ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?  (อ่าน 13393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบคำถามจากเมล

ปุจฉา

เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?

วิสัชชนา

    เมื่อพระโยคาวจร ภาวนาจน ปีติ เกิดขึ้นแล้วให้ทรงอารมณ์ไว้อย่างนั้น ไม่ต้องทำใจไปยินดี หรือ ยินร้าย ให้วางจิตเป็นกลาง ปล่อยให้ปีติเกิด และ ดับเองในการภาวนา ปีติ มีเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ ปีติมีเกิดขึ้นได้ทั้งตลอดการภาวนาก็มี ปีติจะมี ก็ให้วางเฉย เพียงรับทราบว่ามีปีติ เท่านั้นก็พอ หน้าที่ของผู้ภาวนาให้ตั้งมั่น กับการภาวนต่อไป ให้บรรจุ พุทโธ ลงไปยัง ฐานจิต อย่างต่อเนื่องเหมือนไม่มีปีิติเกิดเช่นเดิม ดังนั้นเมื่อปีติ เกิดขึ้นก็ให้จิตรับทราบเป้นเพียงเท่านั้น เพราะปีติเกิด ขึ้น และดับ ไปด้วยการภาวนาหากเรานำใจไปยินดี หรือยินร้าย หรือไปคำนึงต่อ ปีตินั้น เท่ากับออกจากองค์ภาวนาไปติด โสมนัส คือความชอบใจ ไม่พ้นนิวิรณ์ องค์ปีติ จึงดับ หากภาวนาด้วยการตั้งความหวัง จะให้เกิดปีติ ปีตินั้นก็เกิดได้ยากเช่นกัน

    ดังนั้นคำกล่าวของครูอาจารย์ จึงกล่าวว่า ให้วางใจเป็นกลาง เพราะกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับต้องวางใจให็เป็นกลาาง ไม่ให้ยินดี หรือ ยินร้าย เป้าประสงค์ของการภาวนาเพียงเพื่อได้ภาวนาไปที่ละขั้น จิตรู้ว่าถึงขั้นไหน ก้ให้วางใจเป็นกลางไว้

    สำหรับท่านที่มีปีติ เกิดขึ้นอยู่นั้น จะมีอาการอุปสรรคของการภาวนาเป็นอย่างมากบางท่านระงับปีติไม่ได้เพราะใจไปยินดี มากเกินไปจึงทำให้พลุ่งพล่าน บางคนปล่อยโฮร้องไห้ชุดใหญ่ บางคนก็นั่งชัก อึดอัดหายไม่ออก เพราะเมื่่อปีติเกิดก็จะมีลักษณะเกิดขึ้นเป้นเฉพาะบุคคลไม่เหมือนกันทุกท่าน

    ดังนั้นวิธีระงับ ปีติ ในระดับการปฏิบัติ วิธีที่ดีที่สุด คือ

     สูดลมหายใจเข้าไปลึก ๆ อั้นไว้ระยะนิดหน่อย แล้วปล่อยลมหายใจออ เหมือนถอนหายใจ และตั้งสติกลับไปตั้งมั่นที่ฐาน จิต พร้อมภาวนา พุทโธ ไว้ เท่านี้ก็ใช้ได้

     ดังนั้นผู้ที่จะออกจากกรรมฐานก็ต้องปฏิบัติแบบนี้เช่นกัน ห้ามมิให้ออกโดยไม่อธิษฐาน มิฉะนั้น ปีติค้างก็จะทำให้จิตฟู ระงับได้ยากเมื่ออยู่นอกองคืบริกรรม มีบางคนต้องปีติ อย่างนี้ เกิดหนาว สั่น สะท้าน ร้อนเหงื่อแตก ถึงกับต้องเรียกกลับมาเข้ากรรมฐาน เฉพาะหน้าใหม่

     ดังนั้นวิธีแก้ไข อาการปีติ เมื่อเกิดระงับไม่ได้ ก็ต้องปฏิบัติสวนกลับตอนที่ก่อนจะเป็น เรียกว่าหนามยอกเอาหนามบ่ง ดังนั้นเมื่ออาการเกิดเพราะสมาธิ จะมาแก้ไขนอกสมาธิได้ ต้องทำการแก้ใขในองค์สมาธินั่นเอง เข้าทางไหน ให้ออกทางนั้น


    เจริญพร / เจริญธรรม


   


