ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ  (อ่าน 8042 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ศรีสมัย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 09:55:50 am »
0
ได้ยินว่า ฌาน ถ้าฝึกได้แล้วก็มีความเสื่อมได้

 ดังนั้น ถ้า ญาณ เช่นวิปัสสนาญาณ ตามลำัดับ ถ้าเราได้แล้ว จะเสื่อมหรือไม่ คะ

 :smiley_confused1:

บันทึกการเข้า

naka-54

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 10:02:39 am »
0
ญาณ คือ ปัญญา ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โลกียญาณ เป็นญาณที่สามารถเสื่อมได้เหมือนฌาน เพราะยังอยู่ในขั้นโลกียะ
2. โลกุตรญาณ เป็นญาณขั้นโลกุตระ คือ อยู่เหนือ หรือพ้นจากทางโลก จะไม่เสื่อมสลายไปแบบโลกียญาณ

ญานสามารถแบ่งได้เป็น ญาณ 3 และ ญาณ 16
คำว่า ญาณ ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาสัมโพธิญาณ มี 3 อย่าง หรือที่เรียกว่าวิชชา3

วิชชาญาณ 3  คือ
1. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้
2. จุตูปปาญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
3. อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป

ญาณที่1-2 จัดเป็นโลกียญาณสามารถเสื่อมไปได้ ส่วนญานที่3 คือ อาสวักขยญาณไม่เสื่อมไป เพราะเป็นโลกุตรญาณ

ญาณ3 ในส่วนอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน
ได้แก่
1. อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณในส่วนอดีต รู้เหตุการณ์ในอดีต
2. อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณในส่วนอนาคต รู้เหตุการณ์ในอนาคต
3. ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณในส่วนปัจจุบัน รู้เหตุการณ์ปัจจุบันว่่าใครทำอะไรอยู่

1,2,3 เสื่อมได้

ญาณ3 ในการหยั่งรู้อริยสัจจ์ (รอบสามอาการสิบสอง คือ การพิจารณาอริยสัจ4 สามรอบ)
ได้แก่
สัจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้อริยสัจจ์แต่ละอย่าง
กิจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจในอริยสัจจ์
กตญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจจ์

ทั้ง3ญาณนี้ไม่เสื่อม เพราะเป็นโลกุตรญาณ

ญาณ16 และ วิปัสสนาญาณ 9

ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ

1. นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
2. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
3. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
5. ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
6. ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
9. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
11. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
12. สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )
13. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
14. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
15. ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
16. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน

แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน วิสุทธิ7) ที่บรรยายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น10ขั้น)
วิปัสสนาญาณคืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
วิปัสสนาญาณคือภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
วิปัสสนาญาณคือมุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา

ตอบข้อ1.

ในญาณทั้ง16 นี้ มีเพียงมรรคญาณ และผลญาณเท่านั้น(ญาณที่14-15) ที่เป็นญาณขั้นโลกุตระ  คือ เหนือหรือพ้นจากทางโลก จึงหลุดพ้นหรือจางคลายจากทุกข์ตามมรรค,ตามผลนั้นๆ จึงไม่เสื่อมสลายไป  ส่วนที่เหลือยังจัดเป็นขั้นโลกียะทั้งสิ้น จึงเสื่อมสลายไปได้

ตอบข้อ2.

ญาณที่เกิดในอัปปนาสมาธิไม่ต่างจากญาณที่เกิดในอุปจารสมาธิและขณิกสมาธิ
แต่องค์ธรรมที่ใช้พิจารณาต่างกัน กล่าวคือ ในอัปปนาสมาธิ หรือสมาธิขั้นฌาน จะใช้องค์ฌานในการพิจารณาไตรลักษณ์
จากฌาน1 ทำไปๆ เกิดเข้าฌาน2 เกิดปีติสุข แล้วปีติสุขดับไป ก็เข้าฌาน4 เกิดเป็นอุเบกขา ทำให้เห็นความไม่เที่ยงของปีติสุข
หรืออยู่ฌาน4 นิ่งสงบในเอกัคคตารมณ์อยู่ดีๆก็หลุดออกมาอยู่อุปจารสมาธิ(เฉียดฌาน) กลับมาอยู่กับบริกรรม(คำบริกรรมหรือลมหายใจ หรือเกิดความคิดวิ่งเข้ามาใหม่) ก็เห็นความไม่เที่ยงของเอกัคคตาเช่นกัน

ส่วนอุปจารสมาธิและขณิกสมาธิ ยังคงมีความคิดและยังรู้สึก(มีเวทนา)ทางกายอยู่
จึงใช้กาย เวทนา จิต ธรรม (สติปัฏฐาน4) ในการพิจารณาองค์ธรรมในขั้นวิปัสสนาได้
โดยใช้สติพิจารณาองค์ธรรมที่ปรากฏ เช่น ลมหายใจ(กาย) มีเข้าก็ต้องออก เวทนา พิจารณาทุกข์จากเหน็บกินที่ขา
จิต ก็ดูว่่า จิตมีราคะ ไม่มีราคะ ฯลฯ ดูธรรม คือ ไตรลักษณ์ (ไม่เที่ยง จางคลาย ดับหาย ปล่อยวาง)
บันทึกการเข้า

