ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
881  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: หลวงปู่ทองสี ปัญญวฺโร พระที่มีอายุยืนอีกรูปหนึ่ง 109 ปี เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 07:35:29 pm
พระที่ อายุยืนถึง 128 ปี นอกจากหลวงปู่สี ฉันทสิริ แล้วยังมีมากกว่านี้อีกมั้ยครับ
ในสมัยพุทธกาลก็มีพระพากุละเถระ อายุถึง 162 ปี รองลงมา พระอานนพระกัสปะ ประมาณ 120 ปีครับ

และต้องบุญด้วยอะไรครับ และสามารถปรับเข้ากับแนวคิดปัจจุบันได้อย่างไรครับ



ธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน [ทุติยอนายุสสสูตร]

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 36 หน้าที่ 267

๖. ทุติยอนายุสสสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้น และอายุยืน
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลย่อมไม่กระทำความสบายแก่ตนเอง ๑

ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑

บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑

เป็นคนทุศีล ๑

มีมิตรเลวทราม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลย่อมเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑

รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑

บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑

เป็นผู้มีศีล ๑

มีมิตรดีงาม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน
จบทุติยอนายุสสสูตรที่ ๖

ธรรมวาทะของพระพากุละ


ผู้ผลัดวันประกันพรุ่ง ย่อมทำลายเหตุแห่งความสุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง บุคคลพูดอย่างไรพึงทำอย่างนั้น อย่าเป็นคนพูดอย่างทำอย่าง เพราะบุคคลผู้พูดอย่างทำอย่าง ผู้รู้ย่อมดูหมิ่นได้

พระนิพพานอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี คือ กิเลส เกษม (ไม่ถูกกิเลสรบกวน) ดับความทุกข์ทั้งสิ้น เป็นสุขที่แท้จริง
882  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ พิชัย ฐิติลาโภ อายุ ๑๐๘ ปี เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 07:33:02 pm
พระอาจารย์เขาหงส์
(หลวงปู่ พิชัย ฐิติลาโภ อายุ ๑๐๘ ปี) โดย ณ เขาหงส์

บทนำ พระอาจารย์เขาหงส์
หลวง ปู่พิชัย ฐิติลาโภ แห่งสำนักสงฆ์เขาหงส์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ชื่อนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก หลวงปู่ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา อารมณ์ดี แจ่มใสอยู่เสมอ และมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๘ ปี โดยที่สุขภาพท่านยังแข็งแรง ลุกเดินได้อย่างปกติ พูดจาคล่องแคล่ว ความจำเยี่ยม ทุกคนที่พบท่านต่างพูดเหมือนกันว่า ไม่น่าเชื่อเลยว่าท่านจะมีอายุถึง ๑๐๘ ปี ส่วนใหญ่ต่างคิดว่าน่าจะอยู่ราว ๗๐ ปี จนบ่อยครั้งเข้าหลวงปู่จึงต้องนำหลักฐานยืนยันวันเดือนปีเกิดมาให้ดูกัน และติดอยู่ที่วัดจนถึงทุกวันนี้ และหลวงปู่ท่านยังมีชื่อที่เรียกหากันอีกมาก ดังเช่น

หลวงตาฮาวาร์ด
ชื่อ นี้เป็นที่รู้จักกันมาก เนื่องจากได้มีหนังสือพิมพ์ วารสารหลายฉบับ จนถึงรายการโทรทัศน์ได้นำไปเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกันมากในเรื่องของการใช้ ยาทั้งสมุนไพรโบราณ ทั้งแผนปัจจุบัน ที่หลวงปู่นำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทุกวันนี้มีผู้คนทั้งไทยและต่างชาติ ทั้งฝรั่ง ยุโรป อเมริกา จีน สิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง มาหาหลวงปู่มากมาย ซึ่งท่านก็พูดคุยได้รู้เรื่องทุกคน เนื่องจากหลวงปู่พูดได้หลายภาษา โดยท่านศึกษามาตั้งแต่ตอนเป็นฆราวาสจนเป็นดอกเตอร์จบจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จึงเป็นเหตุที่มาของฉายานี้ ซึ่งในภายหลังท่านบอกให้ปลี่ยนเป็น “หลวงตาฮาวัด” แทน

พระอาจารย์ในดง
ชื่อนี้ลูกศิษย์ลูกหาหลายคน ใช้เรียกมาเป็นเวลาหลายสิบปี และเคยมีการเขียนถึงในหนังสือหลายเล่มจนเป็นที่กล่าวกันว่า ผู้ใดพบพระอาจารย์ในดง ผู้นั้นได้พบขุมวิชาแห่งสำนักวัดมะขามเฒ่า ซึ่งผู้ที่จะพบได้นั้นต้องมีมานะพากเพียร ธุดงค์เข้าป่าไปด้วยความตั้งใจเท่านั้น จึงจะได้พบซึ่งจะได้รวบรวมเรื่องราวทั้งหลายนี้มาเผยแพร่ในตอนต่อๆไป

อาจารย์ดำ หลวงปู่ดำ
เนื่อง จากหลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปงานพิธีต่างๆ และพุทธาภิเษกอยู่บ่อยครั้งซึ่งท่านจะบอกลูกศิษย์ทั้งหลายว่าไม่ต้องมาดูแล ท่านจะไปเอง กลับเอง ไม่ต้องเป็นภาระกับใคร ดังนั้นเองเมื่อท่านไปถึงงานจึงไม่มีใครรู้จักซึ่งท่านก็จะหลบพักผ่อนอยู่ ตามลำพังจนถึงเวลาปลุกเสกท่านจึงจะเข้าไปนั่งปรกจนเสร็จแล้วลุกกลับออกจาก งานทันที จะไม่นั่งอยู่จนจบพิธี ดังนั้นเอง ผู้จัดงานทั้งหลายและโฆษกงานก็ดีจึงไม่รู้จักท่าน ไม่รู้ว่ามายังไง เมื่อไร และชื่ออะไร จึงต่างก็เรียกท่านตามรูปพรรณสัณฐานว่า อาจารย์ดำ หลวงปู่ดำ บางครั้งเรียก หลวงพ่อใหญ่ ก็มี

ท่านเจ้าคุณ พระสุนทรธรรมรส
ใคร จะคิดว่า หลวงตาแก่ๆ รูปหนึ่งจะเคยมีศักดิ์เป็นถึงท่านเจ้าคุณ รองเจ้าคณะ 1 แห่งวัดสุทัศน์เทพวราราม วัดใหญ่กลางกรุงนี่เอง แต่ในสายวัดสุทัศน์แล้วมีพระผู้ใหญ่หลายรูปเดินทางไปกราบพบหลวงปู่อยู่บ่อย ครั้ง เนื่องจากในสมัยที่ท่านเป็นพระสุนทรธรรมรสนั้น ก็ได้ชื่อว่า เป็นพระนักเทศน์ นักธรรม เป็นปราชญ์แห่งธรรม ซึ่งนั่นก็ลุล่วงมาร่วม 50 ปีแล้ว (ท่านจำพรรษาอยู่วัดสุทัศน์ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-2511ทั้งสิ้น 18 พรรษา) ก่อนออกธุดงค์ไป จนกล่าวได้ว่า หลวงปู่เป็นปรมาจารย์ผู้อาวุโสสูงสุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในสายสำนักวัดสุทัศน์ และได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกครั้งสำคัญๆ ในสมัยนั้นด้วย
แต่เมื่อถามหลวง ปู่ว่าชื่อฉายาที่มากมายนี้ท่านชอบให้ลูกศิษย์เรียกชื่อไหนท่านจะยิ้มและตอบ ว่า เรียกพระอาจารย์เขาหงส์สิดี และนั่นจึงเป็นที่มาของฉายา “พระอาจารย์เขาหงส์”




เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ วารสาร รายการโทรทัศน์ ได้เผยแพร่เรื่องราวของหลวงปู่ในนามของ “หลวงตาฮาร์วาร์ด” ผู้ชำนาญในการใช้สมุนไพรโบราณและตัวยาในแผนปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่มาของฉายานี้ก็มาจากเมื่อครั้งก่อนบวชนั้นท่านได้สำเร็จการศึกษาสูง สุดในระดับปริญญาเอก หรือเป็นด๊อกเตอร์ที่จบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนั่นเอง ซึ่งต่อมาได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมี สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้ศึกษาวิชาพุทธาคมในสายหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า โดยมีองศ์หลวงปู่ปลื้มผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิตของหลวงปู่ศุขเป็นผู้ฝึกสอน ให้โดยตรง และหลวงปู่ปลื้มผู้นี้เองที่เป็นผู้สร้างวัตถุมงคลพระเครื่องต่างๆ ให้แก่องค์หลวงปู่ศุขในขณะนั้น และเป็นสมภารเจ้าผู้ครองวัดมะขามเฒ่าในเวลาต่อมา

ที่มา
http://www.pantown.com/board.php?id=35272&area=4&name=board16&topic=1&action=view
883  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: หลวงปู่ทองสี ปัญญวฺโร พระที่มีอายุยืนอีกรูปหนึ่ง 109 ปี เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 07:31:59 pm
พระที่มีอายุยืน ๆ มีอายุมาก ๆ นั้นควรสนใจสอบถามธรรมกับท่าน ว่าท่านมีเคล็ดลับอย่างไร

ที่มีอายุยืน โดยเฉพาะองค์ไหน ถ้าไม่มีโรคเบียดเบียนด้วยยิ่งควรจะสอบถาม ให้มาก


884  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / กับบรรยากาศอีกที ที่เห็นพวกหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ร.พ. มักจะไปกัน นะ เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 05:58:29 pm








ก็เป็นอีกสถานที่ มีการฝึกอบรมธรรม ประจำเดือน ที่มีผู้ไปกันพอสมควร

ศูนย์ปฏิบัติธรรมเมืองอริยะ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
885  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / สถานที่มีสัปปายะ เงียบสงบ เก็บตัวที่ดี อีกที เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 05:53:42 pm














ขอบคุณภาพจาก
http://www.klongdigital.com/webboard3/47039.html



รำลึกถึง ความสะงัดที่นี่ มีพระที่ตั้งใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หลายรูป
เอาจริง เอาจัง ในการฝึกฝน เพื่อเส้นทางพระนิพพาน

ก็แนะนำใน ฐานะศิษย์สวนโมกขพลารามเก่า ก็แนะนำท่านที่สนใจภาวนากันไปที่นี่ได้

 :25:

886  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ความสงัด และ สงบ กับ สัปปายะที่วัดถ้ำซับมืด เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 05:41:17 pm















้ถ้ำซับมืด วันนี้ ไม่มีหลวงปู่ทา แล้ว คงมีแต่วัดที่ท่านสร้างเอาไว้ ให้เป็นที่พักพิงของศาสนิกชน

ที่สนใจแสวงความวิเวก แนะนำเพราะอยู่ไม่ไกล จากที่วัดยืนมองออกไปจะเห็น ลำตะคองกว้างไกล

น้ำสะท้อนกับแสงแดด ระยิบ ระยับ




โพสต์รำลึก ถึง หลวงปู่ทา วัดถ้ำซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
887  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ควรแบ่งเวลา อย่างไรในการทำสมาธิ ครับ ที่จะภาวนาได้ผล เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 09:42:37 am
พระสูตร เป็นข้อปฏิบัติแบบเอาจริง เอาจัง เลยนะ สำหรับคนที่ทำงานอยู่ก็จักไม่ได้ตามนั้น

แม้พระสงฆ์ ที่ปฏิบัติกิจวัตรอยู่ตามนั้นก็ยังทำตามไม่ได้

ต้องเป็นพระภิกษุ ที่ปลีกวิเวก จากหมู่คณะ เท่านั้น ที่จะสามารถทำได้อย่างนี้

   ดังนั้นในครั้งพุทธกาล  เมื่อภิกษุทั้งหลาย เรียนหลักธรรมและกรรมฐาน อันสมควรแก่ฐานะ แล้ว ก็จะพากัน
กราบลา อุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อปลีกวิเวก ในป่า ที่โคนไม้ เรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฏ เป็นต้น เพื่ออาศัยวิเวก

 ความสงบ ความเงียบ ความสงัด แม้ผู้ปฏิบัติได้แล้ว ย่อมไม่มีผล

 แต่ สัปปายะเช่นนี้ กับมีความสบายแก่ ผู้ปรารถนาจากวิราคะ และ มีกรรมฐาน เบื้องต้นที่ได้แล้ว

  หากยังปฏิบัติ กรรมฐานในเบื้องต้น ยังไม่ได้ การปลีกวิเวกนั้น จักทำให้ฟุ้งซ่านได้

  ความฟุ้งซ่าน นี้สำคัญมาก เพราะหากจิตฟุ้งซ่านมาก ๆ แล้วย่อมทำให้ เป็นบ้า วิกลจริตได้


 เมื่อครั้งอาตมา เดินทางไปสวนโมกขพลาราม ในครั้งนั้นได้มีพระขอไปด้วย 1 รูป ท่านก็ไปอยู่ที่นั่นได้ 3 เดือน

ท่านก็ว่าตัวท่านปฏิบัติ ได้สำเร็จแล้ว ท่านเดินแก้ผ้า ไปทั่ว จนเขาต้องจับท่านส่งโรงพยาบาล บ้า อันนี้ที่เล่าให้ฟัง

เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะพระอาจารย์ก็เคยผ่านสภาวะเช่นนั้นมาแล้วเหมือนกัน ความเงียบย่อมเป็นอุปสรรค

กับบุคคลผู้มีจิตยังไม่ตั้งมั่น แต่พระอาจารย์ ใช้การเดินให้เหนื่อย เพลียหลับ อย่างนี้ แต่ก็บอกตรง ๆ ว่าการเดิน

จาริก 9 เดือน ไม่ได้ดับกิเลสได้จริง เพียงแต่ ข่มกิเลส ไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งตอนนั้นพลาดเรื่องการฝึกจิต

ให้เป็นสมาธิ เน้นแต่วิปัสสนามากเกินไปทำให้ จิต ไม่มีความแข็งแกร่ง วันนี้ย้อนหลังไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

 พระอาจารย์ จึงเข้าใจ และ ปฏิบัติในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ แล้ว เจริญ

วิปัสสนา จึงทำให้เกิดความเ้ข้าใจ ต้องลองทำ ถึงจะรู้ พูดให้ฟัง ก็คงเข้าใจอยาก เพราะสมมุติบัญญัติ ไม่สามารถ

อธิบาย ปรมัตถ์สัจจะ ได้ครบ


   เอาเป็น ว่า สั่งสม สมาธิให้มากไว้ จะดีกว่า สั่งสมปัญญา ฝ่ายเดียว

    ทีนี้ จิต จะเป็น สมาธิ ได้ ก็มาจาก ศีล เป็นผู้สนับสนุน ด้วย

    พิจารณา ให้ดีแล้ว ศีล ไปสู่ สมาธิ   สมาธิ ไปสู่ ปัญญา ทั้งสามสิ่ง ขาดกันไม่ได้

   ในการจางคลายจาก กิเลส


     ;)
888  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เกี่ยวกับนิวรณ์ ถึงแม้เรารู้ว่า นิวรณ์ นั้น ๆ เกิดขึ้นเราควรกำจัดนิวรณ์... เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 09:29:22 am
สำหรับ พระสูตรบทนี้ พออ่านเสร็จท่านทั้งหลาย ก็จะเข้าใจความสำคัญใน กัลยาณมิตร ทันที

 หากกำลังจิต ของเรายังไม่พอที่จะดับนิวรณ์นั้นได้ ก็ควรเข้าหา กัลยาณมิตร คือ ครูอาจารย์

ผู้ปฏิบัติได้ ให้ช่วยแนะนำ หรือ ช่วยในการภาวนาในเบื้องต้น ( ย้ำว่าเบื้องต้น ) เพราะว่า การฝึก

ภาวนานั้น จะยากในขั้นที่ 1 เท่านั้น พอได้แล้ว ก็สามารถปฏิบัติไปได้ เหมือนทางน้ำที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง

น้ำย่อมไหลไปได้สะดวกฉันใด จิตที่ปราศจากนิวรณ์ แล้ว แม้เพียงชัวขณะหนึ่ง ก็ย่อมเปิดดวงตาเห็นธรรม

ได้ฉันนั้น เช่นกัน

เจริญพร
889  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ่จะ.......ทำไม ? เรื่องประจำเมื่อฉันขึ้นรถ Taxi เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 04:38:20 pm
อากาศ กลางวัน ก็กำลังร้อนเพราะแดดกำลังส่อง ความร้อน ก็ทาบทับ มาบนพื้นผิว

กระทบกับจีวรของพระ ที่ต้องห่มคลุมทั้งร่าง เหงื่อภายในกาย ก็เริ่มหยดเพราะแดดส่อง

ควันจากไอเสีย ที่วิ่งผ่านไปทิ้งไว้ รู้ชัดเลยถึง บรรยากาศรอบตัวว่า ไม่ดีเสียเลย

  สำหรับ พระบ้านนอกองค์หนึ่ง ที่กำลังยืนตากแดดรอรถ จะได้อาศัยชายคา ร่มไม้

ในเขต กทม. นี้ช่างยากเสียเหลือเกิน ทำให้อดประหวัดนึกถึง ที่อยู่ก่อนจากมา มีทั้งร่มเงา และ ใบไม้

แถมอากาศที่แจ่มใส

  หลังจากยืนอยู่อึดใจใหญ๋ ก็ได้รถ Taxi คันหนึ่งเป็นพาหนะ เืพื่อไปส่งจุดหมายปลายทาง

ระหว่าง นั้นรถคันหน้า ก็จอดรอเลี้ยว เสียงบ่น แบบ เกรงใจ ก็หลุดออกมาเบา ๆ ว่า

  "แม่...จะจอด จะเลี้ยว ก็ไม่ดูชาวบ้าน เลยนะ"

  พอบ่นเสร็จ ก็เป็นจังหวะเดียวกับพระ ก็หันหน้าไปมอง ในขณะที่คนบ่นก็หันกลับมามองพระ

 พระจึงกล่าวว่า

  "แผ่เมตตา ให้เขาเถอะโยม อย่าไปถือสาเลย เขาไม่ได้ยินเราบ่นหรอก"

  เงียบ เหมือนได้ผล คนขับ Taxi เงียบไปเหมือนซาบซึ้งในรสพระธรรม

  สักพักหนึ่ง ก็มี มอร์เตอร์ไซค์ขับเข้ามาและแซงแบบปาดไป ในจังหวะที่รถ ค่อยเคลื่อนตัว

  "แม่... จะรีับ ไปตาย ที่ไหน วะ" เสียงรอบนี้รู้สึกว่าจะหนักกว่า รอบแรก

  ---------------------------------------------------------------

  ถ้าจะเขียนให้อ่านต่อไป ก็จะเหมือนนิยาย น้ำเน่า ทุกเรื่อง ที่คนอ่านสามารถ เดาบทจุดจบได้ว่าเป็นอย่างไร

ดังนั้น จึงเลิกเขียนตอนนี้ กลับมาเรื่องที่ควรสนใจ กันหน่อย


   นี่เป็น ตัวอย่าง ของอายุสั้น นะจ๊ะ เพราะอะไร เพราะสนิมอารมณ์ มันเข้าไปอยู่ในใจของใคร ก็ทำหงุดหงิดได้

ทำให้อารมณ์ รับสนิมไว้มาก ๆ ในที่สุด ก็เหมือนจุดจบด้วยอำนาจกิเลส โทสะ เรื่องอย่างนี้มิใช่ ไม่เคยเกิดเพียง

ในปัจจุบัน แต่เ้กิดมา ทุกยุค ทุกสมัย เหลือเกิน.... ที่ผ่านมาหลาย พันศตวรรษ อำนาจกิเลส พวกนี้ก็ยังถูกฝัง

ในปุถุชน โดยไม่ต้องเรียนรู้ เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ เด็ก ๆ รู้จักอยากได้เป็น โดยไม่ต้องสอน ใส่อารมณ์ทำร้ายกัน

เป็นโดยไม่ต้องสอน เพราะรหัสของกิเลส มันฝังอยู่ตั้งแต่กำเนิดกับมนุษย์อย่างนี้ มีเพียงพระพุทธเจ้าผู้เดียว ที่

มาตีแผ่รหัสทั้งหลายเหล่านี้ และ ทำลายกระบวนการของรหัส ทั้งหลายเหล่านี้ ให้หมด ให้สิ้นไป

  สนิมอารมณ์ เป็นคำพูดที่ดี ที่สุด เพราะเหล็กที่เป็นสนิม ปราศจากการดูแล เอาใจใส่ จึงทำให้เกิดสนิม

นานเข้าสนิมก็กัดกร่อน ทำให้เหล็กหมดคุณค่าไปในที่สุด

  ฉันใด ก็ฉันนั้น กิเลสแม้เพียงหน่อยหนึ่ง ถ้าเราปล่อยไว้ ก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจน กิเลสนั้นมันใหญ่ เปลี่ยนแปลง

พฤติกรรม ตัวเราให้เป็น คนเห็นแก่ตัว เข้าสักวัน

  ดังนั้น อยากชวนพวกท่านทั้งหลาย พากันเคาะสนิมหัวใจกันเสียบ้าง สละเวลาสัก 10 - 30 นาที

นั่งหายใจเข้า หายใจออก กำหนด รู้ตามลมหายใจเข้า หายใจออก หรือ ภาวนา พุทโธ สักร้อยครั้ง พันครั้ง

หมื่นครั้ง แสนครั้ง ก็จะช่วยเคาะสนิมเหล่านี้ออกไปได้


  เจริญพร พอได้คุยกันทุกท่าน

   ;)
890  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ต้องการให้พระทำอย่างไร ? เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 04:16:46 pm
เป็นคำถามที่พระอาจารย์ ประสพมาในช่วงเช้ิา นี้หลังจากต้องเดินทางเข้า กทม.

เพื่อดำเนินการเรื่องการจัดทำหนังสือ

  หลังจากเสร็จสิ้น ก็เดินทางกลับ ขากลับ ก็คิดว่ามีเวลาเหลือเยอะตั้งแต่ 11.00 น. ก็เลยคิดว่า กลับแบบ

ธรรมดา คือไม่รีบ ก็เลยไปยืนโบกรถเมล หน้าปากซอย หลังจากยืนรออยู่ตั้งนาน ราว ๆ 10 นาทีมา 1 คัน

ก็โบก ๆ เสร็จ รถคันแรกไม่จอดรับ ( ไม่รู้ทำไม ) ก็เลยต้องยืนรออีก 10 นาที

  คันนี้เขาจอด แต่จอดใกล้จากป้ายที่เรายืนประมาณ 30 เมตร พระอาจารย์ก็เลยรีบ จ้ำแต่ก็ต้องรักษาอาการ

สำรวมไว้ด้วย แต่ก็เดินเร็ว เดินไปได้ประมาณ 10 กว่าเมตร รถก็ออกตัวไม่รอทั้ง ๆ ที่จอดเพราะเราโบก นะนี

  สงสัย จะทำบุญไม่ดี รถออกไปแล้ว ก็เลยต้องยืนรอต่ออีก 10 นาทีปรากฏว่า คันที่ 3 ก็ไม่จอด ป้ายนี้ก็มี

แต่พระยืนอยู่รูปเดียวซะอีก ในที่สุด ......

  ก็ต้องไปแบบไม่ธรรมดา อีก นั่งรถแท๊กซี่ แทนก็แล้ว กัน ( เอ ถ้าเราไม่มีปัจจัย จะทำอย่างไรเนี่ย )


   ก็เลยมานั่ง ถามตัวเองในใจ ว่า ในยุคนี้ คุณโยมต้องการให้พระสำรวม หรือ ต้องการให้พระไม่สำรวม

   ต้องการให้พระวิ่ง ขึ้นรถ แบบชาวบ้าน ใช่หรือป่าว ?

   ยังไงกันเนี่ย ไม่สำรวมก็ว่า สำรวมก็ไม่ชอบ .......

 ;)
891  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: อะไรเอ่ย คนซื้อไม่อยากใช้ คนใช้ไม่ต้องซื้อ ? เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 04:04:50 pm
ถือได้ว่าเป็น เรื่อง คำถามที่เตือนสติ ได้เป็นอย่างดี

 :25:
892  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:25:50 am
1000 เล่มไ่ม่พอแจก จริง ๆ ตอนนี้สั่งพิมพ์ไป 2000 เล่มแล้ว นะจ๊ะ
เผื่อไว้แล้ว

ส่วนรายชื่อนั้น ปิดรับ แล้วจ้า ถ้าจะร่วมสมทบทุนได้ เพราะใช้กองทุนสำนักงานพิมพ์ด้วย

เพราะถ้ารอต่อไปจะทำให้หนังสือไม่ทันแจกใน ช่วงเทศกาลปีใหม่ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
893  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การเจริญ วิปัสสนา จำเป็นต้องได้ ฌาน หรือป่าวครับ เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:23:26 am
ขึ้นอยู่บารมี ธรรม ที่สั่งสมถ้าเป็น อุคติตัญญู แล้วก็ไม่จำเป็น

  แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรจะต้องได้ อุปจาระฌาน  ขึ้นไป

  ขณิกะสมาธิ ไม่เหมาะกับ บุคคลทั่วไปในการตัดกิเลส กำลังไม่พอ


  เจริญพร

   ;)
894  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:18:21 am
สัมมาสมาธิเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป

บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่ ผุ้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ๑ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
895  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:15:25 am
การอธิฐานสมาธินิมิต
   พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
      เวลาเช้าไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเที่ยงไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเย็นไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟ้อ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น ฉันใด
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ไม่ควรบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      เวลาเช้า   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเที่ยง   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเย็น   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
      เวลาเช้าจัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเที่ยงจัดแจงการงาน   โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเย็นจัดแจงการงาน   โดยเอื้อเฟื้อ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ฉันใด
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมควรที่จะได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุให้ทวีขึ้นไป ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      เวลาเช้า   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเทียง   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเย็น   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบไปด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล สมควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
การกำหนดไว้ในใจในการประกอบอธิจิต
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      สมาธินิมิต
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      ปัคคาหนิมิต
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      อุเบกขานิมิต
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่  สมาธินิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความเกียจคร้าน
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ ปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความฟุ้งซ่าน
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองไส่ลงในเบ้า แล้วสูบเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูเสมอ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เพ่งดูทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือช่างทอง สูบทองนั้นเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูทองเสมอ ๆ เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง เครื่องประดับหู เครื่องประดับทอง หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใดฉันนั้นก็เหมือนกันแล
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      สมาธินิมิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      ปัคคาหนิมิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      อุเบกขานิมิต
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจแต่เฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเพื่อให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นโดยชอบสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องไม่เสียหาย ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ ดังนี้แล
อธิบายความหมายของคำ
นิมิต       เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญธรรมกรรมฐาน
 ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน ภาพที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
สมาธิ    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง จิต ภาวะที่จิตไม่ซ่านไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ปัคคาหะ   การยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันท์ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริย วิริยินทรีย์ วิริยะพละ สัมมาวายามะ    วิริยสัมโพชฌงค์
อุเบกขา   ความไม่ซ่านไปในอารมณ์ ในอดีต ในอนาคต ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางกายก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ที่มา จากหนังสือ สมถะ วิปัสสนาจากพระไตรปิฏก โดย พระครูสิทธิสังวร
896  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอคำแนะนำ การเจริญอิทธิบาท 4 กับพระกรรมฐาน มัชฌิมา ด้วยคะ เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:12:45 am
อิทธิบาท ๔
๑.ภิกษุในศาสนานี้เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ
   ปธานสังขาร
๒.เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร
๓.เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔.เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร



เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ถ้าภิกษุทำฉันทให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่าฉันทสมาธิ ภิกษุนั้นทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น มิให้เกิดขึ้น ทำฉันทให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร



เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำความเพียรเป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่าวิริยสมาธิ ภิกษุนั้นทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ประคองความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร



เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิตสมาธินี้เรียกว่า จิตตสมาธิ ภิกษุนั้นทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ประคองความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร



เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ ภิกษุนั้นทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ประคองความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

ที่มา จากหนังสือ สมถะ วิปัสสนาจากพระไตรปิฏก โดย พระครูสิทธิสังวร

897  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:58:20 pm
1.คุณลัดดาวรรณ   คันธา(สาว)
2.คุณสุดาพร  รักการธรรม     
3.คุณทองกร  คลองณรงค์
   (กระรอก)
4.คุณไชยณรงค์ รุกขะเสรณีย์ และ
  คุณบุบผา  รุกขะเสรณีย์     
5.คุณเพลิน  ทองอุ่น           
6.คุณแสงทัศนี คำมี(จุ๋ม)       
7.คุณอุทัย  ปานช่วย (พี่ปุ๊)     
8.คุณสังเวียน-หนูกุน ศรเดช และ
  คุณมะลิวัลย์ ศรเดช(อ้อ)     
9.คุณสนั่น รัตนมัชฌิม และ
  คุณสกานต์  รัตนมัชฌิม     
10.คุณทรากร จิตรอำพัน และ
    ด.ช.รชต จิตรอำพัน       
11.คุณกัญรินทร์  พรมสิทธิพิบูล 

1.นายถนัด สุเมฆะกุล  และ
 นางคำศิน  สุเมฆะกุล       
2.นายธนากร   สุเมฆะกุล     
(คุณวรณัน มั่นคง( เพิ่มชื่อผู้บริจาคร่วม)
คุณปรมากรณ์,คุณเบญจพล ก้อนมณี และ
คุณสายัณฑ์ ภาวงษ์ศักดิ์ )

