวียนอยู่ในวัฏสงสาร ออกไม่ได้แน่นอน



เหมือนเช่นพระอรหันต์ พระองคุลิมาล ถ้าท่านยังไม่บรรลุธรรม ที่ได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วนั้น ท่านต้องชดใช้กรรมอีกเท่าไร กว่าที่ท่านจะใช้ได้หมดในการฆ่าคนจำนวนมหาศาลเหล่านั้น
   
แต่เพราะท่านได้มารู้ความจริงที่เป็นกฎของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้ได้ยาก ท่านเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ได้เป็นตัวตน ไม่ได้เป็นตัวใครของใคร เป็นเพียงธรรมชาติ แต่ด้วยความไม่รู้จึงทำสิ่งที่ผิดจากหลักธรรมชาติ ไปยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน จึงต้องมีตัวเรา ทำร้ายตัวเรา จึงต้องรับกรรม วิบากกรรมมาเป็นของเรา
   

แต่เมื่อรู้เห็น รู้ความจริง ท่านจึงออกจากตัวตน ออกจากอุปาทานขันธ์ห้า ท่านจึงอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือกรรม วิบากกรรม คือบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องเกิดมาเพื่อใช้กรรมอีก

   
แต่ขันธ์ห้า ที่เคยยึด เคยคิดว่าเป็นตัวตน มันก็ยังต้องรับกรรมของมัน กรรมของขันธ์ห้า ถูกขว้างปาทุบตี ถูกทำร้ายด้วยความอาฆาตจากชาวบ้าน พระองคุลิมาลท่านก็ไม่ทุกข์ ก็ขันธ์ห้าชดใช้ไป ก็ทุบตีไป ขันธ์ห้าก็ใช้กรรมไป เมื่อสิ้นขันธ์ห้า ก็แยกย้ายจากกันไป ไม่ต้องกลับมารวมกันเป็นขันธ์ห้า เพื่อเกิดใหม่อีกนั่นเอง
   
จะเห็นได้ว่า จุดแก่นจริงๆก็คือ ให้เห็นความเป็นจริงของขันธ์ห้า ให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมชาติ ว่ามันไม่ได้เป็นตัวตน ไม่ได้มีตัวใคร เป็นเพียงอุปาทานขันธ์ห้าเท่านั้น ที่มันยึดเหนี่ยวเอาไว้
   
ดังนั้น การหลุดพ้น จึงหลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ห้า ที่มันปรุงแต่งแล้วหลอกล่อให้ยึดมั่นถือมั่นเท่านั้น ถ้าเห็นตามจริง และมีสติอยู่ในปัจจุบันขณะ ก็จะเห็นว่ามันไม่ได้เป็นตัวตนของตนจริงๆ
   
แต่ถึงพูด ถึงบอกยังไง มันก็ไม่เห็น เพราะมันเข้าใจไม่ได้ ยังไปไม่ถึง ยังวนอยู่ในขันธ์ห้ากันอยู่ เกาะติดอยู่ในขันธ์ห้า ไม่เคยคิดที่จะแยกออกมาดูมันทำงานกันเองเลยสักครั้ง ไม่เคยที่จะฉุกใจสักนิดว่ามันไม่ได้มีใคร ไม่ได้มีตัวตนของตนใดๆอยู่ในขันธ์ห้าเลย
   
การจะอยู่เหนือขันธ์ห้า มันจึงเป็นเรื่องที่เกินวิสัยจะคิดได้ แล้วจะไปโทษใคร ไปโทษอะไร เพราะเราไม่เข้าใจเอง เราจึงยังสุข ยังทุกข์กันอยู่นั่นเอง


ถึงเวลาหรือยัง ที่จะมีความเห็นให้ถูกต้อง ให้เข้าถึงแก่นของธรรมชาติ เข้าถึงแก่นของธรรม เพื่อออกจากสังสารวัฏอันยาวนานกันเสียที...

 ดังนั้นการบรรลุธรรม จำเป็นต้อง เสียสละ ทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต อะไรทั้งสิ้น เพียงแค้ใช้จิต ใช้ปัญญาไตร่ตรอง

มองให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมะชาติ ครับ
................จบ  :25:




บันทึกการเข้า

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ มีผู้มาสนทนา ธรรมเป็นคนแรกแล้วนะครับ
  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างไร ก็ตาม การทำความเพียร หนักเบา บารมี ต่าง ไม่เท่ากัน
บางท่าน บางคน ต้องทำมาก แต่ บางท่่าน บางคน ก็ทำน้อย ก็บรรลุธรรมได้

  ตามจำพวก

    1.ปฏิบัตสบาย สำเร็จง่าย
    2.ปฏิบัติลำบาก สำเร็จง่าย
    3.ปฏิบัติสบาย สำเร็จยาก
    4.ปฏิบัติลำบาก สำเร็จยาก

 :88: :88: :c017:
บันทึกการเข้า

timeman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่าอยู่ที่จริต ด้วยนะครับ บางท่านก็ชอบผาดโผน บางท่านก็ชอบแบบธรรมดา บางท่านก็ชอบแบบนุ่มนวล คิดว่าเป็นไปตามวิสัย จริต และวาสนา ด้วยนะครับ ส่วนหนึ่ง ดังนั้น

    บางท่านอาจจะต้องเสียสละ ทรัพย์ ถึงจะบรรลุธรรม
    บางท่านอาจจะต้องเสียสละ ชีวิต ถึงจะบรรลุธรรม
    บางท่านอาจจะต้องสละอวัยวะ ถึงจะบรรลุธรรม
 
    แต่ประเด็น ความเสี่ยง ของ การสละ อวัยวะ นั้น 50 เปอร์เซ็นต์ นะครับ
                ความเสี่ยง ของ การสละ ชีวิต นั้น 99 เปอร์เซ็นต์  นะครับ