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2012, 12:16:15 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 02:01:15 pm »
0
ขอบพระคุณที่พระอาจารย์ตอบปัญหาที่ถามให้คะ

 สาธุ

  :58: :25:
บันทึกการเข้า

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 02:13:52 pm »
0
เรียนถามต่อว่า แล้วปีติ นี้จะหมดไปตอนไหนครับ ในระหว่างที่เราภาวนาอยู่

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 03:05:36 pm »
0
 :91: :91: ขอบคุณมากๆเลยครับ
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 07:50:49 pm »
0
ปีติ ในที่นี้่หมายถึงปีติที่ภาวนาในองค์กรรมฐาน ใช่หรือไม่คะ ที่จะต้องออกจากปีติตามที่บอก แล้วถ้าเป็นปีิติที่เกิดเช่นอ่านหนังสือธรรมะ แล้วนึกถึงธรรมรู้สึกดีใจจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ถ้าเป็นปีิติอย่างนี้ ต้องแก้ด้วยการอ่านเพิ่มอีกหรือไม่คะ คือไม่ทราบว่าวิธีใช้ด้วยกันได้หรือไม่คะ

   ยังไม่ีค่อยจะเข้าใจกับคำว่าหนามยอกต้องเอาน้ำบ่ง
   เข้าทางไหนออกทางนั้น คะ

   อยากให้ช่วยขยายความอีกสักนิดได้หรือไม่คะ

  :smiley_confused1: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

Be-boy

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 08:23:51 pm »
0
เรียนถามว่า พระโยคาวจร คือ ใครครับไม่เข้าใจครับ ใช่อุบาสก อุบาสิกา หรือไม่ครับ หรือเป็นพระที่บวชครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ออกกำลังกายเคลื่อนไหว เป็นสติครับ

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 12:46:23 am »
0
กำลังมีอาการเช่นนี้ อยู่พอดีเลยครับ นอนไม่หลับเป็นอย่างนี้ครับ อย่างเช่นตอนนี้ครับพอนั่งกรรมฐานเสร็จตอน 3 ทุ่มแล้ว จะเข้านอน ๆ ไม่หลับครับ จิตมันตื่นอยู่ไม่ยอมนอนครับ ก็เลยมานั่งอ่านกระทู้อยู่นี่ครับ เป็นห่วงพะวงครับเพราะทำงาน 07.00 น. ครับจะทำอย่างไร จะเป็นวันที่ผมมีปีติ มาก ๆ อย่างนี้ครับ วันนี้อ่านบทธรรมแล้วมีปีติขึ้นมากเลยครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 03:47:21 pm »
0
สาธุ อนุโมทนากับท่านผู้ถาม และ พระอาจารย์ที่ตอบให้เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์มากครับ

ผมขออนุญาตสอบถามพระอาจารย์เพิ่มเติมหน่อยนะครับดังนี้ครับ

1. เมื่อผมเกิดอาการโยกโคลงเคลงไปซ้ายขวาบ้าง หรือ อัดดีดจะลอยขึ้นฟ้าเหมือนลูกโป่งสววรค์บ้าง วิถีทางที่ผมปฏิบัติผ่านพ้นมาแล้วนั้นผมมองว่าจิตมันมีสมาธิคลอบคลุมมากขึ้นมันจึงเกิดอาการนั้นก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรแค่รู้สภาพนั้นๆ(เมื่อก่อนผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่านี่เขาเรียกว่าปิติ)แล้วก็วางใจเป็นปกติไม่เอามาตั้งเป็นอารมณ์ปรุงแต่งนึกคิด มันก็เข้าสู่สภาวะว่างมีสภาพเป็นปิติ สงบ สุข เมื่อพ้นจากสภาพปิติสุขแล้วก็เดินเข้าสู่อารมณ์สมถะ และ เมื่อเข้าสู่อารมณ์สมถะได้มากขึ้นบ่อยขึ้น อาการปิติก็จะหายไปเอง อาจจะเพราะสภาพจิตและสมาธิจิตมันละเอียดขึ้นหรือไม่หรือผมปฏิบัติมาผิดทางครับ และ ผมปฏิบัติอยู่อย่างนี้ถือว่าผิดแนวทางไหมครับ และ ใช้ประโยชน์ได้ไหมเพื่อจะเดินไปสู่ทางที่ยิ่งๆขึ้นไปอีก

2. มีคนมาพูดและถามผมเช่นกันเวลาเกิดอาการปิติมีโยกโคลงเคลงจะลอยขึ้นบ้าง หรือ เมื่อมีสภาพจิตละเอียดอ่อน ลมหายใจละเอียดอ่อนเหมือนไม่หายใจ เขาจะกลัวมากแล้วไปต่อไม่ได้ ผมได้บอกกับเขาว่าไม่ต้องไปกลัวมัน มันเป็นค่สภาพจิตที่มีสมาธิคลอบคลุมมากขึ้น เวลาเกิดให้รู้สภาพมันอย่าไปกลัวคิดว่าได้รู้พระธรรมนี้แล้วตายไปก็ไม่เสียดายเพราะทุกคนมีปกติเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่แล้ว ผมพูดบอกเขาอย่างนี้ไปมันผิดไหมกับที่แก้อาการกลัวของเขา

ขอความกรุณาพระคุณเจ้าและผู้รู้ทั้งหลาบตอบคำถามผมเพื่อเป็นแนวทางเจริญปฏิบัติในภายภาคหน้าต่อไปด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2012, 03:50:30 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 12:00:14 pm »
0


ตอบคำถามที่ 1
ปีติ ที่เกิดขึ้น มานั้นเป็นไปในทางปฏิบัติ ได้สองทางคือ
   ปีติ อันประกอบด้วย สมาธิ มีสมถะเป็นฐาน โดยตรง ปีติชนิตนี้จักเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้ภาวนาเริ่มมีจิตตั้งมั่นในองค์ วิตก วิจาร เป็นเหตุ และ ปีติ สุข เอกัคตา เป็นผล
   ดังนั้นเมือ่จิต มี ปีิติ ย่อม อาศัยเหตุ คือ วิตก วิจาร เป็นนิมิตอารมณื หากวางอารมณ์ตั่งมั่นในนิมิตนั้นจนนิมิตเป็น นิมิตขั้นสูงสุด ผสานกับปีติ ผสาน กับสุข ผสาน กับ เอกัคคตา อันนี้คือถูกทาง อาการนิมิตที่หมายถึง การโยกโคลง น้ำตาไหล กายสั่น หนาว เย็น มีลักษณะกระทบทางกาย เป็นปิตีพื้นฐาน เรียกว่า พระลักษณะปีติ ในทางกรรมฐานจัดว่าดี มีแล้วดี แสดงว่าจิตเป็นสมาธิ แต่ ในทางด้านการภาวนาสมถะอยู่ที่ พระรัศมี คือผสานปีติ เข้า กับนิมิต เป็นสำคัญ

    ดำถามที่ว่า ถูกทางหรือไม่ ? ก็ตอบว่าเบื้องต้นก็ใช้ได้
    ที่นี้ถามต่อไปว่า แล้วปีติ ระงับลงโดยธรรมชาต ได้หรือไม่ เมื่อเราวางจิตไม่สนใจตรงส่วนนี้ ก็ขอตอบว่า อารมณ์กรรมฐาน คือ อะไร ก็ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น ด้วยนิมิตนั้น จิตที่เป็นปีติจะพัฒนาไปเองในกรรมฐาน ได้เองก็หามิได้ ต้องมีการกำหนดรู้เมื่อผสานนิมิต กับ ปีติ ได้

     เพื่อไม่ให้สับสนก็คือ นิมิต ที่เป็น จิต เห็นอะไร เป็น รูปนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ถ้า นิมิตเหล่านี้ไม่ปรากฏ มีแต่อารมณ์ว่าง ๆ เหมือนนอนหลับ นิ่งเหล่านี้เรียกว่า ผิดทางทั้งหมด เพราะเท่ากับตก ภวังคจิต คือไปหยุดอยู่นิ่งเฉย อย่างนั้น บางคนเข้าใจว่าบรรลุธรรมไปเลยก็เพราะเหตุนี้ อันที่จริงเป็นแต่เพียงตกภวังค กึ่งหลับ กึ่งตื่น อันนี้ไม่ใช่สมาธิ สมาธิ ต้องปรากฏด้วยนิมิต คือ ปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ผสานกับเอกัคคตา นิมิตหายไปไม่ได้ ยังคงต้องมีอยู่ เพราะต้องมีรูป จึงต้องปรากฏความเป็นฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง ปัญจมฌาน ส่วนนี้เรียกว่า รูปกรรมฐาน ด้วยเหตุนี้ และรูปกรรมฐานอันนี้แหละจะใช้เป็นขั้นตอนอารมณ์ วิปัสสนา สำหรับสายเจโตวิมุตติ

     ใน อุปจาระฌาน มีอุคหนิมิต เป็นอารมณ์ เป็นอุคหนิมิตที่ผสาน กับปีติ กับสุข ใช้เป็นอารมณ์วิปัสสนาเช่นกัน
     สำหรับการปฏิบัติสมาธิโดยไม่มีปรากฏนิมิตใด ๆ นั้นแล้วไปหยุดอยู่แช่นิ่งอย่างนั้น ไม่มีประโยชน์ในการทำจิตให้หลุดพ้น ก็หมายความให้ตรวจดูจิตของเราจางคลายจากกิเลสอะไร ตัดกิเลสอะไร เราเป็นผู้ตอบตัวเราได้ เดี่๋ยวมี เดี๋ยวอยาก เรียกว่า เป็น สมุจเฉทปหาน ไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์ แสดงให้เห็นว่าควรต้องปรับปรุงการภาวนาใหม่ เพื่อให้องค์มรรคชัดเจน

     รายละเอียดยังมีอีกมาก แต่ข้อมูลการภาวนาของคุณ นั้นยังไม่ชัดแจ้งเพียงตอบเบื้องต้นในข้อนี้เท่านี้ก่อน

  ปีติ อันประกอบด้วย สติ เป็นพื้นฐาน โดยตรง ปีติชนิดนี้มีกำลังอ่อนแต่เมื่อเจริญอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็สามารถด้วยวิปัสสนา เช่นกัน ปีติ ในนี้เป็น ปีิติ ตรงใน โพชฌงค์ 7 ก่อนที่จะเป็นสมาธิไล่ตามลำดับคือ
       สติ  ธรมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อเบกขา
       ดังนั้น ปีติส่วนนี้ต้องอาศัยธรรมใด ธรรมหนึ่งเป็น ธรรมวิจัย

     สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ เป็นเหตุ
     ปีิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา เป้นผล
     ดังนั้นจิตไปปล่อยนิ่งว่าง ไม่ได้เช่นกัน การที่จิตปราศจากธรรมในขณะนั้น จัดเป็น วิปัสสนูกิเลส แต่ถ้าจิตเข้าไปสู่การบรรลุ แล้วเข้าสู่อุเบกขา การปล่อยวางขณะนั้น ก็ยังมีธรรมที่ยกปรากฏเช่นเดิม เรียกว่าผลสมาบัติ ของพระอริยะบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไป

    ใช้ประโยชน์ได้ไหม กับปีติ ที่เป็นส่วนลักษณะ ก็ตอบว่า ได้ แต่ยังไม่พอ
    ดังนั้นให้ทบทวน การภาวนาจนกว่า นิมิต จะปรากฏเกิดขึ้น เป็นอุคคหนิมิต สำหรับสายวิปัสสนา เป็นปฏิภาคนิมิต สำหรับสายสมถะ  ดังนั้นผู้ฝึกภาวนาเพื่อวิมุตติ หนีและหลบไม่ได้ส่วนนี้

    ในส่วนสมถะจะยังไม่อธิบาย
    จะอธิบายในส่วนของ วิปัสสนา
       หากท่านจะเข้าวิปัสสนา ตามลำดับญาณ ด้วยการแจ้ง วิปัสสนาองค์ที่ 1 คือ นามรูปปริเฉทญาณ ก็คือ อุคคหนิมิตวิปัสสนา มีปีติ เป็นอารมณ์ ดังนั้นส่วนนี้จ้ดเป็นการเริ่มต้น ไม่ใช่มีแต่ปีติเป็นอารมณ์ ปีติไม่ใช่รูป ปีติเป็นนามจัดเป็นเวทนา รูปปรากฏ นามปราฏก รูปดับ นามดับ บางคนกล่าวว่ากายเป็นรูป รูปปรากฏ นามปรากฏ โจยท์นี้พอเทียบได้ รูปดับ ( กายยังอยู่ ) นามดับ โจทย์นี้ทำไม่ได้ ดังนัั้น รูป ไม่ใช่กายอย่างที่เข้าใจ เวลาสายภาวนาเขาฝึกก็ให้เริ่มที่ สติบ้าง สัมปชัญญะบ้าง อีริยาบถใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เป็นต้นเพื่อให้เข้าถึง นิมิตภายใน ก็คือ ธรรมส่วนรูปภายใน ดังนั้น อุคคหนิมิตผสานกับปีติ กับ สุข จึงมีอำนาจในวิปัสสนา เป็น ตั้งแต่ ธาตุ มน มนายตะ หทัยวัตถุ อุปาทายรูป ....... เป็นต้นไป จนกว่าจะชัดเจนแจ่มแจ้ง เป็น นามรูป