ขออนุโมทนา กุศลกับทุกท่านด้วย

898  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:56:58 pm
1.คุณประกิจ  ชีพภักดี และครอบครัว                             
2.ครอบครัวกองธนาศิริกุล ครอบครัวนัทธี และ 
  ครอบครัวหนูสวี                 
3.คุณประภาพร  ตั้งตรงไพโรจน์                                           
4. คุณอดิศักดิ์  ศโรภาส                                                                       
5.คุณศิรพงษ์  ศิริจันทร์                                                                   
6.คุณภาณุวัฒน์  กองแก้ว                                                                   
7.คุณศิริขวัญ  เชยพิลา                                                                 
8. คุณสุวิทย์  คุณานุปถัมภ์                                                                   
9.คุณสุภาพร  มงคลแถลง                                                             
10.คุณมาลี  จุลภมร                                                                 
11.คุณอัจฉรา  ศิลาม่อม                           
12.คุณธันยธร  กระบวนรัตน์                                                               
13.คุณพัชรา  ธรรมยุติ               
14.คุณอรรถพล  ธรรมรัตน์       
15.คุณสุจิตรา  บุญเรือง       
16.คุณภควัต  ชัยรังรอง     
17.คุณธนายุ  โคสุวรรณ       
18.คุณเทวัญ ทะวงษ์ศรี       
19.คุณณภัค  โพธิ์เงิน     
20.คุณธนกฤตา  เจริญพานิช     
21.คุณกตภัทร  วงษ์ภัทรกร       
22.คุณจำเนียน  ฉิมพินิจ       
23.คุณจนาพร  ประหยัดทรัพย์
24.คุณศันสนีย์  จิตต์ชัยวิสุทธิ์     
25.คุณดวงพร-คุณฉวีวรรณ โสภาพงค์               
26.คุณศุภวิทย์-ประภาภรณ์ พลชนะ และ
   สุพินประภา พลชนะ           
27.คุณบรรจบ อินทร์บัว และครอบครัว             
28.คุณพิศมัย  ศรีไพโรจน์ และครอบครัว 
29.คุณโศจิรัตน์  ศิรไพโรจน์                   
30.คุณนภัสชัย คุณศศิกาญจน์ สามัคคีนนท์
31.คุณศุภลักษณ์ คุณรัตนชัย  สามัคคีนนท์ 
32.คุณเพียงจิต พันธ์ไชยศรี และครอบครัว
33.คุณสุภาพร ศรีสวัสดิ์                                         
34.คุณสิทธิพร  ศรีมงคล                                     
35.คุณทรายทอง  กู้เกียรติอนันต์
    และครอบครัว           

36.คุณณิชานันท์ จันทร์โพธิ์กลาง
และครอบครัว               
37.คุณกำจัด -สุดาลัย- อ่ำบุญ
   ณรงค์เกียรติ  อ่ำบุญ     
38.คุณอารีวรรณ กลับดี
   และครอบครัว                           
39.คุณวันเพ็ญ -คุณชัยพันธ์
   และครอบครัว           
40.คุณอภิญญ์รวี วิเศษปภาพงศา         
41.คุณพรพรรณ วิเศษสมบัติ               
42.ด.ช.รวิสุต  นรังศิยา                                   
43.ด.ญ.กันต์กนิษฐ์ นรังศิยา             
44.คุณอมรวัจน์ หารัญดา                                 
45.คุณศุณัฏธรียา รัตนวิไล
  และครอบครัว               
46.คุณอัจฉรี  ไวยนันท์                                 
47.คุณอนงพร เพ็ชร์ฤทธิ์
  และครอบครัว         
48.คุณสุภาวดี สัยกิจ         
49.คุณวรัตถ์  สัยกิจ           
50.คุณปรียาศรี  สัยกิจ         
51.คุณนัฏภัค  คำรัตน์         
52.คุณนิตย์ แซ่ฉั่ว           
53.คุณวรสิฐ จารุจินดา
   และครอบครัว           
54.คุณสุภาพร  ภักดีเลิศศิริ                   
55.คุณประกายทิพย์ วงศ์หาญกุล
56.คุณมนวดี เกิดกาญ           
57.คุณวราภรณ์  ภาษาประเทศ 
58.คุณรัตนวรรณ วงศ์วัฒนะ                   
59.คุณอรัญญา  ติกขปัญโญ   
60.คุณสมจิตต์ กิติพงษ์         
61.คุณสุภา โรจน์พูนผล       
62.คุณเยาวลักษณ์  กลิ่นบัว
   และครอบครัว             
63.คุณอมรมาลย์ ศรีขมิ้น                                     
64.คุณอิศรา มีถาวร                                         
65.คุณวิระ  พวงพิกุล                                         
66.คุณสมพร  ประสงค์นิมิตกิจ     
67.คุณปวีณา  วุฒิยานันท์                   
68.คุณเบญจภรณ์  บุญประคอง   
69.คุณพาณี  วีณิน                 
70.คุณเจริญ  วีณิน             
71.คุณนิสากร  หอไทย           
72.คุณสุธาทิพย์  คูณศรี           
73.คุณเครือวัลย์  เขียวขำ         
74.คุณศิริวรรณ  จ้อยใบ           
75.คุณกรองทอง  สินสุริยศักดิ์     
76.คุณปราณี  จันทร์ลาย           
77.คุณวนาเวศน์ ลิ้มตั้ง           
78.คุณฐานิดา  เชื่อมทอง         
79.คุณอัญชลี  กมลวันทนิศา       
80.คุณรพีพรรณ  วิเศษคามินทร์ 
81.คุณกฤษฎี  เชียงโชต             
82.คุณตรงจิตต์  วัชรพรรณ                     
83.คุณศิริกร  ศศินิรัติศัย           
84.คุณนาฤฤดี  ทรงศรีวิสุทธิ์       
85.คุณสุวณี  นาคสัมฤทธิ์         
86.คุณสมพิศ  ญาติภักดี         
87.คุณกัลยารัตน์  ศรีจันทร์       
88.คุณพรรณฉวี  อินทร์เนื่อง     
89.คุณศิรประภา  เพ็ชรกระ                     
90.คุณพรพิมล  บุญรอด           
91.คุณนันทวรรณ  โฉมฉลวย       
92.คุณดวงพร  บุญดีศิริพันธ์       
93.คุณอนัญญา  ขลิบเงิน           
94.คุณเพียงใจ  เขียวต่าย           
95.คุณพัชราภา  ธำรงศรีสกุล     
96.คุณบุญศิริ  พูลสวัสดิ์           
97.คุณอัมพร ฉัตรคุณพาณิชย์     
98.คุณจิตต์เลขา  มลิวรรณ์       
99.คุณสำรวย  สาริกา           
100.ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม         

พระปลัด ขจรศักดิ์  ธมฺมวโร
(วัดดอนไชย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง)

ขออนุโมทนา กุศลกับทุกท่านด้วย



899  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / ดาวน์โหลด หนังสือ ธรรมะ จากวัดท่ามะโอ ลำปาง ได้ที่นี่ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:47:41 am


http://www.wattamaoh.com/home/download.php


ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือธรรมะ (หนังสือแนะนำ)

     หนังสือธรรมะดังต่อไปนี้ ได้รับการแปลหรือรจนาโดยพระคันธสาราภิวงศ์ (พระอาจารย์สมลักษณ์)

 

* หากท่านใดมีความประสงค์จะร่วมทำบุญเพื่อพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน หรือมีความประสงค์จะขอรับหนังสือธรรมะเล่มใด

โปรดติดต่อ พระคันธสาราภิวงศ์ (พระอาจารย์สมลักษณ์)

E-mail : Tamaoh24@gmail.com

* คำแนะนำในการอ่าน/วิธีดาวน์โหลดไฟล์หนังสือธรรมะ

- หากต้องการเปิดอ่านทันที ให้คลิกที่ลิงค์โดยตรง
- แต่ถ้าต้องการดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องเพื่ออ่านในภายหลัง
ให้คลิกขวาแล้วเลือก Save Target As ... ค่ะ

หมายเหตุ : เปิดอ่านไฟล์หนังสือด้วยโปรแกรม Acrobat Reader ค่ะ
ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไม่มีโปรแกรมนี้

ท่านสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ โดย

ติดตามไปตางลิงก์ เลยนะจ๊ะ

( แนะนำให้มีหนังสือ ที่ดี ๆ น่าอ่านหลายเล่ม ที่สำคัญคือ นำมาปฏิบัติด้วยจะดี )
900  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ธรรมคติ ที่ดี ๆ ที่ได้ส่งมาจากเมล เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:44:13 am
ธรรมคติ ที่ดี ๆ ที่ได้ส่งมาจากเมล

ดวงประทีปส่องใจนั้นไม่ใช่ไฟฟ้า ไม่ใช่ไฟที่เป็นวัตถุ แต่เป็น ธรรมะ

๐ "ธัมโม ปะทีโป วิยะตัสโส สัตถุโน พระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นดุจดวงประทีปส่องใจให้สว่างไสว"

๐ เราต้องหาธรรมะควบคู่ไปกับการหาวัตถุ ประพฤติธรรมควบคู่กันกับการดำรงชีวิตในหน้าที่การงาน


901  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วาทะเพื่อกล่อมใจ สาม เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:39:00 am


“ธรรมะ” อยู่ที่ไม่เอ่ยคำพูด
“ธรรมะ”  อยู่ที่มีสติทุกขณะ
“ธรรมะ” อยู่ที่พยักหน้า
หากเจ้ายิ้มออกมาสักครั้ง
นั่นแหละคือ “ธรรมะ”
902  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วาทะเพือกล่อมใจ สอง เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:37:06 am


ขณะที่เจ้าพูดจาทิ่มแทงคนอื่น  คนที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ ตัวเจ้า !
เมื่อนั้นจะยังคงพูดจาเช่นนั้นต่ออีกหรือไม่
นั่นคือการแสดงออกถึงจิตใจดีงามที่มีอยู่ และ นั่นก็คือ “ธรรมะ”


http://www.96rangjai.com/dharma/
903  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วาทะเพื่อกล่อมใจ หนึ่ง เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:35:16 am


เมื่อเจ้าทำดี “ธรรมะ” นั้นก็เป็นธรรมที่เที่ยงแท้
หากจิตใจไม่เที่ยงตรง  กายไม่เที่ยงตรง
วาจาไม่เที่ยงตรง  การกระทำไม่เที่ยงตรง
เช่นนี้ แม้ธรรมแท้ก็อาจกลายเป็นธรรมปลอมได้


http://www.96rangjai.com/dharma/
904  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อร่อยไหมคะหลวงพี่ ( การตูนสั้นมีคติ ) เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:28:12 am


เรื่องนี้ ก็เป็นอีกเรื่อง ที่ดูแล้วเหมือนเป็นเหตุการณ์ ธรรมดา จนพระัเราบางครั้ง ก็ลืม และ เพลิดเพลิน

จนลืมธรรม ในเรื่อง ปัจจเวก ปัจจัย 4 จึงทำให้ หลง ในปัจจัย 4 มีคติธรรมชั้นสูง กล่าวเรื่องการวางจิต

เป็นอนัตตสัญญา ในอายตนะด้วย


เจริญพร การ์ตูน คติธรรม ผู้พัฒนาสื่อ ถ้าร่วมใจกันสร้างสื่อให้เด็ก ๆ รุ่นใหม่เข้่าใจ กันมาก ๆ ก็ดี

905  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ดับไฟ ( การ์ตูนสั้น แต่ มีคติ ) เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:24:21 am


ดับไฟ ถึงแม้เป็น การ์ฺตูนหน้าเดียวจบ อาตมาพิจารณา แล้วมีหลักธรรม ที่สำคัญอยู่่

พิจารณาดูให้ ดีในสถานการณ์จริง ธรรมะต้องใช้ในสถานการณ์จริง จึงจะเป็นธรระที่แท้จริง

ใช้โดยหลัก สมมุติ หรือ คิดไม่ได้ ต้องใช้ภาวนาจริง

906  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กินตับเอื้ออาทร ( จริงหรือไม่ ใครรู้ช่วยแถลง ) เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:19:46 am
กินตับเอื้ออาทร (600x400)
สหายรัก

ตุ๊กแกกับงูเขียวเป็นกัลยานมิตรที่น่านับถือมาก เมื่อตุ๊กแกตับแก่
ก็จะส่งเสียงร้องเรียกให้งูเขียวมาช่วย
ด้วยการกินตับตัวเอง มิเช่นนั้นแล้วตับจะโตจนคับอกตาย
เมื่อ ได้สหายที่ดีอย่างงูเขียวมาช่วยล้วงตับออกไป เจ้าตุ๊กแกก็จะผลิตตับใหม่ออกมา เพื่อดำรงอยู่ต่อไป ทำให้เราได้เห็นสัจจธรรมที่ว่า หากเรามีกัลยานมิตรที่ดีสักคนมาช่วย ทำลายตับคืออวิชชาในตัวเราออกไป เราก็จะไม่ต้องตายแล้วเกิดอีกต่อไป ตับคืออวิชชา ความไม่รู้ ตัณหาความทะยานอยาก อุปปาทานความยึดมั่น หากใหญ่เกินไปก็จะทำลายคนๆนั้นอย่างทารุณโหดร้าย ตายอย่างน่าอนาจ จะมีสักกี่คนในโลกนี้ที่มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม อย่างเจ้าตุ๊กแก ที่รู้ว่าตับแก่ แล้วแสวงหากัลยานมิตรมาช่วย แม้การช่วยเหลือจะดูโหดร้ายรุนแรงไปนิด แต่ทั้งมวลล้วนเป็นการช่วยเหลือด้วยเอื้ออาทร เปรียบกับครูบาอาจารย์ที่เมตตาศิษย์ บางครั้งอาจดูดุดัน โผผาง แต่ในใจล้วนเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม....
จงแสวงหากัลยานมิตร เพราะกัลยานมิตรคือทั้งหมดของพรหมจรรย์ และหากเรารู้ว่าอะไรทำให้เราทุกข์ จงจัดการกำจัดมันเสีย อย่าได้ปล่อยให้มันกำจัดเราก่อนจนไม่มีทางแก้ใขได้
 
 
 
ปล. คุณpalajinหาข้อมูลมาว่า
เพิ่งรู้ครับตอนแรกนึกว่าเป็นรูปงูกำลังจะกินตุ๊กแก
ก็เลยไปหาข้อมูลเรื่องนี้มา ปรากฎว่า เรื่องเป็นอย่างงี้
ตุ๊กแกกินอาหารมากเกินไป แล้วอาหารไม่ย่อยหรือย่อยไม่ทัน
ตุ๊กแกก็จะร้องเสียงดังเพื่อให้งูมาช่วย งูจะเอาตัวรัดตุ๊กแกไว้แล้วเอาหัวมุดเข้าไปในปากตุ๊กแก
เพื่อ "กินอาหารในกระเพาะ" ของตุ๊กแกครับ
แต่ไม่ได้เข้าไปกินตับแน่นอนครับ
ก่อนหน้า: พีตามาแนวใหม่ "เกมหยุดยั้ง KFC ทำร้ายไก่"
ถัดไป: Promotion Net-True 25/09/07
907  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 08:11:09 am
มาบอกความคืบหน้า เรื่องการจัดทำหนังสือ แล้วนะจ๊ะ

ตอนนี้ได้สั่งพิมพ์แล้ว นะจ๊ะ ใครที่บริจาค รับหนังสือได้ตั้งแต่ 18 ธ.ค.53 นะจ๊ะ

ตอนนี้ได้นำต้นฉบับปรู๊ฟ กลับมาแล้ว

เจริญพร
908  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 11:19:54 am

ขออนุโมทนากับสายบ้านอ้อย ( พระอาจารย์นิพนธ์ )

คุณแม่สนิท เทียนเงิน     
คุณครูสนวน รุณคิง           
คุณครูนงนุช  สัมมาพจน์       
พ.อ.อภิวัฒน์ คุณศรีสุดา สุขใจ 
คุณวิลาสินี คุณชนุตาภา สุขใจ   
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม           
คุณพัชรพรรณ วุฒิวงศ์เสรี     
คุณบุณยนุช  สุวรรณ       
คุณเกวลี คุณบวรวิช  สุวรรณ
คุณประทุมทิพย์ บุญมาใสย์   
คุณธัญญรัตน์  บุญมาใสย์     
คุณธนารักษ์  บุญมาใสย์       
คุณอนิรุทธิ์  บุญมาใสย์       
คุณจำรัส ไตรภพ             
คุณแสงเดือน ทรัพย์ประเสริฐ   
คุณอุบล  ควรพินิจ             
คุณสุภาพ  มหาแก้ว           
คุณปณัฏฐา มหาแก้ว         
คุณปัทฐศร  มหาแก้ว       
คุณรุจนโรจน์ มหาแก้ว       
คุณอรัญญา   มาลัย           
ด.ต.ธงไชย คุณศุภณัฐ กลิ่นแก้ว   
ด.ต.สุเทพ คุณยุพา  บุณยเกรียรติ 
1.ด.ต.พิชัย คุณสุดารัตน์  บุณยชาต
2.คุณพิสิษฐ์ คุณนภัสวลัย บุณยชาต 
คุณรุ่งนภา คุณถวัลย์  ศรีวิโรจน์   
1.คุณศรัณย์ คุณวิไล  วรรณสุข และ
2.คุณฐิติการต์ วรรณสุข           
คุณประนอม สอนเผา             
คุณจุไรพร เกิดพลอย             
คุณพฤทธิ์จิกา ทิพยเศวต       
1.คุณแม่ถนอม  สุขใจ และ
2.คุณประไพพรรณ สุขใจ         
คุณภาณุพงศ์ คุณนัฏพร ศิวะสาโรจน์
คุณทัศนีย์ เทียนเงิน และครอบครัว
คุณภรต สัมมาพรต และครอบครัว 
1.พ.อ.อภิวัฒน์ คุณมรกต ทองอยู่ และ
2.คุณวรนันท์ ด.ญ.สุชานันท์ ทองอยู่
909  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / การปฏิบัติธรรมที่ศาลากรรมฐาน วัดแก่งขนุน ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2553 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 10:38:55 am
อ้างถึง
สาธุ สาธุ พระอาจารย์ ไปหรือป่าวคะ

ไม่ได้ไป แต่เอาไว้ คราวหน้า ก็แล้วกัน ...... เนื่องด้วยให้ ลองทำกันดูก่อน

ลองไม่เป็นทางการก่อน

910  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พระยุคลหก นั้น เป็นโสภณจิต ระหว่าง ปีติ และ สุข เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 10:30:06 am
กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธิ
   ความสงบระงับแห่งกาย ชื่อว่า กายปัสสัทธิ ความสงบระงับแห่งใจ ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิ ในสองอย่างนี้ได้แก่ขันธ์สามมี เวทนา สัญญา สังขาร ก็โดยทำคุณทั้งสองอย่างนี้รวมกัน ความสงบระงับแห่งกายและจิต มีความเข้าไปสงบแห่งความกระวนกระวาน ทางกาย และจิต มีลักษณะแห่งความย่ำยีแห่งความกระวนกระวาย ทางกายและ จิต เป็นรส มีความไม่ซ่านและเยือกเย็น แห่งกาย และจิต เป็นเครื่องปรากฏ มีกายและจิต เป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่าเป็นข้าศึกแห่งกิเลส มี อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นต้น อันทำความไม่สงบแห่งกายและจิต
กายลหุตา จิตตลหุตา


   ความเป็นสภาพเบาแห่งกายชื่อว่า กายลหุตา ความเป็นสภาพเบาแห่งใจชื่อว่า จิตตลหุตา คุณสองอย่างนี้มีอันเข้าไปสงบกาย และสงบจิตเป็นลักษณะ มีความย่ำยีความหนักแห่งกาย และจิตเป็นรส มีความไม่เฉื่อยชาแห่งกาย และจิต เป็นเครื่องปรากฏมี กายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่าเป็นข้าศึกต่อกิเลส มี ถีนมิทธะ และความง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น ซึ่งความหนักแห่งกาย และจิต


กายมุทุตา จิตตมุทุตา
ความเป็นสภาพอ่อนแห่งกายชื่อว่า กายมุทุตา ความเป็นสภาพอ่อนแห่งจิต ชื่อว่า จิตตมุทุตา คุณสองอย่างนี้มีอันเข้าไปสงบความกระด้างแห่งกาย และจิต เป็นลักษณะ มีความย่ำยีความกระด้างแห่งกายและจิตเป็นรส มีอันไม่ขัดข้องเป็นเครื่องปรากฏมีกาย และจิต เป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่าเป็นข้าศึกต่อกิเลส ทิฏฐิ และมานะ เป็นต้น อันทำความกระด้างแห่งกายและจิต


กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา
   สภาพควรแก่การงานแห่งกาย ชื่อว่า กายกัมมัญญตา สภาพควรแก่การงานแห่งจิต ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตา คุณสองอย่างนี้มีความเข้าไปสงบแห่งความเป็นสภาพ ไม่ควรแห่งการงาน และจิต เป็นลักษณะมีอันย่ำยีเป็นสภาพไม่ควรแก่การงานแห่งกาย และจิตเป็นรส มีสมบัติอันมีอารมณ์แห่งกาย และจิต เป็นเครี่องปรากฏ มีกาย และจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่าเป็นข้าศึกต่อนิวรณ์ธรรมที่เหลือ คือ กามฉันท์ พยาบาท วิจิกิจฉา เป็นต้น ความไม่ควรแก่กายและจิต เป็นคุณนำความเลื่อมใสในวัตถุ เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เป็นคุณอันนำภาวะอันควรปรับปรุง ในการทำประโยชน์


กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
   ความเป็นสภาพคล่องแคล่วแห่งกาย ชื่อว่า กายปาคุญญตา ความเป็นสภาพคล่องแคล่วแห่งจิต ชื่อว่า จิตปาคุญญตา คุณสองอย่างนี้มีความไม่เฉื่อยชา กาย และจิตเป็นลักษณะ มีความย่ำยีแห่งกาย และจิต เป็นรสมีโทษเป็นเครื่องปรากฏ มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่าเป็นข้าศึกต่อความไม่เชื่อเป็นต้น อันทำความเฉื่อยชาแห่ง กายและจิต


กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา
   ความเป็นสภาพตรงแห่งกาย ชื่อว่า กายุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงแห่งใจ ชื่อว่า จิตตุชุคคตา คุณสองอย่างนั้นมีความตรงแห่งกาย และจิต เป็นลักษณะ มีความย่ำยีเป็นสภาพคดแห่งกาย และจิต เป็นรส มีการไม่หลอกลวงเป็นเครื่องปรากฏมีกาย และจิต เป็นปทัฏฐานพึงทราบว่าเป็นปฏิปักต่อ มายาสาไถ อันทำความโกง แห่งกายและจิต



ช่วงนี้พิมพ์ไม่ทัน ขอยกในหนังสือ สมถะวิปัสสนา เรียบเรียง โดยหลวงพ่อพระครู  มาให้อ่านไปก่อนนะ
911  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก ดินแดนอัศจรรย์ แห่งธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:20:47 pm

เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์ เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่อันเชิญมาจากประเทศเนปาลเมื่อปี 2543 ตั้งอยู่บนลานหินที่มีลักษณะคล้ายกองข้าว ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของภูลังกา สูงประมาณ 563 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีจุดชมวิวดูพระอาทิตย์ขึ้นจากแม่น้ำโขงฝั่งประเทศลาวที่สวยงามมาก เหมาะสำหรับท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว อยู่ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 4 กม.



912  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก ดินแดนอัศจรรย์ แห่งธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:08:50 pm
หลวง ปู่โง่นสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มนั้น เคยสอนศาสนาคริสต์อยู่ที่เกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกา เกิดเบื่อขึ้นมาเลยมาอยู่กับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่วัดป่าบ้านศรีเวินชัย ริมฝั่งแม่น้ำศรีสงคราม ต. สามผง อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ประมาณปี พศ. 2485 ปรารภอยากบวช พระอาจารย์วังจึงจับตัวให้นุ่งขาวห่มขาวเป็น " พ่อขาว " ปรือชีปะขาวถือศีล 8 ทดลองดูใจก่อนว่าจะเป็นนักบวชได้ไหม

หน้าที่ของพ่อขาวในวัดป่าก็คือ รับใช้พระสงฆ์องค์เณรทุกอย่าง หัดหมอบ หัดคลาน หัดกราบไหว้ ล้างถาน ( ส้วม ) ล้างกระโถน ล้างเท้าพระและเช็ดเท้าพระทุกรูปที่กลับจากบิณฑบาต ฯลฯ เป็นงานหนักมาก ต้องทำใจพร้อมที่จะถูกครูบาอาจารย์ดุด่า และประการสำคัญจะต้องท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนานให้ได้หมดอีกด้วย ถึงจะยอมให้บวชได้

หนุ่มโง่นอดีตนักเทศน์นักสอนศาสนาคริสต์สามารถผ่านด่านทดสอบได้สบายมาก เพราะปัญญาไวสมองเปรื่องปราดมาแต่เกิดแล้ว พระอาจารย์วังจึงพาไปบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดนครพนม โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อบวชเป็นพระแล้ว พระอาจารย์วังก็พาออกธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด มีสามเณรคำพันธ์ อายุ 14 ปีอยู่ด้วย ( ต่อมาเป็นพระครูอดุลธรรมภาณ ) ร่วมกับสามเณรอีก 3 - 4 รูป และอุบาสกหรือพ่อขาวถือศีลจำนวนหนึ่งจำไม่ได้ว่ากี่คน ดังนั้นพระอาจารย์โง่นและพระครูอดุลธรรมภาณ ( อดีตสามเณรคำพันธ์ ) จึงเป็นผู้รู้เรื่องพระอาจารย์วังได้ดีที่สุด รู้เรื่องเมืองลับแล เรื่องพญานาคที่ภูลังกาได้ดีที่สุดอีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นเรื่องที่พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่นเล่าให้ฟัง ท่านได้เล่าว่า...

พระอาจารย์วังเป็นชาวจังหวัดยโสธร บวชเป็นพระที่จังหวัดนครพนม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วไปอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ปฏิบัติธรรมภาวนา " พุทโธๆ ๆ " ตามแนวทางของหลวงปู่เสาร์ เอาสมถกรรมฐานก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อให้จิตมีอำนาจแก่กล้าเพราะท่องเที่ยวธุดงค์กันอยู่แต่ในป่า สมัยนั้นชุกชุมไปด้วยเสือสางคางลายดุร้ายเหลือหลาย ถ้าพระธุดงค์กรรมฐานรูปไหนไม่ได้สมาธิไม่ได้ฌาน เสือคาบเอาไปกินแน่ๆ เมื่อชำนาญในฌานสมาบัติแล้วจึงค่อยใช้สมาธิฌานนี้เป็นบาทฐานเจริญวิปัสนาญาณ เอามรรคผลนิพพานเป็นขั้นสุดท้าย

           เรียกวิธีการปฏิบัติธรรมแบบนี้ว่า " สมถยานิก " การปฏิบัติกรรมฐานแนวทางนี้ เป็นที่นิยมชมชอบกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เพราะพระอาจารย์มั่นเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

พระอาจารย์วัง หรือครูบาวัง เชี่ยวชาญในกสิณสมาบัติสำเร็จวิชชาอภิจิตอิทธาภิสังขาร คือ " ฉฬภิญโญ " หรืออภิญญาฤทธิ์ เมื่อมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ท่านชอบอดอาหารครั้งละหลายๆ วัน ออกไปนั่งทำสมาธิวิปัสนาที่ชะง่อนผาบนยอดภูลังกาท้าทายมฤตยู พระเณรเถรชีศิษยานุศิษย์เห็นแล้วก็สยองใจหวาดเสียว พาลจะเป็นลมกลัวท่านจะตกเขาตาย

หน้าผาแห่งนั้นสูงชันลึกลิ่ว มีกระแสลมบนพัดแรงน่ากลัว การนั่งอยู่ที่นั่นถ้าเผลอสติง่วงนอนสัปหงกวูบเดียวก็จะหัวทิ่มดิ่งพสุธา ตกลงไปร่างแหลกเหลวตาย แต่พระอาจารย์วังสามารถนั่งอยู่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งวันทั้งคืนด้วยความปลอดภัยน่าอัศจรรย์ บ่งบอกถึงจิตใจอันกล้าหาญแข็งแกร่งปานเพชรผิดมนุษย์มนา ไม่รู้สึกหวาดกลัวต่อความตายเลยแม้แต่น้อย จิตใจชนิดนี้แหละเรียกว่า " อภิจิต " มีจิตตาภินิหาร สามารถแสดงฤทธิ์ได้ทุกรูปแบบเป็นที่น่าอัศจรรย์

พระป่าบำเพ็ญธุดงค์กรรมฐาน ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นล้วนเก่งกล้าทางสมาธิ ได้ " ฌาน " กันเป็นส่วนมาก แต่ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วได้ตาทิพย์หรือทิพย์จักษุญาณ และอิทธิฤทธิ์ด้วยนั้นมีจำนวนน้อย ดังที่ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโ วัดป่าบ้านตาดได้กล่าวไว้ว่า

" จิตส่งออกรู้อะไรๆ ต่างๆ ด้วยอำนาจสมาธิ หรือทิพยจักษุนั้นจะมีร้อยละ 5 คนก็ทั้งยาก "

อันนี้เป็นการยืนยันว่า ถึงแม้บรรลุอัปปนาสมาธิได้ฌานสมาบัติแล้วก็ตาม มีจำนวนน้อยมากที่ได้อภิญญา 5 ส่วนผู้ที่ได้อภิญญา 5 นั้น จะต้องมี " ปุพเพจะกตะปุญญตา " หรือความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในชาติปางก่อนมาส่งเสริมสนับสนุน จึงจะได้อภิญญาญาณ และที่ได้นั้นก็มีน้อยมากที่จะได้อภิญญา 5 ครบทั้งห้าประการ ส่วนมากจะได้กันเพียงบางประการเท่านั้น

พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นผู้มีวาสนาบารมีฌานลาภีบุคคล สำเร็จกสิณทั้งอิทธิวิธี ( อิทธิฤทธิ์ ) และทิพยจักษุญาณเป็นที่แน่ชัด เพราะท่านติดต่อพูดจาปราศรัยกับพวกเทวดา พวกพรหม และภูตผีปีศาจ นาค คนธรรพ์ หรือลับแลได้สบายมาก แสดงถึงการรู้เห็นด้วยตาใน ( ทิพยจักษุญาณ ) ที่ท่านสามารถนั่งอยู่ที่ชะง่อนผาบนยอดเขาสูงได้ตลอดวันตลอดคืน 24 ชั่วโมงรวดโดยไม่เผลอสติง่วงโงกพลัดตกลงไปถึงแก่มรณภาพนั้น บ่งบอกถึงการใช้ฤทธิ์อภิญญา ( อิทธิวิธี ) รวมถึงที่ท่านสามารถบังคับฝูงเสือโคร่งได้ ท่านใช้ฤทธิ์ทางเมตตาเจโตวิมุติ


ส่วนอภิญญาข้ออื่นๆ อีก 3 ประการนั้น ไม่ทราบว่าท่านจะได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กล้าเดาหรือสัณนิษฐานเพราะกลัวจะเป็นบาปโทษ

หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

ตอนที่พระอาจารย์วังมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาใหม่ๆ นั้น ท่านก็ประสบเข้ากับความลึกลับของวิญญาณอย่างแปลกประหลาด เหตุเกิดในตอนหัวค่ำคืนวันหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์วังนั่งเจริญภาวนาอยู่นั้น มีแสงสว่างสาดเข้ามาในถ้ำเป็นแสงเย็นๆ เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญเข้าใจว่าเป็นแสงสว่าง หรือ " โอภาส " ตามปกติธรรมดาเวลาทำสมาธิมักจะเกิดขึ้นเสมอ

