ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา  (อ่าน 29628 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
 มหาวรรค อานาปาณกถา

        [๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ
๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ
ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘
ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘
ญาณในอุปกิเลส ๑๘
ญาณในโวทาน ๑๓
ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒
ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒
นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘
ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

        [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ เป็น
ไฉน ฯ
    กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
        เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
   พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ
        ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น   อุปการะแก่สมาธิ
   วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ
   อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้ จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ฯ


ในการปฏิบัติ อานาปานสติ ฉบับพระสาวกนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการเตรียมตัว

ต้องเข้าใจว่า อานาปานสติ มี ญาณ ( ความรู้ ) นั้นมีทั้งหมด 200 ญาณ

การเรียนก็ต้องเรียนตามลำดับ

การปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตามลำดับ

ซึ่งจะทำการวิสัชนา ไปในนี้เลย

สิ่งสำคัญอันดับแรกก็ศึกษาเข้าใจในธรรมที่เป็นอันตราย ต่ออานาปานสติ มีเท่าไหร่
 
   ในที่นี่้ตอบว่ามี 8 มีอะไรบ้าง

    1.กามฉันทะ 2.พยาบาท 3.ถีนมิทธะ 4.อุทธัจจะ 5.วิจิกิจฉา 6.อวิชชา 7.อรติ 8.อกุศลธรรมทั้งปวง

อันดับที่สองเรียนรู้ ธรรมที่เป็นคู่ปรับแก่ธรรมอันตราย 8 เรียกว่าธรรมะอันเป็นอุปการะแก่อานาปานสติ 8

   ในที่นี่ตอบว่ามี 8 มีอะไรบ้าง

   1.เนกขัมมะ 2.อพาบาท 3.อาโลกสัญญา 4.ความไม่ฟุ้งซ่าน 5.ความกำหนดธรรม 6.ญาณ 7.ปราโมทย์

    8.กุศลธรรมทั้งปวง

ถ้าจิตอยู่ข้างฝ่ายธรรมะอันเป็นอันตราย อันนี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่าน

ถ้าจิตอยู่ข้่างฝ่ายธรรมะอันเป็นอุปการะ อันนี้เรียกว่า จิตสงบระงับ

อันนี้เป็นบทพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดรู้ธรรม ความที่มีจิตฟุ้งซ่าน หรือ จิตสงบระงับ

 

Aeva Debug: 0.0007 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2010, 10:20:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นิวรณ์ 8 ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 11:38:50 am »
0
จิตที่ฟุ้งซ่าน คือ จิต ตกเป็นข้างฝ่ายนิวรณ์ 8 ประการ

 อันประกอบด้วย การระคนด้วยจิต ย้อมจิต ปะปนด้วยจิต ที่เป็นอกุศลธรรม ทั้งปวง นิวรณ์ 8 เป็นสิ่งที่ต้องระงับ

ก่อนปฏิบัติ อานาปานสติ เพราะหากมีอยู่ก็ไม่สามารถที่เจริญ พระอานาปานสติได้

บางท่านเข้าใจว่า ระงับด้วย ฌาน ระงับ ด้วยการภาวนา

แต่ นิวรณ์ 8 ข้างต้น สามารถระงับได้ ด้วยการตั้งจิต เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ อธิษฐาน

จิตได้อย่างถูกต้อง

  ถ้าพิจารณา วิสัชชนา ให้เข้าใจ ง่าย ๆ ไม่ใช่เป็นการระงับ นิวรณ์ ด้วย ฌาน การกล่าวเช่นนี้ กล่าวแบบ

พราหมณ์  กล่าวแบบพระสุคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สามารถระงับได้ก่อน ที่เป็น ฌาน ส่วนนี้จึงเป็น

ส่วนที่ดำเนินในแนว วิปัสสก ดังนั้นการเจริญด้วยอานาปานสติ จึงเป็น ผลสมาบัต ขั้นต่ำ เป็น อเนญชาสมาบัติ

ขั้นสูง อันประกอบด้วย นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ อเนญชาสมาบัติ เจโตสมาธิอนิมิต ดังนั้นถึงจะเป็น

ฝ่ายเจโตวิมุตติ ก็ต้องเริ่มต้นเหมือนกันกับ วิปัสสก จะไปแตกต่างช่วงของ ญาณด้านปลายเท่านั้น

 โดยการปฏิบัติให้ตรงข้าม ดังนั้น ความเห็นที่ถูกต้อง และ การอธิษฐาน เป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน

ยกตัวอย่าง

 1.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์
   
     เมื่อปุุถุชนเห็นผิด ก็จะติดในข่าย ไม่เห็นความหน่าย ความจางคลาย ไปได้

   ดังนั้น ธรรมะ คู่ปรับ ก็คือ เนกขัมมะวิตก คือ ความตั้งใจสลัดออก จากกามคุณ

   ถามว่า เห็นโทษของกามคุณ หรือ ก็ตอบว่ายัง เพียงแต่รู้ว่า กามคุณ เป็นเหตุแห่งตัณหา

   ดังนั้น เนกขัมมะ ก็คือการถือ บวช ด้วย ศีล มีข้อห้าม ซึ่งจะระงับได้ นิวรณ์ ด้วยการอธิษฐาน

  ความตั้งใจใน การออกบวช อย่างนี้ ซึ่งเมื่อทำบ่อย ๆ กามฉันทะ ก็จักเบาบางลง และ สงบ ไปชั่วคราว

  จนกว่าจะได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ดังนี้เป็นต้น

  ดังนั้น นิวรณ์ 8 นั้น ดับได้ด้วย ธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้าม ไม่ใช่ดับด้วย ฌาน หรือ อำนาจ สมาธิ

แต่ที่จริง เป็นการเจริญ อานาปานสติ ในแนวพระพุทธศาสนา มิฉะนั้น ก็จะเป็นการปฏิบัติ อานาปานสติ นอก

พุุทธศาสนา

   ดังนั้น จิตทีั่ฟุ้งซ่าน ย่อมประกอบ ด้วยนิวรณ์ 8 ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ อานาปานสติ

   ส่วนที่ จิตที่สงบระงับ ย่อมประกอบ ด้วยธรรม 8 ประการ ย่อมพร้อมที่จะเจริญภาวนา อานาปานสติ


ดังนั้นในส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนพื้น ฐานในการเตรียมตัว

  หากจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สามารถ กำหนด ลมหายใจเข้า และ ออกได้ เป็นดั่งเช่นที่ท่านทั้งหลาย เคยฝึกกัน

มาเยี่ยงนั้น แบบนั้น เพราะมุ่งจะฝึก ก็อยู่ในข่าย อุปกิเลส คือ ความเพียรที่มากหรือกล้า เกินไป ก็ไม่สามารถ

สำเร็จ ในพระอานาปานสติ ได้

  หากจิตสงบระงับ ก็จะสามารถ กำหนด นิมิต ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออกได้ ทั้ง 3 ประการ

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ศึกษาและจดจำ ในส่วนของ ธรรม เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์เสียก่อน อย่างพึ่งมุ่งไปรู้

ขั้นตอนส่วนใน กำจัดนิวรณ์ เหล่านั้นให้สงบ

  จะเห็นว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเตรียมจิต ท่านผู้ปฏิบัติมาพร้อมแล้ว ในห้อง พระพุทธานุสสติ

ย่อมระงับนิวรณ์ ด้วยปัญญา อันเกิดแต่องค์สมาธิ  ในระดับ อุปจาระฌาน แล้ว ความพร้อมของผู้ฝึก ในส่วน

นี้จึงมีมากกว่า ผู้มาฝึกอานาปานสติ โดยตรง


  เนื่องด้วย อานาปานสติ เป็น กรรมฐาน สำหรับจริต วิตกจริต และ โมหะจริต โดยตรง ถ้าผู้มีวิตกเช่นนี้

ก็จะสามารถฝึกได้เข้าใจก่อน ส่วนผู้ไม่มีจริตตรงนี้ ถ้าเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเห็น

ว่า ไม่สามารถ จะฝึกได้ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสกรรมฐาน สนับสนุนเบื้องต้น

เรียกว่า อนุสสติ บ้่าง กายคตาสติ สนับสนุนองค์กรรมฐาน จึงทำให้จริต อื่น ๆ นั้นสามารถ ฝึกอานาปานสติ

ได้ ดังนั้นขอให้ท่านผู้ฝึกอย่ารีบร้อน ที่จะเดินในขั้น สโตริกาญาณ แต่ของให้ สร้างธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์

แก่ นิวรณ์ ทั้ง 8 ก่อน

 ;)
 

Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2010, 11:43:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ข้อความที่ [365 - 366]

ก็แลเมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ ฯ

เพราะเหตุที่ระงับ นิวรณ์ 8 ประการได้ จึงทำให้มีจิตเป็น สมาธิ แต่เป็นเพียงชั่วขณะ เท่านั้น

ความละเอียดของ อานาปานสติ ที่มากกว่าชั่วขณะมีอยู่อีก

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 08:36:37 am »
0
อานาปานสติ ยังมีต่อไปเรื่อย ๆ แต่ยังเรียบเรียงพระสูตรอยู่ จำนวนตอนนี้มากกว่า 80 หน้า

