ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มองเป็นเห็นธรรม : ปฏิจจสมุปบาท กฎแห่งสากลจักรวาล กระบวนการของชีวิต  (อ่าน 1998 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มองเป็นเห็นธรรม : ปฏิจจสมุปบาท กฎแห่งสากลจักรวาล กระบวนการของชีวิต

ในการสวดพระพุทธมนต์ บทสวดต่อจาก ติลักขณาทิคาถา คือ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิปัสสนาภูมิปาฐะ
       
       พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นิพนธ์วิปัสสนาภูมิปาฐะนี้เป็นหนังสือชื่อ วิปัสสนาภูมิ ๖ ภาค โดยแสดงวิปัสสนาภูมิซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจของวิปัสสนา ตามนัยปาฐะที่สวดมนต์กันอยู่ตามวัดหรือสวดในราชการ ไว้เป็น ๖ ภาค คือ ๑. ขันธ์ ๕, ๒. อายตนะ ๑๒, ๓. ธาตุ ๑๘, ๔. อินทรีย์ ๒๒, ๕. อริยสัจ ๔, ๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
       
       ปฏิจจสมุปบาท ท่านได้แปลความไว้ดังนี้
       
       อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
       สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
       สงฺขารปจฺจยา วิญฺญานํ
       วิญญาณมีเพราะสังขารทั้งหลายเป็นปัจจัย
       วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
       นามและรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
       นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
       อายตนะ ๖ มีเพราะนามและรูปเป็นปัจจัย
       สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
       ผัสสะ ๖ มีเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย
       ผสฺสปจฺจยา เวทนา
       เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
       เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
       ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
       ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
       อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
       อุปาทานปจฺจยา ภโว
       ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
       ภวปจฺจยา ชาติ
       ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย
       ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายสา สมฺภวนฺติ
       ชรามีเพราะชาติเป็นปัจจัย มรณะมีเพราะชราเป็นปัจจัย ต่อนี้ตัวผล ทุกข์ทั้งหลายคือ ความแห้งใจเศร้าใจ ความบ่นพิรี้พิไร ความลำบากเหลือกลั้นเหลือทน ความต่ำใจ น้อยใจ ความคับแคบใจ ก็มีพร้อม เพราะมีมรณะเป็นปัจจัย
       เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
       เมื่อปัจจยาการยังเป็นกำลังอุดหนุนซึ่งกันเป็นไปอยู่อย่างนี้ กองทุกข์ทั้งสิ้นก็เกิดขึ้นพร้อม
       
       ส่วนนี้เป็นสมุทัยวาร คำที่ว่า “ปัจจัย” นั้น ไม่ใช่เหตุ เป็นแต่ผู้อุดหนุนเหตุให้เป็นไปเท่านั้น ส่วนอวิชชา สังขาร วิญญาณ ถึงชรา มรณะ นั้นตัวเหตุคือตัวสมุทัยนั้นเอง คือแสดงเหตุด้วยปัจจัยด้วย

       
        :25: :25: :25: :25:

       ฝ่ายนิโรธวาร แสดงอย่างนี้
       
       อวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ
       สังขารดับโดยไม่เหลือ เพราะความคลายความดับโดยหาเศษมิได้แห่งอวิชชานั้นสิ่งเดียว
       สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
       เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ
       วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ
       เพราะวิญญาณ ดับนามรูปก็ดับ
       นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ
       เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ
       สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ
       เพราะสฬายตนะดับผัสสะก็ดับ
       ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ
       เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ
       เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ
       เพราะเวทนาดับ ตัณหาก็ดับ
       ตณฺหนิโรธา อุปาทานนิโรโธ
       เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ
       อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ
       เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
       ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ
       เพราะภพดับชาติก็ดับ
       ชาตินิโรธา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
       เพราะชาติดับ ชราก็ดับ เพราะชราดับ มรณะก็ดับ ทุกข์ทั้ง ๕ ประการซึ่งเป็นตัวผล คือโศกและร่ำไร ทุกข์โทมนัสอุปายาสก็ดับตามกันไปหมด
       เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
       ครั้นเมื่อเหตุและปัจจัยดับไปหมดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ กองทุกข์ทั้งสิ้นก็ดับไปโดยไม่เหลือเท่านั้น.
       
        st12 st12 st12 st12

       ปฏิจฺจสมุปบาท มาจากศัพท์ว่า ปฏิจจ สํ และ อุปปาท “ปฏิจฺจ” หมายถึง เกี่ยวเนื่องกัน สัมพันธ์กัน “สํ” หมายถึง พร้อมกัน หรือด้วยกัน “อุปปาท” หมายถึง การเกิดขึ้น
       
       ปฏิจฺจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้
       
       พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุนักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้นิพนธ์คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แปล ปฏิจจสมุปบาท ไว้ว่า สภาวธรรมที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน
       
       ศาสตราจารย์ ริส เดวิด ได้นิยามคำว่า “ปฏิจจสมุปบาท” ว่าเป็น “กฎแห่งสากลจักรวาล” หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎที่ครอบคลุมความเป็นไปของชีวิตและจักรวาลทั้งหมดไว้ การทำให้แจ้งหลักธรรมดังกล่าวจะเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในกระบวนการของชีวิตและจักรวาลทั้งหมด
       
       ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณา เมื่อครั้งประทับเสวยวิมุตติสุข(ความสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส) ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายหลังการตรัสรู้แล้ว

        st11 st11 st11

       พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท ว่า “การอธิบายความแห่งปฏิจจสมุปบาททำได้ยาก....ก็แต่ว่า คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ประดับประดาไปด้วยนัยแห่งเทศนาต่างๆ อีกทั้งแนวทางของบูรพาจารย์ก็ยังเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย” (วิสุทธิมรรค. ๓/๑๑๔)
       
       ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิด การดำเนินไป และการดับไปของชีวิต รวมถึงการเกิด การดับแห่งทุกข์ด้วย ในกระบวนการนี้สิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้น เป็นอยู่ และดับลงไปในลักษณะแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปของวงจร กล่าวคือ เป็นกระบวนแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ ในกระบวนแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีส่วนไหนเป็นปฐมกรหรือปฐมเหตุ เพราะกระบวนการของชีวิตเป็นวัฏฏะแห่งกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งกลายเป็นวัฏสงสาร
       
       ปฏิจจสมุปบาท จัดไว้เป็น ๓ กาล คือ ๑. อดีตธรรม ได้แก่ อวิชชาและสังขาร หมายถึงสิ่งที่เกิดมาแต่อดีตที่ล่วงมาแล้ว คือ ความไม่รู้ และสิ่งปรุงแต่งในอดีต เป็นปัจจัยส่งผลให้ถึงปัจจุบัน ๒. ปัจจุบันธรรม ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ หมายถึง สิ่งที่อยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น กล่าวคือ ในปัจจุบันนี้มนุษย์เราเกิดมาย่อมมีอัตตภาพตัวตน และสัมภวชาติ คือ จิตใจหรือวิญญาณที่ประกอบด้วยอารมณ์และความรู้สึกทางผัสสะ มีเวทนา ตัณหา อุปาทานเป็นประจำอยู่โดยตลอดไปทั้งสิ้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติต่อไป ๓. อนาคตธรรม ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ หมายถึงเมื่อผ่านปัจจุบันไปแล้ว ธรรมในปัจจุบัน (ภพ) จะส่งให้เกิดในกำเนิด ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นชาติต่อไป ผลของการเกิดก็คือ ชรา ความแก่, มรณะ ความตาย, โสกะ ความเศร้าโศก, ปริเทวะ ความร้องไห้, ทุกขะ ความทุกข์กาย, โทมนัสสะ ความทุกข์ใจ, อุปายาส ความคับแค้นใจ เป็นต้น

        :sign0144: :sign0144: :sign0144:

      แต่อย่างไรก็ตาม ในการพยายามอธิบายกระบวนการแห่งชีวิตตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ จำเป็นจะต้องหาจุดเริ่มต้นอธิบายให้เห็นว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอย่างไรก่อน ดังนั้น ท่านจึงสมมติเริ่มจากอวิชชา โดยอธิบายอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสิ่งอื่นๆ ตามมาเป็นวัฏจักรนำไปสู่ทุกข์
       
       ในทำนองเดียวกัน ถ้าอวิชชาดับไปไม่เหลือ ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด เพราะความเป็นไปของชีวิตมีสภาวะเป็นวงจรที่เรียกว่าสงสารวัฏ ดังนั้น เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของสังสารวัฏจึงไม่ปรากฏ
       
       ปฏิจจสมุปบาท เป็นพุทธธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งที่สุด จนได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เห็นได้จากพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”
       
       ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้นมีมาก หากเข้าใจอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสม ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดตามจุดหมายของพุทธศาสนา


        :25: :25: :25: :25:

       ในกาลครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า “ปฏิจจสมุปบาทดูเป็นเรื่องง่ายและตื้นสำหรับข้าพระองค์” พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระอานนท์ว่า “ดูก่อน อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก ลักษณะโครงสร้างก็ลึกซึ้ง หมู่สัตว์นี้ไม่รู้ ไม่รู้ตามที่เราสอน ไม่แทงตลอดหลักปฏิจจสมุปบาท จิตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายที่ยุ่ง เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม ติดพันซ่อนเงื่อนกันยุ่ง เหมือนเชิงผ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ไม่ล่วงพ้นจากสังสาระคืออบาย ทุคติ วินิบาตไปได้”
       
       สาระสำคัญของปฏิจจสมุปบาทบางประการ คือ
       ๑. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งมีการไหลไปไม่หยุดนิ่ง มีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
       ๒. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
       ๓. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎแห่งสงสารวัฏ คือวงจรแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกิเลส กรรม วิบาก
      ๔. เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่ประมวลเอาความหมายแห่งธรรมทั้งหลายมาไว้
      ๕. เป็นธรรมที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ในขณะนี้และเดี๋ยวนี้
       
       เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว ย่อมเป็นผู้รู้จักกระบวนการของชีวิต ทำให้เข้าใจถึงตัวสภาวะธรรมชาติ ที่เป็นสังสารธรรม นำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ อันเป็นบุรพธรรมในการดำเนินไปสู่ความสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง หายสงสัยในเรื่องโลกและชีวิต นรกสวรรค์ บุญบาป ชาตินี้ชาติหน้า และนิพพานได้ในที่สุด

       

จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 195 มีนาคม 2560 โดย พระครูพิศาลสรนาท (พจนารถ ปภาโส) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9600000021233
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