ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อเราถูกเพื่อนบ้าน ผูกโกรธ ไว้ ทั้งที่เขาเป็นฝ่ายผิด เราควรทำอย่างไร  (อ่าน 12051 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บ้านใกล้ เรือนเคียง โบราณกล่าวว่า ควรถ้อยที ถ้อยอาศัย
แต่เมื่อเราปลูกเรือนอยู่มาหลายปี เกือบ 20 ปี

  เพื่อนบ้านก็มาสร้างบ้านอยู่เป็นเพื่อน กัน ก็เกิดปัญหา เรื่องเขตกันเนื่องด้วย การบุกรุกที่ ๆ เขาเข้าใจว่าเป้นของเขา เมื่อเกิดการพิสูจน์ พื้นที่แล้วปรากฏว่าเป็นของเราจริง

   ก็พาลไปเรื่องต่าง ๆ ทุกวันจะโดนด่า ใส่อารมณ์ ไม่พอใจ ด้วยการส่งเสียงเยาะเย้ย ถากถาง แต่ในใจก็คิดว่า แผ่เมตตาให้เขาเถิด นึกว่าเสียงนก เสียงกา
 
   แต่เรายังเป็นปุถุชน เมื่อโดนอย่างนี้ทุกวัน ก็รู้สึกว่า ปริ๊ด เหมือนกัน....

   ถ้าเป็นเพื่อน ๆ คิดว่าควรทำอย่างไร ดีคะ ....

   :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ทำใจ คะ พยายามคิดว่า เป็น เสียงนก เสียงกา ก็ได้คะ แต่ต้องฝึกทำใจไว้ก่อนคะ
 :s_hi: :67:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ความเมตตา ใช้กับคนพาลไม่ได้ ข้อนี้เป็นความจริงที่ผมคนหนึ่งเผชิญอยู่ขณะนี้ในที่ทำงาน เราต้องให้เขาระบาย

อารมณ์ใส่ทั้งที่เรามีเมตตาช่วยเหลืออย่างนี้เหมือนอยู่กับคนบ้า (แม้ทราบว่าเขาเครียดเพราะมรสุมรุมเร้าเป็นหนี้สิน)

แต่ด้วยเวรกรรมก่อไว้ให้ผลเป็นทุกข์ก็หาสำนึกไม่ในความผิดบาปที่กระทำ ดังนั้น "ความเมตตา ใช้กับคนพาลไม่ได้"

เรื่องนี้สร้างความโกรธเกลียดให้กับผมมากถึงขนาดคิดเผาพริกเผาเกลือคั้นเอาให้ตายกันเลยทีเดียว ผมถูกกลั่น

แกล้งมาตลอด 17 ปี ใช้เมตตามาตลอดวันนี้สุดทนขอจองเวรกินเกาเหลาสักหนึ่งคน ครับ!




http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1580476
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2012, 08:38:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลองอ่านดูตามกระทู้นี้ดูก่อนนะครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

หากคุณทำได้ตามนี้สภาพจิตคุณจะติดข้องใจกับสิ่งที่เขาทำต่อคุณน้อยลง

- แล้วคุณก็ค่อยๆพิจารณาเข้าถึงความไม่ติดข้องใจกับสิ่งที่เขาเป็น เขาก็เป็นเช่นนั้นของเขา อยู่ของเขาไปทุกวัน แต่เราเอาใจไปผูกเกี่ยวกับ กาย วาจา ใจ ที่เขาแสดงออกมาแล้ว คุณติดข้องใจแล้วเอามายึดมั่นตั้งไว้ผูกเกี่ยวเป็นความสุข ความสำราญใจของคุณเอง
- หากคุณไม่เอาความสำเร็จ ความสุข ความยินดีของตนเองไปผูกเกี่ยวกับการกระทำของคนอื่น คุณก็จะไม่ติดข้องใจกับการกระทำนั้นๆของเขา ซ้ำกลับสงสารเขาอีกต่างหากว่า เขาคงทุกข์ใจมากมายสาหัสสากัณพ์ จึงได้กระทำเช่นนั้น ความขุ่นมัวใจนั้นทำให้เขาไม่เป็นปกติสุขเลย
- สิ่งที่เราจะให้เขาได้ความความเมตาปารถนาดีแบ่งปันสิ่งที่ดีๆให้แก่เขา แม้เขามองไม่เห็นที่เราทำแต่ใจเรารู้เราเห็นตนเองว่าเรามีปกติสุขปารถนาดีและเอื้อเฟื้อแก่เขาเป็นที่สุด
- เมื่อคุณเจริญจิตของคุณเช่นนี้ๆอยู่เนืองๆ คุณจะรับรู้ถึงสภาพจิตที่ผ่องใส เบาสบาย ไม่มีทุกข์ใดๆของคุณได้เองโดยอัตโนมัติครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้ฉลาด ในธรรม ย่อมพยายามหลีกเลี่ยง คนพาล

  อเสวนา จ พาลานัง การไม่คบคนพาล
   
  โดยหน้าที่การงาน อาจจะต้องทำงานร่วมกัน แต่โดยส่วนตัวนั้น ก็ไม่คบกัน นะคะ
  เราเองทำงาน ก็เจอเพื่อนร่วมงานที่คอยกลั่นแกล้ง เช่นกันสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะให้มาชื่นชอบทุกคนคงไม่ได้ ที่สำคัญเมื่อเรารู้อย่างนั้น ก็ต้องเอาตัวรอดในท่ามกลางคนพาลให้ได้ อันนี้เป็นศิลปะของการดำเนินชีวิตด้วยพระธรรม กรรมฐานย่อมจะส่งเสริมให้ใจมีความสงบ ลงแล้วมองเหตุที่ควรจะทำ คะ

   คาถาพญาไก่เถื่อน ใช้ได้ดี นะคะ

   
    :25: :s_hi:


ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2012, 01:34:03 am โดย saieaw »
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เชื่อ กฏแห่งกรรม ก่อนเป็นที่ตั้งครับ