    อย่างผมตอนนี้ เลือก ที่ สละทรัพย์ ครับ.... ถึงได้อยู่อย่างนี้ นะครับ

   :hee20hee20hee: :49: :s_good:
บันทึกการเข้า
ทะลุมิติ มาหา ความจริง ของตัวเอง

Lux

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 113
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา เห็นด้วยคะ ขึ้นอยู่กับวิสัยบุคคลด้วยคะ
 :25: :58:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกคนได้มีรอยยิ้ม มีความสุข แม้แบบชาวโลก
อยากให้ทุกคนไม่มีทุกข์ มีแต่สุข ในการภาวนา
อยากหนอ .... ก็ทุกข์หนอ ใช่หรือไม่จ๊ะ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าฟังพระพุทธพจน์ ว่า

   สละทรัพย์ เพื่อรักษา อวัยวะ
   สละอวัยวะ เพื่อรักษา ชีวิต
   สละชีวิต เพื่อรักษา ธรรม

  ดังนั้นในครั้งพุทธกาลจึงมีพระสงฆ์ ที่มุ่งการภาวนา สละชีวิตเพื่อ การบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก บางรูปถูกโจรฆ่า บางรูปถูกเสือฆ่า บางรูปถูกงูฆ่า บางรูปก็สละชีวิตเพื่อกรรมฐาน

  เหล่านี้จะบอกว่า ใดถูก หรือ ใดผิดนั้น ก็คงเป็นไปได้ยากคะ สำหรับพวกเราซึ่งมีอินทรีย์กำลังอ่อนจึงยังไม่สามารถจะเข้าใจ เรื่องราวเหล่านี้ได้คะ

   :25: :25: :58:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
- ถ้าไปย้อนดูจริงๆแล้ง บางท่านจะมีผลกรรมที่ทำมาเพื่อที่จะชดใช้ให้พ้นหมด เพื่อความถึงที่สุกแห่งกองทุกข์ ท่านจึงเป้นไปเช่นนี้ๆเป้นต้น
- บางท่านเข้าถึงธรรมใดธรรมหนึ่งแล้วเป็นเบื้องต้นจนไม่ใคร่ได้ยินดีกับขันธ์นั้นๆ มีเพียงแค่ความอยากพ้นวัฏฏะทั้งหลายนี้โดยไม่เสียดายในขันธ์๕ ท่านจึงดำเนินไปเช่นนั้น

- ทำไมพระสิวลีแค่ปลงผมก็บรรลุอรหันต์
- ทำไมพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ แค่ฟังธรรม และ ปฏิบัติกรรมฐาน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็บรรลุอรหันต์
- ทำไมพระเถระ พระอริยะเจ้าอีกมากมายแค่ฟังธรรมก็บรรลุอรหันต์ไม่ต้องมาหลังขดหลังแข็งกัมมัฏฐานให้ยากเลย

- แต่ทำไมบางท่านยากนักที่จะพ้น ยากนักที่จะได้มา คุณคิดว่าเพราะการกระทำทั้งดีและชั่ว ผลทาน ผลการคิดดี พูดดี ทำดี มาแต่กาลก่อนจนถึงปัจจุบันชาติ หรือต้องฆ่าตัวตายจึงบรรลุ
- ถ้าฆ่าตัวตายแล้วบรรลุ คนทั่วโลกที่ถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าพระอรหันต์ที่เราพานพบในปัจจุบันนี้ท่านก็ฆ่าตัวตายกันหมดสิครับ แต่ที่ท่านพ้นได้เพราะปฏิปทามางดงามดีแล้ว มีจิตตั้งมั่นปฏิบัติเรียนรู้แล้ว หากการถึงธรรมในพระพุทธศาสนาต้องฆ่าตัวตายหมด ธรรมที่เราศึกษาอยู่คงไม่มีพระอรหันต์ พระอริยะเจ้า เผยแพร่มาถึงคุณจนถึงทุกวันนี้เป็นแน่แท้ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเหตุ ปัจจัย เฉพาะบุคคลครับ เรื่องอย่างนี้เข้าใจยากนะครับ
บุญบารมีที่สั่งสมมา เต็มเปี่ยม แล้ว ก็อาจจะเข้าถึงธรรมตามแบบของตนเองนะครับ

  ดู พระอรหันต์สังกิจจะ สิครับ แม่ตาย ท่านอยู่ในครรภ์ ถูกนำไปเผาไฟพร้อมศพ แต่บุญบารมีของท่านก็ยังไม่ตายนะครับ ในที่สุดก็ได้บวชเป็นสามเณรบรรลุเป็นพระอรหันต์ 7 ขวบด้วย กรรมฐาน กายคตาสติ ( จำมาจากพระอาจารย์อีกทีนะครับ )

  ดู พระจูฬปันถก สิครับ ท่านท่องจำอะไรก็ไม่ได้ แต่ได้พุทธบารมี สอนกรรมฐานให้ก่อนจะลาสิกขา ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ด้วยการภาวนาว่า ระโช หรณัง ผ้าขี้ริ้วสีขาว สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปฏสัมภิทา ( จำมาจากพระอาจารย์อีกทีนะครับ )

  และอีกหลาย ๆ ท่าน ที่บำเพ็ญบารมีมาเต็มรอบแล้ว ......

   ดังนั้นการ ที่จะสละ อะไรเพื่อการบรรลุธรรม ก็อยู่ที่การบำเพ็ญมาแต่อดีต ด้วยครับ ภูมิธรรมวิสัยที่ติดตัวมาแต่กำเหนิด นั้นสำคัญมาก ๆ นะครับ

   :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า