ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด  (อ่าน 4696 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kanakorn

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 9
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 10:15:40 am »
0
ต้องปฏิบัติตั้งแต่ ข้อ 1 เลยใช่หรือไม่ คือสัมมาทิฏฐิ ถ้าเราไม่เริ่มที่ ข้อ หนึ่งจะข้ามไปข้ออื่นแล้วย้อนไปย้อนมาไม่เรียงตามแปดข้อจะได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ แสดงว่า ถึงแม้จะไปเริ่มที่สัมมาอาชีวะ ก็จะปฏิบัติไปไม่ได้อยู่ดีใช่หรือไม่ครับ ทำให้ มรรคไม่ครบองค์แปด...หรือครบแต่ไม่ถูกต้อง
บันทึกการเข้า

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 07:51:04 pm »
0
ข้อที่ 1 คือ อะไรครับ เป็นการปฏิบัติหรือ ไม่ ครับ

    สัมมาทิฏฐิ ไม่ต้องปฏิบัติครับ เป็น ปัญญา ไม่ต้อง แต่เป้นข้อแรก ที่จะต้องมี
   
    สัมมาสังกัปปะ ไม่ต้องปฏิบัติ แต่เป็นความตั้งใจครับ คือการอธิษฐาน แน่วแน่ เพื่อ จะละจากวัฏฏะสงสารนี้ อันนี้ก็เป็นปัญญา ครับ

    สัมมาวาจา       เป็นส่วนของกาย ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว และ แยกจากกันไม่ได้ จากกาย
    สัมมากัมมันตะ   เป็นส่วนของกาย คือ การทำการงานที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสุจริต แยกจากกายไม่ได้
    สัมมาอาชีวะ     เป็นส่วนของการเลี้ยงชีวิต ด้วยสัมมาอาชีพ ก็อยู่ส่วนของกายเช่นกัน

    คุยกันเท่านี้ก่อนครับ

   :49:
   
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 08:50:06 pm »
0



มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ”); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป)
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4)


       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ
             ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล
             ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ
             ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา

       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

_________________________________________________________________
อ้างอิง : ที.ม. 10/299/348; ม.มู. 12/149/123; ม.อุ. 14/704/453; อภิ.วิ. 35/569/307.
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน)
    1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
    2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)
    3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)


       เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

______________________________________
อ้างอิง : ที.ปา. 11/228/231; องฺ.ติก. 20/521/294.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.bansuanporpeang.com/,http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 09:30:35 pm »
0


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

แก้สัมมาทิฏฐิ
         
       บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.
       ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึงทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า
       ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ
             โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑
             โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.
       ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ.
       ส่วนปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่าโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ.


      แต่คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี ๓ ประเภท คือ
             ปุถุชน ๑
             เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑
             อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.
       ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ
             พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑
             ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑.
       ในจำนวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ.
       ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลำความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).


        เสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน.
        ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
        แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.
        เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.


        อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
        อริยสา วกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่าผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.

___________________________________________________________________
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1#แก้สัมมาทิฏฐิ



อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร
       
       พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป.
       ศีลอันยิ่งนั้นด้วย ชื่อว่าสิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิสีลสิกขา.
       แม้ในสิกขาทั้ง ๒ นอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
       ในอธิสีลสิกขา เป็นต้นนั้น ศีลคือศีลอันยิ่ง จิตคือจิตอันยิ่ง ปัญญาก็คือปัญญาอันยิ่ง
       เพราะเหตุนั้น พึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้.


       ศีล ๕ และศีล ๑๐ ชื่อว่าศีล. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่าศีลอันยิ่ง.
       สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต (สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนาจัดเป็นจิตอันยิ่ง.
       กัมมัสสกตาญาณจัดเป็นปัญญา. วิปัสสนาจัดเป็นปัญญาอันยิ่ง.


       เพราะว่า ศีล ๕ และศีล ๑๐ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้น
       เพราะเหตุนั้น ศีล ๕ ศีล ๑๐ จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ.
       ปาติโมกขสังวรศีลย่อมมีเฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น
       เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวรจึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง.
       แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน.


       อีกอย่างหนึ่ง ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน
       แม้สมาบัติ ๘ ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน.
       หรือว่าโลกิยศีลทั้งหมดเป็นศีลเท่านั้น. (ส่วน) โลกุตตรศีลเป็นศีลอันยิ่ง.
       แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

____________________________________________________________________
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3#ว่าด้วยธรรมหมวด_๓_ข้อ_(๒๒๘)
ขอบคุณภาพจาก http://board.postjung.com/,http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 09:54:26 pm »
0


การมีสัมมาทิฏฐิ

สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะนำไปสู่การตั้งเป้าหมายของชีวิต และการเลือกวิถีชีวิต คือ วิธีที่เรามองโลกและชีวิต ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปสู่ความคิด คำพูด และการกระทำของเรา ยกตัวอย่างเช่น เด็ก 3 คน เห็นนกบินมาเกาะที่ต้นไม้
     คนแรกมองเห็นนกเป็นอาหาร ก็คิดว่า “ มันน่ายิง เอามาย่างกิน คงอร่อยดี”Ž
     คนที่สองมองเห็นเป็นของเล่น ก็คิดว่า ”นกสีสวยจริงๆ น่าจับมาเลี้ยง”Ž
     คนที่สามมองเห็นนกเป็นสัตว์ที่มีความทุกข์ ก็คิดว่า “มันมีกรรมอะไรหนอ ถึงต้องมาเกิดเป็นนก”Ž


แม้ภาพนกที่ทั้งสามคนมองเห็นจะเป็นภาพเดียวกัน แต่การแปล ความหมายภาพนั้นมาสู่ ความคิด คำพูด และการกระทำ กลับแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมองสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ผ่านกรอบความคิดที่ต่างกันนั่นเอง ดังนั้นวิถีชีวิตของเรา จะดำเนินไปอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้น คือ กรอบความคิด หรือความรู้ความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตนั่นเอง

ดังที่เราได้ทราบแล้วว่าแผนที่ในการดำเนินชีวิต ก็คือ วิธีที่เรามองโลกและชีวิต ดังนั้น หากต้องการให้เส้นทางชีวิตนั้นพบกับความสุขและความสำเร็จที่แท้จริง ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึง ถึงประการแรกคือ การมองโลกและชีวิตให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งศัพท์ทาง พระพุทธศาสนาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิŽ


ความหมายของคำว่า “ สัมมาทิฏฐิ”Ž
สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก หมายถึงการมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิต ว่าเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ คือ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้ว หนทางในการก้าวไปให้ถึงเป้าหมายของชีวิตก็เป็นเรื่องที่ไม่ยาก จนเกินไป อีกทั้งหนทางการสร้างบารมีก็จะสว่างสดใสเลยทีเดียว


ระดับของสัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
    1. สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น หรือระดับโลกียะ เป็นความเข้าใจถูกในระดับที่เกื้อกูลให้ชีวิต ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หรือในระหว่างที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าจะหมดกิเลส
    2. สัมมาทิฏฐิเบื้องสูง หรือระดับโลกุตตระ เป็นความเข้าใจถูกในระดับ รู้แจ้งเห็นจริงของพระอริยเจ้าด้วยการเจริญสมาธิภาวนา จนสามารถกำจัดกิเลสได้ไปตามลำดับ

1. สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เป็นเรื่องที่ชาวโลกทุกคน ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง มี 10 ประการ คือ
     1. ทานที่ให้แล้วมีผล (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
     2. ยัญที่บูชาแล้วมีผล (หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กัน)
     3. การเซ่นสรวงมีผล (หมายถึงการบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
     4. ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี (กฎแห่งกรรมมีจริง)
     5. โลกนี้มี (หมายถึงความเชื่อเรื่องผลกรรมข้ามชาติมีจริง)
     6. โลกหน้ามี (หมายถึงความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด)
     7. มารดามี (หมายถึงมีบุญคุณ)
     8. บิดามี (หมายถึงมีบุญคุณ)
     9. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง)
   10. ในโลกนี้มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองมีอยู่ (พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสได้ด้วยตนเองมีจริง)