  การที่เราถูกเขา ด่า กลั่นแกล้ง นั้น ก็เพราะกรรมที่ถูกผูกพยาบาท กันไว้ไม่ใช่ ที่จะทำให้หมดไปได้ ต้องใช้เวลากันหลายชาติ นะครับ ดูเหมือน พระพุทธเจ้า กับ พระเทวฑัตร สิครับ ผลัดกันไป ผลัดกันมา ไม่มีที่สิ้นสุดก็เพราะการผูกโกรธ ผูกอาฆาต ผูกพยาบาท


   ในโลกนี้ มีคนอีกมากมายที่ ไม่ได้ใส่ใจ ในคุณงามความดีของเรา ครับ เขาเพียงแต่ชอบ หรือไม่ชอบ ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ ซึ้งเป็นวิสัย ของ เวเนยยะบุคคล คือ บุคคลประเภทที่สาม ดี ๆ ไม่ดี ก็เจอพวก ปทปรมะ เข้ามาก ๆ สิ่งเหล่านี้ เราเลี่ยงไม่ได้ เพราะเทียบอัตตราส่วน กับพวก อุคติตัญญู และ วิปจิตัญญู แล้วสัดส่วนไม่สมดุลย์ ครับ ดังนั้น

   ผู้เรียนธรรม ภาวนาธรรม ปรารถนาในคุณงามความดี ไม่ควรเกลือกกลั้ว กับ อกุศลธรรม เหล่านี้ครับ


 
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ชีวิตเราถ้าเลือกได้ ก็อยากเลือก อยู่ในกลุ่มคนดี มีธรรมะ มีการภาวนา มีน้ำใจ แต่ชีวิตในความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้ ในหลวงพระองค์ จึงทรงตรัสไว้ ให้ส่งเสริมคนดี และ ให้คนดีมีอำนาจ ถึงแม้คำตอบจะได้อย่างนี้ แต่โจทย์ในชีวิตประจำวัน นั้นทำได้ยาก เพราะคนดี ไม่มีป้ายแขวนคอ ว่าเป็นคนดี และ ทุกคน มีโอกาสเป็นทั้งคนดีและคนชั่ว หาก ไม่มีการรักษาศีล ภาวนาแล้ว โอกาสเหมือน ๆ กัน

   ดังนั้น ในชีวิตการทำงาน ผมเองก็เจอคนไม่ดี เป็นส่วนมาก คนที่เกลือกกลั้วอบายมุขมีมากกว่า คนที่ไม่ยุ่งและคนที่ เกลือกกลั้ว อบายมุข ก็ไม่ชอบคนที่ดี ซะด้วย เพราะเป็นเรื่องที่ขัดหู ขัดตาเขา ดังนั้นการรังแก กลั่นแกล้ง จึงมีเกิดขึ้นด้วยเป็นธรรมดา โดยเฉพาะ ชีวิตการทำงานบางคน ก็เหยียบเอาผลงานเป็นของตน เพื่อก้าวเข้าสู่ความก้าวหน้าในชีวิตของเขา

   ดังนั้นการอยู่ในสังคม จึงต้องสวม หัวโขน ไว้บ้างการประกาศตนเป็นคนดีนั้น ต้องเด็ดเดี่ยว ไม่ใช่เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย หากเมื่อประกาศว่าเราเป็นคนดี โจทย์จะยากขึ้น เพราะคนชั่ว ก็จะอาศัยความเป็นคนดี ของเรานั้นเป็นข้อได้เปรียบ ดังนั้น เมื่อเราประกาศเป็นคนดี ก็ต้องเด็ดเดี่ยว ยอมถูกเอาเปรียบ เสียสละ อดกลั้น อดทน มีศีล มีภาวนา นะครับ เรื่องนี้ผมเข้าใจดี เพราะเป็นตรา เป็นยี่ห้อ ที่เราจะภาคภูมิใจที่สุด แม้เราอาจจะต้องน้ำตาไหล เมื่อถูกกระทำ ย่ำยี และเอาเปรียบ แต่คุณค่า มันอยู่ที่ใจ ของเราครับ

  อดทน ข่มกลั้น มีศีล มีภาวนา เป็นตราบุญ ซึ่งจะสิ้นสุดได้ และไม่มีต่อไป

  อย่าพยาบาท ผูกโกรธ มันจะเป็นตราบาป ไม่สิ้นสุด
   
 
บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลองฟังเรื่อง กฏแห่งกรรม เรื่อง หมอชะลอ ดูสิครับ จะเข้าใจการจองเวร กัน ที่มี ต่อกัน

 :s_hi:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
องค์ 4 แห่งผู้ปรารถนา พุทธภูมิ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:57:45 pm »
0
เห็นโทษของ ความริษยา จึงไม่ริษยา
เห็นโทษของ ความรัก จึงไม่รัก
เห็นโทษของ ความเมา จึงไม่เมา
เห็นโทษของ ความโกรธ จึงไม่โกรธ

ขอบคุณพระอาจารย์ ครับ ที่แนะนำเรื่องนี้ไว้นานแล้ว



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพยายามฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แต่ไม่อาจทำแม้เพียงความสะดุ้งสะเทือน จึงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล มนุษย์คนหนึ่งถูกตัดสินให้แพ้คดีที่ศาลประคองแขนสะอึกสะอื้นออกจากศาล เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปทำราชการ จึงซบลงที่เท้าพระโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนแพ้คดีว่า ข้าแต่นาย เมื่อคนเช่นท่านถวายอรรถและธรรมแด่พระราชายังอยู่ กาฬกะเสนาบดีรับสินบนทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ

พระโพธิสัตว์เกิดความสงสารกล่าวว่า มาเถิดพ่อหนุ่มเราจักวินิจฉัยคดีของท่านเอง แล้วพามนุษย์ผู้นั้นไปยังศาล มหาชนประชุมกัน พระโพธิสัตว์กลับตัดสินให้เจ้าของนั้นแหละเป็นเจ้าของ มหาชนต่างแซ่ซ้องสาธุการ เสียงนั้นได้อึกทึกสนั่นไป พระราชาทรงสดับเสียงนั้นตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ธรรมธัชปัณฑิตตัดสินคดีที่กาฬกะเสนาบดีตัดสินไว้ผิดให้ถูก นั่นเป็นเสียงแซ่ซ้องร้องสาธุการ ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า

