ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มารแกล้งพระพุทธเจ้าได้  (อ่าน 3199 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เมตตา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • ขอให้ทุกชีวิต จงเป็นแต่ผู้มีความสุข เถิด
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
มารแกล้งพระพุทธเจ้าได้
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 11:33:47 am »
0
ข้อความใน ธ.อ. 3/367 ขุ. ธ. ข้อ 25

  ณ บ้านพราหมณ์ ปัญจศาลา พระพุทธเจ้าเสด็จเข้า บิณฑบาต มารกลั่นแกล้งดลใจ ไม่ให้ชาวบ้านใส่ บาตร

พระพุทธเจ้า เพราะเหตุต้องการขัดขวางไม่ให้พระพุทธเจ้าได้ ภัตร

  ขณะนั้นเด็กหญิงจำนวน 500 คนกลับจากเล่นน้ำถึงประตูพระนคร

 ซึ่งมีข้อความกล่าว อานุภาพของ ปีติ ดังนี้


   มารถามว่า

     แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านยังไม่ได้ก้อนข้าว มีความทุกข์ เพราะความหิวใช่ไหม

  พระพุทธเจ้า ตรัสว่า

    มารผู้บาป ในวันนี้ แม้เราจะไม่ได้อะไร ๆ  เราก็ให้เวลาล่วงไปด้วย ความสุขอันเกิดจากปีติ เท่านั้น เราเป็นดุจพรหมในเทวโลกชั้นอาภัสสระ

   แล้วตรัสแสดง พระคาถาว่า

        เราผู้ซึ่งไม่มีกิเลสชาตเป็นเครื่องกังวล

        จึงเป็นอยู่สบายดี

        เราเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา

        เหมือนเหล่าเทวดาชั้น อาำัภัสสระ

    จบพระเทศนานั้น เด็กหญิง 500 คนที่ยืนอยู่ ก็ บรรลุพระโสดาปัตติผล

 :25: :25:

 คำถามก็คือ

    มารมีฤทธิ์ กว่า พระพุทธเจ้า ใช่หรือไม่

    เด็กหญิง 500 คน บรรลุเป็น พระโสดาปัตติผล นั้น ด้วยคาถาอย่างไร

    พระปีติ เป็นอาหารทิพย์ ของชาวพรหม ชั้นอาภัสสระ ถ้าผู้ฝึก พระธรรมปีติ จักอดอาหาร สัก 3 วัน

  ในพระธรรมปีติ เป็นไปได้หรือไม่

 :25: :25: :88: :88:



 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารแกล้งพระพุทธเจ้าได้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 11:48:34 am »
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

             [๔๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์ใน
ปัญจสาลคาม แคว้นมคธ ฯ

             ก็สมัยนั้นแล ที่บ้านพราหมณ์ ในปัญจสาลคาม มีนักขัตฤกษ์แจกของ
แก่พวกเด็กๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อบิณฑบาต ฯ

             ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้คฤหบดีชาวปัญจสาลคามถูกมารผู้มีบาปเข้า
ดลใจ ด้วยประสงค์ว่า พระสมณโคดมอย่าได้บิณฑบาตเลย ฯ

             พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อบิณฑบาต
ด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น ฯ

             [๔๖๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า สมณะ ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม ฯ

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านได้กระทำให้เราไม่ได้
บิณฑบาตมิใช่หรือ ฯ

             มารผู้มีบาปกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้าไปสู่
บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑบาตครั้งที่สองอีกเถิด พระเจ้าข้า
ข้าพระองค์จักกระทำให้พระผู้มีพระภาคได้บิณฑบาต ฯ

             [๔๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          มารมาขัดขวางตถาคต ได้ประสพสิ่งมิใช่บุญแล้ว ดูกรมารผู้มี-
                          บาป ท่านเข้าใจว่า "บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา" ฉะนั้นหรือ
                          พวกเราไม่มีความกังวล ย่อมอยู่เป็นสุขสบายหนอ พวกเรา
                          จักมีปีติเป็นภักษา ดุจอาภัสสรเทพ ฉะนั้น ฯ

             ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๖๙๐ - ๓๗๑๒. หน้าที่ ๑๖๑ - ๑๖๒.
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3690&Z=3712&pagebreak=0




อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒
ปิณฑิกสูตรที่ ๘


               อรรถกถาปิณฑิกสูตรที่ ๘               
               พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑิกสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

               บทว่า ปาหุนกานิ ภวนฺติ ความว่า ของขวัญที่พึงส่งไปในที่นั้นๆ ในงานนักขัตฤกษ์เห็นปานนั้น หรือไทยทานเป็นบรรณาการสำหรับต้อนรับแขก [อาคันตุกะ].

