ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติธรรม เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา  (อ่าน 5775 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เนื้อความจากมหาสติปัฏฐานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัว…
- ในการก้าว ในการถอย
- ในการแล ในการเหลียว
- ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
- ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร
- ในการฉัน การดื่ม
- การเคี้ยว การลิ้ม
- ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

ย่อมทำความรู้สึกตัว
- ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น
- การพูด การนิ่ง





  ผมเคยนึกคำถามสนุก ๆ ปาก อยู่ครั้งหนึ่ง และได้ถาม พระอาจารย์ว่า

  "เวลานั่งอึ ( อุจจาระ ) ปฏิบัติภาวนาได้หรือไม่"

  ก็ได้รับคำตอบว่า "ได้"

  "แล้วทำอย่างไร ละครับ"

  คำตอบที่ได้รับ อยู่เหนือความคาดหมาย จากการฝึกภาวนามากครับ พระอาจารย์ตอบว่า
  "ก็มีสติ ระลึก รู้ตัวอยู่ว่า กำลังนั่งถ่ายอุจจาระ"

  แหม มันคันความรู้สึกว่า "เท่านี้หรือ ? มันง่ายอย่างนั้น หรือ ?"

  พอถึงเวลาเข้าถ่าย อุจจาระ ( ไม่ใช่มุข นะครับ ไปทำจริง ๆ )

  ก็มานั่งนึกถึง คำสอนของ พระอาจารย์ ก็นั่งทำสติ ระลึก รู้ตัวว่านั่งถ่าย ขณะที่นั่งไป ก็เริ่มเห็นปัญญาทุกครั้ง
ผมนั่งถ่ายอุจจาระ มีปกติ ชอบนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ( นิสัยไม่ดี ) พอวันนี้มาทำความรู้สึก รู้ตัวอยู่ เลยไม่ได้อ่าน และไม่อยากอ่าน การเข้าถ่ายอุจจาระ ใช้เวลาน้อยลง
 
  และยังมีผลจากการภาวนา ทั้งวัน ในวันนั้นอีกครับ
  พอระลึกรู้ตัว ความฟุ้งซ่าน ก็ดับ ความคิด สาระตะแต่ ละเรื่องก็ดับ มีสติเฉพาะหน้า ในขณะนั้นจริง ๆ

  ยกแขน นั่ง ยืน เดิน ดูทีวี นั่งทำงาน กวาดพื้น ถูบ้าน ยกเว้นเรื่อง นอน เพราะหลับก่อน ( รู้สึกว่าจะหลับง่ายขึ้น )
 
  ดังนั้นหากใครยังฝึก สมาธิ ยังไม่ก้าวหน้า ลองหันมาฝึก สัมปชัญญบรรพ กันบ้างดีหรือไม่ครับ

   ธรรมะ เป็น อกาลิโก จริง ๆ นะครับ


  มาร่วมเจริญ สติ ยามเช้า เหมือนกัน ครับ
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 06:59:35 am »
0

เจริญสติในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ


การ เจริญสตินี้ ต้องทำมากๆ ทำบ่อยๆ นั่งทำก็ได้ นอนทำก็ได้ ขึ้นรถลงเรือทำได้ทั้งนั้น เวลาเรานั่งรถเมล์ นั่งรถยนต์ก็ตาม เราเอามือวางไว้บนขา พลิกขึ้นคว่ำลงก็ได้ หรือเราไม่อยากพลิกขึ้นคว่ำลง เราเพียงเอานิ้วมือสัมผัสนิ้วอย่างนี้ก็ได้ สัมผัสอย่างนี้ให้มีความตื่นตัว ทำช้าๆ หรือจะกำมือเหยียดมืออย่างนี้ก็ได้ ไปไหนมาไหนทำเล่นๆ ไป ทำมือเดียว อย่าทำพร้อมกันสองมือ ทำมือขวา มือซ้ายไม่ต้องทำ ทำมือซ้าย มือขวาไม่ต้องทำ

