ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ  (อ่าน 9619 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2010, 02:52:11 pm »
0
อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ

พวกผมลองโหลด ไฟล์เสียงเรื่อง มโนมยิทธิ บรรยายโดย อ.คณานันท์

ได้ยินคำว่า อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย บ่อยมาก

ผมลองค้นใน พระไตรปิฏก คอมพิวเตอร์ ก็ไม่เจอคำนี้ครับ

คำนี้ หมายถึง กายทิพย์ หรือป่าวครับ

และ กายทิพย์ คืออะไรครับ

เขียนถามเอง ก็ยัง งง เองเลยครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2010, 09:46:17 am »
0
วิญญาณในขันธ์ 5 แตกต่างจากจิต หรือ อทิสมานกาย
หัวข้อ 1. ดัดจาก : พระอภิธรรมปิฎก หมายถึงอะไร
http://www.agalico.com/board/archive/index.php/t-26780.html


6) อภิธรรมหมวดนี้ อธิบายถึงรูปร่างกาย คนสัตว์ เทพ พรหม ที่มีจิตไปเกิดเป็นรูปตามภพภูมิสูงต่ำต่างๆกัน ท่านกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดมีรูปแตกต่างตามระดับชั้นสูงต่ำ ตามบุญตามบาป สรุปแล้ว รูปร่างกายคนสัตว์ เทพ พรหม ก็เกิดจาก อวิชชา ตัณหา กิเลส อุปาทาน บาป บุญ รูปคนสัตว์ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ

ธาตุ 4 มีนามสิ่งที่ตามองไม่เห็นอีก 4 อย่าง คือ เวทนา สัญญาความจำ สังขารความคิดปรุงแต่ง วิญญาณความรู้สึกระบบประสาททั้งร่างกาย มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้น ทั้งหมดเรียกว่า ขันธ์ 5

คือ รูป1และนาม 4 มีเฉพาะในคนและสัตว์เท่า นั้นมีจิตอยู่ในรูปคน สัตว์ เรียกว่านามอยู่ในรูป

ส่วนผี เทวดาพรหมสัตว์นรกมีรูปอยู่ในนามหรือรูปอยู่ในจิต สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัมภเวสีวิญญาณร่อนเร่พเนจร มีนามกายหยาบ นามกายนรกอยู่ในจิตที่สกปรก ทำบาปหาความสุขจากความทุกข์ผู้อื่น ตาคนมองไม่เห็น ไม่มีธาตุ 4 แต่มีจิตครองอยู่ในนามกายเสวยความทุกข์ตลอดเวลาจนกว่าจะหมดบาปกรรมที่เคยทำ ไว้

เทวดาทั้ง 6 ชั้น ก็มีนามกายเป็นทิพย์สวยสดงดงามไม่เท่าเทียมกัน มีรัศมีกายตามขั้นของบุญบารมีที่ทำไว้ตอนเป็นมนุษย์ รูปเทพพรหมที่มีความเป็นทิพย์งดงามเรียกว่ารูปทิพย์อยู่ในนามอยู่ในจิต ตาคนเรามองไม่เห็นแม้จะใช้กล้องจุลทัศน์ขยายล้านเท่าก็มองไม่เห็น


เพราะรูปทิพย์ท่านละเอียดยิ่งกว่าอากาศ รูปทิพย์ท่านเป็นนามธรรมเรียกว่า อาทิสมานกาย ดังนั้นจิตของเราท่าน ต่างก็มีรูปลักษณะต่างกันตามขั้นความดี ความสะอาด ตามบุญวาสนาบารมีที่ตั้งใจทำความดีไว้ มีสุขเวทนาอย่างเดียว
.......................

ผีและสัตว์นรก ที่มีนามกายหยาบท่านก็เรียกว่าอาทิสมานกายเป็นกายที่อยู่ในจิตอีกที เสวยความทุกข์อย่างเดียว เรียกว่า ทุกขเวทนา

อรูปพรหมไม่มีอาทิสมานกายมีความสุขไม่มีรูปทิพย์กายทิพย์คิดว่าสุข มีแต่จิตเป็นนามธรรมเสวยสุขโดยไม่ต้องมีรูปลักษณะของจิตเป็นความว่างเฉยๆ เมื่อไม่มีรูปทิพย์จึงไม่มีอายตนะทิพย์ที่จะติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่สามารถรับฟังพระธรรมคำสอนจากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ พอหมดบุญจากอรูปพรหมก็ต้องเกิดเป็นคนอีก ยังไม่พ้นทุกข์.........

