ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หากไม่อยู่ในบุญ บาปกรรมเล็กน้อย จะนำสู่นรกได้.!!  (อ่าน 998 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25: :25:

หากไม่อยู่ในบุญ บาปกรรมเล็กน้อย จะนำสู่นรกได้.!!

บาปกรรมบางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยเช่นนั้น แต่ให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลในอัตภาพที่ ๒(ชาติหน้า) ก็มีเปรียบเหมือนก้อนเกลือที่เท่ากัน ถ้าใส่ลงในขันน้ำ ก็เค็มมาก ถ้าใส่ลงในแม่น้ำก็เค็มน้อย

     บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ บุคคลเช่นไร.?
     คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
     @@@@

     บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒(ชาติหน้า) ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือ บุคคลเช่นไร.?
     คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา แล้วมีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒(ชาติหน้า) ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

@@@@@@

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่
     “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
     “ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
     “เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า”

     “บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำคงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่”
     “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
     “ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
     “เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า”


      @@@@@@

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
      ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒(ชาติหน้า) ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก”



ข้อความบางตอนใน โลณผลสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=145
ดูเพิ่มในอรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=540




ข้อสังเกต เกี่ยวกับพุทธพจน์ในสูตรนี้

     – ข้อที่พระพุทธเจ้าทรังตรัสนี้ ตรัสหมายเอา “ตัวบุคคลผู้กระทำกรรม” คือ บุคคลที่กระทำอกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยแล้วไปสูอบายภูมิได้นั้น ก็เพราะมีคุณน้อย ด้วยอำนาจแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา หรือบางทีก็เป็นคนพาล เป็นคนมิจฉาทิฏฐิเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แม้อกุศลกรรมบางอย่างจะกระทำเพียงน้อยนิด
        แต่เพราะตนเองไม่มีบุญกุศลอย่างอื่นๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา มาคอยกีดกันบาปอกุศลอันเล็กน้อยนั้น จึงทำให้บาปอกุศลอันเล็กน้อยนั้น ส่งผลได้เต็มที่ หรือบางทีบาปอกุศลอันเล็กน้อยนั้น ก็ไปสนับสนุนบาปอกุศลอื่นๆ ให้มีกำลังสามารถนำปสู่อบายได้ในลำดับแห่งปฏิสนธิกาลในภพที่สอง


     – แตกต่างจากบุคคลที่มีทาน ศีล ภาวนา แต่บางครั้งหลงลืมสติ ทำบาปอกุศลกรรมเล็กน้อยอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป แต่เพราะความที่ตนเองมีบุญกุศลประการอื่น ๆ มาคอยป้องกัน บาปอกุศลอันเล็กน้อยนั้น ก็ไม่อาจมีกำลังนำไปสู่อบายได้
       อุปมาง่ายๆ สำหรับบุคคลทั้ง ๒ ประเภทนี้ ก็คือ ระหว่างคนรวย กับคนจน ทำผิดในคดีเดียวกัน โอกาสที่คนจนจะติดคุก ย่อมเป็นไปได้มากกว่าคนรวย (ก็เห็น ๆ กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เขาจึงมีคำพูดว่า “คุกมีไว้ขังคนจน”) คนรวย อุปมาเหมือนกับคนที่มีบุญ, คนมีบุญ ทำบาปเล็กน้อย บาปนั้นก็ไม่มีกำลังจะส่งผลให้ไปอบายได้ ฯ
       ส่วนคนจนเปรียบเหมือนคนที่ไม่มีบุญ, คนไม่มีบุญนั้น ทำบาปเพียงนิดเดียว บาปนั้นก็จะมีพลังอำนาจมาก สามารถนำไปสู่อบายได้ ฉะนั้น

       @@@@@@

     – แต่การที่บาปจะมีอำนาจหรือไม่มีอำนาจนำผู้กระทำไปสู่อบายได้นั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ หลายอย่างมาเป็นองค์ประกอบ นอกจากองค์แห่งอกุศลกรรมบถแล้ว ยังมีความเป็นอาจิณกรรม(กรรมที่กระทำไว้เนืองๆ) กับอาสันนกรรม(กรรมที่กระทำไว้ใกล้จะตาย) มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินอีกด้วย ซึ่งก็ยังไม่แน่ชัด ไม่แน่นอนว่า กรรมใดจะให้ผลก่อนกันในลำดับแห่งปฏิสนธิในภพที่สอง
      เช่น ฆ่าสัตว์มาทั้งชีวิต แต่ก่อนตาย เห็นพระสงฆ์องคเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา แล้วสิ้นใจไปในขณะนั้น กุศลกรรมในขณะใกล้ตายนั้นอาจส่งผลในขณะปฏิสนธิกาลในภพที่สอง นำไปเกิดในสุคติภูมิก็เป็นได้


     – อนึ่ง ผลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอันเกิดแต่อกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยนั้น แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
        ๑. ทรงหมายเอาผลในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมเวทนียะ) ที่อาจจะได้รับเช่นเดียวกัน
        ๒. ทรงหมายเอาผลในภพที่สอง คือ ผลที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ซึ่งมีความแตกต่างกันเพราะอำนาจแห่งคุณธรรมของบุคคล

     – สิ่งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้ทรงตรัสก็คือ ผลที่มีภายหลังแต่ปฏิสนธิกาลแล้ว เพราะผลกรรมนั้น สามารถให้ผลภายหลังแต่ปฏิสนธิกาล หรือให้ผลในภพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในขณะปฏิสนธิกาล ก็ได้คือ ผลกรรมที่ไม่ถึงเข้าองค์แห่งกรรมบถ ไม่มีอำนาจในการให้ผลในภพที่สอง(คือทำหน้าที่ปฏิสนธิ) แต่ผลกรรมนั้น จะยังให้ผลภายหลังแต่ปฏิสนธิอยู่ และให้ผลในภพที่สามไปจนถึงชาติสุดท้ายที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม

       ....VeeZa , ๑๘ ก.ค. ๖๑



ขอบคุณที่มา : dhamma.serichon.us/พุทธศาสน์ในตำนาน/พุทธธรรม/บาปกรรมบางอย่างแม้เพีย/ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 30, 2018, 08:31:35 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