ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัตติคุมพะชาดก(พี่น้องต่างใจ)  (อ่าน 2116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สัตติคุมพะชาดก(พี่น้องต่างใจ)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:14:38 pm »
สัตติคุมพะชาดก(พี่น้องต่างใจ)


    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่คทายวิหาร ใกล้ถ้ำมัททกุจฉิ เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้กลิ้งศิลาหมายให้ทับพระองค์ มีแต่สะเก็ดแตกกระทบพระบาทยังพระโลหิตให้ห้อเท่านั้น ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยพระเจ้าปัญจาละกปกครองเมืองอุตตาปัญจาละ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกนกแขกเต้ามีน้องตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ป่างิ้วใกล้ภูเขาลูกหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากภูเขาลูกนั้นด้านทิศเหนือมีบ้านของพวกโจร ๕๐๐ ด้านทิศใต้เป็นอาศรมของฤๅษี ๕๐๐ ตน เมื่อนกแขกเต้า สองพี่น้องเติบโตขึ้นกำลังหัดบิน ในวันหนึ่งเกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำนกแขกเต้าทั้งสองจึงถูกลมพัดไปตกคนละแห่ง นกผู้น้องไปตกระหว่างอาวุธของบ้านโจร พวกเขาจึงตั้งชื่อให้มันว่า สัตติคุมพะ ส่วนนกผู้พี่ไปตกระหว่างกองดอกไม่ใกล้อาศรมฤๅษี จึงถูกตั้งชื่อว่าปุปผกะนกทั้งสองตัวต่างเติบโตในสถานที่นั้นๆ

                อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าปัญจาละเสด็จประพาสป่า พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่เพื่อออกล่าสัตว์ ทรงประกาศว่า "เนื้อหนึไปทางผู้ใด อาญาจะมีแก่ผู้นั้น" พระองค์ทรงธนูยืนซ่อนอยู่ในซุ้มที่เขาจัดถวาย เมื่อพวกทหารตีเคาะพุ่มไม้มีเนื้อทรายตัวหนึ่งดูทางที่จะไป เห็นทางที่พระราชาประทับอยู่เงียบสงัด จึงวิ่งไปทางนั้้นและหลบหนีไปได้ พวกอำมาตย์ต่างร้องถามกันว่า "เนื้อหนีไปทางผู้ใด" เมื่อทราบว่าด้านของพระราชาต่างก็หัวเราะยิ้มเยาะ พระองค์

          พระราชารีบขึ้นรถพระที่นั่งสั่งให้นายสารถีตามจับเนื้อให้จงได้ พวกบริวารไม่สามารถที่จะวิ่งไล่รถของพระองค์ทันใด้ จึงมีเพียงพระราชาและนายสารถีสองคนเท่านั้นตามเนื้อไป จนเที่ยงวันก็ไม่พบเนื้อตัวนั้น จึงเสด็จกลับพบลำธารสวยงามระหว่างทางใกล้ที่อยู่ของโจร ด้วยความเหนื่อยล้า จึงลงไปบรรทมพักผ่อนใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ฝ่ายนายสารถีถวายงานนวดอยู่

          ณ บ้านโจร พวกโจรพากันออกจากบ้านเข้าป่ากันหมด เหลือแต่นกสัตติคุมพะและพ่อครัวคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น นกสัตติคุมพะบินออกจากบ้านไปพบพระราชา ก็คิดจะปล้นชิงทรัพย์จึงบินกลับมาบอกพ่อครัว ฝ่ายพ่อครัวรีบออกไปดู เมื่อทราบว่าเป็นพระราชาจึงพูดว่า "แกจะบ้าเรอะ จะปล้นพระราชา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระราชาถึงจะเข้าป่าก็ยังทรงเดชานุภาพอยู่นั้นเอง" นกพูดตอบว่า "ท่านพ่อครัว เวลาเมาท่านเก่งกาจมากมิใช่หรือ มาบัดนี้ท่านทำไมไม่อยากทำโจรกรรมเล่า"

          พระราชาทรงตื่นจากบรรทมได้ยินเสียงคนคุยกันก็ทราบว่า สถานที่นี้ไม่ปลอดภัยจึงปลุกนายสารถีรีบเสด็จไปโดยเร็ว นกสัตติคุมพะรีบบินร้องให้โจรตามรถของพระราชาไป พระราชาเสด็จไปถึงอาศรมของพวกฤๅษี ขณะนั้นพวกฤๅษีเข้าป่าหาผลไม้เหลือแต่นกปุปผกะตัวเดียว มันพอเห็นพระราชาเสด็จมาถึงรับบินไปต้อนรับและถวายพระพร

          พระราชาเลื่อมใส่ในนกปุปผกะตรัสชมเชยว่า "นกแขกเต้าตัวนี้ดีมากส่วนนกแขกเต้าตัวโน้นพูดแต่คำหยาบให้จับพระราชาให้ฆ่าพระราชา นกสองตัวนี้ข่างต่างกันจริงๆ"

          นกปุปผกะกราบทูลว่า "มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นพี่น้องกัน เติบโตจากต้นงิ้ว แต่ต่างถูกลมพัดไปอยู่คนละเขต สัตติคุมพะตกไปอยู่ในบ้านโจร ข้าพระองค์มาอยู่ในอาศรมฤๅษีเราทั้งสองจึงต่างกันพระเจ้าข้า" แล้วแสดงธรรมแก่พระราชาว่า

               "ขอเดชะบุคคลคบคนเช่นใด เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ ผู้มีศีลหรือไม่มีศีล ย่อมไปสู่อำนาจของผู้นั้น
                   เพราะอยู่ร่วมกันกับผู้นั้นเหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมทำให้แหล่งลูกศรเปื้อนยาพิษด้วย
               นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายผู้ต่ำช้าเลยทีเดียว เพราะกลัวจะเปื้อนด้วยบาปกรรมเหมือนห่อปลาเน่าด้วยหญาคา
               หญ้าคาย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปด้วย การคบหาสมาคมกับคนพาลก็เช่นกัน เหมือนห่อของหอมด้วยใบไม้
              ใบไม้ก็หอมฟุ้งไปด้วยฉันได การคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
               ดังนั้น บัณฑิตไม่ควรคบหาอสัตบุรุษ ควรคบหาแต่สัตบุรุษเท่านั้น"

          พระราชาทรงเลื่อมใสธรรมกถาของนกปุปผกะอย่างมาก เมื่อหมู่ฤๅษีกลับมาแล้วจึงนิมนต์ให้เข้าไปอยู่ในสวนหลวง เพื่อจะได้อุปัฏฐากบำรุง และทรงให้ปล่อยนกทั้งหลายเป็นอภัยทาน หมู่ฤๅษีรับคำนิมนต์นั้นอยู่สงเคราะห์พระราชาจนตราบสิ้นชีวิต





ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=3
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