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 12:00:45 pm »
0
แจ้งความคืบหน้า ของ หนังสือ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค นั้นตอนนี้ได้พิมพ์ออกมาแล้วจำนวน 80 หน้า

กำลังตรวจสอบ ข้อความในรอบที่ 2 และจะิพิจารณาลง อรรถกถา ( ส่วนตัวเสริม )

คาดว่าน่าจะเสร็จก่อนออกพรรษา 

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 12:28:26 pm »
0
อุปกิืเลส ญาณนิทเทส

ภาวะอันตรายของสมาธิ มี 3 หมวด ๆ ละ 6

1. ปฐมฉักกะ ( ภาวะอันตรายของสมาธิ 6 ประการ บทที่ 1)

1.1 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายใน เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจเข้าเข้า
ที่
ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.2 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายนอก เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจออก
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.3 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจเข้า   

1.4 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจออก   

1.5 ความหลง ในการได้ลมหายใจออก ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจเข้า ครอบงำ   

1.6 ความหลง ในการได้ลมหายใจเข้า ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจออก ครอบงำ


ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติ อานาปานสติ มักจะเกิดความ ฟุ้งซ่าน ด้วยการบังคับลมหายใจเข้า และ ออก และ เพ่ง

ด้วยความปรารถนา และ้ติดใจคือหลง ในการหายใจเข้า และ หายใจออก ถูกลมหายใจครอบงำ

เหมือนบุคคลที่ได้ของเล่นมาใหม่ ก็ชอบใจ เพลินในลมหายใจเข้า และ หายใจออก

หรือ เหมือนคนที่ไม่มีลมหายใจเข้า ด้วยจะถึงมรณะย่อมทรมาน เพราะไม่มีลมหายใจเข้า

หรือ ย่อมทรมาน เพราะลมหายใจที่เข้าแล้ว ไม่มีลมหายใจออก

แท้ที่จริงการภาวนา ลมหายใจเข้า มีได้ เพราะมีลมหายใจออก

                     ลมหายใจออก มีได้ เพราะมีลมหายใจเข้า

สรรพสัตว์ที่มีปาณะ ย่อมอาศัย ลมใจหายออก และ ลมหายใจเข้า จึงจักมีชีวิตอยู่ได้ฉันใด

การติดใจ และ ต้องการลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ย่อมไม่เกิดการปล่อยวางดังนั้นภาวนา

มีเป้าหมาย ระลึกรู้ใน ลมหายใจเข้า หายใจออก โดยธรรมชาติแห่ง กาย และ จิต ไม่ได้มุ่งหวังให้

พระโยคาวจร บังคับหรือหลงในลมหายใจเข้า และ ออก การภาวนานั้นต้องภาวนาเพียง แต่ผู้หายใจออก

และ ผู้หายใจเข้า ด้วยความมีสติ  จึงชื่อว่า อานาปาน + อนุสสติ = อานาปานุสสติ

ดังนั้น ปฐมฉักกะ จึงชี้แจงความผิดพลาดของผู้ฝึกเบื้องต้นไว้ในการประคองลมหายใจอก และ ลมหายใจเข้า




เบื้องต้นแต่เท่านี้ก่อน พอให้ท่านทั้งหลายได้อ่านทบทวน ในปฐมฉักกะให้ขึ้นใจ อย่าโลภมากในปริยัติ

ค่อยทำความเข้าใจด้วยการภาวนา เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐาน ปฏิบัติ นะจ๊ะไม่ใช่

เรียน ๆ ท่อง ๆ กรรมฐานจักก้าวหน้าได้ ต้องภาวนา

 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2010, 12:31:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:56:20 am »
0
[๓๖๗]
   
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก    
    มื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมือคำนึง ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ

อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป

และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ




นิมิต ในที่นี้ การกำหนดฐานจิต ด้วยรูปแบบ 4 ประการ

1. คณนา การนับ

2. ผุสนา จุดกระทบ

3. อนุพันธนา การติดตาม

4. ฐปนา กำหนดจิดตั้งในฐาน

สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อธิบาย ไว้ทั้งหมด  9 ฐาน

แต่ละ ฐาน มี ความละเอียด อยู่ 3 ระดับ คือ เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด

ไม่ใช่การนับ ฐานเบื้องต้น คือที่ 1

แต่ละฐานมี 3 ขั้น

ดังนั้นเมื่อพระโยคาวจร คำนึงนิมิต มาก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่ลมหายหายใจ เข้า และ ออก

เมื่อคำนึงถึง ลมหายใจ เข้า และ ออก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่นิมิต อีกเช่นกัน

