ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: [1] 2 3 ... 556
1  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การ ฝึก สร้าง ความ คิด เชิง บวก เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:55:34 am
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/421


ความคิดเชิงบวก
นำเสนอโดย เทพ สงวนกิตติพันธุ์ ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.อุดรธานี



 :welcome:

กายกับใจนั้นเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน แน่นอนว่าการมีร่างกายที่เจ็บป่วยอาจทำให้ใจห่อเหี่ยว แต่ใจที่ป่วยจากการคิดร้าย มีแต่ความเคียดแค้นเกลียดชังก็นำมาซึ่งโรคทางกายได้เช่นเดียวกัน ทางการแพทย์เรียกว่า Psychosomatic disorder หรือการเจ็บป่วยทางกายอันเนื่องมาจากจิตใจ ดังที่มีคำกล่าวที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

     • การมองสิ่งต่างๆ ในด้านลบ ไม่เพียงแต่ทำให้จิตใจร้อนรุ่มกระวนกระวายเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบให้สมองส่วนล่างเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบ คือ ฮอร์โมนความเครียดหลั่ง หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง กรดในกระเพาะสูง ภูมิต้านทานต่ำลง 

     • ในขณะที่การมองด้านบวก จิตจะสั่งการสมองส่วนล่างด้วยคำสั่งอีกแบบหนึ่ง คือทำให้ฮอร์โมนความสุขหลั่ง หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดลดลง หายใจช้าลง และภูมิต้านทานสูงขึ้น

ความคิดเชิงบวก (positive thinking)

หมายถึง ความคิดที่เกิดจากการมองสิ่งต่างๆ อย่างเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราทั้งในทุกเรื่อง และหากเป็นเรื่องไม่ดีก็รู้จักคิดและพยายามหามุมมองที่เป็นประโยชน์ทางด้านบวกจากสิ่งนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

การคิดเชิงบวกเป็นการหามุมมองที่เป็นบวก มุมมองที่ทำให้เรานั้นมีแง่คิดที่ดี มุมมองที่ทำให้เรามีกำลังใจ มุมมองที่ทำให้เรารู้สึกมีความทุกข์น้อยลง มุมมองที่ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิต กล้าที่จะเผชิญชีวิต หรืออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าสามารถคิดในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แปลว่าเราสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและความสุข

ประโยชน์ของการคิดเชิงบวก

การคิดเชิงบวกเป็นการหามุมมองที่เป็นบวก มุมมองที่ทำให้เรานั้นมีแง่คิดที่ดี ซึ่งให้ประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น
2. ทำให้เรารู้สึกมีความทุกข์น้อยลงมีความสุขมากขึ้น
3. ทำให้เรามีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้น
4. ทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิต หรือพร้อมที่จะเผชิญชีวิต
5. ทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเสียสละเพื่อสังคมมากขึ้น

@@@@@@@

การฝึกสร้างความคิดเชิงบวก

ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงวิธีคิดเชิงบวก ลองถามตัวเองดูก่อนว่าอยากเป็นคนที่มีความสุขมากกว่านี้ไหม หรือกำลังมีความทุกข์เพราะความคิดของตัวเองตลอดเวลาหรือเปล่า หากคำตอบคือ "ใช่" นั่นคือหัวใจสำคัญของการฝึกฝน เพราะ "ความตั้งใจ" เท่านั้นที่จะทำให้การฝึกความคิดเชิงบวกเป็นผลสำเร็จได้

บันไดขั้นที่ 1 : มองตัวเองในแง่ดี

การที่คนเราจะมองโลกหรือมองคนอื่นในแง่ดีได้ ต้องมาจากพื้นฐานที่มองและเชื่อว่าตัวเองดีเสียก่อน ขั้นตอนเพื่อการมองตัวเองว่าดี มีดังต่อไปนี้
     - หาข้อดีของตนเอง ลองสำรวจพิจารณาข้อดีของตนเอง (ไม่ใช่การเข้าข้างตัวเอง) อาจเป็นความดีเล็กๆน้อย เช่น พาคนแก่ข้ามถนน ช่วยลูกนกที่ตกต้นไม้ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตัวเอง
     - ถ่อมตัว การมองเห็นความดีของตนเองนั้นมีไว้เพื่อบอกตัวเราเองให้เกิดความพอใจในตัวเอง รักตัวเอง แต่ไม่ใช่เพื่อข่มหรือคุยทับคนอื่น การถ่อมตัวจึงเป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่พึงจะมีควบคู่กัน
     - นอกจากจะรู้จุดแข็ง(ข้อดี) แล้ว ยังต้องสำรวจจุดอ่อนของตนเองอีกด้วย เมื่อเรายอมรับได้ว่านั่นคือข้อบกพร่องของเราจริงๆ ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ในที่สุด
     - เพิ่มความดี แม้จะรู้ว่าตนมีข้อดีในด้านใดบ้าง ก็ไม่ควรหยุดตัวเองไว้เพียงเท่านั้น แต่ควรเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆที่ดีให้มากยิ่งขึ้น อาจเริ่มต้นโดยการตั้งเป้าหมายเป็นข้อๆ ว่าอยากจะทำอะไรดีๆเพิ่มขึ้นอีกบ้าง แล้วค่อยๆ ฝึกฝนไปทีละข้อ

บันไดขั้นที่ 2 : มองคนอื่นในแง่ดี

เมื่อผ่านบันไดขั้นแรกมาแล้ว จะทำให้เราเริ่มตระหนักว่าคนทุกคนล้วนแต่ไม่สมบูรณ์ ย่อมมีข้อบกพร่องมากน้อยแตกต่างกันออกไป ( แม้แต่ตัวเราก็ยังมีข้อเสีย) ดังนั้น การมีชีวิตที่มีความสุขจึงหมายถึงการอยู่ร่วมกันโดยเลือกมองและใช้ประโยชน์จากความดีที่ผู้อื่นมีอยู่ โดยไม่ใช่การเสแสร้ง แต่เห็นความดีของเขาจริงๆ

บันไดขั้นที่ 3 : มองวิกฤติให้เป็นโอกาส

เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ขึ้น ลองมองความทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วย่อมกลับไปแก้ไขไม่ได้ แต่เราสามารถนำมาพิจารณาได้ว่าในวิกฤติที่เราพบนั้นมีข้อดีอะไรแฝงอยู่หรือจะใช้ประโยชน์จากปัญหานั้นได้อย่างไรบ้าง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรู้สึกว่า รักตัวเองมากขึ้น เลิกทำอะไรไร้สาระ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจมากขึ้น โดย การฝึกสมาธิ ช่วยงานการกุศล เป็นต้น

บันไดขั้นที่ 4 : หมั่นบอกกับตัวเองในเรื่องที่ดี

ขึ้นชื่อว่าเป็นความคิดก็มักจะอยู่กับเราไม่นาน แต่ความคิดก็มักเป็นต้นทางและบ่อเกิดของการกระทำ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำให้ความคิดดีๆ อยู่กับเราตลอดเวลา เช่น บอกตัวเองว่าเป็นคนเก่งทุกครั้งที่ทำอะไรสำเร็จ แม้จะเป็นเพียงความสำเร็จเล็กน้อย บอกตัวเองว่าเพื่อนร่วมงานก็เป็นคนดีคนหนึ่งแม้เขาจะมีข้อบกพร่องอีกหลายอย่าง บอกตัวเองว่าเราโชคดีที่ได้ทำงานยากๆแม้ค่าตอบแทนจะน้อยแต่ก็ทำให้เราได้ประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆ ฯลฯ

บันไดขั้นที่ 5 : ใช้ประโยชน์จากคำว่า “ขอบคุณ”

เคยมีคำสอนจากอาจารย์ รศ.ดร.ทัศนา เเสวงศักดิ์ ได้กล่าวว่า เมื่อต้องพบเจอเรื่องร้าย จงยิ้มแล้วกล่าวคำว่า “ขอบคุณ” เพราะนั่นคือ บททดสอบที่ดีของการมีชีวิตที่เข้มแข็ง หากมีคนด่าว่าคุณ แทนที่จะโต้ตอบให้กล่าวคำว่าขอบคุณ มันจะช่วยลดท่าทีความรุนแรงลงได้เกือบทั้งหมด ทั้งยังทำให้บุคคลนั้นแปลกใจและอาจกลับไปพิจารณาพฤติกรรมของตัวเองได้ โดยที่คุณไม่ต้องพูดอะไรเพิ่มเติมอีก

หากเราตั้งสติและพินิจพิเคราะห์อุปสรรคต่างๆ อย่างมากพอ เราจะรู้สึกขอบคุณต่อข้อขัดข้องเหล่านั้น อย่างน้อยมันก็ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เข้าใจถึงความผิดพลาดว่า ใดไม่ควรทำ และช่วยให้รู้จักมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดนั้นซ้ำอีก

โธมัส อัลวา เอดิสัน เคยบอกกับผู้ช่วยของเขาในระหว่างการทดลองประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าว่า

    "เราไม่ได้ล้มเหลวจากการทดลอง 700 กว่าครั้งที่ผ่านมา แต่เรากำลังเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่า มี 700 วิธีที่ไม่ควรทำ และเราใกล้จะพบคำตอบแล้ว"



ขอบคุณภาพจาก : https://dwf.go.th/contents/36361


คิดบวก ชีวิตบวก

ท่าน ว. วชิรเมธี (พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี) ได้ให้คำสอนในเรื่องการ คิดบวก ชีวิตบวก ไว้ดังนี้

     1. เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
     2. เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
     3. เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
     4. เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ
     5. เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

     6. เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย
     7. เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
     8. เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี
     9. เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง
   10. เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง

   11. เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ
   12. เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความจริงที่ว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง
   13. เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง
   14. เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
   15. เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์

   16. เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด
   17. เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบว่าที่ว่า "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
   18. เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤตย่อมมีโอกาส"
   19. เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต
   20. เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์





ขอบคุณที่มา : https://www.stou.ac.th/main/index.html
เอกสารดาวน์โหลดเรื่อง "การ ฝึก สร้าง ความ คิด เชิง บวก" ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดาวน์โหลด Doc.file ได้ที่ด้านล่าง

อ้างอิง :- 
1. รศ. ดร.ประดินันท์ อุปรมัย การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต : www.vibhavadi.com/health399.html
    วันที่สืบค้น 28/12/2559
2. ดร.สิทธิชัย-จันทานนท์ การคิดเชิงบวก-positive-thinking : www.facebook.com/notes/โรงเรียนศรีวิกรม์
    วันที่สืบค้น 28/12/2559
2  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ช้าก่อนโยม! วัดสุดทน ติดป้ายบอก นักบุญสายหิ้ว ให้เลี้ยงอาหารคนในโรงทานก่อน เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:28:57 am
.



ช้าก่อนโยม! วัดสุดทน ติดป้ายบอก นักบุญสายหิ้ว ให้เลี้ยงอาหารคนในโรงทานก่อน

ช้าก่อนโยม! วัดสุดทน ติดป้ายบอก นักบุญสายหิ้ว ให้เลี้ยงอาหารคนในโรงทานก่อน เหตุสายหิ้วแห่ขนกลับบ้าน จนอาหารคนที่มาโรงทานไม่เพียงพอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีวัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ถึงกับต้องทำป้ายประกาศขอความร่วมมือจากบรรดานักบุญสายหิ้วของโรงทาน ขอให้เลี้ยงแขกที่มาเยือนให้อิ่มก่อน ค่อยหิ้วกลับบ้าน ทำเอาบรรดาเจ้าภาพโรงทานพากันอมยิ้มกับป้ายประกาศครั้งนี้กันทุกราย

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ วัดห้วยขานาง หมู่ 1 ต.หนองยาง อ.หนองฉาง หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม วัดหลวงปู่พลอย หนึ่งในอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัด

โดยวันนี้ที่วัดมีการจัดงานประจำปีด้วยกัน 5 วัน บรรดาผู้มีจิตศรัทธาพากันมาร่วมกันทำบุญที่วัด และมีการตั้งโรงทานเพื่อไว้เลี้ยงต้อนรับคนที่มาร่วมบุญที่วัดในครั้งนี้

@@@@@@@

ซึ่งพบว่า ที่บริเวณจุดตั้งเลี้ยงโรงทานของวัดนั้น มีการแขวนป้ายสีแดงแผ่นใหญ่ มีการเขียนข้อความไว้ว่า “โรงทานวัดห้วยขานาง หยุดก่อนอย่าเพิ่งใส่ถุง เลี้ยงแขกผู้มาเยือนให้อิ่มก่อน ขอความร่วมมืออย่างเคร่งครัด” เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขนอาหารกลับบ้านจนไม่เพียงพอสำหรับผู้มาร่วมงาน

นายวรภัทธ์ วะชูสิทธิ์รัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 15 กล่าวว่า แม่ครัวที่วัดทำอาหารอร่อยมาก จึงเป็นที่หมายปองของผู้ที่ชื่นชอบการนำอาหารกลับบ้าน งานวัดที่เคยจัดครั้งก่อนหน้านี้มักจะมีการขนอาหารกลับไปบ้านกันเยอะมาก เกรงว่าอาหารและขนมจะไม่เพียงพอ จึงได้ปรึกษากับทางกรรมการวัดและทางพระ จึงได้ทำป้ายเตือนสติในการเข้ามาในโรงทาน เนื่องจากงานวัดจัดติดต่อกันหลายวัน จึงจำเป็นต้องติดป้ายดังกล่าวไว้ให้เห็นเด่นชัด ซึ่งตั้งแต่มีป้ายนี้ ผู้ที่มาวัดก็ไม่กล้าขนอาหาร หรือขนมกลับไปกันอีกเลย





ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8199823
23 เม.ย. 2567 - 22:53 น.
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:05:13 am
.



พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง

อ่านแล้วเก็บรักษา บุญรักษาเนืองนอง รู้แล้วบอกทั่วกัน บุญกุศลเรืองรอง

        1. ชีวิตย่อมเป็นไปตามลิขิต (ละชั่วทำดี)    ...วอนขออะไร
        2. วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้    ...กลุ้มเรื่องอะไร
        3. ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์    ...เคารพทำไม
        4. พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา   ...ทะเลาะกันทำไม
        5. ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต    ...ห่วงใยทำไม
        6. ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ   ...ร้อนใจทำไม
        7. ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย    ...ทุกข์ใจทำไม
        8. ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้    ...อวดโก้ทำไม
        9. อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร   ...อร่อยไปใย
      10. ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้   ...ขี้เหนียวทำไม

      11. ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง    ...โกงกันทำไม
      12. โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย    ...โลภมากทำไม
      13. สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียง 3 ฟุต    ...ข่มเหงกันทำไม
      14. ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน    ...หยิ่งผยองทำไม
      15. ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต   ...อิจฉากันทำไม
      16. ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ    ...แค้นใจทำไม (บำเพ็ญไวไว)
      17. นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ   ...เล่นการพนันทำไม
      18. ครองเรือนด้วยความประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น   ...สุรุ่ยสุร่ายทำไม
      19. จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น   ...อาฆาตทำไม
      20. ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก    ...คิดลึกทำไม

      21. ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้    ...รู้มากทำไม
      22. พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด    ...โกหกทำไม
      23. ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วไปในที่สุด    ...โต้เถียงกันทำไม
      24. ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด    ...หัวเราะเยาะกันทำไม
      25. ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา    ...แสวงหาทำไม
      26. ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ    ...ถามโหรเรื่องอะไร
      27. ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย    ...วุ่นวายทำไม




ขอขอบคุณ :-
ข้อธรรม : https://84000.org/pray/orrahan_jeekong.shtml
ภาพ : https://www.silpa-mag.com
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เจดีย์ถล่มพังครืน.! วัดล้านขวด ญาติโยมเศร้าเศษซากกองกับพื้น เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:48:29 am
.



เจดีย์ถล่มพังครืน.! วัดดังระดับโลก ญาติโยมเศร้าเศษซากกองกับพื้น ชาวบ้านไม่พลาดตีเลขหวย

ชาวพุทธเศร้า เจดีย์วัดล้านขวดพังถล่มครืนลงมากองกับพื้น รักษาการเจ้าอาวาส เผยต้องรื้อเศษวัสดุออกให้หมดแล้วเริ่มสร้างใหม่ เพื่อบรรจุอัฐิหลวงพ่อลอด พระผู้สร้างวัดจนโด่งดังไปทั่วโลก

วันที่ 23 เม.ย.2567 ที่วัดล้านขวด ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ญาติโยมพากันเศร้าใจ หลังเกิดเหตุเจดีย์พังถล่มลงมากองราบอยู่กับพื้นเมื่อเวลา 03.00 น. คืนวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งวัดล้านขวดแห่งหนี้เป็นวัดชื่อดังและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.ศรีสะเกษ

เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างด้วยขวด ฝาขวดน้ำอัดลม และฝาเครื่องดื่มบำรุงกำลังทุกชนิด จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากพากันมาเที่ยวชมและกราบไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา




พระไวพจน์ ธรรมะปาโร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดล้านขวด เล่าว่า เจดีย์แห่งนี้เริ่มก่อสร้างช่วงเดือน พ.ย.2566 อาตมาก่อสร้างด้วยตนเอง ต่อมาด้วยสุขภาพที่แก่ชราแล้วจึงจ้างช่างมาช่วยก่อสร้าง ใช้เงินไปแล้ว 1 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวอ.ขุนหาญ และชาวพุทธทั่วประเทศ ร่วมสมทบทุนก่อสร้าง เป็นเจดีย์กว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 15 เมตรก่อสร้างไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ เหลือแค่เพียงประดับตกแต่งภายในเจดีย์ และปรับตกแต่งภูมิทัศน์โดยรอบเท่านั้น



“สาเหตุที่เจดีย์พังลงมานั้น เนื่องจากเสารับน้ำหนักของมุขมีเพียง 2 ด้าน อีก 1 ด้านไม่มีเสารับน้ำหนัก อีกทั้งเป็นเสาขนาดเล็ก เหล็กที่นำเอามาใช้ก่อสร้างก็เป็นเหล็กขนาดเล็ก เพราะว่า อาตมาสร้างเจดีย์ขึ้นมาตามกำลังปัจจัยที่ได้รับบริจาคมาค่อนข้างจำกัดมาก ทำให้ต้องใช้เหล็กเส้นขนาดเล็ก จากนี้ไปต้องรื้อซากเศษวัสดุที่พังออกไปให้หมดแล้วก่อสร้างเจดีย์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บอัฐิของหลวงพ่อลอด พ่อของอาตมาเองที่เป็นพระผู้สร้างวัดแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และจะยังคงใช้ขวดก่อสร้างเจดีย์เช่นเดิม เพราะว่าหลวงพ่อลอดชอบใช้ขวดก่อสร้างวัด”

ด้านคุณยายบรรจงจิตร อายุ 77 ปีชาว อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บอกว่า มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่หลวงพ่อลอดสร้างวัดนี้ขึ้นมาใหม่ๆ ยายนอนอยู่ที่ศาลาติดกับเจดีย์ห่างกันแค่ 3 เมตรเท่านั้น ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 03.05 น.ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ ปรากฏว่า




” ได้ยินเสียงดังสนั่นหวั่นไหวฝุ่นกระจายคลุ้ง ตกใจมากเมื่อออกมาดูก็เห็นเจดีย์ที่กำลังก่อสร้างพังลงมากองอยู่กับพื้นดินแล้ว ยายและผู้ที่มาปฏิบัติธรรมทุกคนรู้สึกเศร้าเสียใจมาก เพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อลอด พระผู้สร้างวัดล้านขวด ”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ชาวบ้านที่ทราบข่าวพากันเศร้าใจ แต่ก็ไม่พลาดแห่ตีเลขหวยนำไปหาซื้อลอตเตอรี่ลุ้นรางวัลงวดนี้




... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8199586
23 เม.ย. 2567 - 18:32 น.
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มส.ปรับปรุงลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:43:28 am
.



มส.ปรับปรุงลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี

ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เห็นชอบปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. เว็บไซต์มหาเถรสมาคม ได้เผยแพร่มติมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 09/2567 มติที่ 302/2567 เรื่อง ขอความเห็นชอบปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ระบุว่า ในการประชุม มส. ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 เลขาธิการมหาเถรสมาคม เสนอว่า ในการประชุม มส. ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2541 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี และคณะสงฆ์ได้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

ตามที่ได้มีการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ประกอบกับ มส. ได้มีมติเห็นชอบ ในการประชุม ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2541 เรื่อง ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และการขอพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานสมณศักดิ์เพิ่มอีก

เช่น พระครูที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ พระครูเทียบเจ้าคณะอำเภอ และพระครูสัญญาบัตรสายวิปัสสนาธุระ (เพิ่มบางตำแหน่ง) ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ที่ มส. ได้มีมติให้ความเห็นชอบไปแล้ว นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เห็นควรนำเสนอ มส. เพื่อโปรดพิจารณา รายละเอียดดังนี้

ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี ตามมติ มส. มติที่ 302/2567 ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567

@@@@@@@

สมเด็จพระราชาคณะ

1.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
2.สมเด็จพระสังฆราช
3.สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ

พระราชาคณะ

4.รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ
5.รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสัญญาบัตร
6.พระราชาคณะชั้นธรรม
7.พระราชาคณะชั้นเทพ
8.พระราชาคณะชั้นราช
9.พระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะ ปลัดขวา-ปลัดกลาง-ปลัดซ้าย พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ. 9-8-7-6-5-4-3 พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญยก (เฉพาะพิธีรับผ้าพระกฐินพระราชทาน เจ้าอาวาสนั่งหน้าพระภิกษรูปอื่นซึ่งแม้จะมีสมณศักดิ์สูงกว่า)

พระครูสัญญาบัตร

10.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
11.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
12.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
13.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทป.จอ.พ.วิ.)
14.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จอ.ชพ.วิ.)
15.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทจอ.ชพ.วิ.)

16.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทป.จอ.ชพ.)
17.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
18.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
19.พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
20. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค

21.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.) 22.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทป.จอ.ชอ.วิ.) 23.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จอ.ชอ.วิ.) 24.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทจอ.ชอ.วิ.) 25.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทป.จอ.ชอ.)

26.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.) 27.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.) 28.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.) 29.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.) 30.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)

31.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.) 32.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต) 33.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. วิ. หรือ ทผจล.ชพ. วิ.) 34.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือ ทผจล.ชพ.) 35.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. วิ. หรือ ทผจล.ชอ. วิ.)

36.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือ ทผจล.ชอ.) 37.พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 38.พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร 39.พระครูฐานานุกรม ชั้นเอก ของสมเด็จพระสังฆราช 40.พระเปรียญธรรม 8 ประโยค

41.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือ ทผจล.ชท.) 42.พระเปรียญธรรม 7 ประโยค 43.พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม 44.พระครูฐานานุกรม ชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริตร) 45.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)

46.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.) 47.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ. วิ.) 48.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.) 49.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชท. วิ.) 50.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)

51.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.) 52.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชอ. วิ.) 53.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.) 54.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท. วิ.) 55.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)

56.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัคราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.) 57.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.) 58.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.) 59.พระเปรียญธรรม 6 ประโยค 60.พระเปรียญธรรม 5 ประโยค

61.พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นเทพ 62.พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นราช 63.พระครูวินัยธร 64.พระครูธรรมธร 65.พระครูคู่สวด

66.พระเปรียญธรรม 4 ประโยค 67.พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ 68.พระเปรียญธรรม 3 ประโยค 69.พระครูรองคู่สวด 70.พระครูสังฆรักษ์

71.พระครูสมุห์ 72.พระครูใบฎีกา 73.พระสมุห์ 74.พระใบฎีกา 75.พระพิธีธรรม

ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ตามที่เสนอ และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3367910/
23 เมษายน 2567 , 13:37 น. | การศึกษา-ศาสนา
6  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รถยนต์สีขาว ฮิตจริงฮิตจัง เปิดที่มาของรถสีขาว ทำไมถึงมีแต่คนชอบ เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:33:05 am
.



รถยนต์สีขาว ฮิตจริงฮิตจัง เปิดที่มาของรถสีขาว ทำไมถึงมีแต่คนชอบ

ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เราจะเห็นได้ถึงรถยนต์บนถนนนั้น ที่ค่อนข้างคั่บคั่งหนาแน่นมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหลาย ๆ บ้านก็เดินทางออกจากต่างจังหวัด มีวันหยุดยาวได้ออกไปทำธุระปะปังกัน ทำให้รถยนต์เยอะมากบนถนนต่าง ๆ

ลองมาสังเกตดูจากการที่รถติด ๆ นั่งมองเพลิน ๆ จะเห็นได้ว่ารถยนต์สีขาวนั้นมากกว่าสีอื่นบนถนน นั่งนับ ๆ ดู เอ๊ะ! ทำไมเยอะจัง ที่มาที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันนะ

เรารวม ๆ คำตอบจากหลายๆ หลายแหล่งที่มา บอกว่ารถยนต์สีขาวในยุคก่อน ๆ มีราคาถูกที่สุด ผู้คนจึงมักซื้อสีนี้ พอจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ก็เป็นเหมือนเทรนด์การใช้ ทำให้ผู้ใช้รายอื่นเห็นและซื้อตาม ๆ กันมา มองไปมองมาก็สวยดี  จนดันให้สีขาวของรถยนต์ ถูกพัฒนาสี จากสีขาวธรรมดา เป็นขาวแบบพิเศษ มีเมทัลลิก มีประกายเงางามมากกว่าเดิม เพิ่มความนิยมมากขึ้นไปกว่าเดิม จากรุ่นล่างสุดกลายมาเป็นตัว TOP ที่สุดในรุ่น และต้องเพิ่มเงินค่าสีกันด้วยซ้ำ

    - ข้อดีของรถยนต์สีขาวถึงจะเลอะจากคราบสกปรกต่าง ๆ ได้ง่ายมาก แต่ก็สามารถมองเห็นและทำความสะอาดได้ง่ายเช่นเดียวกัน

    - รถยนต์สีขาวสามารถเห็นตัวรถได้ง่าย ในเวลาที่ขับใช้งานในช่วงกลางคืน และดูหรูหรา ไม่แก่จนเกินไป ดูไม่ตกยุคสมัย และสามารถจับมาแต่งองค์ทรงเครื่องได้ง่ายกว่าสีอื่น จับสีไหนมาคู่ก็ดูเข้ากัน

    - รวมไปถึงอาจจะเป็นสีที่ถูกโฉลกกับวันเกิดของผู้ใช้รถบางคนอีกด้วย





Thank to : https://www.amarintv.com/article/detail/63929
Powered by อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์ | 21 เม.ย. 67
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มท.-วัดระฆังโฆสิตาราม พร้อมเครือข่าย เอ็มโอยู โครงการพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:26:48 am
.



มท.-วัดระฆังโฆสิตาราม พร้อมเครือข่าย เอ็มโอยู โครงการพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

มท. วัดระฆังโฆสิตาราม จ.นครนายก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เอ็มโอยู โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก โดยได้รับเมตตาจากพระมหาปรีชา ปสนฺโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เลขานุการวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เป็นผู้แทนพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ร่วมลงนาม

โดยมี รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายสุภกิณห์ แวงชิน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ร่วมลงนาม โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดป่ามหาธีราจารย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต พระครูพิพิธวรกิจจาทร พระครูสังฆรักษ์อำพล จตฺตมโล พระครูวินัยธรสมชาย ปุปฺผโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระเถรานุเถระ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ รกน.ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมที่ดิน นายสุรพล เจริญภูมิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง นายบูรณิศ ยุกตะนันทน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาด ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่าย ร่วมในพิธี




นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะออกแบบ พัฒนา วางแผนและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ ในที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร โฉนดที่ดินที่ 2623 จำนวน 100 ไร่ และโฉนดที่ดินที่ 2624 จำนวน 50 ไร่ รวมจำนวน 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” อันจะเป็นพื้นที่ตัวอย่างแห่งความยั่งยืนให้กับกระทรวง กรม และจังหวัดต่าง ๆ ในการน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่อารยเกษตร หรือโคก หนอง นา โดยได้รับเมตตาจากพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร มอบหมายให้พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต (พระครูต้น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ได้บริหารจัดการที่ดินแปลงนี้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามความร่วมมือในครั้งนี้




“พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงคิดค้นทฤษฎีใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อยังคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพสกนิกรของพระองค์ ทั้งนี้ เกษตรทฤษฎีใหม่เป็น 1 ใน 40 ทฤษฎี ธรรมชาติมีแหล่งน้ำ มีนา ปลูกข้าวกินเอง เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร มีไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว โดยทรงใช้วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ทดลอง เพราะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน โดยทรงใช้องค์ความรู้มาคิดค้นคว้า แบ่งพื้นที่ว่าชีวิตจะอยู่ได้ “น้ำคือชีวิต” จึงทรงหาวิธีการที่ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทำให้พื้นที่ทำมาหากินต้องมีน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ 30% ของพื้นที่ทำแหล่งน้ำ 30% เป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน 30% เป็นพื้นที่สร้างความร่มเย็น ไม้เป็นอาหาร ไม้ใช้สอย ด้วยไม้ยืนต้น และแหล่งมรดกสร้างที่อยู่อาศัย และอีก 10% ทำที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และต่อมา ทรงคิดทฤษฎีใหม่อื่น ๆ อาทิ เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ป่าเปียก หลุมขนมครก อธรรมปราบอธรรม

โดยต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอด จึงพระราชทานโครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังให้แก่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำไปขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา” โดยทรงนิยามคำว่า “อารยเกษตร” เพราะพื้นที้ที้เราพัฒนาแล้วจะเกิดความสวยงาม ทั้งภาพลักษณ์ และอรรถประโยชน์ มองทางไหนก็เหมือนอยู่ในรีสอร์ท มีคลองไส้ไก่คดเคี้ยวเลี้ยวลด มีผืนแผ่นดินทำมาหากิน อยู่อาศัย ที่มีต้นไม้สูง กลาง ต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน อันจะทำให้คนมีกิน มีใช้ และดูแลให้คนในครอบครัวมีความสุข โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มอบหมายให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล เป็นผู้นำภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ในการออกแบบขยายผลจนเกิดมรรคผลทั่วประเทศในขณะนี้” นายสุทธิพงษ์ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในครั้งนี้ จะทำให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสร่วมสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังพระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำรัส “อารยเกษตร” เป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า คน ภูมินิเวศและภูมิวัฒนธรรม อันเป็นความสำเร็จที่ทำให้พสกนิกรชาวไทยได้มีความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรูปแบบการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเป็นอารยะ พร้อมน้อมนำหลัก บวร (บ้าน วัด ราชการ) ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

โดยมุ่งมั่นบูรณาการความร่วมมือพร้อมด้วยสรรพกำลังตามความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ในการพัฒนาที่ดิน การสำรวจพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาและออกแบบ ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแหล่งรวมปัจจัย 4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และยารักษาโรค ตลอดจนการพัฒนาดินเพื่อช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสัตว์ สร้างสภาพแวดล้อมให้ร่มเย็นเพื่อช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น

นอกจากนี้เราจะได้ส่งเสริมให้เกิดการน้อมนำหลักธรรมตามพระพุทธศาสนา ให้เกิดการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติธรรม และเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอารยเกษตรอีกด้วย ซึ่งจะทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นใบบุญในการทำให้คณะสงฆ์ ตลอดจนประชาชนคนไทยได้มีโอกาสที่ดีของชีวิตในการน้อมนำพระราชดำริสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน




“พื้นที่แห่งนี้จะเป็นต้นแบบทำให้ผู้คน ประเทศชาติ และโลกใบเดียวนี้อยู่รอด จะทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ว่า “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ได้ทำให้คนแค่พอมี พอกิน แต่จะทำให้คนเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อ มีจิตอาสา ดูแลสังคม และสามารถทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยได้ ตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นแรกทำให้พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ขั้นต่อไปเมื่อมีเหลือใช้ก็แบ่งทำบุญ กับพระสงฆ์ ทำทานกับผู้ยากไร้ และขั้นต่อมา คือ การแปรรูป ถนอมอาหาร และรวมผลผลิต และรวมตัวกันทำการตลาด อันจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่อย่างยั่งยืน โดยการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ขับเคลื่อนพื้นที่แห่งบุญกุศลไปสู่ต้นแบบแห่งการอยู่ดีมีสุขตามพระราชดำริต่อไป”นายสุทธิพงษ์ กล่าว

พระมหาปรีชา ปสนฺโน กล่าวว่า วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารในฐานะเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ดินที่วัดได้ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนปี 2500 แปลงหนึ่ง และเป็นแปลงที่ทายาทอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ถวายให้กับวัดแปลงหนึ่ง โดยเมื่อวัดได้รับทราบว่ากระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นร่วมพัฒนาที่ดินตามหลักพุทธอารยเกษตร ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ดีงาม โดยเฉพาะชื่อโครงการที่ถือเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อันเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์อย่างไพบูลย์กับประเทศชาติ พระศาสนา และประชาชน จึงขออนุโมทนากับการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในวันนี้ และขออำนวยพรให้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งมั่นตั้งใจทุกประการ

รศ.สุพจน์ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับเกียรติในการสนับสนุนให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ตามหลักอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริมาต่อเนื่องกว่า 10 ปีในลักษณะ “นักวิชาการจิตอาสา” ซึ่งสถาบันฯ มีความภูมิใจและชื่นชมยินดีกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่านที่มีส่วนในการพัฒนาความยั่งยืนให้กับประเทศชาติและประชาชน โดยพิธีการในวันนี้ พวกเราผู้มีจิตใจที่ดีงาม จะได้ร่วมกันทำให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสถาบันฯ จะมุ่งมั่นถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมากที่สุดและดีที่สุดเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป




นายสุภกิณห์ กล่าวว่า จังหวัดนครนายก ในฐานะพื้นที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมกับภาคีเครือข่ายน้อมนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย เจตนารมณ์ของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตลอดจนถึงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และความมุ่งมั่นตั้งใจของภาคีเครือข่ายอย่างเต็มกำลังความสามารถ

การพัฒนาที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม ขนาด 150 ไร่ ที่คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแบบแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ซึ่งถือเป็น 1 ใน 6 พื้นที่ทั่วประเทศที่กระทรวงมหาดไทยได้คัดเลือกดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ทำให้ประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4537767
วันที่ 22 เมษายน 2567 - 17:15 น.   
8  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์กทม.ติวเข้มทักษะไอทีพระภิกษุสามเณร เผยแผ่พุทธศาสนาออนไลน์ เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:19:41 am
.



คณะสงฆ์กทม.ติวเข้มทักษะไอทีพระภิกษุสามเณร เผยแผ่พุทธศาสนาออนไลน์

คณะสงฆ์กรุงเทพฯ จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ รุ่นที่ 2

พระธรรมวชิรมุนี วิ. กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากรเพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ ของคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร (รุ่นที่ 2) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า โครงการดังกล่าว เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านไอทีที่จำเป็นให้กับพระภิกษุสามเณรของวัดในเขตกรุงเทพฯ ต่อจากรุ่นแรกที่ได้ดำเนินการไปเมื่อปี 2566 ทั้งยังเป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567

“มีผู้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีก้าวไกล พระสงฆ์ไทยควรก้าวให้ทัน ใจความสำคัญคือ พระภิกษุสามเณร จะดึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีมาใช้ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์อย่างไร เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เป็นของใหม่ และทันสมัย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นอุปกรณ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงาน ศาสนกิจ ของแต่ละวัดได้ และช่วยให้ผู้สนใจ พุทธศาสนิกชน ได้เข้าถึงข้อมูลที่สำคัญของวัดได้ตลอดเวลา ด้วยแต่ละวัดมีงานต้องดำเนินการตามนโยบายคณะสงฆ์ การอบรมครั้งนี้ เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุสามเณร อีกทางหนึ่ง ซึ่งละเลยไม่ได้ เพราะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางเว็บไซต์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้” เจ้าคณะกรุงเทพฯ กล่าว






ด้านพระครูภาวนาวิธาน วิ. หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเจ้าคณะกรุงเทพฯ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการประกอบธุรกรรมทางสังคม และการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีแนวโน้มว่าจะก้าวหน้า รวดเร็ว และก้าวไกลมากยิ่งขึ้น องค์กรที่พึ่งพาเทคโนโลยี จำเป็นต้องทำการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ประโยชน์ให้ตรงกับภาระงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนเจ้าคณะกรุงเทพฯ และคณะสงฆ์กรุงเทพฯ จึงเห็นควรให้มีการอบรมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 20-24 เม.ย. ที่ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ชั้น 1 วัดมหาธาตุฯ

โดยกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการอบรมเกี่ยวเนื่องกับการเผยแพร่ศาสนาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ประจำวัดในเขตปกครอง เพิ่มความรู้เบื้องต้นงานสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมวัด การถ่ายภาพเพื่อการทำรายงานศาสนกิจ รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนกิจการและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์กรุงเทพฯ ให้ก้าวหน้า รวดเร็วและทันสมัย อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3364547/
22 เมษายน 2567 ,13:03 น. ,การศึกษา-ศาสนา
9  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดอภัยทายาราม อนุสรณ์ 200 ปี สมานฉันท์ จักรี-ธนบุรี เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 06:14:56 am
.