เรา ทำการทำงานอะไรให้มีความรู้สึกตัว เช่น เราเป็นครูสอนหนังสือ เวลาเราจับดินสอเอามาเขียนหนังสือ เรามีความรู้สึกตัว เขียนหนังสือไปแล้วเราก็รู้ อันนี้เป็นการเจริญสติแบบธรรมดาๆ เป็นการศึกษาธรรมะกับธรรมชาติ เวลาเราทานอาหาร เราเอาช้อนเราไปตักเอาข้าวเข้ามาในปากเรา เรามีความรู้สึกตัว ในขณะที่เราเคี้ยวข้าว เรามีความรู้สึกตัวว่ากลืนข้าวเข้าไปในลำคอไปในท้อง เรามีความรู้สึกตัว อันนี้เป็นการเจริญสติ

คำว่า "ให้ทำอยู่ตลอดเวลานั้น" (คือ) เราทำความรู้สึกตัว ซักผ้า ถูบ้าน กวาดบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน เขียนหนังสือหรือซื้อขายก็ได้ เพียงเรามีความรู้สึกเท่านั้น แต่ความรู้สึกอันนี้แหละมันจะสะสมเอาไว้ทีละเล็กละน้อย เหมือนกับเราที่มีขันหรือมีโอ่งน้ำ ฝนตกลงมา ตกทีละนิด ทีละนิด เม็ดฝนน้อยๆ ตกลงนานๆ แต่มันเก็บได้ดี น้ำก็เลยเต็มโอ่งเต็มขันขึ้นมา

อัน นี้ก็เหมือนกัน เราทำความรู้สึก ยกเท้าไปยกเท้ามา ยกมือไปยกมือมา เรานอนกำมือ เหยียดมือ ทำอยู่อย่างนั้น หลับแล้วก็แล้วไป เมื่อตื่นนอนขึ้นมาเราก็ทำไป เรียกว่าทำบ่อยๆ อันนี้เรียกว่า เป็นการเจริญสติ


จากหนังสือคู่มือการทำความรู้สึกตัว
หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)





ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.oknation.net

ต้นไม้ต้องใช้ระยะเวลาเติบโต จะเร่งรัดให้ผลิดอก ออกผลก่อนเวลาคงไม่ได้
หรือได้ก็คงไม่ดี ฉันใด

การฝึกฝน “เจริญสติ”  ก็ย่อมต้องมีความเพียร
ไม่รีบร้อนกับการมุ่งหาผลการปฏิบัติ ฉันนั้น

การเจริญสติ หัวใจสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
เพื่อประคองความคมชัดของจิตเอาไว้ จำเป็นต้องเจริญสติอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเข้าอบรมกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม

เปรียบได้กับการพยายามว่ายทวนกระแสน้ำ
ถ้าขาดความเพียรอย่างต่อเนื่องแล้ว
ที่สุดก็ต้องไหลลอยเลื่อนตามน้ำไป
บันทึกการเข้า

pimpa

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 07:03:04 am »
0
การนั่งสมาธิและเจริญสติอยู่เสมอนั้น

จะทำให้เราควบคุมจิตใจตนเองได้ พัฒนาจิตใจตนเองได้

ทำให้จิตใจของเรามีความผ่อนคลาย ผ่อนปรน สดชื่น

และทำให้จิตใจและสติของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมั่นคงมากยิ่งขึ้น


บันทึกการเข้า

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แนะนำ หนังสือ ดูจิตชั่วพริบตา คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 07:05:53 am »
0


หนังสือที่อธิบายเรื่องการเจริญสติได้เจ๋งสุดๆ เรื่องการฝึกจิตที่เคยคิดว่าเข้าใจได้ยาก ก็กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยพรีเซ็นเตชั่น พร้อมเรื่องเล่า นิทาน และการ์ตูน อ่านแล้วแทบไม่รู้ว่านี้คือหนังสือสอนธรรมะ

