สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: paitong ที่ ธันวาคม 25, 2017, 03:41:23 am



หัวข้อ: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: paitong ที่ ธันวาคม 25, 2017, 03:41:23 am
อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป ต้องไปอ่านศึกษา ตรงส่วนไหน ครับ

 thk56


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 27, 2017, 11:49:16 am

 ans1 ans1 ans1 ans1

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน.?
       เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
       มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
       นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=71&w=%B9%D2%C1%C3%D9%BB (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=71&w=%B9%D2%C1%C3%D9%BB)


นามรูป นามธรรม และรูปธรรม
นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด

มหาภูตรูป รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี(ดิน) อาโป(น้ำ) เตโช(ไฟ) และวาโย(ลม)


ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 28, 2017, 06:30:51 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 28, 2017, 07:54:11 am
 ans1 ans1 ans1 ans1

อรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๒

ในนามรูปนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

นามมีอันน้อมไปเป็นลักษณะ รูปมีการแตกสลายเป็นลักษณะ. ก็ในการจำแนกนามรูปนั้น
   บทว่า เวทนา ได้แก่ เวทนาขันธ์.
   บทว่า สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์.
   บทว่า เจตนา ผัสสะ มนสิการ พึงทราบว่า เป็นสังขารขันธ์.
ก็ธรรมที่สงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ แม้ด้วยเหล่าอื่นมีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ มีอยู่ในจิตที่มีกำลังเพลากว่าธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้ท่านแสดงสังขารขันธ์ด้วยอำนาจธรรมเหล่านั้นนั่นเอง.

   @@@@@@

   บทว่า จตฺตาโร ในบทว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้เป็นการกำหนดจำนวน.
   บทว่า มหาภูตา นี้ เป็นชื่อของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.
ก็นัยวินิจฉัยอย่างหนึ่ง ในข้อที่เป็นเหตุให้ท่านกล่าวว่า ตานิ มหาภูตานิ ทั้งหมดท่านกล่าวไว้แล้วในรูปขันธนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

    ก็บทว่า จตุนฺนํ ในคำว่า จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทาย นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ ท่านอธิบายว่า ซึ่งมหาภูตรูป ๔.
    บทว่า อุปาทาย แปลว่า ยึดมั่น. อธิบายว่า ถือมั่น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยก็มี. ก็ปาฐะที่เหลือว่า ปวตฺตมานํ นี้ พึงนำมาเชื่อมเข้าในที่นี้.

    อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถว่าประชุม พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า รูปอาศัยการประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เป็นไป.
    เมื่อว่าโดยประการทั้งปวง มหาภูตรูป ๔ มีปฐวีเป็นต้น และรูป ๒๓ ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นไปที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีในอภิธรรม โดยแยกเป็นจักขายตนะเป็นต้น ทั้งหมดนั้นพึงทราบว่า รูป.



ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4)
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ พุทธวรรคที่ ๑ วิภังคสูตร


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 28, 2017, 10:18:08 am
อ้างถึง
ข้อความโดย: PAITONG

อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป ต้องไปอ่านศึกษา ตรงส่วนไหน ครับ

 thk56

 ans1 ans1 ans1

เรื่อง"นามรูป" นี้ อยู่ในหัวข้อ "ขันธ์ ๕" หากต้องการทราบรายละเอียดโดยพิศดาร แนะนำให้ไปอ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรค อยู๋ในปริเฉทที่ ๑๔ ขันธนิเทศ  เรื่อง "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" ในคัมภัร์นี้ถูกอธิบายเป็นสองนัย คือ ตามแนวอภิธรรม และตามแนวพระสูตร

สนใจคลิกไปที่ลิงค์นี้ครับ
https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๓_ภาคปัญญา_ปริเฉทที่_๑๔_ขันธนิเทศ_หน้าที่_๖_-_๑๐ (https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๓_ภาคปัญญา_ปริเฉทที่_๑๔_ขันธนิเทศ_หน้าที่_๖_-_๑๐) 

(คลิกที่ลูกศรด้านล่างไปเรื่อยๆ จนจบปริเฉทที่ ๑๔)


 st12 st12 st12

"เพราะเหตุที่การเห็น(ขันธ์) โดยความเป็นเพชฌฆาต เป็นต้น มีอานิสงส์มาก ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาพึงเห็นขันธ์ทั้งหลาย โดยความเป็นเพชฌฆาต เป็นต้น เทอญ....."


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ มกราคม 18, 2018, 09:49:42 am
 st12 st12 st12 st11


หัวข้อ: Re: อยากเข้าใจเรื่อง นามรูป
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2018, 09:48:59 pm
 st11 st12 st12 st12