พระราชาทรงโสมนัสตรัสให้หาพระโพธิสัตว์มาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ได้ยินว่า ท่านตัดสินคดีหรือ

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถูกแล้วพระเจ้าข้า ท่านกาฬกะเสนาบดี ตัดสินไว้ไม่ดี ข้าพระพุทธเจ้าวินิจฉัยเสียใหม่

ตรัสว่าตั้งแต่นี้ไป ขอให้ท่านจงตัดสินคดีเถิด เราจะได้สบายหู ทั้งประชาชนจะได้มีความเจริญ แล้วทรงขอร้องว่า ท่านจงนั่งที่ตัดสินคดี เพื่ออนุเคราะห์ต่อราษฎรเถิด

แม้พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนา แต่ก็ได้ทำตามพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็นั่ง ณ ที่ตัดสินคดี กระทำผู้เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ กาฬกะเสนาบดี เมื่อไม่ได้รับสินบน ตั้งแต่นั้นมาก็เสื่อมจากลาภ จึงเพ็ดทูลพระราชาให้บาดหมางพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมธัชบัณฑิต ปรารถนาราชสมบัติของพระองค์

พระราชาไม่ทรงเชื่อ ทรงห้ามว่าท่านอย่าพูดอย่างนั้น

เมื่อเสนาบดีกราบทูลอีกว่า หากพระองค์ไม่ทรงเชื่อข้าพระองค์ ขอจงทรงคอยทอดพระเนตรทางพระแกลในเวลาที่ธรรมธัชบัณฑิตมาเถิด ทีนั้นพระองค์ทรงเห็นพระนครทั้งสิ้นถูกธรรมธัชบัณฑิตกำไว้ในเงื้อมมือของตน

พระราชาทอดพระเนตรขบวนพวกลูกความของธรรมธัชบัณฑิต ทรงเข้าใจว่าเป็นพวกของธรรมธัชบัณฑิตทั้งสิ้น ทรงแหนงพระทัย ตรัสถามว่า เราจะทำอย่างไรเสนาบดี

กราบทูลว่า ขอเดชะ ควรฆ่าธรรมธัชบัณฑิตพระเจ้าข้า

ตรัสว่า เรายังไม่เห็นโทษร้ายแรงจะฆ่าเขาอย่างไรได้

กราบทูลว่า มีอุบายอย่างหนึ่งพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่าอุบายอย่างไร

กราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงยกกรรมอันให้แก่ธรรมธัชบัณฑิตนั้น แล้วฆ่าเขาผู้ไม่สามารถทำกรรมนั้นได้เสีย โดยความคิดนั้นเถิดพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่า ก็กรรมอันเหลือวิสัยของธรรมธัชบัณฑิตเป็นอย่างไร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ธรรมดาอุทยานที่ปลูกสร้างในพื้นดินแข็งบำรุงอยู่ จะให้ผลใน ๓ - ๔ ปี ขอพระองค์ตรัสเรียกธรรมธัชบัณฑิตนั้นมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิตเราประพาสอุทยานเก่ามานานแล้ว บัดนี้ประสงค์จะประพาสอุทยานใหม่ พรุ่งนี้เราจะไปประพาสอุทยาน ท่านจงสร้างอุทยานให้เราเถิด ธรรมธัชบัณฑิตนั้น คงสร้างไม่ได้เป็นแน่ ที่นั้นแหละพระองค์จักสำเร็จโทษธรรมธัชบัณฑิตเสีย

พระราชาตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาตรัสตามที่กาฬกะเสนาบดีทูลอุบายทุกประการ

พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาถูกกาฬกะเสนาบดีผู้ไม่ได้รับสินบนเพ็ดทูลยุยงแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์สามารถจักรู้เอง กลับไปเรียน บริโภคโภชนะอย่างดี นอนคิดตรองอยู่บนที่นอน พิภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการร้อน ท้าวเธอตรวจดูก็รู้ความคิดของพระโพธิสัตว์ รีบเสด็จมาเข้าห้องอันมีสิริประทับยืนอยู่บนอากาศ ตรัสถามว่า บัณฑิต ท่านคิดอะไร

พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร

ตอบว่าเราเป็นท้าวสักกะ

พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า พระราชาให้ข้าพระองค์สร้างอุทยานใหม่ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำอย่างไรจึงจะสร้างได้

ท้าวสักกะตรัสว่า บัณฑิตท่านอย่าคิดเลย เราจักเนรมิตอุทยานเช่นกับสวนนันทวันและจิตรลดาให้ท่าน ท่านจะให้สร้างที่ไหน

พระโพธิสัตว์ทูลว่า ขอจงสร้างที่โน้นเถิด

ท้าวสักกะเนรมิตแล้วก็เสด็จกลับเทพนคร รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์เห็นอุทยานโดยประจักษ์แล้ว จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช อุทยานสำหรับพระองค์สำเร็จแล้ว ขอจงเสด็จประพาสเถิด

พระราชาเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นอุทยานแวดล้อมด้วยปราการสีดังมโนศิลาสูง ๑๘ ศอก มีประตูหอรบครบครัน ประดับด้วยรุกขชาตินานาพรรณ ผลิดอกออกผลสะพรั่ง จึงตรัสถามกาฬกะเสนาบดีว่า บัณฑิตได้ทำตามคำสั่งของเราแล้ว บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บัณฑิตสามารถสร้างอุทยานได้โดยคืนเดียว จะไม่สามารถชิงราชสมบัติหรือ

พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป

กราบทูลว่าจะให้ทำกรรมที่สุดวิสัยอย่างอื่น พระเจ้าข้า

ตรัสถาม กรรมอะไร กราบทูลว่า ขอจงโปรดให้สร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ

พระราชารับว่า ดีละ จึงตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยานท่านได้สร้างเสร็จแล้ว ท่านจงสร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการอันสมควรแก่อุทยานนี้เถิด ถ้าไม่สามารถสร้างได้ ชีวิตท่านจะหาไม่

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์สามารถจักสร้างถวายได้ พระเจ้าข้า