สรุปข้อ 6 ในพระอภิธรรมปิฎก

1. วิญญาณในขันธ์ 5 คือ ความรู้สึกระบบประสาททั้งร่างกาย มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

2. จิตมีกายซ่อนอยู่เรียกว่า อาทิสมานกาย




หัวข้อ 2. คัดจากการเจริญพระกรรมฐาน: สมถภาวนาและวิปัสสนาภวนา


http://www.sangthipnipparn.com/lukta...rakamatan.html


วิปัสสนาพระท่านสอนไว้มี 3 แบบ คือ

..... 1.2 ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความสูญสลาย ดับไปของร่างกาย ความคิด ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ความรัก ความเจ็บปวด (วิญญาณ)ความรู้สึกประสาททั้ง 6 เป็นของร่างกาย ไม่ใช่จิตดับ เป็นเพียงวิญญาณระบบประสาทตาย

2. วิปัสสนาโดยการตั้งจิตให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร

4) ธรรม คือ การพิจารณาให้เห็นว่ารูป ร่างกาย นาม คือ ความรู้สึก ความจำ ความคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นทุกข์ แปรปรวน และเสื่อมสลายตลอดเวลา มีวิญญาณคือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต ไม่ควรเอาจิตสนใจกับอายตนะทั้ง 6 นั้น ถ้าจิตไปสนใจกายหรือวิญญาณ (อายตนะทั้ง 6) ก็มีแต่ความทุกข์ใจ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด



วิปัสสนาแบบในพระไตรปิฏก ที่มีมาในขันธวรรค

พิจารณาขันธ์ 5 คือร่างกาย ความคิด ความจำ เวทนา ความรู้สึกทุกข์หรือเฉย ๆ วิญญาณในขันธ์ 5 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่ใช่จิตใจตามแบบที่คนทั่วไปคิด วิญญาณ(ในขันธ์ 5)ไม่ใช่จิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็น นาย จิตเป็นนายของวิญญาณ คือความรู้หนาวรู้ร้อนหิว กระหาย เผ็ดเปรี้ยว นุ่มนิ่ม แข็งกระด้างเป็นวิญญาณ ใจคืออารมณ์ พระองค์สอนว่าทั้ง 5 อย่างนี้ ไม่ใช่ตัวเราเป็นของปลอม เป็นสมบัติของโลก ของธรรมชาติ

พระพุทธองค์สอนว่า ให้เอาจิต ยอมรับนับถือกฎธรรมดาของร่างเราเอง อะไรจะเกิดขึ้น เจ็บป่วยใกล้ตายก็ยิ้มรับเพราะรู้แล้วว่า เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น แต่ความจริงนั้น ร่างกายตายแต่ตัวนอก ตัวในคือ กายในกาย พระท่านเรียกว่า อทิสมานกาย อทิ สมานากาย คือ กายที่มองไม่เห็นโดยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยจิตที่สะอาด ปราศจากกิเลส เศร้าหมอง กายนอกคือขันธ์ 5 พระท่านสอนไว้ว่าอย่าสนใจกายนอก คือ กายเนื้อ กระดูก เลือด ที่เหม็นสกปรกทุกวัน เหมือนซากศพเคลื่อนที่ พระท่านว่าอย่าสนใจกายเนื้อ สนใจกับมันมากก็ทุกข์ใจมาก สิ่งที่ท่านให้เราสนใจพิจารณาดูมาก ๆ คือ กายในกาย เรียกว่า อทิสมานกาย หรือจิตอันเดียวกันนั้นจริง ๆ

เราก็คือจิตหรืออาทิสมานกายมาอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 หรือกายเนื้อชั่วคราว เพื่อ

1. รับผลบุญ ผลบาป ผลกรรมจากอดีตชาติ
2. เพื่อตอบแทนท่านผู้มีพระคุณที่เลี้ยงเรามา ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่
3. เพื่อปฏิบัติ จิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พ้นจากวงกลมเวียนว่ายตายเกิด ไปเสวยสุขแดนทิพย์ อมตะ นิพพาน ตราบใดที่จิตยังไม่เข้าถึงแดนทิพย์นิพพาน จิตก็แสวงหาที่เกิดใหม่ เป็นเทพเทวดา นางฟ้า เป็นคน เป็นสัตว์นรก เป็นผีสลับกันไป เนื่องจากผลกรรมดี กรรมชั่ว เราเองเป็นผู้สร้าง



ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ก็ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่มีจิตเป็นทิพย์ มีสมาธิสูง มีความรู้พิเศษ คือ ทิพจักขุญาณ มีญาณความรู้วิเศษจากผลของสมถะ มีประโยชน์มากในวิปัสสนาญาณ เป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในการเกิด รู้ใจผู้อื่น อารมณ์ดี จิตดีหรือชั่ว จะเห็นกายในกายของตนเองและผู้อื่นได้ดี เป็นเจโตปริยญาณ จะช่วยแก้ไขตัดกิเลสได้ง่าย