     สำหรับฝ่ายวิปัสสนานั้น ธรรมนิมิต อยู่ที่ ธรรมวิจยะ สติ เปรียบเหมือน วิตก ธรมจิยะ เปรียบเหมือน วิจาร วิริยะ คือการภาวนา

      ธรรมวิจยะพื้นฐาน คือ ทุกข์ .....เป็นต้นไป   

   ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่สอนกันอยู่ จึงยังไม่พร้อมด้วยวิปัสสนา เพราะเหตุนี้   

รายละเอียดยังมีอีกมาก แต่ข้อมูลการภาวนาของคุณ นั้นยังไม่ชัดแจ้งเพียงตอบเบื้องต้นในข้อนี้เท่านี้ก่อน

ตอบคำถามที่ 2
  เป็นเรื่อง การแนะนำกรรมฐาน ถ้ามีความสามารถในกรรมฐาน ก็แนะนำไป แนะนำไม่ได้ก็ไม่ต้องไปรับผิดชอบอะไร ไม่ต้องไปหนักใจกับการภาวนาของผู้อื่น แต่ให้หนักใจกับการภาวนาของเราหากเรายังภาวนาไม่ได้ ก็อนุโมทนา เป็นไปลำดับของการภาวนาของเรา เราเห็นเท่าไหร่ เราก็แนะนำเขาได้เท่านั้น ตัดสินไม่ได้ว่าถูก หรือ ผิด ในส่วนของเรา เขาจะทำตามเรา หรือ ไม่ทำตามเราก็เป็นเรื่องของเขาอีกเช่นกัน
   ก็อนุโมทนา ที่คอยเป็นผู้ทำหน้าที่ ส่องแสงให้กับผู้อื่นด้วย

 
  เจริญธรรม / เจริญพร


   ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2012, 12:10:44 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 03:32:53 pm »
0
สาธุ ขอขอบพระคุณพระอาจารย์อย่างสูงที่ชี้แนะอธิบายให้ผมกระจ่างแจ้งใจยิ่งนัก ผมจะนำไปปฏิบัติเพื่อให้แจ้งยิ่งขึ้นไปครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 05:53:26 pm »
0
ผมเห็นด้วยกับพระอาจารย์ตรงที่ ถ้าแนะนำได้ก็แนะนำไป ไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าไม่รับผิดชอบแล้วจะทำให้คนเวลาแสดงธรรมขาดความเคารพธรรมนะครับ ถ้าเกิดแสดงผิด ผู้ฟังนำไปปฏิบัติผิดก็จะยิ่งเสียเวลามากขึ้นนะครับ โทษของการสอนผิดก็น่าจะทำให้ธรรมที่มีบรรลุธรรมได้ช้า หรือไม่ได้ด้วยนะครับ

 
 ขอเห็เนต่างตรงนี้ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 11:11:47 pm »
0
ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่าอิ่มใจ, ปีตินั้นมีลักษณะดื่มด่ำ.
               ก็ปีตินี้นั้นมี ๕ อย่างคือ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย ๑ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑, โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก ๑, อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย ๑. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑,

               บรรดาปีติ ๕ อย่างนั้น ขุททกาปีติอาจทำพอให้ขนชูชันในสรีระทีเดียว, ขณิกาปีติย่อมเป็นเช่นกับฟ้าแลบ เป็นขณะๆ, โอกกันติกาปีติให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดฝั่งทะเล. อุพเพงคาปีติเป็นปีติมีกำลัง ทำกายให้ลอยขึ้นโลดไปในอากาศหาประมาณไม่ได้, ผรณาปีติเป็นปีติมีกำลังยิ่ง ก็เมื่อผรณาปีตินั้นเกิดขึ้นแล้ว สรีระทั้งสิ้นจะรู้สึกเย็นซาบซ่าน ดุจเต็มไปด้วยเม็ดฝน และดุจเวิ้งเขาที่ห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่ามาฉะนั้น.