พระอุโบสถวัดอภัยทายาราม ที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่บนฐานเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2489 ภาพนี้ถ่ายจากอาคารพัชรกิติยาภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2549)


วัดอภัยทายาราม อนุสรณ์ 200 ปี สมานฉันท์ จักรี-ธนบุรี

“วัดอภัยทายาราม” หรือที่ชาวบ้านยังเรียกกันในปัจจุบันว่า “วัดมะกอก” ตั้งอยู่ติดกับเขตโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หันหน้าเข้าสู่คลองสามเสน ใน พ.ศ. 2549 เป็นวาระที่วัดอภัยทายารามมีอายุครบ 200 ปี ซึ่งวัดแห่งนี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

สาเหตุอย่างหนึ่งอาจมาจากประวัติวัด “อย่างเป็นทางการ” ของกรมการศาสนาซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ก็ใช้อ้างอิงไม่ได้ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่หลายข้อ รวมไปถึงการระบุเจ้านายผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ผิดองค์

ประวัติการปฏิสังขรณ์วัด “ตัวจริง” ได้ถูกจารึกเป็นเพลงยาวไว้บนแผ่นไม้สักลงรัก เขียนทอง เก็บรักษาไว้ที่วัดมาตลอดโดยมิได้เคลื่อนย้ายไปไหน แต่ก็มิได้มีการอนุรักษ์ ซ่อมแซม จนปัจจุบันเพลงยาวที่จารึกไว้ได้ลบเลือนจนยากที่จะอ่านได้ความ

อย่างไรก็ดีคุณบุญเตือน ศรีวรพจน์ แห่งสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้พบเพลงยาวฉบับตัวเขียนในสมุดไทย เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเนื้อหาตรงกันกับเพลงยาวที่จารึกไว้บนแผ่นไม้ของวัด และได้เขียนแนะนำไว้พอสังเขปแล้วในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน 2548 ทำให้เราได้ “ความสมบูรณ์” ในการปฏิสังขรณ์วัดอภัยทายารามเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนี้ ทัศน์ ทองทราย ก็ได้บันทึกประวัติวัด “จากคำบอกเล่า” ของเจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน ไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดียวกัน

แต่ในวาระที่วัดอภัยทายารามมีอายุครบ 200 ปี ในปี 2549 นอกจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดจากเพลงยาวและประวัติวัดจากคำบอกเล่าแล้ว ยังควรพิจารณาแง่มุมอื่นๆ ที่ยังไม่เคยถูกพูดถึงมาก่อน โดยเฉพาะในประเด็นของ “ชื่อวัด” และวัตถุประสงค์ในการปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้



แผ่นไม้สักขนาดใหญ่ลงรักเขียนทอง จารึกประวัติการสร้างและฉลองวัดอภัยทายาราม อายุกว่า 200 ปี https://www.nlt.go.th


ปฏิสังขรณ์วัดบ้านนอก เสมอด้วยวัดหลวง

วัดอภัยทายาราม เดิมเป็นวัดที่ทรุดโทรม ซึ่งน่าจะสร้างมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา “เจ้าฟ้าเหม็น” พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และยังเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คงเสด็จมาพบเข้า เห็นวัดนั้นเสื่อมโทรมไม่สมกับเป็นที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ดังที่เพลงยาวได้กล่าวไว้ดังนี้

ในอารามที่ปลายซองคลองสามเสน   เหนบริเวณเปนแขมคาป่ารองหนอง
ไม่รุ่งเรืองงามอรามด้วยแก้วทอง   ไร้วิหารท้องน้อยหนึ่งมุงคา
ไม่ควรสถิศพระพิชิตมาเรศ   น่าสังเวทเหมือนเสดจ์อยู่ป่าหญ่า
ทั้งฝืดเคืองเบื้องกิจสมณา   พระศรัดทาหวังประเทืองในเรืองธรรม

เมื่อเสด็จมาพบเข้าดังนี้ ก็มีพระประสงค์จะทำการกุศล จึงทรงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่มาเตรียมการปฏิสังขรณ์ใหญ่ ณ วัดแห่งนี้ ตั้งแต่ปีจุลศักราช 1159 (พ.ศ. 2340)

ครั้นถึงปีจุลศักราช 1160 (พ.ศ. 2341) เจ้าฟ้าเหม็นจึงเสด็จถวายพระกฐินและวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เป็นการเริ่มต้นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คือ สร้างใหม่ทั้งวัด อย่างไรก็ดีวันเดือนปีที่ปรากฏในเพลงยาวนั้นยังคลาดเคลื่อนกับปฏิทินอยู่บ้างเล็กน้อย คือ กำหนดพระฤกษ์วันเสด็จในการถวายพระกฐินและวางศิลาฤกษ์เพลงยาวได้ระบุว่าเป็น “สุริยวารอาสุชมาล กาลปักทวาทัสมี ปีมเมียสำฤทศกปรมาร” ถอดคำแปลออกมาเป็น วันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 12 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1160 ซึ่งตามปฏิทินนั้นเดือนแรม ดังกล่าวจะตรงกับวันจันทร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์

นอกจากนี้ในบทอื่นๆ ที่กล่าวถึงวันเดือนปีก็จะคลาดเคลื่อนทุกครั้ง จึงเป็นการยากที่จะถอดวันเดือนปีในเพลงยาว ให้เป็นวันเดือนปีในปฏิทินสุริยคติที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

วัดอภัยทายาราม เมื่อแรกปฏิสังขรณ์นั้นยิ่งใหญ่ และงดงามอย่างยิ่ง เสนาสนะทุกสิ่งอันล้วนวิจิตรบรรจงและอลังการ เทียบเคียงได้กับวัดสำคัญๆ ในสมัยนั้น และสิ่งที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าวัดนี้เป็น “วัดสำคัญ” นอกกำแพงพระนครคือ “พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์” เสด็จพระราชดำเนินมาในการพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ และ “วังหน้า” กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความขัดแย้งและหวาดระแวง

ที่ตั้งของวัดจะอยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้น สามารถจัดได้ว่าเป็น “วัดบ้านนอก” ดังนั้นการเสด็จทั้ง 2 พระองค์ในครั้งนี้ย่อมมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้อง “สืบสวน” กันอย่างละเอียดเพื่อหาเหตุผลของการเสด็จพระราชดำเนินมายัง “วัดบ้านนอก” ในครั้งนั้น



ภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ลูกศรชี้คือพระอุโบสถวัดอภัยทายารามหลังเก่าที่ “เจ้าฟ้าเหม็น” ทรงสร้าง (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2549)

ขณะที่ “พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์” เสด็จพระราชดำเนินนั้น วัดยังอยู่ระหว่างก่อสร้างคือเมื่อ เดือนยี่ ปีจุลศักราช 1163 (พ.ศ. 2344) จึงไม่ได้เสด็จมาเพื่อเฉลิมฉลองหากแต่มาทรงผูกพัทธสีมา “จผูกพัดเสมาประชุมสงฆ” แต่ถึงกระนั้นก็เสด็จมาทางชลมารคด้วยกระบวนเรือ “มหึมา”

สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสององค์   ผู้ทรงธรรม์อันสถิศมหาสถาร
ก็เสดจ์ด้วยราชบริพาน   กระบวนธารชลมาศมหึมา
ถึงประทับพลับพลาอาวาสวัด   ดำรัดการที่สืบพระสาสนา
สท้านเสียงดุริยสัทโกลา   หลดนตรีก้องประโคมประโคมไชย
เสจพระราชานุกิจพิทธีกุศล   เปนวันมนทณจันทรไม่แจ่มไส
ประทีปรัตนรายเรืองแสงโคมไฟ   เสดจ์คันไลเลิกกลับแสนยากร

การปฏิสังขรณ์ใหญ่วัดอภัยทายารามใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี จึงแล้วเสร็จในเดือน 3 ปีจุลศักราช 1168 (พ.ศ. 2349) ผ่านมาครบ 200 ปีในปีนี้พอดี เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จบริบูรณ์จึงมีการเฉลิมฉลองขึ้น เป็นงานใหญ่ 7 วัน 7 คืน มีมหรสพ ละคร การละเล่นอย่างยิ่งใหญ่ และเทียบเท่ากับงานเฉลิมฉลองระดับ “งานหลวง” ทั้งสิ้น องค์ประธานองค์ประธานผู้ทรงปฏิสังขรณ์ วัดเสด็จร่วมงานฉลองครบทุกวันจนจบพิธี แล้วขนานนามวัดว่า “อไภยทาราม”

ส้างวัดสิ้นเงินห้าสิบเก้าชั่ง   พระไทยหวังจไห้เป็นแก่นสานต์
ตั้งทำอยู่แปดปีจึ่งเสจการ   ขนานชื่อวัดอไภยทาราม

สิ่งที่น่าสนใจและเป็นปริศนาชวนให้ค้นหาคำตอบของ วัดอภัยทายาราม ทั้งที่ปรากฏอยู่ในเพลงยาว และอื่นๆ ไม่ใช่การปฏิสังขรณ์อย่างยิ่งใหญ่ ไม่ใช่การสร้างเสนาสนะอย่างวิจิตรบรรจง หรือแม้แต่งานฉลอง 7 วัน 7 คืน ด้วยการละเล่นดุจเดียวกับงานหลวง สิ่งเหล่านี้มีฐานะเป็นแต่เพียง “พยาน” สำคัญ ที่จะนำไปสู่การไขคำตอบสำคัญ ซึ่งก็คือเหตุอันเป็นที่มาของชื่อวัด “อไภยทาราม” นั่นเอง

@@@@@@@

วัดอไภยทาราม ไม่ได้ตั้งตามพระนามเจ้าฟ้าเหม็น

นามวัด “อภัยทายาราม” เป็นนามที่ตั้งขึ้นใหม่ในชั้นหลัง เดิมนามวัดตามที่ปรากฏในเพลงยาวขนานนามว่า “อไภยทาราม” ซึ่งก็น่าจะเป็นนามพระราชทาน ชื่อ “อไภยทาราม” นี้อาจจะดูเหมือนว่าเป็นการตั้งตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็น ผู้ทรงปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ แต่พระนาม “เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์” ของเจ้าฟ้าเหม็นนั้น มิได้ใช้โดยตลอด เนื่องด้วยมีพระราชดำริเห็นว่าเป็นนามอัปมงคล!

ที่มาที่ไปของพระนามอัปมงคล เริ่มต้นและเกี่ยวพันกับพระชาติกำเนิดของเจ้าฟ้าเหม็น ในฐานะผู้ที่ทรงอยู่กึ่งกลางระหว่างความขัดแย้งของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชบิดา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คือพระอัยกา หรือ “คุณตา” ซึ่งได้สำเร็จโทษพระราชบิดาเจ้าฟ้าเหม็นเมื่อคราวเปลี่ยนแผ่นดิน

เจ้าฟ้าเหม็นเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ พระสนมเอก ท่านผู้นี้เป็นธิดาของเจ้าพระยาจักรี หรือต่อมาเสด็จขึ้นปกครองแผ่นดินเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 ในพระราชวงศ์จักรี

เจ้าฟ้าเหม็นประสูติในแผ่นดินกรุงธนบุรีในปีพุทธศักราช 2322 ต่อมาอีกเพียง 3 ปี “คุณตา” เจ้าพระยาจักรี ก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัว สถาปนาพระราชวงศ์ใหม่ โดยได้สำเร็จโทษ “เจ้าตาก” พระราชบิดาของเจ้าฟ้าเหม็น พร้อมกับพระญาติบางส่วนในเหตุการณ์ครั้งนั้น ถือเป็นอันสิ้นแผ่นดินกรุงธนบุรี

หลังจากเหตุการณ์ล้างครัว “เจ้าตาก” จบลงยังเหลือพระราชวงศ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกบางส่วนที่ได้รับการยกเว้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเหม็นด้วย เนื่องจาก “คุณตา” ทรงอาลัยหลานรักพระองค์นี้ยิ่งนัก ดังนั้นตลอดรัชกาลที่ 1 แม้เจ้าฟ้าเหม็นจะทรงถูก “ตัด” ออกจากราชการบ้านเมืองทั้งสิ้น แต่ก็ยังทรงเป็น “พระเจ้าหลานเธอ” พระองค์โปรดของพระเจ้าแผ่นดินอยู่ตลอดรัชกาล

พระนามพระราชทานแรกของเจ้าฟ้าเหม็น ที่เป็นนาม “พ่อตั้ง” คือ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระนามนี้ใช้ในแผ่นดินกรุงธนบุรี ครั้นต่อมาเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ก็มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนพระนามเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ในแผ่นดินก่อน ด้วยไม่สมควรที่จะใช้เรียกขานในแผ่นดินใหม่นี้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่าเจ้าตากขนานพระนามพระราชนัดดาให้เรียก เจ้าฟ้าสุพันธวงษ์ ไว้แต่เดิมนั้น จะใช้คงอยู่ดูไม่สมควรแก่แผ่นดินประจุบันนี้ จึ่งพระราชทานพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ นเรศรสมมติวงษ พงษอิศวรราชกุมาร”

อย่างไรก็ดีพระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ที่คาดว่าเป็นพระนามที่นำไปขนานนาม “วัดอไภยทาราม” นั้น ตามความเป็นจริงพระนามนี้ใช้อยู่เพียงระยะสั้น ก็มีพระราชดำริให้เลิกเสียและเปลี่ยนพระนามใหม่อีกครั้ง

“ภายหลังข้าราชการกราบบังคมทูลหาสิ้นพระนามไม่ กราบทูลแต่ว่า เจ้าฟ้าอภัย จึ่งทรงเฉลียวพระไทย แล้วมีพระราชดำรัสว่า ชื่อนี้พ้องต้องนามกับเจ้าฟ้าอภัยทัต เจ้าฟ้าปรเมศ เจ้าฟ้าอภัย ครั้งแผ่นดินกรุงเก่า ไม่เพราะหูเลย จึ่งพระราชทานโปรดเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ์ร นเรศว์รสมมติวงษพงษอิศวรราชกุมารแต่นั้นมาฯ” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน), อมรินทร์, 2539, น. 43)

เหตุการณ์นี้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน) ในช่วงปีจุลศักราช 1145 (พ.ศ. 2326) เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลที่ 1 จึงเท่ากับว่าพระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ใช้อยู่ไม่เกิน 2 ปี จึงยกเลิกเสีย ด้วยว่าเป็นพระนามอัปมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ กล่าวคือพระนาม “เจ้าฟ้าอภัย” ที่ใช้ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยานั้น เจ้าของพระนามล้วนแต่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ทุกพระองค์

นอกจากนี้หลักฐานการเปลี่ยนพระนามยังสอดคล้องกับการอ้างถึงพระนามที่เปลี่ยนใหม่ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ “ทรงกรม” ในปีพุทธศักราช 2350 หลังจากที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทาราม 1 ปี ขณะนั้นทรงใช้พระนามเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์อยู่แล้ว

“โปรดตั้งพระราชนัดดา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต 1 สมเด็จพระเจ้าหลานพระองค์นี้ ครั้งกรุงธนบุรีมีพระนามว่า เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระราชทานพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ข้าราชการขานพระนามโดยย่อว่า เจ้าฟ้าอภัย ได้ทรงสดับรับสั่งว่า พ้องกับพระนามเจ้าฟ้าอภัยทัต ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ และเจ้าฟ้าอภัย ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งไม่เป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้มีพระนามนั้น จึงโปรดให้เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์, กรมศิลปากร, 2531, น. 102)

ดังนั้นหากกำหนดระยะเวลาโดยสังเขปเกี่ยวกับ พระนามเจ้าฟ้าเหม็น ควรจะได้ดังนี้ เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระนามลำลอง คงใช้ตลอดพระชนมายุ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ใช้แต่แรกเกิดในสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2322-5) เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ใช้เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2325-6) เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งทรงกรม (พ.ศ. 2326-50) และกรมขุนกษัตรานุชิต ใช้เป็นพระนามสุดท้าย (พ.ศ. 2350-2)

ระยะเวลาของการใช้พระนามแต่ละพระนามนั้นชี้ให้เห็นว่า พระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์นั้นถูกยกเลิกโดยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2326 หรือเป็นปีที่ 2 ในรัชกาลที่ 1 ก่อนที่จะทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทารามในปีพุทธศักราช 2349 เป็นเวลานานถึง 23 ปี นอกจากนี้พระนามอภัยธิเบศร์ ยังได้รับพระราชวิจารณ์ว่า “ไม่เป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้มีพระนามนั้น” จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะนำพระนามที่เลิกใช้ไปนานแล้วและเป็นอัปมงคลกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปตั้งเป็นชื่อวัด อันควรแก่นามสิริมงคลเท่านั้น

ดังนั้นหากชื่อวัดอไภยทารามไม่ได้ตั้งตามพระนามเจ้าฟ้าเหม็นแล้ว ชื่อวัดแห่งนี้ย่อมจะมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่งแอบแฝงไว้หรือไม่?

@@@@@@@

แผนการ “ตา” ปกป้องหลาน

เมื่อเริ่มมีการลงมือปฏิสังขรณ์วัดนั้นตกอยู่ในปีพุทธศักราช 2341 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มีพระชนมพรรษามากแล้วถึง 62 พรรษา แม้จะไม่ถึงเกณฑ์ชรามากนัก แต่ก็ไม่สามารถประมาทได้ ด้วยเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง “วังหน้า” และ “วังหลวง” ยังคงมีแฝงอยู่ตลอดรัชกาล

ซึ่งต่อมาอีกเพียง 10 ปีหลังจากการปฏิสังขรณ์วัด ก็สิ้นรัชกาลที่ 1 ด้วยพระชนมพรรษา 72 พรรษา จึงเป็นไปได้ว่าการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นชอบให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ เพราะมีพระราชประสงค์มากไปกว่าการสร้างวัดเพื่อการกุศลเท่านั้น

ย้อนกลับไปเมื่อปีมะโรง พุทธศักราช 2334 เกิดเหตุใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า “วิกฤตวังหน้า” ถึงขั้นที่กรมพระราชวังบวรฯ ไม่เสด็จลงเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 เหมือนอย่างเคย เหตุจากความหวาดระแวงที่สะสมกันเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อมีพิธีตรุษ วังหลวงได้ลากปืนใหญ่ขึ้นป้อมเล็งตรงมายังวังหน้า กรมพระราชวังบวรฯ เห็นว่าวังหลวงอาจจะมีประสงค์ร้าย ก็มีรับสั่งให้คนไปสืบความ ครั้นได้ความว่า ปืนนั้นเพื่อการพิธีตรุษ ก็ทรงคลายพระพิโรธลง เหตุการณ์ครั้งนี้หมิ่นเหม่ถึงขั้นที่จะเกิดศึกกลางเมือง ตามที่ปรากฏอยู่ในนิพานวังน่า ดังนี้

เพราะพระปิ่นดำรงบวรสถาน   กระหึ่มหาญทุนเหี้ยมกระหยับย่ำ
เหมือนจะวางกลางเมืองเมื่อเคืองคำ   พิโรธร่ำดั่งจะรุดเข้าโรมรัน
ครั้นทรงทราบว่าพระจอมบิตุลา   ให้พลกัมพูชาลากปืนขัน
ประจุป้อมล้อมราชวังจันทร์   จึงมีบันฑูรสั่งให้สืบความ

ตรัสให้มาตุรงค์ตรงรับสั่ง   มิไปฟังราชกิจก็คิดขาม
มาสืบเรื่องพระไม่ปลงจะสงคราม   ก็ประณามทูลบาทไม่พาดพิง
ว่าคำขอมน้อมพจมานสาร   ไม่หาญเสน่หาพระนุชยิ่ง
แต่พิธีตรุศยืนลากปืนจริง   ยังนึกกิ่งกริ้วนั้นพอบันเทา

ยังมีเหตุการณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่งอันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสองวัง คือในปีพุทธศักราช 2338 หลังการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ สมเด็จพระชนกนาถ เมื่อวังหน้า “ลักไก่” ซ่อนฝีพายฝีมือจัดไว้ในงานแข่งขันเรือพาย ฝ่ายข้าราชการวังหลวงทราบเข้าก็ถวายรายงานให้พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงมีพระราชดำรัสว่า เล่นดังนี้จะเล่นด้วยที่ไหนได้ และทรงให้เลิกการแข่งเรือระหว่างสองวังตั้งแต่นั้นมา เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ ไม่เสด็จลงเฝ้าอีกเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ข้อบาดหมางหวาดระแวงยังเกิดขึ้นอีกหลายเรื่อง รวมไปถึงการที่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงกราบทูลขอพระราชทานเบี้ยหวัดเพิ่ม สำหรับแจกจ่ายข้าราชการ แต่ก็ทรงถูกปฏิเสธ

แม้ว่าการกระทบกระทั่งกันอยู่เนืองๆ เช่นนี้ ที่ไม่ถึงขั้นตัดรอนขาดจากกัน ก็เพราะมีสมเด็จพระพี่นางทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็น “กาวใจ” ประสานความแตกร้าวนี้อยู่เสมอ

อย่างไรก็ดีเหตุการณ์สุดท้ายที่เป็นหลักฐานว่า พี่น้องสองวังนี้ยังคง “คาใจ” กันอยู่จนวาระสุดท้าย เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จมาทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของกรมพระราชวังบวรฯ ก็ยังมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งของทหารรักษาพระองค์ทั้ง 2 วัง จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อมีพระราชปรารภในช่วงปลายพระชนมายุ ที่ทรงห่วงวังหน้าและลูกหลานวังหน้า เกรงว่าจะถูกเบียดเบียนจากวังหลวง

“ของใหญ่ของโตดีดีของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุนให้แรง กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครมิใช่ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข” (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 13, คุรุสภา, 2507, น. 47)

แน่นอนว่าไม่ใช่แต่เพียงวังหน้าเคืองวังหลวงเท่านั้น เหตุการณ์ “กบฏวังหน้า” ก็ทำให้วังหลวงเคืองวังหน้าด้วยเช่นกัน ถึงขั้นตัดรอนไม่เผาผีกัน

“รักลูกยิ่งกว่าแผ่นดิน ให้สติปัญญาให้ลูกกำเริบจนคิดประทุษร้ายต่อแผ่นดิน เพราะผู้ใหญ่ไม่ดีจะไม่เผาผีแล้ว” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์, กรมศิลปากร, 2531, น. 95)

เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้านี้ ย่อมส่งผลทางตรงต่อสวัสดิภาพของเจ้าฟ้าเหม็นโดยตรง หากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จสวรรคตเสียก่อนกรมพระราชวังบวรฯ เนื่องจากกรมพระราชวังบวรฯ ทรงเป็นผู้ถวายคำแนะนำให้ “กำจัด” เจ้าฟ้าเหม็นเมื่อคราวปราบดาภิเษก ทรงเป็นเจ้าของวรรคทองที่ว่า “ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก” นั่นเอง

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังฯ เสด็จลงมาเฝ้า กราบทูลว่าบรรดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสินจะรับพระราชทานเอาไปใส่เรือล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามไปภายหน้า” (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, คลังวิทยา, 2516, น. 460)

แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 19 ปี แต่ต้องยอมรับว่าไม่มีใครลืมความเป็น “ลูกเจ้าตาก” ของเจ้าฟ้าเหม็นได้ ซึ่งต้องทรงแบก “แอก” นี้ ไว้จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต

ย้อนหลังไป 2 ปี ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงผูกพัทธสีมาที่วัดอไภยทาราม สมเด็จพระพี่นางทั้ง 2 พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลงในปีเดียวกัน โดยเฉพาะกรมสมเด็จ พระเทพสุดาวดี พระพี่นางพระองค์ใหญ่ ที่ทรงชุบเลี้ยงเจ้าฟ้าเหม็นแทนพระมารดามาแต่ประสูติ เท่ากับร่มโพธิ์ร่มไทรหรือเกราะป้องกันภัยของเจ้าฟ้าเหม็นได้สิ้นลงไปด้วย เหลือแต่เพียง “คุณตา” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ อีกเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

การที่ “พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์” จะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกันได้นั้น ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารมักจะเป็น “งานยักษ์” เช่น ในงานพระศพสมเด็จพระพี่นาง (พ.ศ. 2342) หรือในงานฉลองวัดพระเชตุพนฯ ปีเดียวกับที่เสด็จวัดอไภยทาราม ดังนั้นการที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลพร้อมกันที่ “วัดบ้านนอก” ของ “ลูกเจ้าตาก” จึงไม่ใช่เรื่องปรกติในเวลานั้น

@@@@@@@

วัดอไภย คือวัดไม่มีภัย

คำว่า อไภย พจนานุกรมฉบับหมอบรัดเลย์เริ่มทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แปลไว้ว่า ไม่มีไภย, เช่นคนอยู่ปราศจากไภย มีราชไภย เปนต้นนั้น. พจนานุกรมฉบับหมอคาสเวลในสมัยรัชกาลที่ 3 แปลว่า อะไภย นั้นคือขอโทษ เหมือนคำพูดว่าข้าขออไภยโทษเถิด ส่วนพจนานุกรมสมัยใหม่ฉบับมติชนแปลว่า ยกโทษให้ไม่เอาผิด และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ยกโทษให้, ความไม่มีภัย

จากความหมายของชื่อวัดดังกล่าวนี้ กับการที่กรมพระราชวังบวรฯ ผู้ที่ทรงเคยสังฆ่าเจ้าฟ้าเหม็น โดยเสด็จฯ มายังวัดแห่งนี้พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มายัง “วัดอไภย” ซึ่งไม่ใช่ตั้งตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็นนี้ ย่อมมีนัยยะแห่งการ “สมานฉันท์” ระหว่างกรมพระราชวังบวรฯ กับเจ้าฟ้าเหม็น ประการหนึ่ง และอาจหมายรวมถึงการ “ยกโทษ” หรือ “ขอโทษ” แก่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปด้วยในเวลาเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าวัดอไภยทาราม เมื่อแรกปฏิสังขรณ์ นั้นไม่ใช่แค่การ “สร้างวัดให้หลานเล่น” แน่ แต่เป็นการสร้างขึ้นอย่างจริงจัง มีเสนาสนะครบบริบูรณ์อย่างวัดหลวง มีพระอุโบสถ เจดีย์ใหญ่ ลวดลายจิตรกรรมวิจิตรบรรเจิด มีการเกณฑ์ไพร่มาทำงานนับพันคน นิมนต์พระสงฆ์เกือบ 2,000 รูป มีงานฉลอง การละเล่น ละคร ของหลวง 7 วัน 7 คืน สิ่งเหล่านี้คงไม่ได้สะท้อนเพียงเพราะองค์ผู้ปฏิสังขรณ์เป็น “เจ้าฟ้า” หรือ “หลานรัก” เท่านั้น แต่สิ่งอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ล้วนแต่เหมาะสม กับการยกโทษหรือขอโทษ สำหรับราชภัยในอดีต

อย่างไรก็ดีเมื่อวัดนี้สร้างเสร็จจนมีงานฉลองในปีพุทธศักราช 2349 นั้น กรมพระราชวังบวรฯ ก็ทิวงคตไปก่อนหน้าแล้วในปีพุทธศักราช 2346 แผนการสมานฉันท์จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป และวัดอไภยทารามก็ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าฟ้าเหม็นได้ตามพระราชประสงค์ความพยายามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ในการปกป้องหลานรักจบลงเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต

เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน เจ้าฟ้าเหม็นก็ถูกสำเร็จโทษสิ้นพระชนม์ในต้นรัชกาลที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี

อ่านเพิ่มเติม :-

    • 13 กันยายน 2352 วันสิ้นพระชนม์ “เจ้าฟ้าเหม็น” โอรสพระเจ้าตาก
    • เจ้านายผู้เป็น “ลูกกษัตริย์-หลานกษัตริย์” กลับมีพระนามอัปมงคล





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2549
ผู้เขียน : ปรามินทร์ เครือทอง
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 16 กันยายน 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_93185
10  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เศรษฐกิจสายมู ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ส่งออก ‘พระเครื่อง’ ไกลถึง ‘จีน’ เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 05:42:51 am
.



เศรษฐกิจสายมู ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ส่งออก ‘พระเครื่อง’ ไกลถึง ‘จีน’

“พระเครื่อง” และจักรวาลแห่งความเชื่อในวงการพุธศาสนาไทยกำลังแสดงมนต์ขลังด้วยการเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์ไทย” เพราะดารานักแสดงทั่วโลกให้ความสนใจ แบบที่ไม่ต้องโปรโมท และกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจสายมูที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

หรือ "ซอฟต์พาวเวอร์ไทย" จะมาในรูปแบบ "พระเครื่อง" เพราะกำลังดังไกลถึงจีน ถึงขั้นที่ดารานักแสดงชื่อดังในจีนให้ความสนใจแบบไม่ต้องโปรโมท จนพลังศรัทธาใน “พุทธคุณ” และ "ความเชื่อเรื่องมูเตลู" ทำให้เกิดการเช่าบูชาพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง จนกลายเป็น "เศรษฐกิจสายมู" ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในแง่มุมของการท่องเที่ยวและพุธพาณิชย์ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท


@@@@@@@

• “พระเครื่อง” สินค้าส่งออกที่ไม่ธรรมดา

“พระเครื่อง” ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุมงคลที่ผู้คนเคารพสักการะ แต่ในปัจจุบันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่ากลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ตลาดพระเครื่องในประเทศไทยมีมูลค่าการเช่าพระ (ซื้อขาย) หมุนเวียนปีละหลายหมื่นล้านบาท และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยว “ชาวจีน” ที่มีที่มีความเลื่อมใสในพุทธคุณและนิยมสะสมพระเครื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ในปี 2562 คาดว่าตลาดพระเครื่องในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1.7-2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดจากการจำหน่ายให้กับเฉพาะคนไทยที่ยังไม่นับรวมที่จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือการส่งออกไปต่างประเทศ

@@@@@@@

• จากความเชื่อและศรัทธา ต่อมากลายเป็นธุรกิจ

โทมัส แพตตัน นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิตี้ เผยว่าเริ่มเห็นร้านค้าเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังในฮ่องกงครั้งแรกในปี 2551 และ 2552 ซึ่งชาวฮ่องกงที่หลงใหลในโลกแห่งเครื่องรางมากที่สุด และเวทมนตร์ของไทยเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คือชนชั้นแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2551

ขณะเดียวกัน “เปรมวดี อมราภรณ์พิสุทธิ์” หรือ “บีบี” แม่ค้าคนไทยไลฟ์สดขายสินค้าไทยไปประเทศจีนใน ผ่าน Tiktok จีน หรือ โต่วอิน เผยว่าแต่เดิมทีชาวจีน ไม่ว่าจีนแผ่นดินใหญ่หรือจีนไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า รวมทั้ง มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ล้วนมีความเชื่อและความศรัทธา ที่ต้องการบูชาพระพุทธคุณในเรื่องโชคลาภเป็นทุนเดิม แต่พระเครื่องกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อดาราจีนและฮ่องกงออกงานพร้อมกับสวมใส่ “พระเครื่อง” แทนเครื่องประดับ

เริ่มต้นจากดาราฮ่องกงอย่าง “เฉิน หลง” ใส่พระเครื่องในการแสดงหนัง รวมทั้งฉากบู้อยู่หลายครั้ง จนเกิดอุบัติเหตุระหว่างการถ่ายทำแต่ไม่มีการบาดเจ็บทำให้คนทั้งกองถ่ายแปลกใจจนให้ความสนใจกับพระเครื่องที่อยู่บนคอของเฉิน หลง คือ หลวงพ่อแพร วัดพิกุลทอง “ หรือ"จาง ป๋อ จือ" นักแสดงหญิงชาวจีน เดินทางมาเมืองไทยและตัดสินใจเช่าพระเครื่ององค์หนึ่งด้วยเงิน 150,000 ดอลลาร์ฮ่องกงฯ รวมทั้งเลี้ยง “กุมารทอง”เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ฉินเฟิน” ไอดอลหนุ่มชาวจีน ร่วมเดินพรมแดงในเทศกาลหนังเมืองคานส์ใส่เลสหลวงพ่อรวยกับสูทสีดำ

โดย“หลวงพ่อรวย” เป็นพระเครื่องได้รับความนิยมจากชาวจีนมากเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีพุทธคุณช่วยเสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวย เห็นผลกลับมามีชื่อเสียงโด่งดังอีกครั้ง ทำให้ชาวจีนหลั่งไหลกันมาที่วัดตะโก วัดชื่อดังแห่งอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อกราบไหว้ หลวงพ่อรวยพระเกจิอาจารย์แห่งกรุงเก่าที่เด่นดังด้านมหาลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดปลอดภัย

    “คนจีน” มีความสนใจพระเครื่องที่มีพุธทคุณ “เรียกทรัพย์ ร่ำรวย ค้าขาย การพนัน” นิยมเล่น พระปิดตาเงินล้าน หลวงปู่โต๊ะ เซียนแปะ พระกริ่ง หลวงพ่อรวย วานรสี่หูห้าตา ยี่กอฮง และหลวงปู่ทิม

“ยีนส์ เมืองนนท์” เซียนพระในห้างสรรพสินค้าในนนทบุรี เปิดเผยกับทางกรุงเทพธุรกิจว่า ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาสอบถามพระเครื่องรวมทั้งเครื่องรางของขลังของคนไทยเป็นจำนวนมากทั้งหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีสัดส่วนเทียบเท่ากับลูกค้าชาวไทย แม้ว่าจะไม่มีความชำนาญด้านการส่องพระแท้ หรือปลอม แต่มีความเชื่อใจผู้ประกอบการชาวไทยเพราะการมีใบรับรองพระแท้

หลายครั้งลูกค้าชาวจีนเปิดเผยโดยตรงว่าเป็นการนำพระเครื่องจากประเทศไทยไปปล่อยเช่าต่อในประเทศจีน พร้อมทั้งเผยว่าชาวจีนมีความนิยมและมีความต้องการพระเครื่องไทยอย่างมาก แต่ถือว่ายังน้อยหากเทียบกับสัดส่วนประชากรในประเทศที่มีมากถึงพันกว่าล้านคน

@@@@@@@

• จักรวาลความเชื่อ=ซอฟต์พาวเวอร์ไทย

สิ่งทีี่น่าสนใจ ถ้าหากชาวจีนกำลังจะกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของตลาดพระเครื่องไทย 3 สิ่งสำคัญที่สะท้อนออกมาได้อย่างชัดเจน คือ

1. การขยายตลาดพระเครื่องไทยให้ใหญ่ขึ้น เพราะในปัจจุบันตลาดพระเครื่องไทยใหญ่ที่สุดในเอเชีย

2. จีนมีกำลังซื้อ สู้ราคาและต้องการจำนวน ทำให้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเพียงแค่พระเก่าแก่อายุหลายร้อยปีเท่านั้น

3. พระไทย ต้องมาซื้อที่ไทยซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการท่องเที่ยวและเม็ดเงินที่หมุนเวียนในเศรษฐกิจมูเตลู

ไม่เพียงพระเครื่องเท่านั้นที่กำลังกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ไทย แต่จักรวาลความเชื่อที่เกิดขึ้นในวงการพุทธศาสนากำลังแสดงมนต์ขลังแบบที่ไม่ต้องโปรโมท เช่น ดารานักแสดงระดับโลกอย่าง "แองเจลินา โจลี" และ "แบรด พิตต์" รวมถึง “ฟาบิโอ คันนาวาโร” อดีตกองหลังทีมชาติอิตาลี ต่างหลงใหลการ“สักยันต์”ของอาจารย์หนู กันภัย หรือ “เอ็ด ชีแรน” นักร้องดังชาวอังกฤษ ได้สักยันต์กับอาจารย์เหน่งระหว่างมาทัวร์คอนเสิร์ตที่ไทย





ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : scmp อายุน้อยร้อยล้าน
URL : https://www.bangkokbiznews.com/world/1123076
21 เม.ย. 2024 ,เวลา 11:37 น.
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดดังสมุทรสงครามไอเดียเก๋ให้ชาวบ้านนำขยะมาแลกไข่ไก่-ผักสด อย่างคึกคัก เมื่อ: เมษายน 21, 2024, 06:10:17 am
.