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงเนรมิตสระโบกขรณีอันงดงามยิ่งมีท่าสนานร้อยหนึ่ง มีเขาวงกตพันหนึ่ง ดารดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีเช่นกับสระโบกขรณีนันทา รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ได้ทำสระนั้นให้ประจักษ์แล้ว จึงกราบทูบพระราชาว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าสร้างสระโบกขรณีเสร็จแล้วพระเจ้าข้า

พระราชาทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีนั้น จึงตรัสถามกาฬกะว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป

กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงสั่งให้สร้างคฤหาสน์อันคู่ควรแก่อุทยานเถิด

พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์บัดนี้ท่านจงสร้างคฤหาสน์อันล้วนแล้วไปด้วยงาช้าง สมควรแก่อุทยานนี้ และสระโบกขรณีเถิด หากสร้างไม่ได้ชีวิตของท่านจะหาไม่

ครั้นแล้วท้าวสักกะก็เนรมิตคฤหาสน์ให้แก่พระโพธิสัตว์ รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ทำคฤหาสน์นั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นคฤหาสน์นั้นแล้ว จึงตรัสถามกาฬกะว่า บัดนี้จะทำอย่างไรต่อไป

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้สร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์นั้นเถิดพระเจ้าข้า

พระราชารับสั่งให้พระโพธิสัตว์มหาตรัสว่า บัณฑิตท่านจงสร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์ล้วนไปด้วยงานี้เถิด เราจักเที่ยวเดินด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี หากท่านสร้างไม่ได้ ชีวิตของท่านจะไม่

ครั้งนั้นท้าวสักกะเนรมิตแก้วมณีให้พระโพธิสัตว์ รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์กระทำแก้วมณีนั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นแก้วมณีนั้น ตรัสถามกาฬกะ บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป

กาฬกะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เห็นจะมีเทวดาคอยเนรมิตให้สิ่งที่ปรารถนาแก่พราหมณ์ธรรมธัชเป็นแน่ คราวนี้สิ่งใดมีเทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตได้ ขอพระองค์จงรับสั่งสิ่งนั้นเถิด แม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตมนุษย์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์รับสั่งกะธรรมธัชว่าท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ เถิด

พระราชาตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยานสระโบกขรณีและปราสาท อันแล้วด้วยงา และแก้วมณีสำหรับส่องแสงสว่างแก่ปราสาท ท่านสร้างให้แก่เราเสร็จแล้ว บัดนี้ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ทำหน้าที่รักษาอุทยานแก่เราเถิด หากท่านสร้างไม่ได้ชีวิตจะไม่มี

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอจงยกไว้เป็นพนักงานเถิด เมื่อข้าพระองค์ได้ จักรู้เอง จึงกลับไปบ้านบริโภคอาหารอย่างดีแล้ว นอนตื่นขึ้นในตอนรุ่ง นั่งคิดอยู่บนหลังที่นอนว่า ท้าวสักกะเทวราชสามารถเนรมิตแต่สิ่งที่ตนเนรมิตได้ แต่คงไม่สามารถเนรมิตคนเฝ้าอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การตายอย่างอนาถในป่านั่นแลดีกว่าการตายในเงื้อมมือของผู้อื่น พระโพธิสัตว์มิได้บอกเล่าแก่ใคร ๆ ลงจากเรือนออกจากพระนครทางประตูใหญ่ เข้าป่านั่งรำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษ ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น จึงแปลงเป็นพรานไพรเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถามความนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้แบบบางประหนึ่งว่าจะไม่เคยเห็นทุกข์ยากมาก่อนเลย ท่านนั่งซบเซาอยู่ผู้เดียวเหมือนคนกำพร้า ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านคิดอะไรอยู่

พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย นั่นเป็นความจริง เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้จากบ้านเมืองมาสู่ป่า เราผู้เดียวเท่านั้นนั่งที่โคนต้นไม้ในป่านี้ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ท่านได้ถามว่า ท่านคิดเรื่องอะไร ข้าพเจ้าขอตอบแก่ท่าน

ก็ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่นี้รำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ ผู้เป็นบัณฑิต คือพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย แท้จริงโลกธรรม ๘ประการนี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์ แต่สัตบุรุษทั้งหลาย ถูกโลกธรรม ๘ นี้ กระทบย่อมไม่หวั่น ไม่ไหว ธรรมของสัตบุรุษอันได้แก่ ความไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๘ นี้ ข้าพเจ้านั่งระลึกถึงธรรมนี้ด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุใดท่านจึงนั่งอยู่ที่นี่เล่า พระโพธิสัตว์ตอบว่าพระราชารับสั่งให้หาบุคคลเช่นนั้นได้ จึงคิดว่าจะมีประโยชน์อะไรด้วยความตายในเงื้อมมือของผู้อื่น เราจักเข้าป่าไปตายอย่างอนาถ จึงได้มานั่งอยู่ที่นี่

ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์เราคือท้าวสักกะ เราเนรมิตสวนให้ท่านแล้ว แต่ไม่สามารถจะเนรมิตผู้รักษาสวนซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ ช่างกัลบกผู้แต่งพระศกของพระราชาท่านชื่อว่า ฉัตตปาณี เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ท่านจงกราบทูลให้ทรงแต่งตั้งช่างกัลบกนั้นเป็นผู้รักษาสวนเถิด

ท้าวสักกะเทวราชประทานโอวาทแก่พระโพธิสัตว์แล้ว ทรงปลอบโยนว่า อย่ากลัวเลย แล้วเสด็จคืนสู่เทพบุรีของพระองค์ พระโพธิสัตว์ไปบ้านบริโภคอาหารแล้วไปถึงประตูพระราชวัง พบฉัตตปาณีที่ประตูพระราชวังนั้น จับมือฉัตตปาณีแล้วถามว่า สหายฉัตตปาณีได้ข่าวว่าท่านประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ

เมื่อฉัตตปาณีถามว่า ใครเป็นผู้บอกท่านว่า ข้าพเจ้าประกอบด้วยองค์ ๔

ตอบว่าท้าวสักกะเทวราช

ถามว่า เหตุไรจึงบอก

พระโพธิสัตว์จึงเล่าเรื่องทั้งหมดว่า บอกด้วยเหตุนี้

ฉัตตปาณีกล่าวว่า ถูกแล้วข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงจับมือฉัตตปาณีไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชฉัตตปาณีเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ขอจงทรงตั้งฉัตตปาณีนี้เป็นผู้รักษาสวนเถิด พระเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ได้ยินว่าท่านเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ กราบทูลว่าถูกแล้ว พระเจ้าข้าพระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คืออะไรบ้าง ฉัตตปาณีทูลว่า :

ขอเดชะ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา เป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา เป็นผู้ไม่ติดในความรัก เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในความไม่โกรธ

ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความริษยาไม่มีแก่ข้าพระองค์ น้ำเมาข้าพระองค์ไม่เคยดื่ม ความรักก็ดี ความโกรธก็ดี ไม่เคยมีในผู้อื่น ข้าพระองค์ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้


ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่านเป็นผู้ไม่ริษยาหรือ

กราบทูลว่า ขอเดชะ ถูกแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา

ท่านเห็นเหตุอะไรจึงเป็นผู้ไม่ริษยา

ฉัตตปาณีกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงโปรดสดับเถิด เมื่อจะกล่าวถึงเหตุของการไม่ริษยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :

        ข้าแต่ราชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้จองจำปุโรหิต เพราะหญิงเป็นเหตุ

ปุโรหิตนั้นให้ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในประโยชน์แล้ว

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ริษยา

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า (รายละเอียดปรากฏในพันธนโมกขชาดก) ข้าพระองค์นี้แหละ เมื่อก่อนเป็นพระราชาในกรุงพาราณสีนี้เอง เช่นกับพระองค์ ให้จองจำปุโรหิต เพราะสตรีเป็นเหตุ คือ ครั้งหนึ่งช่างกัลบกฉัตตปาณีนี้เป็นพระราชา ถูกพระเทวีผู้ลักลอบกับพวกข้าบาทมูล ๖๔ นายผู้หวังจะให้พระโพธิสัตว์ ซึ่งไม่สนใจตนให้พินาศ ทูลยุยงให้จองจำ

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ถูกจองจำไปเฝ้า จึงกราบทูลโทษของพระเทวีตามเป็นจริง ได้รอดพ้นเอง ได้ทูลให้ปลดปล่อยพวกข้าบาทมูลที่รับสั่งให้จองจำนั้นทั้งหมด ถวายโอวาทว่าข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงนิรโทษให้แก่พวกข้าบาทมูลเหล่านั้น และพระเทวีเถิด พระเจ้าข้า

ก็ในกาลนั้นพระราชาฉัตตปาณีนั้น คิดว่าเราละเลยสนมหนึ่งหมื่นหกพัน คลอเคลียอยู่กับพระเทวีเพียงนางเดียวเท่านั้นด้วยอำนาจกิเลส ยังไม่สามารถจะให้นางอิ่มหนำได้ ขึ้นชื่อว่าการโกรธต่อหญิงทั้งหลายที่ให้เต็มได้ยาก อย่างนี้ก็เช่นกับการโกรธผ้านุ่งที่เศร้าหมองว่า เหตุใดผ้าจึงเศร้าหมอง และเป็นเช่นกับการโกรธอาหารที่บริโภคแล้วกลับเป็นคูถ ว่าทำไมจึงกลับเป็นคูถ ต่อแต่นี้ไปเราขออธิษฐานว่า ยังไม่บรรลุอรหัตตราบใด ขอความริษยาจงอย่าเกิดแก่เราเพราะอาศัยกิเลสตราบนั้น ตั้งแต่นั้นมาพระราชามิได้ทรงริษยาเลย ฉัตตปาณีกัลบกกล่าวว่าเพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงไม่ริษยา หมายถึงความข้อนี้

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนท่านฉัตตปาณี ท่านเห็นอารมณ์อันใดจึงเป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา ฉัตตปาณีเมื่อจะกราบทูลถึงเหตุนั้นจึงกล่าวคาถานี้ว่า :

        ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเมาแล้วจึงได้กินเนื้อบุตร

ข้าพระพุทธเจ้าถูกความโศกถึงบุตรนั้นกระทบแล้ว

จึงเว้นการดื่มน้ำเมา

อธิบายความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อนข้าพระองค์เป็นพระเจ้าพาราณสีเช่นเดียวกับพระองค์ ขาดน้ำเมาเสียแล้วก็ไม่สามารถจะดำเนินชีวิตไปได้ แม้อาหารที่ไม่มีเนื้อก็ไม่สามารถบริโภคได้ ที่พระนครไม่มีการฆ่าสัตว์ในวันอุโบสถ พ่อครัวซื้อเนื้อมาเก็บไว้แต่วัน ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์ เนื้อนั้นเก็บไว้ไม่ดี สุนัขจึงกินเสียหมด พ่อครัวหาเนื้อในวันอุโบสถไม่ได้ จึงปรุงอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ สำหรับพระราชายกขึ้นไปบนปราสาท แต่ไม่อาจนำเข้าไปได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวีวันนี้ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้ จึงไม่อาจนำพระกระยาหารที่ไม่มีเนื้อเข้าไปถวายได้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไรดี

พระเทวีตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า โอรสของเราเป็นที่รักโปรดปรานของพระราชา พระราชาทรงเห็นโอรสของเราแล้วก็จะทรงจุมพิตสรวมกอดโอรสนั้นเพลินจนไม่ทรงทราบว่า เนื้อมีหรือไม่มีสำหรับพระองค์ เราจะแต่งตัวโอรสแล้วให้นั่งบนพระเพลาของพระราชา เวลาที่พระองค์ทรงหยอกล้อพระโอรส ท่านจึงค่อยนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย

พระเทวีตรัสดังนั้นแล้วจึงตกแต่งพระราชกุมารโอรสของพระองค์ให้นั่งบนพระเพลาของพระราชา ในเวลาที่พระราชาทรงหยอกล้อเล่นกับพระโอรส พ่อครัวจึงนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย พระราชาทรงเมาสุรา ไม่ทรงเห็นเนื้อในถาด จึงตรัสถามว่า เนื้ออยู่ไหน พ่อครัวกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้เพราะวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ จึงตรัสว่า ชื่อว่าเนื้อสำหรับเราหาได้ยากนักหรือ จึงทรงหักคอพระโอรสที่นั่งอยู่บนพระเพลา จนถึงสิ้นชีพิตักษัย โยนไปข้างหน้าพ่อครัวตรัสว่า จงไปปรุงมาโดยเร็ว