               ก็ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้เมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังปัสสัทธิทั้งสองคือกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์.

               ปัสสัทธิเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสุขทั้ง ๒ คือ สุขทั้งทางกายและสุขทางใจให้บริบูรณ์.

               สุขเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสมาธิ ๓ อย่างคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิให้บริบูรณ์.

               บรรดาปีติเหล่านั้น ผรณาปีติที่เป็นมูลแห่งอัปปนาสมาธิ เมื่อเจริญถึงความประกอบด้วยสมาธิ นี้ท่านประสงค์เอาว่า ปีติ ในอรรถนี้.

               ก็อีกบทหนึ่ง ชื่อว่าสุข เพราะอรรถว่าสบาย. อธิบายว่า เกิดขึ้นแก่คนใด ย่อมทำคนนั้นให้ถึงความสบาย.

               อีกอย่างหนึ่ง ความสบายชื่อว่าสุข ธรรมชาติใดย่อมกลืนกินและขุดออกเสียได้โดยง่าย ซึ่งอาพาธทางกายทางใจ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่าสุข. คำนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา สุขนั้นมีลักษณะสำราญ.

               ปีติและสุขเหล่านั้นเมื่อไม่แยกกันในอารมณ์อะไรๆ ความยินดีด้วยการได้เฉพาะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ชื่อว่าปีติ. ความเสวยรสแห่งอารมณ์ที่ได้เฉพาะแล้ว ชื่อว่าสุข. ที่ใดมีปีติที่นั้นมีสุข ที่ใดมีสุขที่นั้นมีปีติโดยไม่แน่นอน.

               ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์. คนที่ลำบากในทางกันดาร ปีติเหมือนเมื่อเห็น หรือได้ฟังป่าไม้และน้ำ, สุขเหมือนเมื่อเข้าไปสู่ร่มเงาของป่าไม้และบริโภคน้ำ ก็บทนี้พึงทราบว่ากล่าวไว้ เพราะภาวะที่ปรากฏในสมัยนั้นๆ.

               ฌานนี้ท่านกล่าวว่า ปีติสุข เพราะอรรถว่าปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วยมีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่าปีติและสุข ดุจธรรมและวินัยเป็นต้น.

               ชื่อว่ามีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอย่างนี้ เพราะอรรถว่าปีติและสุขเกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้ ก็ฌานฉันใด ปีติและสุขก็ฉันนั้นย่อมเกิดแต่วิเวกทั้งนั้น ในที่นี้.

               ก็ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกนั้นมีอยู่แก่ฌานนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น แม้จะกล่าวว่า วิเวกชํ ปีติสุขํ รวมเป็นบทเดียวกันทีเดียว ย่อโดยไม่ลบวิภัตติ ก็ควร.

               บทว่า ปฐมํ ความว่า ชื่อว่าที่ ๑ เพราะเป็นลำดับแห่งการนับชื่อว่าที่ ๑ เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดขึ้นเป็นที่ ๑ ก็มี.

               บทว่า ฌานํ ได้แก่ ฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน.

               ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ถึงการนับว่า อารัมมณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น. ก็วิปัสสนา มรรค ผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.

               ในวิปัสสนา มรรคผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอนิจจลักษณะเป็นต้น, มรรคชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่ทำด้วยวิปัสสนา สำเร็จด้วยมรรค, ส่วนผลชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งนิโรธสัจจะ ซึ่งเป็นลักษณะแท้.

               ในฌาน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์อารัมมณูปนิชฌาน ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นประสงค์ลักขณูปนิชฌาน ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ด้วย, เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะด้วย, เพราะเผาข้าศึกคือกิเลสด้วย.

อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส




บันทึกการเข้า

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 11:17:58 pm »
0
 :c017: :c017: :c017:

ขอบคุณทุกท่านที่ชี้แนะนำ ครับ อ่านแล้วรู้สึกว่ายังมีเรื่องติด อยู่ แต่ก็เข้าใจเป็นบางส่วนครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อปีติ เกิด ขึ้นแล้ว คนทำอย่างไร ในการภาวนา ?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 04:59:54 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ อ่านเข้าใจเลยครับ ติดตรงนี้อยู่เช่นกัน

 :25:
บันทึกการเข้า