แสงนั้นสว่างไสวแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกรำคาญ จึงได้ลืมตาขึ้นก็ได้เห็นคนนุ่งขาวห่มขาว 3 - 4 คน เดินเข้ามาหาเนิบๆ ดูลอยๆ พิกล แต่ละคนไม่แก่ไม่หนุ่ม รูปร่างหน้าตาเหมือนชาวบ้านทั่วไปแต่ผ่องใสมีสง่าราศีชวนให้สะดุดใจ พวกเขานั่งลงกราบอย่างสวยงามเบญจางคประดิษฐ์ คนที่เป็นหัวหน้าได้เอ่ยขึ้นว่า " ได้เห็นพระอาจารย์วังขึ้นมาอยู่ที่ภูลังกาตั้งแต่วันแรกแล้ว เพิ่งมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนนมัสการในวันนี้ "

ทีแรกพระอาจารย์วังเข้าใจว่า พ่อขาวทั้ง 4 คนเป็นนักปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง ในเทือกเขาภูลังกาอันกว้างใหญ่ พากันดั้นด้นมาเพื่อจะสนทนาธรรมด้วย แต่ก็คิดผิดไปถนัดเมื่อพ่อขาวผู้นั้นได้เล่าต่อไปว่า...พวกเขาไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นโอปปาติกะหรือวิญญษณมาจากสวรรค์แดนพรหมโลก มาบำเพ็ญบารมีแสวงบุญที่ภูลังกา เพราะเป็นสถานที่สงัดวิเวกและศักดิ์สิทธิ์มานานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

พวกเทวดาและพรหมชอบพากันมาเยือนโลก เพราะได้เห็นสถานภาพที่แท้จริงของโลกมนุษย์มีสภาวะ ความทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ทำให้เกิดสลดสังเวชรู้แจ้งในธรรมได้ง่ายกว่าอยู่บนสวรรค์ เพราะบนสวรรค์มีแต่ความสุขสารพัดอันเป็นทิพย์มอมเมาให้หลงเพลิดเพลิน จึงยากที่จะปฏิบัติธรรมให้เห็นแจ้งในความทุกข์

พระอาจารย์วังได้ฟังแล้วก็พิศวงงงงัน เกิดความสงสัยว่าตัวเองฝันไปหรือเปล่า ? ชายทั้งสี่ได้กล่าวอย่างรู้วาระจิตว่าพระอาจารย์วังไม่ได้ฝันไปแต่อย่างใด พวกเขาเป็นพรหมมาพบจริงๆ โดยการแสดงกายหยาบให้เห็นเป็นกรณีพิเศษ เพราะมีวาสนาบารมีเคยผูกพันกันมากับพระอาจารย์วังในอดีตกาลจึงสามารถแสดง กายหยาบให้เห็นได้ตามกฏแห่งกรรมไม่ผิดหลัก " โอปปาติกธรรม " แต่ประการใด

พระอาจารย์วังได้ถามว่า พวกวิญญาณหรือที่เรียกกันตามภาษาบาลีว่า โอปปาติกะนั้นมีกายเป็นทิพย์ที่มนุษย์ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เวลาจะแสดงกายหยาบให้มนุษย์เห็นจะต้องใช้เวทมนตร์คาถาไหม ?

พรหมทั้งสี่ได้กล่าวว่า พวกโอปปาติกะหรือวิญญาณชั้นสูง เป็นต้นว่า เทวดา พรหม ที่มีบุญฤทธิ์หรือเคยสำเร็จอัปปนาสมาธิมาก่อนในสมัยเกิดเป็นมนุษย์สามารถ แสดงกายหยาบได้ ทำที่โล่งแจ้งว่างเปล่าให้เป็นป่าไม้ภูเขาได้ ล่องหนหายตัวได้ แปลงกายเป็นอะไรก็ได้ เมื่อทำไปแล้วก็จะสูญเสียพลังทิพย์ ต้องมีการ " เข้ากรรม " คือรักษาศีลเจริญเทวธรรมและพรหมธรรม เพื่อเรียกเอาพลังอำนาจทิพย์นั้นกลับมาให้เหมือนเดิม

ที่พิเศษพิสดารได้แก่พวกปีศาจต่างๆ ได้แก่ ผีหรือเปรต เช่น มหิทธิเปรตและเปรตอีกหลายจำพวกที่มีฤทธิ์เป็นผีปีศาจดุร้าย แสดงกายหลอกหลอนได้ต่างๆ นาๆ สามารถทำร้ายมนุษย์และสัตวืได้นั้นมีฤทธิ์เดชได้ด้วยผลกรรมเรียกว่า " กรรมวิปากชาฤทธิ์ "

พวกโอปปาติกะหรือวิญญาณต่างๆ ที่มีบุญน้อยและเทวดาบางจำพวกที่มีบุญฤทธิ์น้อย ( แต่มีเทวธรรมดีงาม ) จะแสดงกายหยาบไม่ได้เลย แต่สามารถทำกลิ่นได้ เป็นต้นว่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นธูปเทียน กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหารคาวหวาน และทำให้เกิดเสียงต่างๆ ได้ เช่น เสียงขว้างปาหลังคาบ้าน เสียงพูด เสียงร้องไห้คร่ำครวญ หรือหัวเราะ เสียงลมพายุเป็นต้น แต่แสดงกายหยาบเป็นตัวตนไม่ได้ พวกผีหรือวิญญาณโอปปาติกะจำพวกนี้มีจำนวนมากที่สุดในโลกวิญญาณ

พรหมทั้งสี่ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ภูลังกามี 5 ลูก เป็นเทือกเขาบริเวณกว้างขวางหนาแน่นด้วยต้นไม่ใหญ่น้อย เป็นสวนสมุนไพรนานาชนิด มีโอสถสารวิเศษหายาก มากไปด้วยคูหาเถื่อนถ้ำลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับพิสดาร

ทางโลกวิญญาณได้แบ่งภูลังกาเป็นเขตเป็นภูมิต่างๆ เป็นต้นว่า เขตหรือภูมิของพรหมสำหรับพวกพรหมลงมาบำเพ็ญธรรมในโลก เขตหรือภูมิของพวกพญานาค เขตหรือภูมิของพวกปิศาจอสุรกาย เขตหรือภูมิของพวกลับแล ( บังบดหรือคนธรรพ์ ) ซึ่งเป็นผีจำพวกหนึ่งที่มีกายหยาบใกล้เคียงกับมนุษย์เรียกว่า " อมนุษย์ " ผีลับแลมีคุณธรรมสูงถือศีล 5 เคร่งครัด จะเป็นเทวดาก็ไม่ใช่จะเป็นผีก็ไม่เชิง จะเป็นมนุษย์ก็ก้ำๆ กึ่งๆ ครึ่งๆ กลางๆ เพราะมีบุญฤทธิ์พิเศษล่องหนหายตัวได้ และสร้างภพภูมิของพวกตนเป็นบ้านเป็นเมืองอยู่อาศัยได้ แต่เมื่อถึงคาวพวกลับแลสิ้นกรรม ( หมดอายุขัย ) บ้านเมืองของพวกเขาก็จะหายวับเป็นอากาศธาตุไปทันที ภูตผีปีศาจทั้งหลายมีความยำเกรงพวกลับแลมากไม่กล้าตอแยข่มเหงเบียดเบียน

พระอาจารย์วังพอใจในคำตอบของพวกพรหม จึงได้ถามว่า ที่มาในคืนนี้มีกิจธุระอันใด ?

พรหมทั้งสี่ได้ตอบว่า ถ้ำชัยมงคลที่พระอาจารย์วังมาอยู่นี้ อยู่ในเขตของพวกพรหมที่ลงมาปฏิบัติธรรมอยู่สมอ จึงอยากให้พระอาจารย์วังเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่าล่วงเกินธรรมวินัยเป็นอันขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากพวกพญานาค พวกลับแลหรือบังบด และพวกยักษ์ที่รักษาป่าม้ภูเขาเถื่อนถ้ำ ห้ามฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิด ให้ฉันได้ก็แต่อาหารพรหมหรืออาหารมังสวิรัติ ( อาหารเจ ) เพราะย่านถ้ำชัยมงคลบนภูลังกาเป็นภูมิหรือเขตบริสุทธิ์ของพวกพรหม

พระอาจารย์วังเห็นว่าคำขอร้องนี้เป็นเรื่องที่ดีงาม ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร การไม่ฉันพวกปลาพวกเนื้อของคาวๆ ก็ดีเหมือนกัน ให้พวกศิษย์ที่เป็นพ่อขาว ( อุบาสก ) และสามเณรไปหาหัวเผือกหัวมันในป่ามาขบฉันแบบฤาษีชีไพรก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ ได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร ดังนั้นท่านจึงได้ตอบตกลงที่จะทำตามคำขอร้องของพวกพรหมด้วยความยินดีไม่ขัด ข้อง

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พวกพรหมอีกหลายองค์ได้ผลัดเปลี่ยนกันมาสนทนาธรรมกับพระอาจารย์วังอยู่เสมอ ท่านบอกพระสหธรรมมิกร่วมสมัย เช่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน ว่าเรื่องของพรหมบนภูลังกาเป็นเรื่องลี้ลับพิสดารมาก ไม่อยากจะเล่าให้ใครฟังเลยกลัวเขาไม่เชื่อ หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

นอกจากจะสามารถติดต่อกับพวกพรหมจากสวรรค์พรหมโลก...พระอาจารย์วังยังติดต่อ กับชาวลับแลหรือบังบด หรือคนธรรพ์ได้ ติดต่อกับพวกพญานาคได้ รวมถึงยักษ์หรืออสูรหรือรากษสได้เป็นปกติ เพราะที่ภูลังกาเป็นภูมิหรือที่อยู่ของวิญญษณหลายภูมิดังกล่าวมาแล้ว

เกี่ยวกับพวกพญานาค พระอาจารย์วังได้ตักเตือนพระเณรที่อยู่ด้วยบนภูลังกาในสมัยแรกๆ นั้น ได้แก่ พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์คำ ยัสสะกุลละปุตโต พระอาจารย์วัน อุตตโม สามเณรคำพันธ์ ( ปัจจุบันเป็น พระครูอดุลธรรมภาณ ) สมาเณรสุบรรณ สามเณรใส สามเณรอุทัย มีความว่า...

ภู ลังกาเป็นแดนอาถรรพ์ เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับภพภูมิผีสางเทวดาสิ่งลี้ลับ มีทั้งฝ่ายดีคือ สัมมาทิฐิ และฝ่ายชั่วคือมิจฉาทิฐิ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วได้จับตาดูพระสงฆ์องค์เณรอยู่ตลอดเวลาว่า จะประพฤติผิดศีลวินัยข้อใดบ้าง เรียกว่าเขาคอยจ้องจับผิด ถ้าพบว่าพระสงฆ์องค์เณรรูปใด ทำผิดเป็นอาบัติเขาจะเล่นงานทันที เป็นต้นว่า ทำให้เจ็บไข้อาพาธ ทำให้ถึงพิการหรือตายก็ได้

ฉะนั้นขอให้พระเณรทุกรูปรักษาศีลทุกข้อให้เคร่งครัดตามสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมความนึกคิดให้อยู่แต่ทางบุญกุศล อย่านึกคิดชั่วๆ ลามกจกเปรตคึกคะนองเป็นอันขาด

หลังจากที่พระอาจารย์วังได้กล่าวตักเตือนแล้วได้ไม่กี่วัน ก็ปรากฏมีพวกงูจำนวนมากได้เลื้อยเพ่นพ่านอยู่ทั่วไป เป็นต้นว่า งูเห่า งูจงอาง งูสิงห์ดง งูเขียว งูเหลือม และงูสีสันแปลกๆ งูเหล่านี้เลื้อยเข้าๆ ออกๆ ถ้ำชัยมงคล ทำให้พระเณรหวาดกลัวกันมาก แต่งูก็ไม่ขบกัดใครผู้ใด

พระอาจารย์วังได้บอกพระเณรและพ่อขาวว่า ห้ามทำร้ายงู ห้ามดุด่า ให้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้งุทั้งหลายทุกโอกาสที่พบเห็นหรือเกิดการ เผชิญหน้าอย่างคับขันอันตราย จิตที่เมตตาของเราจะทำให้งุมีความเป็นมิตรไม่ทำอันตราย เพราะงูมีประสาทสัมผัสพิเศษทางใจรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ได้

ในจำนวนงูทั้งหลายที่ปรากฏ มีงูประหลาดตัวหนึ่งชอบเลื้อยเข้าไปหาพระอาจารย์วังในถ้ำ บางครั้งในเวลากลางวัน บางครั้งในเวลากลางคืน เป็นงูใหญ่ขนาดต้นเทียนพรรษาหรือใหญ่โตขนาดต้นหมากทีเดียว ลักษณะแตกต่างจากงูทั่วไป ที่ลำคอพังพานสีแดง จะแผ่พังพานส่ายโงนเงนแล้วผงกคำนับ 3 ครั้ง ......

"ครูบาวัง ฐิติสาโร" หรือ "พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร" แห่งวัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สลับสี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2455 ที่ บ้านหนองคู ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้งหนึ่ง "หลวงปู่โง่น โสรโย" ในฐานะลูกศิษย์ของครูบาวัง ได้เล่าให้ฟังว่า "...การเจริญภาวนาของครูบาวังนั้นเป็นการปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ จริงๆ เป็นที่เล่าลือกันทั่วไปในหมู่พวกสหธรรมิกด้วยกัน ครูบาวังชอบไปนั่งบำเพ็ญเพียรที่ชะง่อนผาอันสูงลิบลิ่วบนยอดภูลังกา ชะง่อนผานั้นกว้างประมาณ 2 ศอก กำลังเหมาะเจาะพอดี เวลานั่งลงไป ถ้าเอียงซ้ายหรือเอียงขวานิดเดียวเป็นต้องร่วงลงไปในเหวลึก หรือถ้าสัปหงกไปข้างหน้าก็หัวทิ่มลงเหวอีกเหมือนกัน"

"การปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ของครูบาวังนี้ เป็นการเอาชีวิตตัวเองเป็นเดิมพันกับความตาย ครูบาวังจะนั่งอยู่บนชะง่อนผามรณะนั้นนานนับชั่วโมง บางครั้งนั่งอยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นการเจริญมหาสติปัฏฐานแบบเจโตวิมุตติ โดยใช้อำนาจของอัปปนาฌานเป็นบาทฐาน เป็นการปฏิบัติแบบสมถกรรมฐานเจือปนวิปัสสนากรรมฐาน เจริญกายคตาสติพิจารณาอาการ 32 นั่นเอง..."