ดูจิตชั่วพริบตา คือคำตอบสำหรับทุกคำถามที่ค้างคาใจ กับเนื้อหาซึ่งว่าด้วยเรื่องที่ทุกคนก็อยากรู้ อย่าง ‘พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรกันแน่?’ และ ‘เราจะเป็นอย่างท่านบ้างได้ไหม?’ พร้อมทั้งการฝึกให้ดูจิตของเราในทุกอากัปกิริยา...ทั้งหมดนี้จะได้รับการ อธิบายด้วยโครงสร้างของ ‘การเจริญสติ’ ที่จะช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างถาวร วิธีใช้สติเข้าไปหยุดวงจรของกฎแห่งกรรม และเปลี่ยนแปลงภพชาติต่อไปให้กลายเป็นสุขคติภูมิได้ ด้วยภาษาที่ตรง เรียบ ชัด แต่หนักแน่น รวมทั้งการยกตัวอย่างที่แทงใจดำ และแบบฝึกหัดจิตซึ่งหาอ่านจากไหนไม่ได้แล้ว คุณจะได้ประจักษ์กับตัวเองเลยว่า ดูจิตชั่วพริบตา สามารถทำหน้าที่เป็น ‘ล่ามของพระพุทธเจ้า’ ให้กับผู้คนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี

http://www.tamdee.net/main/simple/?t190.html
บันทึกการเข้า

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
นิยามของสัมปชัญญะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 07:29:48 am »
0
นิยามของสัมปชัญญะ
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น ความหมายของสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่เสมอ หรือความไม่เผลอตัว

ส่วน ความหมายของสัมปชัญญะในทางธรรมนั้นมีความแตกต่างออกไปบ้าง โดยเฉพาะในแง่ของความรู้ชัดและรู้ต่อเนื่อง ดังจะยกคำจำแนกอธิบายตามพระอภิธรรมปิฎกเล่ม 1 และเล่ม 2 ซึ่งเกี่ยวกับการแจกแจงบรรพนี้โดยตรงมาแสดง

สัมปชัญญะเป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้ชื่อว่าสัมปชัญญะมีในสมัยนั้น


ข้อสังเกตคือในมหาสติ ปัฏฐานสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าการรู้อิริยาบถย่อยจัดเป็นสัมปชัญญะ ซึ่งมองในมุมของผู้เริ่มปฏิบัติภาวนาแล้ว อาจเห็นทั้งในแง่ของการใช้อิริยาบถย่อยเป็นตัวสร้างสัมปชัญญะ และทั้งในแง่ของการ "รู้ทัน" อิริยาบถย่อยตามจริงเป็นเกณฑ์ประเมินว่ามีสัมปชัญญะตามธรรมชาติแล้วหรือยัง สำหรับบทนี้จะเน้นในแง่ของการสร้างสัมปชัญญะด้วยวิธีฝึกทั้งตามลำดับขั้นและ วิธีกำหนดรู้ตามจริง

ไม่ว่าจะมองตามภาษาชาวบ้านหรือภาษาพระ อย่างน้อยที่สุดคุณสมบัติของสัมปชัญญะคือต้องมีความ "ชัดเจน" และ "ต่อเนื่อง" ซึ่งไม่ใช่ความต่อเนื่องชนิดตลอด 24 ชั่วโมงไม่ขาดสาย แต่เป็นความต่อเนื่องสักครู่หนึ่งพอให้รู้ชัดในความเป็นเช่นนั้น ขาดไปหน่อยแล้วกลับมาต่ออีก

ตัว "คุณสมบัติ" ของการรู้ตัวเป็นเรื่องน่าพูดถึงอย่างที่สุด แม้ว่าจะรู้ตัวได้ต่อเนื่องจริงสักสิบนาทีไม่พลาดเลย แต่ถ้าต้องฝืนจิตฝืนใจ หรือเกิดอาการเพ่งเกร็งเกินกำลัง อันนั้นก็ไม่นับเป็นสัมปชัญญะชนิดที่จะก่อให้เกิดปัญญาหรือความสว่างใดๆ ตรงข้ามอาจเกิดผลให้จิตยิ่งมืดมัว คลุมหนักไปด้วยโมหะยิ่งกว่าเดิม

