ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก  (อ่าน 3346 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
 เทศนาเรื่องมารยาทการพูด  เป็นต้น

เล่มที่ 11 หน้า 113

เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น
[๑๕๓]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องมารยาทการพูดก็นับว่ายอดเยี่ยม

         คือ บุคคลบางคนในโลกนี้    ไม่พูดวาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท    ไม่พูดวาจาอันทำความแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาอันส่อเสียด ไม่มุ่งเอาชนะกันกล่าววาจาอันเกิดจากความแข่งดีกัน    กล่าวแต่วาจาอันมีหลักฐานด้วยปัญญาชื่อว่ามันตา ตามกาลอันควร
   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทการพูด
   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
ในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษก็นับว่ายอดเยี่ยม

         คือ    บุคคลบางคนในโลกนี้    เป็นคนมีสัจจะ    มีศรัทธา    ไม่พูดหลอกลวง(๑)   
 ไม่พูดป้อยอ(๒)    ไม่ทำนิมิต(๓)    ไม่พูดบีบบังคับ(๔)    ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ(๕) 
       คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย   รู้จักประมาณในการบริโภค    ทำพอเหมาะพอดี ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ    พูดมี ปฏิภาณดี    มีคติ มีปัญญาทรงจำ มีความรู้ ไม่ติดอยู่ในกาม มีสติ มีปัญญาเครื่องรักษาตน

  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษ



๑ หลอกลวง  หมายถึงลวงด้วยอาการ  ๓  คือ  (๑)  พูดเลียบเคียง  (๒)  แสร้งแสดงอิริยาบถ  คือ  ยืน  เดิน
   นั่ง  นอน  ให้น่าเลื่อมใส  (๓)  แสร้งปฏิเสธปัจจัย  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๑/๕๕๓,  องฺ.ปญฺจก.อ.  ๓/๘๓/๔๑,
   วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๒ พูดป้อยอ  หมายถึงพูดยกย่องมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๒/๕๕๓,องฺ.ปญฺจก.อ.
   ๓/๘๓/๔๑,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๓ ทำนิมิต  หมายถึงแสดงอาการทางกาย  ทางวาจา  เพื่อให้คนอื่นให้ทาน  เช่น  การพูดเป็นเลศนัย  พูดเลียบเคียง
   (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๓/๕๕๓,  อภิ.วิ.อ.  ๘๖๖/๘๒๓,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๔ พูดบีบบังคับ  หมายถึงด่า  พูดข่ม  พูดนินทา  ตำหนิโทษ  พูดเหยียดหยาม  และการนำเรื่องไปประจาน
   ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า  นินทาลับหลัง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๔/๕๕๔,  อภิ.วิ.อ.  ๘๖๔/๕๒๔,
   วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔-๒๕)
๕ แสวงหาลาภด้วยลาภ  หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา  ทำให้เขาเกรงใจ  ต้องให้ตอบแทน  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/
   ๘๖๕/๕๕๔,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๕)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2012, 10:10:18 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 05:33:57 pm »
0
อ่านแล้วซึ้งเลยครับ เหมือนพระอาจารย์แนะนำเรื่องการโพสต์ ทางอ้อมเลยนะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2012, 04:26:50 pm »
0
เป็นหลักการที่ เอาไว้ใช้ตอบกระทู้ได้นะครับ
 :25: :s_good: :welcome:
บันทึกการเข้า