ครูบาวัง มีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่ 3 รูป คือ

1.ท่านเจ้าคุณสังวรวิสุทธิเถระ (หลวงปู่วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

2.พระอาจารย์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

3.พระจันโทปมาจารย์วัดศรีวิชัย ต.สามพง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ทั้งสามรูปล้วนแต่มรณภาพไปแล้ว

ครูบาวัง ละสังขารมรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2496 สิริรวมอายุได้ 41 ปี

ตัวอย่างธรรมคำสอนอันหนึ่งของท่าน คือ "ให้พิจารณาใคร่ครวญ ด้วยปัญญา ให้เห็นแจ้ง ตามความเป็นจริงแล้วอย่ายึดติด ในสมมติที่เราเป็น"
913  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก ดินแดนอัศจรรย์ แห่งธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:05:09 pm


ภู ลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก เกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้กับบึงโขงโหลงและภูวัว ท้องที่จังหวัดหนองคาย เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแพง แต่ในปัจจุบันเป็นพื้นที่ของอำเภอบึงโขงโหลง ใกล้กับอำเภอเซกา ภูลังกาเป็นตำนานอันลือเลื่อง เกี่ยวพันกับศาสนาและคติความเชื่อปรัมปรา

ภูลังกามีความลี้ลับอาถรรพ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องพูดยากอธิบายยากเพราะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่ทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ไม่ได้ แต่ทั้งๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการศึกษาสูงๆ เป็นครู เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และระดับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์จากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยก็ยอมรับว่า เรื่องความลึกลับนามธรรมเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่ต้องรับฟังไว้เพื่อศึกษาพิจารณาค้นคว้าต่อไป จะปฏิเสธเสียเลยทีเดียวไม่ได้

ภูลังกา เป็นตำนานเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ นโมพุทธายะ และเป็นเมืองหลวงของชาวบังบดลับแลอันมีเมืองพญานาครวมอยู่ด้วย และยังเป็นสนามรบกับกองทัพกิเลส ที่กองทัพธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ส่งศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระธุดงค์กรรมฐานทุกรุ่นทุกสมัยมารบราฆ่าฟันกับกิเลส ตัณหาที่ภูลังกาไม่เคยเลิกราจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

พระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของมหาชนที่เคยไปบำเพ็ญเพียร อยู่ที่ภูลังกามาแล้วคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ครูบาวัง ฐิติสาโร พระอาจารย์สมชาย เขาสุกิม พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง พระอาจารย์โง่น โสรโย ฯลฯ

ตามตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นั้นกล่าวว่า กาเผือกได้ตกไข่ 5 ฟองที่ภูลังกา วันหนึ่งเกิดลมพายุใหญ่หอบเอาไข่ปลิวไปตามลม ไข่นั้นได้ตกกระจัดกระจายไปในสถานที่หลายแห่ง ต่อมาไข่นั้นได้ฟักออกมาเป็นพระเจ้ากกุสันโธ พระเจ้าโกนาคโม พระเจ้ากัสสโป พระเจ้าโคตโม และองค์ต่อไปได้แก่ พระศรีอาริยเมตรัยโย ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตอีกประมาณ 750 ล้านปี เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในภัทรกัปนี้ ( ตัวเลข 750 ล้านปี เป็นเพียงสันนิษฐานของปราชญ์ผู้รู้ อย่าได้ยึดเอาเป็นหลักฐานทางประวัติพุทธศาสนา )

และยังมีความพิสดารแถมท้ายอีกว่า กาทั้งหลายไม่กล้าบินผ่านไปจะต้องถูกอำนาจอาถรรพ์ลึกลับที่ภูลังกาเป็นพายุ ใหญ่พัดพากาตัวนั้นให้เซถลาปลิวว่อนไปทางป่าเซกา ( เขตอำเภอเซกาในปัจจุบัน )

ภูลังกาในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อนโน้น เป็นดงหนาป่าทึบกว้างใหญ่ไพศาล ชุกชุมไปด้วยเสือสิงห์กระทิงแรด และโขลงช้างเถื่อน แต่ในปัจจุบันนี้ป่าใหญ่หายไปหมดสิ้นกลายเป็นทุ่งโล่งรกร้างและไร่นา จะพอมีป่าเหลืออยู่รอบๆ ภูลังกาบ้างเล็กน้อยพอเป็นยากระษัยเท่านั้นเห็นแล้วเศร้าใจ

รอบๆ ภูลังกามีวัดป่าตั้งอยู่ประมาณ 10 วัด มีทั้งฝ่ายนิกายและมหาธรรมยุต พระสงฆ์องค์เณรรูปใดถ้าบกพร่องในศีลพระวินัยแล้วจะอยู่ไม่ได้นาน ต้องมีอันเป็นไปเพราะพระภูมิหรือเจ้าที่เจ้าทางแรงมาก

หลวงปู่ตอง ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เล่าให้ฟังว่า มีพระธุดงค์ทรงเครื่องคณะหนึ่งมาจากทางขอนแก่นขึ้นไปแสวงวิเวกอยู่บนภูลังกา ใกล้กับถ้ำชัยมงคล เป็นพวกไม่รู้ประสีประสามีวิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วย เปิดเพลงเปิดเทปกันดังลั่นสนุกสนาน ครองจีวรก็ไม่มีสังฆาฏิเพราะไม่ได้เอาสังฆาฏิมาด้วย หลวงปู่ตองเห็นแล้วได้แต่นึกในใจว่า
“ พระผีบ้าพวกนี้ ไม่ได้ฉันข้าวเช้าแน่ๆ พรุ่งนี้ “

และแล้วก็เป็นจริง เสียงเพลงหมอลำซิ่งจากเทปทรานซิสเตอร์ดังลั่นสนั่นหวั่นไหวอยู่พักหนึ่งก็ เงียบไป เปลี่ยนเป็นเสียงทะเลาะวิวาทกันเสียแล้ว ไม่รู้ทะเลาะกันเรื่องอะไร แล้วก็พากันหอบข้าวของเครื่องบริขารวิ่งลงจากภูลังกาไปคนละทิศละทาง วิ่งกันกระเจิดกระเจิงอย่างคนเสียสติเข้าป่าเข้าดงหลงทางอยู่ในป่าไม่ได้ฉัน ข้าวในวันต่อมา เป็นไปตามที่หลวงปู่ตองว่าไว้จริงๆ เพราะหลวงปู่ตองรู้ว่าเจ้าป่าเจ้าเขาที่ภูลังกาต้องเล่นงานพวกพระกำมะลอ เหยียบย่ำพระธรรมวินัยคณะนี้แน่ๆ เนื่องจากท่านมีประสบการณ์ นี่คือความเฮี้ยน ความอาถรรพ์ของภูลังกา

" ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง " :::::>>
ผู้เขียนรู้จักกับหลวงปู่ตองได้ก็เพราะ ท่านเจ้าคุณพระราชเมธาการ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี วัดโพธิสมภรณ์
( ธรรมยุต ) ได้บอกว่า " ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง
เวลานี้ภูลังกาถ้ำชัยมงคล มีหลวงปู่ตองเฝ้าถ้ำอยู่กับเณรน้อยชื่อเณรเคน หลวงปู่ตองอายุ 66 แล้ว ยังแข็งแรงมีวิชาตัวเบาหรือลูกเบา ท่านแบกปูนหนักถุงละ 25 กิโลกรัม ขึ้นไปสร้างพระเจดีย์บนยอดภูลังกาวันละหลายเที่ยวสบายมาก อยากจะรู้เรื่องลึกลับผีสางเทวดาปีศาจยักษ์มาร หรือเรื่องยาสมุนไพรต้องถามหลวงปู่ตอง ถ้าเป็นพระกรรมฐานปฏิบัติธรรมมีศีลเสมอกันท่านถึงจะเล่าให้ฟัง เป็นฆราวาสญาติโยมชาวบ้านท่านจะปิดปากเงียบ ไม่ยอมพูดเรื่องนี้ ขืนพูดไปก็เป็นความผิดเข้าข่ายอวดอุตริมนุสธรรมถูกปรับเป็นอาบัติ “

นอกจากจะบอกล่าวแล้ว ท่านเจ้าคุณราชเมธากรได้มีเมตตาพาผุ้เขียนไปกราบไหว้หลวงปู่ตองที่ถ้ำชัย มงคลภูลังกาอีกด้วย ก่อนที่จะได้ฟังหลวงปู่ตองเล่าเรื่องเมืองลับแลนั้น มาฟังประวัติอัตโนย่อๆ ของท่านก่อน...
สถานะเดิมของท่านชื่อ ตอง ศรีสาพันธ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 พศ. 2475 ที่บ้านน้ำเที่ยง ตำบลบ้านส้ง ( ซ่ง ) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เรียนหนังสือจบ ป. 4 บิดาและมารดาชื่อนายจอม และนางเภา ศรีสาพันธ์ บิดามารดาได้อพยพครอบครัวหนีความกันดารแห้งแล้งมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้าน โนนสวนปอ อยู่ใกล้บึงโขงโหลง เขตจังหวัดหนองคาย
นายตอง ศรีสาพันธ์ ได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พศ. 2522 อายุได้ 47 ปี บวชเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว บวชที่วัดธรรมทูนุสรณ์ อำเภอบึงโหลง จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์อุ้ม หรือพระครูจันทเขตพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอเซกา เป็นพระอุปัชฌาย์ อำเภอเซกานี้อยู่ใกล้กับบึงโขงดหลง เหตุที่บวชเป็นพระเมื่อแก่เริ่มผมหงอกแล้ว หลวงปู่ตองเล่าว่า

ความจริงท่านได้เลื่อมใสในพระศาสนามาตั้งแต่เป็นเด็กไปวิ่งเล่นในวัดแล้ว ครั้นเติบใหญ่ก็ไม่มีวาสนาได้บวชเพราะฐานะยากจน ต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาหาเลี้ยงชีพแบบปากกัดตีนถีบอยู่ชั่วนาตาปี ต้องผจญกับโลกธรรมต่างๆ มีทั้งสุขและทุกข์

ที่ว่าสุขนั้นก็เป็นความสุขอย่างแกนๆ แห้งๆ ไปอย่างนั้นเอง ความจริงแล้วมันมีความทุกข์เป็นตัวยืนโรง ดุจแผ่นดินเป็นที่ยืนเหยียบของคนเรา ถึงแม้จะหนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้หรือขึ้นไปอยู่บนบ้านมีความสุข ก็ต้องมีเหตุให้ลงมาเหยียบพื้นดิน ทำมาหากินอยู่บนดินอยู่นั่นเอง แม้กระทั่งตายลงก็ต้องเอาศพฝังดินหรือเผาที่กองฟอนบนดิน ชีวิตคนเราทุกคนเกิดมาเป็นเรื่องสมมติทั้งนั้น ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย

           สมมติว่าเป็นตัวเราของเรา พากันหลงในสมมติแข่งกันทำมาหากินไม่รู้จักพอ แก่งแย่งเบียดเบียนกัน ข่มเหงรังแกกัน เข่นฆ่ากันด้วยอำนาจ โลภโมโทสัน สนุกสนานมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขอันไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และแล้วในที่สุดก็ล้วนต้องเน่าเข้าโลง ตายไปเอาอะไรไปด้วยไม่ได้สักอย่าง ร่างกายอันเป็นที่รักยิ่งของตัวเองก็เอาไปด้วยไม่ได้ ตายไปแล้วร่างกายของเราก็ต้องเน่ากลายเป็นอาหารของฝูงหนอนชอนไชกัดกิน น่าขยะแขยงน่าหวาดเสียวยิ่งนัก ใครคนไหนคิดว่าตัวเองรูปสวยรูปงามนั้น แต่พอตายลงไปนอนขึ้นอืดอยู่ในโลงก็ต้องเน่าเปื่อยเละเทะเป็นปลาร้าปลาเจ่า ยังไงยังงั้น

ชีวิตคนเราเกิดมาล้วนหลงผิด ดังที่ทางพระศาสนาได้กล่าวไว้ว่า การร้องเพลงดูไปแล้วเหมือนร้องไห้ การฟ้อนรำเต้นรำดุจเป็นอาการของคนบ้า เสียงหัวเราะเฮฮาอ้าปากเห็นเหงือกเห็นฟันเหมือนอาการของทารกเด็กอมมือใน เบาะ

หลวงปู่ตองบวชในฝ่ายมหานิกายเป็นพระอยู่ในบ้านในเมืองไม่ค่อยจะถือเคร่งใน ธรรมวินัยเท่าไรนัก เป็นที่รู้กันไม่ว่ากันเพราะเป็นพระฝ่ายศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม ไม่ใช่พระป่าปฏิบัติกรรมฐานถือเคร่งในธุดงค์ 13 ข้อ
หลวงปู่ตองบวชมาได้ 3 พรรษา ก็รู้สึกเบื่อหน่ายวัด เพราะพระเณรในวัดไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พลอยทำให้ท่านประพฤติผิดในพระธรรมวินัยไปด้วย พระเณรในวัดมั่วสุมกันสนุกสนานมากกว่าที่จะปฏิบัติศาสนกิจ

ท่านระลึกนึกถึงพระธุดงค์ที่ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในป่า แสวงหาความสงัดเงียบบำเพ็ญเพียรจนได้พบกับความสุขในทางธรรมะ จึงอยากจะทำอย่างนั้นบ้าง เพื่อหาทางหลีกหนีพระเณรในวัดที่ย่อหย่อนธรรมวินัย ท่านได้เดินธุดงค์ไปที่ภูลังกาอยู่ห่างจากวัดไม่ไกลเท่าไรนัก โดยขึ้นทางด้านบ้านดงบัง อยู่ห่างจากถ้ำชัยมงคลออกไปไกลพอสมควร

บนภูลังกามีถ้ำมีเงื้อมผาให้เลือกเอาเป็นที่พักบำเพ็ญภาวนา มีลานหินกว้างเหมาะที่จะเดินจงกรม ดินฟ้าอากาศรื่นรมย์ กระแสลมพัดเย็นสบาย กลิ่นดอกไม้ป่าโชยชื่น บรรยากาศสัปปายะวิเวกเหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมมาก เมื่อขึ้นมาอยู่บนภูลังกาแล้ว หลวงปู่ตองก็ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติธุดงค์ 13 เหมือนพระป่าธุดงค์ทุกประการ นั่นคือ “ กินน้อย...นอนน้อย “

กินน้อย คืออดอาหารฉันแต่น้ำลูบท้อง เป็นการทดสอบกำลังใจตัวเองว่าจะมีความทรหดอดทนขนาดไหน จะสร้างขันติบารมีได้ไหม กลัวเป็นลมตายเพราะอดข้าวไหม ?

นอนน้อย คือจะนอนพักผ่อนเอาเฉพาะตอนกลางคืน ไม่นอนมากนอนเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียรและนั่งสมาธิสงบกายสงบจิตให้จิตได้พักผ่อนเสพเสวยปิติ สุขในวิหารธรรม อันปราศจากนิวรณ์ 5

เมื่อนั่งสมาธิเสพสุขก็มักจะยึดติดเกิดเกียจคร้าน จึงต้องลุกขึ้นเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียรขับไล่ความเกียจคร้าน สรุปแล้วก็คือมีการเดินจงกรมและนั่งสมาธิสลับกันไปทั้งวันและเกือบทั้งคืน

ผลของการทดลองอดอาหารปรากฏว่า สามารถอดได้หลายวัน ในวันแรกจะหิวมาก พอเข้าวันที่สองร่างกายจะปรับตัวเองได้ไม่หิว ฉันแต่น้ำตัวเบาสบายไม่ง่วงเหงาหาวนอนเลย เกิดความขยันหมั่นเพียรอย่างแปลกประหลาด ไม่อยากหลับนอนอยากจะเจริญภาวนาลูกเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นเกิดจากอำนาจสมาธิมันมีปิติแรงมากเป็นปิติในธรรม

และในช่วงนี้แหละที่ทำให้หลวงปู่ตองได้ประสบเข้ากับ “ มิติเร้นลับ “ กายและจิตของท่านที่เป็น “ กายวิเวก จิตวิเวก “ ได้เชื่อมโยงเข้าหา “ โลกวิญญาณ “ หรือโลกอันเป็นทิพย์ คือโลกของภูตผีปีศาจ ยักษ์ มาร นาค ครุฑ คนธรรพ์ หรือบังบดลับแล และเทพเจ้าเหล่าพรหมทั้งหลาย ภาษาของปรจิตวิทยาเขาเรียกว่า กระแสจิตที่เป็นสมาธิอันมั่นคงแน่วแน่ ได้กลายเป็นคลื่นจิตในระดับคลื่นเดียวกันกับกระแสจิตของโลกวิญญาณ สามารถรับและส่ง สื่อความหมายทั้งเสียงและภาพติดต่อกันได้ ( คงจะเหมือนการรับส่งโทรทัศน์ละกระมัง )

มาฟังหลวงปู่ตองเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ ท่านเล่าว่า...