ดังนั้นในขั้นตอนนี้ จักชี้โทษของการ เพ่ง คือ จับจด เรียกว่า อารัทธา มีความเพียรมากใช้วิธีการบังคับ

ดังนั้น อานาปานุสสติ นั้นต้องผ่อนการภาวนาไม่บังคับ ผู้ฝึกควรฝึกการนับเป็นหลัก ก่อน เมื่อมีความชำนาญ

พึ่งเลื่อนระดับ นิมิต ขึ้นไป

 ;)
Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2010, 08:58:41 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:24:39 am »
0

 
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ         
จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
 


เมื่อ ผู้ฝึกจนสามารถ ระงับ อุปกิเลส 12 ประการ ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะ สงบ จิตขั้นกลาง

ช่วงนี้จักเกิดภาวนาไปนาน ๆ แล้วยังไม่สามารถที่จะรวมศูนย์จิต กับ ลมหายใจเข้า และออกได้

ก็ย่อมทำให้ตกอยู่ในข้างฝ่าย ความฟุ้งซ่าน และ หดหู่ เกียจคร้าน ลังเลสงสัย และอยากหาความ

สุขทางกาย และเข้าถึงกลับมีอารมณ์หงุดหงิด เพราะไม่สามารถเข้าถึงสภาวะได้แม้จะพยายามอย่างไร

ก็ตาม

วิธีแก้ไข ก็คือ ให้ผู้ฝึกกรรมฐาน ทบทวน อารักขกรรมฐาน ( เป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่ยังฝึกไม่ได้ )

อย่ารีบร้อน อย่าใส่ความอยาก อย่าฝืนถ้าอารมณ์ไม่เข้าเป็นสมาธิ

สำหรับผู้ฝึกชำนาญ แล้ว ก็ให้ใช้วิธีการเดินจิตทันใจ แทน ( ห้ามถามต่อว่าเดินจิตทันใจคืออะไร )

อันนี้ตอบเฉพาะศิษย์ที่ขึ้นกรรมฐานเท่านั้น นะจ๊ะ

ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็ตอบให้ไม่ได้ เพราะกรรมฐานนั้น ไม่ใช่เรื่องประดับความรู้ นะจ๊ะ

ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่กรรมฐานไม่ค่อยแพร่หลาย ( ไม่ต้องวิตกกับส่วนนี้กันดอกนะจ๊ะ )





      [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส๖ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ

        [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน
                  เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก
                กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออกเพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
              กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรนเพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
             กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็น ผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
           กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออกกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
         กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
        กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่งกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน       
      กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
         
     ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน
     ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
       ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วย    อานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2010, 09:34:34 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อนุปัสสติ เิกิดอย่างไร และให้ผล อย่างไร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 08:43:48 am »
0
        [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ       
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง       
พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข         
พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ         

เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้         

เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้         

เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้        เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้       เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้ �

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 07:34:56 am »
0
มีเมล์เข้ามาถามเนื้อหา ของอานาปานสติ ปฏิสัมภิทา กันพอสมควร
 
 เพื่อความสะดวก พระอาจารย์จัก ให้ดาวน์โหลดเนื้อหา พระสูตรที่เรียบเรียงไว้เบื้องต้น
 
 ช่วงนี้ไม่ค่อยจะมานั่งอ่านหรือนั่งพิมพ์อะไร เพราะว่ากำลังเข้ากรรมฐาน ถือโอกาสช่วงเช้านี้แล้ว
 
 ก็เลยทะยอยตอบคำถามบ้าง ดังนั้นขอให้ดาวน์โหลดตรงส่วนนี้เลย
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 01:07:19 am »
0
ไฟล์หนังสือ ให้ดาวน์โหลดอยู่ที่นี่ด้วย คร้า...

หมวยจ้า โหลดคนแรก เลยนะคร้า ....

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 01:22:16 am »
0
เนื้อหา ส่วนนี้ได้ถูกเตรียมจัดพิมพ์ เป็นเล่ม 2 คงจะได้แจกช่วง สิ้นปี หรือ ปีใหม่

 :67:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 11:32:10 pm »
0
ตอนนี้หนังสือ ส่วนนี้ ต้นฉบับได้เสร็จสิ้นแล้ว