กายในกาย(อทิสมานกาย เรียก สั้น ๆ ว่า จิต) แบ่งเป็น ๕ ขั้น

1. กายอบายภูมิ รูปกายในกายซูบซีด ไม่ผ่องใส เศร้าหมอง อิดโรย ได้แก่ กายของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่นสัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน
2. กายมนุษย์ เป็นคนแตกต่าง สวยสดงดงามไม่เท่ากัน ร่างกายเป็นมนุษย์ชัดเจนเต็มตัว
3. กายทิพย์ กายในกาย ผ่องใส ละเอียดอ่อน เป็นเทพ รุกขเทวดา อากาศเทวดา มีเครื่องประดับมงกุฏแพรวพราว ได้แก่กายของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
4. กายพรหม ลักษณะกายในกายคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่าใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ได้แก่ กายของพรหม ท่านมีฌานอย่างต่ำปฐมฌานสูงถึงฌาน 4 สมาบัติ 8 มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ
5. กายแก้วหรือกายธรรมหรือพระธรรมกาย แบบที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านสอนไว้ กายในกายของท่านที่เป็นมนุษย์แต่จิตสะอาด ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดอวิชชา ฉลาดสว่างไสว เป็นกายของพระอรหันต์จะเป็นกายในกายของท่าน เป็นประกายพรึก ใสสะอาด สว่างยิ่งกว่ากายพรหมเป็นแก้วใส


การรู้อารมณ์จิตตนเองมีประโยชน์มาก ในการคอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้าย กิเลสและอุปกิเลสของเราไม่ให้มาพัวพันกับจิต ยิ่งฌานสูง จิตก็ยิ่งสะอาดสามารถตัดกิเลสได้ง่าย อย่าคิดว่าสมถะไม่สำคัญ แม้พระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็เป็นผู้เลิศด้วยอานาปานุสสติ เพื่อระงับทุกข์ของร่างกาย เพื่อความเป็นอยู่สุข แม้ ท่านปรินิพพาน พระพุทธองค์ก็เข้าฌาน 4 และจิตออกจากกายด้วยฌาน 4 เคลื่อนจิตบริสุทธิ์ของพระองค์ท่านเสวยสุข อมตะ พระนิพพาน ผู้ที่มีสมาธิจิตถึงฌาน 4 ก็สามารถสัมผัสถึงพระองค์ได้ ปัจจุบันนี้ท่านไม่สูญสลายหายไปไหน แม้ปรินิพพาน นาน 2542 ปีล่วงมาแล้ว พระองค์ ยังส่งกระแสจิตที่เป็นอภิญญาช่วยโลกตลอดเวลาด้วยพระเมตตาคุณ หาที่สุดมิได้ กลับมาคุยเรื่อง อริยสัจ 4 ต่อ ข้อ 3 ด้วย


.....4. มรรค คือทางเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สะอาดสว่างของจิตอาทิสมานกาย กายภายใน มรรค 8 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ทางปฏิบัติ แบบสบาย ๆ สายกลาง ไม่ขี้เกียจจนเกินไป ไม่ขยันจนเกินไป ไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป คือ................

สรุป

1. กายในกาย(อทิสมานกาย) คือ จิต

2. มรรคคือ ทางเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สะอาดสว่างของจิต(อทิสมานกาย)

3. วิญญาณในขันธ์ 5 คือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็นนาย จิตเป็นนายของวิญญาณ

ที่มา  http://larnbuddhism.com/webboard/forum8/thread2021.html
โพสต์โดยคุณ พลศักดิ์ วังวิวัฒน์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2010, 09:57:37 am »
0
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมหายาน
ทฤษฎีเรื่องตรีกายคืออะไร


          มหายาน ในระยะแรกเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีเพียง 2 กาย คือ ธรรมกาย ซึ่งหมายถึงพระคุณของพระพุทธองค์ ได้แก่ พระเมตตาคุณ พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ นอกจากธรรมกาย ก็มี นิรมาณกาย หมายถึง กายเนื้อในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ มหายานได้แต่งเติมเพิ่มอีกกายหนึ่งเข้าไปคือ สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์ที่สำแดงให้ปรากฏเฉพาะ พระโพธิสัตว์ พระกายนี้เป็นสภาวะทิพย์มีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป พระองค์ยังทรงสดับคำสวดมนต์ของเรา แม้จะดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
          ในความเห็นของฝ่ายมหายานนั้นพระพุทธเจ้าเป็นทิพยภาวะ มีภาวะความเป็นอยู่คู่กับโลกเสมอ อย่าคิดว่าการปรินิพพานของพระพุทธองค์เป็นภาวะขาดศูนย์โดยสิ้นเชิง การปรินิพพานของพระองค์เป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้านั้นเป็นอนาทิ เป็นอนันตะ ด้วยความเชื่อดังกล่าวพระพุทธเจ้าของมหายานจึงปรากฏมีพระกาย ๓ ลักษณะ ซึ่งเรียกกันว่า ตรีกาย คือ