พ่อครัวได้ทำตามรับสั่ง พระราชาได้เสวยพระกระยาหารด้วยเนื้อพระโอรสแล้ว มิได้มีผู้สามารถร่ำไห้ทัดทานแม้แต่คนเดียว เพราะกลัวพระราชา พระราชาครั้นเสวยเสร็จแล้วเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงตื่นบรรทมตอนใกล้รุ่ง ทรงสร่างเมาแล้วรับสั่งว่า จงนำโอรสของเรามา

ในกาลนั้นพระเทวีหมอบกันแสงร่ำไห้อยู่ ณ แทบพระบาท เมื่อพระราชาตรัสถามว่า กันแสงเรื่องอะไร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เมื่อวานนี้พระองค์ทรงฆ่าพระโอรสแล้วเสวยพระกระยาหารกับเนื้อพระโอรสเพคะ พระราชาทรงกันแสงด้วยความโศกถึงพระโอรส ทรงเห็นโทษในการดื่มน้ำเมาว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแก่เรา เพราะอาศัยการดื่มน้ำเมา แล้วทรงกำฝุ่นขึ้นมาทาพระพักตร์ ทรงอธิษฐานว่า ตั้งแต่นี้ไปเรายังไม่บรรลุพระอรหัตตราบใด เราจักไม่ดื่มสุราตราบนั้น ตั้งแต่นั้นมาพระองค์มิได้ทรงดื่มน้ำเมาอีกเลย

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ฉัตตปาณีท่านเห็นอารมณ์อะไรหรือ จึงไม่มีความรัก ฉัตตปาณีเมื่อจะทูลเหตุนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :

        ข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่ากิตวาส

โอรสของข้าพระองค์ทำลายบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วสิ้นชีวิต

ข้าพระองค์ไม่มีความรักเพราะโอรสนั้นเป็นเหตุ

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อนข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่า กิตวาส ในกรุงพาราณสี โอรสของข้าพระองค์ได้ประสูติ ครั้นประสูติแล้ว โหรเห็นลักษณะพระโอรสแล้วทำนายว่า ข้าแต่มหาราช พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระโอรสนี้จักอดน้ำสิ้นพระชนม์ พระเจ้าข้า

พระชนกชนนีทรงขนานนามพระโอรสนั้นว่า ทุฏฐกุมาร กุมารนั้นครั้นเจริญวัยแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งอุปราช พระราชาโปรดให้พระกุมารตามเสด็จ ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเสมอ และเพราะเกรงพระโอรสจะอดน้ำตาย จังรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้ในที่นั้น ๆ ภายในพระนครในประตูทั้งสี่ด้าน รับสั่งให้สร้างมณฑปไว้ตามสี่แยกเป็นต้น แล้วให้ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้

วันหนึ่งพระกุมารแต่งพระองค์เสด็จประพาสอุทยานแต่เช้าตรู่ พบพระปัจเจกพุทธเจ้าในระหว่างทาง มหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วต่างก็กราบไหว้สรรเสริญและประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น พระกุมารนั้นคิดว่า พวกที่ไปกับคนเช่นเราพากันกราบไหว้สรรเสริญประคองอัญชลีแด่พระสมณะโล้นนี้ ทรงพิโรธ ลงจากช้างเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสถามว่า สมณะท่านได้ภัตตาหารแล้วหรือ

พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า ได้แล้ว พระกุมาร

พระกุมารจึงแย่งบาตรจากมือพระปัจเจกพระพุทธเจ้าทุ่มลงบนพื้นดินเหยียบย่ำยีภัตตาหารให้แหลกไป

พระปัจเจกพุทธเจ้าแลดูหน้าพระกุมารนั้น คิดว่าสัตว์ผู้นี้จะวอดวายเสียแล้วหนอ

พระกุมารตรัสว่า สมณะเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวาส มีนามว่าทุฏฐกุมาร ท่านโกรธเรา มองดูตาเรา จะทำอะไรเรา

พระปัจเจกพุทธเจ้า บาตรแตกแล้วจึงเหาะขึ้นสู่เวหาไปสู่เงื้อมเขานันทมูล ณ หิมวันตประเทศ เบื้องทิศอุดร ขณะนั้นเองกรรมชั่วของพระกุมารก็ให้ผลทันตา พระกุมารมีพระวรกายเร่าร้อนพลุ่งพล่าน ตรัสว่า ร้อนเหลือเกินล้มลง ณ ที่นั้นเอง น้ำทั้งหมดที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง สระนั้นหลายก็แห้งผาก พระกุมารสิ้นชีพิตักษัยในที่นั้นเอง ไปบังเกิดในนรกอเวจี

พระราชาทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ถูกความโศกถึงพระโอรสครอบงำ ทรงดำริว่า ความโศกของเรานี้เกิดขึ้นแต่สิ่งที่เรารัก หากเราจะไม่มีความรักแล้ว ความโศกก็จะไม่เกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขึ้นชื่อว่าความรักในสิ่งใด ๆ ทั้งที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ อย่าได้เกิดขึ้นแก่เราเลย ทรงอธิษฐานดังนี้แล้ว ตั้งแต่นั้นไปก็ไม่มีความรักเลย

ลำดับนั้นพระราชตรัสถามฉัตตปาณีว่า ดูก่อนฉัตตปาณีท่านเห็นอารมณ์อันใดเล่า จึงเป็นผู้ไม่โกรธ ฉัตตปาณีเมื่อจะกราบทูลความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :

        ข้าพระองค์เป็นดาบสชื่อว่าอรกะ

เจริญเมตตาจิตเจ็ดปีอยู่ในพรหมโลก เจ็ดกัป

เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่โกรธ

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นดาบสชื่ออรกะ เจริญเมตตาจิต เจ็ดปี แล้วอยู่ในพรหมโลกถึงเจ็ดสังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป ข้าพระองค์นั้นจึงไม่เป็นผู้โกรธ เพราะประพฤติสั่งสมเมตตาภาวนาสิ้นกาลนาน

เมื่อฉัตตปาณีกราบทูลองค์ ๔ ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ทรงให้สัญญาที่นัดหมายไว้แก่บริษัท ทันใดนั้นเองเหล่าอำมาตย์มีพราหมณ์และคหบดีเป็นต้น ต่างลุกฮือกันขึ้นกล่าวว่า แน่ะ เจ้าคนกินสินบน โจรผู้ชั่วร้าย เจ้าไม่ได้กินสินบนแล้ว จึงคิดจะฆ่าบัณฑิต ต่างช่วยกันจับมือและเท้ากาฬกะเสนาบดีพาลงจากพระราชนิเวศน์ ทุบศีรษะด้วยก้อนหินและไม้ค้อนคนละไม้ละมือ จนถึงแก่ความตาย จึงจับเท้าลากไปทิ้งไว้ที่กองหยากเยื่อ ตั้งแต่นั้นมาพระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ครั้นสวรรคตแล้วก็เสด็จไปตามยถากรรม

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า กาฬกะเสนาบดีในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัตในครั้งนี้ฉัตตปาณีอุบาสกได้เป็นสารีบุตร ส่วนธัมมัทธชปุโรหิต คือเราตถาคตนี้แล

จบ ธัมมัทธชาดก



http://www.dharma-gateway.com/buddha/chadok-02-02/chadok-020710.htm
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ มีคำแนะนำ ที่ดี มีประโยชน์ มากคะ ทัศนะคติ นี่ก็มีความสำคัญนะคะ ถ้ามุ่งมั่นภาวนา ก็ต้องไม่เอาเหตุผลของโลก ต้องเอาเหตุผลเพื่อการออกจาก วัฏฏะสงสาร คะ

  ดังนั้นเชื่อว่า ผู้ภาวนาธรรมกรรมฐาน ทุกท่าน น่าจะมีอุปสรรค เช่นกันทุกท่านคะ

  เป็นกำลังใจให้คะ

  :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:
บันทึกการเข้า

kallaya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 112
  • ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ถ้ามองเห็นทุกข์.........
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
0
คนดีมักถูก เบียดเบียน เป็นกฏของโลก มันเป็นอย่างนั้น
 :49:
บันทึกการเข้า
ปัจจุบันสำคัญที่สุด อดีตก็ช่างมัน อนาคตก็ช่างมัน ถ้าเราทำปัจจุบันไว้ดี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อักโกสกสูตรที่ ๒

    [๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ
      อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้ โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ครั้นแล้ว ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ


      [๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน ย่อมมาบ้างไหม ฯ
      อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว ฯ

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
      ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่ ฯ
       อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตร
           และอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว ฯ
       พ. ดูกรพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้น
           ไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร ฯ


       อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ
           ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม
       พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่
           ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่า เป็นต้น ของท่านนั้น

       ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่า เป็นต้นนั้น ก็เป็นของท่านผู้เดียว
       ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่า เป็นต้นนั้น ก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้วตรัสต่อไปว่า
       ดูกรพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่     
       ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด
       ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่า เป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว
       ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่า เป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว ฯ


       อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ จึงยังโกรธอยู่เล่า ฯ




       [๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
       ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว
       เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน
       ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ
       เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก


       ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลาดังนี้ ฯลฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๑๘๕ - ๕๒๔๖. หน้าที่ ๒๒๔ - ๒๒๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5185&Z=5246&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=631
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/


      กระทู้แนะนำ
      การระงับความโกรธ แบบปัจจุบัน ที่ได้ผล
      http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=849.0

      ทำอย่างไรจะหายโกรธ
      http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=697.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บ้านใกล้ เรือนเคียง โบราณกล่าวว่า ควรถ้อยที ถ้อยอาศัย
แต่เมื่อเราปลูกเรือนอยู่มาหลายปี เกือบ 20 ปี

  เพื่อนบ้านก็มาสร้างบ้านอยู่เป็นเพื่อน กัน ก็เกิดปัญหา เรื่องเขตกันเนื่องด้วย การบุกรุกที่ ๆ เขาเข้าใจว่าเป้นของเขา เมื่อเกิดการพิสูจน์ พื้นที่แล้วปรากฏว่าเป็นของเราจริง

   ก็พาลไปเรื่องต่าง ๆ ทุกวันจะโดนด่า ใส่อารมณ์ ไม่พอใจ ด้วยการส่งเสียงเยาะเย้ย ถากถาง แต่ในใจก็คิดว่า แผ่เมตตาให้เขาเถิด นึกว่าเสียงนก เสียงกา
 
   แต่เรายังเป็นปุถุชน เมื่อโดนอย่างนี้ทุกวัน ก็รู้สึกว่า ปริ๊ด เหมือนกัน....

   ถ้าเป็นเพื่อน ๆ คิดว่าควรทำอย่างไร ดีคะ ....

   :smiley_confused1: :c017:

     
     จาก "อักโกสกสูตร" พระพุทธเจ้าสอนให้วางเฉยไม่ตอบโต้
     การไม่ตอบโต้ เปรียบเสมือนมีคนนำอาหารมาให้เรากิน แต่เราไม่กินอาหารนั้น
     สุดท้ายอาหารนั้น ก็กลับไปเป็นของคนที่นำมาให้เรา


     คำผรุสวาท คำเสียดสี คำไม่สุภาพต่างๆ ของเพื่อนบ้านคุณGoodbye ก็เป็นดั่งอาหารนั้น
     อย่าได้ไปร่วมบริโภคเลย ปล่อยมันอยู่อย่างนั้นแหละ เดี๋ยวเค้าก็เก็บไปกินเอง

      :49: :) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คนดี มักถูกเบียดเบียน ครับ เป็นกฏของสังคม
คนดี จะได้รับการยกย่อง ในหมู่ของคนดี
คนดี จะได้รับการประนาม และ เบียดเบียนในหมู่ของคนชั่วครับ

 มีคนบอกว่า การอยู่ในสังคม ต้องดีบ้างร้ายบ้าง ถึงจะอยู่รอด

  สมมุติง่าย ๆ ครับ เราเปิดร้านขายของ เมื่อคนซื้อของก็ต้องแลกเปลี่ยน แต่เมื่อคนไม่ดี ก็ต้องไม่แลกเปลี่ยน กินฟรี เพราะคนดีต้องทำทานใช่หรือไม่ครับ

  :coffee2:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
1. สำหรับผมไม่มีนะ  มีแต่วิธีวางเฉย 

2. ทำตัวเหมือนหญ้าพริ้วไหวทำหูทวนลมไปละกัน  เหมือนเด็กหน้ามึนหรือเจ้าหนูจำไม


ฝากวิธีคิดละกันครับ   ให้คิดว่าเราเป็นเตาเผาถ่านส่วนคู่กรณีคือคนคอยเติมถ่าน  ยิ่งเติมเท่าไหร่เตาถ่านยิ่งร้อนแรงส่องแสงสว่างให้คนเห็นความดีในความอดทนของเรา  ระวังก็แต่อย่าโมโหเหมือนเตาถ่านทนร้อนไม่ไหวจนระเบิดเท่านั้นแหละ ...

จากคุณ    : หน้าม้าคุง ... ฮี้ฮี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2012, 09:50:13 pm โดย nonestop »
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อดทน อดกลั้นไว้มาก ๆ  มันไม่นานก็น่าจะจางคลาย เปลี่ยนไป เลิกไป
คนพาล หลีกได้ให้หลีก
หลีกไม่ได้ก็ต้องรักตนไว้
รักษาตน เท่ากับรักษาผู้อื่นด้วย

รักษาตนด้วยการ สำรวมกาย วาจา ใจ ไว้
อย่าคิดไม่ดี อย่ากล่าวไม่ดี หรือ แสดงออกไม่ดีออกไป
เขาจะทำเลว ก็เรื่องของเขา เอาเวลาที่ตอบโต้ มารักษาจิตเราดีกว่า
 
"จิต"เรา จะไม่รับทุกนั้นไว้ ได้ยินแล้วละไป ไม่ผูกโกรธด้วย
เราทำได้เท่ากับฝึกจิตทุกวัน เท่ากับเราขูดเกลาทุกวัน เราจะเก่งนะคะ

"เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ."
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๐๔

ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว
แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว

เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว
ย่อมชื่อว่าชนะสงคราม อันบุคคลชนะได้โดยยาก
ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น

เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา ดังนี้ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๖๓๕

บันทึกการเข้า

paitong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 103
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอนำคำของพระพุทธเจ้ามาแนะนำนะ
ท่านสอนเยอะมาก และ บทนี้ ให้ทำจิตของเรา เสมอด้วยธาตุ ๕(ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ) ลองใคร่ครวญดู....

[๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

          [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
          ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใดเธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

          [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
         ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
บันทึกการเข้า

paitong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 103
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
"ธรรมะสุขใจ ให้อภัยแก่กัน”
โดย ร้อยโทสุธี สุขสากล
อนุสาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
******************
การให้อภัยแก่ศัตรูหรือคนที่เราโกรธเคืองอยู่เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างยากยิ่ง แต่ถ้าใครทำได้นับว่าเป็น บุญที่ยิ่งใหญ่ การโกรธกันสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้แก่กันทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายที่โกรธและฝ่ายที่ถูกโกรธทำให้จิตใจรุ่มร้อน บางครั้งยังทำให้เพื่อนๆ รอบข้างพลอยอึดอัดไปด้วย แต่ถ้าเรารู้จักนำธรรมะมาใช้ในการดำเนินชีวิต คิดถึงใจเขาใจเรา รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ลดอัตตาตัวตนลงบ้าง พยายามมองในส่วนที่ดีของผู้อื่นแล้วเราจะให้อภัยเขาได้เพราะบางครั้งคนเราก็ทำผิดพลาดกันได้ แต่ถ้ารู้ว่าตนเองผิดก็ต้องรู้จักการกล่าวคำ "ขอโทษ” สำหรับผู้ที่โกรธอยู่ก็ต้องรู้จักการให้อภัย เพราะการให้อภัยแก่กันนับว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่เป็นบุญที่ยิ่งใหญ่มาก ทำให้ทุกคนมีความสุข และทำให้สังคมนั้นน่าอยู่เป็นอย่างยิ่ง ท่านมหาตมะคานที ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยนั้น นับเป็นความเข้มแข็งอย่างแท้จริง” ขอฝากคำสอนของท่านพุทธทาส "จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า....” เขาเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของเรา เขาก็ทำอะไรด้วยความคิดชั่วแล่น และผลุนผลัน เหมือนเรา เขาเป็นเพื่อนเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารด้วยกันกะเรา เขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง เขามีสิทธิ ที่จะมีรสนิยม ตามพอใจของเขา เขามี ราคะ โทสะ โมหะ ไม่น้อยไปกว่าเรา เขามีสิทธิ ที่จะเลือก (แม้ศาสนา) ตามพอใจของเขา เขาย่อมพลั้งเผลอบางคราวเหมือนเรา เขามีสิทธิ ที่จะใช้สมบัติสาธารณะเท่ากันกับเรา เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไมเหมือนเรา ไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา เขามีสิทธิ ที่จะเป็นโรคประสาท หรือเป็นบ้า เท่ากับเรา เขาโง่ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยโง่ เขามีสิทธิ ที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา เขาก็ตามใจตัวเองในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยทำ เขามีสิทธิ ที่จะได้รับอภัยจากเรา ตามควรแก่กรณี เขาก็อยากดี เหมือนเรา ที่อยาก ดี เด่น ดัง เขามีสิทธิ ที่จะเป็นสังคมนิยม หรือเสรีนิยม ตามใจเขา เขาก็มักจะกอบโกย และเอาเปรียบเมื่อมีโอกาสเหมือนเรา เขามีสิทธิ ที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น เขาเป็นคนธรรมดา ที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่างๆ เหมือนเรา ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น เขาไม่มีหน้าที่ ที่จะเป็นทุกข์ หรือตายแทนเรา เขาเป็นเพื่อนร่วมชาติ ร่วมศาสนากะเรา

***********************
บันทึกการเข้า