วัดดังสมุทรสงครามไอเดียเก๋ให้ชาวบ้านนำขยะมาแลกไข่ไก่-ผักสด อย่างคึกคัก

คณะสงฆ์วัดอินทาราม แม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ร่วมกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่น จัดโครงการพลังบวรเปลี่ยนขยะแลกผักปันสุขพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยพระเมธีวัชรประชาทร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15 เจ้าอาวาสวัดอินทาราม เป็นประธานบรรยายธรรมถึงอานิสงค์ของการให้

จากนั้นชาวบ้านที่มารับมอบได้ตั้งเป็น 2 แถว เดินเข้ารับผักปันสุขที่วัดอินทารามแจกทุกวันเสาร์ มาเป็นปีที่ 4 กันเป็นระเบียบเรียบร้อย

หลังจากชาวบ้านรับผักเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้ที่นำขวดน้ำ จะนำมาแลกไข่ในอัตราขวดใหญ่ 10 ใบแลกได้ไข่ 2 ฟอง ขวดธรรมดา 15 ใบ แลกไข่ได้ 2 ฟอง กระป๋องอลูมิเนียม 5 ใบแลกไข่ได้ 2 ฟอง โดยขวดที่ได้จะนำไปขาย เพื่อนำเงินมาซื้ออาหาร เลี้ยงไก่ในสวนพุทธเกษตร โคกหนองนาวัดอินทารามต่อไป โดยมีชาวบ้านนำขวดน้ำมาแลกไข่กันอย่างคึกคัก ในจำนวนนี้มีคุณยายปทุม มิร่อน อายุ 78 ปี ที่ขับรถจักรยานไฟฟ้าลากรถซาเล้งบรรทุกขวดน้ำจำนวน 405:ใบ ได้ไข่ไก่ได้ 27 ฟอง








คุณยายปทุม บอกว่า พอทราบว่าขวดน้ำแลกไข่ได้ก็ไปเก็บขวดน้ำตามสถานที่ต่างๆมาแลกไข่ซึ่งตนชอบมาก ดีกว่าเอาขวดน้ำไปขาย แต่นำมาแลกไข่ไก่ได้เยอะกว่า จึงไปเก็บชวดมาแลกไข่เป็นประจำ

พระเมธีวัชรประชาทร กล่าวว่า โครงการพลังบวรเปลี่ยนขยะแลกผักปันสุขพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นการต่อยอดโครงการแจกผักที่วัดอินทารามดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2563 เป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 มาถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยวัดอินทารามได้เลี้ยงไก่ ในสวนพุทธเกษตร โคกหนองนาวัดอินทาราม มีไข่ไก่จำนวนมาก จึงนำมาเป็นวัตถุดิบในการสนับสนุนโครงการ

ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลายประการ คือ อิ่มบุญที่ได้ฟังธรรมจากพระสงฆ์ อิ่มท้องคือได้รับผักหลากหลายชนิด และไข่ไก่ไปทำอาหาร รวมทั้งยังได้ช่วยกัน ลดปัญหาขยะล้นเมือง ส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม ในระยะแรกเริ่มจากการรับขวดน้ำ ขวดอลูมิเนียม ก่อน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้การคัดแยกขยะ จากนั้นจะเริ่มขยายเป็นลังกระดาษ และขยะรีไซเคิลอื่นๆ ต่อไป

อย่างไรก็ตามในอนาคต จะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักกินเองในครัวเรือน โดยวัดอินทาราม ร่วมกับภาคราชการ จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก ซึ่งจะติดตามการปลูกผัก หากประสบความสำเร็จ วัดอินทารามจะมีรางวัลให้ด้วย













ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4535121
วันที่ 20 เมษายน 2567 - 18:50 น
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 วิธีสร้างรายได้บนโลกออนไลน์ด้วย AI ในปี 2024 เมื่อ: เมษายน 21, 2024, 05:51:01 am
.



5 วิธีสร้างรายได้บนโลกออนไลน์ด้วย AI ในปี 2024

เผยแนวทางการสร้างรายได้ และอาชีพบนโลกออนไลน์ด้วย Generative AI ของคนรุ่นใหม่ในปี 2024 นี้

AI ปัญญาประดิษฐ์ หนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาปรับพฤติกรรมของมนุษย์ และพลิกโฉมการใช้ชีวิต และการทำงานของเราในเกือบทุกด้าน ตั้งแต่การสื่อสารทางการทำงาน และธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร การดำเนินการทางการตลาด การบริการลูกค้า การเป็นเจ้าภาพการประชุม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการดำเนินการวิจัยตลาด AI ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างแท้จริง

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับ Generative AI คือ มีการนำ AI มาใช้กันอย่างรวดเร็ว แถมยังมากไปด้วยศักยภาพ แม้ว่าจะมีความรู้ทางเทคโนโลยีที่จำกัดก็ตาม แต่ก็สามารถนำอาชีพมาประยุกต์ใช้กับ AI ได้อย่างลงตัว จนมีการพัฒนา และเพิ่มรายได้อย่างมีนัยสำคัญ

Generative AI มีความสามารถที่เกือบจะเหมือนมนุษย์ ที่ทำให้สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาอันสั้นกว่าปกติ และ ลดระยะเวลาแถมยังประหยัดเงินได้ในขณะเดียวกัน




ปัจจุบันมี Generative AI ที่มีความสามารถที่หลากหลาย และเฉพาะตัว ทำให้เกิดการนำไปสร้างรายได้ เริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ทั้งหมดนั้นไม่เพียงเป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังง่ายกว่าเดิมมากขึ้นอีกด้วยในโลกออนไลน์

AI ช่วยให้คุณสร้างรายได้ออนไลน์ได้ ที่ผู้คนนิยมใช้กันเลย คือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ เพื่อรับรายได้ทางที่สอง เช่น หากคุณเป็นบล็อกเกอร์อยู่แล้ว ก็จะสามารถใช้เครื่องมือ AI เพื่อช่วยในสร้างไอเดียเนื้อหาใหม่ๆ และแนะนำวิธีการใหม่ๆ ในการขยายการเข้าถึงไปยังผู้ชมในวงกว้างขึ้น ปรับปรุง SEO และการจัดอันดับบน Google หรือ สามารถนำ AI ไปสร้างแหล่งรายได้ใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาไอเดียแนวคิดการเริ่มต้นธุรกิจ และแผนธุรกิจที่ครบครัน

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงแค่ประโยชน์เล็กๆ ของ Generative AI เท่านั้นซึ่งสามารถใช้นำมาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น ตามข้อดังกล่าวด้านล่างต่อไปนี้




    • สร้าง AI Chatbot

หนึ่งในทักษะสำคัญสำหรับการสร้างรายได้บนโลกออนไลน์ หากมีทักษะการเขียนโปรแกรม และการเขียนโค้ดที่ดี ก็อาจสามารถสร้างรายได้ผ่านความเชี่ยวชาญในการพัฒนาแชตบอตที่ออกแบบตามความต้องการสำหรับธุรกิจ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายใน เช่น สำหรับการแบ่งปันความรู้สำหรับพนักงาน

นอกจากนี้สำหรับการขาย และการบริการลูกค้า ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ AI Chatbot นี้ก็สามารถเป็นตัวช่วยในการสรรหาคำต่างๆ เพื่อมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มยอดการขาย และกำไรได้

    • ใช้ AI เพื่อสร้างหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ เป็นวิธีที่ดีในการสร้างรายได้เป็นงานเสริม แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อใช้ AI เพื่อช่วยเร่งกระบวนการหลักสูตรได้เช่นกัน โดยอัลกอริทึมต่างๆ จาก AI จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในกระบวนการที่ต้องใช้เวลานานอย่างเช่น ขั้นตอนการวิจัยตลาดในการพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตร

นอกจากนี้เครื่องมือ AI เชิงสร้างสรรค์ บางอย่างยังสามารถช่วยวางแผนโครงร่าง และโครงสร้างทั้งหมดของเนื้อหา พร้อมด้วยคำถามและกิจกรรมการอภิปราย และยังสามารถใช้เครื่องมือ AI เพื่อสร้างการประเมินหลักสูตรได้ภายในไม่กี่นาที โดยที่ไม่ต้องสร้างแบบทดสอบ และแบบทดสอบด้วยตนเอง




    • ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันการใช้ AI เพื่อประเมิน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของตัวเองเป็นสิ่งที่นิยมทำกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการสร้างรายได้โดยการนำ AI มาพัฒนา เพิ่มทางเลือก และแก้ไขสินค้า ให้ตรงความต้องการของตลาดเพื่อปิดการขาย นอกจากนี้ยังสามารถนำ AI ไปออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับกลุ่มลูกค้า ธีมของสินค้า เป็นต้น

    • การให้คำปรึกษาด้าน AI

AI เป็นเทคโนโลยีนี้ค่อนข้างใหม่ จึงยังคงมีธุรกิจต่างๆ ที่กำลังต้องการการแนะนำ รู้ผู้ที่มีความรู้เพื่อนำมาบูรณาการ และนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง หากตนเองมีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้ AI มาบ้าง ก็จะสามารถนำไปต่อยอด ที่นอกจากการทำการตลาดด้วย AI ของตัวเองแล้ว ยังสามารถนำความรู้ที่มีไปเป็นอาวุธเสริมในฐานะที่ปรึกษา AI ที่เข้าไปช่วยปรับแต่งบริการ และเพิ่มทางเลือกในการบูรณาการ ปรับใช้ AI ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ได้ เพื่อเป็นหนึ่งในอาชีพเสริมที่ใข้ประสบการณ์ได้อีกทางหนึ่ง

    • ใช้ AI บนงานกราฟิก

หนึ่งในสิ่งที่ AI สามารถช่วยออกแบบไอเดีย หรือแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องภาพ และกราฟิกในเวลาที่เร่งรีบ เพื่องานการตลาดดิจิทัล หรือโซเชียลมีเดีย AI นี้เองสามารถช่วยคุณออกแบบกราฟิกสำหรับโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และโฆษณาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้หากทำงานเกี่ยวกับศิลปะ ก็สามารถนำมายึดเป็นแนวทาง และแรงบันดาลใจได้ไวมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ AI ลดกระบวนการรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะทำให้ระยะการทำงานนั้นสั้นลง และเกิดกระบวนการสร้างสรรค์ที่ง่ายมากขึ้น เพื่อที่จะนำชิ้นงานต่างๆ ไปต่อยอด เพื่อสร้างกำไรได้ในลำดับถัดไป





Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2779484
19 เม.ย. 2567 18:22 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ > ไทยรัฐออนไลน์
ข้อมูล : forbes | ภาพ : istock
13  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 เพชรคำสอน...2 มหาบุรุษ...1 ครูผู้ถ่อมตน.! เมื่อ: เมษายน 21, 2024, 05:26:54 am
.



5 เพชรคำสอน...2 มหาบุรุษ...1 ครูผู้ถ่อมตน.!

เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์ กับ 5 คำสอนดั่งเพชรในชีวิต จาก 2 มหาบุรุษ และ 1 ครูผู้ถ่อมตน

นับตั้งแต่การกำเนิดของมนุษย์ยุคใหม่โฮโมเซเปียนส์คนแรกๆ ตามทฤษฎีแม่อีฟ เมื่อประมาณสอง-สามแสนปีมาแล้วในแอฟริกา ถึงวันนี้ มนุษย์โฮโมเซเปียนส์กำเนิดขึ้นมาแล้วประมาณหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านคน...

แต่มีมนุษย์เพียงไม่กี่คน ที่ได้รับการยกย่องเป็น “มหาบุรุษ” และก็มีมนุษย์อีกจำนวนหนึ่งมากกว่ามหาบุรุษ ที่ได้รับการยกย่องเป็น “ครู”  แต่ก็ลดจำนวนลงไปอีก เมื่อจำเพาะลงไปที่ “ครูผู้ถ่อมตน”

“เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์” วันนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับ “5 เพชรคำสอน” ของ “มหาบุรุษ” และ “ครูผู้ถ่อมตน” เพียง 3 คน...




2 คนเป็นมหาบุรุษ คือ พระเยซูคริสต์ และ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีก 1 คนเป็นครู คือ ขงจื๊อ

เชื่อว่าหลายท่านที่เห็นชื่อ 2 มหาบุรุษ และ 1 ครูผู้ถ่อมตน ก็จะนึกถึงเรื่องของศาสนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ไม่ผิด เพราะบุคคลทั้งสามที่ผู้เขียนยกมากล่าวถึง ทั้งพระเยซูคริสต์และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ ส่วนขงจื๊อก็ได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นศาสดาของศาสนาขงจื๊อ...

ผู้เขียนจึงขอรีบเรียนท่านผู้อ่านว่า เรื่องของเราวันนี้ มิใช่เรื่องการลงลึกถึงหลักศาสนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพราะผู้เขียนไม่มีความรู้มากพอที่จะให้กับท่านผู้อ่านได้...แต่ที่เป็นความตั้งใจของผู้เขียน คือ แบ่งปันสิ่งที่ผู้เขียนได้เก็บเกี่ยว และได้อาศัยเป็นเข็มทิศวิเศษนำทางชีวิตตลอดมา

@@@@@@@

2 เพชรคำสอนของพระเยซูคริสต์

ผู้เขียนมิใช่ชาวคริสต์โดยกำเนิดและการประกาศตน แต่ผู้เขียนโชคดีที่มีเพื่อนชาวคริสต์หลายคน ทั้งที่เป็นชาวคริสต์ตั้งแต่เกิด คนไทยที่หันมานับถือศาสนาคริสต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาประมาณเจ็ดปีครึ่ง (ระหว่างปี ค.ศ. 1962-1970) ที่มหาวิทยาลัยโมนาช กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และประมาณสี่เดือนเศษ (ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1973-มกราคม ค.ศ. 1974) ที่มหาวิทยาลัยอุปซาลา (Uppsala University) เมืองอุปซาลา ประเทศสวีเดน ซึ่งทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสทั้งเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับนักศึกษา, อาจารย์ และบาทหลวง ลงลึกในเรื่องของศาสนาคริสต์ (และเรื่องของศาสนาพุทธเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นๆ ของโลก)

คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. เริ่มต้นจากปีประสูติของพระเยซูคริสต์ ถึงปัจจุบันก็เป็น ค.ศ. 2024 แต่รากเหง้าของศาสนาคริสต์ย้อนหลังไปถึงศาสนายิวกับผู้นำคนสำคัญ ดังเช่น โมเสส ผู้ได้รับบัญญัติ 10 ประการ สลักบนแผ่นหินสองแผ่น จากพระเจ้าบนเขาซีนาย เมื่อประมาณ 1,440 ปีก่อน ค.ศ. เพื่อให้ “ลูกหลานอิสราเอล” ยึดปฏิบัติให้พ้นวิถีแห่งบาป

น่าสนใจว่า ในบัญญัติ 10 ประการนั้น มีบัญญัติ 6 ข้อที่ตรงกับ “ศีล 5” ของศาสนาพุทธ คือ :-
    *ห้ามฆ่าคน
    *ห้ามผิดประเวณี (แยกละเอียดเป็น 2 ใน 10 ข้อ)
    *ห้ามลักขโมย
    *ห้ามพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
    *ห้ามโลภในทรัพย์สินของผู้อื่น
แต่ที่มีอยู่ในศีล 5 โดยไม่มีในบัญญัติ 10 ประการ คือ ศีลข้อ 5 : ห้ามดื่มสุรายาเมา

ศาสนาคริสต์ในปัจจุบัน เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ ประมาณ 31% ตามด้วยอันดับสอง ศาสนาอิสลาม ประมาณ 25% กลุ่มผู้ไม่ประกาศตนว่านับถือศาสนาอะไร ประมาณ 16% ศาสนาฮินดู ประมาณ 15% และศาสนาพุทธเป็นอันดับห้า มีผู้นับถือทั่วโลกประมาณ 7%

ถึงแม้ศาสนาคริสต์ในปัจจุบัน จะแบ่งเป็นนิกายต่างๆ หลายนิกาย แต่หลักใหญ่ของศาสนาคริสต์ล้วนตรงกัน กล่าวคือ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรัก...

ความรักที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าเฉพาะความรักระหว่างชายกับหญิง และเพชรเม็ดงามแห่งคำสอนของพระเยซูคริสต์ ที่ผู้เขียนตกผลึกจากการเรียนรู้กับเพื่อนๆช าวคริสต์ ก็เป็นคำสอนเกี่ยวกับความรัก





เพชรเม็ดที่หนึ่ง : พระเจ้าจะอยู่กับทุกคนที่เชื่อในพระองค์

เพชรเม็ดแรกแห่งคำสอนของพระเยซูคริสต์นี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัสมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก (ที่โคราช เมืองย่าโม) เพราะชอบไปร่วมในกิจกรรมเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่โบสถ์ศาสนาคริสต์ ที่จัดบ่อยหรือแทบเป็นประจำในวันอาทิตย์ โดยมีเด็กๆ และผู้ปกครอง รวมทั้งคนวัยหนุ่มสาวไปร่วมจำนวนมาก

ที่ผู้เขียนชอบไป มิใช่เป็นเพราะสนใจอยากเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ แต่เป็นเพราะบรรยากาศที่สนุกสนาน มีสีสัน มีการร้องเพลง มีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ โดยไม่มีการชักชวนให้นับถือศาสนาคริสต์อย่างตรงๆ

ผู้เขียนชอบฟังเรื่องราวที่เหมือนกับ “นิทาน” อยู่แล้ว และในงานก็มี “ของกินมากมาย” แล้วก็ที่สำคัญและที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษก็คือ การ์ดเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ แบบเดียวกับการ์ดคริสต์มาส เป็นภาพเขียนสวยงาม

จากการไปร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก นอกเหนือไปจากเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกติดอยู่ในสมองตั้งแต่นั้นมาก็คือ คำสอน...แบบเป็นคำกล่าวเล่าเรื่อง...ว่า พระเจ้าศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าอยู่ทุกหนแห่ง และอยู่กับทุกคนที่เชื่อในพระเจ้า

อย่างไรก็ตาม คำสอนนี้สำหรับผู้เขียนก็ไม่ “ติดใจ” อะไรมากมายนักในช่วงวัยเด็ก และเป็นวัยรุ่น เพราะคิดว่าก็เป็นเพียงวิธีการชักชวนให้คนนับถือพระเจ้าของศาสนาคริสต์

ต่อๆ มา เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาศาสนาคริสต์อย่างจริงจังมากขึ้น จนกระทั่งถึงวันนี้ ผู้เขียนจึงคิดว่าพอจะเข้าใจและนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในวันนี้

ที่มาจริงๆ ของคำสอนนี้ เป็นหลักสำคัญของศาสนาคริสต์ ซึ่งกล่าวถึงความหมายและความสำคัญของ “พระเจ้า” ในฐานะเป็นพระเจ้าองค์เดียว จากพระเจ้า (พระบิดา), พระบุตร (พระเยซู) และพระจิต ตามหลักตรีเอกานุภาพ หรือ Trinity ของศาสนาคริสต์ (แตกต่างจากเทพเจ้าสามพระองค์ หรือ Trinity ของศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดู) ซึ่งรวมเป็น “พระเจ้าองค์เดียว” ของศาสนาคริสต์ และเป็น “พระเจ้าองค์เดียว” ที่รัก “ทุกคน” และจะอยู่กับ “ทุกคน” ที่เชื่อและรักพระองค์

ความวิเศษของคำสอนนี้สำหรับผู้เขียน คือ หลักคิดที่ “ทรงพลัง” อย่างที่สุดของมนุษย์ทุกคน ที่จะช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และเผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากทุกอย่างได้อย่างไม่ต้องโดดเดี่ยว เพียงขอให้ยึดมั่นหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ถูกทาง ไม่ทุจริต ไม่คิดร้ายใคร เพราะพระเจ้าจะ “ทราบ” และจะช่วยให้ผ่านความทุกข์ยากทุกอย่างได้อย่างมีศักดิ์ศรี ในขณะเดียวกัน คนที่คิดร้าย คิดในทางทุจริต พระเจ้าก็จะทราบและจะถูกลงโทษเสมอ

อย่างเป็นรูปธรรม ตามความคิดของผู้เขียน คำสอนนี้บอกว่า “ความลับไม่มีในโลก ทุกคนรู้ตัวดีเสมอว่ากำลังคิด และทำอะไรอยู่ ยกเว้นคนเสียสติ หรือคนบ้า”





เพชรเม็ดที่สอง : ผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มอีกข้างให้เขาด้วย

เพชรเม็ดที่สองที่เป็นคำสอนของมหาบุรุษคือ พระเยซูคริสต์ มีที่มาชัดเจน เป็นพระวรสารบันทึกโดยมัทธิว (ข้อที่ 39 บทที่ 5 คือ มัทธิว 5:39) หนึ่งใน 12 สาวกผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ และเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ที่พระเยซูคริสต์ทรงเลือกให้เป็นผู้บันทึกคำสอนของพระองค์

มัทธิวเป็นชาวยิว ทำงานเป็นผู้เก็บภาษีชาวยิว ส่งให้จักรวรรดิโรมันมาก่อน ทำให้เขาเป็นที่เกลียดชังของชนชาวยิว วันหนึ่ง พระเยซูคริสต์ทรงเดินผ่านมา และก็ทรงเรียกมัทธิวให้ตามพระองค์ไป มัทธิวก็ลุกขึ้นออกจากโต๊ะที่กำลังทำงานเก็บภาษีอยู่ แล้วก็ตามพระเยซูคริสต์ไป ทำให้ชาวยิวไม่พอใจพระเยซูคริสต์ด้วย

คำสอนของพระเยซูคริสต์ข้อนี้ ผู้เขียนก็ได้ยินมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก จากการเข้าร่วมกิจกรรมวันอาทิตย์ที่โบสถ์คริสต์ แต่ก็ไม่ “ลึกซึ้ง” อะไรเลย จริงๆ แล้ว กลับรู้สึกหัวเราะ หึหึ ในใจ...

จนกระทั่งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ใช้ชีวิตและทำงานอย่างเต็มตัว ได้พบผู้คนหลากหลายอุปนิสัยและพฤติกรรม ความเป็นเพชรของคำสอนที่สองนี้จึงเด่นชัดขึ้น...

และมาตกผลึกเป็นหนึ่งใน “12 ข้อคิดเพื่อร่างกายกับจิตใจ” เป็นบทสรุปสุดท้าย ข้อที่ 8 (เมตตาให้คนคิดร้าย) ในหนังสือ “ผ่ามิติจินตนาการ” ของผู้เขียน (ผ่ามิติจินตนาการ, ชัยวัฒน์ คุประตกุล, พาบุญมา, 2553 : รางวัลหนังสือดีเด่นประเภทสารคดีประจำปี พ.ศ. 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่รู้จักเรียกกันเป็น รางวัลหนังสืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ)

คำสอนของพระเยซูคริสต์ เพชรเม็ดที่สองนี้ สะท้อนความเป็น “ศาสนาแห่งความรัก” ของศาสนาคริสต์อย่างลึกซึ้ง และเพราะ “เมื่อเราถูกยั่วยุให้โกรธ ถ้าเราตอบโต้อย่าง...ตาต่อตา...ฟันต่อฟัน...ความเป็นสันติแห่งชีวิตก็จะหายไป แต่ถ้าเราตอบโต้ด้วย...ความรัก...ความมีเมตตา...การให้อภัย สมองและชีวิตของเราก็จะปลอดโปร่ง สามารถมีชีวิตที่เป็นสุขอย่างแท้จริงได้"

@@@@@@@

2 เพชรคำสอนของพระพุทธเจ้า

ผู้เขียนก็เช่นเดียวกับชาวพุทธทุกคน ที่เห็นเพชรมากมายในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สำหรับการค้นหาเพชรคำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงสองคำสอน ผู้เขียนยอมรับว่า ก็เป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดกับผู้เขียนเอง ที่มองเห็นเพชรงามที่สุดสองเม็ดในสายตาของผู้เขียนอย่างไม่ยากเย็นเลย

ทำไม.? เพชรคำสอนสองเม็ดขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผู้เขียนได้พบ คืออะไร.?





เพชรเม็ดที่สาม : ตน...เป็นที่พึ่งแห่งตน

ผู้เขียนพบเพชรเม็ดที่สามเร็วพอๆ กับที่ได้ยินได้ฟังเรื่องของเพชรเม็ดที่หนึ่งและที่สอง แต่ไม่ต้องรอนาน จึงเห็นคุณค่าของเพชรเม็ดที่สาม

จริงๆ แล้ว ที่มาของการพบเพชรเม็ดที่สาม คือ การที่ผู้เขียนไม่สามารถจะหาซื้อหนังสือได้ตามใจชอบในช่วงสมัยเป็นเด็ก (ดู “ตามล่า...หาขุมทรัพย์ทางปัญญา”, เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์, ไทยรัฐออนไลน์, วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566) ผู้เขียนจึง “อ่านแหลก” หนังสือในห้องสมุดและที่อื่นๆ รวมทั้งร้านกาแฟ และ “จดแหลก” ข้อมูลความรู้และความคิดดีๆ ของปราชญ์ และนักคิดชั้นยอดของโลก

เพชรเม็ดที่สามเป็นเพชรที่ชาวพุทธทุกคนรู้จักกันดี เพราะเป็นพุทธวจน “อัตตา หิ อัตตโน นาโถ” แปลว่า “ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน” ที่คุ้นเคยกันดี แต่สำหรับผู้เขียน จำได้ว่า ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ได้ “พบ” และ “จด” พุทธวจนนี้ ก็รู้สึกว่าเป็นคำสอนที่ยิ่งใหญ่ ที่มีคุณค่า และผู้เขียนก็ได้พยายาม “ยึด” ตามพุทธวจนนี้...

และยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งรู้สึกว่าเป็น “เข็มทิศวิเศษ” นำทางชีวิต ให้สามารถมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจได้จริง

อย่างแน่นอน การดำเนินชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น การยึดมั่นในพุทธวจน อัตตา หิ อัตตโน นาโถ มิได้หมายความว่า มนุษย์ทุกคนจะสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นเลย เพราะอย่างน้อย ทุกคนก็ต้องพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เกิด จนกระทั่งถึงวันเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ต้อง “รับผิดชอบตนเอง” เต็มที่...

แต่หมายความว่า ต้องมุ่งดำเนินชีวิตโดย “พึ่งตนเอง” เป็นหลัก ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ความก้าวหน้าของหน้าที่การงาน โดยหวังพึ่งคนอื่น





เพชรเม็ดที่สี่ : การเป็นหนี้ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

เพชรเม็ดที่สี่ที่ผู้เขียนนำมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านวันนี้ ก็คล้ายกับเพชรเม็ดที่สาม คือ เป็นพุทธวจน “อิณา ทานัง ทุกขัง โลเก” แปลตรงๆ คือ “การเป็นหนี้  เป็นทุกข์ในโลก” ที่ผู้เขียน “จด” จนขึ้นใจเป็น “การเป็นหนี้ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง”

ที่มาของการค้นพบเพชรเม็ดนี้ สำหรับผู้เขียน ก็คล้ายกับกรณีของเพชรเม็ดที่สาม คือ พบตั้งแต่วัยเด็กที่ “อ่านแหลก” และ “จดแหลก” แล้วก็สะดุด (ชอบ) เมื่อพบพุทธวจนนี้

แต่ที่แตกต่างไปจากเพชรเม็ดที่สาม คือ ในขณะที่ความตระหนักในความเป็นเพชรของเม็ดที่สามค่อยๆ ชัดเจนขึ้น ความเป็นเพชรของเม็ดที่สี่ “สว่างวาบ” ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และก็ไม่เคยลดความสว่างเลยถึงทุกวันนี้

อย่างตรงๆ เพชรเม็ดที่สี่ เป็นคำสอนที่ผู้เขียนยึดอย่างจริงจัง ตั้งแต่เด็ก...จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ อย่างไร.? เช่น :-
    *ไม่มี (เงิน) ก็ไม่ซื้อ (ทุกอย่าง)
    *ไม่มี (เงิน) ก็ไม่กิน (แล้วอยู่ได้หรือ? ผู้เขียนตอบได้เลยว่า อยู่ได้!)
    *ไม่อยากได้ อยากมี สิ่งที่ไม่ควรได้ ไม่ควรมี
    *ไม่รับของขวัญจากชาวกรีก (ดู “ระวัง...ของขวัญจากชาวกรีก!”, เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์, ไทยรัฐออนไลน์, วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566)

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยอมรับว่า คำสอนอันเป็นเพชรเม็ดที่สี่นี้ ก็มีขีดจำกัดสำหรับการใช้ประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งกรณี คือ นักธุรกิจ รวมทั้งนักลงทุน เพราะตามหลักธุรกิจและการลงทุน ย่อมจำเป็นจะต้องมีการระดมทุนหรือหาเงินทุน ซึ่งโดยปกติก็จำเป็นจะต้อง “กู้” (เป็นหนี้) ธนาคาร...

แต่สำหรับหลายอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าราชการ ที่ทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างสุจริต ถึงแม้จะไม่ร่ำรวยเป็นระดับเศรษฐีร้อยล้าน...พันล้าน...ได้ แต่ถ้าใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม ดังเช่นการยึดมั่นในคำสอนที่เป็นเพชรเม็ดที่สี่นี้ ผู้เขียนก็บอกอย่างมั่นใจได้ว่า...“จะไม่ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี แต่ก็จะไม่จน!”





เพชรเม็ดที่ห้า : ปัญญาเหมือนน้ำของขงจื๊อ

ขงจื๊อ เป็นหนึ่งในสองของ “ครู” หรือ “ปราชญ์” คนสำคัญของจีน คู่กับเหลาจื๊อ เป็น “เจ้า” ลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าตามลำดับ

ขงจื๊อ มีประวัติชีวิตและคำสอนบันทึกชัดเจน ลัทธิหรือศาสนาขงจื๊อ เน้นความสัมพันธ์อันดีงามของทุกภาคส่วนของสังคม (ชนชั้นผู้ปกครอง, ประชาชน, ...) ที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม จารีตประเพณีอันดีงาม และการเคารพนับถือบรรพบุรุษ...

ส่วนเหลาจื๊อ มีประวัติที่บันทึกไว้จริงๆ น้อย แต่ชัดเจนในหลักของลัทธิหรือศาสนาเต๋า เน้นความสำคัญของการดำรงชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ ตาม “วิถีแห่งธรรมชาติ” (เต๋า หรือ Tao เป็นภาษาจีน แปลว่า วิถี หรือ way)

ขงจื๊อกับเหลาจื๊อ มีชีวิตร่วมสมัยกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยขงจื๊อเกิด 8 ปีก่อนการเสด็จสู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่วนเหลาจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื้อประมาณ 50 ปี

ขงจื๊อและเหลาจื๊อพบกันหนึ่งครั้ง โดยขงจื๊อเป็นฝ่ายเดินทางไปหาเหลาจื๊อ ขณะที่ขงจื๊อมีอายุประมาณ 35 ปี และเป็นอาจารย์ที่เริ่มมีชื่อเสียง มีสำนัก มีลูกศิษย์มากมาย

เพชรเม็ดที่ห้าที่ผู้เขียนคัดมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านเป็นคำตอบของขงจื๊อที่ตอบลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่ถามว่า “อาจารย์เป็นครูมีชื่อเสียง มีความรู้ที่คนทั่วแผ่นดินยกย่อง แล้วทำไมอาจารย์จึงต้องเดินทางไกลไปหาเหลาจื๊ออีก?”

คำตอบของขงจื๊อคือ “สายน้ำที่ใสสะอาดก็เพราะน้ำไม่เคยหยุดไหล ถ้าน้ำหยุดนิ่ง น้ำใสก็จะกลายเป็นน้ำขุ่น นานๆ เข้าก็จะเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว”

เป็นคำตอบที่แสดงอย่างชัดเจนของคนมีความรู้ระดับคนเป็นครู เป็นปราชญ์ มีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ยัง “ถ่อมตน” ในความรู้ที่ตนมี และยังต้องแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ

สำหรับผู้เขียน คำตอบของขงจื๊อต่อลูกศิษย์เป็นคำตอบที่ “เตือนสติ” ของผู้ใฝ่รู้ว่า ความรู้ไม่มีหยุดนิ่ง ถ้าไม่มุ่งหาความรู้ใหม่เสมอ ความรู้ที่มีอยู่ก็จะไร้ประโยชน์ เหมือนน้ำนิ่งที่กลายเป็นน้ำเสีย!

@@@@@@@

5 เพชรคำสอนของมหาบุรุษและครูผู้ถ่อมตนที่ผู้เขียนนำมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านวันนี้ มีเพชรเม็ดใดตรงกับของท่านผู้อ่านบ้างครับ...และตัวท่านผู้อ่านเอง มีเพชรคำสอนของ “ใคร” “อย่างไร” บ้างครับ?





ขอขอบคุณ :-
บทความโดย : ชัยวัฒน์ คุประตกุล  นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ , เชื่อ คิดและทำ อย่างวิทยาศาสตร์
URL : https://www.thairath.co.th/scoop/world/2779139
20 เม.ย. 2567 09:03 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > WORLD > ไทยรัฐออนไลน์
14  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สาธยายธรรม กับ สวดมนต์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.? เมื่อ: เมษายน 20, 2024, 07:51:53 am
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.pinterest.ca/


สาธยายธรรม กับ สวดมนต์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.?

สาธยายธรรมกับสวดมนต์ โดยทั่วไปสำหรับชาวพุทธ มีความหมายไม่ต่างกัน แต่ในรายละเอียด(โดยเฉพาะบาลี)มีความหมายต่างกัน ดังนี้






บาลีวันละคำ : สาธยาย

สาธยาย อ่านว่า สา-ทะ-ยาย และ สาด-ทะ-ยาย

บาลีเป็น “สชฺฌาย” อ่านว่า สัด-ชา-ยะ
“สชฺฌาย” รากศัพท์มาจาก ส (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + อ ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น ย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อ (อะ) ที่ –ฌ เป็น อา : ส + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > ย = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน”

“สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)
“สชฺฌาย” สันสกฤตเป็น “สฺวาธฺยาย”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า (สะกดตามต้นฉบับ)
“สฺวาธฺยาย : (คำนาม) การอัธยายมนตร์เงียบๆ หรือสังวัธยายมนตร์ในใจ ; เวทหรือพระเวท ; การอัธยายหรือศึกษาพระเวท ; inaudible reading or muttering of prayers ; the Vedas or scripture ; perusal or study of the Vedas.”

@@@@@@@

“สชฺฌาย” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “สาธยาย”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“สาธยาย : (คำนาม) การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ภาษาปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).”

สชฺฌาย > สฺวาธฺยาย > สาธยาย หรือการท่องจำเป็นขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการศึกษาตามวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป คือขั้นการรับรู้และซึมซับข้อมูล ต่อจากนั้นไปจึงเป็นการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล สังเคราะห์ ประมวลข้อมูล แล้วสรุปผลลงเป็นหลักวิชาแล้วนำไปใช้ตามประสงค์

และสุดท้ายก็วนกลับไปที่ “สาธยาย” อีก คือการทบทวนเพื่อมิให้ลืมเลือนกฎหรือสูตรของวิทยาการนั้นๆ รวมทั้งเป็นการสรุปความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องไปด้วยในตัว


@@@@@@@

ควรเข้าใจให้ตรงกัน

   ๑. นักคิดบางสำนักในบ้านเราโจมตีวิธีท่องจำว่าเป็นการสอนคนให้เป็นนกแก้วนกขุนทอง คิดอะไรไม่เป็น จึงสอนนักเรียนโดยไม่ให้มีการท่องจำ

   ๒. ตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท “ปัญจโวการภพ” (ปัน-จะ-โว-กา-ระ-พบ) คือ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่
       (1) ร่างกาย (corporeality)
       (2) ความรู้สึก (feeling; sensation)
       (3) ความจำ (perception)
       (4) ความคิด (mental formations; volitional activities)
       (5) ความรู้เข้าใจ (consciousness)

   ๓. วิธีสาธยายหรือท่องจำเป็นการใช้งานตามธรรมชาติของชีวิต และเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้นของกระบวนการศึกษา ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษา และไม่ใช่จบลงเพียงแค่ท่องจำ แต่ยังจะต้องส่งต่อไปยังความคิด ความรู้เข้าใจต่อไปอีก

   ๔. การจะให้เกิดผลคือจำข้อมูลได้ การ “สาธยาย-ท่องจำ” นับว่าเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์สากล สำหรับมนุษย์ที่รังเกียจวิธีนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะคิดค้นวิธีอื่นได้อีก แต่จะไม่ให้มนุษย์ต้องจำอะไรเลยนั้นคือผิดธรรมชาติ

อุปมาอุปไมย

    "การสาธยายเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลความรู้ไว้ในสมอง เมื่อถึงเวลาต้องการ ก็เปิดออกมาใช้ได้ทันที ฉันใด การทำบุญก็เป็นกระบวนการเก็บเสบียงไว้ในใจ เมื่อถึงเวลาต้องจากไป ก็พร้อมเดินทางได้ทันที ฉันนั้น"




ขอบคุณ : https://dhamtara.com/?p=3311
tppattaya2343@gmail.com | 15 พฤษภาคม 2015






บาลีวันละคำ : สวดมนต์

สวดมนต์ ภาษาบาลีว่าอย่างไร

(๑) “สวด” เป็นคำไทย ตรงกับบาลีว่า “สชฺฌาย”
     “สชฺฌาย” อ่านว่า สัด-ชา-ยะ รากศัพท์มาจาก ส (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + อ ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น ย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ –ฌ เป็น อา (สชฺฌ > สชฺฌา) : ส + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > ย = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน”

    “สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)

(๒) “มนต์”
     บาลีเป็น “มนฺต” อ่านว่า มัน-ตะ รากศัพท์มาจาก
     (1) มนฺ (ธาตุ = รู้) + ต ปัจจัย : มนฺ + ต = มนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้”
     (2) มนฺต (ธาตุ = ปรึกษา) + อ ปัจจัย : มนฺต + อ = มนฺต แปลตามศัพท์ว่า “การปรึกษา”

@@@@@@@

“มนฺต” ในภาษาบาลีมีความหมาย ดังต่อไปนี้

   1. ความหมายเดิม คือ คำพูดหรือคำตัดสินของเทพเจ้าบนสวรรค์ แล้วกลายมาเป็นประมวลคำสอนที่เร้นลับของศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ หรือคัมภีร์พระเวท (a divine saying or decision, hence a secret plan)
   2. คัมภีร์ศาสนา, บทร้องสวด, การร่ายมนตร์ (holy scriptures in general, sacred text, secret doctrine)
   3. ศาสตร์ลี้ลับ, วิทยาคม, เสน่ห์, คาถา (divine utterance, a word with supernatural power, a charm, spell, magic art, witchcraft)
   4. คำแนะนำ, คำปรึกษา, แผนการ, แบบแผน (advice, counsel, plan, design)
   5. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง (a charm, an effective charm, trick)
   6. สูตรวิชาในศาสตร์สาขาต่างๆ (เช่น H2O = น้ำ หรือแม้แต่สูตรคูณ ก็อยู่ในความหมายนี้) (law)
   7. ปัญญา, ความรู้ (wisdom, knowledge, insight, discernment)


@@@@@@@

“มนฺต” ใช้ในภาษาไทยว่า มนต์, มนตร์ (มน) และเข้าใจกันแต่เพียงว่าหมายถึง “คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์”

“สวดมนต์” ตรงกับคำบาลีว่า “มนฺตสชฺฌาย” (มัน-ตะ-สัด-ชา-ยะ)

มนฺต + สชฺฌาย = มนฺตสชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสาธยายมนต์” หรือแปลตรงตัวว่า “สวดมนต์” นั่นเอง

การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนามีมูลเหตุมาจากการสาธยายพระสูตรหรือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อมิให้ลืมเลือนอย่างหนึ่ง และเพื่อตรวจสอบข้อความให้ถูกต้องตรงกันอีกอย่างหนึ่ง

   สวดมนต์เพื่อทบทวนความรู้ จะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
   สวดมนต์เพื่อเจริญสมาธิสติ ธรรมะก็ผลิเบ่งบาน
   สวดมนต์เพื่อขลัง ยังต้องนุงนังไปอีกนาน


(อธิบายเร่งด่วนตามประสงค์ของพระคุณท่าน So Phom)




ขอบคุณ : https://dhamtara.com/?p=3796
tppattaya2343@gmail.com | 29 ตุลาคม 2015
15  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ข้องใจวัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่ เก่าแก่กว่า 1,300 ปี เผยเพิ่งขอเป็นวัดได้สำเร็จ เมื่อ: เมษายน 20, 2024, 05:30:29 am
.