สรุป ว่าโดยนิยามของสัมปชัญญะในสัมปชัญญบรรพนี้ เราตั้งเข็มทิศไว้คือรู้อิริยาบถปลีกย่อยต่างๆให้ชัดเจนต่อเนื่อง ยิ่งชัดนานต้องยิ่งเบา ยิ่งนิ่มนวล ยิ่งสว่าง ไม่ใช่ชัดนานแล้วหนักอึ้งหรือมืดทึบไป

อีกประการหนึ่ง ผู้ภาวนาบางรายจะเข้าใจว่าคุณภาพของจิตชนิดเยี่ยมยอดในความมีสัมปชัญญะนั้น จะต้องไร้ร่องรอยความคิดเจือปน ความจริงแล้วหลักไมล์แรกที่ควรไปให้ถึงหาใช่ "ความไม่คิด" แต่ควรไปให้ถึงความ "ขยับเมื่อไหร่รู้เมื่อนั้น" คือขยับอย่างเป็นธรรมชาติ แล้วรู้ทันอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่จงใจขยับช้าหรือเร็วกว่าปกติ สิ่งเดียวที่เร็วกว่าปกติคืออาการไหวรู้ของจิตอันสัมพันธ์ตรงกับความเคลื่อน ตัวแห่งองคาพยพตลอดกาย




ขอบคุณภาพประกอบจาก http://i116.photobucket.com
บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ผู้ปฏิบัติ เรื่อยๆย่อมเกิดญาน คือญานตื่นตัวข้างในจิต คิดที่จะลุกมานั่ง คิดที่จะตั้งมั่นอยู่ในความสงบ จิตข้างในจะตื่นตัวเอง จะเป็นผู้กินน้อย นอนน้อย ทำความเพียรมาก จะหันแต่มานั่งสมาธิ จะหนีจากความวุ่นวาย จิตเริ่มฉลาดขึ้น จิตเริ่มละเอียดขึ้น
เบื้องต้นที่จิตจะละเอียดคือการให้ทานรักษาศีลการสำรวมกายวาจาเรียบร้อย จิตก็เริ่มเบาบางเริ่มละเอียด เมื่อจิตเริ่มละเอียดจิตก็จะหันไปสู่สมาธิได้ง่าย หันไปสู่ความสงบได้ง่าย จิตรู้แล้วว่าสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี


บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ถ้ามีสติ สัมปชัญญะ ก็พ้นจากความเมา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 09:25:53 am »
0


 สติ เป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก
    พระพุทธพจน์
 
ถ้ามีสติ สัมปชัญญะ ก็พ้นจากความเมา

  เมาตัว เมากาย เมาน้ำลาย เมาตัณหา เมาอุปาทาน และ อีกสารพัด ที่จะเมา

  ดังนั้น ผู้มีปัญญา พึง เจริญ สติ ทุกเมื่อ ........


 
บันทึกการเข้า

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 09:28:52 am »
0


ที่ใดมีความโกรธที่นั่นไม่มีสติ ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีความโกรธ

ความโกรธเปรียบเสมือนหนู สติเปรียบเสมือนแมว ที่ใดมีแมว

ที่นั่นไม่มีหนู ที่ใดมีหนูที่นั่นไม่มีแมว ฉะนั้น สติจึงเป็นธรรม ซึ่งใช้

เป็นคู่ปรับกับความโกรธได้เป็นอย่างดี ถ้าเราอยากจะหนีความโกรธ

เราก็ควรฝึกสติในทุก ๆ อริยาบถ เมื่อเรามีสติอยู่ในทุกอริยาบถ

ก็คือเรามีความตื่นรู้อยู่ในทุกอริยาบถ จิตของเราที่มีความตื่นรู้


เป็นอารมณ์แล้ว ก็ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับที่ความโกรธจะแทรกตัวเข้ามา

ฉะนั้นสัญนิษฐานได้อย่างหนึ่งว่า ใครโกรธคนนั้นกำลังขาดสติ



       ที่มา บทสัมภาษณ์ ว.วชิรเมธี (หนังสือพิมพ์แจกในงานศพ)
บันทึกการเข้า