ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ คบกันตามอัธยาศัย  (อ่าน 2310 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28435
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
                                                       



ธาตุโสสังสันทนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ


[๗๘] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

     “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธาตุ(๑-) สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือสัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม
      ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม”

      ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็จะเข้ากันได้คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลวสัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม
      ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนี้ เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลวสัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม


      @@@@@@

      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    "เพราะการคลุกคลีกัน(๒-) กิเลสจึงเกิดขึ้น เพราะการไม่คลุกคลีกัน กิเลสจึงขาดไป บุคคลลงเรือเล็ก หวังจะข้ามมหาสมุทร ยังไม่ทันถึงฝั่งก็จมลงในมหาสมุทร ฉันใด บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้านก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
      เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้น ควรคบพระอริยะทั้งหลาย ผู้สงัด มีใจมั่นคง เพ่งพินิจอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ เป็นบัณฑิต"


แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล

                ธาตุโสสังสันทนสูตรที่ ๙ จบ



เชิงอรรถ :-
@(๑-) ธาตุ ในที่นี้หมายถึง อัธยาศัย (ขุ.อิติ.อ. ๗๘/๒๗๘)
@(๒-) การคลุกคลี มี ๕ ประการ คือ
         ๑) ทัสสนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเห็น)
         ๒) สวนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการฟัง)
         ๓) สมุลลาปนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเจรจา)
         ๔) สัมโภคสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการใช้สอยร่วมกัน)
         ๕) กายสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยกาย) (ขุ.อิติ.อ. ๗๘/๒๗๙)


ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ขอบคุณ : http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=193
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28435
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ คบกันตามอัธยาศัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 25, 2019, 10:19:46 am »
0
 



เข้ากันได้โดยธาตุ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ.
     คนมีศรัทธา ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับคนมีศรัทธา.
     คนมีใจละอายต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีใจละอายต่อบาป.
     คนมีความเกรงกลัวต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีความเกรงกลัวต่อบาป.
     คนที่สดับตรับฟังมากก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่สดับตรับฟังมาก.
     คนที่ปรารภความเพียร ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่ปรารภความเพียร.
     คนที่มีสติตั้งมั่น ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีสติตั้งมั่น.
     คนที่มีปัญญา ก็เข้ากันได้ ลงกันได้ กับคนที่มีปัญญา.
แม้ในอดีตกาลนานไกล ในอนาคตกาลนานไกล ในปัจจุบันกาลนานไกล ก็เป็นอย่างนี้."


@@@@@@


ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ท่านพระสาริบุตร เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค. แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ, ท่านพระมหากัสสปะ, ท่านพระอนุรุทธ์, ท่านพระปุณณะ, ท่านพระอุบาลี, ท่านพระอานนท์ และพระเทวทัต (แต่ละท่าน)ต่างก็เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค.

      @@@@

      ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นสาริบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีปัญญามาก"

     "ท่านทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีฤทธิ์มาก"


      @@@@

     "ท่านทั้งหลายเห็นมหากัสสปกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธุตวาทะ(ผู้กล่าวในทางขัดเกลากิเลส คือ สรรเสริญการประพฤติธุดงค์)"

     "ท่านทั้งหลายเห็นอนุรุทธ์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีทิพยจักษุ"


      @@@@

     "ท่านทั้งหลายเห็นปุณณะ มันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธรรมกถึก(ผู้แสดงธรรม)"

    "ท่านทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นวินัยธร(ผู้ทรงวินัย)"


      @@@@

     "ท่านทั้งหลาย เห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
     "เห็น พระเจ้าข้า"
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สดับตรับฟังมาก"

    "ท่านทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่.?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีความปรารถนาลามก"


     @@@@

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ. ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยเลว ผู้มีอัธยาศัยดีงาม ย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยดีงาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้แล้ว ลงกันได้แล้วโดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายจักเข้ากันได้ ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."



ที่มา : ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2019, 10:43:59 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28435
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ คบกันตามอัธยาศัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 25, 2019, 11:07:31 am »
0

 :welcome: :welcome:

เรื่องสัตว์คบกันโดยธาตุนี้ ประกฏอยู่ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ข้อธรรมทำนองนี้อยู่ในหลายพระสูตร เช่น

- หีนาธิมุตติกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลวและอัธยาศัยงาม
- จังกมสูตร ว่าด้วยการจงกรม
- สคาถาสูตร ว่าด้วยธรรมเทศนาที่มีคาถา
- อัสสัทธสังสันทนสูตร ว่าด้วยการคบค้าสมาคมกันของสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธา
- อัสสัทธมูลกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นมูล
- อหิริกมูลกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีหิริเป็นมูล
- อโนตตัปปมูลกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีโอตตัปปะเป็นมูล
- อัปปัสสุตมูลกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีสุตะน้อยเป็นมูล
- กุสีตมูลกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เกียจคร้านเป็นมูล
- อสมาหิตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีจิตไม่มั่นคง
- ทุสสีลสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ทุศีล
- ปัญจสิกขาปทสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีศีล ๕
- สัตตกัมมปถสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๗
- ทสกัมมปถสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๑๐
- อัฏฐังคิกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
- ทสังคสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ คบกันตามอัธยาศัย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 25, 2019, 03:46:43 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ อันนี้เป็นแม่บทด้วย

 like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