ณพลเดช ข้องใจวัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่ เก่าแก่กว่า 1,300 ปี เผยเพิ่งขอเป็นวัดได้สำเร็จ

ณพลเดช ข้องใจวัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่ เก่าแก่กว่า 1,300 ปี เผยเพิ่งขอเป็นวัดได้สำเร็จ ยกเครดิตให้ กมธ.ศาสนาฯ

เมื่อวันที่ 15 เมษายน ที่วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าสักการะ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ โดยพระครูสุนทรเจติยารักษ์ ได้อนุโมทนาหลังจากที่กรมอุทยานอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสร้างวัดได้

ขณะนี่้ได้ยื่นขอวิสุงคามสีมาแล้ว ตนได้โทรศัพท์ถึงอธิบดีกรมอุทยาน และได้ขอบคุณที่ได้ดำเนินตามกระบวนกฎหมาย ซึ่งวันนี้ก็เป็นวันที่ประสบความสำเร็จ ที่ได้วัดในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องเพิ่มมาอีกวีดหนึ่ง






นายณพลเดช กล่าวต่อไปว่า วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ มีคนนำดอกมะลิไปไหว้เป็นจำนวนมาก อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี น่าจะออกโฉนดที่ดินและขอวิสุงคามสีมา ได้มานานแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นวัดที่ไม่มีวิสุงคามสีมา ภายหลังผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จ.เชียงใหม่ ก็ได้ให้ความสะดวกและดำเนินการตามกรอบกฎหมาย

ทั้งนี่ได้ที่ดินวัดที่เป็นโฉนดราว 7 ไร่ กำลังอยู่ในขั้นตอนขอวิสุงคามสีมา ซึ่งจะทำให้สามารถ บวชพระ และประกอบศาสนกิจของสงฆ์ได้ตามพุทธวินัยได้ต่อไป อีกทั้งจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรม ที่ได้สืบต่อกันมา

อย่างไรก็ดี ต้องขอให้เครดิตกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรในชุดก่อน และชุดปัจจุบันที่ทำงานงานอย่างหนัก โดยเฉพาะ ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ที่ทุ่มเทงานอย่างมาก




ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4528031
วันที่ 15 เมษายน 2567 - 23:24 น.   
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไฟเขียว.! โครงการ 'ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง' เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง” เมื่อ: เมษายน 20, 2024, 05:20:55 am
.



ไฟเขียว.! โครงการ 'ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง' เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง”

รัฐบาล เห็นชอบ 6 โครงการของสำนักพุทธฯ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567

นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบโครงการในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 โดยมีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งหมดจาก 23 หน่วยงาน จำนวน 76 โครงการนั้น

@@@@@@@

นายอินทพร กล่าวต่อไปว่า ในส่วน พศ.มีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล ประกอบด้วย

    - โครงการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี    มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เจริญปัญญา เจริญสุข เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการพิธีสาธยายพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 และ
    - โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3357982/
19 เมษายน 2567 | 16:10 น. | การศึกษา-ศาสนา
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮา.! สัปเหร่อสาวไต้หวัน บินลัดฟ้ามาแต่งหน้าศพ-สอนฟรี เมื่อ: เมษายน 20, 2024, 05:11:58 am
.



ฮือฮา.! สัปเหร่อสาวไต้หวัน บินลัดฟ้ามาแต่งหน้าศพ-สอนฟรี

ชาวบ้านฮือฮา! “แอมม่า” สัปเหร่อสาวสวยชาวไต้หวัน บินลัดฟ้ามาแต่งหน้าศพ-สอนการแต่งศพให้ฟรี

ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านปลื้ม เมื่อสัปเหร่อสาวสวยชาวไต้หวัน เดินทางมาแต่งหน้าศพให้คนตายในพื้นที่ แถมสอนแต่งหน้าศพฟรีให้กับชาวบ้าน

โดย แอมม่า สาวชาวไต้หวัน อายุ 33 ปี เดินทางเข้ามาช่วย แต่งหน้าศพ ให้กับคนผูกคอเสียชีวิตที่บ้านตาโหงก หมู่ 8 ต.สนามชัย อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเสียชีวิตมาประมาณ 3 วัน สร้างความประหลาดใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เพราะเป็นหญิงสาวหน้าตาดี ที่กล้าแต่งหน้าศพ




แอมม่า บอกว่า ตนเองมีอาชีพเป็นสัปเหร่ออยู่ที่ไต้หวัน มาแล้วกว่า 4 ปี ที่ผ่านมาพบข้อมูลว่า "คนไทยไม่ชอบแต่งหน้าศพ" จึงได้เรียนภาษาไทยเพื่อให้สื่อสารได้เข้าใจ จากนั้นเมื่อเห็นเพจ "บ้านหลังสุดท้ายได้ทุกคน" จึงทักไปว่าอยากจะไปช่วยแต่งหน้าศพและสอนการแต่งศพให้

ซึ่งครั้งนี้เดินทางมาไทยเป็นรอบที่ 2 แล้ว ที่ผ่านมาแต่งหน้าศพแล้วประมาณ 50 ศพ และยืนยันว่า จะมาช่วยแต่งหน้าศพที่เมืองไทยอีก

ด้าน นายยิ่งพันธ์ ว่องไว อายุ 48 ปี พ่อค้าโลงศพ บอกว่า เห็นหญิงสาวรายนี้ทักมาในเพจ ตอนแรกคิดว่าเป็น”มิจฉาชีพ”เพราะคนสวยขนาดนี้จะมาแต่งหน้าศพได้อย่างไร ส่วนหนึ่งก็อยากลองว่าจะมาจริงหรือไม่ จึงตอบรับไป จนกระทั่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แอมม่า ทักมาว่า”ถึงเมืองไทยแล้ว” จึงไปรับจากสนามบินสตึก




หลังจากนั้นแอมม่า ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านแล้วออกตระเวณแต่งหน้าศพแบบมืออาชีพ พออยู่ได้ประมาณ 10 วัน แอมม่าก็กลับไต้หวัน จนกลับมาอีกครั้ง โดยแอมม่า จะสอนการแต่งหน้าศพ ให้เหมือนคนนอนหลับมากที่สุด ที่ผ่านมาชาวบ้านและญาติผู้ตาย ต่างมีความปลื้มใจ เพราะไม่คิดว่าคนสวยอย่างแอมม่าจะกล้าแต่งหน้าศพ




Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/221957
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 19 เม.ย. 2567 ,08:38น.
18  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พาไปรู้จัก "ประเพณีบุญลูกหนู" หาดูยากของชาวมอญ ที่วัดยอดพระพิมลเมืองนนท์ เมื่อ: เมษายน 19, 2024, 08:40:59 am
.



พาไปรู้จัก "ประเพณีบุญลูกหนู" หาดูยากของชาวมอญ ที่วัดยอดพระพิมลเมืองนนท์

รายการกินไปทั่วมั่วบ้านงาน สัปดาห์นี้ พาไปรู้จัก "ประเพณีบุญลูกหนู" วัดยอดพระพิมล ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

ประเพณีบุญลูกหนู วัดยอดพระพิมล ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี หรือ ประเพณีแข่งจุดลูกหนู เป็นประเพณีอย่างหนึ่งในงานฌาปนกิจของพระสงฆ์ชาวมอญระดับเจ้าอาวาส ในสมัยก่อนการเผาศพพระสงฆ์มอญ ไม่ใช้มือจุดแต่จะจุดไฟเผาด้วยลูกหนู

ต่อมาภายหลังกลายเป็นประเพณีการแข่งขัน โดยจะให้ลูกหนูวิ่งไปชนตัวปราสาท หรือโลงศพจำลอง ที่ยอดปราสาทจะคล้ายกับยอดเมรุ โดยถ้าลูกหนูใครยิงไปโดนป้าย หรือยอดเมรุให้ล่วงลงพื้นก็จะมีรางวัล

โดยก่อนที่จะทำการแข่งขันแต่ละทีมจะต้องนำลูกหนูแห่รอบเมรุเวียนซ้ายเสียสามรอบก่อน เพื่อแสดงความเคารพถึงครูบาอาจารย์ หลังจากนั้นจึงแห่ออกไปยังสนามแข่งขัน และเริ่มทำการแข่งขัน โดยวิธีการแข่งแต่ละทีมจะมีลูกหนู 12 ลูก จุดวนไปจนครบทุกลูก ผู้ชนะก็คือผู้ที่สามารถชนยอดปราสาทหลังใหญ่ (เป้า) ให้ตกถึงพื้นได้

สำหรับเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพ จะเป็นเมรุลอยปราสาท 9 ยอด พร้อมโลงศพแบบมอญ โดยก่อนที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ จะมีประเพณี “วอญย์แฝะ” การโล้ปราสาทแย่งศพ เพื่อแสดงความเคารพ และระลึกถึงครูบาอาจารย์ ซึ่งทั้ง 2 ประเพณีนี้ทุกวันนี้หาดูได้ยาก

ชมวิดีโอได้ที่ : https://youtu.be/Unu0FSdmh08

















 
Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/214631
18 เม.ย. 67
19  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดภาพ "พิธีบวงสรวงคันไถ" งานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2567 เมื่อ: เมษายน 19, 2024, 08:30:06 am
.



เปิดภาพ "พิธีบวงสรวงคันไถ" งานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2567

กระทรวงเกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2567 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีบวงสรวงคันไถในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง และเทพีคู่หาบเงิน เข้าร่วม ณ บริเวณปะรำพิธีอาคารจัดเก็บคันไถ กรมส่งเสริมการเกษตร

โดยพิธีบวงสรวงคันไถได้เริ่มขึ้นในเวลา 09.00 น. ประธานในพิธีจุดเทียนธูปบูชาเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ กล่าวนำคำอธิษฐานจิต จากนั้นประธานปักธูปบนเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยเทพีคู่หาบทอง หาบเงิน ปักธูปบนเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ พระมหาราชครูฯ อ่านโองการ ประพรมน้ำเทพมนตร์ และเจิมคันไถ




ลำดับต่อมาประธานและอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นำพวงมาลัยคล้องคันไถตามลำดับ จากนั้นประธานโปรยข้าวตอกดอกไม้ บริเวณเครื่องสังเวยเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้บริหารที่ร่วมในพิธี เทพีคู่หาบทอง หาบเงิน ร่วมวางพวงมาลัยบนพานหน้าคันไถเพื่อสักการะ เป็นอันเสร็จพิธี

นายประยูรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้จัดเก็บ ดูแล รักษา ซ่อมแซม ปรับปรุง และจัดเตรียมคันไถ สำหรับเข้าร่วมวันซ้อมย่อย วันซ้อมใหญ่ และวันงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี 2567 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ปฏิบัติหน้าที่นี้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โดยในช่วงเดือนเมษายน ก่อนพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของทุกปี กรมส่งเสริมการเกษตรจะดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงคันไถให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน และปี 2567 นี้ ได้กำหนดจัดพิธีบวงสรวงคันไถ เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน




ทั้งนี้ ในอดีต คันไถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกข้าว ใช้แรงงานสัตว์ เช่น โค กระบือ ในการขับเคลื่อน ซึ่งถูกนำมาใช้ประกอบพิธีไถหว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทุกปี โดยพระราชพิธีฯ มีมาแต่โบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพิธีสงฆ์ เรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” ร่วมด้วย จึงทำให้พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีพระราชพิธีพืชมงคลรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ซึ่งพระราชพิธีนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรในการทำนา เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหก ทางจันทรคติ หรือเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระยะเวลาเหมาะสมในการเริ่มต้นการทำนาของทุกปี โดยในปี 2567 สำนักพระราชวังกำหนดให้มีพระราชพิธีพืชมงคล ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง




สำหรับคันไถ ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีฯในปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2539 โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งมีชุดองค์ประกอบ ดังนี้

1) คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค 2.26 เมตร และยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร ทาสีแดงชาดตลอดคันไถ หัวคันไถทำเป็นเศียรพญานาคลงรักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงรักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทองสำหรับมือจับ

2) แอกเทียมพระโค ยาว 1.55 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วยทองเหลืองลงรักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงรักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลาย กระจังตาอ้อยลงรักปิดทองตลอดคัน ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโคพร้อมเชือกกระทาม

3) ฐานรอง เป็นที่สำหรับรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทาด้วยสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงรักปิดทองทั้งด้านหัวไถและปลายไถ

4) ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาคทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลายลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกแวว มีพู่สีขาวประดับเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เพื่อประดับพระเกียรติ ธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร





ขอบคุณที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1545410
วันที่ 18 เมษายน 2567 - 13:57 น.
20  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปลัดมท.นำพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ ณ วัดปรมัยยิกาวาส เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 07:02:57 am
.



ปลัดมท.นำพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ ณ วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พร้อมด้วยปลัดมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ ณ วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร โอกาสมงคลวาระครบรอบ 150 ปีการฉลองพระอาราม และร่วมบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวไทยเชื้อสายมอญและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

เมื่อเวลา 17.17 น. วันที่ 17 เมษายน ที่วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาสพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ พระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร โดยได้รับเมตตาจาก พระครูพิพิธเจติยาภิบาล (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5 เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ร่วมประกอบพิธี

โดยมี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พลเอก พิสิษฐ์ นพเมือง รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายภิรมย์ ชุมนุม นายอำเภอปากเกร็ด นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด นายสมชาย ทัดชัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด พลโท ชาติวัฒน์ งามนิยม ไวยาวัจกรวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร นายบรรหาญ เนาวรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู หัวหน้าส่วนราชการ คณะอุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก




โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และผู้ร่วมพิธี เข้าถวายสักการะแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าหน้าที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยและอาราธนาศีลแบบรามัญ จบแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ ปิดทองยอดฉัตร ผูกผ้าชมพู และคล้องมาลัยฉัตร แล้วประกอบพิธียกฉัตร จนครบทั้ง 4 ทิศ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำ รับพร เป็นอันเสร็จพิธี

นายสุทธิพงษ์กล่าวว่า วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ วัดปากอ่าว เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อในภาษามอญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกทิ้งร้างหลังจากคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จนกระทั่งถึงปี 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ด พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญ รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ขึ้น และท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้

จวบจนในปี 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน ณ วัดปากอ่าว โดยได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดซึ่งเสนาสนะต่างชำรุดทรุดโทรมและบางส่วนปรักหักพัง จึงทรงอนุสรณ์รำลึกนึกถึง สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้

เพื่อถวายเป็นพระกุศลสนองพระคุณ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” ซึ่งมีความหมายว่า วัดของพระบรมอัยยิกา ปัจจุบันมี พระครูพิพิธเจติยาภิบาล (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5 เป็นเจ้าอาวาส






“วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ได้ดำเนินการบูรณะฉัตรยอดสีมาจตุรทิศ ซึ่งเป็นฉัตรเดิมที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีผูกสีมาขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2427 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระกรุณาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจิมเพื่อความเป็นสวัสติมงคลแล้ว จึงได้กำหนดจัดพิธียกฉัตรยอดเจดีย์สีมาจตุรทิศขึ้น ซึ่งวันนี้ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ได้เชิญชวนอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบูรณะพระอารามวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหารแห่งนี้

อันถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการสร้างศูนย์รวมให้เกิดความรู้รักสามัคคีขึ้นในชุมชน ได้พร้อมใจกันร่วมประกอบพิธียกฉัตรขึ้นสู่พระอุโบสถ มีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ อันเป็นฤกษ์งามยามดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีการฉลองพระอาราม และเป็นการบูรณะในรอบ 30 ปี ซึ่งทุกท่านได้มาร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาปฏิบัติบูชาเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

เพื่อให้พระอุโบสถแห่งนี้ เป็นมงคลสถานที่ในการประกอบศาสนกิจของพระเถรานุเถระ ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนพื้นที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมวิถีมอญ ให้คงอยู่คู่กับชุมชนแห่งนี้ ดำรงคงอยู่ให้กับลูกหลานของเราสืบไป” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม






นายสุทธิพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน มาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของพุทธศาสนิกชนคนไทย ด้วยการทำปฏิบัติบูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางศาสนา โดยการเชิญชวนครอบครัวลูกหลานมาเข้าวัด ฟังเทศน์ฟังธรรม ทำบุญตักบาตร ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ทำกิจกรรมจิตอาสา สร้างการมีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ดี สร้างเสริมความรักสามัคคี พร้อมถ่ายทอดไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้น้อมนำเอาหลักศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งสำคัญคือผู้นำทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ที่จะต้องช่วยกันสืบสาน รักษา และต่อยอด พร้อมถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่

ด้วยการทำให้ส่งเสริมวัดแห่งนี้ได้เป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนตลอดจนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ เป็นสัปปายะสถานสำหรับประชาชน ด้วยการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบของพลัง “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ ส่งเสริมสิ่งที่ดีในชีวิต ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมหลักการพึ่งพาตนเอง ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อทุกคนในสังคมปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีก็จะทำให้สังคมดี คนในสังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำไปสู่ความสงบสุขของประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4530759
วันที่ 17 เมษายน 2567 - 23:40 น.
21  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา ชื่อนี้มาจากไหน.? เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 06:52:11 am


สถานีรถไฟนครราชสีมา


“ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา ชื่อนี้มาจากไหน.?

“ปากช่อง” คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็น “ด่านแรก” หรือประตูที่เชื่อมการเดินทางจาก “ถนนมิตรภาพ” เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอปากช่อง โดดเด่นเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ อย่าง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ยังครอบคลุมพื้นที่อีก 10 อำเภอ ทั้งในนครราชสีมา สระบุรี นครนายก และปราจีนบุรี ปากช่องจึงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศสดชื่น

เราได้ยินชื่ออำเภอปากช่องกันจนคุ้นหู แล้ว “ปากช่อง” ที่ว่านี้มาจากไหน.?

ในอดีต ปากช่องเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลขนงพระ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการขยายโครงข่ายคมนาคม โดยเฉพาะ “รถไฟ” เพื่อความสะดวกในการปกครองและการเดินทาง ก็มีการสร้างทางรถไฟสายแรก คือ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

ทางรถไฟสายนี้ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างใน พ.ศ. 2434 นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 9.95 ล้านบาท โดยมีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกัน

หลังจากสร้างได้ไม่นาน บริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถสร้างทางรถไฟได้เสร็จตามสัญญา กรมรถไฟหลวงจึงเลิกจ้าง และดำเนินการก่อสร้างเอง แต่การก่อสร้างก็มีอุปสรรค เพราะการสร้างทางรถไฟช่วงอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี สระบุรี เข้าสู่ดงพญาเย็น ปรากฏว่าคนงานและวิศวกรเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากไข้ป่า

กว่าจะสร้างทางรถไฟ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทางรวม 265 กิโลเมตร แล้วเสร็จ งบประมาณในการก่อสร้างก็บานปลายไปถึง 17.5 ล้านบาท ทั้งยังใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี มีพิธีเปิดสถานีรถไฟที่นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443

ส่วนที่ว่าทำไมถึงได้ชื่อว่า “ปากช่อง” ก็เพราะว่าทางรถไฟสายดังกล่าวตัดผ่านกลางหมู่บ้าน ต้องระเบิดภูเขาเป็นช่อง จึงเรียกกันว่า “บ้านปากช่อง”

ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนมิตรภาพ การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทางการจึงยกฐานะของปากช่องขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และขยับขึ้นเป็น อำเภอปากช่อง เช่นที่คุ้นกันในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “รถไฟ (จะ) ไปโคราช” เส้นทางรถไฟสายแรกของไทย ที่ฝรั่งทิ้งงาน รัฐต้องรับต่อ 9 ปีถึงสร้างเสร็จ
    • ที่มา “นามสกุล” ชาว “โคราช” หลักฐานสำคัญบ่งชี้ภูมิประเทศถิ่นกำเนิด
    • “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ” สู่ “ถนนมิตรภาพ” ช่วยย่นเวลาเดินทางกทม.-โคราชจาก 10 เหลือ 3 ชม.




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 11 เมษายน 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_130696
อ้างอิง : เสมียนนารี. จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย.
22  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไม รัชกาลที่ 1 ทรงศรัทธา “พระแก้วมรกต” ถึงขั้นโปรดอัญเชิญเป็น “ใจเมือง” เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 06:44:23 am
.

“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากราชการทัพที่เมืองเขมร” ภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดานโดมด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม


ทำไม รัชกาลที่ 1 ทรงศรัทธา “พระแก้วมรกต” ถึงขั้นโปรดอัญเชิญเป็น “ใจเมือง”

เมื่อสร้างกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 มีพระราชปณิธานที่จะสร้างให้เป็นกรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่ โดยจำลองแบบอย่างหลายอย่างมาไว้ที่กรุงเทพฯ ขาดเพียงพระพุทธรูปที่เปรียบเสมือน “ใจเมือง” แม้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปลงมาไว้กรุงเทพฯ หลายองค์ แต่ก็ไม่มีองค์ใดเลย ที่จะมีพระราชศรัทธาในพุทธคุณเทียบเท่า “พระแก้วมรกต”

“พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานเป็นประธานอยู่ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางราชอาณาจักรสยาม และศูนย์กลางแห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา และราษฎร


@@@@@@@

เหตุใดจึงโปรดพุทธคุณในพระแก้วมรกตยิ่งกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ

ตำนานเกี่ยวกับพระแก้วมรกต ที่ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เทวดาสร้าง มีการอัญเชิญไปยังดินแดนต่างๆ เช่น
  - ประดิษฐานอยู่เมืองลำปางนาน 32 ปี (พ.ศ. 1979-2011),
  - เชียงใหม่ 85 ปี (พ.ศ. 2011-2096),
  - หลวงพระบาง ไม่ถึงปี (พ.ศ. 2096),
  - เวียงจันทน์ 225 ปี (พ.ศ. 2096-2322)
  - กรุงธนบุรี 5 ปี (พ.ศ. 2322-2327) และ
  - สุดท้ายประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2327

เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์  มีการก่อสร้างพระอารามขึ้นในพระราชวังหลวงตามอย่างกรุงศรีอยุธยา แล้วเสร็จในปี 2326

ปีถัดมารัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกต “ข้ามฟาก” มาจากกรุงธนบุรี ลงเรือพระที่นั่งกิ่ง มีเรือแห่เป็นขบวน ไปยังพระอุโบสถแห่งใหม่ ส่วน “พระบาง” พระราชทานคืนแก่กรุงเวียงจันทน์ไป

@@@@@@@

“พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 ตอบคำถามเรื่อง รัชกาลที่ 1 ทรงเลื่อมใสในพุทธคุณของพระแก้วมรกต โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการปราบยุคเข็ญและการปราบดาภิเษกของพระองค์ ว่า

“ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระมหามณีรัตนปฏิมากรองค์นี้ เป็นสิริแก่พระองค์และพระนคร จึงได้ขนานนามกรุงใหม่ว่ากรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานและเป็นที่เก็บพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ เพราะเหตุฉะนั้นการพระราชพิธีอันใดซึ่งเป็นการใหญ่ ก็ควรจะทำในสถานที่เฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรนั้นประการหนึ่ง”

หลังจากอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพียง 2 เดือน ได้เกิดธรรมเนียมใหม่ขึ้น คือ พ.ศ. 2328 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ตั้งพระราชกำหนดใหม่ให้ข้าราชการทั้งปวงต้องเข้าไปกราบนมัสการพระแก้วมรกตก่อน แล้วจึงเข้ารับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัจจาภายหลัง ผิดกับพระราชกำหนดเก่าที่ถือธรรมเนียมเข้าไปไหว้รูปพระเทพบิดรก่อน แล้วจึงกราบนมัสการพระรัตนตรัยภายหลัง

ไม่เพียงแต่รัชกาลที่ 1 จะทรงศรัทธาและถือว่าพระแก้วมรกตนั้น “เป็นสิริแก่พระองค์” ยังเป็นไปได้ว่าทรงเชื่อพุทธคุณในทางใดทางหนึ่งขององค์พระแก้วมรกตเป็นพิเศษ


@@@@@@@

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งถึงความศรัทธาเลื่อมใสพระแก้วมรกตของรัชกาลที่ 1 ว่า

“ท่านเลื่อมใสในองค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เปนหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย”

พระแก้วมรกตยังมีความสำคัญถึงขนาดว่าเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่มี “ข้าพระ” ดังปรากฏในหมายรับสั่งและบัญชีโคมตรา ในพระราชพิธีวิสาขบูชา ในรัชกาลที่ 4 มีการกล่าวถึง “ข้าพระแก้วมรกต” ให้เบิกน้ำมันมะพร้าวต่อชาวพระคลังไปจุดโคมประทีปรอบระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มาร่วมในพระราชพิธีสำคัญ ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งพิธีทางศาสนา พระราชพิธีเกี่ยวกับราชตระกูล และการปกครอง เช่น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา กรณีที่พระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ยังต้องเข้าไปถือน้ำสาบานหน้าพระแก้วมรกตเป็นปฐมก่อน แล้วจึงมาดื่มน้ำต่อหน้าพระพักตร์ในท้องพระโรงอีกครั้งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสาระสำคัญของการถือน้ำคือการสาบานต่อหน้าพระ

@@@@@@@

สมัยรัชกาลที่ 1 นั้น “พุทธคุณ” สำคัญพระแก้วมรกต ไม่น่าจะเป็นเรื่องอื่น นอกเหนือจากเรื่องพระเจ้าตากและกรุงธนบุรี ทำให้การจลาจลในแผ่นดินเก่าสงบลง เพราะการบูชาสมโภชพระแก้วมรกต และการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างยิ่งใหญ่ ทรงกระทำพร้อมๆ กับการสร้างพระราชวัง อันเป็นช่วง 3 ปีแรกแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนพุทธคุณทางด้านกำราบราชศัตรู “เมืองใดไป่ต้านทานทน พ่ายแพ้เดชผจญ ประณตน้อมวันทา” เวลานั้นสงครามใหญ่ก็ยังไม่เกิด ศึกพม่าครั้งแรกในแผ่นดินใหม่นี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังพระอุโบสถแล้วเกือบปี

พระแก้วมรกตอาจมีฐานะต่างไปจากพระพุทธรูปองค์อื่น ตรงที่ได้การเคารพนบไหว้เป็น “ใจเมือง” และยิ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระปฐมบรมกษัตริย์ให้ความเคารพศรัทธาเหนือสิ่งอื่นใด ภาระหน้าที่ของพระแก้วมรกตจึงมากมายเลยขอบเขตทางพระพุทธศาสนา ไปจนถึงการ “รักษา” เมืองด้วยในบางโอกาส

เช่น สมัยรัชกาลที่ 2 จึงมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากพระอุโบสถไป “รักษา” เมือง ในพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อแห่ประพรมน้ำทั้งทางบกทางน้ำ เพียงไม่กี่วัน “ความไข้ก็ระงับเสื่อมลงโดยเร็ว” แต่การอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากพระอุโบสถ ยุติไปในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย


คลิกอ่านเพิ่ม :-

    • พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ที่สร้างสมัย ร.3 ที่มา พระนาม ร.1 กับ ร.2
    • พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ทำไมถึงเป็นปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ?

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนเก็บความจาก ปรามินทร์ เครือทอง. “พุทธคุณพระแก้วมรกต” ใน,  ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2551.




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 11 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 11 เมษายน2564
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_130713
23  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนไทยหิวบุญ EP.1 พุทธพาณิชย์ จริงหรือคือสิ่งเร้าชาวพุทธ เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 06:44:38 am
.



คนไทยหิวบุญ EP.1 พุทธพาณิชย์ จริงหรือคือสิ่งเร้าชาวพุทธ

จริงหรือที่ว่า..คนไทยหิวบุญ ปริศนาธรรมจากซีรีส์สาธุ และรูปแบบของพุทธพาณิชย์ในวัด เป็นสิ่งเร้าชาวพุทธให้เข้าไปทำบุญจริงหรือไม่...

จริงหรือที่คนไทยหิวบุญ? คำถามดังๆ จาก “ซีรีส์สาธุ” ที่สามารถเรียกความสนใจจากคนไทยให้หันมาสำรวจและทบทวน “ความเป็นชาวพุธในตัวเอง” (อีกครั้ง) เพราะอะไรชาวพุทธแบบไทยเราจึงชอบทำบุญ? และสาเหตุที่เราต้องการ “บุญ” เพราะเราถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ถูกเรียกว่า “พุทธพาณิชย์”





ซึ่งมาจากคำว่า พุทธ = พระพุทธศาสนา และคำว่า พาณิชย์ = การค้า ด้วยหรือไม่? และเพราะอะไร “วัด” ซึ่งถือเป็นสถานที่เผยแผ่คำสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจาก “ทุกข์” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงต้องทำสิ่งที่เรียกว่า “พุทธพาณิชย์” เพื่อหารายได้เข้าวัดกันด้วย

และท้ายที่สุด “คุณ” เคยลองคิดคล้อยตาม การตั้งคำถามสำคัญที่สุดจากซีรีส์สาธุ ในประเด็นที่ว่า…ถ้าหาก “วัด” เกิดกลายเป็นสถานที่สำหรับระดมทุนให้กับกลุ่มอาชญากรขึ้นมา มันจะเกิดอะไรขึ้น?

วันนี้ “เรา” จะไปสำรวจข้อมูลที่อาจจะนำไปสู่ “คำตอบ” ทั้งหมดนั้นร่วมกัน เผื่อว่าบางที…พวกเราในฐานะชาวพุทธ อาจจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิด “สิ่งที่ไม่ดีไม่งามกับพระพุทธศาสนาที่เราเคารพนับถือกันมายาวนานก็เป็นได้” 

โดยหัวข้อแรกที่ “เรา” อยากชวน “คุณ” สนทนาถึงประเด็นที่ “เรา” โปรยไว้ทั้งหมดในตอนแรกนี้ คือ เพราะอะไร? “วัด” จึงต้องมีการดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่เรียกว่า “พุทธพาณิชย์” กันด้วย

“เรา” มีข้อมูลจาก “อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” อาจารย์ประจำหลักสูตร ศศ.บ. ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของงานวิจัยรูปแบบและวิธีการทางธุรกิจกับพุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนา มาให้ “คุณ” ได้ร่วมกันพิจารณา



“อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” อาจารย์ประจำหลักสูตร ศศ.บ. ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


พุทธพาณิชย์

พุทธพาณิชย์เป็นคำที่นักวิชาการใช้วิจารณ์กระบวนการที่อาศัยความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชน มาเป็นเครื่องมือในการหารายได้ มีหลายรูปแบบ เช่น การทำพระพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชา และวัตถุมงคลรูปแบบต่างๆ ออกจำหน่าย การปั่นราคาวัตถุมงคลและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อหารายได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น การทำบุญสะเดาะเคราะห์ ต่อดวงชะตา การทำพิธีตัดกรรม

พิธีกรรมเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ไม่ใช่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่สามารถทำให้บุคคลบรรลุธรรมได้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรหลงใหลกับสิ่งที่เป็นพุทธพาณิชย์ หรือพิธีกรรมต่างๆ มากจนเกินไป ควรทำความเข้าใจว่าผู้ที่ทำพุทธพาณิชย์ทำเพื่อการทำมาหากิน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของพระพุทธศาสนา


      ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2553




 :96: :96: :96:

รูปแบบของพุทธพาณิชย์ ที่งานวิจัยรูปแบบและวิธีการทางธุรกิจกับพุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนาค้นพบ

1. การบูชารูปเคารพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า รูปเคารพต่างๆ และพระพุทธรูปสำคัญๆ ของทางวัด ที่ทางวัดจัดสร้างขึ้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบไหว้บูชาและขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อความร่ำรวย, เพื่อให้หายจากป่วยไข้ และเพื่อบนบานอธิษฐานขอสิ่งที่ตนเองปราถนา

เหล่านี้ล้วนเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ทางวัดจากเครื่องบูชา ซึ่งมีทั้งที่ทางวัดเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือในบางกรณีอาจจะเป็นการตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้เช่าพื้นที่ขายเครื่องบูชา โดยวัดได้ค่าเช่า

2. กิจกรรมหรือพิธีกรรมในลักษณะที่เป็นการบริการตนเอง

เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการบูชารูปเคารพ เป็นกิจกรรมสำเร็จรูปที่วัดส่วนใหญ่ดำเนินมีรูปแบบเหมือนกัน คือ มีป้ายเชิญชวนทำพิธีกรรมนั้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบริจาคเงินเพื่อแลกกับอุปกรณ์ในการทำพิธีนั้นๆ โดยไม่ต้องอาศัยพระสงฆ์ดำเนินพิธีกรรม เช่น การตักบาตรเหรียญ ปิดทองลูกนิมิต เป็นต้น

3. การเชิญชวนทำบุญบริจาคด้วยตู้รับบริจาคและเครื่องเสี่ยงทาย

การเชิญชวนทำบุญบริจาคด้วยการรับบริจาคผ่านตู้รับบริจาคในวัด โดยตู้รับบริจาคเหล่านี้จะมีข้อความอธิบายวัตถุประสงค์สั้นๆ เพื่อชี้แจงว่าทางวัดจะนำเงินที่ได้ไปใช้ในกิจการใด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือชำระหนี้สงฆ์ ซึ่งการบริจาคในลักษณะนี้ ผู้บริจาคจะถูกชักชวนว่าเป็นการทำบุญ และอธิบายว่าบุญที่ได้ทำไปนี้จะมีอานิสงส์ตอบแทนเช่นไร

4. การให้เช่าบูชาพระเครื่องบูชา เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล

การสร้างวัตถุมงคลในอดีตนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสติ แต่ในเวลาต่อมาได้พัฒนาถึงขั้นที่ว่าสะสมไว้เพื่อการสร้างผลกำไรทางธุรกิจ ด้วยการนำไปให้คนเช่าบูชา และโดยมากมักมีเรื่องเล่าสนับสนุนเพื่อสร้างความต้องการให้กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผสมผสานกับการอ้างเรื่องเจตนาในการสร้าง ที่มักเป็นไปในลักษณะเพื่อนำเงินที่ได้ไปทำกิจกรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับชุมชน





5. การให้บริการในเรื่องการทำพิธีกรรม

การประกอบพิธีกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางศาสนาของคนในสังคม โดยเฉพาะเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น งานอุปสมบท งานศพ หรือพิธีเสริมดวงแก้กรรมต่างๆ ได้มอบบทบาทอันสำคัญนี้ให้แก่ “พระสงฆ์” มาช้านาน ด้วยเหตุนี้เมื่อมีพระสงฆ์มาเข้าร่วม จึงทำให้บางที่มีการเรียกค่ายกครู หรือค่าพานทองของไหว้ เครื่องบูชาในพิธีกรรมนั้นๆ

6. การจัดเทศกาล วันสำคัญตามประเพณี และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

อีกหนึ่งรูปแบบของการหารายได้เข้าวัดที่ได้รับความนิยม คือ การจัดงานเทศกาล วันสำคัญตามประเพณีต่างๆ รวมถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และในงานดังกล่าวนั้น มักมีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนให้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพ รวมถึงเปิดให้มีการเช่าพื้นที่ค้าขาย ในกรณีที่มีการจัดแสดงมหรสพเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนจำนวนมากๆ มาร่วมงานด้วย   

7. การเชิญชวนร่วมทำบุญสร้างวัตถุมงคล สร้างรูปบูชาและพระพุทธรูป (เป็นเจ้าภาพ)

ปัจจุบันหลายวัดนิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินมาก จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีการระดมศรัทธาเพื่อรับบริจาคทุนทรัพย์ จนเป็นเหตุให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า เป็นการสร้างเพื่อต่อลาภสักการะ หวังผลให้พุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบไหว้สักการะ เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ต่อไปหรือไม่?

