ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลักสูตร พระอภิธรรม เทียบเท่า ปริญญาตรี  (อ่าน 5895 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิทยาลัยแห่งนี้สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีครูทั้งพระและฆราวาส 36 คน แบ่งชั้นเรียนตามหลักสูตรคือ ตรีโทเอก รวมเวลาเรียน 7 ปี จบแล้วได้ประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าปริญญาตรี

สิ่งพิเศษสำหรับการเรียนอภิธรรมคือ เรียนฟรี เว้นแต่ชำระค่าลงทะเบียน 50 บาท และค่าตำราตามราคา ไม่จำกัดอายุ และความรู้เบื้องต้น โดยทางวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนทุกวัน มีทั้งภาคบ่ายและภาคค่ำ และเปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์อาทิตย์) หยุดวันพระ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศมหาวิทยาลัย

หลักฐานในการสมัครเข้าศึกษา
1.รูปถ่ายสีขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว 2 ใบ
(ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 2 ปี)
2.สำเนาประกาศนียบัตร (เฉพาะผู้ที่เคยสอบผ่านในชั้นต้นมาแล้ว)
เปิดสอนรอบปกติ (วันจันทร์วันศุกร์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-19.00 น.
เปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์วันอาทิตย์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-20.00 น.
สำหรับหลักสูตรการศึกษาอภิธรรมนั้นแบ่งดังนี้

ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน
ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน

ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง และเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ

ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ
ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัยความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ

ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดยยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ

ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ

ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของปัฏฐาน และประเภทของปัฏฐาน สรุปเนื้อความ 3 ประการ การจำแนกปัจจัย 24 โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ

รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือน
จบชั้นนี้มีคุณสมบัติเท่ากับปริญญาตรี

ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย
หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้

เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา



อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
พุทธศักราช 2511 ได้ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอำนวยการจัดการศึกษา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิสัทธัมมโชติกะ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จนกระทั่งพุทธศักราช 2524 ด้วยเมตตาธรรมและมองการณ์ไกลของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่หวังความเจริญก้าวหน้าของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประกาศให้อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ชื่อว่า “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ขึ้นตรงต่อสำนักอธิการบดี

ปัจจุบัน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคมตามมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้อ 11 (3) เรื่องการแบ่งส่วนงาน พุทธศักราช 2541 ได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็นเวลา 36 ปีแล้ว มีสาขาทั่วประเทศ 57 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีบทบาทเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบของการจัดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถา และฎีกาพระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมปิฎก
2.เพื่อเป็นการรักษาพระปริยัติศาสนาส่วนของพระอภิธรรมปิฎกให้คงอยู่สืบต่อไป
3.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในปรมัตถธรรมอันเป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
4.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถศึกษาเชื่อมโยงกับพระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก ที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ขัดแย้งกันเกื้อกูลกัน
5.เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
6.เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาของผู้ศึกษาให้มั่นคงในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

รายการวิทยุ
นอกจากการเรียนการสอนตามปกติ ทางวิทยาลัยยังจัดรายการทางวิทยุ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
รายการวิทยุของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยทางสถานีวิทยุ พล.ม. 2 AM 963 KHz
รายการ “แก่นธรรมจากพระอภิธรรมปิฎก”
วันพุธ เวลา 23.30-24.00 น.
รายการ “พระอภิธรรมเพื่อคุณภาพชีวิต”
วันเสาร์ เวลา 20.30-21.00 น.

สุดท้ายในหนังสือนี้ให้ข้อมูลว่า จะติดต่อขอทราบรายละเอียดหรือร่วมอุปถัมภ์รายการได้ที่

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร./โทรสาร 02224 3843, 026236101
พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

หรือคลิกที่ http://www.mcu.ac.th หน่วยงาน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา