ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กงล้อธรรมจักร  (อ่าน 5641 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กงล้อธรรมจักร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 11:30:40 am »
0
 กงล้อธรรมจักร


     ธรรมจักรหมายถึงวงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงหมุน เพื่อเผยแผ่พระธรรมที่ทรงตัรสรู้เพื่อให้พุทธศาสนิกชน นำไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์
ธรรมะ ที่ทรงแสดงในธรรมจักรกัปปวัตนสูตร คือ  การเดินทางสายกลางไม่ยึดติดในตัวสุดโต่งสังขารปรุงแต่งดี-ชั่ว ,บุญ-บาป,  สุข-ทุกข์, อดีต-อนาคต ฯลฯ เพื่อดำเนินสู่การประจักษ์แจ้งด้วยกิจ ๓ แห่ง  อริยสัจ๔ อันมี ทุกข์ ,สมุหทัย(อวิชชาและตัณหา-เหตุเกิดทุกข์),  นิโรธ(นิพพานคือความดับทุกข์) และหนทางการดำเนินปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  มีแปดข้อ คือ มรรคอันมีองค์๘ ประการ

........วงล้อแห่ง ธรรม(ธรรมจักร) ทรงตรัสให้ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักรห้ำหั่นหมู่มาร  ซึ่งมารนั้นมิใช่มารอื่นไกลที่ใด มารที่ทรงตรัสถึง คือ มารภายในที่เรียกว่า  อุปาทานขันธ์๕

........“.....ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้ยังยึด รูป...  เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้  เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้นจากมาร....
........“.....ดูก่อนภิกษุ  เมื่อบุคคล คิดสร้างภาพ (ศัพท์บาลีใช้คำว่า “มญฺญมาโน”ภาษาไทยแปรว่า  “สำคัญ” ฉบับอังกฤษใช้คำว่า imagining แปลว่า “คิดสร้างภาพ” ซึ่งชัดกว่า)  รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ก็ต้องถูกมารมัดไว้  เมื่อไม่คิดสร้าง จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร
........“.....ดูก่อนภิกษุ  เมื่อบุคคลเพลิดเพลินรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่  ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงพ้นจากมาร....
อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑)
ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒
ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕

หัวข้อธรรมที่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยพึงทำความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้น

องค์ประกอบขันธ์ ๕ ขันธ์(ภาษาบาลี) หมายถึงความเป็นกลุ่ม ก้อน กอง(ภาษาไทย) โดยลักษณะ ๕ อย่าง คือ
........รูป คือ ร่างกายที่ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
........เวทนา คือ ความรู้สึกทางกาย สุข ,ทุกข์, เฉย (ไม่ทุกข์ไม่สุข- อทุกขมสุขเวทนา)
........สัญญา คือ ความทรงจำ ความหมายรู้ในความรู้สึก การกำหนดรู้หมายได้
........ สังขาร คือ ความปรุงแต่งสร้างจินตภาพทางจิตใจอาศัยความรู้สึก  และความทรงจำเป็นองค์ประกอบทางความปรุงแต่งทางจิต ไหลไปสู่วจีวาจา ความวิตก  วิจารณ์ ตรึกตรอง  และความปรุงแต่งทางร่างกายอิริยบทอันอาศัยองค์ประกอบภายในจากดิน น้ำ ไฟ ลม  ชีวิตสันตติ
........วิญญาณ คือ สภาพที่เสริมสร้างตัวผู้รู้ให้แก่จิต  ทำให้เกิดเป็นนามรูป สภาพรับรู้อารมณ์ประสาทสัมผัสทั้ง๖ คือตา หู จมูก ลิ้น  กาย ใจ

........องค์ประกอบที่ปรุงแต่งล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยมา ประชุมรวมกัน ณ ขณะหนึ่งๆ เป็นขันธ์สภาพธรรม(สภาวธรรม)  การก่อเกิดซึ่งปฏิกิริยาจิต แปรไปสู่ความชอบ ความชัง(อภิชฌาและโทมนัส)  สาเหตุ็มาจากความถือมั่นยึดมั่น(อุปาทาน) ภายในจิตใจบุคคลภายใน  ซึ่งก่อให้เพลิงทุกข์ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับกิเลสทุกข์ที่สั่งสมมา  เรียกว่า อาสวะอนุสัย

........อาสวะอนุสัย คือ กิเลสทุกข์  ที่์หมักดองก้นบึ้งภายใต้จิตในส่วนที่ลึก โดย ตกตะกอน  สะสมมาจากชีวิตที่ผ่านมาจากชีวิตหนึ่งสู่อีกชีวิตหนึ่ง  ซึ่งสะสมนอนเนื่องอยู่  พร้อมที่จะกระเพื่อมขึ้้นมาสู่พื้นผิวเพื่อปรุงแ่ต่งจิตก่อทุกข์  และพร้อมกันนั้นก็เก็บสะสมเพิ่มได้ทุกขณะ  เมื่อใดที่มีเหตุปัจจัยมาประชุมรวมกันจากการกระทบผัสสะ เมื่อ ตาเห็นรูป  ,หูได้ยินเสียง, จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส กายสำผัสเย็น-ร้อน,แข็ง-อ่อน ฯ  และใจรับธรรมารมณ์

........อุปาทาน คือความยึดมั่นในขันธ์๕ ซึ่งก่อจากอาสวะอนุสัยภายในจิตเป็นปัจจัย จึงมักเรียกรวมกันว่า อุปาทานขันธ์ ๕



ภาพของพุทธบริษัท 4 ซึ่งได้แก่  พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักรห้ำหั่นหมู่มาร จึงน่าจะให้ความหมายได้ดังนี้
ธรรมจักร แยกคำออกได้เป็น ธรรม + จักร
ธรรม , ธรรมะ หมายถึง ธรรมชาติของการกระทบ
จักร หมายถึง สิ่งหรือวัตถุที่มีการเหวี่ยงหมุน หรือหมุนเป็นวง
ธรรมจักร  จึงหมายถึง ธรรมชาติของการกระทบที่มีการเหวี่ยงหมุนเคลื่อนที่อยู่เสมอ  ไม่ติดนิ่งอยู่กับที่หนึ่งที่ใดเพียงที่เดียว พุทธบริษัท 4  จึงควรมีสติตามทันเป็นธรรมชาติของการกระทบที่เคลื่อนที่หมุนวนอยู่เสมอ จากนอก-ใน-นอก-ใน เหมือนการหมุนของจักรจึงจะสามารถต่อสู้กับหมู่มารทั้งหลาย  โดยเฉพาะขันธมารที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ดุจเดียวกับพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักร (ปางแสดงปฐมเทศนา)  ที่ยกพระหัตถ์ทั้งขวาและซ้ายสูงเสมอพระอุระในท่าจีบเป็นวงกลมทั้งสองข้าง  เพื่อสื่อความหมายของการเคลื่อนที่ของจิตที่หมุนวนสัมพันธ์กันระหว่างกาย  (นอก) กับใจ (ใน) จึงจะทำให้กิเลส อนุสัย ลดลง
ได้

เขียนโดย kamaphirato   ที่ 17:24   

ที่มา
http://jareungdhumtudong.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