          1. สัมโภคกาย คือพระกายที่เป็นทิพยภาวะ ประทับอยู่ ณ พุทธเกษตรของพระองค์ ทรงแสดงพระสัทธรรมอยู่ในแดนอื่นๆ พระพุทธเจ้าอาจมาปรากฏพระองค์แก่มนุษย์ได้ ในคัมภีร์ปัญจวีสติ มีอธิบายว่า หลังจากที่พระโพธิสัตว์เจ้าถึงพุทธภูมิโดยการปฏิบัติตามบารมีทั้ง 6 จึงมีอวัยวะใหญ่ครบ 32 และมีอวัยวะเล็กๆ อีก 80 แล้วทรงแสดงมหายานสูตรแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและทรงปลูกไว้ซึ่งความปีติ ยินดีและความเมตตาลงในจิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น สัมโภคกายดำรงอยู่เพื่อช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ที่ปฏิบัติผ่านทสภูมิแล้ว เป็นกายที่อยู่ระหว่างธรรมกายและนิรมาณกาย ดำรงอยู่นิรันดร พ้นจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกายที่มีอยู่ก่อนนิรมาณกาย และมีอยู่หลังปรินิพพานของนิรมาณกาย

          2. นิรมานกาย คือพระกายที่พระองค์นิรมิตขึ้นมา เป็นพระกายเนื้อที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ เช่น ความทรุดโทรมด้วยความชรา และความดับขันธ์ เป็นต้น เป็นพระกายที่ทรงนิรมิตมาเพื่อบำเพ็ญพุทธกิจ คัมภีร์ปัญจวีสติ แสดงว่า พระโพธิสัตว์หลังจากได้รับธรรมจากการปฏิบัติบำเพ็ญบารมีจนได้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงสามารถเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ได้ทุกที่ทุกแห่งด้วยนิรมเมฆหรือ นิรมานกาย นั่นเอง
(Nalinaksha Dutt, Mahayana Buddhism, Fimma KLM Paivate Limited, Zculctta: 1976) หน้า 159)

          3. ธรรมกาย ตามคติมหายาน ธรรมกายเป็น กายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นแก่นแท้ เป็นสัจจธรรม ที่ดำรงอยู่ไม่มีวันสลาย ธรรมกายจัดเป็นนิจจัง สุขขัง ศูนยตา และบริสุทธิ์ อีกทั้งธรรมกายยังสัมพันธ์กับเรื่องราว ของ ตถาคตครรภ์ ,พุทธภาวะ และรัตนทั้งสาม คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ

          อีกความหมายหนึ่งคือความตรัสรู้ธรรมคือพระนิพพานนั่นเอง “ ธรรมกาย ” หมายถึง พระคุณทั้งหลายของพระพุทธองค์ อันมีพระเมตตาคุณ , พระกรุณาธิคุณ , พระปัญญาคุณ ซึ่งมีรัศมีแผ่กว้าง แผ่คลุมไปโดยทั่ว ไร้เงื่อนไขและไร้ซึ่งข้อจํากัดใดๆ ทั้งปวง เป็นสภาวะอมตะ ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีท่ามกลางและไม่มีที่สุด

          พระธรรมกาย เป็นพระนิรันดรกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระโพธิญาณซึ่งปรากฏอยู่ทุกแห่งหน พระธรรมกายนี้อยู่เหนือกาลเทศะ ไม่อยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์ พระธรรมกายนี้ทรงไว้ซึ่งอันติมภาพอย่างสัมปุรณะ ย่อมอยู่เหนือความเข้าใจและความคาดคะเนของสามัญมนุษย์ ซี่งรับรู้ไม่ได้ ที่มาของพระนิรมานกาย และพระสัมโภคกาย โดยที่พระรูปกายทั้งสองต้องขึ้นอยู่กับพระธรรมกายนี้


อ้างอิง
         สารัตถธรรมมหายาน, พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเจี่ยว), วัดมังกรกมลาวาส, พ.ศ. ๒๕๑๓.
         http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?start=30&t=7945
         http://www.pachapati.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=54

ขอขอบคุณ
http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana13.htm



สำหรับอาภิสมานกาย ผมหาไม่เจอเหมือนกัน

ขอแนะนำให้ไปถาม อ.คณานันท์ ที่เว็บพลังจิต

อย่างไรก็ตามมีผู้ให้ความหมายของคำว่า อทิสมานกาย ไว้ว่า "ไม่มีกายปรากฏ"

อยู่ในลิงค์นี้ครับ http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006130.htm


 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาทิสสมานกาย อาภิสมานกาย คืออะไรครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2010, 10:18:55 am »
0
ขอบคุณมากๆ ครับ

กับคำแนะนำ

ผมถามไปใน larndham ยังไม่ตอบเลย


ดีใจจัง

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า