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 10:04:57 am »
0
ก็สติอันกำหนดกาย  ละวิปัลลาสในกายว่าเป็นของงาม  ย่อมสำเร็จด้วย

มรรค   เพราะเหตุนั้น     สตินั้น  จึงชื่อว่า  กายานุปัสสนา.   สติกำหนดเวทนา

ละวิปลาสในเวทนาว่าเป็นสุข    ย่อมสำเร็จด้วยมรรค    เพราะเหตุนั้น   สตินั้น

จึงชื่อว่า  เวทนานุปัสสนา.   สติกำหนดจิต    ละวิปลาสในจิตว่าเป็นสภาพเที่ยง

ย่อมสำเร็จด้วยมรรค   เพราะเหตุนั้น   สตินั้น   จึงชื่อว่า   จิตตานุปัสสนา.   สติ

กำหนดธรรม    ละวิปลาสในธรรมทั้งหลายว่าเป็นอัตตา    ย่อมสำเร็จด้วยมรรค

เพราะเหตุนั้น  สตินั้น  จึงชื่อว่า  ธัมมานุปัสสนา.   ด้วยประการฉะนี้   สติอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น    ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง   เพราะอรรถว่ายังกิจ

๔ อย่างให้สำเร็จ  ด้วยเหตุนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า  ก็ในขณะแห่ง

มรรค  สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น   ดังนี้.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์  จบ




ขอบคุณภาพประกอบจาก http://1.bp.blogspot.com
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 17, 2012, 09:52:34 am »
0
ฌาน เสื่อมได้ หรือ ไม่ ?

   ในครั้งพุทธกาล มีตัวอย่างมากมาย ที่ฌาน เสื่อม ไม่ว่าจะเป็น พระเทวฑัตร เป็นต้น ก็เสื่อมได้ พระที่ฆ่าตัวเองตาย ก็เพราะ ฌานที่ได้เสื่อมลง นี้แหละ ดังนั้น ฌาน เสื่อมได้ ถ้ายังไม่บรรลุเป็น พระอริยะบุคคล แล้ว ฌานเสื่อมได้ นะจ๊ะ

ญาณ เสื่อมได้ หรือ ไม่ ?

   อันนี้เป็นปัญหา ใหม่ เพราะตัวอย่างเรื่อง ญาณ เสื่อมนี้ไม่มีตัวอย่างว่า ญาณเสื่อมเป็นอย่างไร เพราะความเข้าใจของอาตมา ผู้ทีี่ได้ญาณ ย่อมก้าวสู่  มรรค และ ผล ตามลำดับ เมื่อเข้าสู่ มรรค และ ผล ตามลำดับแล้ว การถอยกลับ ด้วยมรรค และ ผล นั้นไม่ปรากฏ นะ คำตอบก็คือ ถ้าได้ ญาณ ใน มรรค และ ผล แล้ว ไม่เสื่อม นะจ๊ะ
 
 เจริญธรรม

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 17, 2012, 12:54:05 pm »
0

   
    คำตอบบางส่วนอยู่ลิงค์นี้ครับ
    QA "สมาธิที่ฝึก นี้ เสื่อมได้ หรือ ไม่ คะ"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6055.0

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 17, 2012, 01:39:25 pm »
0

อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อิตถีวรรค
๓. ตักกชาดก ว่าด้วยธรรมดาหญิง

คัดลอกมาบางส่วน
    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษี สร้างอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ยังสมาบัติและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ความยินดีในฌาน.
    ในสมัยนั้น ธิดาของท่านเศรษฐีในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ทุษฐกุมารี เป็นหญิงดุร้าย หยาบคาย มักด่า มักตีทาสและกรรมกร.


    ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง คนที่เป็นบริวารชวนนางไปว่า จักเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา. ขณะเมื่อมนุษย์เหล่านั้นเล่นน้ำกันอยู่นั่นแหละ เป็นเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้จะอัสดง เมฆฝนก็ตั้งเค้าขึ้น. พวกมนุษย์ทั้งหลายเห็นเมฆฝนแล้ว ก็รีบวิ่งแยกย้ายกันไป. พวกทาสกรรมกรของธิดาท่านเศรษฐี พูดกันว่า
    วันนี้ พวกเราควรแก้เผ็ดนางตัวร้ายนี้ แล้วทิ้งนางไว้ในน้ำนั่นแล พากันขึ้นไปเสีย. ฝนก็ตกลงมา แม้ดวงอาทิตย์ก็อัสดง เกิดความมืดมัวทั่วไป. พวกทาสและกรรมกรเหล่านั้น เว้นแต่ธิดาท่านเศรษฐีคนเดียว ไปถึงเรือน.