2. สัมมาทิฏฐิเบื้องสูง สัมมาทิฏฐิเบื้องสูง มี 4 ประการ คือ
     1. ความรู้ในทุกข์
     2. ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)
     3. ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
     4. ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดับทุกข์)


สัมมาทิฏฐิเบื้องสูงนี้เกิดขึ้นจากการมีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นเป็นพื้นฐานมาก่อน จากนั้น จะต้องผ่านการทำสมาธิจนเห็นผลแห่งการปฏิบัติมาในระดับหนึ่งจึงจะเกิดความเข้าใจแตกฉานได้ ซึ่งจะยังไม่ขยายความในที่นี้ แต่จะมุ่งไปที่สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นก่อนเป็นอันดับแรก
     สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นทั้ง 10 ประการดังกล่าว ข้อที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อทุกชีวิต มากที่สุด คือ
     ข้อที่ 4 ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ที่ว่าใครทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ใครทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่วจากสิ่งที่ตนเองทำไว้


หากใครมีความเชื่อมีความเข้าใจอย่างนี้แล้ว เขาจะมีกำลังใจสูงที่จะทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะมีความมั่นใจในบุญและกล้าที่จะประกาศว่า ชีวิตนี้เกิดมาก็เพื่อสร้างบุญสร้างบารมีให้มากที่สุด ความชั่วจะไม่ทำ คนลักษณะนี้จะต้องมีความเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมเป็นตัวค้ำไว้ ถ้าไม่มีความเชื่อนี้เสียแล้ว แม้มีโอกาสที่จะทำความดีก็จะไม่ทุ่มเต็มที่ เพราะยังลังเลอยู่ว่าจะได้บุญจริงหรือไม่ แม้ทำก็แค่คิดทำเพียงป้องกันเอาไว้ก่อน ทำแบบไม่สม่ำเสมอ ผลที่ออกมาก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนั้น ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมยังจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในสัมมาทิฏฐิข้ออื่นๆ มากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

ดังนั้น หากมีสัมมาทิฏฐิครบทั้ง 10 ประการนี้แล้ว ต้องถือว่ามีวิถีชีวิตที่สมบูรณ์แบบที่สุด ถึงคราวจะมีโอกาสทำความชั่ว ก็สามารถยับยั้งใจเอาไว้ได้ ใครจะรู้เห็นหรือไม่ก็ตาม ถ้ารู้ว่าเป็นความชั่วแล้วเป็นไม่ทำเด็ดขาด ตรงกันข้าม ถ้าเป็นเรื่องบุญแล้ว จะมีใครรู้เห็น จะมีใครสรรเสริญหรือไม่ก็ตาม ก็จะทุ่มเททำอย่างสุดกำลัง



ความสำคัญของสัมมาทิฏฐิต่อวิถีชีวิต
สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทราบและศึกษาทำความเข้าใจเป็นประการแรก เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปอย่างถูกทาง ความคิด คำพูด และการกระทำ ก็จะปรากฏออกมาในทางที่ดีงาม
     คนเราอาจจะมีความเข้าใจถูกในด้านวิชาการทางโลกเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง
     แต่ความเข้าใจถูกเหล่านั้นยังไม่จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
     ยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตัวเองหรือคนอื่นๆได้

ยกตัวอย่าง บางท่านอาจจะมีความเข้าใจถูกในเรื่องของดาราศาสตร์ ในเรื่องของเทคโนโลยี จนกระทั่งสามารถไปดวงจันทร์ ไปดวงดาวต่างๆ ได้ บางท่านอาจจะมีความเข้าใจถูกในเรื่องการแพทย์ ในเรื่องของการคำนวณ รวมทั้งการปกครองทั่วๆ ไป แต่ก็ยังไม่เรียกว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ต่อเมื่อใดมีความเข้าใจในเรื่องโลก เรื่องชีวิตอย่างถูกต้อง เมื่อนั้นจึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ

เพราะฉะนั้น ใครก็ตามถึงแม้เขาจะเรียนจบปริญญาเอก เป็นศาสตราจารย์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี เป็นมหาเศรษฐี นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นสัมมาทิฏฐิ ตราบใดที่เขายังเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องโลกและชีวิต

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนไว้ในที่หลายๆ แห่ง และเมื่อตรัสครั้งใด จะต้องยกสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นทุกครั้งไป มีตัวอย่างดังนี้
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุข(เกื้อกูล)แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย"Ž


นอกจากนี้ สัมมาทิฏฐิยังเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงกุศลธรรมความดีที่กำลังจะ เกิดขึ้นในภายภาคหน้าอีกด้วย คือ เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นในใจแล้ว ย่อมเป็นทางให้บุญกุศลทั้ง หลายได้เกิดแก่ขึ้นแก่บุคคลนั้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์ เมื่อจะอุทัย คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฏฐิ ฉันนั้น เหมือนกันแล”Ž




ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือวิถีชาวพุทธ ของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
ที่มา : http://book.dou.us/doku.php?id=sb101:1
ขอบคุณภาพจาก : http://www.chiangmai-thailand.net/,http://www.dailynews.co.th/,http://1.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 10:24:46 pm »
0
ต้องปฏิบัติตั้งแต่ ข้อ 1 เลยใช่หรือไม่ คือสัมมาทิฏฐิ ถ้าเราไม่เริ่มที่ ข้อ หนึ่งจะข้ามไปข้ออื่นแล้วย้อนไปย้อนมาไม่เรียงตามแปดข้อจะได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ แสดงว่า ถึงแม้จะไปเริ่มที่สัมมาอาชีวะ ก็จะปฏิบัติไปไม่ได้อยู่ดีใช่หรือไม่ครับ ทำให้ มรรคไม่ครบองค์แปด...หรือครบแต่ไม่ถูกต้อง

     ans1 ans1 ans1
   
     การเดินตามมรรคต้องเริ่มที่ศีลก่อน ตามด้วยสมาธิ
     และหากมีวาสนาบารมีพอปัญญาจะเกิดตามมาเอง


     มรรคมีองค์ ๘ ที่แสดงในชั้นพระไตรปิฎกเป็นอริยมรรค
     มรรคมีองค์ ๘ ของปุถุชนเป็นเพียงมรรคเบื้องต้น ยังไม่สมบูรณ์
     จริงอยู่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดเป็นโลกุตรปัญญา
     แต่ปุถุชนก็มีโลกียปัญญาได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ


    ในขณะปฏิบัติธรรมอยู่ในมรรค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เราอาจมีมรรคครบทั้งแปดองค์ก็ได้
     เช่น ในขณะที่จิตเราอยู่ในกัมมัสสกตาญาณ และสัจจานุโลมิกญาณ
     แต่มรรคนั้นยังไม่ใช่อริยมรรค เรื่องนี้ต้องมีครูบาอาจารย์ช่วยสอบอารมณ์


     อริยมรรคจะเกิดเมื่อจิตของเราอยู่ใน "มัคคญาณ" หรือสภาวะที่เรียกว่า
     โสดาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และอรหันตมรรค นั่นเอง
     อริยมรรคนี้เปรียบเสมือนมีดตัดสังโยชน์ในแต่ละชั้น
     เอาล่ะครับ คุยกันพอเป็นอัธยาศัย ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้

      :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สอบถามเรื่อง อริยมรรคมีองค์แปด
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 17, 2013, 02:04:52 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