               ได้ยินว่า วันนั้นเป็นวันเที่ยวเตร่กันตามลำพัง [เสรี] พวกหนุ่มๆ ที่มีวัยและชาติเสมอกันอันตระกูลคุ้มครองแล้วก็ออกไปชุมนุมกัน. แม้พวกสาวๆ ก็แต่งตัวด้วยเครื่องตกแต่งอันเหมาะแก่สมบัติตนๆ เที่ยวเตร่กันไปในที่นั้นๆ.

ในจำพวกหนุ่มสาวเหล่านั้น แม้พวกสาวๆ ก็ส่งของขวัญให้แก่พวกหนุ่มๆ ที่ตนพอใจ. ถึงพวกหนุ่มๆ ก็ส่งของขวัญให้พวกสาวๆ เหมือนกัน. เมื่อไม่มีของขวัญอย่างอื่น โดยที่สุดก็คล้องแม้ด้วยพวงมาลัย.

               บทว่า อนฺวาวิฏฺฐา ได้แก่ เข้าไปสิงแล้ว.
               ได้ยินว่า วันนั้น พวกสาว ๕๐๐ คนกำลังเดินไปเล่นในสวน พบพระศาสดาสวนทางมาก็พึงถวายขนมอ่อน. พระศาสดาจึงทรงแสดงธรรมเบ็ดเตล็ด เพื่ออนุโมทนาทานของพวกสาวเหล่านั้น. เมื่อจบเทศนา พวกสาวทั้งหมดพึงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น มารจึงเข้าดลใจด้วยหมายจักทำอันตรายแก่สมบัตินั้น.

               แต่ในบาลี ท่านกล่าวไว้เพียงว่า ขอพระสมณโคดมอย่าได้อาหารเลย.
               ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงทราบการดลใจของมารหรือ จึงเสด็จเข้าไป.
               ตอบว่า ใช่ ไม่ทรงทราบ.
               เพราะเหตุไร. เพราะไม่ทรงนึกไว้.

               จริงอยู่ การนึกว่าเราจักได้หรือไม่ได้อาหารในที่โน้น ดังนี้ ไม่สมควรแก่พระพุทธทั้งหลาย. ก็พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว ทรงเห็นความผิดแผกแห่งการปฏิบัติของเหล่าผู้คน ทรงนึกว่า นี้อะไรกัน ก็ทรงทราบ ทรงพระดำริว่า การทำลายการดลใจของมาร เพื่ออามิสไม่สมควร จึงไม่ทรงทำลายเสด็จออกไปเสีย.


               บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารดีใจเหมือนชนะศัตรู จึงแปลงเพศเป็นคนชาวบ้านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ได้อาหารแม้เพียงทัพพีเดียวในบ้านทั้งสิ้น กำลังเสด็จออกไปจากหมู่บ้าน.

               คำว่า ตถาหํ กริสฺสามิ นี้เป็นคำที่มารพูดเท็จ.
               ได้ยินว่า มารนั้นคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พระสมณโคดมเสด็จเข้าไปอีก ที่นั้น พวกเด็กชาวบ้านก็จักพูดเยาะเย้ยเป็นต้นว่า พระสมณโคดมเที่ยวไปทั่วบ้าน ไม่ได้ภิกษาแม้แต่ทัพพีเดียว ออกจากหมู่บ้านแล้วยังเสด็จเข้าไปอีก ดังนี้.

               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ถ้ามารนี้จักเบียดเบียนเราอย่างนี้ ศีรษะของเขาก็จักแตก ๗ เสี่ยงแน่ จึงไม่เสด็จเข้าไป ด้วยทรงเอ็นดูในมารนั้นจึงตรัส ๒ พระคาถา.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสวิ ได้แก่ ให้เกิด คือให้เกิดขึ้น.
               บทว่า อาสชฺช นํ ได้แก่ ขัดขวาง คือกระทบแล้ว.
               ด้วยบทว่า น เม ปาปํ วิปจฺจติ ทรงแสดงว่า ท่านยังจะสำคัญอยู่อย่างนี้หรือว่า บาปจะไม่ให้ผลแก่เรา คือบาปนั้นไม่มีผล ท่านอย่าสำคัญอย่างนั้น ผลของบาปที่ท่านทำมีอยู่ ดังนี้.