8. การเชิญชวนทำบุญก่อสร้างสาธารณสมบัติ การสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ

พุทธศาสนิกชนมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า หากต้องการให้ได้บุญมากก็ต้องสร้างวัดวาอาราม ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์ผลบุญกุศลแรง ซึ่งในอดีตนั้นการสร้างวัดจะเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงนิมนต์พระมาอยู่ดูแล แต่ในปัจจุบันดูเหมือนจะกลายเป็นหน้าที่ของพระดำเนินการเอง ผ่านการเชิญชวนให้ทำบุญในรูปแบบต่างๆ รวมถึงยังขยายการเชิญชวนให้ทำบุญเพื่อหาเงินไปสร้างสาธารณสมบัติต่างๆ ให้ชุมชนด้วย โดยเจ้าภาพที่ร่วมบริจาคด้วยจำนวนเงินตามที่ทางวัดระบุ จะได้รับการจารึกชื่อบนสิ่งปลูกสร้างนั้นไว้เป็นอนุสรณ์

9. การทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ และการทำบุญซื้ออาหารให้สัตว์ต่างๆ

เป็นการต่อยอดมาจากการปล่อยนกปล่อยปลา ด้วยความเชื่อที่ว่า การให้ชีวิตเป็นการสร้างกุศลที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ชีวิตสัตว์ใหญ่ ยิ่งได้กุศลมาก โดยบางวัดอาจมีการให้ข้อมูลโน้มน้าวใจด้วยว่า การไถ่ชีวิตนอกจากได้กุศลแรงแล้ว เมื่อทางวัดนำไปมอบให้กับเกษตรกรที่ยากไร้ ผู้ร่วมทำบุญจะยิ่งได้บุญจากการได้ช่วยเหลือเกษตรกรด้วย

10. การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ปัจจุบันวัดกลายเป็นอีกหนึ่งจุดสนใจของนักท่องเที่ยวตามความนิยมของชาวต่างชาติ ทำให้วัดสามารถเก็บค่าเข้าชมจากนักท่องเที่ยวได้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ก็หมายถึงยอดรับบริจาคจากกิจกรรมช่องทางต่างๆ





และจากบรรทัดข้างต้นที่บรรยายถึงการหารายได้ผ่านพุทธพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ มาได้อย่างละเอียดลออถึงขนาดนี้ จึงเป็นผลให้คำถามแรกที่ “เรา” สอบถามอาจารย์วีรยุทธ คือ…

    “สาเหตุที่วัดในประเทศไทยส่วนใหญ่ต้องเน้นเรื่องพุทธพาณิชย์มากมายขนาดนี้ เป็นเพราะวัดมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายใช่หรือไม่.?”
    ซึ่งคำตอบที่ได้รับกลับมาแทบจะในทันที คือ “ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ!”

   “คือมันเป็นแบบนี้ครับ จากการที่ผมได้สำรวจมา บางวัดเขาอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว หรือบางทีอาจจะมีญาติโยมคอยอุดหนุนเรื่องรายจ่ายอยู่แล้ว ดังนั้น พุทธพาณิชย์ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเพราะมีคนมาเสนอให้กับทางวัดทำก็ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะวัดมีดำริที่จะทำบ้างก็ได้
    อีกทั้งจะว่าไป ประเด็นที่ว่า...วัดทำเพราะมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่หาข้อมูลในส่วนนี้ได้ยากมาก (ลากเสียง) อีกด้วย

วัดสามารถปฏิเสธการทำพุทธพาณิชย์ได้หรือไม่.?    
    “ปฏิเสธได้ครับ ผมคิดว่าพระปฏิเสธได้แน่นอน”

พุทธพาณิชย์เป็นกิจของสงฆ์หรือไม่.?
    “ผมขอตอบแบบนี้ดีกว่าครับ คือ ในกรณีที่เรามองว่าการขายของไม่ใช่กิจของพระ คำถามที่ผมอยากชวนคิด คือ ระหว่างพระผลิตเครื่องรางของขลังมาให้เช่าบูชา กับพระผลิตหนังสือธรรมะออกมาให้ญาติช่วยกันบริจาค ต่างกันหรือไม่ แล้วเพราะอะไรจึงแตกต่างกัน?
    ในมุมมองคนส่วนใหญ่ กรณีพระผลิตหนังสือธรรมะออกมาเพื่อเปิดรับบริจาค ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะมองว่ามีความเชื่อมโยงเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    หากแต่ในทางกลับกัน คุณคิดว่าปัจจุบันพระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่แต่เดิมถูกสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ให้ระลึกถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ในปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เช่นนั้นอยู่หรือไม่?
    ซึ่งหากคุณมีคำตอบในใจว่า พระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลังต่างๆ ในปัจจุบัน ไม่ได้ทำหน้าที่เช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว คำตอบสำหรับประเด็นนี้ก็คือ...ไม่ใช่กิจของสงฆ์แน่นอน”





ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะอะไรจึงไม่มีการจัดระเบียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าแบบใดทำได้ แบบใดทำไม่ได้.?

ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ครุ่นคิดสักครู่หนึ่ง ก่อนตอบคำถามนี้ของทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ด้วยน้ำเสียงเนิบนาบว่า...

“แล้วคุณว่าปัจจุบันพระชั้นผู้ใหญ่ยังทำกันอยู่หรือเปล่า.? (หัวเราะ) เมื่อเป็นแบบนี้มันก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะมีใครเข้าไปจัดการ หรือจัดระเบียบ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามที่จะเข้าไปจัดระเบียบ แล้วของพวกนี้ก็หายไปจากวัดได้ระยะหนึ่ง

อีกจุดหนึ่งที่ผมอยากตั้งข้อสังเกต คือ พรรคการเมืองบางพรรค หรือนักการเมืองบางคนเอง ผมก็ยังเห็นพูดกันอยู่เลยว่า ของแบบนี้ (พุทธพาณิชย์) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตสิ่งของ การท่องเที่ยว จนกระทั่งนำไปสู่การกระจายรายได้ไปยังท้องถิ่นต่างๆ เพราะฉะนั้นมันก็คงเป็นเรื่องยากที่จะมีใครอยากจะเข้าไปขวางทาง





แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแชร์ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ คือ พระที่อยู่ตามวัดส่วนใหญ่นั้นโดยปกติ ท่านก็ไม่ค่อยรู้จักใครหรอก แต่เป็นฝ่ายฆราวาสเสียเองที่มักจะพยายามเข้าไปติดต่อกับทางวัด เพื่อจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การเข้าไปติดต่อเพื่อขอบูรณะวัด จนกระทั่งเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างกันขึ้น เป็นต้น”

สำหรับใน EP.2 “อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” จะมาขยายความถึงปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดกับวัด อันเป็นผลที่มาจากพุทธพาณิชย์ โปรดติดตามตอนต่อไป

                                ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน






Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2776721
16 เม.ย. 2567 08:59 น. | สกู๊ปไทยรัฐ | Interview | ไทยรัฐออนไลน์
กราฟิก : Anon Chantanant
24  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มหากาพย์ ‘พระแก้วมรกต’ เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 06:40:16 am
.



มหากาพย์ ‘พระแก้วมรกต’ (1)
จาก ‘รัตนพิมพวงศ์’ ถึง ‘พระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ 4’


กลางปี 2564 ช่วงที่สถานการณ์โควิดเข้าขั้นวิกฤต ดิฉันได้ชวนเพื่อนพ้องน้องพี่นักวิชาการหลากหลายสำนัก มาเปิดประเด็นถกวิพากษ์เรื่อง “พระแก้วมรกต” กันในคลับเฮาส์ เพราะเป็นหัวข้อที่ “พูดคุยกันกี่ครั้งก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ มีแต่จะเพิ่มมุมมองใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนกันได้เรื่อยๆ โดยที่ใครอยากพูดมิติไหนก็เชิญตามสะดวก ไม่มีใครถูกใครผิด”

นำมาซึ่งภาพโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในแบนเนอร์ที่ท่านเห็น คือโปรแกรมเสวนาคลับเฮาส์ในค่ำคืนของวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ซึ่งเราเสวนากันอย่างเลื่อนไหลมันส์ในอารมณ์ยิ่งนัก ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึงเที่ยงคืนครึ่ง นานกว่า 5-6 ชั่วโมง โดยที่คนติดตามฟังสดก็ไม่มีใครยอมล่าถอย

เพื่อให้ความตั้งใจของวิทยากรที่เสียสละเวลาช่วยกันสืบค้นข้อมูลเชิงลึกเรื่องพระแก้วมรกตในมิติต่างๆ ในครั้งนั้นไม่สูญเปล่า ดิฉันในฐานะแม่งานหลัก จึงขอทำหน้าที่ถอดคลิปเสียง จับประเด็นสาระสำคัญมาขยายความต่อ

ตอนแรกนี้ เป็นการเปิดประเด็นของ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ผู้คร่ำหวอดเรื่อง “พุทธปฏิมาในสยาม อินเดีย และอุษาคเนย์” แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยากรท่านแรกนี้ได้รับโจทย์จากดิฉันให้อินโทรเรื่อง “เส้นทางของพระแก้วมรกตจากปาฏลีบุตรสู่สยาม”



แบนเนอร์เก่าเมื่อปี 2564 รายการเสวนาคลับเฮาส์ ประเด็น พระแก้วมรกต รวบรวมวิทยากรคับคั่ง


ตำนานฝ่ายล้านนา vs เอกสารฝ่ายรัตนโกสินทร์

ก่อนที่ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง จักนำเข้าสู่เรื่องเส้นทางจากปาฏลีบุตร ท่านขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “ข้อมูล” หรือ “องค์ความรู้” เกี่ยวกับพระแก้วมรกตที่คนไทยรับรู้ตราบจนทุกวันนี้กันนั้น ว่ามีที่มาจากเอกสารสามส่วนหลักๆ

ส่วนแรก คือตำนานฝ่ายล้านนา จำแนกได้เป็น 2 เล่ม คือ
    1. รัตนพิมพวงศ์
    2. ชินกาลมาลีปกรณ์ ทั้งคู่แต่งเป็นภาษาบาลี

ว่าด้วย “รัตนพิมพวงศ์” รจนาโดย พระพรหมราชปัญญา ภิกษุชาวล้านนา น่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-ต้น 22 ตำนานเล่มนี้มีความตั้งใจที่จะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระแก้วมรกตโดยตรง ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยสองครั้ง ครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระธรรมปรีชา (แก้ว) ครั้งที่สองสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)

เวอร์ชั่นหลังนี้เอง กรมศิลปากรนำไปตีพิมพ์ซ้ำนับครั้งไม่ถ้วนภายใต้ชื่อที่เรียบเรียงใหม่ว่า “ตำนานพระแก้วมรกต” จนเป็นที่รู้จักของคนไทยในวงกว้าง

ในขณะที่ “ชินกาลมาลีปกรณ์” รจนาโดย พระรัตนปัญญาเถระ เมื่อปี 2060 (แต่งขึ้นก่อน รัตนพิมพวงศ์) เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ตั้งใจจะเน้นเรื่องประวัติพระพุทธศาสนา กับเหตุบ้านการเมืองในล้านนามากกว่า

ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับพระแก้วมรกตจึงนำเสนอแบบค่อนข้างย่นย่อ กล่าวคือ มีเรื่อง “พระรัตนปฏิมา” แทรกอยู่เพียง 7 หน้าเท่านั้น

@@@@@@@

ส่วนที่สอง คือเอกสารฝ่ายล้านช้าง เรื่องราวของพระแก้วมรกตมาปรากฏอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังจากทรงตีเวียงจันท์ได้ และนำพระแก้วมรกตมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี กระทั่งต่อมาย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งกรุงเทพฯ พระองค์ยกทัพไปตีล้านช้างอีกครั้งในปี 2331 ได้ตำนานเรื่องพระแก้วมรกตฉบับล้านช้างกลับมาสู่ราชสำนักสยาม ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลต้นฉบับจากภาษาลาวมาเป็นภาษาไทย

ส่วนนี้ถือเป็น “ภาคขยายความ” ต่อจากรัตนพิมพวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ ที่เล่าเหตุการณ์เรื่องพระแก้วมรกตจบลงเพียงแค่ประทับอยู่ที่ลำปาง (เขลางค์) และพระเจ้าติโลกราชกำลังอัญเชิญมาสู่เชียงใหม่เท่านั้น

ถือว่า ตำนานพระแก้วมรกตฉบับล้านช้าง ช่วยมาเติมเต็มเหตุการณ์อีกช่วงที่ขาดหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของล้านนา นั่นคือ เหตุการณ์หลังจากที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปไว้ที่หลวงพระบาง จนกระทั่งชาวลาวได้สร้างวัดพระแก้วถวายแด่พระแก้วมรกตที่เวียงจันท์



ตำนานพระแก้วมรกต หรือ “รัตนพิมพวงศ์” ของ “พระพรหมราชปัญญา” ฉบับปริวรรตสมัยรัชกาลที่ 5 โดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เป็นเอกสารที่นำเสนอเรื่องพระแก้วมรกต เชิงอภินิหาร ตำนานกึ่งประวัติศสตร์ จนเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างของสังคมไทย


ส่วนที่สาม คือพระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ 4 เป็นพระราชนิพนธ์ที่มีความน่าสนใจยิ่งสะท้อนถึง การปะทะสังสรรค์ต่อสู้กันทางความคิดระหว่าง “ความศรัทธาทางพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า” ของคนรุ่นก่อนแบบเน้นให้เชื่อโดยไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามใดๆ ปะทะกับ “องค์ความรู้ใหม่ของโลกสากล” ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ซึมซับมาจากชาวตะวันตก จึงพยายามจะให้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ต่อองค์พระแก้วมรกตอีกด้วย

อาจารย์รุ่งโรจน์วิเคราะห์ว่า จุดมุ่งหมายของการเขียนรัตนพิมพวงศ์ก็ดี ชินกาลมาลีปกรณ์ก็ดี ล้วนยกย่องเชิดชูว่าพระแก้วมรกตมีความสำคัญอย่างสูงสุด ประหนึ่งว่า “มาตรแม้นใครได้ไหว้พระแก้วมรกตแล้ว ก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้าองค์จริง”

โดยตำนานทั้งสองชิ้นนี้ระบุว่า มีการบรรจุ “พระบรมสารีริกธาตุ” ถึง 7 ชิ้น ภายในองค์พระปฏิมาแก้วมรกตด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อประกาศให้รู้ว่า หินเขียวแก้วมณีองค์นี้ หาใช่ประติมากรรมดาดๆ แบบพระอิฐพระปูนทั่วไปไม่

หากแต่ “มีชีวิตจริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่” เมื่อมนุษย์กราบไหว้แล้ว สามารถสัมผัสได้ว่า พระแก้วมรกตจักเป็นที่พึ่งของปวงสัตว์โลกได้อย่างแท้จริง

@@@@@@@

ในขณะที่มุมมองต่อพระแก้วมรกตของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 กลับเปลี่ยนแปรไป พระองค์ไม่ได้เน้นว่าพระแก้วมรกตจะต้องเป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้าจริงแท้แค่ไหนหรือไม่ หากมองเห็นว่า คุณค่าของพระแก้วมรกตที่แท้จริงคือ เป็นเครื่องสะท้อนถึงบารมีของพระมหากษัตริย์ผู้ครอบครองมากกว่า ดังเช่นบางถ้อยบางประโยคที่พระราชนิพนธ์ไว้

   “ด้วยอำนาจและพระบารมีของสมเด็จพระเจ้ามหากษัตริย์ศึก (หมายถึงรัชกาลที่ 1 แต่การที่รัชกาลที่ 4 เรียกด้วยตำแหน่งนี้ เนื่องจากตอนรัชกาลที่ 1 ได้พระแก้วมรกตมา ยังดำรงพระอิสสริยยศดังกล่าว) ซึ่งควรเป็นผู้ครอบครองปฏิบัติบูชาพระรัตนปฏิมาพระองค์นี้ เจ้าร่มขาวหลวงพระบางมาสวามิภักดิ์ ทั้งยังปราบเวียงจันท์ได้สำเร็จ สมเด็จพระเจ้ามหากษัตริย์ศึกได้เวียงจันท์ จึงได้อัญเชิญพระปฏิมาองค์นี้พรอ้มพระบางมาด้วย”

อาจารย์รุ่งโรจน์ชี้ให้เห็นว่า ตัวคัมภีร์ทางศาสนา กับเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกต ผลิตขึ้นต่างสถานที่ ต่างช่วงเวลากัน ตำนานฝ่ายล้านนาเขียนขึ้นเพื่อเน้นว่า พระพุทธเจ้าคือพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตคือพระพุทธเจ้า

ในขณะที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 มองว่า ความสำคัญของพระแก้วมรกตไม่ได้อยู่ที่จิตวิญญาณขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าต้องประทับอยู่ในองค์พระปฏิมาหรือไม่ ทว่า อยู่ที่ใครที่ได้ครอบครองพระแก้วมรกตคือผู้ที่มีบุญญาบารมีในการปกครองบ้านเมืองมากกว่า



รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศิลป์อินเดีย ลังกา อุษาคเนย์ สยาม และล้านนา


พระแก้วมรกตสร้างในล้านนา อ้างอิงความเก่าถึงอินเดีย

อาจารย์รุ่งโรจน์ขอให้ทุกท่านช่วยกันพิเคราะห์รูปลักษณ์ “พระแก้วมรกต” กันอย่างละเอียดลอออีกครั้ง เชื่อว่าคงไม่มีใครปฏิเสธได้เลยว่า พุทธศิลป์เช่นนี้จักไม่ใช่ “ศิลปะล้านนา” ซึ่งในอดีตเคยมีผู้ศึกษาวิเคราะห์กันไว้แล้วหลายท่าน อาทิ ท่านอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ก็ดี ท่านศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ นักประวัติศาสตร์ศิลป์คนสำคัญแห่งคณะโบราณคดีก็ดี

ความเห็นเรื่องแหล่งผลิตพระแก้วมรกต ณ ปัจจุบันนี้แทบจะเป็นฉันทามติแล้วว่า หากไม่ทำขึ้นที่เชียงแสน เชียงราย ก็อาจทำขึ้นที่เมืองพาน พะเยา 3-4 แห่งที่ประติมากรมีความถนัดในการแกะสลักหินเท่านั้น

เมื่อเรายอมรับทฤษฎีนี้กันอย่างพร้อมเพรียงแล้ว คำถามที่ตามมาก็คือ มีเหตุผลอันใดเล่า จึงได้เขียนตำนานให้ลากยาวไปไกลมากถึงอินเดีย ลังกา พุกาม เขมร ทั้งๆ ที่พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นของอาณาจักรล้านนาแท้ๆ ดังนั้น เราควรหมายเหตุไว้ว่า น่าจะมีนัยยะหรือวาระซ่อนเร้นบางประการแอบแฝงอยู่

หันมาดูปฐมบทของการศึกษาพระแก้วมรกตในคัมภีร์ “รัตนพิมพวงศ์” มีการเอ่ยถึงนามของพระภิกษุที่มีชีวิตอยู่จริงในยุคหลังพุทธกาลลงมาประมาณ 5-600 ปี นาม “พระนาคเสน” สะท้อนให้เห็นว่า พระพรหมราชปัญญา ได้แรงบันดาลใจจากคัมภีร์ศาสนาเรื่อง “มิลินทปัญหา” (หรือที่เรารู้จักในนาม ตอบปัญหาพญามิลินทร์) แทรกปนอยู่ด้วย

@@@@@@@

เนื้อเรื่องตอนแรกๆ จึงมีบทบาทของ “พระนาคเสน” ปรากฏอยู่ด้วย โดยตำนานระบุว่า พระภิกษุชื่อนาคเสนชาวเมืองปาฏลีบุตร (เป็นการเขียนแบบสันสกฤต หากเขียน “ปาตลีปุต” เป็นแบบบาลี) ต้องการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เพื่อเป็นเครื่องสืบอายุพระพุทธศาสนา และประสงค์จะสร้างด้วยวัสดุประเภท “แก้ว”

เมื่อพระอินทร์(ท้าวสักกเทวราช) และพระเวสสุกรรม(วิสสุกรรม) สดับดังนั้น จึงขันอาสาหาแก้วมณีจากภูเขาศักดิ์สิทธิ์ลูกหนึ่งชื่อ “เขาวิบูล” มาให้ แก้วดวงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “อมรโกฏ” บ้างเขียนว่า “อมรกต” แปลว่าแก้วที่สร้างขึ้นด้วยเทวดา(อมร = พระอินทร์, เทวดา ส่วน โกฏ, กต = การสร้าง ผู้สร้าง การกระทำ)

ไปๆ มาๆ ตัว อ หายไป เหลือแค่ มรโกฏ กร่อนเป็น “มรกต” เท่านั้น ความหมายจึงไปพ้องกับอัญมณีประเภทหนึ่งที่เป็นหินเขียว กลายเป็น Emerald Buddha ซึ่งสอดคล้องกับสีของหินเขียวที่ใช้สร้างพระแก้วพอดี ในความเป็นจริงนั้น วัสดุที่ใช้สร้างพระแก้วมรกตเป็นหินในกลุ่มคล้ายหยก (Jade) มากกว่าที่จะเป็น “มรกต” ตามความหมายของ Emerald

ในขณะที่ท้าวสักกะและพระวิสสุกรรม แปลงกายมาเป็นช่างแกะสลักหินเขียวอยู่นั้น ตำนานระบุว่า พระนาคเสนได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน 7 องค์ ให้เข้ามาสถิตในองค์พระพุทธรูปด้วย โดยฝังกระจายไว้ 7 จุดดังนี้

    1. พระเมาลี (มวยผม)
    2. พระนลาฏ (หน้าผาก)
    3. พระอุระ (ชินกาลระบุว่า อุระ แต่รัตนพิมพวงศ์ บอกว่า พระนาภี-สะดือ)
    4-5. ข้อพระหัตถ์ 2 ข้าง และ
    6-7. พระชานุ (เข่า) 2 ข้าง

เข้าใจว่าความเชื่อในเรื่องการฝังพระบรมสารีริกธาตุ 7 จุดตลอดองค์พระปฏิมาจากตำนานพระแก้วมรกตเรื่องนี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของช่างล้านนากลุ่มหนึ่ง (อาจสังกัดป่าแดงหรือไม่?) ในการสร้างพระพุทธรูป ซึ่งยุคสมัยหนึ่งนิยมฝังหมุดหรือใส่ของมีค่า แล้วเอาสลัก (แส้/เดือย) เชื่อมชิ้นส่วนองค์พระปฏิมาที่หล่อแยก 7 ส่วนบ้าง 9 ส่วนบ้าง ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว อันเป็นที่มาของ พระบัวเข็ม และพระแสนแส้ต่างๆ

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เคยพยายามตรวจสอบค้นหาความจริง พระองค์ท่านพระราชนิพนธ์ไว้ในพระบรมราชาธิบายว่า ไม่พบร่องรอยของการฝังพระบรมสารีริกธาตุ 7 จุดในองค์พระแก้วมรกต ตามที่ตำนานรัตนพิมพวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ระบุไว้แต่อย่างใดเลย •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15-21 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2567
website : https://www.matichonweekly.com/column/article_753719
25  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สิบวันแอ่วหาคนเถ้า เก้าวันแอ่วหาคนแก่ เหลือนั้นค่อยแว่หาร้างหาสาว เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 06:22:17 am
.



สิบวันแอ่วหาคนเถ้า เก้าวันแอ่วหาคนแก่ เหลือนั้นค่อยแว่หาร้างหาสาว



สิบฯฯวันฯแอ่วฯหาฅ฿นฯเถั้า เกั้าวันฯแอ่วฯหาฅ฿นฯแก่ เหิลฯอฯอนั้นฯค่อฯยฯแว่หาร้างฯหาสาวฯ



สิบวันแอ่วหาคนเถ้า เก้าวันแอ่วหาคนแก่ เหลือนั้นค่อยแว่หาร้างหาสาว อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “สิบวันแอ่วหาคนเถ้า เก้าวันแอ่วหาคนแก่ เหลือนั้นก้อยแว่หาฮ้างหาสาว”

คนเถ้า หมายถึง ผู้สูงวัยที่มีความรู้ หรือเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
คนแก่ หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่ในทางปกครอง เช่น แก่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้าน แก่วัด คือ ผู้ที่มีหน้าที่จัดการงานต่างๆ ของวัด แก่เหมืองฝาย คือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเหมืองฝายต่างๆ
ร้าง หมายถึง หญิงที่หย่ากับผัว

ชาวล้านนามีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถ้าครอบครัวใดมีบุตรเป็นชาย เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนจบชั้นประถมศึกษาภาคบังคับแล้ว หากไม่ได้ศึกษาต่อ หรือมีเวลาหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว มักจะให้บุตรหลานบรรพชาเป็นสามเณร หากลาสิกขาออกมาเรียกว่า “น้อย” หากไม่ลาสิกขาออกมา เมื่อมีอายุครบก็จะให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

หากบวชไม่นานลาสิกขาออกมาเรียกว่า “หนาน”




ระฯบาฯช์ญฯล้านฯนาฯ “ระฯพสิริมังคฯลาจาร์ยฯ”
อ่านว่า ผาดล้านนา พะสิริมังก๊ะลาจ๋าน
แปลว่า ปราชญ์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์

ล้านนาในอดีต พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมาก คัมภีร์ต่างๆ ที่ปราชญ์ได้รจนาขึ้น เป็นต้นแบบของการศึกษาภาษาบาลีสืบมา เช่น คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่แต่งโดย พระสิริมังคลาจารย์ เป็นวรรณคดีบาลีที่ได้รับการยกย่อง และเป็นคัมภีร์สำหรับศึกษาของพระภิกษุประโยค เปรียญธรรม 4-7 วัด จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของพระภิกษุ สามเณร

โดยมีผู้สอนที่ได้รับการถ่ายทอดจากตำราโบราณ หรือพระภิกษุที่บวชมานาน ที่เรียกว่า “แก่พรรษา” เมื่อลาสิกขาออกมาแล้ว “น้อย” หรือ “หนาน” เหล่านั้น ก็มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ตามที่ได้รับการถ่ายทอด เพื่อนำมาประพฤติ ปฏิบัติ ในวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมและประเพณีของชาวล้านนา

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ได้รับทางธรรมอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในสังคมของชาวโลก จึงมีคำสอนของพ่อแม่ที่สอนลูกหลานว่า “สิบวันแอ่วหาคนเถ้า เก้าวันแอ่วหาคนแก่ เหลือนั้นค่อยแว่หาร้างหาสาว” เมื่อ “หนาน” ได้ลาสิกขาจากพระมาแล้ว ในเวลา 1 เดือน ถ้านับตามจันทรคติ ใน 30 วัน ในข้างขึ้น หรือ 29 วันในข้างแรม หรือใน 30 วัน หรือ 31 วัน ในปฏิทินสากล

หากต้องการความรู้ด้านต่างๆ ให้ไปศึกษาจากผู้ที่มีอายุ เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ประมาณ 10 วัน อีก 9 วัน ให้ไปหาความรู้ทางด้านการปกครอง จากผู้ที่มีตำแหน่งและได้รับการยอมรับ ให้เป็น “แก่”

ที่เหลือจากนั้นจึงค่อยไปมองหาคู่ครอง ซึ่งอาจจะเป็นสาว หรือแม่ม่ายหย่าผัว เพราะถ้าบวชนานๆ โดยไม่มีคู่หมายมาก่อน ผู้หญิงในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็คงจะแต่งงานไปก่อนแล้ว เหลือแต่ หญิงม่าย ดังคำเปรียบเปรยที่ว่า “ส้มกับแม่มาน หนานกับแม่ร้าง” หมายถึง ของเปรี้ยวคู่กับหญิงตั้งครรภ์ ส่วนหนานนั้นคู่กับแม่ม่าย เป็นต้น

แม้ว่าคำสอนของพ่อแม่ล้านนาจะมีมานานแล้วก็ตาม ถ้านำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้ได้ เพราะหากไม่มีความรู้ความสามารถ หรือไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนให้เชี่ยวชาญ การที่จะดำรงชีวิตให้มีความสุขสบายก่อนที่จะแต่งงานคงเป็นไปได้ยากในสังคมที่มีการแข่งขัน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น ค่านิยมของผู้คนก็เปลี่ยนไปตามฐานะของแต่ละครอบครัว •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : ล้านนาคำเมือง
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_754883
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดแทบแตก แห่ร่วมพิธี เป่ายันต์เกราะเพชร วัดดังนครปฐม เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 06:09:47 am
.



วัดแทบแตก แห่ร่วมพิธี เป่ายันต์เกราะเพชร วัดดังนครปฐม เปิดเลขเด็ด

วัดแทบแตก กว่า 3,000 คน แห่ร่วมพิธี เป่ายันต์เกราะเพชร วัดดังนครปฐม ศิลปิน-ดารามาด้วย เสียงกรีดร้องดังสนั่น รถติดยาว 3 กิโลเมตร เปิดเลขเด็ด

วันที่ 14 เม.ย.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่วัดสว่างอารมณ์ แคแถว ต. ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พระครูยติธรรมานุยุต หรือ หลวงพ่อแป๊ะ เจ้าอาวาสวัด เกจิชื่อดัง ได้ประกอบพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร โดยถือฤกษ์ดี วันเสาร์ 5 เดือน 5 ซึ่งมีเพียงแค่ปีละครั้ง

ประกอบกับเป็นวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยในปี 2567 และยังเป็นวันหยุดเสาร์ด้วย ทำให้สาธุชน และบรรดาข้าราชการ ศิลปิน ดารา นักร้อง ที่ทราบข่าวต่างเดินทางมาป็นจำนวนมากเพื่อเข้าพิธี เป็นการเสริมสร้างความเป็นศิริมงคล





สำหรับพิธีดังกล่าวนั้น จัดขึ้นที่บริเวณข้างเมรุ ลานกว้างทางขึ้นศาลาการเปรียญ ซึ่งบรรจุผู้คนได้ 1,000 คน แต่ปรากฏว่ามีผู้คนเดินทางมาเข้าพิธีมากจนทางวัดต้องขยายพื้นที่ไปยังใตัถุนศาลาการเปรียญ และยังต้องขยายไปที่ลานไถ่ชีวิตโคกระบือรองรับสาธุชนอีกกว่า 3,000 คน

โยงสายสิญจน์จากที่ประกอบพิธี เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีนั้นโยงสายสิญจน์สีขาวไว้บนศีรษะผูกกับผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณสีขาวเพื่อความเข้มขลัง ทำให้บรรยากาศคึกคักผู้คนที่เข้าพิธีถึงแม้จะนั่งตากแดดก็ยอม ส่วนด้านการจรจร รถติดยาวกว่า 3 กิโลเมตร ที่จอดรถแน่นขนัดจนต้องระบายรถไปจอดตามบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ข้างเคียงวัด

ก่อนพิธีจะเริ่มขึ้นเหล่าศิลปิน ดารา นักร้อง รวมถึงบรรดาข้าราชการได้ทยอยกันเข้ามาภายในพิธี เช่น อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ, โบนัส อโณมา นักร้องศิลปินชื่อดังสังกัด แกรมมี่โกลด์ หรือ โบนัส บุณฑริกา และ ปาร์ค ภัทรพงศ์ นักร้องลูกทุ่งดัง แชมป์ลูกทุ่งไอดอลซีซั่น 4 พ.ต.อ.พายัพ โสธรางกูล ผกก.สภ.นคคชัยศรี เข้าร่วมพิธี

โดยไฮไลต์ที่สาธุชนต่างให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ อาจารย์ธนิสร์ ได้เดินทางมาเป่าขลุ่ยถวายเทพเทวดาในงานนี้อีกด้วย






สำหรับพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร พระครูยติธรรมานุยุติ เป็นผู้ประกอบพิธีด้วยตน โดยมีพราหมณ์หลวงเป็นผู้กล่าวองค์การบวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน เพื่อความเข้มขลัง ตามตำรับโบราณของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ต้นตำรับยันต์เกราะเพชร มีความเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

หากผู้ที่ได้เข้าพิธีจะช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคลที่อยู่ในร่างกาย ล้างอาถรรพ์ สลายสิ่งที่ไม่ดีงาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคภัย ไข้เจ็บ โดนคุณไสยต้องเสน่ห์มนต์ดำ จะมลายหายไป และเป็นการเสริมบารมี

บางรายเกิดอาการกรีดร้องคำราม ไม่รู้สึกตัว บ้างคล้ายลิง หนุมาน บ้างคล้ายเสือคำราม บางรายเป็นฤาษี คนแก่มีอายุมาก บังคับตัวเองไม่ได้ พระเกจิที่เข้าร่วมพิธีต้องประพรมน้ำมนต์ให้อยู่ในอาการสงบด้วย ตามความเชื่อ ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ จะทำให้แคล้วคลาดปลอดจากภยันตราย ขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้ออกไป








หลังเสร็จสิ้นหลวงพ่อแป๊ะได้ประพรมน้ำมนต์และเจิมหน้าผากให้ เพื่อความเป็นศิริมงคลให้กับผู้เข้าพิธีทุกคน แต่ยังมีสาธุชนที่เดินทางมาไกลจากจังหวัดต่าง ๆ ยังมารอขอให้หลวงพ่อแป๊ะเจิมอักขละยันต์หลังมือให้ด้วยนับร้อยคนในจำนวนนี้เหล่าศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดง ต่างก็เข้าเจิมยันต์ด้วย

ที่สาธุชนและบรรดานักเล่นตัวเลขต่างก็เฝ้ารอดูว่า หลวงพ่อแป๊ะจะให้โชคลาภกับใคร โดยก่อนที่ศิลปินจะเดินทางกลับ หลวงพ่อแป๊ะได้เรียกอาจารย์ธนิสร์, โบนัส อโณมาเข้าพบพร้อมกับให้พร

รวมถึงมอบธนบัตรขวัญถุง ฉบับละ 1,000 บาท ผูกไว้ที่ขลุ่ยให้ โดยอาจารยธนิสร์ ได้เลขลงท้าย 3 ตัว 246 ส่วนโบนัส ได้เลขลงท้าย 134 ซึ่งเลขของศิลปินทั้งสองคน นั้นเหล่าเซียนตัวเลขต่างไปเหมาตามแผงหมดในพริบตา




Thank to : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8186963
ทุกทิศทั่วไทย | 14 เม.ย. 2567 - 15:10 น.
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์” เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:59:47 am
.



วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์”

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้งไปยังเมืองเพียงมะนา (Pyinmana หรือ เปียงมะนา) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบน (Upper Sittang Valley) ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร โดยให้เหตุผลว่าเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหภาพพม่ามีความเหมาะสมทั้งทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 อันเป็นวันกองทัพ พม่า ราชธานีแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านจั๊ตปเย (Kyatpyae) ทางด้านตะวันตกในเขตเมืองเพียงมะนาได้ถูกสถาปนาอย่างเป็นทางการโดยมีชื่อว่า กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw, Nay Pyi Taw หรือ เนปยีดอว์) ซึ่งแปลว่า บัลลังก์แห่งกษัตริย์ จากบริบทดังกล่าว เนปิดอว์ คือ ชื่อของเมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งถูกรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลทหารพม่า ในขณะที่เพียงมะนา คือ ชื่อของเมืองและเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงกล่าวโดยรวมแล้ว ราชธานีแห่งใหม่ของพม่ามีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า นครเพียงมะนา เนปิดอว์

สำหรับสาเหตุของการสถาปนาศูนย์อำนาจแห่งใหม่และลักษณะทางกายภาพของเมืองหลวงพม่านั้นจัดว่ามีรายละเอียดและประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ทำไมพม่าต้องย้ายเมืองหลวง.?

การย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเพียงมะนาจัดเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าที่ประกอบด้วยแรงผลักดันหลากหลายประการตลอดจนได้รับอิทธิพลจากหลักนิยมทางการทหารและสภาวะแวดล้อมของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็นซึ่งส่งผลให้นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงและฐานอำนาจของรัฐบาลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร โดยต่อไปนี้ ผู้เขียนจะขอรวบรวมและวิเคราะห์เหตุปัจจัยว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของรัฐพม่าผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการอย่างเป็นระบบเพื่อฉายภาพการวิเคราะห์อย่างลุ่มลึกและรอบด้านโดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก 9 ปัจจัยย่อย ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. การรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council-SPDC) ได้ขึ้นครองอำนาจต่อจากระบอบเนวินผ่านการทำรัฐประหารและเข่นฆ่าประชาชนตลอดจนปฏิเสธการคืนอำนาจทางการปกครองให้กับนางอองซาน ซูจี หลังการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลทหารพม่าได้ให้น้ำหนักกับการสร้างเอกภาพทางการเมืองและการขยายแสนยานุภาพทางการทหารเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพและระบอบเผด็จการ

นอกจากนี้กลุ่มคณะทหารยังได้หวาดระแวงภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น การลุกฮือของประชาชนในเขตนครย่างกุ้งซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) การขยายกำลังพลของชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนเพื่อทำสงครามต่อต้านรัฐบาล ตลอดจนการโจมตีจากมหาอำนาจตะวันตกเพื่อล้มระบอบทหารในปัจจุบัน



ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 นางอองซานซูจี ปราศรัยต่อต้านระบอบทหารในกรุงย่างกุ้ง (Photo by AFP / AFP FILES / AFP)

ผลจากความกังวลใจดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มรัฐบาลทหารดำเนินนโยบายรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) ขยายระบบสายลับเพื่อขจัดศัตรูทางการเมือง ตลอดจนนำหลักนิยมและระบบสายบังคับบัญชาทางการทหารเข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินนโยบายสาธารณะ โดยหากยังมีบริเวณใดที่อำนาจการควบคุมของรัฐบาลยังเข้าไปไม่ถึง หรืออำนาจของรัฐบาลในนครย่างกุ้งเริ่มเกิดความผันผวนระส่ำระสาย หรือทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงเสี่ยงต่อการโจมตีจากศัตรูภายนอก การย้ายเมืองหลวงไปยังทำเลที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์จึงจัดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อสถาปนาศูนย์อำนาจทางการเมืองและการทหารที่เข้มแข็งและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

สำหรับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายเมืองหลวงนั้นสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้

1.1 ภัยคุกคามจากการลุกฮือของประชาชน

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันมีความเชื่อว่าการแบ่งสันอำนาจให้กับประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ของพลเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและอาจนำมาซึ่งการล่มสลายของสหภาพพม่า ตลอดจนคุกคามการถือครองอำนาจของกลุ่มคณะทหาร จากบริบทดังกล่าว นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดพาเอาแนวคิดประชาธิปไตยและวัฒนธรรมการเมืองแบบตะวันตกตลอดจนการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายเครือข่ายทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยทำให้อำนาจที่เข้มแข็งและมีเอกภาพของกลุ่มคณะทหารเริ่มมีลักษณะเปราะบางและกระจัดกระจายมากขึ้น

ประกอบกับประวัติศาสตร์การเมืองของนครย่างกุ้งยังเต็มไปด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาล เช่น เหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลเนวิน เหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มประชาชนเพื่อขับไล่และโค่นล้มระบอบเผด็จการอันนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์พม่า หรือเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2539 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งเพื่อขับไล่คณะทหารและเรียกร้องการคืนอำนาจทางการเมืองให้กับนางอองซาน ซูจี

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มคณะทหารมีความกังวลใจเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและหวาดระแวงต่อการลุกฮือของประชาชนซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยฉับพลันและสร้างความระส่ำระสายให้กับอำนาจของรัฐบาล โดยคณะผู้นำทหารต่างมีความเชื่อว่าพลังเงียบของประชาชนและจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยล้วนฝังรากลึกและขยายเครือข่ายทางการเมืองทั่วเขตเมืองย่างกุ้ง ประกอบกับสถานที่ราชการและค่ายทหารบางแห่งล้วนตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการของสถานทูตตะวันตกและองค์กรระหว่างประเทศโดยลักษณะภูมิทัศน์ดังกล่าวย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อมจากประชาชนหากมีการประท้วงทางการเมืองหรือเสี่ยงต่อการถูกจารกรรมข้อมูลจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ดังนั้นการย้ายศูนย์อำนาจทางการเมืองไปยังเพียงมะนา เนปิดอว์ เพื่อการจัดวางโครงสร้างผังเมืองและระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบจึงเป็นการลดความกังวลใจทางการเมือง ถอยห่างจากวงปิดล้อมของประชาชนในนครย่างกุ้ง ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะในการเคลื่อนกำลังพลและควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินหากมีการจลาจลเกิดขึ้น

1.2 ภัยคุกคามจากการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย

ประวัติศาสตร์ พม่า จัดเป็นประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพม่าแท้กับชนกลุ่มน้อยโดยมีการทำสงครามขับเคี่ยวยื้อแย่งดินแดนตั้งแต่สมัยจารีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การทำสงครามระหว่างพม่ากับอาณาจักรมอญและกลุ่มเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หรือการที่ชนเผ่ากะเหรี่ยงถูกเกณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษเพื่อกดขี่ชาวพม่าในสมัยอาณานิคม

สำหรับในมุมมองของรัฐบาลทหารพม่านั้นชนกลุ่มน้อยจัดเป็นชนชายขอบและเป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนเสถียรภาพของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลทหารจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อแผ่อำนาจควบคุมดินแดนชนกลุ่มน้อยโดยถึงแม้จะมีการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังของชนเผ่าต่าง ๆ แต่ก็ยังคงหลงเหลือ 3 กองกำลังหลักที่เคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากรัฐบาลกลางซึ่งประกอบด้วย กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ (Shan State Army-SSA) กองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ (Karen National Union-KNU) และกองกำลังแห่งชาติคะเรนนีย์ (Karenni National Progressive Party) โดยกองกำลังทั้ง 3 ฝ่ายล้วนมีฐานที่มั่นอยู่ตรงบริเวณชายแดนตะวันออกติดกับประเทศไทย

ในส่วนของการย้ายเมืองหลวงนั้น หากพิจารณาจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) จะพบว่าถึงแม้เมืองเพียงมะนาจะตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศแต่ก็มีอาณาเขตชนแดนชนกลุ่มน้อยทั้ง 3 กลุ่มซึ่งการย้ายเมืองหลวงไปยังบริเวณดังกล่าวย่อมส่งผลให้อำนาจของรัฐบาลมีความเข้มข้นและสามารถควบคุมชนกลุ่มน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถึงแม้จะมีข้อโต้แย้งว่าเมืองเพียงมะนาอาจถูกโจมตีจากกองกำลังชนกลุ่มน้อยแต่หากพิจารณาจากสมรรถนะทางการทหาร… จะพบว่ากองทัพพม่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์และจำนวนกำลังพลมากกว่ากองกำลังทั้ง 3 ฝ่าย



กองกำลัง Shan State Army (SSA) ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2006 (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจึงเป็นผลดีต่อรัฐบาลมากกว่าชนกลุ่มน้อยตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มคณะทหารเพื่อแผ่กระจายอำนาจให้เข้าถึงทั้งดินแดนตอนกลางและดินแดนชายขอบ ในขณะเดียวกันนครย่างกุ้งก็มีจุดอ่อนตรงที่อยู่ห่างไกลจากฐานที่มั่นของชนกลุ่มน้อยและไม่ได้ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศซึ่งทำให้อำนาจที่แผ่ออกจากเมืองหลวงมีความเบาบางแปรผันไปตามระยะทาง

ดังนั้นการสถาปนาเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ในเขตทับซ้อนระหว่างดินแดนของกลุ่มชนชาติพม่าแท้แถบภาคมัณฑะเลย์ มาเกว (Magway) และบาโก (Bago) กับดินแดนของชนกลุ่มน้อยแถบรัฐฉาน กะเหรี่ยง และคะยาห์ จะส่งผลให้ปริมณฑลของอำนาจที่แผ่กระจายออกจากเมืองหลวงมีความเข้มข้นและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

1.3 ภัยคุกคามจากการรุกรานทางทะเลของสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลทหารพม่ามีความเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางการเมืองโลกที่ต้องการโค่นล้มระบอบเผด็จการและเปลี่ยนแปลงพม่าไปสู่ประเทศประชาธิปไตยหากมีช่วงจังหวะที่เหมาะสม โดยความกังวลใจเกี่ยวกับการโจมตีจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตัวขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์ประท้วงในปี พ.ศ. 2531 เมื่อมีการปรากฏตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐในเขตน่านน้ำพม่าบริเวณอ่าวเมาะตะมะ นอกจากนี้หลังจากการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช สหรัฐอเมริกาได้ประณามรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่องตลอดจนออกรัฐบัญญัติว่าด้วยอิสรภาพและระบอบประชาธิปไตยพม่า (Burmese Freedom and Democratic Act of 2003) โดยมีเนื้อหาสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยและอนุมัติงบประมาณฟื้นฟูพม่าหลังการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ…

จากบริบทดังกล่าว ทำเลที่ตั้งของนครย่างกุ้งจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการรุกรานทางทะเลซึ่งสามารถถูกยึดครองโดยกองทัพเรือต่างชาติในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการใช้ภูเขาเป็นปราการในการรับศึกตลอดจนเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการตั้งรับเพื่อทำสงครามกองโจรระยะยาว

โดยหากวิเคราะห์ตามหลักภูมิยุทธศาสตร์ (Geo-Strategy) จะพบว่าหากมีสงครามเกิดขึ้นจริงสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องส่งกองกำลังนาวิกโยธินเข้าปฏิบัติการในเขตภาคพื้นทวีปเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทหารและแสดงชัยชนะที่เด็ดขาดคล้ายคลึงกับปฏิบัติการในอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งมีการวางกำลังเรือรบในอ่าวเปอร์เซียแล้วส่งกองทหารราบเข้ายึดครองเมืองหลวง

จากกรอบแนวคิดดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจะทำให้กองทัพพม่ามีโอกาสต้านทานการรุกรานได้มีประสิทธิภาพกว่าการตั้งรับอยู่ในเขตย่างกุ้งตลอดจนสะดวกต่อการได้รับความช่วยเหลือจากจีนผ่านเครือข่ายคมนาคมจากเมืองมัณฑะเลย์มุ่งตรงสู่เพียงมะนา นอกจากนี้การสถาปนาศูนย์บัญชาการภาคแห่งใหม่ในเขตเมืองหลวงยังเป็นการสะท้อนถึงการเลือกใช้กองทัพบกในการประจันหน้ากับศัตรูเนื่องจากกองทัพเรือของพม่ามีความอ่อนแอและเข้มแข็งน้อยกว่ากองทัพบก

@@@@@@@

2. การพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ตอนใน

ถึงแม้ว่าการรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหารจะมีอิทธิพลสำคัญต่อการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุด แต่การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนในก็จัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในฐานะศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มคณะทหาร โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบการตลาดเพื่อพัฒนาพม่าให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยตลอดจนนำเงินรายได้จากการขายทรัพยากรจำนวนมหาศาลเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบเผด็จการ

จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารได้กำหนดให้บริเวณตอนใต้ของภาคมัณฑะเลย์ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนเป็นดินแดนหัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรกรรมในเขตลุ่มน้ำอิรวดีและเครือข่ายการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้และพลังงานน้ำจากเขื่อนในเขตลุ่มน้ำสาละวิน แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาในประเทศพม่าก็ยังจัดว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของระบอบทหาร ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนและแร้นแค้น สำหรับประเด็นการวิเคราะห์เพิ่มเติมนั้นจัดว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

2.1 การขยายตัวของการพัฒนาทางการเกษตร

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันได้ดำเนินนโยบายปรับเปลี่ยนเขตแล้งทางตอนกลางของประเทศให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว (Green Area) โดยการขยายเครือข่ายชลประทานครอบลุ่มน้ำสำคัญ เช่น ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำสะโตง ลุ่มน้ำมู และลุ่มน้ำมิตแหง่เพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินอันแห้งแล้งและรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นแปลงเพาะปลูกทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดพรมแดนทางการเกษตรในเขตภาคพื้นทวีปแล้วยังเป็นการจัดตั้งเครือข่ายผลิตเสบียงอาหารให้กับค่ายทหารของกองทัพบก ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเขตพม่าภาคกลาง

จากกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้เลือกพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเพียงมะนาแถบลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนให้เป็นดินแดนหัวใจของการพัฒนาเกษตรกรรม เนื่องจากประกอบด้วยสถานีวิจัยและสถาบันที่มีชื่อเสียงทางการเกษตร รวมถึงเป็นที่ตั้งของเขื่อนสำคัญหลายแห่ง เช่น เขื่อนปองลอง (Paungloung) และเขื่อนเยซิน (Yezin) ตลอดจนมีเครือข่ายชลประทานที่เชื่อมต่อกับลุ่มน้ำอิรวดีและอยู่ไม่ไกลจากลุ่มน้ำสาละวินในเขตที่ราบสูงฉาน

นอกจากนี้การสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่ยังทำให้เกิดการกระจายตัวของประชากรในสภาวะสมดุลซึ่งเป็นนโยบายที่คล้ายคลึงกับการย้ายเมืองหลวงจากอิสตัลบูล (Istanbul) ไปอังการา (Ankara) ของประเทศตุรกี และจากลากอส (Lagos) ไปอาบูจา (Abuja) ของประเทศไนจีเรีย โดยกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลดความหนาแน่นของประชากรในเขตชายฝั่งทะเลและเพิ่มจำนวนประชากรในเขตพื้นที่ตอนใน

สำหรับในกรณีของพม่านั้นจะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่หนาแน่นในเขตพม่าตอนล่างแถบเมืองย่างกุ้งและเมาะลำไย (Moulmein) และเขตพม่าตอนบนแถบเมืองเมฆถิลาและมัณฑะเลย์ ซึ่งส่งผลให้บริเวณชายขอบด้านใต้ของเขตแล้งพม่า (Southern Edge of the Dry Zone) มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ค่อนข้างเบาบาง

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงมายังบริเวณดังกล่าวผสมผสานกับการจัดตั้งเครือข่ายทางการเกษตรจึงส่งผลให้ประชากรจากทั้ง 2 ภูมิภาคอพยพเข้าสู่เขตปริมณฑลของเมืองหลวงแห่งใหม่มากขึ้นอันนำไปสู่การสร้างฐานอำนาจที่แข็งแกร่งของรัฐบาลในการคุมพม่าภาคกลาง ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มความเข้มข้นให้กับการตั้งถิ่นฐานของชาวพม่าเพื่อแผ่อิทธิพลเข้าดูดกลืนและครอบงำชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนตะวันออก



กองทัพพม่าสวนสนามในเมืองเพียงมะนา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2006 (Photo by KHIN MAUNG WIN / AFP)

2.2 การขยายตัวของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน

นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา รัฐบาลทหารพม่าได้ขยายโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบริเวณเขตที่ราบและเขตภูเขาตามแนวชายแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตอนในตลอดจนนำรายได้เข้าบำรุงกองทัพเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบทหาร เช่น การสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินทางฟากตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี แหล่งเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตนบริเวณรัฐฉานและคะยาห์ และแหล่งผลิตแร่ทองคำบริเวณยะแมตีง (Yamethin) ทางตอนเหนือของเพียงมะนา

โดยการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดว่าเป็นตัวสะท้อนถึงการแผ่อำนาจของรัฐบาลในการควบคุมทรัพยากรทั้งในเขตที่ราบและเขตภูเขาท่ามกลางการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด สำหรับในส่วนของการพัฒนาพลังงานนั้นจะเห็นว่ารัฐบาลทหารได้วางนโยบายลดการพึ่งพึงก๊าซธรรมชาติและหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนซึ่งจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจพม่าในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยเห็นได้จากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ครอบคลุมลุ่มน้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน

ซึ่งหากพิจารณาตามหลักภูมิเศรษฐศาสตร์จะพบว่าเมืองเพียงมะนาตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มน้ำอิรวดีซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการพัฒนาทางการเกษตรและลุ่มน้ำสาละวินซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับประเทศไทยและจีน โดยในอนาคตเพียงมะนาจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการขยายเครือข่ายพลังงานครอบคลุมทั้ง 3 ลุ่มน้ำ ตลอดจนรองรับรายได้มหาศาลจากการขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งนอกจากจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งแล้วยังทำให้กองทหารพม่าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงแห่งใหม่เข้ามาวางกำลังเรียงรายไปตามเครือข่ายพลังงานในเขตชายแดนตะวันออกเพื่อเปลี่ยนสนามรบให้เป็นอ่างเก็บน้ำตลอดจนครอบครองพื้นที่ป่าไม้ของกองกำลังชนกลุ่มน้อย

2.3 การขยายตัวของเครือข่ายคมนาคมขนส่ง

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) มีความเชื่อว่าการมีระบบโครงข่ายถนนที่โยงใยไปทั่วภูมิภาคจะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งให้กับประเทศ จากแนวยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารได้จัดสร้างเครือข่ายถนนวงแหวนเพื่อเชื่อมโยงหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตภาคพื้นทวีปอย่างเป็นระบบ โดยเห็นได้จากการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนการสร้างทางด่วนสายมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ ยกตัวอย่างเช่น ทางด่วนจากย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์ ตองอูไปยะแมตีง และเพียงมะนาไปพินลวง (Pinlaung)

จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศตลอดจนเป็นชุมทางรถไฟและศูนย์รวมของถนนสายต่าง ๆ ย่อมทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศตลอดจนเคลื่อนกำลังพลอย่างรวดเร็วหากมีศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก ในขณะเดียวกัน ระบบเครือข่ายถนนในประเทศพม่ายังมีการเชื่อมโยงกับทางหลวงสายเอเชีย (Trans Asian Highway) ซึ่งส่งผลให้ประเทศพม่ากลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อระหว่างอินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลจากการขยายตัวของทางหลวงสายเอเชียได้ส่งผลให้เมืองเพียงมะนาในอนาคตกลายเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในแนวดิ่งที่เชื่อมโยงหัวเมืองตอนใต้ของจีนและมัณฑะเลย์เข้ากับนครย่างกุ้งและท่าเรือสำคัญในอ่าวเมาะตะมะ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในแนวระนาบที่เชื่อมโยงหัวเมืองตะวันออกของอินเดียและรัฐอาระกันเข้ากับหัวเมืองชายแดนในเขตที่ราบสูงฉานและตัดเข้าสู่ประเทศลาว ไทย และเวียดนาม

ดังนั้นการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในเขตเมืองเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึกของรัฐบาลทหารพม่าเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบการขนส่งภาคพื้นทวีปตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะของรัฐบาลในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

@@@@@@@

3. การสร้างเอกภาพทางสังคมและวัฒนธรรม

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) ได้ดำเนินนโยบายเพื่อที่จะสถาปนาเอกภาพทางจิตวิญญาณให้กับระบอบทหารและสหภาพพม่า (Union Spirit) โดยเห็นได้จากการปลุกระดมลัทธิราชาชาตินิยม (Monarchical Nationalism) เพื่อหวนกลับไปหาความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิพม่ายุคโบราณ การปลุกระดมลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก เพื่อผลักดันการแทรกแซงจากต่างชาติและสร้างความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์ การดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์กลุ่มโบราณสถานและราชธานีเก่าเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนการใช้หลักโหราศาสตร์ในการประกอบพิธีสำคัญระดับชาติเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์และโน้มน้าวให้ประชาชนมีความศรัทธาในตัวผู้นำ

สำหรับการย้ายเมืองหลวงนั้นจัดเป็นส่วนหนึ่งของจารีตโบราณและเป็นสัญลักษณ์แห่งการเบิกยุคใหม่เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับประเทศตลอดจนเป็นการประกาศอำนาจของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย ในฐานะผู้ปกครองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบารมีทางการเมือง จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้ประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนักโบราณ หลักโหราศาสตร์ และลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตกเพื่อปรุงแต่งและเติมเต็มให้กระบวนการเคลื่อนย้ายเมืองหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นตามโลกทรรศน์พม่า โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้



ภาพถ่ายกรุงย่างกุ้งเมื่อ ค.ศ. 1945

3.1 การปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณ

หลังจากเหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลทหารพม่าได้รื้อฟื้นประเพณีราชสำนักโบราณตลอดจนลอกเลียนแบบพฤติกรรมของกษัตริย์พม่าในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันกองทัพให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถาบันกษัตริย์ในยุคจารีต ยกตัวอย่างเช่น การยกยอดฉัตรเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สำคัญต่าง ๆ การบูรณะกลุ่มราชธานีเก่า เช่น พุกาม ตองอู อังวะ และหงสาวดี ตลอดจนการครอบครองช้างเผือกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราชและเป็นเครื่องประดับบารมีของกษัตริย์พม่าในอดีต

จากสภาวะดังกล่าว การย้ายเมืองหลวงไปยังนครเนปิดอว์ซึ่งแปลว่าบัลลังก์แห่งกษัตริย์นั้นจัดว่าเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความพยายามของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยในการประกาศตัวเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นกับกษัตริย์พม่าโบราณ ตลอดจนเป็นการสร้างชื่อในประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศพม่าประกาศย้ายเมืองหลวงหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ

นอกจากนี้แหล่งข่าวในพม่ายังกล่าวว่าประชาชนบางกลุ่มถูกบังคับให้เดินโดยเท้าเปล่าจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ ซึ่งคล้ายคลึงกับไพร่ราบของกษัตริย์พม่าในอดีต ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุดจึงสะท้อนถึงการปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณตลอดจนแสดงถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในระบบความคิดและโลกทรรศน์ของผู้นำพม่าคนปัจจุบัน (พลเอกอาวุสโสตันฉ่วย – กองบก.ออนไลน์)

3.2 การปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์

กรณีการย้ายเมืองหลวงในปัจจุบันนั้น แหล่งข่าวลือในพม่ามีความเชื่อว่าโหราจารย์ประจำตัวพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยได้ทำนายว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน ปี พ.ศ. 2548 ดาวประจำตัวของผู้นำพม่าเริ่มอับแสงอันส่งผลให้บัลลังก์แห่งอำนาจเริ่มสั่นคลอนโดยหนทางเดียวที่จะรักษาการดำรงอยู่ของระบอบทหารคือการย้ายเมืองหลวงออกจากนครย่างกุ้ง

นอกจากนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เขตปกครองย่างกุ้ง (Yangon Division) และเมืองต่าง ๆ ในเขตพม่าตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวอันเกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้ยอดฉัตรของมหาเจดีย์ Mawdinsoon ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขตย่างกุ้งหักพังทลายลงมา ซึ่งส่งผลให้คนพม่าทั่วไปมองว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวคือสัญลักษณ์แห่งลางร้ายที่เข้าคุกคามนครย่างกุ้ง

ตลอดจนตามประวัติศาสตร์การเมืองของพม่านั้น การเกิดแผ่นดินไหวมักจะตามมาด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น การเกิดแผ่นดินไหวในเมืองพุกาม ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งตามมาด้วยการเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษาและผู้ใช้แรงงานเพื่อต่อต้านรัฐบาล หรือการเกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริคเตอร์ แถบชายแดนพม่า-อินเดียซึ่งนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงโค่นล้มระบอบเนวิน ในปี พ.ศ. 2531 ดังนั้นปัจจัยทางโหราศาสตร์จึงมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุการณ์สำคัญระดับชาติซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้พลเอกอาวุสโสตันฉ่วยตัดสินใจย้ายเมืองหลวงออกจากย่างกุ้ง

สำหรับการปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์นั้น สามารถเห็นได้จากการประกาศโยกย้ายข้าราชการออกจากนครย่างกุ้งเวลา 6 นาฬิกา 37 นาที เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน (เดือน 11)  ปี พ.ศ. 2548 โดยรถบรรทุกจากหน่วยงานทหารจำนวน 1,100 คัน ได้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนกลุ่มข้าราชการพลเรือนจำนวน 11 กอง และข้าราชการทหารอีก 11 กอง มุ่งตรงสู่เมืองเพียงมะนา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเลข 6 คือเลขนำโชคของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย และเลข 11 คือเลขมงคลที่สัมพันธ์กับดวงเมืองของราชธานีแห่งใหม่

3.3 การปรับใช้และดัดแปลงลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก

ความขมขื่นจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมและการพังทลายของจักรวรรดิพม่านับตั้งแต่กองทัพอังกฤษ-อินเดียยาตราทัพเข้าเหยียบย่ำราชธานีมัณฑะเลย์ ยังคงอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้นำทหารซึ่งยังคงยึดติดอยู่กับลัทธิชาตินิยมและการเสริมภาพลักษณ์ของกองทัพในฐานะผู้ปกป้องมาตุภูมิจากกองกำลังต่างชาติ ยุทธศาสตร์การย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดเป็นหนึ่งในกระบวนการต่อต้านและปลดแอกออกจากลัทธิอาณานิคม (Decolonization)

โดยหากพิจารณาตามกรอบประวัติศาสตร์และความผันผวนของระบบโลกจะพบว่า นครย่างกุ้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงของพม่าตามมุมมองของกลุ่มคณะทหาร เนื่องจากถูกสถาปนาโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษผู้ปล้นเอกราช ตลอดจนเคยเป็นฐานทัพที่กองทัพอังกฤษใช้เป็นหัวหาดในการขยายอิทธิพลเข้ายึดราชธานีมัณฑะเลย์ ดังนั้นกรุงย่างกุ้งจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอัปยศอดสูในประวัติศาสตร์พม่า ประกอบกับย่างกุ้งยังไม่ได้ตั้งอยู่ในดินแดนหัวใจของวัฒนธรรมพม่าแถบลุ่มน้ำอิรวดีและสะโตง แต่ในทางตรงข้ามกลับตั้งอยู่บริเวณชายขอบในเขตพม่าตอนล่างซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญและเป็นศูนย์กลางทางการค้าเพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้กับกองทัพอังกฤษ

ในขณะเดียวกันการถาโถมของวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางการค้ารอบอ่าวเมาะตะมะได้ส่งผลให้ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ (Neo-Colonialism) เริ่มก่อตัวคุกคามอำนาจของรัฐบาลทหารตลอดจนวิถีชีวิตโดยรวมของชาวพม่าในเขตย่างกุ้งประกอบการเริ่มมีตึกระฟ้าสมัยใหม่ผุดขึ้นกลางเมืองเคียงคู่กับกลุ่มอาคารสมัยอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ซึ่งลักษณะทางภูมิทัศน์ดังกล่าวได้ส่งผลให้นครย่างกุ้งคือจุดหลอมรวมของมรดกจากยุคอาณานิคมและการแพร่กระจายของลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ (Neo-Imperialism)

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นการถอยห่างจากอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและเป็นการสถาปนาศูนย์กลางทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ท่ามกลางความผันผวนของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็น
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไฟไหม้โบสถ์วัดพระธาตุบังพวน วัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเสียหายทั้งหลัง! เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:41:30 am
.



ไฟไหม้โบสถ์วัดพระธาตุบังพวน วัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเสียหายทั้งหลัง.!

เกิดเหตุเพลิงไหม้โบสถ์ วัดพระธาตุบังพวน วัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเสียหายทั้งหลัง พบบุคคลต้องสงสัยเป็นคนวิกลจริต

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา  ร.ต.ท.หญิง นาถอนงค์ โพธิสาร รอง สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองหนองคาย รับแจ้งเหตุไฟไหม้โบสถ์ ภายในวัดพระธาตุบังพวน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย หลังรับแจ้งจึงไปตรวจสอบ พร้อม พ.ต.อ.สกล สิทธิวิชัย รอง ผบก.ภ.จว.หนองคาย ,พ.ต.อ.ยุทธนา งามชัด ผกก.สภ.เมืองหนองคาย, นายอุรุยศ เอียสกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย ปลัดอำเภอเมืองหนองคาย และประสานรถดับเพลิงหลายคัน และประสานหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ ลงไปยังจุดเกิดเหตุ

เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบกลุ่มควันจำนวนมากพวยพุ่งออกมาจากโบสถ์ โดยเพลิงลุกไหม้หลังคา พระสงฆ์ชาวบ้านช่วยกันดับเพลิงอยู่ก่อนแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เร่งระดมฉีดน้ำเข้าไปไปภายในโบสถ์ ฉีดน้ำที่บริเวณหลังคาเพื่อควบคุมเพลิง ใช้เวลานานกว่า 40 นาที สามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้




ทั้งนี้จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าเพลิงไหม้โบสถ์ถูกความร้อนทำให้สีของโบสถ์ลอกออก ส่วนพระประธานและพระพุทธรูปที่อยู่ในโบสถ์ถูกความร้อนของเพลิงที่ไหม้ทำให้ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ข้าวของภายในโบสถ์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด

สอบถามพระลูกวัดพระธาตุบังพวน เล่าว่า ขณะเกิดเหตุไม่มีใครอยู่บริเวณโบสถ์ มีชาวบ้านได้มาตะโกนบอกไฟไหม้โบสถ์จึงรีบวิ่งมาดู พบกลุ่มควันจำนวนมากพวยพุ่งออกมาจากโบสถ์ พระสงฆ์ชาวบ้านช่วยกันเอาถังดับเพลิง มาช่วยกันพยายามดับไฟแต่ไม่สามารถดับไฟได้ ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบ

ด้าน พ.ต.อ.ยุทธนา งามชัด ผกก.สภ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า จากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าภายในโบสถ์ซึ่งเป็นไม้ ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ซึ่งต้องรอการสอบสวนหาสาเหตุที่ชัดเจนอีกครั้ง แต่ในเบื้องต้นมีพยานเห็นบุคคลวิกลจริตป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุซึ่งต้องรอรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสอบสวนต่อไป ซึ่งได้กั้นพื้นที่เกิดเหตุไว้เพื่อรอเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานมาตรวจสอบที่เกิดเหตุเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน และดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป





Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/221543
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 13 เม.ย. 2567 ,08:37น.
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศรัทธาแน่นวัด หลวงพ่อสิงห์ สรีระสังขารเหนือกาลเวลา 15 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:35:41 am
.



ศรัทธาแน่นวัด หลวงพ่อสิงห์ สรีระสังขารเหนือกาลเวลา 15 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย

ศรัทธาแน่นวัด ปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง หลวงพ่อสิงห์  1 ปี มีครั้งเดียว สรีระสังขารเหนือกาลเวลา 15 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย

วันที่ 13 เม.ย.67 ที่วัดไผ่เหลือง ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงาน ลูกศิษย์แน่นวัด แห่ร่วมสักการะกราบไหว้ครู อาจารย์ ในเทศกาลปีใหม่ไทยหรือ วันสงกรานต์ 2567 เปิดโลงแก้วสรีระสังขาร หลวงพ่อสิงห์ อดีตเจ้าคณะตำบลบางม่วง และอดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่เหลือง ปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง




พระครูสมุห์สิทธิโชค อภินนฺโท เจ้าอาวาสวัดไผ่เหลือง กล่าวว่า ได้จัดให้มีการปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง หลวงพ่อสิงห์ เป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงครูอาจารย์ ผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา และเป็นผู้ที่ทำให้วัดมีความเจริญในทุกวันนี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฎิบัติชอบ เป็นพระนักพัฒนา ที่มีลูกศิษย์มากมาย จากหลากหลายอาชีพ



ลูกศิษย์ที่นำธรรมะของหลวงพ่อไปปฏิบัติ แล้วได้ดี ประสบความสำเร็จ ก็กลับมาพัฒนาวัด กลับมาดูแลพุทธศาสนา แม้ว่าท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ลูกศิษย์ลูกหาก็ยังมากราบไหว้ ขอพรกันไม่ขาด ลูกศิษย์บางคนกลับไปมีโชคมีลาภ จึงทำให้มีการพูดถึงกันไปปากต่อปากอย่างกว้างขวาง

พระครูสมุห์สิทธิโชค อภินนฺโท กล่าวต่อว่า ในเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เชิญชวนประชาชน เข้าวัดทำบุญกราบขอพร 117 เกจิอาจารย์ สังขารเหนือกาลเวลา (ภาคกลาง) หลวงพ่อสิงห์ วัดไผ่เหลือง ท่านก็มีรายชื่อพระเกจิอาจารย์ สังขารเหนือกาลเวลาอยู่ด้วย




หลวงพ่อสิงห์ เกิดในสกุล วิระยะวงศ์ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2493 หมู่บ้านอองชุนนิ ประเทศเกาหลี บิดาชื่อ นายอนันต์ วิระยะวงศ์ เป็นอดีตทหารไทยที่ถูกส่งไปร่วมรบในสงครามเกาหลี มารดาเป็นชาวเกาหลี และเกิดที่ประเทศเกาหลี ท่านจึงเป็นลูกครึ่งไทย-เกาหลี

หลังบิดาเดินทางกลับประเทศไทย และอาศัยอยู่กับย่าที่ชุมชนหลังวัดบวรนิเวศวิหาร จนอายุได้ 15 ปี จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับครอบครัวแม่บุญธรรมใน อ.บางเลน จ.นครปฐม และได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อเงิน อดีตพระเกจิอาจารย์ วัดดอนยายหอม ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ถ่ายทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญภาวนาสมาธิ





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/214023
13 เม.ย. 67
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ”เสาร์ 5“ วันแรงตามตำราโบราณสายมู พลาดปีนี้รออีก 10 ปี ข้อห้ามไม่ควรทำ เมื่อ: เมษายน 13, 2024, 06:37:52 am
.



”เสาร์ 5“ วันแรงตามตำราโบราณสายมู พลาดปีนี้รออีก 10 ปี ข้อห้ามไม่ควรทำ

"เสาร์ 5" ตามตำราโบราณ หมายถึง วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินไทย ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 เม.ย. 67 โดยสายมูเชื่อว่าเป็นฤกษ์ ที่เสริมแรงครู ทำให้มีพิธีปลุกเสกเครื่องรางตามความเชื่อมาตั้งแต่อดีต ขณะเดียวกันก็แฝงนัย ข้อห้ามสำคัญที่หลายคนเข้าใจผิดมาตลอด ซึ่งถ้าสายมูพลาดปีนี้ต้องรออีก 10 ปีข้างหน้า

“อัมรินทร์ สุขสมัย” ผู้ศึกษาด้านโหราศาสตร์และไสยเวท กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า เสาร์ 5 เป็นคติความเชื่อตามตำราโบราณด้านไสยเวทอิงกับความรู้ด้านโหราศาสตร์ ซึ่งวันเสาร์ 5 หมายถึง วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินไทย ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 เม.ย. 67




“วันเสาร์ 5 ตามตำราโบราณถือเป็นวันแรงที่พระเกจิมักใช้วันนี้ในการทำพิธีกรรม เป็นวันที่เกิดขึ้นได้ยาก ในชีวิตคนหนึ่งคนอาจเกิดขึ้นแค่ 2 ครั้ง หรือครั้งเดียว จะเห็นว่าวัตถุมงคลที่เป็นฤกษ์เสาร์ 5 พระเกจิ 1 รูป อาจทำได้เพียง 1-2 ครั้งในชีวิต เพราะเป็นวันที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เพราะกว่าฤกษ์เสาร์ 5 จะเวียนมาอีกครั้งต้องใช้เวลา 10-20 ปี แต่มีกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นฤกษ์เสาร์ 5 โดยอิงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ แต่ไม่ใช่เดือน 5 ตามปฏิทินไทย”

ฤกษ์เสาร์ 5 ความหมายด้วยวันเสาร์เป็นวันแข็ง การขึ้น 5 ค่ำ เป็นการอาศัยกำลังของดาวพฤหัสบดี ที่เป็นวันครู ส่วนเดือน 5 ตามแบบไทย มีความหมายถึงครู และตำราโบราณดาวพฤหัสบดี ถือเป็นครูของดาวนพเคราะห์ ดังนั้นดวงดาวที่เป็นตัวแทนครู จะเข้าไปลดทอนดวงดาวที่ทำให้ดวงชะตาสูญเสีย หรือดาวเคราะห์ที่ให้โทษ




ทางไสยเวท การทำพิธีกรรมในวันเสาร์ ถือเป็นวันแข็ง และพอขึ้น 5 ค่ำ ก็ได้อิทธิพลของวันครู บวกกับเดือน 5 แบบไทยที่เป็นวันครู จึงเหมาะที่จะประกอบพิธีกรรม เช่น ปลุกเสกวัตถุมงคล เชื่อว่า จะเพิ่มพูนฤทธิ์ให้ทบทวีมากขึ้น ซึ่งในอดีตใช้วันนี้ในการปลุกเสกเครื่องลาง เน้นความคงกระพัน แคล้วคลาด มากกว่าการเสริมเสน่ห์ หรือโชคลาภ

ยุคปัจจุบัน ฤกษ์เสาร์ 5 ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นทำพิธี เพื่อให้เกิดความคงกระพัน มาเป็นการเสริมสิริมงคลด้านการงาน มหาเสน่ห์ การค้าขาย และโชคลาภ แต่การประกอบพิธีกรรมในวันนี้ยังมีความเชื่อว่าจะทำให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์มากกว่าวันอื่น เป็นการเพิ่มคุณของวิชาให้มากขึ้นด้วยฤกษ์เสาร์ 5




ฤกษ์เสาร์ 5 ในวันเสาร์ที่ 13 เม.ย. 67 ตามตำราความเชื่อว่าการประกอบพิธีต่างๆ เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์เริ่มขึ้น ไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน แต่ในทางไสยศาสตร์การประกอบพิธีกรรมบางครั้งใช้เวลายาวนาน เช่น ระหว่างทำพิธีเข้าสู่วันใหม่ จะมีการต่อฤกษ์ โดยผู้ประกอบพิธีมีการต่อมนต์ ที่ทำให้พิธียังไม่จบสิ้น

“ปกติฤกษ์เสาร์ 5 เป็นพิธีกรรมไสยศาสตร์ ไม่เกี่ยวโยงกับฤกษ์ปกติทั่วไป แต่ด้วยโลกปัจจุบันที่เปิดกว้างมากขึ้น ทำให้หลายแห่งมีการจัดพิธีให้คนทั่วไปเข้าไปร่วมได้ เช่น พิธีพุทธาภิเษก มีการจัดขึ้นในวัด หรือสำนักต่างๆ และบางที่มีการเสริมชะตาหรือดวงในช่วงฤกษ์เสาร์ 5”




ข้อห้ามสำคัญในวันฤกษ์เสาร์ 5 ห้ามประกอบพิธีกรรมบูชาดาวเสาร์ เพราะเป็นดาวให้โทษ ไม่เคยให้คุณ ถ้ายิ่งไปบูชาในวันแรงยิ่งเพิ่มโทษ คติความเชื่อนี้สืบทอดมาจากอินเดีย ทำมาอย่างเคร่งครัด ถึงขนาดห้ามมองดาวเสาร์ เชื่อว่าจะให้โทษมากกว่าให้คุณ สิ่งสำคัญอย่าลืมว่าเรื่องคาถาอาคมเปรียบเสมือนมีด ที่ให้คุณกับคนใช้ในการนำไปใช้ปาดเพื่อใช้งาน แต่ขณะเดียวกันคมมีดก็สามารถปาดเนื้อเราได้



ที่ผ่านมามีพระเกจิหลายท่านใช้ฤกษ์เสาร์ 5 ปลุกเสกวัตถุมงคล เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ฤกษ์เสาร์ 5 ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ถึงอย่างไรควรมีสติในการใช้ชีวิต ไม่ควรเชื่องมงาย จนส่งผลกระทบต่อชีวิตตัวเองและครอบครัว.





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2777298
9 เม.ย. 2567 20:12 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Interview > ไทยรัฐออนไลน์
31  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ๑๐ อันดับของสังฆทานที่ทำแล้ว พระสงฆ์ได้ประโยชน์มากที่สุด เมื่อ: เมษายน 12, 2024, 07:48:17 am
.



๑๐ อันดับของสังฆทานที่ทำแล้ว พระสงฆ์ได้ประโยชน์มากที่สุด

เนื่องจากในปัจจุบันนี้สิ่งของที่อยู่ในถังสังฆทานสำเร็จรูปที่วางขายกันอยู่ทั่วไป พบว่ามากกว่าร้อยละ ๕๐ เป็นของที่ไม่มี คุณภาพไม่สามารถใช้งานได้จริง เช่น

   - ผ้าจีวรที่สั้นและบางมาก
   - ใบชาที่มีกลิ่นเหม็น(บางครั้งใบชาถูกจัดวางไว้ติดกับผงซักฟอก จึงอาจมีกลิ่นของผงซักฟอกผสมอยู่ด้วย)
   - กระดาษชำระที่ไม่มีคุณภาพ เนื้อหยาบและมีกลิ่นเหม็น
   - แปรงสีฟันที่มีขนแปรงที่แข็งมาก จนอาจจะทำให้ผู้ใช้เป็นโรคเหงือกอักเสบได้
   - สบู่หรือแชมพูที่มีกลิ่นหอมแรงและผสมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ ซึ่งอาจจะทำให้พระสงฆ์ผิดศีลต้องปลงอาบัติ (มีศีลข้อห้ามการประทินผิวและใช้เครื่องหอม)
   - เครื่องชงดื่มที่มักจะหมดอายุ
   - ถ่านไฟฉายหมดอายุแบตเตอรี่เสื่อม ฯลฯ
   - หรือแม้แต่ตัวภาชนะที่ใส่ก็ยังทำจากพลาสติกคุณภาพต่ำ ใส่อะไรได้ไม่นาน ก็ฉีก แตก พัง เป็นต้น




จึงได้มีการจัดอันดับสิ่งของสังฆทานตามความจำเป็นในการใช้งาน จำนวน ๑๐ อันดับ เรียงจากจำเป็นมากสุดไปน้อยที่สุดได้ ดังนี้

   ๑. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระต้องเรียนพระปริยัติธรรมและจดกำหนดนัดหมายต่าง ๆ
   ๒. ใบมีดโกน เนื่องจากพระต้องโกนผมทุกวันโกน
   ๓. ผ้าไตรจีวร ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับสมณะสงฆ์
   ๔. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสารหรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ เนื่องจากพระสงฆ์มีหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
จึงต้องมีความรู้ที่แตกฉานและรู้ ทันข่าวสารบ้านเมือง
   ๕. รองเท้า พระต้องเดินทางไปกิจนิมนต์ตามที่ต่าง ๆ บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้าง ทำสวนทำให้รองเท้ามักจะขาด และเสียหายอยู่บ่อย ๆ
   ๖. ยาสามัญประจำบ้าน ที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง ยาแก้ไอ แก้ไข้ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาใส่แผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพองเป็นหนอง ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง
   ๗. ผ้าขนหนู ไม่ต้องสีเหลืองก็ได้เพื่อไว้สำหรับเช็ดทำความสะอาดร่างกาย
   ๘. คอมพิวเตอร์ เพื่ อสืบค้นและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
   ๙. อุปกรณ์ทำความสะอาด เพื่อนำไปทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค บริเวณกุฏิ ศาลา อุโบสถ
  ๑๐. แชมพู เพราะพระสงฆ์ไม่มีผมปกคลุม ทำให้หนังศีรษะของพระมักจะแห้ง และเกิดโรคผิวหนังอยู่เสมอ สิ่งที่จะช่วยบรรเทาได้ ก็คือ แชมพู ยาที่มีสูตรส่วนผสมดูแลปกป้องหนังศีรษะ






ขอขอบคุณ :-
บทความจาก : จุลสารหนังสือ อาหารสุขภาพพระสงฆ์ "บุญแห่งทาน อาหารแห่งศรัทธา" หน้า 15-16
URL : https://e-book.dra.go.th/ebook/2566/health-food-for-monks/mobile/index.html
32  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 40 ท่วงท่าลีลาสตรีเกี้ยวบุรุษ เมื่อหญิงแพศยาเย้ายวนพระสงฆ์สมัยพุทธกาล เมื่อ: เมษายน 12, 2024, 06:35:44 am
.

(ภาพประกอบเนื้อหา) จิตรกรรมภาพพระภิกษุ วัดบวรนิเวศวิหาร


40 ท่วงท่าลีลาสตรีเกี้ยวบุรุษ เมื่อหญิงแพศยาเย้ายวนพระสงฆ์สมัยพุทธกาล

ท่วงท่าลีลาสตรีเกี้ยวบุรุษ 40 ท่า มีที่มาจากคัมภีร์อรรถกถาชาดก เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ ซึ่งมารดาของพระสงฆ์รูปดังกล่าวต้องการให้สึกจากพระพุทธศาสนา จึงคิดว่าจ้างหญิงแพศยาให้ไปเกี้ยวพระสุนทรสมุทรเถระ

พระสุนทรสมุทรเถระ หรือสุนทรสมุทรกุมาร เดิมเป็นบุตรชายเกิดในตระกูลใหญ่อันมีสมบัติมหาศาล อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บังเกิดความอุตสาหะจึงบรรพชาเป็นพระสงฆ์ แม้นบิดามารดาจะเห็นชอบให้บรรพชา แต่ก็สร้างความระทมให้ผู้เป็นมารดามาก

วันหนึ่ง หญิงแพศยาคนหนึ่งเห็นมารดาของพระสุนทรสมุทรเถระกำลังนั่งร้องไห้ สืบสาวราวเรื่องจึงทราบเหตุ จนปรึกษาหารือตกลงว่าจ้างหญิงแพศยานั้นไปออกอุบายล่อลวงให้พระสุนทรสมุทรเถระสึกเสีย หญิงแพศยาก็ออกอุบายเกลี้ยกล่อมต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะการแสดงกิริยา 40 ท่า เกี้ยวพระสุนทรสมุทรเถระ อันเป็นการเย้ายวนหวังให้เกิดกำหนัด รู้สึกปรารถนาในกามคุณ

ธาร ธรรมโฆษณ์ ประพันธ์กวีเกี่ยวกับกิริยาทั้ง 40 ท่า ไว้ดังนี้

@@@@@@@

เรื่องราวมีมาในชาดก   ขอหยิบยกมาเล่ากันเล่นเล่น
ลีลาหญิงเกี้ยวชายหลายประเด็น   ชี้ชัดชัดให้เห็นเป็นท่าไป
ท่าที่หนึ่ง ทำท่าสะบัดสะบิ้ง   เหมือนไม้หลักปักตลิ่งส่ายไหวไหว
ท่าที่สอง ก้มลงทำไฉไล   โก้งโค้งอยู่ใกล้ใกล้หมายให้ชม

ท่าที่สาม กรีดกรายเหมือนนักฟ้อน   นวยนาดอ่อนมือไม้ไม่อยู่สม
ท่าที่สี่ ชมดชม้อยตาปรือกลม   เหมือนลิงลมเอียงอายยั่วสายตา
ท่าที่ห้า เอาเล็บกรีดเล็บถู   นั่งแคะอยู่อย่างนั้นนานนักหนา
ท่าที่หก เหยียบเท้าทับไปมา   ให้ผู้ชายเห็นว่าตนเท้างาม

ท่าที่เจ็ด เอาไม้มาเขี่ยดิน   เหมือนวาดศิลป์ภาพสวยให้วาบหวาม
ท่าที่แปด อุ้มเด็กชูขึ้นตาม   แกว่งส่ายข้ามไปมา อวดทรวดทรง
ท่าที่เก้า อุ้มเด็กลดลงต่ำ   เม้มปากทำเป็นง้อล่อประสงค์
ท่าที่สิบ แกล้งเล่นหมายจำนง   ชี้ตนบ่งเป็นเด็กสาวเบิกบาน

ท่าสิบเอ็ด แกล้งยุให้เด็กเล่น   ทำเป็นวางกะเกณฑ์เน้นเสียงหวาน
ท่าสิบสอง จูบเด็กยิ้มสำราญ   เอาจมูกป้ายผ่านแก้มไปมา
ท่าสิบสาม ยื่นแก้มให้เด็กจูบ   เอาหน้าลูบแก้มเด็กหัวเราะร่า
ท่าสิบสี่ กินของเคี้ยวโอชา   ทำจุ๊บจั๊บปากกว่าจะได้กลืน

ท่าสิบห้า ยื่นของให้เด็กกิน   ป้อนค่อยค่อยยั่วลิ้นแกล้งขัดขืน
ท่าสิบหก ยื่นของให้เด็กยืน   ผ้าเช็ดหน้าหนึ่งผืนยื่นให้ไป
ท่าสิบเจ็ด เอาของจากเด็กคืน   ผ้าเช็ดหน้าที่ยื่นดึงกลับใหม่
ท่าสิบแปด ล้อเลียนเด็กแกว่งไกว   ทำมือไหวไปมาเหมือนล้อเลียน

ท่าสิบเก้า แกล้งพูดเสียงดังดัง   ไม่ยับยั้งดังข่มอารมณ์เปลี่ยน
ท่ายี่สิบ พูดเบาเสียงแผ่วเนียน  กำซาบถ้อยพจน์เลี่ยนเหมือนโอดคราง
ท่ายี่สิบเอ็ด พูดจาคำเปิดเผย   ห้าวห้าวเย้ยเปรยคำทำโผงผาง
ท่ายี่สิบสอง พูดล่อเป็นรางราง   กล่าวนัยอย่างสองแง่ ให้คิดเอา

ท่ายี่สิบสาม ทำท่าร่ายร้องรำ   นัยน์ตาฉ่ำทำส่ายกายกระเส่า
ท่ายี่สิบสี่ ร้องเพลงครวญเบาเบา  บ้างร้อนแรงเริงเร่าเร้าทำนอง
ท่ายี่สิบห้า ทำท่ากระซิกกระซี้   เหมือนกระดี่ได้น้ำกระโดดหนอง
ท่ายี่สิบหก จ้องตาทำเมียงมอง  เล่นตาจ้องจดจ่อล่อเชิงชาย

ท่ายี่สิบเจ็ด ส่ายสะเอวเป็นจังหวะ  ยั่วราคะชายชมสุขสมหมาย
ท่ายี่สิบแปด ไหวของลับประจำกาย  แลบล่อย้ายทรวงทรงนงเนื้อนวล
ท่ายี่สิบเก้า ถ่างขาอ้ากางออก   ให้ระลอกลมล่องของสงวน
ท่าสามสิบ หุบขาเหมือนเย้ายวน  ถ่างหุบให้ปั่นป่วนรัญจวนจินต์

ท่าสามสิบเอ็ด เปิดเสื้อให้เห็นนม   แบะเบิกบ่มบวบบุ๋มบีบถวิล
ท่าสามสิบสอง โชว์รักแร้ยอดโศภิน   ชูแขนเผยจนสิ้นไม่ปิดบัง
ท่าสามสิบสาม เปิดสะดือให้เห็นหลุม   โชว์เนื้อลุ่มกลางกายคล้ายบ่อขลัง
ท่าสามสิบสี่ ขยิบตาเคลิ้มภวังค์   เหมือนจะสั่งวาจาด้วยตาวาว

ท่าสามสิบห้า ยักคิ้วทำหลิ่วเหล่   เหมือนนักเลงเกเรยิ้มเหล่สาว
ท่าสามสิบหก เม้มปากเป็นเส้นยาว   เหมือนไม่อยากกินข้าว เจ้าลีลา
ท่าสามสิบเจ็ด แลบลิ้นออกมาเลีย   น้ำลายเยิ้มไหลเรี่ยริมโอษฐา
ท่าสามสิบแปด ทำทีเป็นเปลื้องผ้า   ให้วับวับวืดพาจะหลุดมือ

ท่าสามสิบเก้า เปลื้องผ้าทำนุ่งใหม่   ตบแต่งให้เข้าทรงเสียดื้อดื้อ
ท่าสี่สิบ สยายผมลมกระพือ   ทั้งหมดคือ ท่าหญิงใช้เกี้ยวชาย
เรื่องราวมีมาในชาดก   สาธกยกมาเขียนขยาย
อ่านเล่นเล่นหน้าร้อนนอนผ่อนคลาย   สาธยายนานแล้ว ขอจบเอย [1]


พระพุทธเจ้าทรงรับรู้เหตุการณ์ขณะที่หญิงแพศยากำลังเกี้ยวพระสุนทรสมุทรเถระ ก็ทรงเห็นกระจ่างชัดว่า “ความชนะจักมีแก่สุนทรสมุทร, ความปราชัยจักมีแก่หญิงแพศยา” [2]

อ่านเพิ่มเติม :-

    • สมัยพุทธกาล ภิกษุณี 2 รูป ถูกชายชั่วชวน “สังวาส”
    • สาวสมัยพุทธกาลเข้าใจผิด คิดว่าช่วยคลายกำหนัดให้พระแล้วจะได้บุญ
    • วัฒนธรรมโสเภณี แก้เหงาไม่เฉามือ..จากสมัยพุทธกาลถึงรัตนโกสินทร์








ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เสมียนอารีย์
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 11 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 31 มกราคม 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_82345

อ้างอิง :-
[1] ธาร ธรรมโฆษณ์. (กุมภาพันธ์, 2547). ลีลาหญิงเกี้ยวชาย 40 ท่า. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 25 : ฉบับที่ 6.
[2] “เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ”. (2548). เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36&p=32
33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สิ้นแล้ว “สมณะโพธิรักษ์” เจ้าสำนักสันติอโศก ผู้นำกองทัพธรรม เมื่อ: เมษายน 12, 2024, 06:23:44 am
.



สิ้นแล้ว “สมณะโพธิรักษ์” เจ้าสำนักสันติอโศก ผู้นำกองทัพธรรม

MGR Online - สิ้นแล้ว “สมณะโพธิรักษ์” ผู้นำจิตวิญญาณสำนักสันติอโศก มรณภาพแล้ว ลูกศิษย์เศร้าโพสต์อาลัย

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 06.40 น. พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ (ชื่อเดิม มงคล รักพงษ์) เจ้าสำนักสันติอโศก ได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา ในวัย 90 ปี

ทั้งนี้ มีรายงานว่า สมณะโพธิรักษ์เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ด้วยอาการปอดอักเสบ และออกจาก รพ. กลับราชธานีอโศก จ.อุบลราชธานี เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ก่อนจะมรณภาพ

@@@@@@@

กำหนดการพิธีเคลื่อนสรีรสังขาร "พ่อครูสมณะโพธิรักษ์"

พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ละสังขาร ด้วยโรคชรา เวลา ๐๖.๔๐.๑๐ น.
ชาตะ : วันอังคาร ที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๗๗
มรณภาพ : วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗
สิริอายุ : อายุ ๘๙ ปี ๑๐ เดือน ๖ วัน
อุปสมบท : วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ , ๕๓ พรรษา ๕ เดือน ๔ วัน

๑๐.๐๐ น. นายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และนายแพทย์พงษ์พัฒน์ พิมพ์สะ แพทย์เจ้าของไข้ มากราบขอขมา
๑๐.๓๐ น. เคลื่อนสรีรสังขาร จาก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ไปยังบวรราชธานีอโศก
๑๑.๐๐ น. ถึงราชธานีอโศก ***ตั้งขบวนรับจากสะพานโค้งรุ้ง
๑๑.๓๐ น.พิธีบรรจุสรีรสังขารพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ลงหีบ โดยท่านสมณะ ณ ใต้เฮือนศูนย์สูญ




ประวัติโดยสังเขป

สมณะโพธิรักษ์ เดิมชื่อ มงคล รักพงษ์ ชื่อเล่นว่า แป๊ก เกิดที่จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2477 บิดา คือ นายทองสุข แซ่โง้ว ถึงแก่กรรมเมื่อ ด.ช.มงคล อายุยังไม่ถึงหนึ่งขวบ ส่วนมารดาชื่อนางบุญโฮม รักพงษ์ ซึ่งได้แต่งงานใหม่กับ สิบโท บุญเฉย รักพงษ์ ด.ช.มงคลเป็นลูกคนเดียวของนายทองสุข ส่วนมารดามีลูกกับบิดาเลี้ยง 10 คน ลุงซึ่งเป็นนายแพทย์ประจําจังหวัดศรีสะเกษ ชื่อ นายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ ขอไปเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก และต้องย้ายที่อยู่ต่อมา ขณะที่เด็กชายมงคลเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 2 ได้เกิดสงครามอินโดจีน ลุงจึงนํามาส่งคืนมารดาซึ่งทํางานอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ด.ช.มงคล มีความขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเด็ก เดิมฐานะทาง บ้านดี เพราะมารดาค้าขายเก่ง แต่ต่อมามารดาถูกโกงและป่วยเป็นวัณโรค ทําให้ประสบปัญหาทางการเงิน ด.ช.มงคลจึงช่วยมารดาค้าขายเพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว นอกจากนั้น ยังชอบขาย ของและหารายได้เอง และเมื่อเดินทางมาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ก็ทํางานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 7 (มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปัจจุบัน) จากโรงเรียนสีตบุตรบํารุง กรุงเทพฯ นายมงคลได้ไปสมัครเรียนที่วิทยาลัยเพาะช่างในแผนกที่ตั้งใหม่คือแผนกวิจิตรศิลป์ โดยไม่ต้องสอบเข้า ระหว่าง พ.ศ. 2495-2500 จนจบการศึกษา และในขณะที่กําลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเพาะช่างปี 5 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น รัก รักพงษ์

@@@@@@@

เมื่อมารดาถึงแก่กรรม เป็นช่วงเวลาที่นายรัก รักพงษ์ จบการศึกษาเพาะช่างและได้เข้าทํางานที่บริษัทไทยโทรทัศน์จํากัด นายรัก รักพงษ์ได้รับภาระเลี้ยงดูและส่งเสียน้องทุกคนเรียนหนังสือ

นายรัก รักพงษ์ เริ่มทํางานที่บริษัทไทยโทรทัศน์ จํากัด เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยเป็นนักจัดรายการ ซึ่งได้แก่รายการเด็ก รายการการศึกษา และรายการทางวิชาการต่างๆ นอกจากนี้ ยังเป็นครูพิเศษสอนศิลปะตามโรงเรียนต่างๆ และมีงานประพันธ์ ทั้งสารคดี เรื่องสั้น บทกวี และบทเพลง ใช้นามปากกาแตกต่างกัน เช่น มงคล พงษ์มงคล, เกื้อ ปรียา และโบราณ สนิมรัก งานประพันธ์ที่ ทําให้มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ บทเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง “ผู้แพ้” ซึ่งประพันธ์ขึ้นสมัยที่เป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนเพาะช่างระหว่าง พ.ศ.2497-2498 เป็นผู้ประพันธ์ทั้งคําร้องและทํานอง มีเนื้อ หาสาระแฝงคติธรรมในการต่อสู้ชีวิต และใช้นามผู้ประพันธ์ว่า รัก พงษ์มงคล

หลังจากนั้น รัก รักพงษ์ได้สนใจศึกษาเรื่องจิตทําให้หมกมุ่นอยู่กับไสยศาสตร์ไประยะหนึ่ง จนกระทั่งได้มีโอกาสศึกษาพุทธธรรมจนเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของพุทธศาสนาต่อการดํารงชีวิต ความสนใจในทางศาสนาทำให้นายรัก รักพงษ์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมะหลายเล่ม โดยใช้นามปากกาว่า โพธิรักษ์ เช่น ชีวิตนี้มีปัญหา เป็นงานเขียนที่รวบรวมจากบทความต่างๆ ที่เขียนประจําในนิตยสาร “ดาราภาพ" กลางทะเลชีวิต เป็นหนังสือ รวมบทความจากที่เคยเขียนไว้ในนิตยสาร “สตรีสาร” และลําธารชีวิตเป็นหนังสือรวมบทความ จากที่เคยเขียนไว้ในนิตยสาร “ไทยโทรทัศน์”




ต่อมา นายรัก รักพงษ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตที่วัดอโศการาม จังหวัด สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2513 โดยมีอุปัชฌาย์ คือ พระราชวรคุณ และได้รับ ฉายาจากการอุปสมบทว่า “พระโพธิรักษ์” ซึ่งหมายถึง “ผู้รักษาความตรัสรู้” เป็นฉายาจากนามปากกาขณะที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมะเมื่อยังเป็นฆราวาส และได้ขออุปัชฌาย์ใช้นามนี้เป็นฉายา

หลังจากที่มีบุคคลเลื่อมใสศรัทธามาบวชและปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น วัดอโศการามจนกลายเป็นกลุ่มชนใช้นามว่า “ชาวอโศก” พระโพธิรักษ์จึงขอสร้างสถานที่เฉพาะกลุ่มเพื่อปฏิบัติธรรมตามแนวคําสอนของตน แต่พระอุปัชฌาย์ไม่อนุญาตให้อยู่ปนกันทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต เนื่องจากพระโพธิรักษ์เป็นพระฝ่ายธรรมยุต พระโพธิรักษ์จึงไปอุปสมบทใหม่ที่วัดหนองกระทุ่ม จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516 เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย มีอุปัชฌาย์ คือ พระครูสถิตวุฒิคุณ ขณะนั้นมีใบสุทธิ 2 ใบ และได้นําใบสุทธิของฝ่ายธรรมยุตมาคืนที่วัดอโศการาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2516

การทํางานเผยแพร่ธรรมของพระโพธิรักษ์มีอุปสรรคและมีปัญหามากจากความขัดแย้งกับคณะสงฆ์และชาวพุทธฝ่ายจารีตนิยม เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “นอกรีต” จากการปฏิบัติที่เคร่งครัดของพระโพธิรักษ์และคณะ ได้แก่ ฉันอาหารมังสวิรัติ, ฉันอาหารวันละ 1 มื้อ, ไม่ใช้เงินทอง, นุ่งห่มผ้าย้อมสีกรัก, ไม่มีการเรี่ยไร, ไม่รดน้ำมนต์-พรมน้ำมนต์, ไม่ใช้การบูชา ด้วยธูปเทียน, ไม่มีไสยศาสตร์ พระโพธิรักษ์จึงประกาศตัวลาออกจากมหาเถรสมาคม หรือที่เรียกว่า นานาสังวาส เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2518 แต่ยังได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งได้รุนแรงมากขึ้นจนนําไปสู่กรณีสันติอโศก โดยมหาเถระสมาคม ได้เห็นชอบให้มีการประกาศนียกรรม ให้พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชน มิให้คบหาสมาคมหรือให้ความร่วมมือใด ๆ แก่พระโพธิรักษ์ และคณะที่พระโพธิรักษ์บวชให้  ซึ่งประกาศนียกรรมมีค่าเท่ากับ "บัพพาชนียกรรม" เมื่อครั้งพุทธกาลนั่นเอง อันเป็นผลให้พระโพธิรักษ์ต้องสึกจากพระภิกษุและใช้นามว่าสมณะโพธิรักษ์แทน และยังคงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเหมือนเดิม นุ่งห่มแตกต่างจากพระสงฆ์ไทยทั่วไป ตั้งแต่ พ.ศ.2532 เป็นต้นมา

ในปี 2533 อัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพระโพธิรักษ์และพระชาวอโศก ข้อหากระทำผิด พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กรณีการแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ากระทำผิดจริง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2538 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2540

“สมณะโพธิรักษ์” ได้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรค ทั้งยังได้มีบทบาททางการเมือง โดยนำพาผู้ปฏิบัติธรรมสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 รวมถึงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านรัฐบาลทั้งในปี พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2551 รวมถึงการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ในปี พ.ศ. 2556 และพ.ศ. 2557 ด้วย โดยเฉพาะการชุมนุมของ กปปส.นั้นสมณะโพธิรักษ์และผู้ปฏิบัติธรรมสันติอโศก ได้ปักหลักชุมนุมที่สวนลุมพินีตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ร่วมกับกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) โดยก่อนหน้านั้น ในปี พ.ศ. 2555 ก็ได้เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มาแล้ว

ทั้งนี้ “สมณะโพธิรักษ์” ได้นำพากลุ่มชาวอโศกสร้าง “ชุมชนบุญนิยม” ตามปรัชญา แห่งศาสนาพุทธ ที่เชื่อมั่นว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นแกนสำคัญ ของมนุษย์ และสังคมโดย มีความ เป็นอยู่ อย่างเรียบง่าย, พึ่งตนเองได้, สร้างสรร, ขยัน-อดทน, ไม่เอาเปรียบใคร, ตั้งใจเสียสละ จนได้รับ การขนานนามว่า “ชุมชนคนพอเพียง”






Thank to : https://mgronline.com/qol/detail/9670000031661
เผยแพร่ : 11 เม.ย. 2567 08:59 , ปรับปรุง : 11 เม.ย. 2567 17:23 , โดย : ผู้จัดการออนไลน์
34  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แห่หลวงพ่อพระใส ขอพรสรงน้ำสงกรานต์ 13 เม.ย. 67 เปิดพระอุโบสถให้กราบองค์จริง เมื่อ: เมษายน 10, 2024, 06:50:51 am
.



แห่หลวงพ่อพระใส ขอพรสรงน้ำสงกรานต์ 13 เม.ย. 67 เปิดพระอุโบสถให้กราบองค์จริง

ครั้งแรกของขบวนแห่อัญเชิญหลวงพ่อพระใส จำลอง พระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย พระพุทธรูปที่คนสองฝั่งโขงเลื่อมใสศรัทธา โดยจะมีการแห่รอบเมืองหนองคาย และกราบขอพรสรงน้ำอย่างใกล้ชิดปีละครั้ง ช่วงสงกรานต์ ซึ่งเป็นพิธีกรรมสืบทอดมายาวนาน

"พระครูปริยัติโสภณรัตน์" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ขบวนแห่หลวงพ่อพระใส ปีนี้มีการจัดขบวนแห่งานสรงน้ำและสมโภชหลวงพ่อพระใสวันที่ 13 เมษายน 2567 ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง จ.หนองคาย โดยขบวนแห่ภายในวัดเริ่มเวลา 09.09 น. ซึ่งได้เรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด ถอดเกศหลวงพ่อพระใส และถอดเกศพระบริวาร ทำพิธีอัญเชิญลงมาด้านล่าง วนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำอย่างใกล้ชิด




จากนั้นอัญเชิญหลวงพ่อพระใส ประดิษฐานไว้บนราชรถ เพื่อเตรียมแห่รอบเมือง โดยออกจากวัดเวลา 12.30 น. คาดว่าจะทำการแห่รอบเมืองแล้วเสร็จในเวลา 17.00 น.

ต่อจากนั้นประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระใสจำลอง ไว้ที่พลับพลา เพื่อให้ประชาชนที่มาไม่ทันขบวนแห่ได้สรงน้ำ ตั้งแต่ 13-18 เมษายน 2567

ความพิเศษของขบวนแห่ปีนี้มีพิธี "สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส" โดยร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการนำผ้าขาวมาที่ร่วมพิธีแห่ในปีนี้ ให้คนที่สนใจได้ร่วมบูชา ซึ่งผ้าขาวม้าจะใช้ในขบวนแห่ในการรองเชือกในขบวนแห่ หรือใกล้ชิดกับองค์หลวงพ่อตลอดการทำพิธี เพราะตามความเชื่อคนโบราณ ที่อาจไม่มีของมีค่าในการขอขมา ลักษณะคล้ายกับของชำร่วย ที่จะเห็นในการแต่งงานทางภาคอีสาน คู่บ่าวสาวจะมอบผ้าขาวม้า ให้เป็นของชำร่วย




ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่นำองค์พระใส จำลองมาในขบวนแห่เพื่อให้ได้สรงน้ำ เนื่องจากพระใสองค์จริง ชำรุดเสียหาย เนื่องจากมีความเก่าแก่ และทางกรมศิลปากร ได้ลงความเห็นว่าไม่อยากให้นำองค์หลวงพ่อพระใสองค์จริงลงมาแห่ เลยมีการสร้างองค์จำลอง ที่มีขนาดเท่ากันกับองค์จริง

โดยพระใสองค์จริงยังตั้งอยู่ในพระอุโบสถ ให้คนที่มาได้กราบไหว้ โดยปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ทางวัดจะเปิดพระอุโบสถให้คนได้เข้าไปกราบไหว้พระใสองค์จริง และสรงน้ำพระใสองค์จำลองด้านล่างบริเวณปะรำพิธี




คนในพื้นที่หรือผู้ที่ศรัทธาองค์หลวงพ่อพระใส จะเดินทางมาสรงน้ำช่วงสงกรานต์ทุกปี เพราะเชื่อว่าจะได้ใกล้ชิดกับองค์หลวงพ่อ และเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นชีวิตของปีใหม่ไทย ที่ผ่านมาก็เคยเกิดเหตุเครื่องบินโดยสารตกที่คลองรังสิต ปี 2523 โดยผู้โดยสารท่านนึงได้บูชาพระพุทธรูปองค์หลวงพ่อพระใส ขึ้นเครื่องบินไปด้วย เมื่อเครื่องบินตก ก็มีผู้เสียชีวิตที่เป็นพระผู้ใหญ่หลายรูป แต่คนที่นำองค์หลวงพ่อพระใสไปด้วยกลับรอดชีวิต และองค์พระพุทธรูปไม่เสียหาย ทำให้ตั้งแต่นั้นมามีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้อยู่ตลอด



สำหรับคนที่อยากไปกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อพระใส อยากให้มาช่วงสงกรานต์ เพราะได้สรงน้ำใกล้ชิดกับองค์หลวงพ่อพระใส ซึ่งต่างจากวันทั่วไปที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับองค์หลวงพ่อเหมือนในช่วงสงกรานต์.




Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2777022
8 เม.ย. 2567 , 21:29 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Interview > ไทยรัฐออนไลน์
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เตรียมบูรณะ หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 700 ปี เคยโดนโจรลักไป 3 ครั้ง เมื่อ: เมษายน 10, 2024, 06:34:11 am
.



เตรียมบูรณะ หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 700 ปี เคยโดนโจรลักไป 3 ครั้ง ได้คืนกลับทุกครั้ง

กรมศิลปากร เข้าตรวจสอบ เตรียมบูรณะ หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์700ปี เผยที่ผ่านมา เคยโดนโจรลักไป3ครั้ง ได้คืนกลับทุกครั้ง

วันที่ 9 เม.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดบ้านด่าน ต.สร้างปี่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง ประธานกรรมการ บริษัท นีโอ 727 จำกัด บริษัท นีโอ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท ยูเวิร์ค 999 จำกัด เป็นคหบดีลูกหลานชาวบ้านด่าน ได้นำ นายทศพร ศรีสมาน ผอ.สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมคณะเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร และผู้แทนของนายประหยัด ถิลา วัฒนธรรม จ.ศรีสะเกษ มาทำการตรวจสอบ

องค์หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางห้ามสมุทร อายุประมาณ 700 ปี ที่ชาวบ้านด่านและชาว อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษให้ความเคารพศรัทธามาก โดยคณะเจ้าหน้าที่ได้ขึ้นไปทำการตรวจสอบสภาพขององค์พระอย่างละเอียด ทำการวัดขนาด ตรวจสอบสภาพวัสดุพื้นผิวขององค์พระ พร้อมทั้งตรวจสอบรูปแบบลักษณะต่างๆขององค์พระ

เพื่อเตรียมความพร้อมข้อมูลในการที่จะทำการบูรณะซ่อมแซมองค์หลวงพ่อทอง โดยมี นายทอง คำเอี่ยม อดีต ผอ.ร.ร.มาคอยอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาขององค์หลวงพ่อทองให้คณะเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรได้รับทราบ




นายขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง ประธานกรรมการ บริษัท นีโอ 727 จำกัด บริษัท นีโอ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท ยูเวิร์ค 999 จำกัด เป็นคหบดีลูกหลานชาวบ้านด่าน กล่าวว่า คุณแม่ของตนบอกว่าตอนที่โดนขโมยไปท่านมองเห็นเท้าข้างหนึ่งโดนงัดแงะโดนทำลายเพื่อที่คนร้ายจะนำเอาหลวงพ่อทองไป แต่ว่านำเอาไปไม่ได้ จึงทำให้เท้าของหลวงพ่อทองยังบิ่นอยู่ที่ยังไม่สมบูรณ์

ตนจึงเห็นว่าก่อนที่จะอัญเชิญหลวงพ่อทองขึ้นมาประดิษฐานบนวิหารแห่งนี้ ตนจึงให้ชาวบ้านด่าน ได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากรว่า จะบูรณะยังไงให้องค์หลวงพ่อทองสมบูรณ์แบบ เพราะว่าหลวงพ่อทองมาประดิษฐานอยู่ที่นี่ 72 ปีแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2495 ซึ่งจิตที่เรามีความศรัทธานี้ ตามคำสั่งของคุณแม่ว่าเมื่ออัญเชิญหลวงพ่อทองขึ้นมาบนวิหารแห่งนี้แล้วจะต้องซ่อมบูรณะให้องค์หลวงพ่อทองสมบูรณ์แบบและรักษาสภาพองค์หลวงพ่อให้สมบูรณ์ก่อนที่จะนำขึ้นมา




ซึ่งกรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูก่อนวันงานที่จะอัญเชิญหลวงพ่อทองขึ้นมาบนวิหารแห่งนี้เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งทางสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ก็ได้รับหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากรว่าให้เข้ามาตรวจสอบว่า สภาพของหลวงพ่อทองเป็นยังไงบ้างเพื่อที่จะบูรณะ

ก็เลยเป็นที่มาและที่ไปว่าพออัญเชิญองค์หลวงพ่อทองขึ้นมาบนวิหารแห่งนี้ จะเห็นได้ว่าองค์หลวงพ่อทองยังไม่สมบูรณ์แบบ ด้วยจิตของเราที่มีความศรัทธาเราจึงอยากให้บูรณะซ่อมแซมสภาพขององค์หลวงพ่อทองให้สมบูรณ์เหมือนกับที่สภาพที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ให้ดีที่สุด

นายทอง คำเอี่ยม ซึ่งเป็นอดีต ผอ.ร.ร.ข้าราชการบำนาญ กล่าวว่า องค์หลวงพ่อทองเคยถูกขโมยไปครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2507 ซึ่งการขโมยหลวงพ่อทองทุกครั้งจะขโมยช่วงหน้าฝนพระจำพรรษา ซึ่งคนที่มาขโมยไม่สามารถนำเอาองค์หลวงพ่อทองไปได้เพราะว่าเกิดป่วยตายก่อน ครั้งที่ 2 ปี 2511 คนร้ายได้ขโมยหลวงพ่อทองไปทาง อ.ราษีไศลแต่ว่านำเอาไปไม่ได้ซึ่งครั้งที่ 2 นี้จะตัดเอาเฉพาะเศียรไป แต่พอตัดไปใช้เวลาอาทิตย์หนึ่งตัดไม่ได้




คนที่จะตัดเศียรขององค์หลวงพ่อทองก็เกิดป่วยตาย ส่วนคนที่สั่งการก็มีอันเป็นไปทุกคน ทาง สภ.ราษีไศลก็เลยได้นำหลวงพ่อทองไปไว้ที่ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษและได้แจ้งให้ชาวบ้าน ให้ไปดูว่าเป็นพระของวัดตนเองหรือไม่

ชาวบ้านจึงมอบให้นายพร ศิริพัฒน์ เป็นคนไปดูก็บอกว่าเป็นของวัดบ้านด่านจริง จึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อทองกลับคืนมาไว้ที่วัดแห่งนี้ ครั้งที่ 3 โดนขโมยไปเมื่อปีพ.ศ. 2523 รู้สึกว่าจะเป็นคนมีสีมาจากทาง จ.ลพบุรี แต่ว่ามาขโมยไปไม่ได้ชาวบ้านรู้ตัวก่อน เป็น 3 ครั้งที่หลวงพ่อทองโดนขโมยแต่คนร้ายไม่สามารถขโมยเอาหลวงพ่อทองไปได้

นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กล่าวว่า วันนี้สำนักงานศิลปากรที่ 10 นครราชสีมาก็ได้ประสานกับทางสำนักช่าง 10 หมู่ของกรมศิลปากร ได้มาตรวจสอบองค์พระพุทธรูปคือมาตรวจสอบสภาพว่าองค์ท่านมีลักษณะอย่างไรมีความชำรุดเสื่อมสภาพตรงไหนที่เราจะต้องนำเอาไปวางแผนสำหรับการบูรณะซ่อมแซม




ซึ่งตรงนี้ทางช่าง 10 หมู่ จะต้องไปทำข้อมูลตรงนี้ขึ้นมาซึ่งหลังจากนี้แล้วก็จะมีนักวิทยาศาสตร์ของกรมศิลปากรเป็นส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์จะลงมาอีกทีมหนึ่งเพื่อมาตรวจสอบในเรื่องของเทคนิควิธีการในการที่จะซ่อมแซมบูรณะองค์หลวงพ่อทองในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า จะต้องใช้วิธีการอย่างไร ซึ่งหลังจากทั้งหมดทั้งมวลได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็คงจะต้องมาสรุปกันอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะดำเนินการบูรณะซ่อมแซมเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร

และทำแผนออกมาซึ่งเนื่องจากองค์หลวงพ่อทองเป็นศิลปวัตถุที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเอาไว้แล้ว เป็นศิลปวัตถุสำคัญของชาติซึ่งในการดำเนินการนั้น เราก็ต้องขออนุญาตจากท่านอธิบดีกรมศิลปากรเสียก่อนว่าเราจะดำเนินการในส่วนนี้อย่างไรบ้างมีความเหมาะสมอย่างไร ก็จะต้องมีการเข้าที่ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง

นายทศพร กล่าวต่อไปว่า ซึ่งกำหนดการนั้นคงจะต้องใช้เวลานิดนึง เพราะว่าอย่างวันนี้จริงๆแล้วอยากให้ทีมช่าง 10 หมู่ และทีมนักวิทยาศาสตร์มาด้วยกันแต่ว่ามันไม่ได้เพราะว่าทางต่างคนต่างมีภารกิจซึ่งจะต้องรอไปสิ้นเดือนเมษายนนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์อีกชุดหนึ่งจึงจะได้เข้ามาดำเนินการ

หลังจากนั้นประมาณช่วงเดือนพฤษภาคมจะได้พูดคุยกันในรอบแรกก่อนว่าข้อมูลเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรบ้าง คงจะต้องใช้เวลาเนื่องจากว่างานอย่างนี้เป็นงานละเอียดไม่อยากให้รีบร้อนจะต้องดำเนินการให้ดีที่สุด

ชมวิดีโอได้ที่ : https://vdokh.matichon.co.th/videos/public/iframe/8cd4efbc1c2ee4a9a23b19d9f5a1374d/adaptive_hls/?post_id=0&category=





Thank to : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8180667
10 เม.ย. 2567 - 03:59 น.
36  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร.?” เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 09:29:51 am
.



๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข
(๑-)


[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน(๒-) เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า
    “ผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
    “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข 

กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข


@@@@@@@

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดัน(๓-) แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร




ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดันแม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้นทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”

                                     นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ






เชิงอรรถ
(๑-) ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
(๒-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้
(๓-) ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๐-๕๐๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๔. มหาวรรค , ๓. นิพพานสุขสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=197
37  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ต้องเป็น ปชต.ทางความเชื่อ อยากเข้าใจไทยต้องเก็ตศาสนา อ่าน ‘ลอกคราบพุทธแท้’ เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 08:33:06 am
.



อาจารย์ ม.ดังอิตาลี ลั่นต้องเป็น ปชต.ทางความเชื่อ อยากเข้าใจไทยต้องเก็ตศาสนา คว้า ‘ลอกคราบพุทธแท้’

‘อาจารย์ ม.ดังอิตาลี’ ลั่นอยากเข้าใจเมืองไทย ต้องเก็ตศาสนาก่อน พุ่งคว้า ‘ลอกคราบพุทธแท้’ ยันต้องเป็น ปชต.ทางศาสนา ไม่เชื่อห้ามดูถูก เผยเจ้าของบ้านเช่าเป็น ‘ร่างทรง’

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยรัฐ (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

บรรยากาศเวลา 12.50 น. ที่บูธ ‘สำนักพิมพ์มติชน J47’ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้เลือกซื้อหนังสือทยอยเข้ามาหยิบอ่านและเลือกซื้อ ทั้งหนังสือการเมือง ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา หนังสือแปล และวรรณกรรม อีกทั้งยังมีผู้สนใจของแถมเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งกระเป๋าผ้า กระเป๋าถือขนาดใหญ่ สามารถแลกของขวัญได้เมื่อซื้อครบ 500 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ สำพิมพ์มติชนจัดโปรโมชั่นลดราคาหนังสือ หนังสือออกใหม่ลด 15% หนังสือขายดีลด 20% หนังสือเพื่อนสำนักพิมพ์ลด 10-15% และหนังสือชุดลดพิเศษถึง 25-30%

บรรยากาศเวลา 13.00 น. ดร.อาสา คำภา เจ้าของผลงาน “ลอกคราบพุทธแท้ : ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาชนชั้นกลางไทยร่วมสมัย” เดินทางมาแจกลายเซ็น ท่ามกลางแฟนนักอ่านมาร่วมต่อคิวเป็นจำนวนมาก

โดยหนึ่งในนั้นคือ เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ (Edoardo Siani) อาจารย์มหาวิทยาลัย Ca’ Foscari University of Venice แห่งประเทศอิตาลี




เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวว่า ตนเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากว่า 20 ปี แต่วันนี้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ในวันนี้ได้มาเลือกหนังสือ “ลอกคราบพุทธแท้” กลับไป เพราะคิดว่าศาสนาพุทธมีบทบาทต่อคนไทย และสังคมไทยอย่างมาก

“หากคุณต้องการเข้าใจสังคมไทย คุณต้องเข้าใจพระพุทธศาสนาก่อน”

เมื่อถามถึงสาเหตุที่มีความสนใจทางด้านพระพุทธศาสนาและการเมืองไทย?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า ครั้งแรกที่ตนมาประเทศไทยก็เช่าห้องในบ้านที่เป็นร่างทรง

“เมื่อผมย้ายมาจากประเทศอิตาลี เมื่อเจอเจ้าของบ้านและได้รับรู้ว่าเขาเป็น ‘ร่างทรง’ ก็เลยเป็นที่มาของการรู้จักสังคมไทยควบคู่กับศาสนา ความเชื่อต่างๆ จึงเป็นการตั้งคำถามว่าทำไมคนไทยมีความเชื่อเช่นนี้

จนทำให้ผมนึกถึงตอนเป็นเด็กที่ประเทศอิตาลี ทุกศาสนามีความเชื่อ มีร่างทรง ผมคิดว่ามันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ”เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าว




เมื่อถามว่า ส่วนตัวเชื่อเรื่อง “ร่างทรง” หรือไม่?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวว่า ตนเป็นคนเชื่อทุกอย่างค่อนข้างยาก แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจว่าความเชื่อนั้นสำคัญต่อคนบางคน หรือคนบางกลุ่ม

“เมื่อตอนเด็กๆ แม่ผมก็เลยพาไปหาร่างทรง ‘คาทอลิก’ นิกายหนึ่งของคริสต์ เป็นผู้หญิงที่เหมือนกับว่า สมเด็จพระสันตะปาปาที่เสียชีวิตไปแล้วมาเข้าร่าง และก็จะมีการเขียนจดหมายส่งให้แม่ เพื่อให้เกิดความสบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร

ผมน่าจะเชื่อว่ามันเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยคนหลายคนได้ ถึงแม่ว่าเราไม่เชื่อ แต่เราก็ไม่ควรจะห้าม หรือดูถูก ต้องเป็นประชาธิปไตยทางศาสนาและความเชื่อ” เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าว

เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นคนต่างชาติ แต่เลือกที่จะหยิบหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในวันนี้เพราะว่าอะไร?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า อยากเห็นมุมมองของนักวิชาการคนไทย ส่วนใหญ่ทฤษฎีมาจากโลกตะวันตก ก็เลยอยากรู้ว่าคนไทยมองเรื่องเกี่ยวกับศาสนาตนเองอย่างไรบ้าง




เมื่อถามว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ชื่นชอบในการอ่านหนังสือ?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า ตนเป็นคนขี้เกียจมาก่อน ไม่ใช่คนอ่านหนังสือง่าย แต่มีความเชื่อว่าหากเราอ่านหนังสือแล้วจะช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลากหลายแง่มุมมากขึ้น

“ผมเป็นคนชอบดูภาพยนตร์ ฟังเพลงมากกว่า แต่การอ่านหนังสือก็บางเล่มก็สามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนความคิดได้เหมือนกัน” เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สามารถเยี่ยมชมบูธสำนักพิมพ์มติชน (J47) ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายน 2567 เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 และ เลือกซื้อหนังสือออนไลน์ได้ที่ : www.matichonbook.com




Thank to : https://www.matichon.co.th/book/news_4514963
วันที่ 7 เมษายน 2567 - 15:34 น.   
38  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดแทบแตก ศิษย์หลวงพ่อกวย แบกเสื่อหอบหมอน นอนรอเข้าคิวเช่าวัตถุมงคล เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 07:48:42 am




วัดแทบแตก ศิษย์หลวงพ่อกวย แบกเสื่อหอบหมอน นอนรอเข้าคิวเช่าวัตถุมงคล แถวยาวเป็นกิโล

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดโฆษิตาราม หรือวัดบ้านแค อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ได้เปิดให้ลูกศิษย์ และประชาชนทั่วไป เข้าคิวจองซื้อวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย อดีตเจ้าอาวาส ที่ถือว่าเป็นพระเกจิดังของไทยอีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522

ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดพระ และผู้นิยมวัตถุมงคล โดยทางวัดเปิดแจกบัตรคิวเวลา 07.00 น. แต่ก็เป็นที่น่าสนใจเพราะวันนี้มีศิษยานุศิษย์กว่า 1,000 คน มารอต่อคิวเข้าซื้อวัตถุมงคล




โดยเฉพาะกลุ่มแรกๆ ที่มารอคิวเล่าว่า มานอนรอตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน เพราะต้องการเป็นคิวแรกๆ โดยขนเอาเสื้อและหมอน มานอนกันที่ลานจอดรถ บางรายก็เอาเต็นท์มากางกันยุง เช้ามาก็รีบตื่นอาบน้ำแปรงฟันมานั่งรอบัตรคิว แล้วเดินแถวตอนเรียง 1 เข้าไปภายในศาลาวัดที่เตรียมพื้นที่ไว้ ความยาวของแถวรวมๆ ถึง 1 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลของหลวงพ่อกวยที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากคือ เหรียญหลังยันต์ เหรียญหลังหนุมาน รวมถึงมีดหมอ ตะกรุด รูปหล่อ และภาพถ่ายของหลวงพ่อด้วย





















Thank to : https://www.matichon.co.th/region/news_4514455
วันที่ 7 เมษายน 2567 - 10:46 น.
39  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สงกรานต์ กับพระสุริยเทพที่ศรีเทพ เมื่อ: เมษายน 07, 2024, 07:12:14 am



สงกรานต์ กับพระสุริยเทพที่ศรีเทพ

“สงกรานต์” เป็นคำที่ไทยเราหยิบยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงฺกฺรานติ” ที่แปลว่า คติหรือการจากไปของดวงอาทิตย์ หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง

หลายครั้งที่ในหนังสือเก่าแก่เล่มต่างๆ ของไทย จะพบคำว่า “ตรุษสงกรานต์” โดยคำว่า “ตรุษ” ก็มีรากมาจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกัน คือหมายถึงการ “ตัด”

ดังนั้น คำว่า “ตรุษสงกรานต์” จึงหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์โคจร (ตามวิธีคำนวนแบบโหราศาสตร์ เพราะที่จริงแล้วดวงอาทิตย์ไม่ได้โคจร แต่เป็นโลกมนุษย์ต่างหากที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ทุกขณะจิตต่างหาก) ผ่านจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง แล้วตัดให้เป็นการครบรอบวงโคจรหนึ่งครั้ง คือหนึ่งปีนั่นเอง

นอกเหนือจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่อีกคำหนึ่ง คือคำว่า “ราศี” โดยหมายถึงการแบ่งขอบฟ้าออกเป็นช่องๆ 12 ช่องเท่าๆ กัน แต่ละช่องมีดาวจักรราศีครองอยู่ โดยพระอาทิตย์จะอยู่ช่องละ 30 วัน เคลื่อนย้ายไปทั้งปีครอบทั้ง 12 ช่องคือ ครบ 1 ปี

พระอาทิตย์ท่านจึงย้ายราศีเป็นประจำทุกเดือน โดยการย้ายแต่ละครั้งก็จะตกราวๆ วันที่ 14-15 ของแต่ละเดือน พระอาทิตย์เข้าไปอยู่ในราศีใด ก็จะเรียกว่าเป็นสงกรานต์ของราศีนั้น เช่น เมื่อพระอาทิตย์ย้ายเข้าราศีมังกร ก็เรียก “มกรสังกรานติ” (มกรสงกรานต์) เป็นต้น


@@@@@@@

ในไทย และวัฒนธรรมอื่นๆ ในอุษาคเนย์นั้น ให้ความสำคัญเฉพาะกับการที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าราศีเมษ คือ “เมษสังกรานติ” (เมษสงกรานต์) เพราะถือเป็น วันขึ้นปีใหม่ อย่างที่รู้กันโดยทั่วไปนั่นแหละครับ โดยเรียกกันว่า “มหาสงกรานต์” เพราะถือกันว่าเป็นสงกรานต์ คือการเคลื่อนย้ายของราศีที่สำคัญที่สุดในรอบปี

แน่นอนว่า ความรู้ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของ made in India ทั้งสิ้น สังเกตง่ายๆ ได้จากการที่ใช้คำแขกเรียกชื่อของเทศกาล ไม่ใช่คำไทย หรือคำในภาษาพื้นเมืองอื่นๆ

และนี่ก็ทำให้อะไรที่เรียกว่า “สงกรานต์” จึงเป็นสิ่งที่ชนชาวอุษาคเนย์สมัยโบราณอิมพอร์ตเข้ามาจากอินเดียพร้อมกันกับเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู จนได้ยังผลให้เราจะมีประเพณีการนับเอา “เดือนห้า” เป็นเดือนขึ้นปีใหม่ แทนที่จะนับว่า “วันแรมหนึ่งค่ำเดือนอ้าย” (แน่นอนว่า เดือนอ้าย แปลว่า เดือนที่หนึ่ง ซึ่งก็คือเดือนแรกของปีอย่างไม่ต้องสงสัย) ตามปฏิทินแบบพื้นเมืองของอุษาคเนย์ เป็นวันแรกของปี อย่างที่เคยใช้มาก่อนจะรับวัฒนธรรมอินเดีย

วิธีการนับปีจากอินเดียแบบที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนี้ เป็นวิธีที่นับเอา “พระอาทิตย์” เป็นสำคัญ อย่างที่เรียกว่า “ปฏิทินสุริยคติ” แตกต่างจากปฏิทินพื้นเมืองของอุษาคเนย์ที่เป็นแบบ “จันทรคติ” ที่ให้ความสำคัญกับ “พระจันทร์”

แน่นอนว่าเมื่อให้ความสำคัญกับ “พระอาทิตย์” แล้ว ก็ย่อมเกิดการนับถือบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ คือ “พระสุริยเทพ” (หรือ พระสูรยเทพ ในภาษาสันสกฤต) ผู้เป็นหลักสำคัญของวันเวลา และฤดูกาล ซึ่งย่อมดลบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ได้ด้วย

@@@@@@@

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีสิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแพร่กระจายจากอินเดียเข้ามาสู่อุษาคเนย์ในระยะเริ่มแรกเมื่อราวหลัง พ.ศ.1000 นั้น ก็ได้มีการค้นพบรูปพระสุริยเทพในรัฐโบราณเหล่านี้ด้วย

โดยมีทั้งที่พบเป็นประติมากรรมรูปพระสุริยเทพเอง และที่พบประดับอยู่บนศาสนวัตถุอื่นๆ โดยเฉพาะชุดเสาธรรมจักร ในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งพบว่ามีการประดับรูปพระสุริยะอย่างมีนัยยะที่น่าสนใจอยู่จำนวนหนึ่ง

เฉพาะที่มีการสลักเป็นรูปประติมากรรมนั้น พบมากในพื้นที่บริเวณเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีการค้นพบประติมากรรมรูป “พระสุริยเทพ” จำนวนถึง 4 องค์เป็นอย่างน้อย (อันที่จริงแล้ว มีประติมากรรมรูปพระสุริยเทพที่อ้างว่า พบจากเมืองโบราณแห่งนี้อีกหลายองค์ แต่ในข้อเขียนชิ้นนี้จะขอนับเฉพาะองค์ที่มีที่มาที่ไปค่อนข้างชัดเจนเท่านั้น)

รูปพระสุริยะทั้ง 4 องค์นี้ เป็นประติมากรรมสลักหินลอยตัวทั้งองค์เหมือนกันทั้งสิ้น ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ภายในเมืองศรีเทพจะต้องมีปราสาท หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับประดิษฐานรูปพระสุริยะเหล่านี้อย่างต่ำก็ 4 หลัง

รูปพระสุริยะเหล่านี้สามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยที่ใกล้เคียงกันคือ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1100-1400 อันเป็นระยะเริ่มต้นของการรับวัฒนธรรมศาสนาจากชมพูทวีปเข้ามาในอุษาคเนย์เช่นเดียวกันทั้งหมด

จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยใจอยู่มากว่า ทำไมที่เมืองศรีเทพในยุคสมัยดังกล่าว จึงมีคติการนับถือพระสุริยะอยู่มากกว่าพื้นที่บริเวณอื่น?


@@@@@@@

ประติมากรรมลอยตัวรูปพระสุริยะที่พบในพื้นที่อื่นๆ ในดินแดนอุษาคเนย์นั้น ส่วนใหญ่จะพบเป็นองค์โดดๆ กล่าวคือ ในเมืองหนึ่งนั้นอาจจะพบเพียงองค์เดียว เช่น เมืองพระรถ จ.ชลบุรี หรือที่เขาพนมดา ใน ประเทศกัมพูชา เป็นต้น หลายเมืองไม่มีการค้นพบร่องรอยการนับถือบูชาพระสุริยเทพเลยด้วยซ้ำไป แถมหลายครั้งจะพบรูปพระสุริยะอยู่ร่วมกับกลุ่มเทวดานพเคราะห์ โดยถูกบูชาในฐานะของกลุ่มเทพเจ้าประจำดวงดาวทั้งหลาย ไม่ใช่การนับถือพระสุริยะอย่างเป็นเอกเทศ จึงแตกต่างไปที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในเมืองศรีเทพอย่างเห็นได้ชัด

และนั่นก็แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการนับถือพระสุริยเทพ ในเมืองโบราณแห่งนี้ที่มากพอสมควร จนทำให้มีการสันนิษฐานกันว่า เมืองศรีเทพเมื่อครั้งรุ่งเรืองนั้น มีนิกายเสาระ ซึ่งก็คือ นิกายที่นับถือพระสุริยะเป็นการเฉพาะรุ่งเรืองอยู่เลยทีเดียว

ประเด็นที่สำคัญก็คือ ในบรรดาประติมากรรมพระสุริยเทพที่ค้นพบที่เมืองศรีเทพนี้ มีอยู่องค์หนึ่งที่กรมศิลปากรขุดค้นได้จากปรางค์สองพี่น้อง ในตัวเมิองศรีเทพ โดยรูปพระสุริยะองค์นี้แต่งกายอย่างชนชาวต่างชาติทางตอนเหนือของอินเดียอย่างชัดเจน

และนอกเหนือไปจากนั้นยังมีหนวด และเครา ที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการแต่งกายอย่างชนชาวเอเชียกลาง



พระสุริยเทพ กรมศิลปากรขุดพบที่หน้าปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ ทรงเครื่องอย่างชนต่างชาติทางตอนเหนือของอินเดีย ต้องตรงตามที่คัมภีร์ดาราศาสตร์-โหราศาสตร์ ที่ชื่อ พฤหัสสังหิตา ระบุไว้ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่น่าสนใจด้วยนะครับว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เอเชียกลางนั้น มีคติการนับถือเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง เทพเจ้าแห่งไฟ และเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ คือพระสุริยเทพ เป็นสำคัญ จนทำให้ในตำราของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางฉบับถึงกับระบุถึงลักษณะของเสื้อผ้าหน้าผมของพระองค์อย่างละเอียดว่า พระสุริยเทพนั้นทรงเครื่อง (คือ แต่งกาย) อย่างชนต่างชาติทางตอนเหนือของชมพูทวีป (คือเอเชียกลาง) และสวมหมวกทรงกระบอกที่เรียกว่า กิรีฏมกุฏ

(และนี่ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าสำหรับสายตาของพ่อพราหมณ์ในอินเดียแล้ว พระสุริยเทพเป็นเทพที่มาจากภูมิภาคอื่น ซึ่งก็คือเอเชียกลาง จตามอย่างเครื่องทรงของพระองค์นั่นเอง)

ส่วนตำราพราหมณ์อินเดียบางฉบับที่อ้างว่าพระสุริยเทพทรงเครื่องอย่างชนชาวเอเชียกลางนั้น มีชื่อว่า “พฤหัสสังหิตา” ที่เรียบเรียงขึ้นโดยท่านวราหะมิหิรา เมื่อราว พ.ศ.1050-1100 ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นตำราดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์

(ดังนั้น จึงให้ความสำคัญเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องกับดวงดาว โดยเฉพาะพระสุริยะเป็นพิเศษจนถึงกับได้พรรณนารูปลักษณะการแต่งกายออกมา) ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวดวงดาว และท้องฟ้า ทั้งในอินเดีย เอเชียกลาง และเปอร์เซีย (คืออิหร่าน) ต่อมาอีกหลายร้อยปีเลยทีเดียว


@@@@@@@

รูปพระสุริยะที่กรมศิลปากรขุดได้จากหน้าปรางค์สองพี่น้ององค์นี้กำหนดอายุได้ไม่ห่างจากอายุของคัมภีร์พฤหัสสังหิตาไม่มากนัก

ประกอบการที่ประติมากรรมรูปพระสุริยเทพองค์นี้แต่งกายต้องตรงกับข้อความที่ระบุอยู่ในคัมภีร์ ก็ชวนให้คิดไปได้ว่า เป็นการสร้างตามรูปลักษณะของพระสุริยะที่ระบุเอาไว้ในคัมภีร์ดาราศาสตร์ ควบโหราศาสตร์ฉบับสำคัญอย่างพฤหัสสังหิตา

และนั่นก็ย่อมทำให้มีความเป็นไปได้ด้วยว่า นักปราชญ์ที่เมืองศรีเทพ (หมายรวมไปถึงเมืองในเครือข่ายอื่นๆ และรัฐขนาดใหญ่ในอุษาคเนย์ยุคโน้นทั้งหลาย) จะรู้จักตำราดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ฉบับสำคัญเล่มนี้

ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งว่า การปรากฏรูปพระสุริยะเป็นจำนวนมากที่เมืองศรีเทพนั้น จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มของผู้ใฝ่ใจค้นคว้าในดาราศาสตร์-โหราศาสตร์ อันเป็นศาสตร์ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกแทบจะไม่ออกในโลกโบราณ

และการศึกษาเรื่องราวการโคจรของดวงดาวเหล่านี้ ย่อมสัมพันธ์กันกับการนับและคำนวณเวลา โดยเฉพาะปฏิทินแบบสุริยคติ ที่ถือเอาพระอาทิตย์เป็นสำคัญ ต่างจากวิธีนับตามจันทรคติ ที่ถือเอาพระจันทร์เป็นใหญ่

ดังนั้น ความรู้สมัยใหม่ในยุคของการกำเนิดรัฐเริ่มแรกของอุษาคเนย์เมื่อหลัง พ.ศ.1000 อย่างปฏิทินแบบสุริยคตินั้นเอง ที่ทำให้ทั้งพระสุริยเทพ และวันมหาสงกรานต์ คือวันเปลี่ยนศักราชตามแบบของอินเดียกลายเป็นสิ่งที่สำคัญขึ้นมาในราชสำนักโบราณของอุษาคเนย์นั่นเอง •




 
ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 5 - 11 เมษายน 2567
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 4 เมษายน พ.ศ.2567
website : https://www.matichonweekly.com/column/article_759222
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เป็นหนี้ บวชไม่ได้ "พระกู้เงิน" ยิ่งผิดหลักพุทธ เจาะปัญหาเงินในวัด เมื่อ: เมษายน 07, 2024, 06:41:14 am
.



เป็นหนี้ บวชไม่ได้ "พระกู้เงิน" ยิ่งผิดหลักพุทธ เจาะปัญหาเงินในวัด

เจาะปัญหา “เงิน” กับ “วัด” นักวิชาการศาสนา ชี้ “เจ้าอาวาส” กู้เงินกับญาติโยม ผิดหลักพุทธ เพราะแค่เป็นหนี้ ก็บวชไม่ได้แล้ว...

กุฏฐัง – เป็นโรคเรื้อนหรือไม่

คัณโฑ – เป็นโรคฝีชนิดเป็นทั่วตัวหรือไม่

กิลาโส  – เป็นโรคกลากหรือไม่

โสโส – เป็นโรคมองคร่อ (มีเสมหะแห้งอยู่ในก้านของหลอดลม) 

อะปะมาโร – เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่

มะนุสโส้สิ๊ – เป็นมนุษย์ ใช่ไหม 

ปุริโส้สิ๊ – เป็นผู้ชาย ใช่ไหม

ภุชิสโส้สิ๊ – เป็นไทแก่ตัวเอง ใช่ไหม

อะนะโนสิ๊ – ไม่เป็นหนี้ใคร ใช่ไหม

นะสิ๊ ราชะภะโต – ไม่ใช่ข้าราชการที่ยังมีภาระต้องรับผิดชอบ ใช่ไหม 

อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ – บิดา มารดา อนุญาต ใช่ไหม

ปะริปุณณะวีสะติวัสโส้สิ๊ – อายุครบ 20 ปี ใช่ไหม

ปะริปุณณัณเต ปัตตะจีวะรัง – มีบาตรและจีวรครบ ใช่ไหม

ข้างต้น คือ คำถามอันตรายิกธรรม หรือ ธรรมอันตรายที่เป็นข้อห้าม 13 ข้อในการบวช โดยชายทุกคนที่ผ่านพิธีอุปสมบท ต้องตอบคำถาม ก่อนก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ และหนึ่งข้อจากทั้งหมดนี้ คือ คำถามที่ว่า อะนะโนสิ๊ “ไม่เป็นหนี้ใคร” อะมะ ภัณเต (ใช่ครับ)

และเมื่อมาย้อนดูข่าวดังในเวลานี้ก็พบว่า มีพระระดับเจ้าอาวาสวัดได้มีการกู้หนี้ยืมสินญาติโยม โดยอ้างว่าเอามาใช้จ่ายในวัด และเมื่อค้นดูตัวเลขการเงินในวัด พบว่า เป็นหนี้กว่า 30 ล้าน!! มีการใช้ “บัญชีส่วนตัว” ในการบริหารจัดการวัด ซึ่งเรื่องนี้ถือว่า “ผิดหลักการ” หรือไม่ การใช้จ่ายเงินในวัดควรเป็นอย่างไร ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้พูดคุยกับ ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านศาสนาและสังคม และอดีต ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.พระพุทธศาสนาแห่งโลก มาไขคำตอบ





การจัดการเงินในวัด

ดร.ทวีวัฒน์ กล่าวว่า โดยทั่วไปการจัดการเงินในวัดจะเป็นหน้าที่ของ “เจ้าอาวาส” ซึ่งถือเป็นเรื่องปฏิบัติทั่วไป ส่วนเงินทำบุญทั่วไปภายในวัดควรจะเข้าบัญชีของวัด โดยมี ไวยาวัจกร ฆราวาสที่ดูแลวัดและใกล้ชิดกับเจ้าอาวาส เป็นผู้ร่วมดูแลจัดการ ว่า “วัด” ขาดเหลืออะไรบ้าง ซึ่งนี่ก็คือตัวบุคคล ฉะนั้นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ “ความซื่อสัตย์” ของตัวบุคคล

อย่างไรก็ตาม หลักการในการจัดการเงินในวัดควรจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้น โดยมีตัวแทนเป็นเจ้าอาวาส พระลูกวัด ตัวแทนฆราวาสที่ใกล้ชิดกับวัด รวมถึงตัวแทนโรงเรียน เรียกว่า บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) มีตัวแทนฝ่ายสงฆ์ และฆราวาส มีการดูแลการเงินต่างๆ ภายในวัด ผ่านคณะกรรมการ... เป็นชื่อวัด ซึ่งเป็นองค์กร ไม่ใช่ชื่อบุคคล เพราะผ่านบัญชีส่วนบุคคลจะตรวจสอบยาก

กรณี กิจนิมนต์ การถวายปัจจัย นั้นถือเป็นการถวายโดยส่วนตัว แต่ทุกอย่างมันอยู่ที่เจตนาของผู้ถวายปัจจัย แต่ถ้าผู้ถวายอยากจะบำรุงวัด ซ่อมแซมวัด เจ้าภาพต้องระบุให้ชัดเจน หากเป็นค่าสาธารนูปโภค ก็ควรเข้าบัญชีวัด....

ใช้บัญชีเจ้าอาวาสวัด “จัดการวัด” แต่ไม่เหมาะ...

การเปิดบัญชีส่วนตัวของพระ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะพระก็เหมือนบุคคลทั่วไป เพียงแต่เวลาจะเปิดบัญชี เจ้าหน้าที่ธนาคารจะขอดูใบสุทธิ อย่างไรก็ตามหากแต่จะใช้บัญชีพระรูปเดียวจัดการการเงินภายในวัด แม้จะอ้างว่าเพื่อความสะดวก มันก็พอรับฟังได้ เพียงแต่สิ่งที่ทำนั้นไม่เหมาะสม นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยได้

“หากเป็นวัดเล็กๆ มันก็รับฟังได้ เพราะเงินที่เข้ามาในบัญชี มันอาจจะไม่เยอะมาก และเพื่อจะนำเงินนั้นออกมาจัดการได้ เพียงแต่มันเป็นบัญชีบุคคล มันจะตรวจสอบได้ยาก แต่หากเป็นวัดใหญ่ๆ เงินเข้าหลักล้าน ถึงร้อยล้าน ก็ควรที่จะจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ เพื่อความโปร่งใส”

เมื่อถามว่า หากวัดวัดหนึ่ง “ขาดสภาพคล่อง” ทางการเงินจะมีการแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง พระกู้เงินได้หรือไม่ ดร.ทวีวัฒน์ ตอบว่า พระกู้เงินไม่ได้ เพราะแค่คำสวดตอนบวชที่ถามว่า “ไม่เป็นหนี้ใช่ไหม” ซึ่งหากว่าคนที่จะมาบวชนั้น “เป็นหนี้” หรือ “เคลียร์หนี้” ไม่หมดนั้น จะไม่สามารถบวชได้ สาเหตุเพราะหากห่มผ้าเหลืองไปแล้ ปรากฏว่ามี “เจ้าหนี้” มาทวงเงิน มันก็จะดูไม่งาม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาว่า “คนเป็นหนี้ห้ามบวช” แต่หากเคลียร์หนี้แล้วมาบวชก็อีกเรื่องหนึ่ง...

“วัดจะกู้เงินเพื่อสร้างโบสถ์วิหาร นั้นมันเป็นสิ่งที่ขัดกับเจตจำนงในแบบพุทธ ที่เริ่มต้นจากความศรัทธา ที่สำคัญคือสมัยก่อน (ตั้งแต่สมัย ร.5) พระจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการก่อสร้าง เพราะหลักการคือ หน้าที่ของพระคือ ศึกษาและปฏิบัติธรรม เมื่อมีความรู้ด้านธรรมแล้วก็เอาความรู้เหล่านั้นมาสั่งสอนประชาชน เมื่อพระทำหน้าที่นี้แล้วประชาชนเกิดความเลื่อมใส ประชาชนก็จะช่วยกันสร้างสำนักสงฆ์ หรือวัด โดยมีประชาชนเป็นคนระดมทุนเอง อำนวยความสะดวกกับปัจจัย 4”

การที่พระจะมากู้เงินเพื่อสร้างโบสถ์ วิหารให้สวยงามใหญ่โต มันเป็นเรื่องผิดหลักการ เพราะการจะพัฒนาวัดให้เหมาะสม มันควรจะมาจากความเห็นของประชาชน และชุมชน และเล็งเห็นว่าวัดมีสถานที่ไม่เพียงพอ ขาดแคลน “เสนาสนะ” ไม่ใช่ว่า “เจ้าอาวาส” เห็นว่า “เสนาสนะ” ไม่เพียงพอ แล้วเจ้าอาวาสจะไปกู้เงิน จะมากู้ธนาคาร เขาคงไม่เห็นด้วย เพราะ “พระ” ไม่มีแหล่งรายได้สม่ำเสมอ กู้นอกระบบ กู้ญาติโยม ก็จะผิดวัตถุสงค์





การคอร์รัปชันในวัด กับแนวทางการแก้ไข บ้าน วัด โรงเรียน ต้องร่วมมือ

ทีมข่าวฯ ถามถึงปัญหาการยักย้ายถ่ายเทเงินในวัด และการคอร์รัปชันในวัด รวมถึงการยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่ายของวัด ซึ่งบางวัดได้ยื่น บางวัดก็ไม่ยื่น เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาให้ความเห็นว่า “ผมคิดว่า ถ้าทางการไปตรวจสอบ ก็อาจจะเจอปัญหาความโปร่งใส แต่ถ้าให้ชุมชนร่วมตรวจสอบ จะเกิดความชัดเจนมากกว่า

คนที่ใกล้ชิดวัด และพระ จะตรงวัตถุประสงค์หรือไม่ ชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์อันดีกับวัด จะรับรู้มากกว่า ส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะดีกว่าตัวแทนของสำนักพุทธฯ เข้าไปตรวจสอบ

ฉะนั้น ความสัมพันธ์ของ บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน บ้านกับโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับวัดลดลง ในขณะที่วัดมีมากขึ้น

เมื่อถามว่า เราควรออกกฎหมายในการตรวจสอบวัดหรือไม่ ดร.ทวีวัฒน์ มองว่า อาจเป็นเรื่องที่ยิบย่อยเกินไป โดยหลักแล้วหน่วยงานราชการก็น่าจะตรวจสอบได้อยู่แล้ว





ชาวพุทธยึดติด เงินกระจุกตัว

ทีมข่าวฯ ถามว่า เพราะอะไร “เงิน” ถึงไปกระจุกอยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งแทนที่เป็นบัญชีวัด ดร.ทวีวัฒน์ ยอมรับว่า ชาวพุทธเรานั้นมีหลายแบบ บางคนก็ยึดติดกับตัวบุคคลมากกว่าหลักธรรมคำสอน

และที่สำคัญคือ “กำลังทรัพย์” คนกรุงเทพฯ มีเงินมากกว่าคนต่างจังหวัด ดังนั้นเวลาจะบริจาคเงินทำบุญก็มักจะเลือกวัดหลวง วัดดัง และที่สำคัญคือ บางวัดก็เลือกที่จะแสวงหาผลประโยชน์ เช่น การใช้วัดเป็นที่จอดรถ สร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับวัด, บางวัดทำวัตถุมงคล กลายเป็นพุทธพาณิชย์ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่วัดทั่วประเทศมีรายได้เงินหมุนเวียนมากกว่า 4 แสนล้าน

“เงินที่บริจาคเข้าวัด มันควรจะมาจากศรัทธาที่แท้จริงจากสาธุชนที่เห็นการปฏิบัติของวัดแล้วรู้สึกศรัทธา นำเงินมาสร้างเสนาสนะให้ ดีกว่า “พระ” ขายวัตถุมงคล เรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน การเรี่ยไรไม่ควรมาจากพระ ควรมาจากประชาชนที่ศรัทธา”

เราควรตรวจสอบวัดที่เข้มข้นกว่านี้หรือไม่... ดร.ทวีวัฒน์ มองว่า อาจเป็น “ดาบสองคม” เพราะพระบางรูปอาจจะไม่เจตนาในการกระทำผิดในเรื่องการบริหารจัดการการเงิน เพียงแต่ท่านไม่ค่อยมีความรู้ด้านบัญชี การใช้จ่ายผิดประเภทไปบ้าง




หากตรวจสอบเข้มข้นจริงๆ เชื่อว่าพระเกือบจะทุกวัด อาจถูกจับเข้าคุกได้ จากนั้นมันจะสะเทือนศรัทธาของชาวบ้านด้วย

กลับกันถ้ามีการตรวจสอบวัดแบบหละหลวมจะเกิดอะไรขึ้น กูรูด้านศาสนายอมรับว่า วัดเองก็ต้องปรับตัว โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเงินในวัด ทางวัดควรจะมี “นักบัญชี” ของวัดมาร่วมด้วย หากเราคิดว่า “วัด” เป็นแบบนิติบุคคล หรือบริษัท เถ้าแก่จะทำทุกอย่าง หรือทำบัญชีไม่เป็น ใช้เงินแบบปะปนกันไปหมด หากมีการจัดการบัญชีถูกต้อง ถูกต้องประเภท ทุกอย่างโปร่งใส

หากอยากจะแก้ปัญหาเรื่องเงินในวัด จึงจำเป็นต้องมีนักบัญชีคอยดูแล และอาจจะมีคนคอยตรวจสอบบัญชีเข้ามาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือตามเกณฑ์

“เราต้องดูเรื่องนี้ให้ดี เพราะที่ผ่านมามีข่าวว่ามีคนต่างศาสนาพยายามเข้ามาบั่นทอนศาสนา..”

ทีมข่าวฯ ถามย้ำว่า มีกระบวนการนี้จริงหรือไม่ ดร.ทวีวัฒน์ ไม่ยืนยัน แต่เท่าที่ติดตามข่าว คาดว่า “อาจจะ” มีจริง มีความพยายามดิสเครดิตศาสนาพุทธ วัดพุทธ โดยเฉพาะ “เกจิ” ชื่อดัง โดยการใช้ “นารีพิฆาต” บางเคสมีการวางแผนใส่ร้ายป้ายสีพระ แต่เมื่อเป็นข่าวแล้วคนก็จะเชื่อ และถูกด่าทอพระจนเสียคน เรื่องนี้เราต้องระมัดระวังด้วย

                                       ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/culture/2776124
5 เม.ย. 2567 , 06:16 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Culture > ไทยรัฐออนไลน์
หน้า: [1] 2 3 ... 556