ท่านใดต้องการร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างหนังสือ ก็ติดต่อเข้ามาที่เว็บมาสเตอร์ได้นะครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 09:37:55 am »
0
สนใจหนังสือ คะ ต้องทำอย่างไรคะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 04, 2011, 08:33:16 pm »
0
อยากให้พระอาจารย์ อธิบายเรื่องนี้ ต่อ
อยากได้เสียงบรรยายเรื่อง นี้ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 11:15:07 am »
0
มีเสียงบรรยาย เรื่องนี้หรือไม่ คะ มีความสนใจมากคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 13, 2011, 06:52:49 pm »
0
เสียดาย จริง ๆ ครับ ผมได้ตามอ่านบทความที่พระอาจารย์ ได้บรรยาย อานาปานสติ ได้ความรู้และสนับสนุนการภาวนา มาก ๆ ครับ ทำไมพระอาจารย์ไม่ทำบทความนี้ต่อครับ หรือ มีเสียงบรรยาย คือผมตามอ่านคำอธิบาย อยู่ครับ รู้สึกได้เลยถึง ธรรมวิจารณ์ ของผู้ภาวนาจริง ๆ ครับ

  อยากให้พระอาจารย์อธิบายต่อไปครับ .....

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 04, 2012, 01:05:43 am »
0
อ้างถึง
1.1 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายใน เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจเข้าเข้า
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

  เรียนถามว่า ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด อยู่ตรงส่วนไหนของกาย บ้างครับ

 ด้วยความสนใจใน พระอานาปานสติกรรมฐาน ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 01:00:02 am »
0
เรื่องนี้เป้นที่เสียดายที่พระอาจารย์ อธิบายทิ้งไว้ในระดับเบื้องต้น ผมได้ติดตามอ่านแล้วเชื่อว่าพระอาจารย์มีความชำนาญในเรื่องอานาปานสติ อย่างแน่นอน เพราะการขยายความอธิบายนั้นมิได้ซ้ำกับผู้อื่นเลยเป็นเรื่องที่ผมอ่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว อ่านได้อย่างเข้าใจ ถึงแม้อธิบายเพียงน้อยนิดไว้ ผมก็ได้แนวทางในการภาวนามากขึ้น ครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 01:02:05 am »
0
เห็นด้วยคะ ถ้าได้ฟังเรื่องอานาปานสติ จากพระอาจารย์คิดว่าต้องมีการภาวนารุดหน้าอย่างแน่แท้คะ สำหรับพวกที่ชอบการฝึกอานาปานสติ ลองมาลงชื่อแล้ว นิมนต์พระอาจารย์มาบรรยายเรื่องนี้ สักครั้งดีหรือไม่คะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :13: :smiley_confused1: :49:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กันยายน 22, 2012, 12:45:05 pm »
0
เรื่องนี้เป้นที่เสียดายที่พระอาจารย์ อธิบายทิ้งไว้ในระดับเบื้องต้น ผมได้ติดตามอ่านแล้วเชื่อว่าพระอาจารย์มีความชำนาญในเรื่องอานาปานสติ อย่างแน่นอน เพราะการขยายความอธิบายนั้นมิได้ซ้ำกับผู้อื่นเลยเป็นเรื่องที่ผมอ่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว อ่านได้อย่างเข้าใจ ถึงแม้อธิบายเพียงน้อยนิดไว้ ผมก็ได้แนวทางในการภาวนามากขึ้น ครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:


เห็นด้วยคะ เพราะเป็นเรื่อง การบรรยาย อานาปานสติ โดยเฉพาะ เลย คะ

บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 08:01:57 am »
0
พึ่งทราบว่า มีหนังสือ ให้ดาวน์โหลดด้วย ดังนั้นจึงขอยกมาให้เพื่อน ๆ ทราบด้วยครับ แต่รู้สึกว่าต้องเป็๋นสมาชิกครับนะครับ เปิดแล้วจะเห็นหนังสือ ให้ดาวน์โหลดนะครับ

  อนุโมทนา ขอบคุณด้วยครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2012, 08:40:08 pm »
0
ผมสนใจเรื่อง อานาปานสติ มากที่สุดเลยครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 01:33:43 pm »
0
อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรคเพื่อการ ภาวนา ในชีวิต....และใช้ชีวิตประจำวัน :08: :08:
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: เมษายน 21, 2015, 10:14:57 am »
0
ส่วนตัวแล้ว สนใจเรื่องนี้ มากที่สุด และต้องการศึกษา ส่วนนี้ มากคะ

  :58: :25: :25: :25: thk56
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: เมษายน 21, 2015, 09:04:31 pm »
0
 

    สาธุ สาธุครับ   เป็นธรรม ขึ้นสู่ธรรมที่นักภาวนาทุกท่านล้วนปราถนา ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

paitong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 103
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: เมษายน 22, 2015, 02:53:46 am »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า

pattumma

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 28
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 07:52:28 pm »
0
กราบสาธุ เจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า