               บทว่า กิญฺจนํ ได้แก่ ข่ายคือกิเลสมีกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้นที่สามารถย่ำยีได้.
              บทว่า อาภสฺสรา ยถา ความว่า เราจักเป็นเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระที่ดำรงอัตภาพด้วยฌานที่มีปิติ ชื่อว่ามีปีติเป็นภักษาหาร.

               จบอรรถกถาปิณฑิกสูตรที่ ๘           

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=467




ผู้ที่เจริญทุติยฌานแล้ว ถ้าตายไปโดยที่ฌานยังไม่เสื่อม ฌานนั้นจะส่งผลให้ไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ ตามกำลังฌานที่ได้ ผู้ที่ได้ทุติยฌาน

ทุติยฌาน มี ๓ ภูมิ คือ
๑. ปริตตาภาภูมิ
๒. อัปปมาณาภาภูมิ
๓. อาภัสสราภูมิ

 
อาภัสสราภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมอาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีซ่านไป คือแผ่ออกไปแต่ที่นั้นที่นี้ดุจสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เพราะมีขันธสันดานเกิดจากฌานที่มีปีติ

หรืออีกนัยหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีพวยพุ่ง คือหยดย้อยออกเหมือนย้อยหยดออกมาจากสรีระ หรือดุจเปลวไฟแห่งโคมประทีป
อีกอย่างหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีปกติสว่างไสวด้วยรัศมี

 
พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกำลังของทุติยฌาน พรหมอาภัสสรา เป็นหัวหน้าในชั้นทุติยฌานภูมิทั้ง ๓

อนึ่ง อาภัสสราภูมินี้ อยู่ในรูปาวจรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่เสพกาม ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ
ผู้ที่อยู่ในรูปาวจรภูมินี้ อยู่ด้วยอำนาจขององค์ฌาน (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
สำหรับอาภัสสราภูมิ มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา


อ้างอิง
บทเรียนชุดที่ ๖.๒ เรื่อง ภพภูมิ ๓๑
แบบเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
ของ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารแกล้งพระพุทธเจ้าได้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 12:20:22 pm »
0

คำถามก็คือ

    มารมีฤทธิ์ กว่า พระพุทธเจ้า ใช่หรือไม่
 

มารตัวเล็กๆ จะเอาอะไรมาสู้พระพุทธองค์ พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาลนี้

พระพุทธเจ้าทรงเมตตามารตนนั้น อีกทั้งเรื่องบางอย่างเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่สมควรทำ

เลยทรงนิ่งเสีย หนูเมตตาลองอ่านอรรถกถาให้เข้าใจนะครับ




คำถามก็คือ

    เด็กหญิง 500 คน บรรลุเป็น พระโสดาปัตติผล นั้น ด้วยคาถาอย่างไร
 

ตามอรรถกถาแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเบ็ดเตล็ด ให้เด็กสาวเหล่านั้น

ไม่มีรายละเอียดอื่นไปมากกว่า ถ้าจะเดากัน ก็น่าจะเป็น "อนุปุพพิกถา"

เพระาเนื้อความในอรรถกถาระบุว่า พวกสาวๆถวายขนมอ่อนให้พระพุทธเจ้า

อานิสงส์ของการทำทาน ก็คือ จะได้สวรรค์สมบัติ

ทั้งเรื่อง"ทาน" และเรื่อง"สวรรค์" เป็น "สองในห้า"กถาใน "อนุปุพพิกถา"

คือ ทานกถา และสัคคถา




คำถามก็คือ

    พระปีติ เป็นอาหารทิพย์ ของชาวพรหม ชั้นอาภัสสระ ถ้าผู้ฝึก พระธรรมปีติ จักอดอาหาร สัก 3 วัน

  ในพระธรรมปีติ เป็นไปได้หรือไม่

    ถ้าหนูเมตตาเข้า "ทุติยฌาน" ได้ ก็อดข้าวได้ แต่ต้องไม่มีใครมากวน

ปิติของพรหม ต้องอยู่ในอัปปนาสมาธิเท่านั้นนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