" ตอนนั้นในราว 1 ทุ่ม มืดสนิทอากาศกำลังเย็นสบายๆ อาตมากำลังเดินจงกรมอยู่ที่พลายหินบนภูลังกา เสียงแมลงกลางคืนจักจั่นและแม่ม่ายลองไน ส่งเสียงร้องก้องกังวานไปทั่วทั้งขุนเขา อาตมาแหงนดูท้องฟ้ามืดมีดวงดาวเกลื่อนกลาดมากมายเต็มท้องฟ้าไปหมด ดาวหลายดวงอยู่ใกล้ๆ ดูราวจะเอื้อมถึง เป็นคืนที่น่าดูมาก เบิกบานใจอย่างบอกไม่ถูก

ทันใดนั้น...เสียงจักจั่นและแม่ม่ายลองไนหยุดส่งเสียงกระทันหัน เกิดความเงียบสงบอย่างแปลกประหลาด

ความมืดได้ทวีมากยิ่งขึ้น เดินไม่เห็นทางเดินจงกรม เอ๊ะ! ทำไมมันมืดอย่างนี้ แหงนมองฟ้าก็ยังเห็นดวงดาวดารดาษส่องแสงระยิบระยับ ไม่มีเมฆฝนปิดบังไว้แต่อย่างใด

ขณะที่อาตมากำลังยืนงงๆ อยู่นั้น ก็ได้เห็นแม่ชีนุ่งห่มสีขาวเดินเข้ามาหา มี 5 คน นั่งคุกเข่าลงกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อาตมารู้สึกแปลกใจที่มีแม่ชีบนภูลังกาในยามค่ำคืน ใจคอไม่ดีเลยเพราะไม่มีพระเณรหรือลูกศิษย์อยู่ด้วย กลัวจะเป็นบาปอาบัติถูกตำหนิติเตียน ตอนนั้นลืมคิดไปถนัดว่าในความมืดเหมือนอยู่ในถ้ำอย่างนั้น ทำไมสามารถมองเห็นแม่ชีทั้ง 5 คน ได้ถนัดชัดเจนเหมือนในยามกลางวัน ขณะที่อาตมายืนตัวแข็งทำอะไรไม่ถูกอยู่นั้น แม่ชีผู้เป็นหัวหน้าได้พูดขึ้นว่า...

" หลวงพ่อขึ้นมาปฏิบัติภาวนาบนนี้จะต้องมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถ้าหลวงพ่อย่อหย่อนในพระวินัยจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ มีพระสงฆ์องค์เณรขึ้นมาอยู่บนนี้หลายรูปแล้วแต่อยู่ไม่ได้ "

ตอนนี้อาตมาตั้งสติได้แล้วขนลุกซู่ขึ้นมาเฉยๆ ความรู้สึกบอกว่า ผีแน่ๆ เป็นผีแม่ชี แต่ก็ไม่กลัวเพียงแต่ขนลุกเท่านั้น เพียงแค่นึกรู้สึกขึ้นมาเท่านั้น หัวหน้าแม่ชีก็พูดชี้แจงในทันทีว่า

" พวกเราไม่ใช่ผี หลวงพ่ออย่าเข้าใจผิด พวกเราเป็นพรหม สมัยเป็นมนุษย์เป็นแม่ชีสำเร็จฌาน พรหมไม่มีเพศหญิง พวกเราเพียงแต่แสดงร่างที่เคยเป็นแม่ชีให้ดูเท่านั้น ภูลังกาเป็นแดนบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่จะต้องฉันมังสวิรัติ ขออย่าได้ฉันเนื้อสัตว์ "

อาตมาพูดอะไรไม่ออก ได้แต่ยืนนิ่งฟังจะว่าถูกสะกดจิตก็ไม่เชิง นึกอยากจะถามแต่ไม่รู้จะถามอะไร ในที่สุดแม่ชีลึกลับทั้ง 5 คนนั้นก็ลาจากไป

การมาและการไปสวยงามมาก ย่อตัวลงคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ตัวลอยอยู่เหนือพื้นตอนเข้ามาหา แต่ตอนจะกลับถอยหลังออกไป 3 ก้าว แล้วจึงนั่งคุกเข่าลงกราบลา ตอนลุกขึ้นยืนคล้ายๆ ลอยตัวขึ้นสง่างามมาก ไม่เหมือนมนุษย์ลุกขึ้น

เมื่อแม่ชีทั้งห้าไปแล้ว บรรยากาศอันเงียบงันอาถรรพ์ก็หายไป กลับเป็นปกติเหมือนเดิม จักจั่นเรไรเริ่มส่งเสียง กระแสลมที่หยุดนิ่งก็พัดมาโชยชื่น กลิ่นหอมดอกไม้ป่าพาให้รื่นรมย์ใจ ความมืดมิดคลายไป สามารถมองเห็นทางเดินจงกรมได้เหมือนเดิม

หลวงปู่ตองเป็นคนเชื่ออะไรยาก ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบโต้เถียงเรื่องผีสางเทวดาว่าไม่มีจริง เพราะไม่เคยเห็น ผีมีที่ไหน คนโบราณแต่งเรื่องผีๆ สางๆ หลอกให้คนกลัว เพื่อที่จะได้ปกครองกันง่ายเท่านั้นแหละ

แต่แล้วในที่สุด หลวงปู่ตองก็มาเจอผีแม่ชีเข้าให้ที่ภูลังกา เป็นการเจอผีตอนเป็นพระกรรมฐานเสียด้วย เหมือนถูกล้างสมองครั้งใหญ่ให้หายโง่ ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว เพราะได้เห็นอย่างจะแจ้งกับตา ได้ยินกับหู แถมยังถูกผีแม่ชียื่นคำขาดให้ฉันมังสวิรัติ ถ้าฉันเนื้อสัตว์ต่อไปจะอยู่ภูลังกาไม่ได้ "

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลวงปู่ตองต้องเลิกฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิดตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ นับได้ 17 ปีเข้าให้แล้ว การฉันอาหารมังสวิรัติทำให้จิตสงบเร็วขึ้น การพิจารณาธรรมตามหลักไตรลักษณ์ก็ปลอดโปร่ง เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าแต่ก่อน การทดลองอดอาหารทรมานตัณหาความอยากก็สามารถอดอาหารได้ถึง 1 เดือนเต็มๆ ท่านเล่าถึงตอนนี้ว่า...

วันนั้นทั้งวันนั่งเข้าสมาธิเงียบเชียบไม่ลุกขึ้นเลย จิตมันนิ่งมันติดใจในรสสมาธิ หมูป่าฝูงใหญ่มาหากินใกล้ๆ แล้วมันก็ทะเลาะกันกัดกันอุตลุด อาตมาก็เห็นแต่ประสาทหูไม่ยอมรับเสียง ไม่ได้ยินเสียง รู้เห็นว่ามันกัดกันเท่านั้น แล้วจิตก็วิ่งเข้าไปอยู่ในภวังค์จ่อไป ประสาทหูมันดับไม่ยอมรับเสียง แปลกจริงๆ ดูคล้ายกับว่าจิตไม่ใช่อาตมา จิตเป็นตัวหนึ่งต่างหาก และตัวอาตมาก็เป็นตัวหนึ่งต่างหาก จิตกับตัวเรามันแยกจากกัน เพราะสมาธิมันมากเหลือเกิน

อาตมานั่งเข้าสมาธิอยู่ทั้งวันเหมือนฤาษีเข้าฌาน จะลุกขึ้นในตอนใกล้ค่ำ ฉันน้ำแล้วก็เดินจงกรม การอดอาหารทำได้แต่น้ำต้องฉัน จะขาดไม่ได้ อันนี้เป็นกฏตายตัวสำหรับพระธุดงค์ในป่าที่อดอาหารหลายๆ วัน แต่อย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาดเพราะน้ำช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตเอาไว้

อาตมาบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ที่ภูลังกาหลายเดือน ได้รู้ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ลึกลับหลายอย่างด้วยอำนาจศีล อำนาจสมาธิที่อาตมาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้องพระธรรมวินัย

หลวงปู่ตองกลับไปจำพรรษาที่วัดเดิม วัดตานเทพมงคลใกล้บึงโขงโหลง ได้ดำริขบคิดจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เพื่อจะได้เข้าสู่สายพระกรรมฐานเป็นพระป่าอย่างแท้จริง ครั้นปรึกษากับญาติโยมชาวบ้านก็ไม่มีใครเห็นด้วยเลย ชาวบ้านอยากจะให้อยู่พัฒนาวัดเดิมให้เจริญรุ่งเรือง ถ้าหลวงปู่ตองไปเสียแล้วพระเณรก็จะสึกกันหมดวัดก็จะร้าง

ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่ตองต้องจำใจอยู่วัดนี้ต่อมาถึง 5 ปีเป็นหลักใจให้ชาวบ้าน หนักไปทางพิธีกรรมที่พระสงฆ์องค์เจ้าจะต้องทำ เช่น งานบุญต่างๆ งานบวช งานศพ ฯลฯ ตลอดถึงซ่อมแซมปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลาโบสถ์ วิหาร พัฒนาวัดวาอารามเป็นงานหลัก

เมื่อเห็นว่าได้ทำความเจริญให้วัดนี้มั่นคงดีแล้ว ท่านจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตเข้าสู่สายปฏิบัติกรรมฐานในปี พศ. 2530 แต่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมเพราะญาติโยมยังไม่ยอมให้ท่านไปธุดงค์

อยู่มาคืนวันหนึ่งยังไม่ดึกนัก...ขณะที่หลวงปู่ตองนั่งเข้าสมาธิอยู่ที่กุฏิ วัดตานทพมงคลริมบึงโขงโหลง อากาศคืนนั้นค่อนข้างเย็นจนท่านรู้สึกหนาว มีลมพัดแรงมาจากบึงโขงโหลงจนต้นไม้ใหญ่น้อยเอนลู่ซู่ซ่าเหมือนพายุฝนจะมา ท่านได้เห็นนิมิตในสมาธิเป็นแสงสว่างสีขาวพุ่งปราดข้ามบึงโขงโหลงมาตกลงที่ กุฏิที่ท่านนั่งอยู่

           นิมิตภาพแสงสว่างนั้นได้แปรเปลี่ยนไปเป็นร่างชายคนหนึ่งผมเกรียนคล้ายทิด สึกใหม่ นุ่งขาวห่มขาวกิริยาท่าทางเรียบร้อยสำรวม ลักษณธอุบาสกผู้มีบุญได้เดินเข้ามายกมือไหว้และแนะนำตัวเองว่า

" เราคืออาจารย์วัง อยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกาเวลานี้ เราไปเกิดเป็นพรหมอยู่บนพรหมโลก เราอยากจะให้ท่านไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา "

กล่าวแล้วก็เดินหายไป หลวงปู่ตองได้พิจารณาแล้วเห็นว่า นิมิตนี้เป็นเพียงจิตสังขารปรุงแต่งธรรมดาดุจดังคนเรานอนหลับแล้วฝันไป ไม่ควรยึดถือเป็นเรื่องจริงจัง

ครั้นต่อมาอีกหลายวัน ก็เกิดนิมิตภาพนี้อีกขณะนั่งสมาธิจิตสงบวิญญาณ อาจารย์วังซึ่งเป็นพรหมมาชวนให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคลเป็นครั้งที่สอง แต่หลวงปู่ตองก้ไม่สนใจเพราะถือว่านิมิตต่างๆ เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนานิมิต เป็นเพียงภาพล่อ ภาพหลอก ภาพลวง

ต่อมาอีกประมาณ 15 วัน ก็เกิดนิมิตในสมาธิอีก เป็นภาพอาจารย์วังนุ่งขาวห่มขาวมาหาเป็นครั้งที่ 3 พอมาถึงก็ถามว่า

" ท่านปั้นพระพุทธรูปได้ไหม ? " หลวงปู่ตองตอบในสมาธิว่า " เคยปั้นมาแล้วแต่ไม่เก่ง " นิมิตภาพอาจารย์วังกล่าวต่อไปว่า " เราจะให้ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ไปปั้นพระพุทธรูปหลายองค์ มีเจดีย์ธาตุอยู่บนยอดภูลังกาใส่อัฐิธาตุของเรา แต่เวลานี้เจดีย์ธาตุนั้นได้ถูกคนร้ายใจบาปทุบทิ้งป่นปี้ ค้นหาสิ่งของเงินทอง เราต้องการให้ท่านไปช่วยสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ด้วย "

นิมิตภาพของอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็หายไปอีก คราวนี้หลวงปู่ตองชักเอะใจสงสัย เพราะนิมิตอาจารย์วังมาหาอย่างมีความมุ่งหมายขึงขังจริงจัง เป็นการออกคำสั่งให้ทำเลยทีเดียวบ่งบอกถึงอำนาจบังคับบัญญชาดูน่ากลัว หากขัดขืนเห็นจะเกิดเรื่องเป็นแน่

หลวงปู่ตองจึงได้ออกสืบถามชาวบ้านว่า อาจารย์วังภูลังกามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ได้ความว่า พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นพระธรรมกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาใน สมัยปี พศ. 2480 - 2496...

ท่านเป็นศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และต่อมาได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถระ จึงได้เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ดังๆในสมัยนั้น เช่นพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์สีโห เขมโก พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ เป็นต้น ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า " ครูบาวัง "

ศิษย์สำคัญๆ ของครูบาวัง หรือพระอาจารย์วังมีหลายรูป อาทิ พระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งภูเหล็ก สกลนคร พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พระครูอดุลธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม ( ธรรมยุต ) นครพนม เป็นต้น

พระครูอดุลธรรมภาณเป็นพระเพียงรูปเดียวที่รอดตาย เมื่อคราวเรือล่มในบึงโขงโหลงมีพระกรรมฐานภูลังกาจมน้ำถึงแก่มรณภาพ 3 รูป คือพระอาจารย์ปุ่น พระอาจารย์ทอง และพระอาจารย์ทองดี เรือล่มคราวนั้นเป็นเรื่องโด่งดังมาก ในปี พศ. 2499 ใกล้กึ่งพุทธกาลชาวบ้านเล่าลือกันว่า พญาอือลือผีเงือก ( พญานาค ) บึงโขงโหลง เป็นผู้เอาชีวิตพระกรรมฐานภูลังกา

พระอาจารย์วังเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางกสิณอภิญญา เป็นพระธุดงค์กรรมฐานมีฤทธิ์มาก พระอาจารย์พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวันครั้งนั้นยังไม่มรณภาพเคยเล่าให้ศรัทธาญาติโยมคณะ " ธรรมทานทัวร์ " ฟังเมื่อหลายปีมาแล้วว่า

คราวหนึ่งพระเณรและเถรชีที่ขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูลังกา ได้รับความลำบากกันมากเพราะขัดสนอาหารบิณฑบาตร และยังเจ็บไข้ได้ป่วยอาพาธด้วยโรคภัยไข้ป่าบ้าง แพ้อากาศบ้าง พระอาจารย์วังได้พาลงจากภูลังกามาส่งให้พ้นป่าใหญ่ ปรากฏว่ามีฝูงเสือโคร่งหลายตัวได้ติดตามมาด้วย ทำให้พระเณรเถรและชี ( พ่อขาวแม่ขาว ) หวาดกลัวกันมาก พระอาจารย์วังได้บอกให้พระภิกษุสามเณรตาเถรและแม่ชี พากันรีบเดินไปก่อนส่วนองค์ท่านนั่งลงขวางทางเสือไว้ ฝูงเสือเห็นท่านนั่งก็พากันนั่งลงบ้าง

พระอาจารย์วังทำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง ถ่วงเวลาไว้เพื่อให้คณะพระเณรเถรชีเดินทางพ้นป่าใหญ่ระยะทางสิบกว่ากิโลเมตร ไปถึงหมู่บ้านที่ปลอดภัย ต่อจากนั้นพระอาจารย์วังจึงได้เดินทางกลับภูลังกาโดยมีฝูงเสือติดตามต้อยๆ ไป เหมือนสุนัขที่จงรักภักดีต่อเจ้าของ

พระอาจารย์พุธ ฐานิโย สรุปว่าทำไมฝูงเสือถึงได้จงรักภักดีพระอาจารย์วัง

คำตอบก็คือ พระธุดงค์กรรมฐานอย่างพระอาจารย์วังนั้นมีอำนาจจิตแรงกล้า และโดยเฉพาะมีเมตตามาก จะเข้าสมาธิระดับลึกมากอยู่ทุกวันคืน แล้วแผ่เมตตาไปทั่วทุกสารทิศ อันมีทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทั่วทุกโลกธาตุภพภูมิอันไม่มีขอบเขตเรียกว่า " แผ่เมตตาเจโตวิมุตติ "

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้นคือ ต้องเข้าสมาธิให้ได้ระดับจตุตถญาณ เพื่อให้บรรลุภาวะดวงจิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว เรียกว่า เจโตวิมุตติ ประเภทยังไม่หลุดพ้นอย่างเด็ดขาดเป็นแต่เพียงหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจพลังจิตโดยเฉพาะด้วยกำลังฌาน 4 คือกิเลสทั้งหมดได้ถูกอำนาจอัปปนาสมาธิกดข่มไว้ หรือทับไว้ดุจก้อนหินใหญ่มหึมาทับหญ้าเอาไว้ฉะนั้น ตลอดเวลาที่อยู่ในฌาน 4 นั้นเรียกว่า " วิขัมภนะวิมุตติ "

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติมีอานุภาพมาก เป็นกระแสคลื่นจิตตานุภาพอันชุ่มชื่นเยือกเย็น ภูตผีปีศาจยักษ์มาร เทวดา พรหม คนธรรพ์ นาคและมนุษย์ตลอดถึงสิงสาราสัตว์ดุร้ายทั้งหลาย เมื่อได้กระทบสัมผัสกระแสเมตตาเจโตวิมุตติแล้วจะบังเกิดความรู้สึกชุ่มชื่น เย็นกายเย็นใจ อิ่มเอิบเบิกบาน ปีติปราโมทย์ดุจดังได้เสวยความสุขอันเป็นทิพย์สุดวิเศษ จะมีไมตรีจิตมิตรภาพ รักใคร่เคารพนับถือผู้ทรงศีลที่แผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้น ไม่กล้าคิดทำร้ายแต่ประการใดเลย

พระอาจารย์วังได้มรณภาพไปนานแล้ว ตั้งแต่ปี พศ. 2496 เมื่อนับถึงปี พศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่ตองได้นิมิตพระอาจารย์วังนั้น ก็เป็นเวลายาวนานถึง 38 ปี ทำให้หลวงปู่ตองข้องใจว่า นับตั้งแต่พระอาจารย์วังมรณภาพไป เหตุใดถึงไม่แสวงหาผู้มีวาสนาบารมีให้มาบูรณปฏิสังขรณ์ถ้ำชัยมงคล-ภูลังกา ทำไมปล่อยให้เวลาผ่านมาถึง 38 ปี จึงมาบอกให้ท่านไปบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งๆ ที่ท่านก็เป็นเพียงพระบ้านนอกธรรมดา ไม่มีบุญบารมีอะไรเลย แต่ด้วยความยำเกรงพระอาจารย์วังที่เป็นวิญญาณมาสั่งให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภู ลังกา หลวงปู่ตองจึงจำใจเดินทางขึ้นไปภูลังกา ทำการสำรวจถ้ำชัยมงคลก็ได้เห็นสภาพความเป็นจริงว่า เจดีย์ธาตุบนยอดเขาภูลังกาที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์วังนั้น ได้ถูกพวกคนร้ายใจบาปทุบทำลายพังทลายลงมา เหลืออยู่เพียงฐานเจดีย์เท่านั้น อัฐิธาตุของพระอาจารย์วังตกอยู่กระจัดกระจายในบริเวณนั้น ทำให้หลวงปู่ตองเกิดความรู้สึกสลดสังเวชยิ่งนัก...

"ครั้นเมื่อไปดูที่ถ้ำชัยมงคลก็พบกับสภาพถ้ำที่เสื่อมโทรมเต็มไปด้วยหยากไย่ ใยแมงมุม พระพุทธรูปหลายองค์ที่พระอาจารย์วังปั้นไว้ ได้ถูกคนใจร้ายใจบาปจับกลิ้งไว้กับพื้นก็มี ที่ถูกขุดเจาะทำลายก็มี คนใจร้ายคงค้นหาเหล้กไหลในองค์พระพุทธรูป ยิ่งทำให้หลวงปู่ตองเศร้าสลดใจ

โอหนอ...คนเราทำไมมันถึงได้ใจร้ายต่ำทรามถึงเพียงนี้ กล้าทำลายปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนาไม่เกรงกลัวบาปกรรม นรกมหาอเวจี หลวงปู่ตองได้บอกตัวเองว่า " ถ้ำชัยมงคลก็ดี ภูลังกาก็ดีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ จิตสัมผัสทำให้เราขนพองสยองเกล้าอยู่เป็นระยะ ที่นี่เป็นอาศรมสถานปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์มาตั้งแต่อดีต ไม่สมควรจะปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเศร้าหมอง เราจะต้องบูรณปฏิสังขรณ์ที่นี่ให้สำเร็จจงได้ "

วันนั้นหลวงปู่ตองจึงพักค้างคืนในถ้ำชัยมงคล พอเข้าที่นั่งทำสมาธิภาวนาได้ไม่นาน วิญญาณพระอาจารย์วังก็มาหาอีก ลืมตาก็เห็นหลับตาก็เห็น นุ่งขาวห่มขาวเหมือนเดิม วิญญาณพระอาจารย์วังพูดว่า อัฐิธาตุของเราที่ตกอยู่กระจัดกระจายนั้น เมื่อท่านได้เก็บรวบรวมไว้แล้วก็ให้เอาบรรจุใส่ไว้ในเจดีย์อย่างเดิม ถ้าท่านสงสัยอะไรให้ไปถามพระครูอดุลธรรมภาณ ที่วัดศรีวิชัย บ้านศรีวิชัย อำเภอศรีสงคราม พระครูอดุลฯ สมัยเป็นสามเณรเคยอยู่กับเราที่ถ้ำชัยมงคลนี้

นิมิตภาพพระอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็เดินออกจากถ้ำหายไป

หลวงปู่ตองได้เดินทางไปหาพระครูอดุลธรรมภาณในวันต่อมา เล่าเรื่องทั้งหมดที่ตนประสบให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พระครูอดุลธรรมภาณได้ยินแล้วก็พิศวงงงงันไม่อยากจะเชื่อ ตนเองเป็นศิษย์ก้นกุฏิมาตั้งแต่เป็นสามเณรน้อยจนกระทั่งเป็นพระ อายุพรรษาแก่เท่าถึงวันนี้ยังไม่เคยเห็นวิญญาณพระอาจารย์วังมาหาเลย จึงถามว่า " ท่านตองจำรูปร่างหน้าตาพระอาจารย์วังที่เห็นในสมาธิได้แน่รี ? "

หลวงปู่ตองตอบว่า " ผมจำได้ติดตา "

พระครูอดุลธรรมภาณลุกขึ้น เดินเข้าไปในห้องหยิบเอารูปถ่ายพระอาจารย์วังมาส่งให้หลวงปู่ตองดู ถามว่า " เหมือนรูปนี้ไหม ? "

หลวงปู่ตองได้เห็นรูปถ่ายของพระอาจารย์วังแล้วก็ตะลึง ขนพองสยองเกล้าถึงกับรีบวางรูปถ่ายลง แล้วกราบรูปถ่ายด้วยความเคารพเลื่อมใส เพราะวิญญษณพระอาจารย์วังที่มาหานั้นเป็นคนๆ เดียวกันกับรูปถ่ายนี้ จึงได้กราบเรียนให้พระครูอดุลธรรมภาณทราบตามนั้น พระครูอดุลธรรมภาณได้ฟังแล้วก็อัศจรรย์ใจขนลุกไปทั้งตัว เหลียวซ้ายแลขวาเข้าใจไปว่าวิญญาณพระอาจารย์วังจะต้องติดตามหลวงปู่ตองมา ท่านพระครูอดุลฯ ได้ร้องว่า " ผมขนลุกไปหมดแล้ว ท่านพระอาจารย์วังอาจจะมาอยู่ในห้องนี้แล้วก็ได้ "

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองทำให้หลวงปู่ตองเกิดความเลื่อมใสพระอาจารย์วัง มีความเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยว่า วิญญาณพระอาจารย์วังมีจริง เป็นเทพเจ้าชั้นสูงอยู่พรหมโลกมาวนเวียนอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา ด้วยความห่วงใย ดังนั้นหลวงปู่ตองจึงตัดสินใจมาอยู่ถ้ำชัยมงคลด้วยความเต็มใจเคารพเลื่อมใส ในองค์อาจารย์วังอย่างสุดจิตสุดใจทีเดียว

ขอหยุดเรื่องหลวงปู่ตองไว้ชั่วคราวก่อน จะขอเล่าถึงเรื่องราวพิสดารของพระอาจารย์วัง เมื่อเล่าจบแล้วจึงจะได้เล่าเรื่องหลวงปู่ตองเป็นตอนสรุปส่งท้าย...

พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองฤทธิ์เชี่ยวชาญในกฤตยาคม สามารถพูดได้หลายภาษา เป็นต้นว่า ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน ลาตินอเมริกา จีน ญวณ เขมรและพม่า

เคยมีผู้กล่าวว่าหลวงปู่โง่นเก่งหลายภาษาเพราะสำเร็จ
" อรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ " นั้น หลวงปู่โง่นตกใจมากรีบปฏิเสธเป็นการใหญ่

" อย่าหาเรื่องให้ฉันตกนรก ! ฉันไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ! อย่าได้พูดเป็นอันขาดว่าฉันเป็นพระอรหันต์ ฉันเป็นเพียงพระธรรมดา เป็นหลวงตาแก่ๆ องค์หนึ่ง เหตุที่สามารถพูดได้หลายภาษาก็เพราะศึกษาค้นคว้าหัดพูดหัดเขียนภาษาต่างๆ ด้วยความอยากรู้เท่านั้น "

หลวงปู่โง่นสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มนั้น เคยสอนศาสนาคริสต์อยู่ที่เกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกา เกิดเบื่อขึ้นมาเลยมาอยู่กับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่วัดป่าบ้านศรีเวินชัย ริมฝั่งแม่น้ำศรีสงคราม ต. สามผง อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ประมาณปี พศ. 2485 ปรารภอยากบวช พระอาจารย์วังจึงจับตัวให้นุ่งขาวห่มขาวเป็น &
914  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ทำไม เวลาเจริญ เมตตา แล้ว นึกถึงหน้าคนนี้ทีไร เราแผ่เมตตาให้ไม่ได้คะ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:55:02 pm
การแผ่เมตตา ให้บุคคลที่ เราเกลียดชัง โดยตรงนั้น ไม่ควรทำก่อน

ควรทำจิตให้อ่อนโยน ด้วยอำนาจแห่ง สมาธิ และ ปัญญา ก่อน

ดังนั้น ควรแผ่เมตตา ตามขั้นตอน 10 ทิศนะ จึงทำให้จิต คลายจากความเห็นผิด ได้

ดังนั้น ตอนนี้ำต้องมองตามความเป็นจริง ให้สัมมาทิฏฐิ เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ผลการสิ้นทุกข์ และ อริยมรรคเพื่อเข้าถึงการสิ้นทุกข์ ก่อน

 :25:
915  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:52:09 pm
พึงอ่านและทำความเข้าใจใน อนัตตลักขณสูตร เถิด

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 20

 ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร 

        [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น 
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล 
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ 
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า 
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ 
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา 
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา 
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป 
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา 
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว 
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ 
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ 
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ 
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้ 
เป็นอย่างนั้นเลย. 

        วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ 
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น 
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

                        ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์ 
        [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน 
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.   

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น 
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.   
        ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 

                        ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ 

        [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด 
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ 
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ 
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ 
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึง 
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น 
ไม่ใช่ตนของเรา. 

        สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ 
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร 
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น 
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. 

        [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน 
ภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ 
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. 

                                อนัตตลักขณสูตร จบ 
        ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

916  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:45:49 pm
อิทธิคุณ ก็พุทธคุณทั้ง 9 ตามบทสวด อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จนจบ ภะคะวา ติ

อิทธิเจโตวิมุตติ ก็คือ อำนาจฤทธิ์อันเกิดจาก เจโตสมาธิอนิมิตร ขั้นสูง มีพลานุภาพมาก

อิทธิฤทธิ์ ก็คือ ญาณทั้ง 10 ประกอบด้วย ทิพจักษุ โสตทิพย์ นี้เป็นต้น


 :25: :25:
917  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการสร้างบารมี มีขั้นตอนง่าย ๆ ทำอย่างไรครับ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:41:34 pm
เริ่มจากการ อธิษฐาน บารมีก่อนนะ ( ความตั้งใจ ) ที่จะบำเพ็ญบารมี

ลงมือทำตามที่อธิษฐาน ด้วย

 :25:
918  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ไหว้พระ 9 วัด ที่สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:40:10 pm
อนุโมทนา ประวัติข้อมูล ที่จริงประวัติของวัดปากเพรียว นั้นหาคนรู้น้อยมาก

พระเก่าแ่ก่ ไม่กี่รูป ที่จะรู้ประวัติ เคยลองเข้าไปสอบถามแล้วยังไม่รู้เลย

ไม่ต้องใคร อาตมาเองซึ่งเป็นศิษย์วัดปากเพรียวเองก็ยังตกเรื่องประวัติ ด้วยเหมือนกัน

อนุโมทนา กับ คุณธรรมธวัช ที่นำประวัติมาให้สมบูรณ์เพิ่มขึ้น

 :25:
919  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ปฏิบัติธรรมวัน อาสาฬหบูชา ๒๔- ๒๕ – ๒๖ – ๒๗ ก.ค. พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:38:01 pm


หลวงพ่อท่านแจกเสื้อให้รุ่นนี้ด้วย นะ



อิ่มอก อิ่มใจ อิ่มบุญ ได้ปฏิบัติ

อนุโมทนา แล้วอย่าลืมวัน ที่ 5 ส.ค. กัน นะจ๊ะ
 :25: :25:

920  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ปฏิบัติธรรมวัน อาสาฬหบูชา ๒๔- ๒๕ – ๒๖ – ๒๗ ก.ค. พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:30:02 pm

บรรยากาศ ที่เป็นกันเองในการขึ้นกรรมฐาน วันแรก

มีทั้งพระภิกษุ และ อุบาสก อุบาสิกา เห็นเท่านี้ก็แน่นแล้ว

พระครูสิทธิสังวร ( หลวงพ่อจิ๋ว ) พระอาจารย์ใหญ่ขึ้นกรรมฐาน
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26