ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 4 จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า หายใจออก  (อ่าน 5374 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
        กายสังขารเป็นไฉน ?
        ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด
       บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออกศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด
       บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้
       ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ
       ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ
       อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ
       อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ
       และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า
       บุคคลศึกษาอยู่ว่าจักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้
       ความได้ลมก็ปรากฏ
       ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ
       อานาปาณสติก็ปรากฏ
       อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ
       และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น
      ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย
      นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ
      เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย นึก
      ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้
      ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนาคือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2011, 12:31:00 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ลมหายใจใด เป็นเพื่อการการตกแต่ง ประคองกาย จะยาวก็ดี จะสั้นก็ตาม จะปรากฏขึ้น ก็เป็นเพียงส่วนกาย

เรียกว่า กายสังขาร คือปรุงแต่งส่วนกาย

 เมื่อปรุงแต่งส่วนกาย ก็ย่อมให้ทำให้เกิด

  ความอ่อนไป

     ความน้อมไป
   
     ความเอนไป

     ความโอนไป

     ความหวั่นไหว

     ความดิ้นรน

     ความโยก

     ความโคลงแห่งกาย


  ทั้งหมดเรียกว่า มีผลจาก กายสังขาร เพราะปรุงแต่ง ลมหายใจเข้า หายใจออก เพื่อกาย

  หายใจเข้ากำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น

  หายใจออกกำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น

  เมื่อกายสังขารเกิดขึ้น จึงรู้ด้วยสติว่า กายสังขาร ที่ไม่สามารถสงบระงับ เป็นทุกข์ เพราะให้ผล คือ

    ความอ่อนไป

     ความน้อมไป
   
     ความเอนไป

     ความโอนไป

     ความหวั่นไหว

     ความดิ้นรน

     ความโยก

     ความโคลงแห่งกาย


  พระโยคาวจร พึงมีสติรู้ดังนี้ จึงทำ กายสังขาร ให้สงบระงับก่อน เพราะหาก กายสังขาร ไม่สงบระงับได้

 ก็จักยุ่งอยู่แต่ กาย เท่านั้น ไม่สามารถภาวนาทะลุไปยัง นามกายที่แท้จริง ได้ดังนั้น ความได้ลม ก็คือ ได้

  นิมิต เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดเพื่อสงลระงับ กายสังขาร

   การกำหนด นิมิต มี 4 ประการ

     1. คณนา นับ นิดหน่อย จน ถึง นับยาว

     2. อนุพันธนา ติดตามลมหายใจเข้า หายใจออก

     3. ผุสนา กำหนดจุดกระทบ ของลมหายใจเข้า และ หายใจออก

     4. ฐปนา ตั้งฐานจิตไว้ในส่วนที่จุดกระทบ ส่วนเดียว หรือ ทุกส่วน


   ในส่วนนี้ มีบรรยายในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เรียกว่า การกำหนดที่ตั้งฐานจิต อานาปานสติ 9 จุด

เป็นการกำหนดนิมิต ทั้ง 4 ตามสภาวะธรรมของ ผู้ภาวนา


   เจริญธรรม

    ;)






บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้าสั้น ลมที่หายใจออกสั้น ย่อมเป็นลมที่หยาบ สามารถกำหนดได้

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ตีขณะนั้นเสียงย่อมดัง... เมื่อได้ยินย่อมกำหนด จิตได้ง่าย

เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้ายาว ลมหายใจที่ออกยาว ย่อมเป็นลมหายที่เริ่มละเอียด สามารถกำหนดได้ยากขึ้น

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ตีแล้วเสียงยังกังวานอยู่ชั่วขณะ...เมื่อได้ยินย่อมกำหนด จิตได้อยู่

เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้ายาว เข้าสั้น ลมหายใจออกยาว ออกสั้น ด้วยการปรับลมหายใจให้ละเอียดเพิ่มขึ้น ย่อมสามารถกำหนดลมได้ยากยิ่งขึ้นเพราะลมไม่เสมอกัน

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ดังเพราะแรงเบา หนักต่างกัน การกำหนดจิตจึงมีความละเอียดยิ่งขึ้น

เมื่อบุคคลเจริญ ลมหายใจเข้า และออก ด้วยอาการสงบระงับ กายสังขาร ทั้งปวงลง จิตย่อมกำหนดยากยิ่งขึ้น

 เปรียบเสมือน กังสดาล ที่เสียงดับแล้ว ไม่มีเสียง หรือมีเสียงแผ่ว ก่อนจะหาย

 ดังนั้น อะไรเป็นเครื่องกำหนดจิตที่ละเอียด ก็คือ ความจำในเสียง ที่ยังปรากฏในจิตว่่าเสียงนี้เป็นอย่างนี้

 ดังนั้น พระโยคาวจร พึงกำหนดนิมิตคือลม ลักษณะอันปรากฏเป็นอุคคหนิมิต เป็นอารมณ์
 พึงกำหนด ปฏิภาคนิิมิตเป็นอารมณ์ เพราะจิตย่อมจำนิมิตในลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ย่อมรู้ตัวทั่วพร้อม
 ขณะนั้นว่า กายสังขาร คือ รูปกาย และ นามกาย ได้สงบระงับลง หายใจเข้า และ หายใจออก

 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กาย เป็นเครื่องเหตุให้ เวทนา เกิด เพราะมีกาย จึงมี เวทนา

แต่ทำไม กล่าวว่า อวิชชา เป็นเหตุให้เกิด เวทนา ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเราได้ยิน เสียงกังสดาล ดังขี้น ในขณะนั้น สัญญา จำได้ หมายรู้ขณะนั้น ย่อมจดจำเสียงได้ เมื่อเสียงอื่นดังขึ้นมา เราย่อมสามารถกำหนดเสียง กังสดาลได้

ถ้าเราสามารถกำหนดสติตาม รูปกาย และ นามกาย ทั้งสองได้อย่างแม่นยำ เราย่อมรู้ด้วยสติ ขณะนั้นย่อมจำแนกรูปกาย และ นามกาย ได้

 ผมลองวิจารณ์ตาม ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ครับ

  :25:

บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เวทนา มีเพราะ มีผัสสะ

ผัสสะ  มีเพราะ มีอายตนะภายในและภายนอก

อายตนะ มีเพราะ มีเพราะวิญญาณ

วิญญาณ มีเพราะ มีนามรูป

นามรูป มีเพราะ มีสังขาร

สังขาร มีเพราะ มีอวิชชา


อวิชชา มีเพราะ มีความไม่รู้ อยู่ 8 เรื่อง

    1.ไม่รู้ในทุกขสัจจะ

    2. ไม่รู้ในสมุทัยสัจจะ

    3. ไม่รู้ในนิโรธสัจจะ

    4. ไม่รู้ในมรรคสัจจะ

    5. ไม่รู้ในอดีต

    6. ไม่รู้ในอนาคต

    7. ไม่รู้ในปัจจุบัน

    8. ไม่รู้ในอิทัปปัจจยตา

 เวทนา คือ ความทุกข์ สุข ไม่สุขไม่ทุกข์ เกิดขึ้นเพราะมีเรา ที่รับว่า มีเรา เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา เพราะไม่รู้ใน อวิชชาทั้ง 8 จึงทำให้เ้วทนาิเกิด และเวียนกลับมาสุ่จุดเริ่มต้น ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ในวัฏฏจักร นี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

  คำอธิบายส่วนนี้ จะทำให้ กระจ่างด้วยปริยัติมิได้ ต้องภาวนา จริง ๆ และเห็นจริง ในการภาวนา นะจ๊ะ

ถึงจักแจ่มแจ้งได้

 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