    เมื่อคนทั้งหลายพูดว่า ธิดาท่านเศรษฐีไปไหนเล่า?
    ก็กล่าวว่า นางขึ้นจากแม่น้ำคงคาก่อนหน้าแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพเจ้าจึงไม่รู้ว่านางไปไหน.
    แม้พวกญาติพากันค้นหา ก็ไม่พบ.



    ธิดาท่านเศรษฐีร้องดังลั่น ลอยไปตามน้ำ ถึงที่ใกล้บรรณศาลาของพระโพธิสัตว์เมื่อเวลาเที่ยงคืน.
    พระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงของนางก็คิดว่านั่นเสียงหญิง ต้องช่วยเหลือนาง พลางถือคบหญ้าเดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เห็นนางแล้วก็ปลอบว่า อย่ากลัว อย่ากลัว ด้วยมีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ว่ายน้ำไปช่วยนางขึ้นได้ พาไปอาศรม ก่อไฟให้นางผิง.


    ครั้นนางค่อยสร่างหนาวแล้ว ก็จัดหาผลไม้น้อยใหญ่ที่อร่อยๆ มาให้ พลางถามนาง ขณะที่บริโภคผลไม้นั้นว่า นางอยู่ที่ไหนและทำไมถึงตกน้ำลอยมา.
   นางก็เล่าเรื่องราวนั้นให้ฟัง.
   ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะนางว่า เธอพักเสียที่นี่แหละ แล้วจัดให้นางพักในบรรณศาลา ตนพักอยู่กลางแจ้ง ๒-๓ วันแล้วกล่าวว่า บัดนี้ เธอจงไปเถิด.


   เศรษฐีธิดาคิดว่า เราจักทำดาบสนี้ถึงสีลเภท แล้วชวนไปด้วยให้จงได้ ดังนี้แล้วไม่ยอมไป.
   ครั้นเวลาล่วงผ่านไป ก็แสดงกระบิดกระบวนเล่ห์มายาหญิง
   ทำให้พระดาบสศีลขาด เสื่อมจากฌาน.
   ดาบสก็ชวนนางอยู่ในป่านั่นเอง


   ครั้งนั้น นางกล่าวกะดาบสว่า ข้าแต่ท่านเจ้า เราทั้งสองจักอยู่ในป่าทำไม เราสองคนพากันไปสู่ย่านมนุษย์เถิด. ดาบสก็พานางไปถึงบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ประกอบอาชีพด้วยการขายเปรียง เลี้ยงนาง. เพราะท่านดาบสขายเปรียงเลี้ยงชีวิต ฝูงชนจึงขนานนามว่า ตักกบัณฑิต. ฯลฯ



   
    ดูก่อนภิกษุ เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
    เพราะว่าการงดเว้นจากเมถุนธรรม นี้ชื่อว่าพรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นคุณอันบริสุทธิ์
    เธอประพฤติพรหมจรรย์นั้น ก็จะไม่คลาดความสุข คือว่า
    เมื่อเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์นั้น จักไม่คลาดความสุขในฌาน
    ได้แก่ ความสุขอันเกิดจากมรรค และความสุขอันเกิดจากผล.

               อธิบายว่า จักไม่ละความสุขนี้ คือ จักไม่เสื่อมจากความสุขนี้.
               ปาฐะว่า น ปริหายสิ เธอจักไม่เสื่อม ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกันนี้แหละ. ฯลฯ



อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=417&Z=422
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=63
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/



อัปโหลดโดย chaytonbkk เมื่อ 14 ก.ค. 2011
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2012, 01:45:04 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 03:02:20 pm »
0
 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 24, 2012, 09:26:02 am »
0
ผม เคยได้ ปีติครั้งหนึ่ง แผ่ขึ้นมาจากท้องน้อย ขึ้นไปถึงศรีษะ เย็นทั่วกาย แผ่ลงไปที่ปลายเท้า ขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างนี้ ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้น ก็หายไปไม่มีอีก ไม่ทราบนี้ เป็นอาการเสื่อมจากปีติ ใช่หรือไม่ครับ

   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ญาณ เสื่อมได้หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 11:19:43 am »
0
ปีติ ที่ได้ หมายถึง ผรณาปีติ ปกติ นี้ จะมีเกิดขึ้นไม่บ่อย อาการที่บอกตอบไม่ได้ว่าเสื่อม ต้องถามว่าปัจจุบัน ภาวนากรรมฐาน แล้ว เป็นอย่างไร เบื่อหรือ ไม่ หรือ ทำได้มากขึ้น และ สบายมากขึ้น อันนี้จึงจะพอตอบได้

   เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา